เบื้องหลังทีมแพทย์ถ้ำหลวง แนะเทคนิคดูแลสุขภาพ หมูป่า-ญาติ-จนท.-สื่อ

,เบื้องหลังทีมแพทย์ถ้ำหลวง แนะเทคนิเบื้องหลังทีมแพทย์ถ้ำหลัง แนะเทคนิคดูแลสุขภาพ หมูป่า-ญาติ-จนท.-สื่อคดูแลสุขภาพ หมูป่า-ญาติ-จนท.-สื่อ  



เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2561 ที่อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน มีการจัด “โครงการตรวจสุขภาพให้สื่อมวลชน” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ชมรมเพื่อเพื่อนช่างภาพ (For friends)  แพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมควบคุมโรคและกรมสุขภาพจิต มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ และนักเรียนหลักสูตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง(ปธพ.)รุ่นที่ 6



โดยมี นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธานเปิดโครงการ ซึ่งในงานมีการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจแรงบีบมือ กล้ามเนื้อแขน ขาและหลัง เจาะเลือดตรวจ เบาหวาน โรคเก๊าท์ การทำงานของตับ การทำงานของไต และไขมันในเส้นเลือด ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด  ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ X Ray ปอดให้กับสื่อมวลชนที่ลงทะเบียนจำนวนมาก



ขณะเดียวกันมีการเปิดเวทีเสวนา หัวข้อ “ถอดบทเรียนสุขภาพ จากการลงพื้นที่ทำข่าวกรณีถ้ำหลวง” มีวิทยากรประกอบด้วย นายแพทย์สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต นายแพทย์โรม บัวทอง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และพลตรีวุฒิไชย อิศระ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช/แพทย์ใหญ่กองทัพภาคที่ 3 พลอากาศตรีนายแพทย์อิทธพร  คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา



เริ่มจาก นายแพทย์สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ล่าย้อนตอนหนึ่งถึงกรณีทีมหมูป่าอะคาเดมี 13 ชีวิต ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงรายว่า ได้ไปร่วมปฏิบัติภารกิจที่ถ้ำหลวงด้วยเช่นกัน พบว่ามีผู้สื่อข่าวเป็นพันๆคนอยู่ที่นั่น ส่วนตัวขอแสดงความนับถือสื่อมวลชนที่อยู่นั่น พร้อมกับเล่าถึงวันที่ไปติดตามญาติของทีมหมูป่า ซึ่งมีการจัดทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ หรือทีม MCATT คน คอยดูแล เพราะนอกจากร่างกายของญาติต้องอยู่ในภาวะที่ปลอดภัยแล้ว ต้องให้เขารับทราบข้อมูลว่าอาจจะเกิดโรคอะไรได้บ้างให้เขาป้องกันตัว



“ญาติต้องมีกลุ่ม Line ร่วมกับทีทม MCATT อยู่ในกลุ่ม ประมาณ 50 คน ทำแบบกลุ่มไลน์ อย่างกรณีที่ทางสื่ือมวลชนจะสัมถาษณ์ พวกเราก็ต้องร่างคำตอบให้ และมีผู้รับผิดชอบในการให้สัมภาษณ์ตามที่ร่างไว้ ถือเป็นการช่วยเหลือกันในกลุ่ม ซึ่งเราเริ่มกระบวนการนี้ตั้งแต่ตอนที่เด็กยังไม่ออกมา หลังให้การช่วยเหลือทีมหมูป่าสำเร็จ ทุกคนปลอดภัย ทีมแพทย์ก็ต้องเริ่มหาทางป้องกันเพราะยังเด็กไม่ได้รับข้อมูลอะไรเลย แต่เมื่อเขาออกมามีข้อมูลจำนวนมากจะออกมาเป็นพายุข้อมูล ที่มาจากหลายทาง ดังนั้นการดูแลระยะยาว ต้องทำให้กระบวนการกลุ่มให้คงอยู่”



นายแพทย์สมัย กล่าวว่า  บทเรียนเรื่องถ้ำหลวงมีหลายเรื่องต้องถอดบทเรียนออกมาให้ได้ เพราะแม้จบแล้ว แต่บทเรียนบางอย่างยังดำรงอยู่ อย่างเช่นเรื่องของสุขภาพจิต  เรื่องไอคิวของเด็กแสดงว่าต้องมีอะไรบางอย่าง เรื่องควบคุมอารมณ์ กระบวนการกลุ่มเขามีกระบวนการกลุ่มอย่างไร ศาสตร์ของกีฬามีผลต่อเขาอย่างไร  



ส่วนคำแนะนำต่อสื่อมวลชนในการทำข่าวถ้ำหลวงและภัยพิบัติต่างๆ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เราต้องรู้ตัวเองก่อนว่า 1.เรามีโรคเก่าอะไรอยู่บ้าง 2. สุขภาพใจ ถ้าไปสถานนั้นแล้วเป็นการรื้ือฟื้นอะไรในใจหรือไม่ และควรไปหรือไม่ 3. การกิน การขับถ่าย ที่หลับที่นอน ไม่ควรอยู่ในภาวะกดดันตลอดเวลา



ต่อจากนั้น พลตรีวุฒิไชย อิศระ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช/แพทย์ใหญ่กองทัพภาคที่ 3 เล่าย้อนให้ฟังเช่นกันว่า เรื่องการดูแลเด็กๆทีมหมูป่าขออนุญาตไม่ให้เครดิตใครคนใดคนหนึ่งโดยตรง แต่ต้องชมว่าเป็นการวางแผนที่ดี ตั้งแต่ภาพแรกที่พบเด็ก 13 คน ภาพจากนักดำน้ำชาวอังกฤษ เด็กไม่ร้องไห้ ไม่ตกใจ และเรามีกระบวนการในการคุยกันในช่วง ทำให้ทุกคนส่งพลังจากกันและกัน ส่วนวิธีการดำรงชีวิตในถ้ำเด็กทุกคนนำไฟฉายเข้าไปคนละกระบอก เขาดำรงชีวิตด้วยการแบ่งปันไฟฉายกัน มีนาฬิกาที่บอกเวลา 1 เรือน ช่วยกันจับเวลากลางวัน/กลางคืนว่าผ่านไปกี่วันแล้ว เวลาหนาวก็นอนกอดกันสลับหัวท้ายไปมา มีไฟฉาย 1 ดวง ที่ให้ความสว่าง ส่วนกระบอกอื่นๆเซฟแบตเตอรี่ไว้กรณีนำไปทำธุระ และเขารู้ว่าน้ำที่อยู่ข้างหน้าเขาคือน้ำที่จะต้องดื่มกิน เขาจึงไม่ถ่ายหนักและเบาลงน้ำ ดังนั้นพวกเขาไม่ใช่เด็กธรรมดา



“บอกได้เลยว่า 80% ของสื่อมวลชนไทยนำเสนอผิดทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่ให้เด็กกิน วิธีการ/กระบวนการการนำเอาเด็กออกมา และสำหรับผมมองว่าการจัดการสื่อครั้งนี้มีระบบมากที่สุดครั้งหนึ่งในกระบวนการจัดการสื่อ แม้ว่าทำให้สื่อมวลชนลำบากมาก รถของสื่อทุกคันออกไปอยู่บนถนนสายแม่จัน เชียงรายหมดเลย เหตุผลคือเราต้องการคำนวณเวลาจริงในการช่วยเด็ก การส่งไปยังเฮลิคอปเตอร์ถ้ารถขวาง 1 คันจะทำลายนาทีทองในห้วงเวลานั้น ตอนนั้นอาจจะไม่ให้เหตุผลในเชิงประจักษ์ แต่น่ายินดีที่ได้รับความร่วมมือทุกส่วนรวมทั้งสื่อมวลชน เพราะนี่ไม่ใช่แค่ 13 คนที่ ช่วยชีวิตออกมาได้ แต่ในแง่การช่วยเหลือครั้งนี้ล้วนเราได้อานิสงในการหาหนทางปฏิบัติ หาวิธีแก้ไขเมื่อเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้หากเกิดขึ้นอีกในอนาคต



พลตรีวุฒิไชย กล่าวแนะนำสื่อมวลชนในการรายงานข่าวด้วยว่า สื่อมวลชนต้องใช้หลักรู้เขารู้เรา เพราะยืนยันมาเสมอว่าการนำเสนอกระบวนการสำคัญว่าผลลัพธ์ หากท่านรู้กระบวนการท่านก็จะรู้ผลลัพธ์ของมันแน่นอน สื่อมวลชนอย่าพยายามให้ความสำคัญกับข่าวแรกที่ได้ แล้วกระโจนเข้าไปหาข่าวนั้นตั้งแต่แรก หากเรากระโจนตามข่าวตั้งแต่แรกเราจะพลาดในมุมมองที่ควรจะนำเสนอในแต่ละประเด็น ขอให้เข้าใจการนำเสนอข่าวว่าบางครั้งกระทบภาพลักษณ์หรือไม่อย่างไร ซึ่งเราเชื่อว่าอยู่ในวิจารณญาณว่าท่านจะนำเสนอในรูปแบบใด



ด้าน นายแพทย์โรม บัวทอง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวถึงโรคต่างๆที่อยู่ในถ้ำว่า ในแต่ละถ้ำอาจจะมีโรคระบาดตามออกมา อาจเป็นโรคอุบัติใหม่ แบ่งเป็นประเภท สัตว์ที่อยู่ในถ้ำ ได้แก่ สัตว์ฟันแทะ อย่างเช่นหนู ซึ่งหนูจะนำเชื้อโรคอยู่แล้ว  กลุ่ม ค้างคาว แบ่งเป็น ค้างคาวดูดเลือดที่ไม่มีในเมืองไทย ค้างค้าวกินผลไม้ เช่น ค้างคาวแม่ไก่ แต่ถ้ำหลวงพบว่ามีค้างคาวกินแมลง ถ้าไปสัมผัสอาจจะติดเชื้อได้



“ผมเห็นนักข่าวไปในไร่ข้าวโพด ไร่อ้อย ในป่าละเมาะ ในนั้นมีหนู มีหมัด ไรอ่อน จะนำเชื้อไข้รากสาดใหญ่ ถ้าโดนไรอ่อนจากหนูกัดท่านจะปวดเมื่อยตามตัว ถ้ารู้เร็วก็รักษาได้ ถ้าเราจะโดนแมลงพิเศษ โดยเฉพาะ ริ้นฝอยทราย ซึ่งเป็นแมลงพาหะนำโรคลิชมาเนียซิส นำเชื้อโปรโตซัวเมื่อเข้าร่างกายมันจะวิ่งไปตามอวัยวะภายใน ตับ ม้าม ไขกระดูก อาการยาวนาน 3-6 เดือน เป็นไข้แล้วเป็นอีก มีอาการเรื้อรัง จะไม่แสดงอาการในเร็ววันนี้ นอกจากนี้ ในดิน น้ำ โคลน ก็มีเชื้อโรคเมลิออยโดซิส จะทำให้ป่วยหนัก ต้องหาหมอให้รับทำการรักษา และเวลามาอยู่กันจำนวนมาก โรคที่อาจจะตามมาคือโรคทางเดินหายใจ คือ โรคหัด 1 ที่คน 1 คนแพร่เชื้อได้ไปยังอีก 18 คน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดได้ง่าย และไวรัสทางหายใจอื่นๆด้วย”



นายแพทย์โรม มีคำแนะนำสื่อมวลชนที่ไปปฏิบัติงานที่ถ้ำหลวงและพื้นที่อื่นๆด้วยว่า เมื่อสื่ือมวลชนจะไปหาหมอ ต้องรายงานให้หมอทราบด้วยว่าท่านไปทำข่าที่ไหนมา แล้วไปสัมผัสอะไรมาบ้าง เพื่อวินิจฉัยได้เร็วขึ้นว่ามีความเสี่ยงจะป่วยเป็นโรคอะไร เพราะหมอมีข้อมูลพื้นฐานอยู่แล้ว และถ้ามาพบหมอที่กรุงเทพอาจจะบอกว่าท่านติดเชื้อปกติ แต่ต้องอบกว่าไปทีที่ไหนมา ถ้าเรารู้เร็วรักษาเร็วก็จะไม่มีภาวะแทรกซ้อนอะไร



“ให้ประเมินสถานการณ์ว่าลงไปทำข่าวประเภทใด ถ้าเป็นภัยพิบัติที่กระทบต่อสุขภาพแนะนำให้ไปปรึกษาที่สถาบันบำราศนราดูร ฯ ถ้าไปทำงานเรื่องโรคระบาดอุบัติใหม่แล้วนักข่าวต้องลงไป ก่อนลงไปขอให้ท่านมาบรีฟเรื่องโรคก่อนว่าเราจะไปเจอเชื้ออะไรได้บ้าง ท่านต้องใส่ชุดอะไร ถ้าเจ็บป่วยมียาอะไรในการรักษา ไม่เช่นนั้นเราจะเป็นผู้ป่วยเสียเอง ส่วนเรื่องชุดป้องกันตัวเองต้องดูว่าอะไรเข้าได้และควรหลีกเลีี่ยง เพราะเราอาจจะไปสัมภาษณ์แล้วติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว



นายแพทย์โรม กล่าวอีกว่า ทีมกรมควบคุมโรคได้นำน้ำจากจุดต่างๆในถ้ำและรอบนอกถ้ำไปตรวจสอบ แล้ว ผลตรวจพบว่ามีทั้งเชื้อแบคทีเรียทั่วไป และแบคทีเรียบางตัวจะมีความพิเศษอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามทีมงานที่ถ้ำหลวงหลายท่านป่วย กลับมามีอาการปอดบวม กรมควบคุมโรคก็ส่งเจ้าหน้าที่ดูแล อย่างเช่น ดูแลทีมรังนกจากลิบง ก็ได้รับการดูแล รวมทั้งทุกหน่วยงานที่ไปปฏิบัติงานก็ต้องตรวจให้เทียบเท่ากับการตรวจน้องๆที่อยู่ในถ้ำ ส่วนเจ้าหน้าที่กู้ภัยแม้จะกลับเข้ากรุงเทพก็ต้องให้รักษาตัวที่สถาบันบำราศนราดูร เพื่อให้เขาปลอดอภัยเช่นกัน



พลอากาศตรีนายแพทย์อิทธพร  คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวแนะนำสื่อมวลชนและองค์กรวิชาชีพสื่อว่า ถ้านักข่าวจะไปทำข่าวภัยพิบัติหรือตามสถานที่อย่างถ้ำหลวง ท่านต้องมีความฟิต มียารักษาโรคประจำตัวติด หากมีอาการป่วยต้องสมุดสุขภาพประจำตัว เวลาลงพื้นที่ต้องทราบด้วยว่าจุดนั้นมีความเสี่ยงโรคอะไร คำแนะนำคือ ในปัจจุบันโลกโซเชียลมีความสะดวก สามารถโหลดผลการตรวจสุขภาพ หรือ ผลแล็ปที่หมอได้ตรวจสุขภาพให้ โหลดไว้ในอีเมลตัวเอง เพราะในนั้นจะมีข้อมูลโรคเก่าของเรา เราเคยไปตรวจอะไรไว้บ้าง ขอให้นำข้อมูลเก็บไว้ทีตัว เพื่อการเดินทางไปที่ไหนก็ตาม เพราะเคยเกิดกรณีที่มีคนไปเจ็บป่วยทีต่างประเทศ แทนที่หมอจะได้เห็นผลแล็ปที่นำติดตัวไป แต่หมอไม่มั่นใจจึงต้องแสกนตรวจใหม่ทั้งหมดเพื่อความชัวร์ จึงทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก