ราชดำเนินเสวนา “19 กันยา...4ปี กับการปฏิรูปกองทัพไทย”
4 ปีรัฐประหาร 19 กันยา ส่งผลกองทัพ แตกแยก-ขัดแย้งขึ้นอีก ชี้มีแผนปฏิรูป แต่ก็ฉีกทิ้ง
เมื่อวันที่ 19 ก.ย. เวลา 10 .00 น. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยร่วมกับสถาบันอิศ
รา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดราชดำเนินเสวนาโครงการร่วมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่
12/2553 เรื่อง” 19กันยา...4 ปี กับการปฏิรูปกองทัพไทย ” ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 สมาคมนักข่าวนัก
หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยมี พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล
สถาบันพระปกเกล้า , รศ.ดร. สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,ดร.ชลิดา
ภรณ์ ส่งสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย นาย
ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ที่ปรึกษาฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวฯ
พล.อ.เอกชัย กล่าวว่า กองทัพไทยยังมีความเป็นอนุรักษ์นิยม เพราะยังเชื่อมั่นว่า กองทัพทำหน้าที่
สำคัญ คือ การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์กับการปกป้องอธิปไตยของประเทศ แต่ในช่วง 4 ปีที่
ผ่านมาจากการเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการทำรัฐประหาร มีผลกระทบกองทัพ คือ การมี พ.ร.บ.ความ
มั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งทำให้กองทัพ
ปั่นป่วน โดยเฉพาะ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทำให้กองทัพต้องปฏิบัติในบางเรื่องที่ไม่เคยปฏิบัติ จากเดิมกองทัพ
ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของตำรวจ แต่ครั้ง กองทัพต้องลุกมาดูแลเอง คือประจัญหน้ากับประชาชนทุกฝ่าย
แต่ทหารส่วนใหญ่ซึ่งเป็นทหารเกณฑ์ไม่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ในอดีตกับการจัดการมาก่อน
อนาคตกองทัพต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบกองทัพ ไปทำงานลักษณะนี้มากขึ้น เป็นสิ่งสำคัญที่กองทัพนำ
กฎหมาย 2 ฉบับมาใช้ บางอย่างไม่อยากทำ ก็ถูกบังคับ ต้องทำตามคำสั่งที่ได้มอบหน้าที่ซึ่งเกิดปัญหาพอสมควร
"เดิมกองทัพเคยมีความเป็นอิสระในการใช้วิทยุสื่อสารและสถานีโทรทัศน์ แต่วันนี้การบังคับใช้
กฎหมาย ทำให้กองทัพไม่มีอิสระ กลายเป็นวิทยุและโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เมื่อต้องประกาศภาวะ
ฉุกเฉิน เป็นจุดบอด หากยังคงปฏิบัติเช่นนี้ อนาคตต่อไปเมื่อมีครั้งที่ 1แล้ว ครั้งที่ 2 ต้องเกิดขึ้นอีก
ครั้งอดีตที่ทำงานในชายแดนกองทัพจะมีทักษะพูดคุยผ่านสื่อดีมาก การนำเสนอข่าวสาร แต่มาวันนี้
ความห่างที่กองทัพห่างประชาชนสื่อกันมาถึง สาเหตุจากกองทัพทำหน้าที่ โครงการพระราชดำริดูแล ความมั่นคงต่อความมั่นคงตามแนวชายแดนคงหมดไป"
พล.อ.เอกชัย กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาในรอบ 4 ปีจากงานวิจัย พบว่า กองทัพเข้าไปเกี่ยวข้องกับการ
พาณิชย์น้อยลงแต่เข้าไปอยู่ในระบอบรัฐสภา หลังจากเกษียณแล้ว มากขึ้น นอกจากนั้น ทหารเข้ามา
เกี่ยวข้อง การทำรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญมากขึ้น จะเห็นได้ว่า เมื่อปี 49 น่าจะเป็นครั้งสุดท้าย แต่
กระแสยังคงมีอยู่ แสดงให้เห็นถึง การต้องการใช้ประชาธิปไตยแต่ใช้เผด็จการทางการทหารทหารก็
พยายามใช้ประชาธิปไตย เพราะการปฏิวัติ คือ การเผด็จการ ทำให้เกิด หากไม่พอใจอะไร ก็ต้องการ
ปฏิวัติ แต่อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติโดยการรัฐประหารครั้งใด ไม่สามารถทำให้การเมืองดีขึ้น
"ก่อนปี 49 กองทัพเคยมีความขัดแย้งแต่เป็นเพียงความขัดแย้งระหว่างบุคคล ซึ่งขัดแย้งระหว่างรุ่นน้อย
มากแต่เมื่อเข้ามาสู่ 4 ปีที่ผ่านมาพบว่า ความขัดแย้งแผ่ขยายชนิดรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น คนที่ทำหน้าที่
ปฏิวัติรุ่นเดียวกันกับคนที่ถูกไล่ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นสัญญาณที่บอกว่า หากไม่ดูแลกอง
ทัพอย่างดี ไม่สร้างธรรมาภิบาลในกองทัพ อาจเกิดความขัดแย้งที่รุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ"
ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กล่าวต่อว่า การปฏิรูปกองทัพแม้จะมีมา
นาน แต่การบริหารจัดการยังไม่สามารถเปลี่ยนได้ คือ การต้องการให้เล็กลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่เมื่อเล็กลงกองทัพก็กลับแย่ลง ดังนั้น สิ่งที่กองทัพควรที่จะต้องทำมากที่สุด คือ สังคายนาเรื่อง
อาวุธ คนยุทโธปกรณ์ทั้งหมด ต้องปฏิรูป หากไม่ทำ จะไปได้ไม่ไกลเพราะงบประมาณติดอยู่ที่กำลังคน
ไม่ใช่แค่การพัฒนาในอนาคตต่อไป และอีกส่วนหนึ่ง คือ กองทัพจะมีบทบาทการทำงานไม่เพียงอยู่
ตามแนวชายแดน เพื่อพื้นที่มั่นคงแต่กองทัพจะมีบทบาททำงานในศูนย์กลาง ของธุรกิจ เมืองใหญ่ ซึ่ง
จะใช้รูปแบบเดิมคงไม่ได้ หากคิดแบบเดิม เพื่อรบเท่านั้น คงไม่จำเป็น ต้องกลายเป็นทหารต้องทำ
หน้าที่หลายอย่าง มากกว่าการรบ ทั้งเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศ เพราะจะมีการกระทบกระทั่ง
มากขึ้นในอนาคต
ด้าน ดร.ชลิดาภรณ์ กล่าวว่า หากพูดถึง ปฏิรูปกองทัพ พูดได้ 2 เรื่อง คือ 1.กองทัพในฐานะหน่วย
ราชการ ที่เป็นส่วนหนึ่งขององคาพยพอันมหึมาของรัฐ และ 2.เป็นพลังทางการเมืองซึ่งการคิดสองส่วน
นี้ต่างกัน ซึ่งในอย่างหลังที่เป็นพลังหนึ่งในทางการเมืองต้องคิดกันอย่างหนักเพราะจากการเกิดรัฐ
ประหาร ปี 49 ทหารไม่สามารถกันตนเองออกจากมิติต่างๆของสังคมไทยได้
“บทบาทกองทัพกับการใช้ความรุนแรงในสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองมีมานาน ซึ่งหลังจากพฤษภา
ทมิฬไม่ได้พูดเรื่องนี้เป็นเรื่องเป็นราว แต่ได้มีการปรับบทบาทมาโดยตลอดจากบริบททางการเมือง
เปลี่ยนไป โดยกระแสการปรับไม่เพียงแค่กองทัพ เป็นภาพความมั่นคงหน่วยงาน สถาบันต่างๆ มีหลาย
อย่างที่เข้ามาอิทธิพลต่อการปฏิรูปกองทัพ โดยสิ่งที่ต้องเริ่มคือ สถานะของกองทัพบกในการเมือง
ไทย สังคมการเมืองไทย เกิดขึ้นโดยบริบท หรือสื่อและคนหลายกลุ่ม พูดความจำเป็นหลายประการ
จากความขัดแย้งและยังไม่ร^hจะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่าน อย่างที่เห็น คือ กองทัพบก ได้มีบทบาทใหญ่
ในการจัดการสถานการณ์ความขัดแย้ง กองทัพการใช้กำลังกระชับพื้นที่ ผลที่เห็น คือสังคมการเมืองได้
เห็นปรากฎการณ์ที่ทหารเลือกข้าง คนไทยส่วนหนึ่งมองว่าเป็นแตงโมลูกยักษ์ ซึ่งกองทัพบกแม้ว่าใน
สถานะพิเศษความสามารถการกันตัวเองออกจากการเมืองภาครัฐ การแทรกแซงของนักการเมืองทำได้
ยาก แต่โดยรวม จากการแบ่งเป็นมิติต่างๆในสังคม
ดร.ชลิดาภรณ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้น ความเหลื่อมล้ำทางในกองทัพเรื่องกำลังคนจากการเกณฑ์
ทหาร ระบบการเกณฑ์ทหารไม่ทำงานในชนชั้นกลางขึ้นไปเพราะฉะนั้น คนที่ผลัดเปลี่ยนมาให้ใช้ คือ
คนชนชั้นล่างทั้งสิ้นในสภาพที่มีการแบ่งชัดเจนระหว่างทหารสัญญาบัตร และชั้นประทวนไม่ต่างกับการ
เมืองสังคมภายนอก ระหว่างคนในชนบทและคนในเมือง ในกองทัพก็ยังมีประเด็นนี้อยู่เวลาพูดถึงการ
ปฏิรูปกองทัพ เห็นแต่หัว แต่ไม่เคยลงไปดูว่า ทหารชั้นประทวนลงไปเห็นทีทางของกองทัพอย่างไร ซึ่ง
ยังเป็นประเด็นที่สำคัญมาก
“อีกประเด็นหนึ่ง คือการแบ่งกลุ่มในกองทัพ สังเกตว่าเพราะกองทัพมีบทบาทการใช้ความรุนแรงจัดการ
กับการเมืองหลายครั้งรวมแล้ว 408 ครั้ง ซึ่ง 56 % เกินครึ่ง เป็นฝีมือของกองกำลังไม่ทราบฝ่าย หรือ
ชายชุดดำ มีบทบาท ใช้ความรุนแรงมาก อย่างน้อย 16 คนในช่วง3 เดือน เสียชีวิตจากกองกำลังไม่
ทราบฝ่าย จาก 91 คน เป็นประชาชนทั่วไป ที่เหลือยังไม่รู้ โดยกองกำลังไม่ทราบฝ่ายสร้างสถานการณ์
เพื่อยกระดับความขัดแย้ง ให้สูงขึ้น เพื่อเกิดความรุนแรงโต้ตอบกันซึ่งกองกำลังไม่ทราบฝ่าย คือมีกอง
กำลังใช้อาวุธได้ ประชาชนอยู่ตรงกลาง หรือ กองกำลังไม่ทราบฝ่ายส่วนหนึ่งของกองทัพ อาจเกิดจาก
คนที่ยืนต่างกัน อาจจะเป็นผลของกองทัพคนที่อยู่ตรงกลางที่ไม่รู้เรื่อง เป็นผลของการใช้ความรุนแรง
ของกองกำลัง "
ดร.ชลิดาภรณ์ กล่าวต่อว่า หากเป็นการทะเลาะกันเองในกองทัพคนที่เดือดร้อน คือ ประชาชน ฉะนั้น
การปฏิรูปกองทัพ ควรพูดถึงเรื่องอะไร พลังทางการเมือง คิดเรื่องที่ไม่อยากคิดเหล่านี้ด้วย และสุด
ท้าย คือ ขณะนี้สังคมไทยผ่านการสร้างความรุนแรงในเมืองต้องลดความตึงเครียด สังคมไทยต้องการ
การเยียวยาซึ่งกองทัพจะอยู่ตรงไหนของกระบวนการปรองดอง รวมทั้งประชาชนทั่วไป ซึ่งโจทย์ในวันนี้
ไม่ใช่ คนในกองทัพบกพูดฝ่ายเดียว แต่สังคมไทยน่าจะจูงคนในกองทัพมาปรองดองร่วมกันเพื่อให้
ประชาชน ให้สังคมการเมืองอยู่ร่วมกัน ”
ส่วน รศ.ดร.สุรชาติ กล่าวว่า เหตุการณ์ 19 ก.ย. เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยคิดอย่างไร กับ
ทหารและการเมือง เพราะคนไทยไม่เคยรู้สึกลบกับรัฐประหาร เข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องเสียหายเพราะคิดว่า
หากการเมืองตัน ให้ทหารมาช่วยแก้ เหมือนเป็นเทศบาล มาล้างท่อพลเมืองจะรู้สึกหมดหน้าที่ การเรียก
ทหารให้ทำเช่นนี้ เป็นอาการไม่สิ้นสุดในสังคมไทย
“สิ่งสำคัญ คือ ปัญญาชนไม่ได้ทำหน้าที่หาทางออกให้กับคนในบ้านอีกทั้งสร้างปัญญาตกค้างใหญ่ ใน
อดีตรัฐประหารเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการแก้ไขความขัดแย้ง ของชนชั้นนำและทหาร เพราะถูกนำมา
ใช้จัดการ เพื่อหวังล้างไพ่หรือล้มกระดาน เพื่อเกิดการเมืองที่เริ่มต้นใหม่ภายใต้การดูแลของทหารจะ
เกิดเสถียรภาพ แต่ปรากฏการณ์นั้นไม่มีในปี 49 สัญญาณที่น่าสนใจ คือการต่อต้านรัฐประหารเกิดใน
ชนชั้นล่าง ไม่เกิดในปัญญาชน ในมุมอย่างนี้สิ่งที่ตกค้างคือ รัฐประหาร เมื่อไม่สร้างเสถียรภาพได้ ค่า
ใช้จ่ายที่รัฐต้องจ่ายส่วนที่ตามมา คือ วันนี้ต้องยอมรับว่ารัฐประหารที่เกิดขึ้นทั่วโลกเป็นกลไกทำลาย
สายบังคับบัญชาในกองทัพทั้งหมด คือ การเลื่อนยศ การปรับย้ายไม่มีหลักเกณฑ์"
รศ.ดร.สุรชาติ กล่าวย้ำว่า 1.ปัญหาใหญ่ที่ยังเหลืออยู่ คือ การสร้างทหารอาชีพจะสร้างอย่างไร 2.การ
ปฏิรูปกองทัพ ทั้งในมิติทหารและการเมือง3.ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกองทัพและผู้นำรัฐบาล 4.ใน
อนาคต จะทำอย่างไรให้เป็นประชาธิปไตยคู่ขนาน ถ้าต้องปฏิรูปการเมือง ต้องปฏิรูปกองทัพอย่างคู่
ขนานกัน ไม่ใช่นั้น ฝาแฝดอิน-จัน คู่นี้ไม่เกิดซึ่งอาจจะยังเป็นโจทย์ใหญ่ที่หาหมอผ่าตัดไม่ได้
#
เอกสารประกอบการเสวนา
19 ก.ย. 2549 – 19 ก.ย. 2553:
4 ปีแห่งความไร้เสถียรภาพ!
โดย สุรชาติ บำรุงสุข
“ขณะที่เมฆทะมึนปรากฏอยู่บนท้องฟ้าเราก็ชี้ให้เห็นว่า นั่นเป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราวเท่านั้นเอง ความมืดมนกำลังจะผ่านพ้นไป
แสงอรุณส่องรำไรอยู่ข้างหน้าแล้ว”
ประธานเหมาเจ๋อตุง สรรนิพนธ์เล่ม 4
ย้อนกลับไปเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แทบจะไม่น่าเชื่อว่า ในที่สุดแล้ว รัฐประหารก็หวนกลับมาเกิดขึ้นในสังคมไทย แม้นก่อนหน้านั้น นับตั้งแต่หลังจากเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 แล้ว เราไม่เคยเชื่อกันเลยว่าสังคมไทยจะต้องพานพบกับการรัฐประหารอีก จนเราเชื่ออย่างมั่นใจว่า สังคมไทยไม่ต้องกังวลกับเรื่องของทหารกับการเมือง เพราะโอกาสหวนคืนของทหารในการเมืองไทยนั้น น่าจะเป็นเรื่องที่สิ้นสุดลงแล้ว หรือหากกล่าวในทางทฤษฎีก็คือ สังคมไทยในยุคหลังเหตุการณ์ปี 2535 แล้ว ไม่จำเป็นต้องคิดคำนึงถึงการจัดความสัมพันธ์พลเรือน – ทหารอีกต่อไป หรือในอีกด้านหนึ่งก็คือ ไม่จำเป็นต้องคิดในเรื่องของยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยต่อกลุ่มทหารในการเมืองไทย
จะด้วยวิธีคิดเช่นนี้หรือไม่ก็ตาม แต่อย่างน้อยวิธีคิดดังกล่าวก็สะท้อนให้เห็นถึง “ความประมาท” ที่สังคมการเมืองไทยหลังจากเหตุการณ์ปี 2535 ไม่ได้เตรียมการใดๆ ที่จะทำให้ทหารเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่จะนำพาการเมืองไทยไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย
ในอีกด้านหนึ่ง บทเรียนจากความขัดแย้งในปี 2535 ที่ไม่ได้ถูกนำมาสานต่อทางความคิดอย่างจริงจังก็คือ กลไกของการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยควรจะเป็นเช่นไร เพราะถ้าสังคมสามารถสร้างกลไกดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้จริง ก็เป็นความคาดหวังว่า เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้น กลไกเช่นนี้จะมีส่วนโดยตรงในการลดทอนความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หรืออย่างน้อยกลไกเช่นนี้ก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้แรงกดดันของการเผชิญหน้าทางการเมืองมีช่องทางระบายออกไปได้บ้าง มิใช่ปล่อยให้การเผชิญหน้าขยายตัวออกไปในวงกว้าง และระเบิดออกเป็นความรุนแรงทางการเมืองจนไม่อาจควบคุมได้ และจบลงด้วยการรัฐประหาร
หากกลไกเช่นนี้เกิดขึ้นก็อาจจะเป็นความหวังอีกส่วนหนึ่งที่ปัญหาจะไม่กลายเป็น “หน้าต่างแห่งโอกาส” ที่เปิดให้ผู้นำทหารและชนชั้นนำบางส่วนฉวยเอาสถานการณ์เช่นนี้เป็นช่องทางให้แก่กลุ่มของตนเองในการก่อรัฐประหาร และขณะเดียวกันก็จะไม่อนุญาตให้พวกเขาใช้เหตุการณ์ของการเผชิญหน้าทางการเมืองดังได้กล่าวแล้วนั้น เป็นหนทางของการสร้างความชอบธรรมให้แก่การยึดอำนาจที่เกิดขึ้นด้วย เพราะจนบัดนี้ก็ไม่มีความชัดเจนว่า ถ้าไม่มีรัฐประหาร 2549 แล้ว จะเกิดการปะทะของฝูงชน ระหว่างผู้ชุมนุมสนับสนุนรัฐบาลกับผู้ต่อต้านรัฐบาลหรือไม่ หรือในอีกด้านหนึ่งของปัญหาก็คือ สังคมไทยก็อาจจะต้องเรียนรู้การจัดการกับการเรียกร้องทางการเมืองที่นำไปสู่ความรุนแรง มิใช่ว่าการจัดการกับปัญหาเช่นนี้จะต้องใช้การยึดอำนาจของทหารเป็นการแก้ปัญหาเสมอไป เพราะหากเราไม่สร้างกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการกับปัญหาเช่นนี้แล้ว กองทัพก็จะถูกชนชั้นกลางในเมืองเรียกร้องให้ออกมาทำหน้าที่ “สลายฝูงชน” ในระดับย่อย หรือทำการ “ล้อมปราบ” ในระดับใหญ่อยู่เรื่อยไป และเมื่อออกมาแล้วก็ย่อมนำไปสู่การยึดอำนาจได้
ดังนั้นคงไม่ผิดอะไรนักที่จะสรุปว่า สังคมไทยหลังพฤษภาคม 2535 ขาดทั้งกระบวนการจัดความสัมพันธ์พลเรือน – ทหาร และขาดยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยต่อกองทัพ ขณะเดียวกันก็ขาดองค์กรในการจัดการกับความขัดแย้งที่อาจจะนำไปสู่การเผชิญหน้าและ/ หรือความรุนแรงในสังคมไทย
ผลของความขาดแคลนเช่นนี้ทำให้ในที่สุดแล้วความสำเร็จของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 อาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่าฉงนแต่อย่างใด...ความน่าฉงนในอีกด้านหนึ่งอยู่ตรงที่ว่า กลุ่มคนที่เคยมีบทบาทในการคัดค้านรัฐประหารในปี 2534 และมีส่วนร่วมในการต่อสู้กับความพยายามในการฟื้นอำนาจของกลุ่มทหารในปี 2535 กลับเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างแข็งขันในการสนับสนุนการรัฐประหารในปี 2549 จนบางคนต่อสู้อย่างสุดจิตสุดใจในการเป็น “ทนายแก้ต่าง” ให้กับรัฐประหารที่เกิดขึ้น ปัญหาการเปลี่ยน “จุดยืน” ทางการเมืองของพลังประชาธิปไตย 2535 บางส่วนนั้น ทำให้เกิดคำถามอย่างมากกับกลุ่มพลังที่จะเป็นฐานและขับเคลื่อนของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไทยในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของสื่อ ปัญญาชน และชนชั้นกลาง
ลักษณะของปรากฏการณ์เช่นนี้อาจจะทำให้บางคนคิดง่ายๆ ด้วยการกล่าวโทษทุกอย่างไปที่อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร โดยโยนว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมาจากกลุ่มอำนาจเก่า หรือกลุ่มที่ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ทั้งสิ้น เรื่องราวเช่นนี้ก็ไม่แปลกอะไร เพราะหลังการรัฐประหารแล้ว “การไล่ล่า” กลุ่มทักษิณ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกรูปแบบ ซึ่งก็คงเปรียบเทียบได้กับคำพูดที่อธิบายสิ่งที่ชนชั้นนำและกลุ่มอำนาจหลังกันยายน 2549 ดำเนินการว่าเสมือน “การเผาบ้านเพียงเพื่อจับหนูตัวเดียว” และปัญหาที่แย่ก็คือ บ้านก็ไหม้จนหมด หนูก็จับไม่ได้...แล้วเราก็ก้าวข้ามไม่พ้นทักษิณสักที !
เรื่องราวเช่นนี้บอกแก่เราอย่างเดียวว่า อิทธิฤทธิ์ของรัฐประหารนั้นเอาเข้าจริงๆ แล้ว อาจจะใช้อะไรไม่ได้ผลมากนักเหมือนอย่างเช่นในอดีต เพราะในยุคก่อน เมื่อเกิดการยึดอำนาจแล้ว ดูเหมือนว่าปัญหาความขัดแย้งต่างๆ อาจจะยุติลงโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็นการที่นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามยอมยุติบทบาทของตนเอง แล้วรอให้ระบบการเมืองเปิดใหม่อีกครั้ง พวกเขาจึงหวนกลับสู่เวทีการต่อสู้ใหม่ รัฐประหารในวันเก่าจึงเป็นเสมือน “ยาแรง” ที่ใช้แก้ปัญหาอาการ “ไม่ลงตัว” ในทางการเมือง โดยการ “ล้างไพ่” หรือ “ล้มกระดาน” เพื่อหวังว่า การเริ่มต้นใหม่ภายใต้การควบคุมของทหารจะนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองอีกครั้ง
หากแต่หลังจากรัฐประหาร 2549 นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามกลับไม่ถอยหนีกลับไปนั่งรอการเลือกตั้งที่จังหวัดของตนเอง และในขณะเดียวกัน กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร ก็ไม่ได้เก็บตัวอยู่เฉยๆ เพื่อรอให้การเมืองเปิดได้หวนคืน หากแต่เพียงระยะสั้นๆ หลังจากรัฐประหารสิ้นสุดลงนั้น กลุ่มต่อต้านรัฐประหารก็เปิดเวทีการเคลื่อนไหวทันที และที่น่าสนใจก็คือ กลุ่มต่อต้านรัฐประหารขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งนานวัน แนวร่วมของพวกเขาก็ยิ่งมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขยายฐานแนวร่วมในชนบท จนอาจกล่าวได้ว่า พื้นที่ชนบทวันนี้กลายเป็นฐานที่มั่นของการต่อต้านการยึดอำนาจของทหาร และขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ที่มีการเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างเด่นชัดมากขึ้น จนเกิดภาพลักษณ์เชิงเปรียบเทียบในปัจจุบันว่า คนในเมืองพร้อมที่จะยอมรับ “ระบอบอำนาจนิยม” แต่คนในชนบทกลับร้องหา “ระบอบเสรีนิยม” ที่ต้องการเห็นการเลือกตั้ง และการสร้างความเป็นธรรมในรูปแบบต่างๆ ตลอดรวมถึงการกระจายการใช้และการตอบแทนทรัพยากร
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่สถานการณ์ในยุคสงครามคอมมิวนิสต์ ที่ชนบทเป็นฐานที่มั่นของ พคท. หากแต่ผลของกระบวนการเมืองก่อนและหลังรัฐประหาร 2549 ได้สร้าง “จิตสำนึกใหม่” ให้แก่ผู้คนจำนวนมากในชนบท ที่พวกเขาตระหนักมากขึ้นถึงพลังทางการเมืองของตนเอง
แน่นอนว่าสำหรับคนในเมืองแล้ว บทบาทของคนชนบทถูกตีความว่าเป็นการ “ถูกซื้อ” จากนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม การเคลื่อนไหวของพวกเขาจึงเป็นเพียงการต่อ “ท่อน้ำเลี้ยง” ของฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น เพราะฉะนั้นหากท่อดังกล่าวถูกตัดแล้ว การเคลื่อนไหวเหล่านี้ก็น่าจะหยุดลงไปโดยปริยาย ในมุมมองของคนในเมืองแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่คนชนบทจะเกิด “จิตสำนึกทางการเมือง” ขึ้น ถ้าไม่ใช่เพราะการได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็ไม่ต่างกับยุคสงครามคอมมิวนิสต์ ที่การต่อสู้ของคนชนบทถูกมองว่าเป็นเพียงผลของการปลุกระดมจาก พคท. โดยละเลยที่จะมองถึงปัญหาโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่เป็นธรรมในชนบท เรื่องราวเหล่านี้ทำให้เกิดช่องว่างอย่างมากระหว่างคนในเมืองและคนในชนบท
ในอีกด้านหนึ่ง รัฐประหารให้ผลตอบแทนอย่างมากกับบรรดาผู้นำทหาร เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การยึดอำนาจมีผลโดยตรงต่อการขยายบทบาทของทหารในการเมืองไทยทั้งในเชิงสถาบันและเชิงตัวบุคคล (เห็นได้ชัดเจนว่าหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 บทบาทของทหารลดลงอย่างมากในทางการเมือง) ซึ่งการขยายบทบาทเช่นนี้ ยังขยายไปถึงเรื่องการจัดทำงบประมาณทหารและการจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์ เพราะก่อนรัฐประหารจะเกิดขึ้นนั้น การจัดซื้ออาวุธของทหารมีความจำกัดอย่างมาก กระบวนการจัดซื้อจัดหาไม่มีความ “สะดวกและคล่องตัว” เช่นในปัจจุบัน
แม้อาวุธที่จัดซื้อหลายอย่างจะมีปัญหาในระยะต่อมา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตรวจวัตถุระเบิดแบบจีที – 200 เรือเหาะ หรือรถเกราะล้อยาง ซึ่งการจัดซื้อทั้ง 3 รายการล้วนแต่เป็นปัญหาในปัจจุบันทั้งสิ้น หรือแม้แต่กรณีการจัดซื้อเครื่องบินรบแบบกริพเพนจากสวีเดน ก็มีข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเช่นกัน
แต่ก็จะเห็นได้ว่าผลจากการขยายบทบาทของทหารเช่นนี้ ทำให้การตรวจสอบในเรื่องของการจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในระบอบการเมืองปัจจุบัน หรือกล่าวในบริบทของการบริหารประเทศก็คือ ระบบตรวจสอบทั้งในระดับสังคมหรือในส่วนของรัฐสภากลายเป็นกลไกที่ไม่มีประสิทธิภาพ การตัดสินใจซื้ออาวุธของกองทัพจึงกลายเป็นสิ่งที่ได้รับการค้ำประกันด้วยตัวเองโดยผู้นำทหารและไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบ ซึ่งเครื่องจีที – 200 เป็นตัวอย่างที่ดีในกรณีนี้ เพราะจนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครเป็นผู้รับผิดชอบ (ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย) ประเด็นเช่นนี้ให้คำตอบอย่างสำคัญในอนาคตว่า การปฏิรูปกองทัพไทยจะต้องปฏิรูประบบจัดซื้อจัดหาของทหาร และจะต้องไม่ปล่อยให้การจัดซื้อจัดหากลายเป็นการแสวงหาประโยชน์ของผู้นำกองทัพและผู้นำการเมือง
การสูญเสียระบบตรวจสอบในบริบททางสังคมและการเมืองที่เกิดขึ้นยังส่งผลให้องค์กรอิสระต่างๆ กลายเป็น “องค์กรไร้อิสระ” ที่ทำหน้าที่เป็นเพียงกลไกการเมืองอีกส่วนหนึ่งของกลุ่มชนชั้นนำที่ใช้ในการแทรกแซงทางการเมือง แต่ผลประการสำคัญที่กลายเป็นความผิดหวังของนักออกแบบโครงสร้างในรัฐธรรมนูญ 2540 ก็คือ องค์กรเหล่านี้ถูกทำให้หมดสภาพและหมดความน่าเชื่อถือไปด้วยตัวเอง จนกลายเป็นความกังวลว่า องค์กรเหล่านี้จะอยู่อย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เว้นเสียแต่พวกเขาเชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จะไม่เกิดขึ้นในอนาคตไม่ว่าในระยะใกล้หรือระยะไกลก็ตาม
ผลของรัฐประหารที่ไม่สามารถควบคุมและจัดการกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้นั้น ทำให้เกิดความจำเป็นในการต้องพึ่งพากระบวนการตุลาการในการต่อสู้ที่เกิดขึ้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่า 4 ปีที่ผ่านมามีการวิพากษ์วิจารณ์คำตัดสินต่างๆ อย่างมาก จนทำให้เกิดความรู้สึกโดยทั่วไปว่า กระบวนการตุลาการภิวัตน์ก็คือการทำให้เป็น “สองมาตรฐาน” สิ่งที่ผลสืบเนื่องก็คือ คำตัดสินในทางกฎหมายถูกลดทอนความน่าเชื่อถือลง จนก่อให้เกิดความกังวลกับอนาคตของกระบวนการยุติธรรมไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนี้ ในระยะ 4 ปีหลังรัฐประหาร เห็นได้ชัดเจนถึงท่าทีของกลุ่มชนชั้นกลางในเมืองและกลุ่มชนชั้นนำ ที่พวกเขาพร้อมที่จะยอมรับทุกอย่างเพื่อป้องกันการขยายบทบาทของชนชั้นล่าง ที่ในวันนี้ถูกทดแทนด้วยภาพของการต่อสู้ทางการเมืองของ “คนเสื้อแดง” ด้วยฐานคติที่มองว่าคนในชนบทหรือคนชั้นล่างเหล่านี้ไม่ได้เคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเอง แต่เป็นการ “จัดตั้ง” ของฝ่ายต่อต้านทหาร – ต่อต้านรัฐบาล – ต่อต้านชนชั้นนำ จึงทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกว่าการปราบปรามชนชั้นล่างเป็นความชอบธรรมในตัวเอง และขณะเดียวกันพวกเขาก็พร้อมที่จะอยู่ในระบอบการเมืองที่มีกองทัพเป็นเสาหลัก
สภาพเช่นนี้ทำให้ 4 ปีที่ผ่านมาเป็นความแนบแน่นของความเป็นพันธมิตรระหว่างชนชั้นกลาง ชนชั้นนำ และผู้นำทหาร อันก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ชนชั้นกลางในเมืองของไทยได้ออก “ใบอนุญาตฆ่า” ให้แก่ทหารเพื่อสลายการชุมนุมของชนชั้นล่าง ภายใต้ทัศนคติว่า คนเหล่านั้นกำลังก่อความวุ่นวายในเมืองหลวง และกำลังทำลาย “ชีวิตอันน่ารื่นรมย์” ของคนเมืองหลวง !
ผลที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าก็คือ ผู้นำทหารอาจจะรู้สึกว่ามีความชอบธรรมในการล้อมปราบที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่วงเมษายน 2552 เมษายน – พฤษภาคม 2553 ก็ตาม จนทำให้ปัญหาการต่อสู้กับระบอบอำนาจนิยมในปี 2516 2519 และ 2535 กลายเป็นเรื่องราวที่ถูกลบเลือนไปจากความทรงจำทางการเมืองของสังคมไทย จนการเฉลิมฉลองวาระดังกล่าวกลายเป็น “งานพิธีกรรม” ที่สาระสำคัญของการต่อสู้ที่เคยเกิดขึ้นไม่ได้สร้างผลสะเทือนกับสถานการณ์ปัจจุบันแต่ย่างใด
แน่นอนว่าผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้เห็นได้ว่าการบริหารจัดการอนาคตสังคมการเมืองไทยคงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อีกต่อไป ทฤษฎีของชนชั้นนำและผู้นำทหารที่เชื่อว่ากองทัพคือกลไกหลักของการควบคุมการเมือง และหากควบคุมไม่ได้ก็ใช้การยึดอำนาจเป็นทางออกนั้น อาจจะเป็นประเด็นที่จะต้องขบคิดด้วยความมีสติเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากรัฐประหารกลายเป็น “ยาเก่า” ที่ออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่แล้ว ผู้นำทหารและชนชั้นนำยังจะใช้ยาขนานนี้อีกหรือไม่
ผลกับกองทัพอย่างมีนัยสำคัญจาก 4 ปีที่ผ่านมาก็คือ โอกาสของการสร้างความเป็น “ทหารอาชีพ” ของกองทัพไทย ก็เป็นความยุ่งยากอีกประการหนึ่ง เพราะในสถานการณ์ที่กองทัพขยายบทบาททางการเมืองอย่างมากเช่นนี้ กระบวนการสร้างความเป็นทหารอาชีพไทยจะเกิดขึ้นได้อย่างไร หรืออย่างน้อยคำถามที่เป็นรูปธรรมจากกรณีนี้ก็คือ การลดบทบาททางการเมืองของทหารไทยจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ แล้วถ้าทหารไม่ยอมลดบทบาททางการเมืองแล้ว กองทัพจะคงบทบาทเช่นนี้ไปได้อีกนานเท่าใด และจะกระทบต่อความเป็นทหารอาชีพอย่างไรในอนาคต
นอกจากนี้เรื่องสำคัญที่คงจะต้องยอมรับก็คือ หลังจากการรัฐประหารแล้ว กองทัพมีความแตกแยกภายในอย่างมาก ความเชื่อของผู้นำทหารในยุคนั้นมองว่า เอกภาพของทหารสร้างได้ด้วยการพึ่งพาคนในกลุ่มที่ตนเชื่อใจเท่านั้น ผลที่เห็นชัดเจนก็คือ การกำเนิดของ “บูรพาพยัคฆ์” ในการเมืองไทย ตลอดรวมถึงการฟื้นแนวคิดเรื่อง “รุ่น” ที่อาศัยรุ่นของผู้นำกองทัพเป็นฐาน เช่น กรณี จปร. รุ่น 12 สภาพเช่นนี้ส่งผลให้การขึ้นสู่ตำแหน่งหลักที่สำคัญภายในกองทัพถูกพิจารณาจากมิติทางการเมืองและความเป็นรุ่น มากกว่าจะขยายฐานในแนวกว้าง ความแตกแยกซึ่งโยงกับการผูกพันทางการเมืองเช่นนี้ ทำให้โอกาสของการปฏิรูปกองทัพในระยะสั้นเป็นไปได้ด้วยความลำบาก เช่นเดียวกับการสร้างทหารอาชีพในกองทัพไทย
แต่สิ่งสำคัญที่สุดหลังจากรัฐประหาร 2549 ก็คือ ความแตกแยกขนาดใหญ่ของสังคมไทย และเป็นความแตกแยกที่ช่องว่างถูกขยายมากขึ้น จนหลายๆ ฝ่ายเกิดความกังวลว่า ปัญหาเช่นนี้ในที่สุดอาจจะต้องลงเอยด้วยความรุนแรงทางการเมืองขนาดใหญ่ในอนาคตหรือไม่
เรื่องราวเช่นนี้ให้คำตอบแต่เพียงประการเดียวก็คือ สังคมการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 2549 ต้องเผชิญกับความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอย่างยาวนาน จนแม้ในปัจจุบันก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่า การสร้างเสถียรภาพในการเมืองไทยจะเกิดขึ้นได้อย่างไรในอนาคต และใครจะเข้ามาทำหน้าที่เช่นนี้ ซึ่งอาจจะต้องยอมรับว่าไม่ใช่ต้องทำให้การเมือง “นิ่ง” เพราะการเมืองไม่เคยนิ่ง หากแต่ต้องทำให้กระบวนการทางการเมืองสามารถแก้ปัญหาได้ภายในระบอบรัฐสภา และสร้างเสถียรภาพของความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองให้ได้
อย่างไรก็ตามในด้านบวกอาจจะต้องยอมรับว่า รัฐประหาร 2549 ได้ทำให้การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยขยายตัวสู่กลุ่มชนต่างๆ ในสังคมไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน ประเด็นนี้จึงเป็นสิ่งที่ต้อง “ขอบคุณ” ผู้นำทหาร คมช. อย่างยิ่ง !
#
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
ขอเชิญสื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ เข้าร่วมฟังการเสวนาในกิจกรรม
ราชดำเนินเสวนา โครงการร่วมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ ๑๒ / ๒๕๕๓
"๑๙ กันยา.. ๔ ปี กับการปฏิรูปกองทัพไทย "
วันอาทิตย์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๓ เวลา ๑o.oo – ๑๒.oo น.
ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๒ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ถนนสามเสน (ตรงข้าม รพ. วชิระ) กรุงเทพฯ
วิทยากร
พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ
ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ดำเนินรายการ
คุณประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์
ที่ปรึกษา ฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าว ฯ
รายละเอียดโทร. o๒ – ๖๖๘ - ๙๔๒๒