สรุปสถานการณ์สื่อ ประจำวันที่ 1-31 ส.ค.2562

 

สรุปสถานการณ์สื่อ ประจำวันที่ 1-31 ส.ค.2562

1.จากคำสั่ง คสช. มาตรา 44 ที่ออกมาเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2562 เพื่อแก้ปัญหาทีวีดิจิทัลเปิดทางให้คืนใบอนุญาตก่อนสิ้นสุดสัญญาในปี 2572 พร้อมรับเงินชดเชย จึงมี “7 ช่อง” ขอออกจากตลาดไม่ไปต่อ ประกอบด้วย สปริงส์นิว 19, สปริง 26 (NOW 26), ไบรท์ทีวี, วอยซ์ทีวี, MCOT Family (อสมท), ช่อง 3 SD (ช่อง 28) และ ช่อง 3 Family (ช่อง 13) โดยทั้ง 7 ช่องจะยุติออกอากาศตามกำหนดตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. - ต.ค.2562 โดยจะได้รับเงินชดเชย จากกสทช. เนื่องจากใช้ใบอนุญาตไม่ครบ 15 ปี รวมอยู่ที่ 2,932.65 ล้านบาท

ทั้ง 7 ช่อง ประมูลทีวีดิจิทัลมาด้วยมูลค่ารวม 9,755 ล้านบาท การลงทุนทั้งค่าใบอนุญาตที่ใช้ไป 5 ปีกว่าและต้นทุนการทำธุรกิจหลัก 10,000 ล้านบาท ของ 7 ช่องทีวีดิจิทัลที่ขอถอนตัว โดนสาเหตุที่ตัดสินใจหลักสะท้อนได้จากเรตติ้งช่องที่ส่วนใหญ่อยู่ท้ายตาราง และรายได้ตลอดช่วง 5 ปี ของแต่ละช่อง ที่ยังขาดทุนต่อเนื่อง และมองไม่เห็นโอกาสจากการแข่งขันในอีก 10 ปีข้างหน้า จึงปรับกลยุทธ์ไปสู่ดิจิทัล

สำหรับทีวีดิจิทัล 7 ช่องที่ขอคืนใบอนุญาติ จะเริ่มยุติออกอากาศ ตั้งแต่เที่ยงคืนวันที่ 15 ส.ค. หรือเมื่อก้าวเข้าสู่วันที่ 16 ส.ค. 2562 เวลา 0.01 น. มี 3 ช่อง คือ สปริงนิวส์ 19, สปริง 26 และไบรท์ทีวี จากนั้นวันที่ 1 ก.ย. 2562 เวลา 0.01 น. วอยซ์ทีวี ตามด้วย วันที่ 16 ก.ย. 2562 เวลา 0.01 น. ช่อง MCOT Family และสุดท้ายวันที่ 1 ต.ค. 2562 เวลา 0.01 น. ช่อง 3 SD และ ช่อง 3 Family

 

2.จากผลกระทบการคืนช่องทีวีดิจิทัลนั้น บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ได้ออกแถลงการณ์ 5 ข้อ ถึงสาเหตุเลิกจ้างพนัก และการดำเนินธุรกิจหลังจากนี้

1.การยื่นคืนใบอนุญาตประกอบกิจการฯ ช่อง 13 และช่อง 28 ทำให้ต้องเกิดการปรับโครงสร้างขององค์กรให้เหมาะสมกับการประกอบกิจการช่อง 33 เพียงช่องเดียว จึงเป็นเหตุให้เกิดการเลิกจ้างพนักงานจำนวนหนึ่ง โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาเพื่อการเลิกจ้าง คือการลดอัตราตำแหน่งงานและหน่วยงานที่ทับซ้อนกันลง เพื่อให้มีจำนวนบุคคลากรที่เหมาะสมกับกลยุทธ์ใหม่ของฝ่ายข่าวหลังการปรับโครงสร้าง และการพิจารณาผลการปฏิบัติงานรวมถึงการให้ความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ของพนักงานในช่วงที่ผ่านมาเป็นสำคัญ

2.บริษัทโดยฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้มีการจัดประชุมกับพนักงานที่มีส่วนได้รับผลกระทบทุกคน เพื่อชี้แจงที่มาที่ไปและหลักเกณฑ์ในการเลิกจ้าง รวมถึงวิสัยทัศน์ต่อการปรับโครงสร้างฝ่ายข่าว โดยเปิดโอกาสให้มีการซักถามข้อสงสัยในระหว่างชี้แจงด้วย ในช่วงวันที่ 9-12 กรกฎาคม 2562 โดยให้มีระยะเวลาในการทางานถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ซึ่งเป็นการแจ้งล่วงหน้าพร้อมจ่ายค่าชดเชยค่าบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 1 เดือน และแม้สถานีโทรทัศน์ช่อง 13 และ 28 ยังคงออกอากาศจนถึงสิ้นเดือนกันยายน แต่ช่วง 2 เดือนหลังจากนี้การผลิตรายการสำหรับทั้ง 2 ช่อง มีจำนวนที่น้อยลง และไม่ได้ใช้จำนวนพนักงานมากเท่าเดิม

3.บริษัทจะหยุดการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ช่อง 13 และ 28 แต่อย่างไรก็ตาม การทำงานข่าวเป็นการทำงานที่สนับสนุนกันทั้งหมดทั้งองค์กร จึงอาจมีรายการ ตำแหน่งงาน และ หน่วยงานที่ทับซ้อนกันในบางกรณีจึงทาให้มีการเลิกจ้างการทางานของช่อง 33 ไปบ้าง

 

4.จำนวนพนักงานที่มีการเลิกจ้างในครั้งนี้ มีจำนวน 154 คน ไม่ใช่จำนวน 200 คนตามที่กลุ่มอดีตพนักงานของช่อง 3 ได้ออกแถลงการณ์

5.บริษัทได้พิจารณาค่าชดเชยการเลิกจ้างโดยปฏิบัติตามกฎหมาย โดยมีการให้ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยเพิ่มเติมจานวนเงินที่มากกว่ากฏหมาpกำหนดไว้ เพื่อบรรเทาปัญหาสำหรับพนักงาน นอกจากนี้บริษัทยังมีการจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของบริษัทเป็นจำนวนเต็มให้กับพนักงานทุกคนในทุกอายุงาน

ขณะเดียวกันที่  กลุ่มพนักงานฝ่ายข่าว และผู้ผลิตรายการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จำนวนเกือบ 20 คน เดินทางมาที่ศาลแรงงานกลาง เมื่อวันที่ 1 ส.ค. เพื่อขอความเป็นธรรมและปรึกษานิติกร กรณีถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมของผู้บริหาร หลังมีการคืนช่องสัมปทานทีวีดิจิทัล ช่อง 13 Family และ ช่อง 28 SD โดยเรียกร้องให้บริษัทจ่ายเงินชดเชยพิเศษไม่เป็นไปตาม มาตรา 118 ของกฎหมายแรงงาน ทั้งที่ มาตรา 44 คำสั่ง คสช. ที่ระบุว่าต้องดูแลพนักงานอย่างดี รวมทั้งมีหนังสือชี้แจงจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ ระบุว่า จะให้เงินชดเชยมากกว่าที่กฎหมายกำหนด

3.สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เตรียมออกมาตรการช่วยเหลือคนข่าวหลังตกงาน โดนเตรียมประสานของพื้นที่ MBK ให้ขายของพร้อมจัดหลักสูตรวิชาชีพออนไลน์ โดยนายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้หารือกับกสทช.เพื่อขอให้จ่ายเงินชดเชยแก่พนักงาน 7 ช่องที่ถูกเลิกจ้างมากกว่าที่กฏหมายแรงงานชดเชย แต่กสทช.อ้างว่า ไม่มีอำนาจไปบังคับนายทุนทำได้ แค่ขอความร่วมมือให้ดูแลพนักงานตามกฎหมายแรงงานเท่านั้น โดยสมาคมผลักดันให้มีมาตราการเร่งด่วนช่วยเหลือคนข่าวเร็วที่สุด จึงประสานขอพื้นที่ในห้างมาบุญครองเพื่อเปิดพื้นที่ให้คนข่าวขายของสร้างรายได้อย่างรวดเร็ว เหมือนปี 2540

นอกจากนี้ สมาคมฯ ประสานกับ กองทุน USO กสทช. เตรียมจัดคอร์สอบรมวิชาชีพ ออนไลน์ ให้กับคนข่าวที่ตกงาน ให้เป็นเจ้าของสื่อด้วยตัวเอง โดยจัดหลักสูตรเรียนรู้สื่อออนไลน์ เน้นการทำอินโฟกราฟฟิก หลักการตลาดในสื่อออนไลน์ มอบหมายให้ทางสำนักข่าวอิศราเป็นผู้ขียนหลักสูตร ระยะเวลา 3 เดือน ขณะเดียกัน ได้เปิดศูนย์ประสานงานและติดตามอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน (ศตส.) มีหน้าที่ในการรับข้อมูลทั้งหมดและช่วยเหลือคนข่าวที่ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หากมีปัญหาเลิกจ้างไม่ถูกต้องทางกฏหมาย

ทั้งนี้ มีข้อมูลจากสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ระบุว่า ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2562 จนถึงปัจจุบัน มีบุคลากรในอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนในตำแหน่งต่างๆจากสังกัดสื่อแขนงต่างๆ ทั้งทีวีดิจิทัล หนังสือพิมพ์ ต้องตกงานรวมมากกว่า 800 คน และยังมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นได้อีก ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมสื่อมวลชนทั่วโลก

4.บมจ.อสมท ได้เผยแพร่สารจากกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ “เขมทัตต์ พลเดช” ที่มีเนื้อหาว่า ในรอบ 6 เดือนแรกปีนี้ อสมท ยังคงเป็นเหมือนธุรกิจในแวดวงสื่อที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปและการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจทีวีดิจิทัล ทำให้ธุรกิจสื่อไม่เติบโตและรุ่งเรืองเหมือนที่ผ่านมา รวมทั้ง อสมท ยังมีภาระต้นทุนด้านบุคลากรสูงและรูปแบบองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการแข่งขันทางธุรกิจปัจจุบัน ทำให้ อสมท ไม่สามารถอยู่ในสถานะที่มั่นคง แข็งแรงและมีกำไรเหมือนที่ผ่านมา

 

ถึงแม้สถานการณ์ธุรกิจสื่อปัจจุบันยังไม่สดใสนัก แต่ผลการดำเนินงานของ อสมท ในปี 2561 เริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น ฝ่ายบริหารจึงได้เสนอคณะกรรมการ บมจ.อสมท พิจารณาปรับ “ขึ้นเงินเดือน” พนักงานระดับ “ผู้อำนวยการฝ่าย” ลงมา และจ่ายค่าครองชีพแบบเหมาจ่ายให้กับลูกจ้างรายวัน วงเงิน 15 ล้านบาท โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่เดือน ม.ค. 2562 โดยปลายเดือน ก.ค.นี้ พนักงาน อสมท จะได้รับเงินเดือนใหม่ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน

5.คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เตรียมดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ภายหลัง เมื่อ 8 ส.ค.2562 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระค่าประมูลทีวีดิจิตอลงวดที่ 4/2 ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 4/2562 ตามเงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด แต่มีเพียงบริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด ช่อง NEW TV ช่องเดียวที่ไม่มาชำระงวด 4/2 ให้ครบถ้วนตามคำสั่งแล้ว ทำให้ช่อง NEW TV จะไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในงวด 5 และ 6 รวมทั้งไม่ได้รับการสนับสนุนเงินค่าเช่าโครงข่าย MUX โดยจะรอมติจากที่ประชุม กสทช.พิจารณา รวมถึงสำนักงานจะได้มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้ช่อง NEW TV ทราบอีกครั้ง หากช่อง NEW TV ยังไม่ดำเนินการจะเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายต่อไป

6.ฉาย บุนนาค ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ประกาศแผนรุกสื่อดิจิทัลเต็มตัว โดยมองว่ารายได้ธุรกิจสื่อในอนาคตหนีไม่พ้นสื่อดิจิทัล ที่จะกินส่วนแบ่งรายได้จากธุรกิจสื่อดั้งเดิมมากขึ้นในระยะเวลา 10 ปีจากนี้ เป้าหมายหลักจะผลักดันรายได้จากสื่อดิจิทัลในเครือเนชั่น ให้เพิ่มขึ้นจาก15% ของรายได้รวมเครือ เป็น 25% ของรายได้รวมเครือภายใน 2 ปีจากนี้ ผ่าน 2 แผนก ที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ได้แก่ บิซิเนสยูนิต ดิจิทัล (Digital) และ ดิจิทัล อินเทลลิเจนท์ (Digital Intelligent)

 

บิซิเนสยูนิต ดิจิทัล จะรวมทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ในเครือเนชั่นเข้าด้วยกัน จากเดิมหากรวมทุกสื่อออนไลน์ในเครือ จะมียอดเพจวิววันละ 10 ล้านเพจวิว ถือเป็นอันดับต้นๆ ในอุตสาหกรรมสื่อ โดยหลังการรวมแพลตฟอร์มออนไลน์ในเครือ ยังมีเป้าหมายที่จะเพิ่มเพจวิวเป็น 2 เท่าตัว หรือ20 ล้านเพจวิวต่อวัน ภายใน 6 เดือนแรกของการก่อตั้งบิซิเนสยูนิต จะเริ่มดีเดย์ในเดือนก.ย.นี้

7.กระทรวงดิจิทัลฯ ประสาน 15 พันธมิตร เดินหน้านโยบายเร่งด่วนด้านดิจิทัลเพื่อความมั่นคง หาแนวทางในการจัดตั้งศูนย์เฟคนิวเซ็นเตอร์ เพื่อเน้นสื่อสารข่าวการเตือนภัยพิบัติ และข่าวลวงที่กระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อผลักดันให้เกิดศูนย์เฟคนิวส์เซ็นเตอร์ อย่างเป็นรูปธรรมภายใน 3 เดือน

ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาของอังกฤษ จึงประกาศว่าให้คุณครูในอังกฤษสอนนักเรียนถึงเรื่องความอันตรายของ “ข่าวลวง” และหยุดเผยแพร่มันในโลกออนไลน์ โดยนักรียนในอังกฤษจะต้องเรียนเรื่อง Fake News ในอินเทอร์เน็ต โดนจะต้องวิเคราะห์เนื้อหาในข่าว ตั้งแต่พาดหัวว่าเป็น clickbait หรือไม่, คอนเทนต์ชักจูงให้เผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จหรือเปล่า ทั้วนี้ รัฐบาลมั่นใจว่าหลักสูตรใหม่นี่ จะช่วยให้เด็กๆ พิจารณาได้ว่าข้อมูลที่ตัวเองกำลังอ่านอยู่นั่นเป็นข้อมูลที่ผิดพลาดหรือว่าเป็นข้อความลวง ที่ไม่ควรเชื่อถือ หลักการสำคัญคือจะมุ่งที่ผลกระทบต่อสังคม อาทิ ข่าวปลอมเกี่ยวกับภัยพิบัติ ยาเสพติด ยารักษาโรค

8.ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า Facebook จะเปิด Section ข่าวเป็นของตัวเองในชื่อว่า Facebook News ล่าสุดทาง The New York Times ได้รายงานว่า Facebook นั้นมีแผนที่จะจ้าง “นักข่าว” เพื่อมาทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ หรือคัดเลือกข่าวต่าง ๆ มานำเสนอ ซึ่งนักข่าวที่ว่านี้ก็เป็นคนจริง ๆ ต้องมีประสบการณ์ในวงการ Journalism จริง ๆ ไม่ใช่แค่ใช้อัลกอริทึมมาสร้างเป็น Feed ข่าว

ประกาศของ Facebook เอง ระบุว่า หน้าที่ของงานก็คือ เลือกนำข่าวหรือประเด็นต่าง ๆ จากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ ตั้งแต่ breaking news, daily หรือ weekly news events โดยที่ต้องมีประสบการณ์การทำงานในแวดวงข่าวสาร หรือข่าว Digital ประมาณ 4-5 ปี

จากสถานการณ์ฮ่องกงวิกฤติกระทบทุนไทยหนัก เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ มหาเศรษฐีไทย และประธานอาวุโสแห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีการซื้อพื้นที่โฆษณาหน้าแรกในหนังสือพิมพ์ฮ่องกงชื่อดังสามฉบับรวด เพื่อเรียกร้องให้ยุติการชุมนุมและคืนเกาะฮ่องกงกลับสู่ความสงบเรียบร้อยอีกครั้งแล้ว โดยหนังสือพิมพ์ที่เจ้าสัวธนินท์ซื้อพื้นที่โฆษณาไปนั้นประกอบด้วย the Oriental Daily News, Sing Tao Daily และ Ming Pao

ก่อนหน้าที่เจ้าซัวธนินท์ ได้เรียกร้องความสงบให้คืนสู่เกาะฮ่องกงผ่านการซื้อโฆษณาบนหน้าหนังสือพิมพ์นี้ แลเวยังมีมหาเศรษฐีลีกาชิง (Li-Ka shing) อีกรายที่เคยออกมาทำแบบเดียวกัน กับการซื้อโฆษณาบนหนังสือพิมพ์หลายฉบับในวันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พร้อมถ่ายทอดข้อความที่ขอให้สถานการณ์ยุ่งยากเหล่านี้จบลงด้วยความเข้าใจ