รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๓/๒๕๕๕

รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๓

ดาวน์โหลดแบบ pdfภาพกิจกรรมดาวน์โหลดแบบ pdf

คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๓ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๕ – ๔ มีนาคม ๒๕๕๖ ได้ร่วมกันกำหนดนโยบายและทิศทางการบริหาร สมาคมฯ ไว้ ๕ ด้าน ดังนี้

๑) ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อจากการถูกคุกคาม แทรกแซงจากกลุ่มทุน-รัฐ-ผู้มีอิทธิพล

๒) ส่งเสริมและการยกระดับวิชาชีพของสมาชิกให้ทันกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก

๓) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิก  สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกด้วยกันเองและสมาชิกกับสมาคมวิชาชีพสื่อ

๔) กระชับความสัมพันธ์และขยายความสัมพันธ์กับองค์กรสื่อระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ

๕) ระดมทุนให้เพียงพอต่อการดำเนินงานของสมาคมฯทั้งจากแหล่งทุนในประเทศและต่างประเทศ

 

ในปี ๒๕๕๕ คณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ  ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ทำหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรม โดยแบ่งออกเป็น ๖ คณะอนุกรรมการ ดังนี้

๑) คณะอนุกรรมการฝ่ายพิจารณาบทบาทสมาคมในสถานการณ์เร่งด่วน

๒) คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ

๓) คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ

๔) คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์

๕) คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ

๖) คณะกรรมการอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ

 

๑. คณะอนุกรรมการฝ่ายพิจารณาบทบาทสมาคมในสถานการณ์เร่งด่วน ประกอบด้วย อนุกรรมการ ๗ คน

๑. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี        นายก สมาคมฯ                                                               ประธาน

๒. ดร.สุรศักดิ์  จิรวัสตร์มงคล         อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ                                            อนุกรรมการ

๓. นายเสด็จ บุนนาค                   อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ             อนุกรรมการ

๔. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์      อุปนายกฝ่ายวิชาการและเลขาธิการ  สมาคมฯ                      อนุกรรมการ

๕. นางสาวจินตนา จันทร์ไพบูลย์    รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ      อนุกรรมการ

๖. นายสมศักดิ์ ศรีกำเหนิด            กรรมการฝ่ายสวัสดิการและสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ              อนุกรรมการ

๗. นายพริษฐ์ เอี่ยมพงษ์ไพบูลย์     นายทะเบียน สมาคมฯ                                                      อนุกรรมการ

 

คณะอนุกรรมการ ชุดนี้จะทำหน้าที่ในการรวบรวมทั้งความเห็นและข้อเสนอต่างๆ จากบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการนำมาพิจารณาบทบาทสมาคมฯ ในสถานการณ์เร่งด่วน ทั้งในรูปแบบของการออกแถลงการณ์, การออกจดหมายเปิดผนึก และการเผยแพร่คำชี้แจงในเรื่องต่างๆ รวมทั้งทำความเข้าใจและสื่อสารกับสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆ ของสื่อ (ดูเอกสารแถลงการณ์ในเล่ม)

 

๓. คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๕  คนและอนุกรรมการ ๑๑ คน

๑. ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล                                                                      ที่ปรึกษา

คณบดีคณะนิเทศศาสตร์   สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์

๒. นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล  หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ                                                  ที่ปรึกษา

๓. ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์            คณะนิเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย                     ที่ปรึกษา

๔. นายวิษณุพงษ์ หิญชีระนันท์      อดีต อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                                   ที่ปรึกษา

๕. นางสาวเย็นจิตร์ สถิรมงคลสุข    อดีตอุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                                    ที่ปรึกษา

๖. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์      อุปนายกฝ่ายวิชาการและเลขาธิการ  สมาคมฯ                      ประธาน

๗. นางสาวบุษดี พนมภู                กรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                                          อนุกรรมการ

๘. นายนวพรรษ บุญชาญ             กรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                                          อนุกรรมการ

๙. นางสาวประนอม บุญล้ำ           กรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                                          อนุกรรมการ

๑๐. นายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม             หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์                                                     อนุกรรมการ

๑๑. นางสาวสุภาภรณ์ อัษฏมงคล  สื่อมวลชนอิสระ                                                               อนุกรรมการ

๑๒. นางสาวน.รินี เรืองหนู            หนังสือพิมพ์มติชน                                                           อนุกรรมการ

๑๓. นายอรุณ ลอตระกูล               หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ                                                            อนุกรรมการ

๑๔.  นางสาวพรรณี อมรวิพุธพนิช  หนังสือพิมพ์คมชัดลึก                                                       อนุกรรมการ

๑๕. อาจารย์เอกพล เธียรถาวร       มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา                                        อนุกรรมการ

๑๖. นางสาวจินตนา จันทร์ไพบูลย์  รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                     เลขานุการคณะอนุกรรมการ

 

ในปี ๒๕๕๕  คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ แบ่งงานออกเป็น ๕  กลุ่มงาน คือ

๒.๑. ด้านการอบรม สมาคมฯ ได้จัดทำโครงการด้านการฝึกอบรมจำนวน ๒ หลักสูตร คือ

๒.๑.๑ การอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าว ประจำปี ๒๕๕๕ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าว ประจำปี ๒๕๕๕ ขึ้นระหว่างวันศุกร์ที่ ๒ - วันอาทิตย์ที่ ๔  พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพสื่อมวลชน โดยใช้ Role model ทั้งจากผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับจากกลุ่มวิชาชีพและผู้แทนจากกลุ่มนักวิชาการเพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ความเป็นวิชาชีพและจริยธรรมให้กับผู้สื่อข่าว มีนักข่าวเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๒๕  คน  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

หัวข้อการอบรมประกอบด้วย “คดีตรวจสอบการทุจริตในความรับผิดชอบของ ป.ป.ช. กรณี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีต มท. 1 กับคดีอัลไพน์ธรณีสงฆ์ โดย  ศ.วิชา มหาคุณ กรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กลโกงการเลือกตั้ง”   หลักและเทคนิคการทำข่าวเชิงสืบสวน แลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องของจริยธรรมสื่อ  การวางแผนการทำข่าวสืบสวนสอบสวน และลงพื้นที่ทำข่าวและเขียนข่าวจากการลงพื้นที่

๒.๑.๒ การอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวพิราบน้อยรุ่น ๑๕ เป็นโครงการต่อเนื่องจัดขึ้นเป็นปีที่ ๑๕ ซึ่งหากนับถึงปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมกว่า ๑,๐๐๐ คนแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้านสิ่งพิมพ์  (Professional Development) ความรับผิดชอบต่อจริยธรรมในวิชาชีพ (Ethics Responsibility)  และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะองค์กรเพื่อสังคม (Organizational Social Responsibility) ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสถาบันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักข่าวรุ่นพี่ที่ทำงานทั้งในภาคสนาม และในส่วนของผู้บริหารงานข่าว อันเป็นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการปลูกฝังอุดมคติให้กับนักศึกษาด้วย ในรุ่นที่ ๑๕ มีนักศึกษาที่เรียนด้านหนังสือพิมพ์จากสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมอบรมจำนวน ๖๐  คน จาก  ๓๒  สถาบัน จัดอบรมระหว่างวันพฤหัสบดีที่  ๕ – วันอาทิตย์ที่ ๘  กรกฎาคม ๒๕๕๕   ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน

ในการอบรมครั้งนี้ได้เพิ่มกระบวนการฝึกฝนนักศึกษาในการเขียนข่าวเพิ่มขึ้นอีกขั้นตอนหนึ่ง โดยนักศึกษาทุกคนจะ ต้องส่งผลงานข่าวเข้าร่วมโครงการ TJA  Cyber Reporter อย่างน้อยคนละ ๘ ชิ้นงาน มีการมอบรางวัล TJA  Cyber Reporter ไปเมื่อ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๕

 

๒.๒ กลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ ได้มีการจัดทำโครงการในกลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ จำนวน ๓ กิจกรรม ดังนี้

 

๒.๒.๑ ราชดำเนินเสวนา เป็นโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๑๔  ซึ่งเป็นความริเริ่มจากสมัยที่นายกวี จงกิจถาวร เป็นนายก สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๒) มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการทำงานข่าวให้มีคุณภาพและอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง  โดยมีการเชิญแหล่งข่าวมาพบปะพูดคุยและตอบคำถามนักข่าว เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างนักข่าวกับแหล่งข่าวในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

 

ในปี พ.ศ.  ๒๕๕๕ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ(สสส.) ผ่านทางสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย  ได้จัดราชดำเนินเสวนาไป จำนวน ๑๑  ครั้ง ดังนี้

 

๑. “ปฏิรูปประเทศไทย  ประเด็นที่ควรปฏิรูป ?” จัดร่วมกับ สำนักงานปฏิรูป (สปร.)  (๑๘ มีนาคม ๒๕๕๕)

๒. การรับฟังความคิดเห็น เสรีภาพของสื่อมวลชนในช่วงชุมนุมทางการเมือง   ปี ๒๕๕๒-๒๕๕๓” จัดร่วมกับ คณะวิจัยชุดโครงการศึกษาวิจัย เรื่อง ขอบเขตการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย" ภายใต้ทุนสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)  (๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕)

๓. "นำร่องฉุกเฉินมาตรฐานเดียว:จับตารัฐบาลยิ่งลักษณ์กับอนาคต ๓ กองทุนสุขภาพ"  (๒๘ มีนาคม ๒๕๕๕)

๔.“ชำแหละยาซูโดร่องหน ใครต้องรับผิดชอบ?” (๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕)

๕.“เปิดโปงมาเฟียคุก – ค้ายานรก” (๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕)

๖.“ยุคนี้ข้าวยาก   หมากแพงจริงหรือ?”  (๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๕)

๗. “พ.ร.บ.ปรองดอง เพื่อใคร?”   (๒ มิถุนายน ๒๕๕๕)

๘. "ปี ๕๕ น้ำท่วมหรือเอาอยู่" (๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕)

๙. “เบรกนาซา   ไทยได้หรือเสีย?”  (๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕)

๑๐.“เซ็กซ์วัยใส  ติดยา ตีกัน แก้อย่างไร?” (๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕)

๑๑. “ระวังภัย โรคมือ เท้า ปาก!! ”   (๒๙  กรกฎาคม ๒๕๕๕)

 

สามารถติดตามเนื้อหาราชดำเนินเสวนาได้ที่ www.tja.or.th

 

๒.๒.๒. รายการวิทยุช่วยกันคิดทิศทางข่าว เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กับสำนักข่าวไทยและบริษัท อสมท. จำกัด มหาชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท.  FM ๑๐๐.๕ Mhz ทุกวันอาทิตย์เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐น. เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักข่าวรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯ รวมทั้งเป็นเวทีในการสื่อสารเรื่องราวที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนให้สาธารณชนได้ รับทราบ รวมทั้งการวิเคราะห์ถึงทิศทางข่าวในสัปดาห์ต่อไป โดยเน้นความหลากหลายของประเด็นข่าว ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และอื่นๆที่เป็นประเด็นร้อนในขณะนั้น

 

สำหรับนักจัดรายการประจำปี  ๒๕๕๔ มีจำนวน ๑๐  คนคือ ๑.นายธีรเดช  เอี่ยมสำราญ   (มติชนออนไลน์) ๒. นายปราเมศ  เหล็กเพ็ชร์  (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ)  ๓. นายราม อินทรวิจิตร  (หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ) ๔. นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา   (สำนักข่าวเนชั่น)  ๕.นางสาวชุติมณฑน์ ศรีขำ (หนังสือพิมพ์บ้านเมือง) ๖.นางสาวเลอลักษณ์ จันทร์เทพ   (หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์) ๗. นางสาวจินตนา จันทร์ไพบูลย์  (หนังสือพิมพ์สยามรัฐ)   ๘. นายจีรพงษ์  ประเสริฐพลกรัง  (สำนักข่าวเนชั่น ) ๙. นายมานพ ทิพย์โอสถ (หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์)  และ ๑๐.นางสาวบุษดี  พนมภู (หนังสือพิมพ์บ้านเมือง) ๑๑.นายวรพล  กิตติรัตวรางกูล (หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์) ๑๒.นางสาวประนอม บุญล้ำ (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ) ๑๓.นายสุทธิรักษ์ อุฒมนตรี (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)

 

ติดตามฟังรายการวิทยุย้อนหลังได้ที่  www.tja.or.th

 

๒.๒.๓ www.tja.or.th เป็นเวบไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข่าวสารต่างๆ ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรม,รายงานกิจกรรม,กฎหมายที่เกี่ยวข้อง,ประวัติความ เป็นมา จุดยืนและท่าทีของสมาคมฯต่อสถานการณ์ต่างๆของบ้านเมือง รวมทั้งการบันทึกผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ  และเป็นชุมชนออนไลน์ของนักวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน ในการแลกเปลี่ยนทัศนะของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน และนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงสื่อสารมวลชน

 

๒.๓ กลุ่มงานหนังสือ ในปี   ๒๕๕๕ ฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำหนังสือรวม ๒  เล่ม ดังนี้

 

๒.๓.๑ วารสารราชดำเนิน ในปี ๒๕๕๕ สมาคมฯ ได้จัดทำวารสารราชดำเนินโดยออกเป็นรายสามเดือนจำนวน ๓  ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับมีเนื้อหาที่น่าสนใจ ได้รับเสียงสะท้อนอย่างดีทั้งจากสมาชิกสมาคมฯ สถาบันวิชาการและผู้สนใจทั่วไป

 

วารสารราชดำเนินฉบับที่ ๒๓  เผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายน  ๒๕๕๕ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “การเตรียมตัวรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของสื่อ”  นายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม เป็นบรรณาธิการ

 

วารสารราชดำเนินฉบับที่ ๒๔  เผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๕  มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “เปิดตำนานสื่อไทย ทำไมต้องมีทีมติดตามนายกรัฐมนตรี”  ฉบับนี้มีการเปลี่ยนแปลงบรรณาธิการจากนายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม เป็นนายพงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์

 

และวารสารราชดำเนินฉบับที่ ๒๕  ประจำปี ๒๕๕๕  เผยแพร่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์  ๒๕๕๕  มีเนื้อหาหลักเกี่ยว “นักข่าวหายไปไหน”

 

อ่านเนื้อหาจุลสารราชดำเนินฉบับย้อนหลังได้ที่ www.tja.or.th

 

๒.๓.๒ หนังสือวันนักข่าว “บทบาทสื่อไทยในประชาคมอาเซียน” หนังสือวันนักข่าวเป็นหนังสือรายงานประจำปีที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการข่าวและหนังสือพิมพ์  ตลอดจนรายงานกิจกรรมของสมาคม  และทำเนียบรายชื่อนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่เป็นสมาชิกสมาคม  เนื้อหาหลักในปีนี้เน้นเรื่อง  “บทบาทสื่อไทยในประชาคมอาเซียน”   มีนางสาว น.รินี เรืองหนู เป็นบรรณาธิการ มีการแจกจ่ายหนังสือวันนักข่าวถึงมือสมาชิก สมาคมฯ ในวันที่ ๔ มีนาคม  ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมฯ

 

๒.๔. กลุ่มงานเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็น เครือข่ายที่นักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนร่วมกันก่อตั้งขึ้นเพื่อ เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน โดยในปี ๒๕๕๕ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ๓ กิจกรรม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ(สสส.) ผ่านทางสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย  ดังนี้

 

๒.๔.๑ ห้องเรียนสาธารณะ เป็นกิจกรรมที่เน้นการถ่ายทอดความรู้ และเทคนิค ทางวิชาชีพสื่อมวลชน แก่นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และเป็นแรงจูงใจในการกระตุ้นให้นิสิต นักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ เข้ามาทำงานสื่ออย่างเป็นระบบภายใต้กรอบการทำงานเชิงวิชาการ และเป็นการร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างนิสิต นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และนักวิชาชีพสื่อทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น

 

ในปี ๒๕๕๕ แบ่งหัวข้อการจัดกิจกรรมห้องเรียนสาธารณะออกเป็น ๒ หัวข้อคือ “Social media for journalism” และหัวข้อ “สื่อสารความรู้หลักประกันสุขภาพ” โดยในหัวข้อนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

๑)ห้องเรียนสาธารณะหัวข้อ “Social media for journalism” จำนวน ๕ ครั้ง ครั้งที่ ๑ จัดร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๘ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๕) ครั้งที่ ๒ จัดร่วมกับโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๕๗ ครั้งที่ ๓ จัดร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก(๑๑ กันยายน ๒๕๕๕) ครั้งที่ ๔  จัดร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (๑๘ กันยายน ๒๕๕๕๗ และครั้งที่ ๕ จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง   จังหวัดราชบุรี (๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕)

 

๒) ห้องเรียนสาธารณะหัวข้อ “สื่อสารความรู้หลักประกันสุขภาพ จำนวน ๔  ครั้ง โดยจัดร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ครั้งที่ ๑  จัดร่วมกับคณะการสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๕) ครั้งที่ ๒  จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี        (๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕) ครั้งที่ ๓ จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยราขภัฏสุราษฎร์ธานี (๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕) และครั้งที่ ๔ จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี

(๑๔ กันยายน ๒๕๕๕)

๒.๔.๒ ประชุมเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็น กิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อสารมวลชน โดยนำเอาประเด็นทางวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่น่าสนใจและมีผลกระทบต่อ ประโยชน์สาธารณะมาแลกเปลี่ยนกัน ในปี ๒๕๕๕ สมาคมจัดประชุมเครือข่ายวิชาการวิชาชีพ ๔  ครั้งดังนี้

 

ครั้งที่ ๑ ร่วมกับ คณะนิเทศศาสตร์  สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์  จัดประชุมหัวข้อ  “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๑  ตอน  “ทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์”  ณ  สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เมื่อวันศุกร์ที่  ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๕

ครั้งที่ ๒  ร่วมกับเครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคใต้ จัดประชุมหัวข้อ   “หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิตอล” ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓  มิถุนายน ๒๕๕๕

 

ครั้งที่ ๓ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และโครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ(Media Monitor)มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา จัดประชุมหัวข้อ   “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๓ ตอน “การตรวจสอบในยุคหลอมรวมสื่อ (Monitoring  Media  in  the  Convergence  Era ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑  ตุลาคม ๒๕๕๕

 

ครั้งที่ ๔ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง จัดประชุมหัวข้อ    “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่  ๔  ตอนทิศทางวารสารในยุคสงคราม platform ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง เมื่อวันพุธที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๖

 

๒.๔.๓ ประชุมใหญ่ทางวิชาการสื่อสารมวลชน “อนาคตสื่อไทย : ความท้าทายภายใต้  รัฐ  ทุน และเทคโนโลยี” สมาคมฯ ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ   จัดทำโครงการประชุมวิชาการวิชาชีพสื่อสารมวลชน ระดับชาติ หัวข้อ ““ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่  ๒   ตอน  “Convergence Newsroom”” จัดระหว่างวันศุกร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม  ๒๕๕๕  ณ  คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาหอการค้าไทย

 

๒.๕.  โครงการศึกษาดูงานด้านสื่อมวลชนของอาจารย์ด้านวารสารศาสตร์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา จัดทำโครงการศึกษาดูงานด้านสื่อมวลชนของอาจารย์ด้านวารสารศาสตร์ รุ่นที่ ๔  จัดขึ้นภายในระยะเวลา ๔ สัปดาห์ ระหว่างวันจันทร์ที่  ๒๓ เมษายน -  วันเสาร์ที่ ๑๙ พฤษภาคม  ๒๕๕๕   โดยมีอาจารย์ที่สอนด้านนิเทศศาสตร์เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ๘ คน

 

๒.๖. กลุ่มงานประกวดข่าว

 

๒.๖.๑ การประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๕๕ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิอิศรา อมันตกุล ให้ดำเนินการจัดการประกวดข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม รางวัลอิศรา อมันตกุล เพื่อเป็นการรำลึกถึงนายอิศรา อมันตกุล นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรกและนักหนังสือพิมพ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภาย ใต้กรอบจริยธรรม โดยดำเนินการจัดการประกวดมาตั้งแต่ ปี ๒๕๑๕ สำหรับในปี ๒๕๕๕ มีผลงานงานข่าวส่งเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวยอดเยี่ยมจำนวน ๑๗ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๕  ฉบับ และส่งผลงานภาพข่าวเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทภาพข่าวยอดเยี่ยมจำนวน  ๘๑  ภาพ จากหนังสือพิมพ์ ๙ ฉบับ

 

๒.๖.๒ การประกวดรางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๕ ของ ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมฯ ได้มอบหมายให้ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด ข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ซึ่งจัดการประกวดมาตั้งแต่ปี  ๒๕๓๒ สำหรับในปี ๒๕๕๕ มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน ๗ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๓ ฉบับ

 

๒.๖.๓ การประกวดรางวัลพิราบน้อย ประจำปี ๒๕๕๕ เป็นการประกวดผลงานฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีการทำ หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ โดยแบ่งการประกวดออกเป็น ๒ รางวัล ๔ ประเภท คือ รางวัลพิราบน้อย ประกอบด้วย  ๑.ประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ๒. ประเภทข่าวฝึกปฏิบัติ ๓.ประเภทข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ และรางวัลริต้า ปาติยะเสวี คือประเภทสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ  เริ่มจัดการประกวดตั้งแต่ปี พ.ศ.   ๒๕๓๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำหนังสือพิมพ์และการทำข่าวของ นิสิตนักศึกษาวิชานิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์  ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันการศึกษา  กับสมาคมฯ    ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน ในปี ๒๕๕๕ มีผลงานส่งเข้าประกวดดังนี้ ๑. หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ๑๔ ฉบับ ๒. ข่าวฝึกปฏิบัติ ๓๒ ข่าว ๓. ข่าวสิ่งแวดล้อม ๑๓ ข่าว และ ๔. สารคดีเชิงข่าว ๒๖ ชิ้น

 

 

๓. คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๔ คนและอนุกรรมการ ๘ คน

๑. นายวันชัย วงศ์มีชัย                 อดีตอุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ       ที่ปรึกษา

๒. ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                                                  ที่ปรึกษา

๓. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์                        อดีต เลขาธิการ สมาคมฯ                                                  ที่ปรึกษา

๔. นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร            อดีต เลขาธิการ สมาคมฯ                                                  ที่ปรึกษา

๕. นายเสด็จ บุนนาค                   อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ             ประธาน

๖. นางสาวกุลชาดา ชัยพิพัฒน์       เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์        อนุกรรมการ

๗. นายจักรกฤษณ์ ทรัพย์พึ่ง  อุปนายกฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ฯ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อนุกรรมการ

๘. นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง     อดีตอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯอนุกรรมการ

๙. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์     อุปนายกฝ่ายวิชาการและเลขาธิการ  สมาคมฯ                       อนุกรรมการ

๑๐. นายมานพ ทิพย์โอสถ           อดีตกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ        อนุกรรมการ

๑๑. นายเชษฐ์ สุขสมเกษม          กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ

๑๒. นายปราเมศร์ เหล็กเพ็ชร์  รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ เลขานุการคณะอนุกรรมการ

 

ในปี  ๒๕๕๔  คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ดำเนินงานภายใต้รูปแบบของการจัดตั้ง  “ศูนย์ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน” เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมส่งเสริมและปกป้องมีสิทธิเสรีเสรีภาพของสื่อมวลชน โดยนักข่าวจะต้องมีอิสรภาพ เสรีภาพ ในการทำงาน ไม่ถูกคุกคาม แทรกแซงทั้งจากกลุ่มทุน รัฐ และผู้มีอิทธิพล  โดยมีกิจกรรมดังนี้

๓.๑ งานรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพสื่อ

๓.๑.๑. โครงการฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day – 3 MAY) เป็นโครงการต่อเนื่องที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันที่ ๓ พฤษภาคม เนื่องจากเป็นวันที่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก้ ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ ๓ พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก ซึ่งก็คือเสรีภาพในการแสดงออก  ตั้งแต่เมื่อปี  ๒๕๔๓  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ก็ได้ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ และองค์การยูเนสโก้ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าวมาโดยตลอด

 

ในปี ๒๕๕๕ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕ โดยใช้หัวข้อหลัก “เสรีภาพสื่อบนความท้าทายใหม่ -  New challenge for Press Freedom” กิจกรรมประกอบด้วย การเสวนาในหัวข้อเรื่อง “เสรีภาพสื่อบนความท้าทายใหม่ -  New challenge for Press Freedom” โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย  โดยนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท   ประธานคณะกรรมาธิการคณะกรรมาธิการ การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันท์ คณะนิเทศศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายเสริมสุข  กษิติประดิษฐ์   สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส นายบัณฑิต  จันทศรีคำ                     บรรณาธิการอำนวยการ  หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิณ   สถานีวิทยุโทรทัศน์ กองทัพบกช่อง ๕ การออกแถลงการณ์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก  เพื่อแสดงถึงท่าที่และจุดยืนของสื่อมวลชนไทย  และการประกวดภาพถ่ายและบทความในหัวข้อ “เสรีภาพสื่อบนความท้าทายใหม่ -  New challenge for Press Freedom”

 

๓.๑.๒ สนับสนุนการจัดตั้งสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย เพื่อเป็นกลไกในการ ขับเคลื่อนด้าน สวัสดิการนักข่าว โดยได้มีการจัดเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดสวัสดิการสื่อ โดยได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหภาพแรงงานเลขทะเบียนที่ กธ.๑๑๑๔  เมื่อ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ โดยมีนายสุเมธ สมคะเน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นประธานก่อตั้ง  และได้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการ สหภาพชุดแรก เมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๖ มีนายสุเมธ สมคะเน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นประธานคนแรกของสหภาพ

 

๓.๑.๒ การลงนามบันทึกความร่วมมือเรื่องการรับความช่วยเหลือด้านการดำเนินอรรถคดีและการส่งเสริมทางวิชาการ เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ กับสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมป์ ได้จัดพิธิลงนามไปเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๕

 

สาระสำคัญของบันทึกความร่วมมือเน้นการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพสื่อที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยการช่วยเหลือนั้นจะเป็นการช่วยเหลือแบบให้เปล่าตลอดทุกชั้นศาล ยกเว้นการเสียค่าธรรมเนียมศาล  นอกจากนี้ยังรวมถึงการช่วยเหลือ สนับสนุนด้านการดำเนินคดีเมื่อผู้ประกอบวิชาชีพนักข่าว นักหนังสือพิมพ์ สื่อวิทยุ และโทรทัศน์ เป็นผู้กล่าวหา หรือเป็นโจทก์ฟ้องคดีด้วย  และการส่งเสริมความรู้ทางกฎหมายที่จำเป็นในการประกอบเพื่อสนับสนุนการทำงานของสื่อมวลชน

 

๓.๒ งานส่งเสริมทักษะวิชาชีพข่าว  ในปี ๒๕๕๕ คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพสื่อและการปฏิรูปสื่อ  สมาคมฯ ได้จัดการอบรมขึ้น ๒ หลักสูตร

 

๓.๒.๑ การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การรายงานข่าวในสถานการณ์ความรุนแรง รุ่น ๓ (Safety Training for Thai Journalists)” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ร่วมกับ INSI-International News Safety Institue  จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การรายงานข่าวในสถานการณ์ความรุนแรง (Safety Training)”  ขึ้นเพื่อให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพจากสื่อหนังสือพิมพ์  สถานีโทรทัศน์และวิทยุ  ได้เรียนรู้เรื่องการทำข่าวอย่างปลอดภัยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง โดยเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย ๑. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำข่าวในสถานการณ์ขัดแย้ง ๒. การประเมินความเสี่ยง-การตัดสินใจส่งนักข่าวลงพื้นที่ ๓. การทำข่าวท่ามกลางการจลาจลและความรุนแรง ๔. การช่วยเหลือพยาบาล ๕. เรียนรู้เรื่องอาวุธชนิดต่างๆ ๖. สถานการณ์การวางเพลิง  ๗. การปฏิบัติตัวเมื่อถูกตั้งด่านตรวจ ๘. การเอาตัวรอดเมื่อถูกจับตัวโดยผู้ก่อการร้าย ๙. การปฏิบัติตัวในภาวะกดดันจากความรุนแรง  จัดระหว่างวันศุกร์ที่ ๒๔ ถึง วันอาทิตย์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๕  ณ ไมด้ารีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีทั้งผู้สื่อข่าวและช่างภาพจากหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์เข้าร่วมจำนวน ๒๕ คน โดยหลังจากอบรมหลักสูตรนี้แล้วได้มีการคัดเลือกผู้เข้าอบรมจากทั้ง ๓ รุ่น เพื่อเข้าอบรมหลักสูตร Train the trainer for safety training ต่อไป

สำหรับผู้สนับสนุนการอบรมประกอบด้วย ๑. บริษัท แคนนอน ประเทศไทย จำกัด ๒.สถานีโทรทัศน์ช่อง ๗ สี ๓. เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๔. บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด ๕. บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

 

๓.๒.๒ การอบรมหลักสูตร “กฎหมายเพิ่มศักยภาพสื่อมวลชน” รุ่นที่ ๑ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน สถาบันอิศรา จัดการอบรมหลักสูตร “กฎหมายเพิ่มศักยภาพสื่อมวลชน” รุ่นที่ ๑ ขึ้นโดยแบ่งการอบรมออกเป็น ๒ หลักสูตรคือหลักสูตรกฎหมายมหาชนและหลักสูตรกฎหมายอาญา  เพื่อให้สื่อมวลชน ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องระบบกฎหมายของประเทศ อย่างถ่องแท้สามารถนำไปพัฒนาความคิดในการสื่อสารไปสู่สังคมได้โดยไม่คลาดเคลื่อน และเข้าใจถึงเจตนารมย์ที่แท้จริงของกฎหมาย ทำให้เกิดวิธีคิด วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้เหตุผลในกฎหมาย เพื่อไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้ต้องการใช้กฎหมายในทางบิดเบือน โดยยืมมือสื่อมวลชน          รวมทั้งให้รู้ถึงสิทธิเสรีภาพที่ตนมีอยู่    ภูมิคุ้มกันทางกฎหมาย ขณะเดียวกันก็ต้องมีความระมัดระวังไม่ไปละเมิดบุคคลอื่นจากการทำหน้าที่ของตนเอง  โดยเรียนทุกวันอาทิตย์เต็มวัน ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๖ มกราคม – วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖   มีนักข่าวเข้าร่วมอบรมรวมหลักสูตรกฎหมายมหาชน  ๓๐  คน และหลักสูตรกฎหมายอาญา ๓๔ คน

 

๓.๓ การติดตามคดีกรณีผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนถูกตำรวจทำร้าย ได้รับบาดเจ็บและถูกควบคุมตัว ระหว่างทำข่าวการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม เมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

 

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย มีความเห็นร่วมกันว่ากรณีผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนถูกตำรวจทำร้าย ได้รับบาดเจ็บและถูกควบคุมตัวระหว่างทำข่าวการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม เมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕  เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุและเป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นในฐานะองค์กรวิชาชีพสื่อ จึงได้ทำหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (๒๙ พ.ย. ๒๕๕๕) เพื่อทวงถามถึงความรับผิดชอบและยื่นข้อเรียกร้อง ดังนี้ ๑.      ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงและชี้แจงผลการสอบสวน โดยให้มีผู้แทนองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นกรรมการสอบสวนด้วย  ๒.      จัดให้มีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ที่เกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจดังกล่าว และ ๓.      ออกระเบียบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจกับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง โดยให้มีผู้แทนองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนมีส่วนร่วมและยอมรับในระเบียบดังกล่าวร่วมกัน

 

และได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภควุฒิสภา (๒๙ พ.ย. ๒๕๕๕) ผู้ตรวจการแผ่นดิน  (๓๐ พ.ย. ๒๕๕๕) และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (๓๐ พ.ย. ๒๕๕๕)  เรียกร้องให้ ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่ฝ่ายบริหารโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน

 

๓.๓ งานติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพและสถานการณ์สื่อ

๓.๓.๑ การจัดทำสถานการณ์สื่อประจำปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยได้จัดทำรายงานสถานการณ์สื่อประจำปี  ๒๕๕๕ เผยแพร่ในวันสิ้นปี เพื่อสรุปเหตุการณ์หลักที่เกิดขึ้นในแวดวงสื่อมวลชน  โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ได้สรุปว่า ปี ๒๕๕๕  เป็น “ปีแห่งการแบ่งขั้ว : จริยธรรมที่ไม่เท่ากัน”

 

๔ . คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๒ คนและอนุกรรมการ ๑๒ คน

๑. นายดำฤทธิ์ วิริยะกุล                            อดีตอุปนายก สมาคมฯ                                         ที่ปรึกษา

๒. นายธนดล มีถม                                  อดีตอุปนายกฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สมาคมฯ                ที่ปรึกษา

๓. ดร.สุรศักดิ์  จิรวัสตร์มงคล                     อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ                                ประธาน

๔. นายสมศักดิ์ ศรีกำเหนิด                        กรรมการฝ่ายสวัสดิการและสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ  อนุกรรมการ

๕. นายพริษฐ์ เอี่ยมพงษ์ไพบูลย์                 นายทะเบียน สมาคมฯ                                          อนุกรรมการ

๖. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์                  เลขาธิการ สมาคมฯ                                             อนุกรรมการ

๗. นางสาวจินตนา จันทร์ไพบูลย์                รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                        อนุกรรมการ

๘. นางสาวอัชณา จิณณวาโส                    อดีตกรรมการบริหาร สมาคมฯ                               อนุกรรมการ

๙. นายนพปฎล รัตนพันธ์                          หนังสือพิมพ์เดลินิวส์                                            อนุกรรมการ

๑๐. นายฉลาด จันทรเดช                          ประธานชมรมช่างภาพการเมือง                             อนุกรรมการ

๑๑. นายกิตติพงศ์ ตรีเมฆ                         หนังสือพิมพ์สยามรัฐ                                            อนุกรรมการ

๑๒. นางสาวเรวดี  พงศ์ไชยยง                    เหรัญญิก สมาคมฯ                                  เลขานุการคณะอนุกรรมการ

 

ในปี   ๒๕๕๕  คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แบ่งงานออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ

๔.๑ งานด้านสมาชิกสัมพันธ์

๔.๑.๑ Fit & Firm รุ่น ๓   สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  จัดโครงการโครงการดูแลห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ เพื่อสุขภาวะสื่อมวลชน  Fit & Firm รุ่น ๓   ระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๘ – วันอาทิตย์ที่ ๑๙  สิงหาคม  ๒๕๕๕  ณ สวนสามพรานริเวอร์ไซต์ อำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม  มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนรุ่นต่างๆ และเพื่อส่งเสริมให้มีการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี มีนักข่าวเข้าร่วมการอบรมจำนวน  ๓๐  คน สนับสนุนงบประมาณโดย บริษัท ซาโนฟี่-อเวนตีส ประเทศไทย จำกัด

๔.๑.๒ กระจิบกระจาบพิราบน้อยรุ่น ๕ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  จัดทำโครงการกระจิบกระจาบพิราบน้อยรุ่น ๕  ขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕  โดยในปีนี้ได้นำบุตร-ธิดานักข่าวที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาเข้าร่วมทัศนศึกษา ณ ซาฟารีเวิลด์ มีผู้เข้าร่วม ๔๕ คน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท ยูนิลีเวอร์ไทยเทรดดิ้ง จำกัด มหาชน

๔.๑.๓ ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียนรุ่น ๖  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการปั้นนักข่าวเป็นนักเขียนรุ่น ๖ ขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๘ – วันอาทิตย์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน  ๒๕๕๕  ณ บ้านสวนมะพร้าวอ่อน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่นักข่าว และการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับนักข่าวในการนำไปพัฒนาการเขียนข่าวและการ เขียนในรูปแบบอื่นๆ การอบรมเน้นการฝึกปฏิบัติจริงในการเขียนเรื่องสั้น โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานวรรณกรรม อาทิ นางชมัยภร แสงกระจ่าง  ที่ปรึกษา สมาคมนักเขียนฯ, นายนิรันดร์ศักดิ์ บุญจันทร์ บรรณาธิการ จุดประกายวรรณกรรม, นายประชาคม ลุนาชัย นักเขียนรางวัลเซเว่นบุ๊คอะวอร์ด ,นายเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีซีไรท์ และนายวัชระ สัจจะสารนักเขียนรางวัลซีไรต์  และนายเจน สงสมพันธ์ นายกสมาคมนักเขียนฯ,   มีนักข่าวเข้าร่วมการอบรมจำนวน  ๓๐  คน สนับสนุนงบประมาณโดย บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด มหาชน

 

๔.๑.๔  อบรมความรู้ภาษาจีนและการส่งผู้เข้าอบรมไปศึกษาดูงานสื่อมวลชนจีน รุ่น ๑ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับบริษัท ซีพีออล์ จำกัด มหาชนจัดทำโครงการอบรมความรู้ภาษาจีนและการส่งผู้เข้าอบรมไปศึกษาดูงานสื่อมวลชนจีน รุ่น ๑ ขึ้นระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๕-เดือนมีนาคม ๒๕๕๖ โดยจะจัดอบรมภาษาจีนทุกวันเสาร์ (ครั้งละ ๓ ชั่วโมง) เป็นเวลาติดต่อกัน ๑๔ สัปดาห์ หลังจากนั้นจะให้มีการสอบชิงทุนจำนวน ๒ ทุนเพื่อไปฝึกงานที่สำนักงานข่าวซินหัวและหนังสือพิมพ์ประชาชนที่ประเทศจีน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าอาหารระหว่างเรียนจาก ธนาคารกสิกรไทย จำกัด มหาชนและได้รับสนับสนุนทุนการศึกษาในการไปทัศนศึกษาดูงานจากสมาคมมิตรภาพไทยจีน มีนักข่าวสนใจเข้าร่วมอบรม ๓๓ คน

 

๔.๒ แผนงานด้านสวัสดิการสมาชิก

๔.๒.๑ ทุนการศึกษา สมาคมฯ ได้มอบทุนการศึกษาให้กับสมาชิกสมาคมฯ โดยแบ่งเป็นทุนการศึกษาที่มอบให้กับสมาชิกสมาคมฯ และทุนการศึกษาที่มอบให้กับบุตร-ธิดา สมาชิก ดังนี้

๑) ทุนการศึกษาที่มอบให้กับบุตร-ธิดา สมาชิก สมาคมฯ แบ่งทุนการศึกษา

ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑) ทุนส่งเสริมการศึกษา เป็นทุนแบบรายปี ๒) ทุนต่อเนื่อง เป็นทุนที่มอบให้แบบต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ -ระดับปริญญาตรี โดยได้รับการอนุเคราะห์ทุนการศึกษาจากมูลนิธิซีเมนต์ไทย ปีละ ๑๐ ทุน ปัจจุบันมีผู้รับทุนแล้ว ๕๐ คน

มีการจัดพิธีมอบทุนการศึกษาบุตร-ธิดานักข่าว เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๓  พฤษภาคม  ๒๕๕๕ ได้แบ่งให้ทุนการศึกษาออกเป็น ๒ ประเภท  คือ ๑. ทุนส่งเสริมการศึกษา เป็นการให้ทุนแบบรายปี โดยใช้งบประมาณจากกองทุนการศึกษาเพื่อบุตร-ธิดา สมาชิกสมาคมฯ มีผู้ได้รับการอนุมัติทุนการศึกษาจำนวน ๑๔๖ ทุน ทุนละ ๔,๐๐๐ บาท เป็น เงิน ๕๘๔,๐๐๐ บาท และ ๒. ทุนต่อเนื่อง ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซิเมนต์ไทย เป็นปีที่ ๕ โดยในปี  ๒๕๕๕ ได้รับการสนับสนุนเพิ่มอีก ๑๐ ทุน  รวมเป็น ๕๐ ทุน

๒.) ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทมอบให้สมาชิกสมาคมฯ ในปีนี้มีมหาวิทยาลัยมอบทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทให้สมาคมฯ จำนวน ๒ มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จำนวน ๒ ทุน ผู้รับทุนคือ ๑.นางสาวเรวดี พงศ์ไชยยง หนังสือพิมพ์มติชน และเหรัญญิก สมาคมฯ  และ๒. นางสาวอศินา พรวศิน หนังสือพิมพ์เดอเนชั่นและประธานชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนอีกมหาวิทยาลัยที่ให้ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโท คือมหาวิทยาลัยศรีปทุม แต่ไม่มีผู้สมัครเข้ารับทุน

 

๔.๒.๒ การมอบสินไหมมรณกรรมและการร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรมศพ สมาคมฯได้จัดทำประกันชีวิตกลุ่มให้กับสมาชิกที่ชำระเงินค่าบำรุงประจำปีกับ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ในปี  ๒๕๕๕ สมาคมฯ ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรมศพและส่งหรีดเคารพศพสมาชิกอีก ๖  รายคือ ๑.  นายประพันธ์  ผลเสวก

หนังสือพิมพ์มติชน ๒.นายทวีสิน  สถิตย์รัตนชีวิน    หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ๓.นายสมบูรณ์  วรพงษ์ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๔.นายสมเจตน์  วัฒนาธร  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  ๕.นางสมศรี  ตั้งตรงจิตร วิสามัญสมาชิก ๖.นายวิโรจน์  มุทิตานนท์ วิสามัญสมาชิก และ ๗. นายไพฑูรย์ สุนทร  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

 

 

๔.๒.๓ ชมรมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์อาวุโส สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย การดำนเนินงานปีที่ ๒ ของชมรมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์อาวุโส ที่มีนายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร เป็นประธาน นั้น ได้มีความคิดริเริ่มในการปรับปรุงอาคารสมาคมฯที่ถนนราชดำเนินกลางเป็นสโมสรสำหรับนักข่าวอาวุโส ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบและจัดทำแปลน

 

๕. คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๕  คนและอนุกรรมการ ๗ คน

๑.นายกวี จงกิจถาวร                               นักหนังสือพิมพ์อาวุโส                                         ที่ปรึกษา

๒. นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์                  นักหนังสือพิมพ์อาวุโส                                         ที่ปรึกษา

๓. นางสาวบุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์         หนังสือพิมพ์คมชัดลึก                                         ที่ปรึกษา

๔. นางสนิทสุดา เอกชัย กองจันทึก            หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์                                  ที่ปรึกษา

๕. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี                   นายก สมาคมฯ                                                  ที่ปรึกษา

๖. นายอนุชา เจริญโพธิ์                           อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ                       ประธาน

๗. นายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล                          หนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ                              อนุกรรมการ

๘. นางกุลชาดา ชัยพิพัฒน์                      เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์   อนุกรรมการ

๙. นางสาวตติกานต์ เดชพงษ์                  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ                                             อนุกรรมการ

๑๐. นางสาวสุภาภรณ์ อัษฏมงคล            สื่อมวลชนอิสระ                                                  อนุกรรมการ

๑๑. นายนเรศ เหล่าพรรณราย                  หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ                                   อนุกรรมการ

๑๒. นางสาวกรชนก รักษาเสรี                  กรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ         เลขานุการคณะอนุกรรมการ

 

 

ในปี  ๒๕๕๕  คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  แบ่งงานออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ

 

๕.๑ ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนระหว่างประเทศ

๕.๑.๑ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-จีน สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ได้ไปเยือนประเทศจีนตามคำเชิญของ  All China Journalists Association – ACJA )  โดยมีนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายก สมาคมฯ เป็นหัวหน้าคณะ ระหว่างวันอังคารที่ ๑๐– วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนจีน-ไทยนี้เป็นโครงการที่ผลัด เปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากแต่ละประเทศ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี  ๒๕๔๒ เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศอีกทั้งยัง เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ

๕.๑.๒ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-กัมพูชา เป็นโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-กัมพูชา ที่คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ มีความประสงค์ในการรื้อฟื้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างสื่อมวลชนไทยกัมพูชา ซึ่งห่างหายจากความสัมพันธ์ไปนาน โดยครั้งล่าสุดที่คณะสื่อมวลชนไทยไปเยือนกัมพูชาคือเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ นำโดยนางผุสดี คีตวรนาฏ นายก สมาคมฯ ในขณะนั้น และในปี ๒๕๕๔ นับเป็นโอกาสอันดีที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้เป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะสื่อมวลชนกัมพูชา ดังนั้นในปี ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นปีที่ ๒ ของโครงการจึงเป็นฝ่ายไทยที่นำคณะสื่อมวลชนจำนวน ๗ คนไปเยือนโดยมีนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี เป็นหัวหน้าคณะ  ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๒ – วันศุกร์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๕

 

ในการไปเยือนครั้งนี้ได้มีการ ลงนามข้อตกลงความเข้าใจเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศกัมพูชา ( Club of Cambodian Journalists ) สาระสำคัญอยู่ที่การจัดทำคู่มือรายงานข่าวเป็นภาษาไทยและภาษาเขมรขึ้นเพื่อเป็นคู่มือในการนำเสนอข่าวที่ถูกต้องของสื่อมวลชนทั้งสองประเทศ โดยที่ทั้งสองสมาคมเห็นชอบให้แต่ละสมาคมกลับไปตั้งคณะทำงานของตนเองเพื่อศึกษารายละเอียดและสิ่งที่จะต้องถูกยกร่างลงในคู่มือดังกล่าวโดยที่ทั้งสองสมาคมตกลงกันว่าจะกลับมาพบกันอีกครั้งในช่วงการประชุมใหญ่ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในเดือนมีนาคม  รวมทั้งจะมีการจัดอบรมภาษาให้กับสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศ โดยที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยได้มีโครงการอบรมภาษาเขมรให้กับนักข่าวไทยเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์โดยที่จะทำการคัดเลือกนักข่าวไทย 2 คนที่มีความตั้งใจในการเรียนภาษาเขมรอย่างจริงจังไปศึกษาดูงานกับสื่อมวลชนกัมพูชาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และเช่นกัน ทางสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์กัมพูชาเห็นด้วยในหลักการที่จะจัดอบรมภาษาไทยให้กับนักข่าวกัมพูชาเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ โดยที่นักข่าวกัมพูชาทีได้รับคัดเลือกจำนวน 2 คน

 

๕.๑.๓ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-ลาว เป็นโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ที่ เริ่มต้น เมื่อปี  ๒๕๓๐  โดยในปี  ๒๕๕๕  คณะสื่อมวลชนลาวจำนวน ๗ คน ประกอบด้วย ๑ท่านบัวละพัน ทันพิลม รองประธานและเลขาธิการ สมาคมนักข่าวแห่ง สปป. ลาว  บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ประชาชน เป็นหัวหน้าคณะ ๒.ท่านคำเมือง อุดมรัก ผู้จัดการ สมาคมนักข่าวแห่ง สปป. ลาว เป็นรองหัวหน้าคณะ  ๓.ท่านวันนะเลด บุดทะวง รองหัวหน้า กรมข่าวสารป้องกันความสงบ ๔.ท่านทรงเดช วงพูทอน หัวหน้าบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์กองทัพ ๕.ท่านสุดสาคอน  สิปะเสิด หัวหน้าบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ศึกษา-กีฬา ๖.ท่านนางขันแก้ว จุนดารานักข่าวดีเด่นประเภท ๑ กรมข่าวสารแม่หญิงลาว และ ๗. ท่านนางสีวิไล คำพาพิลาด นักข่าวดีเด่นประเภท ๒แผนกแถลงข่าว วัฒนธรรมและท่องเที่ยว แขวงจำปาสัก มาเยือนประเทศไทยระหว่าง วันอาทิตย์ที่ ๑๖ –วันเสาร์ที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๕

ในการมาเยือนครั้งนี้ได้มีการจัดสัมมนาร่วมระหว่างคณะผู้แทนสื่อมวลชนลาวกับเครือข่ายบรรณาธิการหนังสือ

พิมพ์ท้องถิ่นภาคอีสานในหัวข้อ “บทบาทสื่อมวลชนลาว-ไทยในการส่งเสริมความสัมพันธ์ลาว-ไทย และการจัดประชุมร่วมสองสมาคมนักข่าวแห่ง สปป.ลาว และ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย “ความร่วมมือ

สื่อลาว-ไทยสู่ประชาคมอาเซียน”  ส่วนการดูงานองค์กรสื่อได้ไปเยี่ยมชมหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ไทยรัฐออนไลน์ สถานีโทรทัศน์บลูสกาย และวอยซ์ทีวี และทัศนศึกษาจังหวัดกระบี่

 

๕.๒ ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนนานาชาติ

๕.๒.๑ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในปี ๒๕๕๕ นายชวรงค์ ลิมปํปัทมปาณี นายก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๕.๓ งานอบรม ในปี ๒๕๕๕ คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ได้จัดการอบรมขึ้น ๒ หลักสูตร

๕.๓.๑ การอบรมหลักสูตรเสริมสร้างความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด มหาชน ได้จัดการอบรมหลักสูตรเสริมสร้างความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาคมอาเซียนให้แก่สื่อมวลชนไทย ๒.เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ตลอดจนการสร้างความตระหนักในความหลากหลายของภูมิภาค สำหรับสื่อมวลชนไทย และ๓. เพื่อเป็นการรณรงค์ให้สื่อมวลชนไทยเกิดความตื่นตัวตระหนักต่อประชาคมอาเซียนและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่แก่สาธารณชนได้  ในการอบรมนอกจากฟังการบรรยายทุกวันอาทิตย์แล้วยังได้มีการเดินทางไปศึกษาดูงานในสองเส้นทางคือ เส้นทางที่ ๑ ประเทศลาว-เวียตนามและเส้นทางที่ ๒ ประเทศอินโดนีเซีย เรียนระหว่างวันเสาร์ที่ ๒ มิถุนายน – วันศุกร์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ มีนักข่าวเข้าร่วมอบรมจำนวน ๒๔ คน

 

๕.๓.๒ การอบรมหลักสูตรเสริมสร้างความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียนใน ปี ๒๕๕๘ สำหรับผู้บริหารสื่อมวลชน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนของบริษัท ไทยเบฟ  จำกัด มหาชน ได้จัดอบรมหลักสูตรเสริมสร้างความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียนใน ปี ๒๕๕๘ สำหรับผู้บริหารสื่อมวลชน ขึ้น  โดยเน้นให้ผู้บริหารข่าวจำนวน ๓๐ คน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาคมอาเซียนตลอดจนการสร้างความตระหนักในความหลากหลายของภูมิภาค รวมทั้งตระหนักต่อประชาคมอาเซียนและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่แก่สาธารณชนได้เริ่มการอบรมระหว่างวันที่  ๙-๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ซึ่งนอกจากจะมีการบรรยายในห้องเรียนแล้ว ยังมีการศึกษาดูงานประเทศเพื่อนบ้านใน ๔ เส้นทางประกอบด้วย  เส้นทางที่ ๑. สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เส้นทางที่ ๒. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  เส้นทางที่  ๓. ราชอาณาจักรกัมพูชา (พนมเปญ)และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (โฮจิมินห์ ซิตี้) และเส้นทางที่ ๔. สหพันธรัฐมาเลเซียและสาธารณรัฐสิงคโปร์

 

๕.๔ ชมรมนักข่าวอาเซียน (ASEAN Journalists Club -AJC) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยไทย สนับสนุนให้นักข่าวที่มีความสนใจในประเด็นอาเซียน รวมตัวกันเป็น ชมรมนักข่าวอาเซียน (ASEAN Journalists Club -AJC) ขึ้นโดยได้จัดการสัมมนาเพื่อจัดตั้งชมรมขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ ๙ – วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ณ เดอะไทด์รีสอร์ท และบ้านพักรับรอง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แหล่มแท่น ชลบุรี ขึ้น โดยชมรมมีวัตถุประสงค์ เพื่อ๑. เสริมสร้างความเข้าใจเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้กับสื่อมวลชนไทยทุกแขนง  ๒. แลกเปลี่ยนและสนับสนุนองค์ความรู้ในการรายงานข่าวเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนระหว่างสมาชิก ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม ๓. เสริมสร้างทักษะและความสามารถในการรายงานข่าวประชาคมอาเซียนของสื่อมวลชนไทย ๔.สนับสนุนการนำเสนอความคืบหน้าของการการเป็นประชาคมอาเซียนสู่ประชาชนทั่วไปผ่านสื่อต่างๆ  และ ๕. สร้างความร่วมมือระหว่างสื่อมวลชนไทยกับสื่อมวลชนในประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน สำหรับประธานชมรมฯคนแรกคือนางสาวปิยะพร วงศ์เรือง หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

 

๕.๕ การจัดทำดัชนีชี้วัดสิทธิเสรีภาพสื่อ

 

๕.๕ การจัดทำดัชนีชี้วัดสืทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในประเทศไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยไทย ร่วมกับเครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ (SEAPA) จัดทำดัชนีชี้วัดสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในประเทศไทย โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างคณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อกับคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบและกระบวนการการทำดัชนี้วัดสื่อ ร่วมทั้งการจัดทำดัชนีชี้วัดสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนที่เหมาะสมในประเทศไทย   ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ

 

๖. คณะกรรมการอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วยกรรมการบริหาร  ๗ คน

๑. นายชวรงค์   ลิมป์ปัทมปาณี    นายก สมาคมฯ                                                  ประธาน

๒. ดร.สุรศักดิ์  จิรวัสตร์มงคล                   อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ                               อนุกรรมการ

๓. นายเสด็จ บุนนาค                  อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ          อนุกรรมการ

๔. นายอนุชา เจริญโพธิ์                           อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ                       อนุกรรมการ

๕. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์                 อุปนายกฝ่ายวิชาการและเลขาธิการ  สมาคมฯ        อนุกรรมการ

๖. นางสาวจินตนา จันทร์ไพบูลย์              รองเลขาธิการ ฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                     อนุกรรมการ

๗.นายปราเมศ  เหล็กเพ็ชร์           รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ   อนุกรรมการ

๘. นางสาวเรวดี  พงศ์ไชยยง                    เหรัญญิก สมาคมฯ                                             อนุกรรมการ

 

ในปี ๒๕๕๕ คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ  ได้จัดกิจกรรมต่างๆ โดยแบ่งเป็นกิจกรรมที่ประสานความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพสื่อและกิจกรรมที่ประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ดังนี้

 

๖.๑ กิจกรรมด้านการบริหารจัดการภายใน

๖.๑.๑ การจัดสัมมนาเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ สมาคมฯ ได้จัดการสัมมนาเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ สมาคมฯ ขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ ๗ - วันอาทิตย์ที่ ๘ เมษายน  ๒๕๕๕  ณ บ้านสวนริมน้ำ  อำเภออัมพวา  จังหวัดสมุทรสงคราม มีทั้งกรรมการบริหาร สมาคมฯ ชุดปัจจุบันและชุดที่ผ่าน ที่ปรึกษา สมาคมฯ และอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เข้าร่วมการสัมมนา ซึ่งจากการสัมมนาดังกล่าวทำให้เห็นเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงานของสมาคมฯมากขึ้น

 

๖.๑.๒ การจัดทำระบบทะเบียนสมาชิก สมาคมฯ อยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบทะเบียนสมาชิก โดยจะมีการจัดทำฐานข้อมูลของสมาชิกให้อยู่ในรูปแบบของ Data Base

๖.๑.๓ การจัดกิจกรรมระดมทุน สมาคมฯ จัดกิจกรรมระดมทุนครั้งใหญ่ปีละ ๒ กิจกรรม คือการจัดทำหนังสือรายงานประจำปีและการจัดงานดินเนอร์ทอล์ค โดยในส่วนของงานดินเนอร์ทอล์คประจำปี ๒๕๕๔ จัดเมื่อ

วันจันทร์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ  โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท ประตูน้ำ ได้รับเกียรติจากฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาปาฐกถาพิเศษเรื่อง “รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอบโจทย์ประเทศไทย” และการอภิปรายในหัวข้อเดียวกัน โดยมีวิทยากรประกอบด้วย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายประมณฑ์ สุธีวงศ์ ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้าไทย และประธานเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น  และนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์  ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  ดำเนินรายการโดย  นายวีระ ธีรภัทรานนท์  สื่อมวลชนอิสระ

ส่วนในปี ๒๕๕๖ จะจัดวันอังคารที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ  โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท ประตูน้ำ ได้รับเกียรติจากศาสตราภิชาน ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีต รองนายกรัฐมนตรี  ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ  “ประเทศไทย ณ จุดเปลี่ยน”

 

ปี ๒๕๕๕  ซึ่งเป็นปี“ปีแห่งการแบ่งขั้ว : จริยธรรมที่ไม่เท่ากัน” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำโครงการต่างๆ ที่จะเอื้ออำนวยและสนับสนุนการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนทุกแขนง ภายใต้ความคาดหวังที่จะให้สื่อมวลชนสามารถรักษาบทบาทการทำหน้าที่ที่มีความเป็นกลางและเป็นธรรม ภายใต้หลักการแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน อย่างมั่นคงและเข้มแข็ง