{mp3remote}http://www.tja.or.th/images/sound2558/580424-seminar-convert.mp3{/mp3remote}
24 เมษายน/การเมืองเรื่อง กกต.
"สมบัติ" ห่วงเดตล็อกประกาศรับรอง ส.ส.ไม่ได้ครบ คนนอกเป็นนายกฯประเทศถูกลดระดับความเป็น ปชต.เหตุไม่เชื่อมโยง ปชช.กมธ.ยันทำให้เสียงส่วนใหญ่ที่ตกหล่นมีความหมาย-ไม่จ้องทำลายพรรคการเมืองให้อ่อนแอ "สมชัย" ซัดถอยหลัง 30 ปี "สามารถ" เขียนรธน.เพื่อให้นักการเมืองเป็นผู้ร้าย "จุรินทร์" อัดทำลายพรรคการเมือง ย้อนหลังกลับไป 360 องศา ไปสู่จุดที่ประเทศเคยก้าวผ่านมา แถมจำกัดสิทธิ ปชช.
นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวตอนหนึ่ในราชดำเนินเสวนาหัวข้อ "ปฏิรูปเลือกตั้ง ถอยหลังหรือเดินหน้า" จัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ว่า หากไม่สามารถประกาศรับรอง ส.ส.เขตได้ ก็ไม่สามารถประกาศรับรอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เมื่อไม่สามารถประกาศ ส.ส.เขตได้ก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าพรรคใดจะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ ถ้ามีการฟ้องร้องกันจนไม่สามารถรับรองได้ครบ ก็ไม่อาจหาตัวเลข ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ ทำให้ไม่สามารถได้ ส.ส.ครบ 90 เปอร์เซ็นต์เพื่อเปิดสภาฯและดำเนินการขั้นตอนได้ ทำให้ไม่สามารถเลือกนายกฯไม่ได้ภายใน 30 วันหรือแม้แต่ 60 วัน นี่คือความยุ่งยางแบบสัดส่วนผสม ในเยอรมนีไม่มีปัญหา ไม่มีกกต.แบบเดียวกับเรา
นายสมบัติกล่าวว่า ตามปกติระบบรัฐสภาต้องเลือก ส.ส.มาเป็นนายกฯ เป็นระบบควบอำนาจ นิติบัญญัติมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ฝ่ายบริหารมาจากการเลือกของนิติบัญัติ เพื่อทำให้เกิดความเชื่อมโยงกับประชาชน ไม่ใช่นึกสนุกแล้วใช้สูตรนี้ขึ้นมา เมื่อนำคนที่ไม่ได้มาจาก ส.ส.มาเป็นนายกฯระดับคุณค่าการเชื่อมโยงอำนาจของปวงชน ระดับความเป็นประชาธิปไตยของประเทศถูกลดระดับลง การจะบอกว่าให้คนนอกมาเป็นนายกฯ เพราะสถานการณ์ไม่ดี ให้นายกฯคนนอกเป็นเพื่อแก้สถานการณ์วิกฤต ซึ่งไม่มีอะไรต้องห่วง เพราะวิกฤตยุบสภาแล้วไม่มีใครเป็นนายกฯได้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนไว้แล้วว่าให้ปลัดกระทรวงทำหน้าที่คณะรัฐมนตรีและเลือกกันเองให้ปลัดกระทรวงคนหนึ่งทำหน้าที่นายกฯ
ด้าน พล.ท.นาวิน ดำกาญจน์ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ส.ส.ที่ได้ระบบเขตหลายคนได้คะแนนราว 30-45 เปอร์เซ็นต์ มีคนไม่เลือกอีกราว 60-65 เปอร์เซ็นต์ ทำให้คะแนนเสียประชาธิปไตยเหล่านั้นตกหล่นไป จึงทำให้เกิดระบบผสมนี้ขึ้น เมื่อสามารถสร้างกลุ่มการเมืองต่างๆ ขึ้นมา เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มส่ิงแวดล้อม เป็นต้น ก็สามารถมีปากมีเสียง คะแนนเพียง 1 เปอร์เซ็นต์คะสามารถได้ที่นั่งราว 4 ที่นั่ง เพียงคนเดียวก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงสังคมได้ เราสร้างระบบสัสส่วนผสมเพื่อให้ทุกเสียงทุกคนมีโอกาส ไม่ได้ทำมาเพื่อขจัดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง เพราะเป็นนหน้าที่ของ กกต.ที่เราอยากให้ใช้อำนาจอย่างเต็มที่ มีความโปร่งใส่
"ที่ผ่านมารัฐบาลทุกรัฐบาลเป็นตัวแทนของคนส่วนน้อยด้วยซ้ำไป เสียงคนอีก 60 เปอร์เซ็นต์ได้แต่นั่งมองตาปริบๆ วันนี้เราทำให้เสียง 60 เปอร์เซ็นต์มีค่ากลับคืนมา" พล.ท.นาวินกล่าว
กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า รัฐธรรมนูญได้ตัดเงินแปรญัตติของ ส.ส.ไป จากนี้ไปจะไม่มีประชาชชนวิ่งไปหาก ส.ส.เพื่อให้ได้งบประมาณ เงินต่างๆ จะไปอยู่ในส่วนราชการต่างๆ เราจะมีเงินเชิงพื้นทีหรือกิจการเฉพาะ ไม่ต้องไปหานักการเมืองระดับต่างๆ เพื่อไปหาส่วนราชการ และเกิดการทอนเงินตลอดทางอีกต่อไป ขณะที่ระบบภาษีต่างๆ ชุมชนหรือท้องถิ่นจะมีเงินของตัวเอง ส.ส.จะเริ่มหมดเงินตัวเอง รัฐมนตรีห้ามเป็น ส.ส.ทำให้นักการเมืองไม่ต้องวิ่งไปลงปาร์ตี้ลิสต์เพื่อให้ได้เป็น ส.ส.หวังเป็นรัฐมนตรี ส่วนเรื่องระยะเวลาและองค์ประกอบ ส.ส.ที่จะเปิดประชุมได้นั้น ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมาก ใช้เวลาแค่วันเดียวก็เพียงพอ เพราะที่ผ่านมาสามารถประกาศ ส.ส.เขตได้มาตลอด เพราะไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม เพียงแต่มีการนับคะแนนพรรคไปด้วย
"ส่วนนายกฯคนนอกนั้น ก็ใช้เฉพาะยามวิกฤต แต่เราเขียนไม่ได้ว่าอะไรคือวิกฤต ต้องให้ตัวแทนพลเมืองใช้วิจารณญาณสองในสาม ไม่ต้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย" พล.ท.นาวินกล่าว และว่า เราไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทำลายพรรคการเมือง แต่ทำให้ทุกเสียงมีความหมาย เราจะนำทุกประเด็นไปปรับปรุง
ส่วนนายสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่กระทบการบริหารรจัดการเลือกตั้ง 10 ประเด็นคือ 1 เขตเลือกตั้งน้อยลงแต่ใหญ่ขึ้นถือเป็นความก้าวหน้า 5 ปีขึ้นไปป 2 การเลือกตั้งใช้ระบบอิเลกทรอนิกส์ ซึ่งจะมีต้นทุนสูง จะให้ประชาชนและนักการเมืองเชื่อถือไดด้อย่างไร แต่ถือว่าก้าวหน้าไป 10 ปี 3.การเลือกตั้งระบบโอเพ่นลิสต์ระบุบุคคลอีกครั้งในระบบนี้ ถือประชาชนเป็นใหญ่แท้จริง มีอำนาจมากขึ้นในการเลือกตั้ง แต่การลงคะแนนจะมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นอาจใช้เวลาถึง 3 วัน แต่เป็นความก้าวหน้าระดับ 5 ปี 4.การคิดคำนวณ ส.ส.ใช้ับัญชีรายชื่อเป็นหลัก ทำให้เสียงประชาชนทุกเสียงมีความหมาย คะแนนผู้แพ้ไม่ได้ถูกทิ้งไป ถือเป็นความก้าวหน้า 10 ปี
นายสมชัยกล่าวว่า 5.การให้คนนอกราชอาณาจักรต้องลงทะเบียนก่อนใช้สิทธิ ทำให้มีระบบการจดทะเบียนเพื่อให้ผู้มีสิทธิได้เขาถึงการใช้สิทธิให้ได้มากขึ้นและเพิ่มขึ้น เพราะที่ผ่านมามีการใช้สิทธิน้อย จนมีบางส่วนให้ยกเลิก แต่ส่วนตัวเห็นว่าการเลือกตั้งที่ดีต้องให้สิทธินั้นแก่พลเมือง ถือว่ามีความก้าวหน้า 5 ปี 6.การให้มีกลุ่มการเมือง ยังไม่เห็นว่าเป็นแนวทางที่ดี และอาจจมีกลุ่มการเมืองส่งผู้สมัครเป็นจำนวนมากและมีสิทธิเทียบพรรคการเมือง แต่หน้าที่ไม่ได้ทำกัน เพราะพรรคการเมืองต้องทำตามกฎหมายพรรคการเมืองทุกอย่าง ทำผิดถูกยุบพรรค แล้วคนที่ไหนจะมาสมัครพรรคการเมือง การออกแบบนี้กลุ่มเป็นใหญ่ จะเกิดกลุ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จับสลากพร้อมๆ กัน อาจจะมีกลุ่ม 4-500 กลุ่ม บัตรเลือกตั้งเราจะใหญ่โตขนาดไหน ระบบนี้ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ เกิดการต่อรองในสภา เป็นการถอยหลังที่ให้คะแนน 20 ปี
นายสมชัยกล่าวว่า 7.การสรรหาและการเลือกตั้ง ส.ว.เป็นการถอยหลัง 8.ระบบการเลือกตั้งก็เห็นว่าเป็นการถอยหลัง เพราะมีโอกาสถูกนักการเมืองแทรกแซงข้าราชการประจำ ถือเป็นการถอยหลัง 20 ปี 9,การให้กกต.ไม่มีอำนาจให้ใบแดงถือเป็นการถอยหลัง เพราะนักการเมืองไม่กลัวใบเหลือง ใให้กี่กี่ครั้งก็ไม่กลัว ถือว่าถอยหลังไป 10 ปี และ 10, การประเมินผลการปฏิบัติงานของ กตต. ก้าวหน้าไป 5 ปี สรุป 10 ประเด็นในรัฐธรรมนูญนี้ก้าวหน้าไป 40 ปี ถอยหลัง 70 ปี รวมแล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถอยหลัง 30 ปี โดยระหว่างนายสมชัยยกป้าย -30 ปี พล.ท.นาวินได้หยิบป้าย +5 ปีขึ้นมาประกบ
ขณะที่นายสามารถ แก้วมีชัย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า วันนี้เรารื้อรรัฐธรรมนูญทั้งหมด เป็นนวัตกรรมใหม่ในการร่างรัฐธรรมนูญที่ทำลายความเข้มแข็งของพรรคการเมือง ไม่ได้เข้าข้างพรรคการเมือง แต่พรรคการเมืองเป็นที่รวมของคนที่มีอุดมการณ์และแนวนโยบายเหมือนกัน แต่หลังจากนี้จะเกิดกลุ่มการเมืองได้ง่ายขึ้นและไปสมัคร ส.ส.ได้ คนเหล่านี้จะเขียนนโยบายและหาเสียงกับประชาชนอย่างไร ใครจะเป็นนายกฯใครจะเป็นรัฐมนตรี ความฝันเรื่องลดการซื้อสิทธิขายเสียง เพราะไม่มีอะไรจะไปพูดกับประชาชน คงหนีไม่พ้นการแจกปลาทูอีกครั้ง
นายสามารถกล่าวว่า ระบบโอเพ่นลิสต์ก็จะทำให้เกิดการหาเสียงแข่งกันในพรรคในเขตต่างๆ อีก และการให้ประชาชนเขียนชื่อ คนที่ชื่อ สกุล สะกดยากๆ ลำบากแน่นอน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือว่าย้อนย้อนไปก่อนรัฐธรรมนูญปี 2540 จะเกิดการตกปลาในอ่าง อย่าพูดว่าไม่มีคนไปทุ่มซื้อ ส.ส.เหล่านี้ อาจจะมีการทุ่มเทอุ้มเสียงไว้ได้เกิน 2 ใน 3 แล้ว เพราะมีวิกฤตก่อนการเลือกนายกฯ
นายสามารถกล่าวว่า การให้ ส.ว.ตรวจสอบคุณสมบัตินายกฯก็ทำให้นายกฯขาดวุฒิภาวะความเป็นผู้นำ เพราะไม่กล้าเสนอชื่อที่คาดว่าจะถูกโจมตีจาก ส.ว.อย่างแน่นอน การเขียนรัฐธรรมนูญแบบนี้พื่อให้นักการเมืองเป็นผู้ร้าย ขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ทำได้ยาก ตามมาตรา 300 ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อนแล้วก็ต้องไปทำประชามติ ที่สุดวงจรอุบาทว์ก็กลับมา ไม่โทษนักวิชาการที่ร่างรัฐธรรมนูญออกมาแบบนี้ เพราะพวกเขาฝัน การตรวจสอบต่างๆ ตามสมัชขาคุณธรรมแห่งชาติ และสมัชชาพลเมืองระดับท้องถิ่น
นายสามารถกล่าวว่า เราจะเอามนุษย์เหล่านี้มาจากไหน ที่ไม่เลือกฝักฝ่าย ความปรองดองจะไม่เกิด จะมีการทะเลาะกันละเอียดยิบทุกพื้นที่ เขียนได้แต่ในทางปฏิบัติลำบาก ก็ขอติติงไว้ อะไรที่แก้ไขได้ก็ช่วยกันแก้ไข เพราะยังมีโอกาสในการทบทวนใหม่ได้อยู่ อะไรรับได้เราก็รับ เช่น ระบบสัดส่วนผสมที่คนคะแนนคนส่วนใหญ่ไม่ได้หายไป
ด้านนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อ่านรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้ง 315 มาตรา ทีผ่านมาการพัฒนาประชาธิปไตยประเทศไทยได้พัฒนาไปสองจุดคือ การเดินไปสู่พรรคคการเมืองแบบสองพรรคอย่างเช่นที่พัฒนาแล้ว และการเดินหน้าไปสู่การทำให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง พรรคการเมืองไม่เข้มแข็งประเทศไม่สามารถเดินหน้าไปได้ ประเทศยูเทิร์น 360 องศา ไม่ใช่ภาวะปกติ แต่เป็นภาวะพิเศษ เรากำลังออกแบบรัฐธรรมนูญพาเราย้อนยุคคไปที่เราเคยมีปัญหาและก้าวผ่านมาแล้ว เป็นการร่างที่ต้องการให้เกิดการรัฐบาลผสม จึงถูกอออกแบบเพื่อให้ผลการเลือกตั้งเกิดสภาเป็นเบี้ยหัวแตก เกิดหลายพรรค เกิดรัฐบาลผสม เปิดทางให้นอกเป็นนายกฯได้
นายจุรินทร์กล่าวว่า กลุ่มการเมืองได้รับสิทธิพิเศษมากว่าพรรคการเมืองที่จดทะเบียนกับ กกต.และสร้างสมความเป็นพรรคการเมืองมายาวนาน ไม่ต้องเป็นสมาชิกกลุ่ม 30 วันเหมือนคนที่สมัครในนามพรรคการเมือง เป็นเหมือนอภิสิทธิ์ชน สุดท้ายกลายเป็นการเมืองสองมาตรฐาน ระบบโอเพ่นลิสต์ให้สิทธิได้เลือกได้คนเดียวเท่านั้น ทำไมไม่ให้สิทธิไม่เกินจำนวนในโซนนั้นๆ ตามที่พูดว่าเพิ่มอำนาจให้ประชาชน อย่างนี้เป็นการจำกัดสิทธิ เมื่อเลือกได้คนเดียวจะหาเสียงได้อย่างไร หัวหน้าพรรคไปหาเสียงก็ต้องบอกให้เลือกตัวเอง เพราะไม่เช่นนั้นกจะทำให้หัวหน้าพรรคสอบตก ลูกพรรคก็บอกให้เลือกตัวเอง เป็นการทำลายพรรคการเมืองให้อ่อนแอ ในภาวะวิกฤตเราไม่เห็นขัดเป็นข้อยกเว้นไม่ใช่หลักการ ไม่ใช่เป็นอีแอบไปซ่อนอยู่ข้างหลัง ต้องมีวิกฤตจริงๆ และต้องมีเสียงสองในสามมีระยะเวลาจำกัด แต่ก็ไม่ได้จำกัดระยะเวลาไว้ ขอให้ได้เสียง 2 ใน 3 เท่านั้นก็เป็นได้ 4 ปี
"ระบบนี้จะเกิดการขายตัว ถอนตัว ต่อรองอำนาจต่อรองโควต้ารัฐมนตรีกับนายกฯ สุดท้ายก็เป็นการเพิ่มอำนาจให้นายกฯ เพื่อชดเชยให้กับการลดอำนาจพรรคการเมือง กลายเป็นลิงแก้แห" นายจุรินนทร์กล่าว และว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ได้ให้อำนาจนายกฯยุบสภาฯ หากแพ้อภิปราย เป็นเรื่องที่ไม่ควรมี เพราะคนยื่นอภิปรายกลายเป็นคนต้องถูกยุบสภาฯ ดีที่มีการถอดข้อความดังกล่าวไปแล้ว และเป็นการเพิ่มอำนาจให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้มีความยึดโยงหรือให้อำนาจประชาชนด้วยซ้ำไป บอกจะเพิ่มอำนาจให้ประชาชนกลับไม่ให้ทำประชามติ แต่จะแก้ไขบอกต้องไปทำประชามติ
นายจุรินทร์กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังให้นายกฯมีอำนาจเสนอกฎหมายเพื่อพิสูจน์ความไว้วางใจนายกฯเป็นอภิมหาพระราชกำหนดให้อำนาจนายกฯ หากนายกฯทุจริตและเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมอะไรจะเกิดขึ้น การที่ฝ่ายค้านจะยื่นอภิปรายก็ไม่ได้ เพราะเสียงน้อยกว่านายกฯอยู่แล้ว ขณะที่นายกฯทุจริตสามารถหนีการอภิปรายได้ตามมาตรา 181 ได้โดยขอความไว้วางใจจากสภาฯตลอดสมัยประชุมจะยื่นอภิปรายใดๆ นายกฯไม่ได้เลย แค่นายฯใช้มาตรานี้เท่านั้น ฝ่ายค้านตรวจสอบนายกฯไม่ได้เลย ขอให้นำออกไปเพราะอันตราย
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า และยังมีการห้ามให้พรรคหรือกลุ่มบุคคถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล ไม่ได้ห้ามไว้ตรงๆ แต่เขียนอย่างมีนัยะคือจะเป็นรัฐมนตรีต้องไม่เป็น ส.ส.ทำให้เมื่อถอนตัวก็ไม่สามารถไปทำหน้าที่ตรวจสอบได้ในสภาฯ หากฝ่ายบริหารทุจริตคนไม่เห็นด้วยก็ต้องทนพายเรือให้โจรนั่งฯต่อไป ทำให้ประชาชนเห็นว่าระบบทำอะไรไม่ได้ที่สุดวงจรอุบาทว์ก็จะเกิดขึ้นมาอีก
นายนิกร จำนง ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าว่า รัฐธรรมนูญนี้ถือว่าเดินหน้าไปสู่ความล่มจม การใช้ภาคนิยมเป็นเรื่องอันตรายอย่างมาก ยิ่งเกิดการใช้นโยบายกับรากหญ้าทำให้การเมืองเสียดุลยภาพ การเลือก ส.ส.ของประชาชนเป็นการเลือกแบบหวังน้ำบ่อน้ำ ทำให้เห็นว่า มี ส.ส.ไปเป็นนัการเมืองท้องถิ่นมากขึ้น เพราะช่วยประชาชนได้โดยตรง ส.ส.หากไม่ทำงานด้านกฎหมายไม่สามารถช่วยประชาขนได้เลย การออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อให้พรรคการเมืองได้ ส.ส.ได้ถึงครึ่ง จึงลดจำนวน ส.ส.เขตลงครึ่งหนึ่ง การเลือกแบบโซนนิ่งและกลุ่มการเมืองลงสมัครได้ทำให้เกิดสมดุลใหม่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ สามารถกดดันพรรคการเมืองและเคลื่อนไหวได้อยู่ข้างนอก ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งได้แต่ต้องลดอำนาจลง เพราะไม่ได้มาจากประชาชนโดยตรง แต่ขณะนี้เป็นการสรรหาและมีอำนาจมากในรัฐสภา
"ไม่ควรเลือกตั้งระบบโซน ควรให้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ให้ถอดกลุ่มการเมืองออก เพราะกลุ่มการเมืองจะเป็นระเบิดเวลา" นายนิกรกล่าว
ส่วนนางสุภัทรา นาคะผิว กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เราต้องการมารับฟังเพื่อได้สิ่งใหม่เพื่อนำไปปรับปรุงในขั้นตอนที่ยังมีเวลา การวิพากษ์วิจารณ์มีเฉพาะบางส่วน จึงอยากให้ไปดูทุกภาคส่วน ที่มุ่งไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำ นำประเทศไปสู่การปรองดอง ลำพังเพียงระบบการเมืองและการเลือกตั้งแก้ปัญหาประเทศไม่ได้ และเราต้องไว้ใจประชาชนและศรัทธาประชาชน เราต้องทำให้พลเมืองมีความเข้มแข็ง ในการเลือกตั้งครั้งหน้าเราจะเห็นคนหลากหลาย เราจะเปิดพื้นที่ให้คนกลุ่มน้อยกลุ่มเล็ก
นางสุภัทรากล่าวว่า เราไม่อยากเห็นการเมืองที่เป็นของกลุ่มหรือตระกูลทางการเมือง ไม่อยากให้มองไปที่กลุ่มการเมืองแบบสีเสื้อ เราไม่มีเจตนาทำลายความเข้มแข็งพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองไม่ได้รับการสนับสนุนการเงินจากกกต.และเชื่อว่าที่สุดกลุ่มการเมืองก็จะพัฒนาไปสู่พรรคการเมืองไดด้ ระบการจัดการเลือกตั้ง กกต.ปัจจุบันก็ไม่ได้ใช้คนของตัวเอง แต่ใช้ข้าราชการในกระทรวงอื่นๆ จึงไม่มึความแตกต่างกัน
เธอกล่าวว่า อำนาจที่ให้นายกฯไป เราต้องการมอบอำนาจให้นายกฯมีความเข้มแข็งเสริมการบริหาร และนายกฯคนนอกยังมีเวลา เราไม่ได้ปิดหูปิดตา เราต้องสร้างการยอมรับ ที่ผานมาไปจัดเวที ประชาชนชอบระบบโอเพ่นลิสต์เป็นอย่างมาก เพราะเขาอยากจัดลำดับเองด้วยซ้ำไป นอกจากนี้ คะแนนเสียงจะไม่มีการตกหล่น คนที่คะแนนน้อยกว่าโหวตโนจะไม่สามารถเป็น ส.ส.ได้อีกต่อไป
นางถวิลวดี บุรีกุล คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ประชาชนอยากเป็นประเทศโปร่งใสไร้การทุจริต ก่อนเข้าสู่อำนาจ ระหว่างอยู่ในอำนาจ ประชาชนมีอำนาจตรวจสอบ ถึงได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นความต้องการของประชาชน ไม่ใช่คณะกรรมาธิการฯ36 คนเป็นคนกำหนด เราต้องการให้สังคมเกิดสันติสุขสถาพร ต้องทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมไม่ใช่เชิงสถาบันทางการเมือง เมื่อถึงทางตันประชาชนก็ควรมีสิทธิแก้ปัญหา ไม่ใช่ฝากอนาคตไว้กับคนที่เราไปหย่อนบัตร 4 วินาทีเท่านั้น การใช้อำนาจที่ผ่านมาเป็นการเล่นการเมืองแบบข้าราชการ นักาการเมือง และนักธุรกิจจนกิดการทุจริต แต่วันนี้ประชาชนบอกว่าเขาเข้าไปมีส่วนด้วยเท่านั้น
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
ราชดำเนินเสวนา หัวข้อ
“ปฏิรูปเลือกตั้ง...ถอยหลังหรือเดินหน้า”
จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ร่วมกับ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
วันศุกร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.
ณ ห้องอิศรา อมันตกุล ชั้น ๓ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
-ศ.ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ
-รศ. สมชัย ศรีสุทธิยากร
กรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง
-นายสามารถ แก้วมีชัย
อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
-นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
-นายนิกร จำนง
ที่ปรึกษา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา
-อาจารย์สุภัทรา นาคะผิว
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
- ดร.ถวิลวดี บุรีกุล
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
-พล.ท. นาวิน ดำริกาญจน์
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ดำเนินรายการโดย
-นายบัญชา แข็งขัน ผู้ช่วย บรรณาธิการ การเมือง เนชั่นทีวี
ประเด็น
-การเลือกตั้ง ส.ส.ในระบบสัดส่วน ทำให้ได้ผู้แทนตามเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างไร?
-ความพร้อมของประชาชนการลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบ Open List
-กจต.กับการจัดการเลือกตั้ง หลังมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
-เมื่อ กกต. ไม่มีอำนาจให้ใบแดง
-รัฐธรรมนูญใหม่มีกลไกการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งหรือไม่
-การเลือกตั้ง ส.ว. ทางอ้อม
โทร. ๐๒-๖๖๘-๙๔๒๒
/////////////////////////////////////////////////////////