คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๒๓ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๗ - ๔ มีนาคม ๒๕๖๘ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ทำหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์ข้างต้น โดยแบ่งออกเป็น ๖ คณะอนุกรรมการ ดังนี้
๑) คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ
๒) คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ
๓) คณะอนุกรรมการฝ่ายสวัสดิการและสมาชิกสัมพันธ์
๔) คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ
๕) คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ
๖) คณะอนุกรรมการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
ในปี ๒๕๖๗ คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ได้ดำเนินกิจกรรมผ่านแผนงาน ดังนี้
๑)แผนงานสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ
๑.๑ ด้านงานส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อ
๑.๑.๑ วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก” (World Press Freedom Day) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ UNESCO และ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาที่กรุงเทพ จัดงาน“วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก” (World Press Freedom Day) ซึ่งตรงกับวันที่ ๓ พฤษภาคมของทุกปี
โดยที่ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization - UNESCO) (ยูเนสโก) ประกาศให้เป็นวันที่กระตุ้นให้ประชาชนและรัฐบาลทั่วโลกเล็งเห็นความสำคัญของเสรีภาพสื่อมวลชน โดยจัดงานในวันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องบอลรูม ชั้น ๗ อาคารบางซื่อจังชั่น (ตึกแดงวินเทจ) ถนนกำแพงเพชร
กิจกรรมในงานประกอบด้วย กล่าวไว้อาลัยสื่อมวลชนที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยนางสาวน.รินี เรืองหนู นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อ่านแถลงการณ์เนื่องในโอกาส “วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดยนางอุษา
มีชารี อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ และ กล่าวสุนทรพจน์ เนื่องในโอกาส “วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดย Mr. Joe Hironaka,Chief of Communication and Information Unit, UNESCO Regional Office in Bangkok (องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ และ Mr.Spencer Anderson, Deputy Spokesperson, Embassy of the United States of America, Thailand
การเสวนาหัวข้อ “เสรีภาพสื่อในยุค AI” วิทยากรประกอบด้วย พล.อ.ต. อมร ชมเชยเลขาธิการ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ ประธานอนุุกรรมการฝ่่ายวิชาการ สภาวิชาชีพข่่าววิทยุุและโทรทัศน์ไทย นายชัชวาล สังคีตตระการ นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ นางสาวกนกวรรณ เกิดผลานันท์ หัวข่าวต่างประเทศ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ดำเนินรายการโดย นายณัฏฐ์ บุณยสิริยานนท์ ผู้ดำเนินรายการวิทยุ มิติข่าว FM๙๐.๕
รวมทั้งมีพิธีมอบ รางวัลผลการประกวดภาพถ่าย #เสรีภาพสื่อเสรีภาพประชาชน ผลการประกวดคลิปสั้น #
ชีวิตคนทํางานสื่อ และผลการประกวดคลิปสั้นจากนักศึกษาพิราบน้อย#สงกรานต์ฟรีดอมเดย์วิถีไทย
๑.๑.๒ รายงานสถานการณ์สื่อมวลชนในรอบปี ๒๕๖๗ : ปีแห่งความยากลำบากของสื่อมวลชน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจัดทำรายงานสถานการณ์สื่อประจำปี ๒๕๖๗ โดยให้เป็นปีแห่งความยากลำบากขององค์กรสื่อมวลชน เนื่องจากสื่อมวลชนยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลกระทบจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่ก้าวหน้าไม่หยุดนิ่ง ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคสื่อเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ถือเป็นประเด็นที่ท้าทายต่อการทำงานของสื่อมวลชนทั้งในเรื่องความน่าเชื่อถือของข่าว และการปรับตัวจากผลกระทบของปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งนี้ จากสถานการณ์ดังกล่าวในภาพรวม อาจส่งผลกระทบต่อสื่อมวลชนในประเด็นหลัก ๒ ประการคือ ๑.สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน และ ๒. ปัญหาการเลิกจ้างสื่อ และการปรับตัวเข้ากับแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่มาจากสภาวะเศรษฐกิจ
๑.๒ ด้านงานปกป้องและคุมครองสิทธิเสรีภาพสื่อ
๑.๒.๑ แถลงการณ์กรณีทีมทนายความ ของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล แถลงเส้นทางเงินจากเว็บพนันเชื่อมโยง “นักข่าว” และ “สมาคมนักข่าว” โดยมีเนื้อความว่า “กรณีทีมทนายความ ของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) แถลงเส้นทางเงินจากเว็บพนันเชื่อมโยงนายตำรวจระดับสูงตอนหนึ่ง ซึ่งมีการพาดพิงถึง “นักข่าว” และ “สมาคมนักข่าว” เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๗ นั้น
และเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๗ คณะกรรมการ สมาคมฯ ได้ยื่นตรวจสอบข้อเท็จจริงปมนักข่าวรับเงินแหล่งข่าว ผ่าน“นายกสภาทนายความ” ในฐานะประธานตรวจสอบข้อเท็จจริงปมนักข่าวรับเงินแหล่งข่าว ตามที่สภาการสื่อมวลชนแต่งตั้ง ให้สอบเพิ่มเติมหลังมีการแถลงข้อมูลนักข่าวบางรายรับเงินเอี่ยวเว็บพนัน
๑.๒.๒ แสดงความกังวลพฤติกรรมคุกคามสื่อ เรียกร้องให้เกียรติผู้ปฏิบัติหน้าที่ จากกรณี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แสดงพฤติกรรมใช้ความรุนแรงกับสื่อมวลชนหลังตั้งคำถามกรณี "แพทองธาร ชินวัตร' หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้รับการโหวตจากที่ประชุมสภาฯ เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมย้อนถาม "ถามอะไรๆ ไม่รู้” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเห็นว่า การกระทำดังกล่าวเข้าข่าย ข่มขู่ คุกคามสิทธิเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน จึงขอให้ พล.อ.ประวิตร แสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าว
ขณะเดียวกันขอเตือนไปยังบุคคลใดก็ตามพึงระมัดระวังการใช้อารมณ์รุนแรงชั่ววูบอันอาจก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้ และขอให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมคุกคามเหล่านี้ สิ่งสำคัญควรให้เกียรติผู้ปฏิบัติงานในแต่ละวิชาชีพ รวมถึงเคารพการทำหน้าที่ซึ่งกันและกันด้วย เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๗
๑.๒.๓ แสดงความห่วงใยต่อคนวงการสื่อถูกเลิกจ้าง นางอุษา มีชารี ในฐานะอุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ มีความกังวลต่อสถานการณ์ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง ๓ ถือว่า เป็นสื่อหลักอีกหนึ่งช่อง เตรียมปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ โดยการปลดพนักงาน เพื่อปรับลดค่าใช้จ่ายให้ได้ ๓๐% เพื่อให้องค์กรเดินต่อ ทำให้พนักงานบางส่วนที่ได้รับผลกระทบต่อการปรับองค์กรครั้งนี้ ในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในปัจจุบัน ประกอบกับต้องมีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องมีในแต่ละเดือนที่ต้องดูแลครอบครัว
ทางคณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพฯ มีความห่วงใยต่อพนักงานและครอบครัวของพี่น้องสื่อมวลชนที่ได้รับผลกระทบ จึงขอให้กำลังใจต่อพี่น้องสื่อมวลชนและครอบครัวที่ต้องเจอกับภาวะวิกฤติครั้งนี้ จึงหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่า ทางบริษัทที่เลิกจ้างพนักงาน จะดำเนินการจ่ายค่าจ้างตามสิทธิที่พนักงานควรได้รับตามกฎหมายแรงงาน และขอให้พิจารณาด้วยความเป็นธรรม
ทั้งนี้หากพนักงานเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถร้องไปตามช่องทางของกระทรวงแรงงาน หรือยื่นเรื่องประสานมายังสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จะเป็นตัวกลางในการดำเนินการช่วยเหลือต่อไป เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
๑.๓ ด้านพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพสื่อ
๑.๓.๑ อบรมเชิงปฏิบัติ “การรายงานข่าวในภาวะวิกฤตและสาธารณภัย” (Safety Training ๑๓) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญในความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้สื่อข่าวภาคสนาม ที่จำเป็นต้องเข้าพื้นที่รายงานข่าวในสถานการณ์ที่มีปัญหาความขัดแย้งรุนแรง จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การรายงานข่าวในภาวะวิกฤตและสาธารณภัย” (Safety Training ๑๓) รุ่นที่ ๑๓ เมื่อวันที่ ๒๕ - ๒๘ เมษายน ๒๕๖๗ ณ มอนโทโร่รีสอร์ท อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อช่วยสร้างองค์ความรู้พื้นฐานให้แก่สื่อมวลชนเรื่องการทำข่าวอย่างปลอดภัยในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง การเข้ารายงานข่าวในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติขนาดใหญ่ ทั้งจากน้ำท่วมใหญ่ แผ่นดินไหว สึนามิ เพลิงไหม้รุนแรง หรือตึกถล่ม รวมถึงวิธีการตรวจสอบและจัดการกับข่าวปลอม หรือ Fake News รวมถึงสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนที่ต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงและส่งเสริมให้สื่อมวลชนรายงานข่าวอย่างครบถ้วน รอบด้าน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
๑.๓.๒ อบรมเชิงปฏิบัติการ “เครื่องมือตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย Google News Initiative” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จะจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เครื่องมือตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย Google News Initiative” เนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย ๑.เครื่องมือดิจิทัลสำหรับการสืบค้นข้อมูล ๒.การทำความเข้าใจทฤษฎีปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning เบื้องต้น ๓.เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์พื้นฐานสำหรับงานข่าว และ๔. เครื่องมือตรวจสอบข่าวลวงประเภทต่างๆ (การตรวจสอบภาพย้อนกลับ, การตรวจสอบคลิปวีดีโอ, การตรวจสอบสถานที่ตั้งและภาพถ่ายดาวเทียม) โดยมีคุณไมค์ ธนภณ เรามานะชัย Lead Trainer, Cofact เป็นวิทยากร จัดเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗. ณ ห้อง Meeting A ชั้น ๗ อาคารบางซื่อจังชั่น (ตึกแดงวินเทจ)
๑.๓.๓ อบรมเชิงปฏิบัติการ “นโยบายและกลไกการป้องกันการคุกคามทางเพศในองค์กรสื่อ” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดการอบรมหลักสูตร "นโยบายและกลไกการป้องกันการคุกคามทางเพศในองค์กรสื่อ” โดยได้รับการสนับสนุนทุนจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ UNESCO) เพื่อสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการทำงานสื่อผ่านการเปลี่ยนแปลงเชิงกลไกและนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาการคุกคามทางเพศในองค์กรสื่อ การฝึกอบรมมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ ๑๔, ๒๑, ๒๘ กรกฎาคม และ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๗ มีสื่อมวลชนทั้งในระดับปฏิบัติและระดับบริหารเข้าร่วมจำนวน ๑๘ คน
๒) แผนงานฝ่ายวิชาการ
๒.๑. ด้านงานพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพสื่อ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ๓ หลักสูตร
๒.๑.๑ การอบรมเชิงปฏิบัติการการเป็นนักจัดรายการวิทยุ “รายการช่วยกันคิดทิศทางข่าว”เมื่อ
วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๙.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ ชั้น ๗ ห้อง Meeting A ที่สำนักงานชั่วคราวสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (ตึกแดง บางซื่อจังชั่น ถนนกำแพงเพชร ๒) เป็นความร่วมมือกันมาอย่างยาวนานระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กับ คลื่นข่าว FM๑๐๐.๕ อสมท. ที่เปิดพื้นที่ให้นักข่าวภาคสนามได้มีพื้นที่ในการพัฒนาทักษะในการเป็นนักจัดรายการวิทยุเพิ่มอีก ๑ ทักษะ เพื่อนำไปเพิ่มโอกาสต่อยอดในการทำงานอาชีพสื่อมวลชนในศาสตร์อื่นๆ และเพื่อเป็นการเปิดให้มีความหลากหลายของข่าวในมิติและสายต่างๆมากยิ่งขึ้น มีนักข่าวจากสื่อต่างๆเข้าร่วม ๑๔ คน
๒.๑.๒ การอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายวิชาการวิชาชีพสื่อสารมวลชน ภายใต้โครงการเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อเพื่อการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อ ในหัวข้อ "AI Literacy - การสร้าง และ ระบบการตรวจสอบข้อมูล" จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ณ โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น จตุจักร จัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อ จำนวน ๓๑ คน ที่ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ AI และการนำไปประยุกต์ใช้ในงานสื่อสารมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัล โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยาย อาทิ คุณกนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล ส.ส.ท., ผศ.ดร. ธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ม.รามคำแหง, คุณชัชจ์ ลมเชย Apple Professional Learning Specialist และ อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการเรียนรู้ ม.กรุงเทพ
๒.๑.๓ การอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักข่าวพิราบน้อย” รุ่นที่ ๒๗ เป็นโครงการต่อเนื่องจัดขึ้นเป็นปีที่ ๒๗ ซึ่งหากนับถึงปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมกว่า ๑,๐๐๐ คนแล้ว โดยในปี ๒๕๖๗ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน จัดการอบรม ภายใต้โครงการเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ ยุค AI มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพสื่อสารมวลชน (Professional Development) ความรับผิดชอบต่อจริยธรรมในวิชาชีพ (Ethics Responsibility) และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะองค์กรเพื่อสังคม (Organizational Social Responsibility) ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสถาบันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักข่าวรุ่นพี่ที่
ทำงานทั้งในภาคสนาม และสร้างประสบการณ์ในวิชาชีพสื่อและ เป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มนักศึกษาด้านสื่อมวลชน อันเป็นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการปลูกฝังอุดมคติให้กับนักศึกษาด้วย
โดยในรุ่นที่ ๒๗ มีนักศึกษาที่เรียนด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชนและสาขาวิชาอื่นๆ จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมอบรมจำนวน ๓๐ คน จาก ๒๒ สถาบัน จัดเมื่อวันที่ ๑๕ - วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๘ ณ โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น จตุจักร
๒.๒ งานด้านการสื่อสารสาธารณะและเสวนา จำนวน ๔ กิจกรรม
๒.๒.๑. รายการวิทยุช่วยกันคิดทิศทางข่าว เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กับสำนักข่าวไทยและบริษัท อสมท. จำกัด มหาชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท. FM ๑๐๐.๕ MHz ทุกวันอาทิตย์เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐น. เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักข่าวรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯ รวมทั้งเป็นเวทีในการสื่อสารเรื่องราวที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนให้สาธารณชนได้ รับทราบ รวมทั้งการวิเคราะห์ถึงทิศทางข่าวในสัปดาห์ต่อไป โดยเน้นความหลากหลายของประเด็นข่าว ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และอื่นๆที่เป็นประเด็นร้อนในขณะนั้น
ปี ๒๕๖๗ มีนักจัดรายการวิทยุจำนวน ๑๐ คนประกอบด้วย ๑. นายคัชฑาพงศ์ ลีลาพงศ์ฤทธิ์ ๒.นางสาวดารากาญจน์ ทองลิ่ม ๓.นางสาวนันทพร ทาวะระ ๔.นายบัญชา จันทร์สมบูรณ์ ๕.นางสาวดารินทร์ หอวัฒนกุล ๖. นางสาวณิชชนันทน์ แจ่มดวง ๗. นางสาวพรทิวา กันธิยาใจ ๘.นางสาวปวีณา ชูรัตน์ ๙. นายพฤฒินันท์ สุดประเสริฐ ๑๐.มาลินี วรรณทอง
บรรณาธิการรายการวิทยุจำนวน ๔ คน ประกอบด้วย คือ ๑.นางสาวดารินทร์ หอวัฒนกุล ๒. นายคัชฑาพงศ์ ลีลาพงศ์ฤทธิ์ ๓.นางสาวดารากาญจน์ ทองลิ่ม ๔.นางสาวนันทพร ทาวะระ โดยมีนายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง เลขาธิการ สมาคมฯ เป็นที่ปรึกษา ติดตามฟังรายการวิทยุย้อนหลังได้ที่ www.tja.or.th
๒.๒.๓ www.tja.or.th เว็บไซต์ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข่าวสารต่างๆ ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรม,รายงานกิจกรรม,เผยแพร่กฎหมายที่เกี่ยวข้อง,ประวัติความเป็นมา แสดงจุดยืนและท่าทีของสมาคมฯต่อสถานการณ์ต่างๆของบ้านเมือง รวมทั้งการบันทึกผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ และเป็นชุมชนออนไลน์ของนักวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน ในการแลกเปลี่ยนทัศนะของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน และนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงสื่อสารมวลชน
๒.๒.๔ เพจจุลสารราชดำเนินออนไลน์ https://www.facebook.com/rajdamnernbook/ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการข่าว และวิชาการสื่อมวลชนรวมถึงวิชาชีพสื่อที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเป็นกลไกสร้างความเข้าใจระหว่าง นักวิชาชีพสื่อ นักวิชาการด้านสื่อและประชาชนผู้บริโภคสื่อ เป็นการตรวจสอบซื่งกันและกัน เพื่อเผยแพร่กิจกรรมของสมาคม และข่าวสารการปรับตัวของสื่อในประเทศและต่างประเทศ
๒.๓ งานหนังสือในปี ๒๕๖๗ จัดทำหนังสือ ๑ เล่ม
๒.๓.๑ หนังสือวันนักข่าว เนื้อหาหลักเรื่อง “ทางรอดของสื่อไทยยุคเอไอ- ความน่าเชื่อถือในสื่อกระแสหลัก” สัมภาษณ์ผู้บริหารสื่อต่างๆ ต่อมุมมอง และการวิเคราะห์ทิศทางนวัตกรรม(สื่อ) ในบริบทต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมสื่อ เทรนด์ที่น่าสนใจ เป้าหมายของบริษัทในปัจจุบัน ตลอดจนรายงานกิจกรรมของสมาคม และทำเนียบรายชื่อนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่เป็นสมาชิกสมาคม นายวรพล กิตติรัตวรางกูร เป็นบรรณาธิการ เผยแพร่มีนาคม ๒๕๖๘
๒.๔. งานเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน จัดงานสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๑๙ วารสารศาสตร์ยุคเปลี่ยนผ่าน หรือ Journalism Transition(ภายใต้โครงการเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อเพื่อการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อ) จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันศุกร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา ชั้น ๓ อาคารมงกุฏสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Professional Talk “รูปแบบและโอกาสใหม่ของธุรกิจข่าว The Changing Journalism Business Model” วิทยากร คือ นางสาวณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว THE STANDARD นางสาวอศินา พรวศิน บรรณาธิการบริหาร THE STORY THAILAND และนายวุฒิ นนทฤทธิ์ บรรณาธิการบริหาร The Better
เสวนาทางวิชาการ “The Possible Solution: จะพัฒนา “คนข่าว” ให้ทำงานใน New Journalism Business Ecosystem อย่างไร” วิทยากรคือ นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร บรรณาธิการอำนวยการ เครือเนชั่น ผศ.ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ และดำเนินรายการโดย นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง เลขาธิการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
Professional Talk “The Changing Platforms, The Changing Practices” วิทยากรคือ นายนันทสิทธิ์ นิตยเมธา นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ นายสรวิชญ์ บุญจันทร์คง ผู้สื่อข่าวไทยรัฐออนไลน์ นายกฤษฎาพงษ์ แววคล้ายหงษ์ บรรณาธิการ สำนักข่าวตราดออนไลน์
เสวนาทางวิชาการ “คนข่าวกับจริยธรรมและคุณค่าต่อสังคม” (The Changing Mindset of Ethical Standard and Journalism Value) วิทยากรคือ นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง กรรมการจริยธรรมวิชาชีพ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายข่าว PPTVHD๓๖ นางสาวจิราพร คำภาพันธ์ผู้ช่วยบรรณาธิการข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ดำเนินรายการและนำเสวนาโดย ผศ. ดร.กันยิกา ชอว์ หัวหน้าสาขาวิชาวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจ้นท์และสื่อดิจิทัลสร้างสรรค์ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
สรุปประเด็นจากการสัมมนา Wrap-up และเปิดประเด็นให้มองไปข้างหน้าร่วมกัน โดย ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล ที่ปรึกษา อนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ อนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
การจัดกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อมวลชน ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อใหม่ และเพื่อให้เกิดการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ
๒.๕. งานประกวดข่าว
๒.๕.๑ การประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๖๗ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิอิศรา อมันตกุล ให้ดำเนินการจัดการประกวดข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม รางวัลอิศรา อมันตกุล เพื่อเป็นการรำลึกถึงนายอิศรา อมันตกุล นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรกและนักหนังสือพิมพ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภาย ใต้กรอบจริยธรรม โดยดำเนินการจัดการประกวดมาตั้งแต่ ปี ๒๕๑๕
ในปี ๒๕๖๗ แบ่งการประกวดข่าวออกเป็น ๔ ประเภท คือ ๑. ข่าวยอดเยี่ยมสำหรับสื่อหนังสือพิมพ์ ๒. ข่าวออนไลน์ยอดเยี่ยมสำหรับสื่อออนไลน์ ๓. ภาพข่าวยอดเยี่ยมสำหรับสื่อหนังสือพิมพ์ และ ๔.ภาพข่าวออนไลน์ยอดเยี่ยมสำหรับสื่อออนไลน์
มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวหนังสือพิมพ์จำนวน ๖ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๓ ฉบับ และส่งผลงานข่าวออนไลน์จำนวน ๑๕ ข่าว จากสำนักข่าวออนไลน์ ๗ แห่ง ภาพข่าวหนังสือพิมพ์ จำนวน ๔๒ ภาพ จากหนังสือพิมพ์ ๓ ฉบับ ภาพข่าวออนไลน์ ๓๐ ภาพ จากสำนักข่าวออนไลน์ จำนวน ๑๒ แห่ง
๒.๕.๒ การประกวดรางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๗ ของ ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมฯ ได้มอบหมายให้ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด ข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ซึ่งจัดการประกวดมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ สำหรับในปี ๒๕๖๗ ได้เปิดให้สื่อออนไลน์สามารถส่งผลงานร่วมประกวดรางวัลได้ด้วย มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน ๑๘ ข่าว จากสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์ จำนวน ๘ แห่ง
๓) แผนงานฝ่ายสวัสดิการและสมาชิกสัมพันธ์
๓.๑ ด้านงานสมาชิกสัมพันธ์
๓.๑.๑ โครงการท่องเที่ยวศึกษาวัฒนธรรมเชิงประวัติศาสตร์ จังหวัดกาญจนบุรี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ร่วมกับชมรมนักข่าวอาวุโส จัดกิจกรรมท่องเที่ยวศึกษาเชิงประวัติศาสตร์จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีสถานที่ต่างๆดังนี้ โรงงานกระดาษไทยกาญจนบุรี สะพานข้ามแม่น้ำแคว พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ ๒ สกายวอล์ค พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเก่า และชมต้นไม้จามจุรียักษ์ ๑๐๐ ปี ถือเป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างสื่อมวลชนรุ่นต่อรุ่น โดยมีสมาชิกชมรมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์อาวุโสฯ ๔๘ คน ร่วมเดินทาง เมื่อวันที่ ๑๗ - ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
๓.๒ ด้านงานพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพสื่อ
๓.๒.๑ อบรมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาทักษะสื่อมวลชนยุค AI: One-Day Workshop” การอบรมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะของนักข่าวและสื่อมวลชนให้ทันสมัย และสามารถปรับตัวเข้ากับยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยี AI เข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยเน้นการฝึกปฏิบัติจริงในหัวข้อที่กำลังได้รับความนิยมและเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในปัจจุบัน จัดขึ้นต่อเนื่องทุกวันเสาร์ของเดือนกันยายน ๒๕๖๗ ดังนี้
- การตัดต่อวิดีโอด้วย CapCut (ดร.กฤษณะ เชื้อชัยนาทและทีมงาน) เมื่อวันที่ ๗ กันยายน
- การสร้าง YouTube Channel (คุณจีรณัทย์ แพทย์อุดม) เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน
- การขายผ่าน TikTok (ผู้เชี่ยวชาญจาก TikTok) เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน
- การใช้ AI ในงานข่าว (คุณธีรานนท์ ศิริกุลพิริยะ) เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน
โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภาคเอกชนประกอบด้วยธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารออมสิน, บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน), บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AIS), บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
๓.๓ ด้านงานสวัสดิการสมาชิก
๓.๓.๑ ทุนการศึกษา สมาคมฯ มอบทุนการศึกษาให้กับบุตร-ธิดา สมาชิก โดยแบ่งทุนการศึกษาออกเป็น ๒ประเภท คือ ๑) ทุนส่งเสริมการศึกษา เป็นการให้ทุนแบบรายปี โดยใช้งบประมาณจากกองทุนการศึกษาเพื่อบุตร-ธิดา สมาชิกสมาคมฯ ในปี ๒๕๖๗ มีผู้ได้รับการอนุมัติทุนการศึกษาจำนวน ๕๘ ทุน ทุนละ ๖,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๓๔๘,๐๐๐ บาท มีพิธีมอบทุนการศึกษาเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ และ ๒) ทุนต่อเนื่อง เป็นทุนที่มอบให้แบบต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-ระดับปริญญาตรี โดยได้รับการอนุเคราะห์ทุนการศึกษาจากมูลนิธิเอสซีจี ปีละ ๑๐ ทุน ต่อเนื่องเป็นปีที่ ๑๗ ปัจจุบันมีผู้รับทุนแล้ว ๑๘๔ คน
สำหรับผู้สนับสนุนอาหาร เครื่องดื่มและของที่ระลึกสำหรับลูกหลานนักข่าวในพิธีมอบทุนการศึกษา ประกอบด้วย บริษัท ซีพีเอฟจำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน บริษัท วิริยะประกันภัย จํากัด (มหาชน) บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท บริษัท สยามพาร์ค บางกอก จำกัด มูลนิธิปอเต็กตึ้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และไทยรัฐทีวี
๓.๓.๒ ทุนการศึกษาซีพีเพื่อยุวชนครอบครัวคนข่าว ประจำปี ๒๕๖๗ เป็นทุนการศึกษาที่มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์มอบให้กับ ๔ องค์กรวิชาชีพสื่อประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ และสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย จำนวน ๑๐๐ ทุน ทุนละ ๑๐,๐๐๐ บาท อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ ๓ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของครอบครัวคนข่าว ควบคู่ไปกับการปลูกฝัง “ความกตัญญู” แก่เด็กและเยาวชนไทย โดยมีเงื่อนไขว่าผู้สมัครต้องอยู่ระหว่างการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงอุดมศึกษา และต้องวาดรูปหรือเขียนเรียงความเรื่องความกตัญญู จัดพิธีมอบทุนเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๗ ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น ๖ ทรู ดิจิทัล พาร์ค
๓.๓.๓ การมอบสินไหมมรณกรรมและการร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรมศพ สมาคมฯ ได้จัดทำประกันชีวิตกลุ่ม ให้กับ สมาชิกที่ชำระเงินค่าบำรุงประจำปีกับบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ในปี ๒๕๖๗ มีทายาทของสมาชิกได้รับสินไหมมรณกรรมจาก บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต ๓ คน โดยได้รับคนละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (เสียชีวิตจากการเจ็บไข้ได้ป่วย) รวมเป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท เป็นสมาชิกอาวุโสทั้ง ๓ ท่านประกอบด้วย ๑. คุณศุภรัตน์ แสงสีทอง ๒. คุณวิชัย แสงทวีป ๓. มนตรี ไม้จีน
๓.๓.๔ สวัสดิการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก สมาคมฯมอบสวัสดิการผู้ป่วยในเป็นเงิน ๓๔,๒๐๐ บาท สวัสดิการผู้ป่วยนอกเป็นเงิน ๗๗,๔๔๓ บาท สวัสดิการผู้ป่วยในสำหรับสมาชิกอาวุโสเป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท และสวัสดิการผู้ป่วยนอกสำหรับสมาชิกอาวุโสเป็นเงิน ๒๘,๒๔๕ บาท
๓.๓.๕ ขยายสวัสดิการผู้ป่วยนอกให้สมาชิกสามารถเบิกค่าทำฟันได้ โดยเบิกได้ครั้งละไม่เกิน ๕๐๐ บาท ปีละไม่เกิน ๖ ครั้ง สำหรับสมาชิกทั่วไป และสำหรับสมาชิกอาวุโส สามารถเบิกได้ครั้งละไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ปีละไม่เกิน ๑๒ ครั้ง มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๗ เป็นต้นไป
ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ได้เปิดช่องทางให้สามารถยื่นแบบฟอร์มขอรับสวัสดิการออนไลน์ได้
๓.๓.๖ โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสื่อมวลชนสำหรับสมาชิกสมาคมฯ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯได้รับความสนับสนุนจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ จัดทำโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสื่อมวลชนสำหรับสมาชิกสมาคมฯ ที่มีความประสงค์จะกู้เงินซื้อบ้าน ผ่อนคอนโด รีไฟแนนซ์ กับธอส. ในอัตราดอกเบี้ย ดอกเบี้ยพิเศษ ๒ ปีแรก คงที่ ๒.๔๘๕% และหลังจากนั้นจะลอยตัวตามตลาด โดยต้องได้รับการอนุมัติและทำนิติกรรมภายใน ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๗ (เริ่มโครงการปีแรกเมื่อสิงหาคม ๒๕๖๓)
๔) แผนงานฝ่ายต่างประเทศ
๔.๑ แผนงานสร้างเครือข่ายวิชาชีพต่างประเทศ
๔.๑.๑ แผนงานด้านการเยี่ยมเยือน
๑. เยือนเวียดนาม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ โดยนางสาว น.รินี เรืองหนู นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วยนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษาสมาคมฯ นายอนุชา เจริญโพธิ์ อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ นำคณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่สมาคมฯ เยือนกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ ๑๒ -๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๘ ตามคำเชิญของสมาคมนักข่าวเวียดนาม(VJA) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการกระชับความสัมพันธ์และร่วมพัฒนาศักยภาพประจำปีระหว่างสื่อมวลชนไทย-เวียดนาม สนับสนุนโครงการโดย บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และสายการบินแอร์เอเชีย
การเยือนครั้งนี้ นายเลอ กว๊อก มินห์ นายกสมาคมนักข่าวเวียดนาม ให้การต้อนรับอย่างสมเกียรติที่สมาคมนักข่าวเวียดนาม ในกรุงฮานอย โดยเสนอแนวคิดว่า นอกเหนือจากความร่วมมือด้านวิชาการและการพัฒนาสื่อมวลชน สมาคมของไทยและเวียดนาม น่าจะมีความร่วมมือเพิ่มเติม อย่างการจัดกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อข่าวไทย-เวียดนาม มองว่าบางครั้งนักข่าวไปเยือน แต่ยังไม่รู้จักกันอย่างลึกซึ้ง กีฬาคาดว่าจะช่วยเติมเต็มกันได้ รวมทั้งแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ด้านข่าวสารในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องการแพร่กระจายของข้อมูลที่คลาดเคลื่อนหรือเป็นเท็จ เสนอไอเดียว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการจัดตั้ง ศูนย์แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างสื่อมวลชนไทย-เวียดนามผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง อย่างข่าวการเสียชีวิตของกลุ่มชาวเวียดนาม ที่โรงแรมใน กทม. ก็ได้รับความสนใจในเวียดนามเป็นอย่างมาก
รายชื่อคณะผู้แทนประกอบด้วย ๑.นางสาวน.รินี เรืองหนู นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (หัวหน้าคณะ) ๒.นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษาสมาคมฯ ๓. นายอนุชา เจริญโพธิ์ อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ ๔. นายวีรพจน์ อินทรพันธ์ รองเลขาธิการฝ่ายต่างประเทศ ๕. นางสาวมาลีรัตน์ เพชรสร้าง อนุกรรมการฝ่ายสวัสดิการและสมาชิกสัมพัยธ์ และ ๖. นางสาวณัฐชา บุญเมือง เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร
๒. ต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากกัมพูชา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ Club of Cambodia Journalists – CCJ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-กัมพูชาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ในปีนี้คณะผู้แทนสื่อมวลชนจาก Club of Cambodia Journalists - CCJ) นำโดย Mrs THONG Sovanrainsey Secretary General, Club of Cambodian Journalists -CCJ เป็นหัวหน้าคณะนำสื่อมวลชนกัมพูชารวมจำนวน ๑๐ คน มาเยือนประเทศไทยระหว่างวันศุกร์ที่ ๑๖ – วันอังคารที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๗
โดยการมาเยือนครั้งนี้ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน และ มีการจัดตั้ง Hotline contact ระหว่าง ๒ สมาคม เพื่อเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารกันในประเด็นเร่งด่วนฉุกเฉิน หรือประเด็นที่จะก่อให้เกิดความไม่
สำหรับโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนกัมพูชา-ไทย ครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญและมูลนิธิประเทศไทย
๓. ต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากสปป.ลาว สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมนักข่าวแห่ง สปป.ลาว (Lao Journalists Association– LJA) จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-ลาวขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสื่อมวลชนของ ในปีนี้คณะผู้แทนสื่อมวลชนลาวมาจำนวน ๖ คนมาเยือนประเทศไทยระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๖ - วันจันทร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ โดยมีท่านสะหวันคอน ราชมนตรี ประธานสมาคมนักข่าวแห่ง สปป.ลาว เป็นหัวหน้าคณะ พร้อมด้วยคณะผู้แทนอีก ๕ คนประกอบด้วย ๑. ท่านทนงสิน กันละยา (รองหัวหน้าคณะ) ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สขล, สมาชิกสภาแห่งชาติลาว และรองประธานสภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว ๒. ท่านนางมะนีพัน หลวงสีสงคาม รองอธิบดีกรมแผนการและการร่วมมือสากล ๓. ท่านวรศักดิ์ ประวงเวียงคำ กรรมการคณะบริหารสมาคมนักข่าวแห่ง สปป.ลาว และรองผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติลาว (วสล) ๔. ท่านอาดิตตะ กิตติคุณ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สขล,ผู้อำนวยการกลุ่มค้นคว้าพัฒนาความรู้ (RDK Group) และผู้บริหารเว็บไซต์ Laopost และ ๕.ท่านทองวัน บุนบัวทองผู้จัดการสมาคมนักข่าวแห่ง สปป.ลาว
โดยการเยี่ยมเยือนครั้งนี้ได้มีการ ๑.เข้าเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตลาวประจำประเทศไทย ๒.เข้าเยี่ยมคารวะรองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ๓.ประชุมร่วมระหว่างผู้แทนสมาคมนักข่าวฯ ๒ ประเทศ
๔.สัมมนา “บทบาทสื่อมวลชนในโอกาส ๗๕ ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว” ๕.พบปะแลกเปลี่ยนผู้บริหาร The Standard ๖.พบปะแลกเปลี่ยนผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ NBT กรมประชาสัมพันธ์
๗. ศึกษาดูงานมหาชัยเคเบิลทีวี และ ๘ เข้าร่วมพิธีเปิดการฝึกอบรมและการฝึกงานสำหรับนักข่าวลาวในประเทศไทย
๔.๑.๒ แผนงานด้านสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายองค์กรต่างประเทศ
๑. ร่วมประชุมนักข่าวโลก (World Journalists Conference ๒๐๒๔) ที่กรุงโซล โดยปี ๒๕๖๗ นักข่าวกว่า ๕๐ คนจาก ๔๖ ประเทศ ทั่วโลกเข้าร่วม นางสาวเพ็ญโสภา สุคนธรักษ์ อนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เดินทางไปร่วมการประชุม World Journalists Conference ๒๐๒๔ ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๖ เมษายน ๒๕๖๗ ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ งานนี้จัดโดยสมาคมนักข่าวแห่งเกาหลีใต้ (Journalists Association of Korea) หรือ JAK โดยมีนักข่าวจำนวน ๕๖ คนจาก ๔๖ ประเทศเดินทางไปเข้าร่วม เพื่อหารือแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอนาคตและบทบาทของสื่อมวลชนและการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักข่าวจากประเทศต่างๆทั่วโลก
การประชุมนักข่าวโลกจัดขึ้นทุกปีในเกาหลีใต้ โดยสมาคมนักข่าวตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ ซึ่งในปีนี้ มีขึ้นในหัวข้อบทบาทของสื่อมวลชนในการส่งเสริมสันติภาพ และผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ต่ออนาคตแวดวงสื่อมวลชน โดยปัจจุบันนักข่าวที่ไปทำงานท่ามกลางสมรภูมิการสู้รบและความขัดแย้งหลายประเทศยังขาดการอบรมทักษะเพื่อความปลอดภัยของนักข่าว และไม่ได้สนับสนุนด้านอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ขณะที่โลกกำลังเดือดหลายสมรภูมิปะทุขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และอิสราเอล-ฮามาส การทำงานของนักข่าวเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงมารายงานข่าวยังเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด
๒. UNESCAP เข้าพบผู้แทนสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ดร.อนุชา เจริญโพธิ์ อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วยกรรมการบริหารและอนุกรรมการ สมาคมฯ ประกอบด้วยนายวีรพจน์ อินทพันธ์ นางสาววัชรินทร์ เศรษฐกุดั่น นางสาวกรชนก รักเสรี และนายมงคล บางประภา เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือที่หลากหลายกับตัวแทนจาก UNESCAP โดยมี Mitchell Hsieh หัวหน้าฝ่ายสื่อสารและการจัดการความรู้ นางสาวกวิตา สุกะนันทน์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ และนายสมพจน์ สุพุทธมงคล ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ สำนักงาน สกท.เข้าร่วม ณ สำนักงานชั่วคราว สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ อาคารบางซื่อจังชั่น ชั้น ๗ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๗
๓. ร่วมงานฉลองครบรอบการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นปีที่ ๗๕ นางสาว น. รินี เรืองหนู นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ดร. อนุชา เจริญโพธิ์ อุปนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและนายมงคล บางประภา ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมงานฉลองครบรอบการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นปีที่ ๗๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๗ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
๔. ร่วมเฉลิมฉลองงานกาล่าดินเนอร์ครอบรอบ ๖๒ ปีการก่อตั้งสมาคมสื่อแห่งประเทศมาเลเซีย โดยผู้แทนจากสมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งประเทศไทย (Confederation of Thai Journalists) และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (Thai Journalists Association) นำโดยนายนคร วีระประวัติ ประธานสมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งประเทศไทย นางสาว น.รินี เรืองหนู นายกสมาคม นักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ รองประธานสมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งประเทศไทย นาย ดำฤทธิ์ วิริยะกุล เลขาธิการ สมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และ ดร. อนุชา เจริญโพธิ์ อุปนายก(กิจการต่างประเทศ) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ คณะทำงานทางด้านการต่างประเทศของสมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งประเทศไทยเข้าร่วมเฉลิมฉลองงานกาล่าดินเนอร์ครอบรอบ ๖๒ ปีการก่อตั้งสมาคมสื่อแห่งประเทศมาเลเซีย National Union of Journalists Malaysia (NUJM) ซึ่งจัดขึ้นที่อาคาร World Trade Centre กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในค่ำคืนวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ตามคำเชิญของ นางสาว Farah Marshita Abdul Patah นายกสมาคมสื่อแห่งประเทศมาเลเซีย (NUJM)
การเดินทางไปร่วมแสดงความยินดีและฉลองความสำเร็จในการจัดตั้งองค์กรสื่อแห่งประเทศมาเลเซีย NUJM ครบรอบ ๖๒ ปีในครั้งนี้ เพราะ NUJM เป็นพันธมิตรองค์กรทางด้านสื่อสารมวลชนกับสมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มาอย่างช้านานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ที่ผ่านมาทั้งสององค์กรในประเทศไทย และสมาคมสื่อแห่งประเทศมาเลเซีย ก็ได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชนมาตลอดอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพการแสดงออกทางความคิดเห็นของนักข่าวทั้งสองประเทศ การอบรมการให้ความรู้ทางด้านการสื่อสารมวลชน และการพัฒนาศักยภาพของนักข่าวร่วมกัน
๕. เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เปิดทำเนียบทูต จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ผู้สื่อข่าวไทย ที่เข้าร่วมโครงการ “มองจีนยุคใหม่ สิ่งที่สื่อไทยควรรู้” ฯพณฯ หาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เปิดทำเนียบทูต จัดงานเลี้ยงสังสรรค์กับผู้สื่อข่าวไทย ที่เข้าร่วมโครงการ “มองจีนยุคใหม่ สิ่งที่สื่อไทย
ควรรู้” ตั้งแต่รุ่นที่ ๑ ถึง รุ่นที่ ๖ พร้อม ทั้งกล่าวชื่นชมการทำงานของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นต้นคิดในการทำโครงการดังกล่าว เนื่องจากหลักสูตรนี้ไม่เพียงจะช่วยให้สื่อมวลชนไทยได้รับข้อมูลของประเทศจีนที่เป็นความจริง แต่ยังช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจระหว่างประชาชนทั้ง ๒ ประเทศด้วยทั้งนี้ โครงการ“มองจีนยุคใหม่ สิ่งที่สื่อไทยควรรู้” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนไทยได้ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาในมิติต่าง ๆ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งจากการนักวิชาการไทยและวิทยากรในเวทีเสวนา และจากการเดินทางไปสัมผัสประสบการณ์ตรงผ่านสายตาของตนเองในประเทศจีน โครงการดังกล่าวเริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย รวมทั้งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศจีน ตั้งแต่รุ่นที่ ๑ จนถึงปัจจุบัน มีผู้สื่อข่าวไทยเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน ๑๕๐ คน เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
๖. ต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากมณฑลเสฉวน นางสาว น.รินี เรืองหนู นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นำคณะกรรมการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยให้การต้อนรับ นาย หลี่ หวยเฉียง รองผู้อำนวยการสำนักกิจการต่างประเทศประจำมณฑลเสฉวน กระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนในโอกาสที่ได้นำคณะสื่อมวลชนจีนจากมณฑลเสฉวนมาเยี่ยมเยียนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องภูมิทัศน์ของสื่อสารมวลชนระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน ที่สำนักงานชั่วคราว สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อาคาร เดอะไรซ์ เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๗
๗. พบปะนักข่าวเวียดนามประจำประเทศไทย คณะอนุกรรมการด้านต่างประเทศของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นำโดย ดร . อนุชา เจริญโพธิ์ อุปนายก พบปะปรึกษานักข่าวเวียดนามประจำประเทศไทย เพื่อประสานการทำงานร่วมกัน เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๘ ณ ร้านอาหารจีราพร แยกสุทธิสาร ดินแดง กรุงเทพ
๘. พบปะนักข่าวจีนประจำประเทศไทย คณะอนุกรรมการด้านต่างประเทศของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นำโดย ดร . อนุชา เจริญโพธิ์ อุปนายก พบปะปรึกษานักข่าวจีนประจำประเทศไทย เพื่อประสานการทำงานร่วมกัน เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๘ ณ ร้านอาหารจีราพร แยกสุทธิณ ภัตตาคาร "ฉู่ต้าเสีย" CDC
๙. เยือนแหล่งท่องเที่ยวในแขวงคำม่วนและแขวงสะหวันนะเขต สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมนักข่าวแห่ง สปป.ลาว และกรมโฆษณาการท่องเที่ยว กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรมและท่องเที่ยว สปป.ลาว จัดโครงการเยือนแหล่งท่องเที่ยวในแขวงคำม่วนและแขวงสะหวันนะเขต นำสื่อมวลชนไทย-ลาวจำนวน ๘ คน ร่วมสำรวจแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ มุ่งประชาสัมพันธ์ศักยภาพการท่องเที่ยวและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศระหว่างวันที่ ๒๕ – ๓๐ มกราคม ๒๕๖๗ ได้รับการสนับนุนจากบริษัท Big Blue และสายการบินแอร์เอเซีย
๔.๒ แผนงานพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพสื่อ
๔.๒.๑ อบรมเชิงปฏิบัติการ “การทำข่าวเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การทำข่าวเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อนุชาเจริญโพธิ์ อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม โดยมี นายโรเบิร์ตเอฟ. โกเดคเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย กล่าวปาฐกาพิเศษ เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๗ ณ โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น จตุจักร
กิจกรรมช่วงเช้าเป็นการเสวนาหัวข้อ “เลือกตั้งผู้นำสหรัฐ ๒๐๒๔ กับฉากทัศน์ต่อไปเองไทยและโลก” วิทยากรประกอบด้วย ผศ.ดร.ประพีร์อภิชาติสกล อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อุปนายกสมาคมอเมริกาศึกษาในประเทศไทย นายสนั่นอังอุบลกุลประธานคณะกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนางสาววรรษมนอุจจรินทร์ อนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และอดีตผู้สื่อข่าว Voice of America Thai หรือ VOA Thai
สำหรับกิจกรรมในช่วงบ่าย เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สื่อข่าว ได้แก่ กิจกรรมสร้างความรู้จัก, ทำแบบประเมินก่อนอบรม, กิจกรรม “ศัพท์เกี่ยวกับข่าวเลือกตั้ง”, เวิร์คช็อปการวางแผนการทำข่าวเลือกตั้งสหรัฐฯ และทำแบบประเมินหลังอบรม พร้อมมอบใบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าอบรม
๔.๒.๒ อบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับสื่อมวลชนกัมพูชาหัวข้อ “การรายงานข่าวและการตรวจสอบข้อเท็จจริง” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าวแห่งประเทศกัมพูชา (Club of Cambodian Journalists) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญและกรมประชาสัมพันธ์ จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ สื่อมวลชนกัมพูชาหัวข้อ “การรายงานข่าวและการตรวจสอบข้อเท็จจริง” โดยมีสื่อมวลชนกัมพูชาเข้าร่วมจำนวน ๕ คน ประกอบด้วย ๑.Mr. Sul Rorvy Journalist, Thmeythmey digital Media ๒.Mr. Chenda Teyte Senior of International News Reporter, Domrey News ๓. Miss. Nao Sreysros MC, Radio Bayon ๔. Mr. Him Karona Civil Servant, TVK และ ๕.Mr. Mam Sovannmunyroth Editor ,TECHO PEACE NEWS ระหว่าง ๑๖-๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๗ ณ สถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพฯ
การอบรมครั้งนี้จะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ความเข้าใจในบริบทของสื่อมวลชนทั้ง ๒ ประเทศ และการนำเสนอข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับสื่อมวลชนในยุคดิจิทัล นอกจากนี้มีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักข่าวไทย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างสื่อมวลชนทั้งสองประเทศ สนับสนุนการจัดอบรมโดย สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ มูลนิธิไทย และกรมประชาสัมพันธ์
โดยเนื้อหาการอบรมที่สื่อมวลชมกัมพูชาได้เรียนรู้ ประกอบด้วยการบรรยาย หัวข้อ ๑.“ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา” ๒. “ความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-กัมพูชา” ๓.“ภูมิทัศน์สื่อมวลชนไทยและอาเซียน” ๔.“ความร่วมมือระหว่างสื่อมวลชนของรัฐในประเทศอาเซียน” ๕.“การบริหารจัดการสื่อออนไลน์และการแก้ปัญหา Fake News” นอกจากนี้ยังได้ศึกษาดูงานองค์กรสื่อ ๕ องค์กรประกอบด้วย กรมประชาสัมพันธ์ NBT (Mr. Him Karona) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Mr. Chenda Teyte Mr. Mam Sovannmunyroth อสมท. (Miss. Nao Sreysros) หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ (Mr. Sul Rorvy)
๔.๒.๓ อบรมหลักสูตร “มองจีนยุคใหม่ ความท้าทายที่สื่อไทยควรรู้” ครั้งที่ ๖ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้สื่อมวลชนไทยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับจีนยุคใหม่และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ได้อย่างครบถ้วน รอบด้าน อันจะนำไปสู่การรายงานข่าวให้สาธารณะรับทราบอย่างถูกต้อง กระชับความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนไทยกับหน่วยงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้องระหว่างไทย-จีน และสร้างเครือข่ายระหว่างสื่อมวลชนไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย มีสื่อมวลชนทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคและคณะทำงานเข้าร่วมอบรมจำนวน ๒๕ คน มีการลงพื้นที่สำรวจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในนครฉงชิ่ง มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อ ๒๔-๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๗
แบ่งการจัดกิจกรรมในโครงการเป็น ๔ รูปแบบคือ
๑. การปฐมนิเทศโครงการ “มองจีนยุคใหม่ สิ่งที่สื่อไทยควรรู้ รุ่นที่ ๖” ได้รับเกียรติจากนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย มาร่วมในพิธีปฐมนิเทศและกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ หัวข้อ “เศรษฐกิจจีนในมุมมองใหม่” จัดเมื่อ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๗ ณ โรงแรมเบสต์เวสต์เทริน์ จตุจักร
หาน จื้อเฉียง บรรยายว่า จีนมีระบบการปกครองสังคมนิยมในรูปแบบของตัวเอง ไม่ใช่สังคมนิยมรัฐสวัสดิการแบบชาติตะวันตก หรือแบบสหภาพโซเวียต แต่เป็นสังคมนิยมที่ผนวกรวมเข้ากับวัฒนธรรมจีน และดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้วยกลไกตลาด การปกครองของจีนจึงมีทั้งส่วนที่เหมือนและต่างจากการปกครองของชาติอื่น ๆ (ดูเนื้อเพิ่มเติมที่ https://tja.or.th/view/activities/media-movements/๑๔๕๒๖๕๖)
๒. การบรรยายทางวิชาการ โดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ๕ ประเด็นประกอบด้วย บรรยาย “ทิศทางสงครามการค้าจีน-สหรัฐ; ผลกระทบต่อไทยและอาเซียน” ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒. บรรยาย “จีนยุคใหม่ภายใต้ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง” ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ๓. บรรยาย “AI และนวัตกรรมในจีน” ตฤณ วุ่นกลิ่นหอม นายกสมาคมการค้าดิจิทัลไทยและกรรมการการค้าข้ามแดนจีน ๔.บรรยาย “จีนในตลาดโลก . โอกาสการค้าและการลงทุน” ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน ๕.บรรยาย “แผนพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมของจีน :ความร่วมมือไทย-จีน” ดร.อรสา รัตนอมรภิรมย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ สำนักงานนวัตกรรมและความร่วมมือสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
๓. การนำเสนอข้อมูลรายบุคคล ประเด็น “จีนในมุมมองของท่าน” จำนวน ๒๐ หัวข้อ
๔. กิจกรรมระหว่างประเทศ (วันอาทิตย์ที่ ๒๗ – วันพุธที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ ) การเดินทางไป ศึกษาดูงาน ณ นครฉงชิ่ง มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วย ๑.โรงงานผลิตรถยนต์ฉางอันเหลียงเจียง (Changan Liangjiang) ๒.วิทยาลัยอาชีวศึกษาและเทคนิควิศวกรรมฉงชิ่ง ๓. ศูนย์นิทรรศการศูนย์โลจิสติกส์นานาชาติท่าเรือ Chongqing Hub Port ๔. สำนักงานการต่างประเทศเทศบาลนครฉงชิ่ง (เลี้ยงรับรองอาหารเย็น) ๕.ศูนย์นิทรรศการ Chongqing Planning Exhibition Hall ๖. Tencent Exhibition Hall ๗. Sanfeng Environmental Group
๔.๒.๔ อบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับสื่อมวลชน สปป. ลาวหัวข้อ “การรายงานข่าวสิ่งแวดล้อม” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าวแห่งประเทศกัมพูชา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าวแห่ง สปป.ลาว และกรมประชาสัมพันธ์ จัดการอบรมเสริมศักยภาพสื่อมวลชนลาวในการรายงานข่าวสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ GAMCIL ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (EU) โดยคณะสื่อมวลชนจาก สปป.ลาว ได้เดินทางมาศึกษาดูงานในประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๐-๒๑กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ เพื่อเรียนรู้การรายงานข่าวสิ่งแวดล้อม รวมทั้งศึกษาดูงานจากแนวทางการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมจากองค์กรชั้นนำของไทย
ในระหว่างการอบรม คณะสื่อมวลชนลาวได้เข้าศึกษาดูงานที่องค์กรชั้นนำของไทยหลายแห่ง ได้แก่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้นำด้านการค้าปลีกที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG ผู้นำด้านนวัตกรรมการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ผู้นำด้านพลังงานสะอาด รวมถึงสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ
นอกจากนี้ ยังได้เข้าฝึกงานที่สถานีโทรทัศน์ชั้นนำของไทย ได้แก่ ThaiPBS, MCOT และ NBT เพื่อเรียนรู้เทคนิคและกระบวนการผลิตข่าวสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การคิดประเด็น การลงพื้นที่เก็บข้อมูล การสัมภาษณ์แหล่งข่าว ไปจนถึงการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ
๕) แผนงานฝ่ายเลขานุการ
ในปี ๒๕๖๗ คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นการประสานความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพสื่อและกิจกรรมที่ประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอก แบ่งงานออกเป็น ๒ กลุ่มงานดังนี้
๕. ๑. งานด้านการระดมทุนจากการจัดกิจกรรมสมาคม
๕. ๑.๑ TJA TALK สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ จัดงาน TJA Talk ขึ้นเป็นประจำในวันที่ ๕ มีนาคมของทุกปีมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ โดยในปี ๒๕๖๗ สมาคมฯ ได้จัดปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ทุนมนุษย์” ยุค ๕.๐ สร้างไทยยั่งยืน ขจัดความยากจนลดความเหลื่อมล้ำ” โดยมี ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นองค์ปาฐก เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๗ ณ ห้อง Phayathai Grand Ballroom ชั้น ๖ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท
๕.๑.๒ หนังสือวันนักข่าว สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ จัดทำหนังสือวันนักข่าว ซึ่งเป็นหนังสือรายงานประจำปีเผยแพร่ภายในเดือนมีนาคม นอกจากจะเป็นการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมฯ แล้ว ยังได้รวบรวมผลการประกวดข่าวประเภทต่างๆ ของสมาคมฯ เอาไว้ด้วย ในปี ๒๕๖๗ สมาคมฯ ได้มอบหมายให้บริษัท นักทุ่งเที่ยว จำกัด เป็นผู้ดำเนินการการจัดหาโฆษณา โดยเนื้อหาหลักในปีนี้เน้นเรื่อง “สื่อไทยยุค AI: ความท้าทายและความน่าเชื่อถือที่ต้องเผชิญ”
๕.๒ งานด้านการระดมทุนจากการจัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
๕.๒.๑ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในปี ๒๕๖๗ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ เสนอขอรับทุนสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อเพื่อการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อ จำนวน ๑๐ กิจกรรม ได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวน ๖ ล้านบาท ดังนี้
- กิจกรรมที่ ๑ :อบรมเชิงปฏิบัติการ "เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อเพื่อการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อ สำหรับเยาวชน" (ทั่วประเทศ)เยาวชน (นักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์วารสารศาสตร์) จากภาคเหนือ
- กิจกรรมที่ ๒ :อบรมเชิงปฏิบัติการ "เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อเพื่อการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อ สำหรับเยาวชน" (ภาคเหนือ)
- กิจกรรมที่ ๓ :อบรมเชิงปฏิบัติการ "เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อเพื่อการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อ สำหรับเยาวชน" (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
- กิจกรรมที่ ๔ :อบรมเชิงปฏิบัติการ "เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อเพื่อการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อ สำหรับเยาวชน" (ภาคใต้)
- กิจกรรมที่ ๕ :อบรมเชิงปฏิบัติการ "เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อเพื่อการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อ สำหรับเยาวชน" (ภาคกลาง)
- กิจกรรมที่ ๖ :อบรมเชิงปฏิบัติการ "เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อเพื่อการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อ สำหรับนักวิชาการ"
- กิจกรรมที่ ๗ :อบรมเชิงปฏิบัติการ "เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อเพื่อการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อ สำหรับนักข่าวใหม่"
- กิจกรรมที่ ๘ :อบรมเชิงปฏิบัติการ "เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อเพื่อการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อ สำหรับนักข่าวภูมิภาค"
- กิจกรรมที่ ๙ :อบรมเชิงปฏิบัติการ "เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อเพื่อการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อ สำหรับนักนักข่าวภาคสนาม"
- TIKTOK รู้เท่าทันสื่อ
ซึ่งในปี ๒๕๖๗ ได้จัดทำกิจกรรมไปแล้ว ๑ กิจกรรม เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน จัดสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๑๙ ในหัวข้อ “วารสารศาสตร์ยุคเปลี่ยนผ่าน” (Journalism Transition) เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและหาทางรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของแพลตฟอร์มสื่อและประเด็นจริยธรรมในยุคดิจิทัล ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา ชั้น ๓ อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายวิชาการวิชาชีพสื่อสารมวลชน ในหัวข้อ "AI Literacy - การสร้าง และ ระบบการตรวจสอบข้อมูล" เมื่อวันที่ ๒๓-๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ณ โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น จตุจักร
๕.๒.๒ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในปี ๒๕๖๗ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ยื่นเสนอขอรับทุนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้รับอนุมัติ จำนวน ๑ โครงการ งบประมาณสนับสนุนจำนวน ๒.๑ ล้านบาท (Thai Journalists Association’s Investigative reporting/Workshop)
๕.๓ งานด้านประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอก
๕.๓.๑ อบรมเชิงปฏิบัติการ “การรายงานข่าวเพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm Reduction)” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ร่วมกับสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย TIJ จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การรายงานข่าวเพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm Reduction)”โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เพื่อให้สื่อมวลชน มีความเข้าใจแนวทางการแก้ปัญหายาเสพติดทางเลือก Harm Reduction มากขึ้น สามารถนำไปเสนอออกสู่สังคมได้ และเพื่อให้สังคมไทยรู้จักทางเลือกใหม่ในการแก้ปัญหายาเสพติดที่ไม่ใช่เพียงการปราบปรามจับกุม เปิดมุมมองใหม่ และเปลี่ยนทัศนคติต่อผู้เสพยา มีสื่อมวลชนเข้าร่วมอบรม ๑๙ คน เมื่อ ๑๙-๒๑ มกราคม ๒๕๖๗ ณ ห้องเลควิว บอลรูม ศักดิ์สยาม เลคไซด์ รีสอร์ท จังหวัดนนทบุรี
หลังจากการอบรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่สนใจประเด็น “การรายงานข่าวเพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm Reduction)” นำเสนอแนวคิดเพื่อรับทุนในการผลิตผลงานเผยแพร่ จำนวน ๕ ทุน
๕.๓.๒ โครงการอบรมสื่อมวลชน “การรายงานข่าวเพื่อความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม” สมาคมฯ ร่วมกับสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย TIJ จัดทำโครงการอบรมสื่อมวลชนประเด็นความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมหัวข้อ “การรายงานข่าวเชิงสืบสวนกรณีลักลอบทิ้งกากของเสียอันตราย” เพื่อจะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่ทำให้สังคมเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีและเชื่อในกระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อันจะนำไปสู่ความเป็นธรรมและเท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อความร่วมมือในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในระยะยาว จำนวน ๒ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑-๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ณ โรงแรมแคนทารี จังหวัดปราจีนบุรี มีสื่อมวลชน ผู้แทนองค์กรและนักศึกษา เข้าร่วมอบรม ๑๘ คน
ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๕-๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๗ ณ โรงแรม Eastin Resort Rayong จังหวัดระยอง ปราจีนบุรี มีสื่อมวลชน ผู้แทนองค์กรและนักศึกษา เข้าร่วมอบรม ๑๖ คน
๕.๓.๓ วางพวงมาลาถวายราชสักการะล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ นางสาวธนิตา อิสรา รองเลขาธิการฝ่ายสวัสดิการและสมาชิกสัมพันธ์ เป็นผู้แทนสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เข้าร่วมวางพวงมาลาถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ วชิรปาร์ค คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล เมื่อ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
๕.๓.๔ หารือแนวทางความร่วมมือระหว่างสมาคมฯ กับกระทรวงแรงงาน นางสาว น.รินี เรืองหนู นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นำคณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ณ ห้องจัตุมงคล ชั้น ๖ อาคารกระทรวงแรงงาน เพื่อแนะนำตัว และหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างสมาคมฯ กับกระทรวงแรงงาน ในเพิ่มทักษะอาชีพให้กับสื่อมวลชน
โดยมี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายสมพจน์ กวางแก้ว ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับและเข้าร่วมหารือ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๗
๕.๓.๕ UNDP Thailand เข้าพบและหารือกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ นางสาวกานท์กลอน รักธรรม หัวหน้าด้านสื่อสาร โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) เข้าพบและหารือกับ ตัวแทนสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วยนางหทัยรัตน์ ดีประเสริฐ อุปนายกฝ่ายวิชาการ นางอุษา มีชารี อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง เลขาธิการและโฆษกสมาคมฯ และนางสาวเทียมใจ ทองเมือง ผู้จัดการสมาคมฯ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗
โดยเป็นการหารือความร่วมมือ รวมทั้งเกี่ยวกับกิจกรรมอบรม UNDP Media Fellowship on Sustainable Development ซึ่งจะเป็นโครงการอบรมสื่อมวลชนใน ๔ ประเด็นเกี่ยวกับความยั่งยืน (ESG) ได้แก่ ความยั่งยืนเกี่ยวกับผู้พิการ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเท่าเทียมและหลากหลายทางเพศ และสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคมเสมอภาคและยุติธรรม
๕.๔ งานด้านการปรับปรุงอาคารสถานที่
๕.๔.๑ ความคืบหน้าการสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ สถานีวชิรพยาบาล ตามที่มีก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ทำให้พื้นที่บริเวณด้านหน้าอาคารสมาคมฯ จากแนวริมฟุตปาธเข้ามาจนติดตัวอาคารถูกเวนคืนเพื่อก่อสร้าง ๑ ใน ๔ ทางออกของสถานีรถไฟฟ้าสถานีวชิรพยาบาล รวมทั้งกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-พีแอล (ประกอบด้วย บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ขอเข้าใช้พื้นที่อาคารสมาคมฯ ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งจะหมดสัญญาเช่าพื้นที่อาคารในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๘ ความคืบหน้าการก่อสร้างได้ดำเนินการไปแล้วกว่า ๕๐%
๕.๔.๒ ย้ายที่ทำการชั่วคราวไปยังอาคารเดอะไรซ์ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๗ สมาคมนักข่าวฯทำการคืนพื้นที่และปิดสำนักงานชั่วคราว ที่ศูนย์นวัตกรรมและความรู้ RMUTT Innovation & Knowledge Center มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ชั้น ๗ ตึกแดงบางซื่อจังชั่น ก่อนที่จะย้ายไปยังสำนักงานชั่วคราวแห่งใหม่ไปที่อาคารโครงการ The RICE ชั้น ๕ ห้อง ๕๐๑ อาคาร THE RICE แยกสะพานควาย
ที่ทำการชั่วคราวของ TJA ที่อาคาร THE RICE นอกจากจะเป็นสำนักงานปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สมาคมฯแล้ว ยังจะเป็นสถานที่ติดต่อ พบปะของสมาชิก องค์กร หน่วยงานต่างๆได้ตามปกติ และยังเป็นเป็นสถานที่จัดการประชุม จัดกิจกรรม การอบรมต่างๆ รวมทั้งยังยินดีต้อนรับอำนวยความสะดวกเปิดเป็นพื้นที่ทำงานให้กับสมาชิกและสื่อมวลชนที่มาทำข่าวในย่านดังกล่าว แล้วต้องการหาสถานที่นั่งทำงานได้อีกด้วยในช่วงเวลาทำการของสมาคมฯ
๖) แผนงานฝ่ายฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
๖.๑ กิจกรรมราชดำเนินเสวนาและราชดำเนินสนทนา เป็นโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๒๕ ซึ่งเป็นความริเริ่มจากสมัยที่นายกวี จงกิจถาวร เป็นนายก สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๒) มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการทำงานข่าวให้มีคุณภาพและอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง โดยมีการเชิญแหล่งข่าวมาพบปะพูดคุยและตอบคำถามนักข่าว เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างนักข่าวกับแหล่งข่าวในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้จัดราชดำเนินเสวนาไปจำนวน ๖ ครั้ง สามารถติดตามเนื้อหาราชดำเนินเสวนาได้ที่ www.tja.or.th
๖.๑.๑.กิจกรรมราชดำเนินสนทนา หัวข้อ “เสียงภาคสนาม คือเสรีภาพสื่อมวลชน” วิทยากรประกอบด้วยนางสาวฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้งสำนักข่าว The Reporters นายทวีชัย จันทะวงค์ หัวหน้าช่างภาพข่าว สำนักข่าวพีพีทีวีออนไลน์ นายสุเมธ สมคะเน เลขาธิการสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย นายธนกร วงษ์ปัญญา บรรณาธิการข่าวไทย สำนักข่าว THE STANDARD ผู้ดำเนินรายการโดยนายวีรพจน์ อินทรพันธ์ รองเลขาธิการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๗ ณ อาคารบางซื่อจังชั่น สำนักงานชั่วคราวสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
๖.๒.๒ กิจกรรมราชดำเนินเสวนา ในปี ๒๕๖๗ จัดจำนวน ๔ ครั้ง ดังนี้
๑. ราชดำเนินเสวนาหัวข้อ “เสรีภาพสื่อในยุค AI” เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก” (World Press Freedom Day) วิทยากรประกอบด้วย พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ นายชัชวาล สังคีตตระการ นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กกรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ ประธานอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และนางสาวกนกวรรณ เกิดผลานันท์ หัวหน้าข่าวต่างประเทศหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ดำเนินรายการโดย นางสาวณัฏฐ์ บุณยสิรอิยานนท์ ผู้ดำเนินรายการวิทยุ มิติข่าว FM๙๐.๕ เมื่อวันที่ ๓ พ.ค. ณ ที่ทำการชั่วคราวสมาคมนักข่าวฯ อาคารบางซื่อจังชั่น (ตึกแดง) ถนนกำแพงเพชร ๒
๒. ราชดำเนินเสวนาหัวข้อ “เลือก สว. กติกาใหม่ ใครได้ใครเสีย ?” วิทยากรประกอบด้วย ผศ.ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายรัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล เจ้าหน้าที่ ILAW และนายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและ การมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ดำเนินรายการโดย นายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฎิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ฯ วันพฤหัสบดีที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ณ ที่ทำการชั่วคราวสมาคมนักข่าวฯ อาคารบางซื่อจังชั่น (ตึกแดง) ถนนกำแพงเพชร ๒
๓. ราชดำเนินเสวนาหัวข้อ “ส่อง สว.ใหม่ ความหวังหรือวิกฤตครั้งใหม่” วิทยากรประกอบด้วย นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส ว่าที่สมาชิกวุฒิสภา และนายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล ว่าที่สมาชิกวุฒิสภา ดำเนินรายการโดย นายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฎิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ฯ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎมคม ๒๕๖๗ ณ ที่ทำการชั่วคราวสมาคมนักข่าวฯ อาคารบางซื่อจังชั่น (ตึกแดง) ถนนกำแพงเพชร ๒
๔. ราชดำเนินเสวนาหัวข้อ “วิกฤติขยะพิษกับชีวิตประชาชน” วิทยากรประกอบด้วย นางสาวขนิษฐนันท์ อภิหรรษากร ผู้แทนจากผู้ตรวจการแผ่นดิน นางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ดร. สนธิ คชวัฒน์ อาจารย์มหาวิทยาลัยและชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย และดร.อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินรายการโดย คุณสถาพร พงษ์พิพัฒน์วัฒนา หัวหน้าฝ่ายสื่อสารและดูแลภาพลักษณ์องค์กร สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันพุธที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๘ ห้อง ๕๐๑ ชั้น ๕ อาคาร The Rice (สะพานควาย) ที่ทำการชั่วคราวสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
๖.๒ แผนงานด้านการประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอก
๖.๒.๑ หารือร่วมกับผู้บริหารบริษัท ชาร์ลี แอนด์ เฟรนด์ส นางสาวน.รินี เรืองหนู นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พร้อมกรรมการบริหาร สมาคมฯ ประชุมหารือร่วมกับนายฤทธิชัย สายสุวรรณ ผู้บริหารบริษัท ชาร์ลี แอนด์ เฟรนด์ส จำกัด เจ้าของลิขสิทธิ์ “ Snoopy “ และนายนิธิ พัฒนภักดี ผู้บริหารบริษัท ฟันเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ผู้ดำเนินการโครงการ Snoopy Run ๒๐๒๔ เพื่อแนะนำทีมบริหารและหารือความร่วมมือระหว่างกัน เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗
๖.๒.๒ ร่วมหารือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นางสาวน.รินี เรืองหนู นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วยกรรมการบริหาร สมาคมฯ เข้าหารือความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยมี นายนิธี สีแพร รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด และนายกิตติพงษ์ ประพัฒน์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๗
๖.๓ แผนงานพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพสื่อ
๑. อบรมเชิงปฏิบัติการ “รายงานข่าวสืบสวน Data Journalism” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการ “รายงานข่าวสืบสวน Data Journalism” (TRAINING & WORKSHOP: DATA JOURNALISM FOR INVESTIGATIVE REPORTING) เพื่อผลิตข่าวคุณภาพเข้าประกวดรางวัลสื่อมวลชนระดับชาติ ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๖ มกราคม ๒๕๖๘ ณ โรงแรม Best Western Chatuchak
การอบรมครั้งนี้เปิดโอกาสให้ สำนักข่าวทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ และสื่อภาคประชาชน ผู้สนใจทำข่าวสืบสวนสอบสวนเข้าสมัครรับทุนได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทักษะแบบ Reskill Upskill Newskill รวมถึงเทคนิคและกลยุทธ์ Data Journalism เพื่อนำไปสู่การยกระดับสำนักข่าวและสื่อมวลชนไทยให้ร่วมกันผลิตงานข่าวเชิงคุณภาพเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมและเข้าประกวดรางวัลสื่อมวลชนระดับชาติ