รายงานสถานการณ์สื่อมวลชนในรอบปี 2567 : ปีแห่งความยากลำบากของสื่อมวลชน

ตลอดปี 2567 ที่กำลังจะผ่านไป สื่อมวลชนยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลกระทบจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่ก้าวหน้าไม่หยุดนิ่ง  ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคสื่อเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ถือเป็นประเด็นที่ท้าทายต่อการทำงานของสื่อมวลชนทั้งในเรื่องความน่าเชื่อถือของข่าว และการปรับตัวจากผลกระทบของปัญหาเศรษฐกิจ  ทั้งนี้ จากสถานการณ์ดังกล่าวในภาพรวม อาจส่งผลกระทบต่อสื่อมวลชนในประเด็นหลัก 2 ประการคือ 1.สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน และ 2. ปัญหาการเลิกจ้างสื่อ และการปรับตัวเข้ากับแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่มาจากสภาวะเศรษฐกิจ

1.ปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพสื่อมวลชน

1.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.พระราชวัง เข้าจับกุม นายณัฐพล เมฆโสภณ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวประชาไท และนายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ ช่างภาพอิสระ เมื่อวันที่ 12 ก.พ.2567  ตามหมายจับของศาล ข้อหาสนับสนุนให้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.โบราณสถานและ พ.ร.บ.การรักษาความสะอาด จากการไปรายงานข่าวและถ่ายภาพบุคคลที่กำลังพ่นสีเขียนข้อความที่กำแพงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)ในวันที่ 28 มี.ค.2566 โดยนำไปเกี่ยวโยงกับเคลื่อนไหวของกลุ่มทะลุวัง ในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในขณะนั้น ซึ่งอาจเข้าข่ายกระทบต่อสถาบัน ทั้งนี้ ทั้งสองคนได้ถูกนำตัวไปคุมขังไว้ 1 คืน ขณะที่องค์กรวิชาชีพสื่อออกแถลงการณ์แสดงความเป็นห่วงต่อการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อาจเข้าข่ายคุกคามและละเมิดสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ และมองว่าการจับกุมของเจ้าหน้าที่ โดยไม่มีหมายเรียกเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ และเป็นการปรามสื่อถึงการรายงานข่าวที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  ก่อนที่ศาลอนุญาตให้ประกันตัวออกมาภายหลัง 

1.2 หลังการเปลี่ยนรัฐบาลเมื่อเดือนสิงหาคม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ถูกผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสซักถามถึงการที่ไม่เข้าร่วมประชุมสภาเพื่อลงมติเลือก น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี  พล.อ.ประวิตร มีท่าทีฉุนเฉียว พร้อมใช้มือผลักไปที่ศีรษะของผู้สื่อข่าวสุภาพสตรี ก่อนจะรีบเดินขึ้นรถไป กรณีนี้องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ได้ออกแถลงการณ์ประณามพฤติกรรม การข่มขู่ คุกคามสิทธิเสรีภาพ ถือเป็นการใช้ความรุนแรงและไม่ให้เกียรติต่อผู้สื่อข่าว มีการยื่นเรื่องถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อตรวจสอบจริยธรรมของ พล.อ.ประวิตร พร้อมทั้งเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าว

1.3 กรณีที่ สส.พรรคเพื่อไทย ไม่พอใจการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนอาวุโสบางราย ที่วิพากษ์วิจารณ์นายกรัฐมนตรี และเรียกร้องให้สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส พิจารณาถอดรายการบางรายการเพื่อไม่ให้ผู้ที่ไม่เป็นกลาง มาจัดรายการตำหนิรัฐบาล ซึ่งเป็นการพูดในระหว่างที่คณะกรรมการนโยบายและผู้บริหารของไทยพีบีเอสเข้ารายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2566 ต่อสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ถูกมองว่าเป็นการข่มขู่สื่อมวลชนกลางสภา

จากทั้ง 3 เหตุการณ์ข้างต้น ย่อมมีผลต่อการลดทอนคุณภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนลงได้ เป็นที่มาของการที่สื่อมวลชนต้องเซ็นเชอร์ตนเอง จากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมบางกรณี โดยผู้สื่อข่าวและองค์กรสื่อมวลชนจึงมีความจำเป็นต้องการรายงานข้อมูลข่าวสารไปตามสถานการณ์เบื้องต้นเท่านั้น เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงประเด็นอ่อนไหวต่าง ๆ และเพื่อเป็นการป้องกันการเผชิญหน้ากับการโจมตีจากกลุ่มผลประโยชน์หรือผลกระทบทางกฎหมาย หรือเพื่อป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้ถูกดำเนินคดีตามมา

2.ปัญหาการเลิกจ้างสื่อ และการปรับตัวเข้ากับแพลตฟอร์มออนไลน์

สืบเนื่องจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของสื่อมวลชนในยุคปัจจุบัน พบว่า รายได้ที่มาจากโฆษณาต่าง ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายสื่อมวลชนหลายองค์กรต้องพึ่งพาแหล่งทุนที่เป็นหน่วยงานของภาครัฐบาลและกลุ่มทุนขนาดใหญ่  ส่งผลให้สื่อมวลชนเกิดความเกรงใจอันเนื่องมาจากความจำเป็นในการพึ่งพางบประมาณค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน จนไม่สามารถตรวจสอบ  วิพากษ์วิจารณ์นโยบายสาธารณะหรือกลุ่มทุนภาคธุรกิจที่ให้การสนับสนุนได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ รูปแบบของการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีการแข่งขันกันสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เห็นได้ว่า การนำเสนอเนื้อหาสาระมักจะมุ่งเน้นที่ความนิยมหรือเรตติ้ง มากกว่าคุณภาพของข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอ 

ปัจจุบัน ผู้บริโภคสื่อหันมาใช้แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ประเภทต่าง ๆ รวมถึงการใช้เว็บไซต์ข่าวที่ไม่มีการเก็บค่าบริการ ส่งผลให้การจำหน่ายหนังสือพิมพ์และนิตยสารแบบดั้งเดิมลดลง  นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางที่หลากหลายโดยไม่เสียค่าบริการ  ดังนั้น ความท้าทายของการนำเสนอข่าวสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์คือ ทำอย่างไรจึงสามารถทำให้ผู้บริโภคสมัครใจที่จะเข้าสู่การสมัครสมาชิกได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ซึ่งค่อนข้างเป็นไปได้ยากในบริบทของสังคมไทย

ดังนั้น เมื่อองค์กรสื่อมวลชนต้องสูญเสียรายได้จากโฆษณา เพราะภาคธุรกิจเลือกใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เช่น Google หรือ Facebook ส่งผลให้สื่อมวลชนขาดรายได้ที่จะมาสนับสนุนการผลิตข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพในปัจจุบัน สถานการณ์เช่นนี้ ส่งผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดต่อองค์กรสื่อมวลชน โดยตลอดปี 2567 องค์กรสื่อมวลชนหลายองค์กรจำเป็นปรับโครงสร้างขนานใหญ่ด้วยการเลิกจ้างพนักงาน โดยเฉพาะสื่อทีวีที่มีปัญหาการขาดทุนสะสม เช่น กรณีสถานีโทรทัศน์ออนไลน์ Voice TV  ปิดตัวลงเมื่อเดือนพฤษภาคม 2567 หลังจากดำเนินกิจการมากว่า 15 ปี  พนักงานกว่า 200 คนต้องถูกเลิกจ้าง  / สถานีโทรทัศน์ Mono29 ประกาศเลิกจ้างพนักงานกว่า 100 คน  / เครือเนชั่น ออกมาตรการพักการจ่ายเงินเดือน 10% ให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไปเป็นเวลา 6 เดือน  และในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ช่อง 3 ปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เลิกจ้างพนักงานเกือบ 300 คน  ขณะที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐเปิดโครงการให้พนักงานลาออกโดยสมัครใจ นอกจากนี้ ยังมีสื่อทีวีหลายช่องและองค์กรสื่อมวลชนหลายสำนักที่มีการปรับโครงสร้างด้วยการเลิกจ้างพนักงาน หรือพักการจ่ายเงินเดือนบางส่วน 

ดังนั้น ปี 2567 จึงเป็นปีแห่งความยากลำบากขององค์กรสื่อมวลชน ตลอดจนผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่ต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงทางวิชาชีพ  กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของสื่อในการทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา ภาวะความผันผวนนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่องค์กรสื่อมวลชนจะต้องปรับตัวและสร้างความแตกต่างเพื่อความอยู่รอดในระยะยาวได้อย่างมั่นคงต่อไป.

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

www.tja.or.th

26 ธันวาคม 2567

Report on the Media Situation in 2024: A Year of Challenges for the Media

Throughout 2024, the media continued to face numerous changes, particularly due to the rapid advancement of digital technology. This evolution has consistently reshaped consumer behavior, especially in accessing news and information via online platforms. These shifts present challenges for the media in maintaining credibility and adapting to the economic impacts of this transformation. Overall, the media faced two primary issues:

 1. Media Rights and Freedom

 2. Layoffs in the Media Industry and Adaptation to Online Platforms

1. Issues of Media Rights and Freedom

1.1 Arrest of Journalists

On February 12, 2024, officers from the Phra Ratchawang Police Station arrested Mr. Nattapol Mekkosophon, a journalist from Prachatai, and Mr. Nattapol Phanphongsanon, a freelance photographer, under a court warrant. The charge was supporting violations of the Ancient Monuments Act and the Cleanliness Act. They had reported on and photographed individuals spray-painting messages on the wall of Wat Phra Kaew (Temple of the Emerald Buddha) on March 28, 2023, in connection with the political movement calling for amendments to Section 112 of the Penal Code. The two were detained for one night. Media professional organizations issued statements expressing concerns over potential threats to press freedom, which is constitutionally protected. The arrests, which occurred without prior summons, were seen as excessive and as attempts to intimidate the media into avoiding coverage of sensitive legal issues. The court later granted bail for both individuals.

1.2 Physical Intimidation by Political Figures

In August 2024, following the change in government, General Prawit Wongsuwan, leader of the Palang Pracharath Party and former Deputy Prime Minister, was questioned by a Thai PBS reporter regarding his absence during the parliamentary vote to elect Ms. Paetongtarn Shinawatra as Prime Minister. Gen. Prawit displayed frustration and pushed the reporter on the head before quickly leaving the scene. Media organizations condemned this act as intimidation and violence, demanding accountability and an ethical investigation into Gen. Prawit’s actions.

1.3 Threats to Media Independence in Parliament

A Pheu Thai Party MP expressed dissatisfaction with certain senior journalists critical of the Prime Minister. They suggested that Thai PBS remove specific programs to avoid airing opinions deemed unfavorable to the government. This statement was made during Thai PBS’s annual performance review presentation to parliament, raising concerns over media intimidation in a public forum.

These incidents highlight the increasing self-censorship among journalists and media organizations, compelled by societal and legal pressures. Reporters often limit their coverage to preliminary information to avoid legal repercussions or backlash from interest groups.

2. Layoffs in the Media Industry and Adaptation to Online Platforms

The media industry’s economic challenges have resulted in declining advertising revenue, forcing many organizations to rely on government funding or large corporate sponsors. This dependency often hinders media from critically examining public policies or actions of sponsoring entities.

The rise of online platforms has intensified competition, with content increasingly driven by popularity and ratings rather than quality. Consumers now favor free access to information via social media and online news websites, causing a significant decline in the circulation of traditional newspapers and magazines.

Efforts to encourage subscription-based models for online platforms remain difficult within the Thai context. Meanwhile, advertising revenue continues to shift to global platforms like Google and Facebook, further depleting resources for quality news production.

Throughout 2024, numerous media organizations underwent significant restructuring to mitigate losses:

 • Voice TV: Ceased operations in May 2024 after 15 years, resulting in over 200 layoffs.

 • Mono29: Announced layoffs of over 100 employees.

 • Nation Group: Implemented a 10% salary reduction for employees earning over 50,000 THB for six months.

 • Channel 3: Restructured in November 2024, laying off nearly 300 employees.

 • Thai Rath Newspaper: Initiated a voluntary resignation program.

These examples illustrate the widespread impact of economic challenges on the media industry.

Conclusion

The year 2024 was a difficult one for media organizations and professionals, marked by financial instability and threats to media rights and freedom. The turbulence underscores the necessity for media organizations to adapt and innovate to ensure long-term survival in an ever-changing landscape.

The Thai Journalists Association

26 December 2024