สำนักข่าวเฉพาะทาง “ทางเลือก” ฝ่าวิกฤตสื่อมวลชน เจาะช่องว่างทางการตลาด ในแพลตฟอร์มที่แตกต่างต่างไป ย้ำเนื้อหา และ คุณค่าข่าวยังเป็นหัวใจสำคัญ

สำนักข่าวเฉพาะทาง “ทางเลือก” ฝ่าวิกฤตสื่อมวลชน เจาะช่องว่างทางการตลาด ในแพลตฟอร์มที่แตกต่างต่างไป ย้ำเนื้อหา และ คุณค่าข่าวยังเป็นหัวใจสำคัญ

ในงาน เสวนาเรื่อง “ทางเลือกฝ่าวิกฤตวารสารศาสตร์”  การสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2561 หัวข้อ  “ทางเลือกทางรอดคนสื่อ ยุค 4.0” จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศราฯ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)

น.ส.บุญลาภ ภูสุวรรณ บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวไทยพับลิก้า กล่าวว่า จุดเร่ิมต้นของการออกมาสำนักข่าวไทยพับลิก้า ขณะนั้นทำงานที่หนังสือพิมพ์ประชาชาชาติธุรกิจ โดยส่วนตัวชอบงานเชิงวิชาการ อยากทำข่าวเศรษฐกิจหนักๆ เชิงข้อมูลใช้อ้างอิงได้ จุดยืนของสำนักข่าวไทยพับลิก้า จึงเน้นทำเรื่องข่าวเจาะทั้งเรื่อง สังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม เป็นภาพใหญ่ไม่ต้องแบ่งเป็นโต๊ะข่าว ทุกวันนี้ก็ยังมีนักข่าว 6  คนและไม่คิดว่าจะขยายใหญ่ไปมากกว่านี้ เพราะเรื่องอื่นๆ ที่เฉพาะทางสามารถหาเอาท์ซอร์สได้จากนักข่าวในสนาม

ทั้งนี้ จากเร่ิมต้นที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักก็พัฒนามาเรื่อย เน้นทำเรื่องตรวจสอบความไม่โปร่งใส การทุจริต คอรัปชั่น ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะป้องกันตัวเองได้คือเรื่องความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ สามารถอ้างอิงข้อมูลได้ทุกเรื่อง มีเอกสารประกอบ เป็นดาต้าเจอร์นอลิซึม นำข้อมูลที่มีอยู่มากมายมาเล่าแบบใหม่ในแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งเทรนด์ต่อไป ไม่สามรถทำแบบเข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้ทั้งหมด ต้องเน้นความเฉพาะด้านเฉพาะทาง

น.ส.บุญลาภ กล่าวว่า ที่ผ่านมาไทยพับลิก้า ไม่ได้แค่เสนอข่าวเฉยๆ แต่ดผลักดันไปสู่การแก้ปัญหาเช่นเรื่องข่าวหวยที่ใช้เครื่องมือขอข้อมูลพบว่ามีมาเฟียเยอะแยะไปหมด จนต่อมานำไปสู่การรื้อปรับโครงสร้างใหม่ซึ่งยังต้องเกาะติดต่อไป  ซึ่งเราไม่เน้นทำเป็นสื่อใหญ่ คิดเล็ก ทำเล็กเจาะเฉพาะทาง สำหรับนักข่าวแล้วเนื้อหาก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ ส่วนเรื่องแพลตฟอร์มก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามรูปแบบ

นายนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหาร เดอะ แสตนดาร์ด กล่าวว่า เดอะแสตนดาร์ดเกิดจากโอกาสและช่องว่างทางการตลาด ซึ่งกลุ่มผู้อ่านรอข่าวลักษณะนี้ ในขณะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยถือเป็นจุดบรรจบระหว่างความน่าเชื่อถือ และ ความสร้างสรรค์ มีการนำเสนอข่าวด้วยอินโฟกราฟฟิคย่อยข้อมูลยากๆ ให้เข้าใจง่าย คนชอบอ่านอะไรสั้นๆ มีโมชั่นกราฟฟิค เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเดอะแสตนดาร์ด มีพนักงาน 80 คน มีนักข่าวประมาณ 20 คน  ซึ่งได้พิสูจน์ตัวในการเป็นสำนักข่าวออนไลน์ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสื่อ ซึ่งเราจะต้องรีอินเว็นท์ตัวเอง ซึ่งเราจะไม่เรียกตัวเองว่านักข่าว แต่เป็น “คอนเทนต์ครีเอเตอร์” นำเสนอหลายแพลตฟอร์ม ไขว้กันไปหมด ซึ่งต้องมีพื้นฐานทางด้านวารสารศาสตร์  อย่างนักข่าวต้องไลฟ์ เปิดหน้า จัดรายการ ทำได้หลายแพลตฟอร์ม ซึ่งสิ่งที่สถาบันการศึกษายังต้องให้ความสำคัญในการสอนคือศาสตร์ของการเล่าเรื่อง

นายอภิรักษ์ โรจน์อำพร  บรรณาธิการบริหารไทยรัฐออนไลน์ กล่าววว่า การพัฒนามาจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีหลายสิ่งที่ถูกถ่ายทอดมาทางดีเอ็นเอ แต่อีกด้านก็ดูมีอายุทำให้ต้องปรับกันขนานใหญ่ ทั้งวิธีการทำงาน และเรื่องอื่นๆ  ดังนั้น ทั้ง ทีวีและสื่อสิ่งพิมพ์มีโอกาสรอดยากถ้าไม่ปรับตัว ยกตัวอย่างวิธีคิดเรื่องรายได้ เช่น จากเดิมหนังสือพิมพ์แยกการทำข่าว และการหาโฆษณา แต่ระบบใหม่ออนไลน์ทุกอย่างเป็นเงิน

ทั้งนี้ เรื่องมาร์เก็ตต้ิงจะใช้แบบเดิมก็ไม่ได้ ต้องปรับตัวเพื่อรองรับผู้บริโภคซึ่งต้องหาว่าผู้บริโภคต้องการอะไร เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยาก  จากบิ๊กดาต้า ทำให้เรารู้ว่าเราจะไปทางไหน บอกได้ว่าอนาคต จะเกิอะไรขึ้น  แต่ด้วยความเป็นองค์กรข่าว อย่างไรก็ต้องคงคุณค่าความเป็นข่าวให้ได้

นายนิกร จันพรม ผู้ก่อตั้ง เว็บไซต์ 77kaoded.com กล่าวว่า  นักข่าวหากไม่คิดปรับตัวก็ตาย เวลานี้ต้องสามารถทำงานแบบมัลติฟังก์ชั่น โดยเรื่องสำคัญคือเนื้อหา เพียงแต่เรามาติกับรูปแบบ ซึ่งคิดว่าต้องทำทีวี วิทยุ มี กองบก. แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเห็นว่าน่าจะดึงสติงเกอร์ในพื้นที่ต่างหวัดมาเป็นพาร์ตเนอร์ ลดอำนาจจากส่วนกลาง

“ตอนแรกก็มีคนเป็นห่วงว่า จะมาทำออนไลน์แล้วยังให้นักข่าวสติงเกอร์ อัพข่าวกันเอง จะเกิดปัญหาเละเทะ  เกิดการฟ้องร้องอะไรกัน แต่ก็เหมือนกับคนเรียนว่ายน้ำที่หากไม่ลองว่ายก็ว่ายไม่เป็น ต้องโยนลงไปในสาระ ซึ่งก็ต้องระวังเรื่องข่าวเท็จ ข่าวลวง แต่นักข่าว ทำกันมา 10-20 ปี มีประสบการณ์ มีตัวตนในจังหวัด เดินไปไหนใครก็รู้หมด” นายนิกร กล่าว

นายนิกร กล่าวว่า จากที่เปิดเว็บไซต์มาทำให้เห็นว่าเดินทางมาถูกทาง เป็นการปรับโครงสร้างฝ่าวิกฤติ ยุคนี้หาคนทำสื่อยาก  ซึ่งสิ่งสำคัญคือเรื่องเนื้อหา  ส่วนรูปแบบการนำก็สามารถเปลียนแปลงไปได้ ซึ่งเชื่อว่า แนวทางนี้จะโตขึ้นไปเรื่อยๆและเป็นชุมชนที่ยึดโยงสังคเข้าไว้ด้วยกัน

นายนิรันดร์ศักดิ์ บุญจันทร์  ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วรรณกรรม the paperless กล่าวว่า เร่ิมต้นทำเว็บไซต์ด้วยเงิน 7,000 บาท ด้วยต้นทุนสมัยที่เคยทำงานในเซ็คชั่นจุดประกายวรรณกรรม หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และที่บ้านมีหนังสือมากเหมือนเป็นบิ๊กดาต้า ครั้งแรกชวนนักเขียนใหญ่มาร่วมงานทั้ง อาจินต์ ปัญจพรรค์ แดนอรัญ แสงทอง มาร่วมเขียน

“จากที่ได้เปลี่ยนมาทำเว็บไซต์ ทำให้เห็นว่าทำนิตยสารยากกว่า เหนื่อยกว่าเพราะมีหลายขั้นตอน มีภาพ มีคอนเทนต์ แต่พอปรับมาทำเว็บไซต์ ก็ไม่ได้ทำแค่เนื้อหา มีทั้ง แต่งเพลง วิจารณ์หนังสือ ซึ่งให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ระหว่างการทำเว็บไซต์ กับ เนื้อหาในสิ่งพิมพ์ เพราะเว็บไซต์ลงปุ๊บก็รู้ปฏิกิรยาตอบรับ ทำไปก็จะรู้ว่าบางเรื่องเหมาะกับทำพ็อคเก็ตบุ้ค บางเรื่องเหมาะกับทำออนไลน์ ซึ่งบางเรื่องคิดว่าคนไม่สนใจแต่กลับสนใจได้ฟีดแบ็คกลับมาเร็ว” นายนิรันทร์ศักด์ กล่าว

โปสเตอร์