---
โดย วรพล กิตติรัตวรางกูร
--
มีข้อคิดเห็นเชิงกระตุ้นการทํางานของสื่อ ทั้งสื่อที่ทํางานอยู่ในปัจจุบันและคนรุ่นใหม่ นิสิตนักศึกษา ที่กําลังศึกษาจบ เตรียมเข้าสู่ วงการสื่อมวลชนที่น่าสนใจไม่น้อย จากอดีตนักข่าว-กอง บก.ที่ตอนนี้ มาเป็นผู้บริหาร กองทุนเกี่ยวกับด้านสื่อฯ นั่นก็คือ “ดร.ธนกร ศรีสุขใส” ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ที่พูดไว้อย่างน่าสนใจ ในงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักข่าวพิราบน้อย” รุ่นที่ 27 ปี 2568 ที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จับมือสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (TJA) และ ทรู คอร์ปอเรชั่น ที ร่วมกันจัด ภายใต้โครงการเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันและ เฝ้าระวังสื่อเพื่อติวเข้มทักษะและเตรียมความพร้อมนักข่าวรุ่นใหม่รับมือภูมิทัศน์สื่อ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

สําหรับ “ดร.ธนกรผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” หลายคนอาจไม่ว่าเคยเป็นนักข่าวภาคสนามโดยเฉพะลายการเมืองมาก่อน เรื่องนี้ ดร.ธนกร บอกเล่าเรื่องราวชีวิตการทํางานสมัยทําข่าวให้ฟังสั้นๆ ว่า ส่วนตัวเรียนมาไม่ตรงสาย เพราะว่าปริญญาตรีจบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่เคยใช้วิชาชีพกฎหมายอย่างจริงจัง ส่วนอาชีพนักข่าวการเป็นสื่อมวลชนนั้น เริ่มต้นครั้งแรก คือเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ตั้งแต่สมัย ออฟฟิศอยู่แถวกล้วยน้ำไท (สํานักงานของ บริษัทเครือเนชั่น) รุ่นนั้นก็จะมีคุณก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ สรยุทธ สุทัศนะจินดา อัญชลี ไพรีรัก เป็นต้น
ธนกร เป็นนักข่าวอยู่กรุงเทพธุรกิจประมาณ 2 ปี แล้วมาอยู่กองบรรณาธิการ นสพ. THE NATION ยุคนั้นก็มีอย่างเช่น กวี จงกิจถาวร ที่เป็นมือหนึ่งด้านการต่างประเทศ ก็อยู่เนชั่นประมาณหนึ่งปีครึ่ง จากนั้นย้ายค่ายไปที่ Bangkok Post เป็นต้น

“ต้องบอกว่าอาชีพนักข่าวเข้าแล้วออกยากมาก สิ่งที่อยากจะบอกน้องๆ นะครับ รุ่นลูกรุ่นหลายก็คือ วันนี้โลกมันเปลี่ยนเร็วมากเรา เข้าสู่ Digital Society แบบที่เราตั้งตัวไม่ทัน คือคําว่า เราตั้งตัวไม่ทันคือเราปรับวิธีคิด ไม่ทันพอวิธีคิดไม่เปลี่ยนพฤติกรรมไม่เปลี่ยน เราก็ตามสถานการณ์ไม่ทัน จนรับความเปลี่ยนแปลงที่มันเกิดขึ้นในแต่ละวันไม่ได้ วันนี้ทุกคนก็กลายเป็นคนถูกหลอกหมดเลย เป็นเหยื่อภัยไซเบอร์หมด รุ่นใหม่ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องของโรคซึมเศร้า
...สังคมมันเปลี่ยนเร็วมาก สื่อเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว สิ่งหนึ่งที่เรามีปัญหาทุกวันนี้ ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (User Generated Content UGC) คือคอนเทนต์ผู้ใช้แพลตฟอร์มต่างๆ เป็นคนสร้างขึ้น และ User เขาเป็นใครก็ได้ ในโลกนี้เขาเติบโตมาจากไหนก็ได้ เขาไม่จําเป็นต้องเรียนเขาไม่จําเป็นต้องรู้ว่า Code of Conduct จะเป็นยังไง คนทํางานที่เป็นสื่อ เป็นเทรนเนอร์ในโครงการ (อบรมพิราบน้อย) ทั้งหลายเขาต้องถูกสอนอะไรมาถึงจะ มาทําาหน้าที่เป็นสื่อได้”
เขามองว่า วันนี้ สิ่งที่มันหายไปอันแรกเลยก็คือว่าความเป็น journalist-ความเป็นสื่อมวลชนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมมันแทบจะไม่มีเลย แม้แต่คนซึ่งอยู่ในแพลตฟอร์มสื่อดั้งเดิม ช่องโทรทัศน์ทั้งหลาย ใครเรียนสื่อสารมวลชนหรือนิเทศศาสตร์มา ต้องยอมรับความจริงว่าการรายงานข่าวแบบดราม่ามันไม่มีในโลก ที่คุณจะเอา Fact- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาเล็กน้อยแล้ว แล้วคุณ build -ใส่อารมณ์ คุณขยี้ น่าเสนอภาพซ้ำๆ แล้วก็ยั่วยุคน จนคนเกิดอารมณ์คล้อยตาม เหมือนกับดูละคร จนเกิดความรู้สึกอยากรู้ อยากเห็น อยากติดตาม เอาตู้เองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในสถานการณ์ จนมันไม่รู้เลยว่า แล้วความเป็นสื่อควรจะเป็นอย่างไรเพราะฉะนั้นหลักสูตรอบรมพิราบน้อย ที่จัดขึ้น พวกเราจะรู้จักคำ 2 คำ อินฟลูเอนเซอร์ก็ให้เขาว่ากันไปทุกคนเป็น User Generated Content- UGC ก็ให้เขา Genarate ไป แต่พวกเราจะได้รู้จักความเป็น
พิราบน้อยหรือ Young Journalist
ความเป็นพิราบน้อย มันไม่ใช่นึกอยากจะเอาอะไรมาขายก็ได้ คุณจะไม่สามารถที่จะบังคับหรือไปจ้างคนคนหนึ่งบอกกินข้าวให้หมดขวด พี่จะถ่ายคลิปแล้วเอาไปเผยแพร่จนเด็กตาย ถ้าคุณเป็น Young Journalist คุณจะรับเรื่องแบบนี้ไม่ได้ คอนเทนต์แบบนี้มันเป็นคอนเทนต์ นอกจากจะไม่ปลอดภัย ไม่สร้างสรรค์แล้วมันทำลายสังคม

เพราะฉะนั้นวันนี้อยากให้กำลังใจน้องๆ ว่าความเป็น Young Journalist เวลาเราก้าว เดินมาแล้วตั้งใจว่าจะเป็นสื่อมวลชนสิ่งแรกเราต้องรู้ว่าเราเหมือนคนที่นั่งอยู่ริมแม่น้ำเราต้องมองเห็นกระแสน้ำที่มันไหล นั่งอยู่ริมแม่น้าเจ้าพระยาไม่ได้เห็นแต่ผักตบชวาอย่างเดียวแต่มันต้องสามารถคาดเดาลงไปได้ด้วยว่าวันนี้นํ้าขึ้นวันนี้น้ำลง ใต้น้ำในน้ำทําไมระดับความเข้มข้นมันเปลี่ยน เรามีหน้าที่ที่จะติดตามเหตุการณ์มาอธิบายให้กับสังคมได้ เห็นได้รู้และเข้าใจได้ตระหนัก
“คนเป็นสื่อมวลชนจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นคนช่างสังเกต ช่างสงสัยตั้งคําถาม แล้วก็แสวงหาคำตอบในอดีตในเรื่องอุดมคติคนเป็นสื่อมวลชน ไม่ใช่เป็นนักข่าวอย่างเดียว แต่เป็นทั้งนักคิดนักเขียน นักประพันธ์ เป็นคนสุดท้าย ที่ออกมายืนหยัดปกป้อง รักษาความเป็นธรรมให้สังคม โดยใช้วิชาชีพที่เขามี ที่ก็คือความเป็น Journalist ความเป็นสื่อที่เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ไพศาลมาก ความเป็นพิราบน้อย ซึ่งมันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับความเป็น User Generated Content หรือการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ หรืออินฟลูเอนเซอร์”
ยุคสื่อใหม่แพลตฟอร์มหลากหลาย
คอนเทนต์ดี-น่าสนใจก็มีโอกาสเป็นเศรษฐี

“ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” สะท้อนข้อแตกต่างระหว่างสื่อในอดีตกับสื่อปัจจุบันที่เห็นได้อย่างชัดเจน ก็คือ ยุคปัจจุบัน การมีแพลตฟอร์มต่างๆ หลายช่องทางทําให้สร้างโอกาสมากขึ้น สําหรับคนเป็นสื่อ
อาจจะมีการพูดกันว่า คนมาทําคอนเทนต์ หรือคนมาเป็นนักข่าวมันไม่มีวันรวย ซึ่งมันไม่มีทางรวยจริงๆ ในอดีต แต่โลกทุกวันนี้ พอมีแพลตฟอร์มใหม่ๆ พวกน้องๆ สบายใจได้ว่าวันหนึ่งที่คอนเทนต์คุณดีจริง น่าสนใจจริงมันปังขึ้นมา ความเป็นเศรษฐีก็หยุดคุณไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันจะต่างเลยว่าแพลตฟอร์มที่มันเกิดใหม่กับแพลตฟอร์มในอดีต
ในอดีตคนมาทำสื่อสารมวลชนไส้แห้งหมดแต่ทำไมเข้ามาแล้วออกไม่ได้ เพราะเป้าหมายของคนที่เข้าสู่วงการสื่อหรือวิชาชีพนี้ มันไม่ใช่เรื่องเงิน แต่มันเป็นรสนิยมพูดง่ายๆ รสนิยมที่มีความรู้สึกว่าได้ทําอะไรดีๆ ให้กับสังคมแล้วมันอิ่มใจ อิ่มใจโดยที่ไม่ต้องมีใครมาบอก ไม่ต้องมีรางวัลให้ทําข่าวหนึ่งชิ้นสามารถไปสร้างการเปลี่ยนแปลง ไปสร้างผลกระทบได้ ทำให้ปัญหาที่รู้สึกว่าชุมชนหนึ่งมันหมักหมมปัญหาที่ยาวนาน แล้วงานของเรามันผลักให้เกิดการแก้ไขได้ มันมีความสุขที่สุด เสร็จแล้วก็นั่งดินข้าวกับเพื่อน โดยมีความภาคภูมิใจ อันนี้เป็นปรัชญาในการใช้ชีวิตว่าแท้จริงแล้ว คนบางคนไม่ได้ต้องการความสำเร็จในเรื่องของลาภยศ สรรเสริญสุข ไม่ได้ต้องการเงินทองมากมาย แต่ได้มีโอกาสในการทำสิ่งที่ดีให้กับสังคมแล้วมันเป็นความสุขทางใจ

“ดร.ธนกร-ผู้จัดการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” เน้นย้ำว่า โลกมันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทุกด้านเลย ไม่มีใครคาดหมายได้ว่าอนาคตของโลกใบนี้ในระยะสั้น 2 ปี ข้างหน้า 5 ปี ข้างหน้า 7 ปีข้างหน้า มันจะเป็นอย่างไร เหมือนกับช่วงนี้ คนก็ไม่เคยนึกว่าวันดีคืนดี กรุงเทพมหานคร อุณหภูมิจะ 15 องศาฯ มาหลายวัน สภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศก้ส่งเสียงเตือนพวกเรามาเรื่อยๆ ปัญหาสังคม วันนี้ด้วยความที่เราไม่สามารถตั้งรับกับการเกิดขึ้นแพลตฟอร์มใหม่ๆ และประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดฟรีมากในการเข้ามาของข้อมูลข่าวสารในแพลตฟอร์ม เด็กรุ่นใหม่มันโตขึ้นมามีน้องๆ พูดว่ามันสร้างตัวตนขึ้นมา รสนิยมที่สร้างที่เป็นไม่ได้มาจากพ่อแม่ไม่ได้มาจากผู้ปกครอง ไม่ได้ว่ามาจากสถาบันการศึกษา มันมาจากสื่อทั้งสิ้น
สิ่งที่มันเคยเป็น Social value คุณค่าดั้งเดิม ความดี ความชั่ว ความถูกความผิดที่เคยเป็นสิ่งที่สังคมยึดถือมีคุณค่าถูกตั้งคําถามหมด ถูก challenge หมด แต่มันน่าเป็นห่วงตรงที่ว่า เวลาที่มันถูกตั้งคําถามว่าของเก่าก็ไม่เอา แล้วของใหม่คืออะไร ก็ไม่รู้ ว่าของใหม่คืออะไร มันเคว้ง แล้วเราจะทําอย่างไร ในขณะที่กลไกของภาครัฐเองต้องยอมรับว่าอ่อนแอมาก ภาครัฐเอง ไม่อยู่ในสถานที่จะมาแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อน และเป็นปรากฏการณ์ใหม่ๆ อย่างที่เกิดในปัจจุบันนี้ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะบ้านเรา พูดกันตรง ไปตรงมา ความหวังของประเทศนี้อยู่ที่ใคร พูดแบบนี้ไม่ได้ปลุกระดมหรือให้กําลังใจ อะไรเว่อวัง แต่กลไกรัฐที่มีอยู่ มันไม่ฟังก์ชันจริงๆ
สิ่งที่มันจะเป็นทางออก และที่พึ่งของสังคมได้ คือคนเล็กคนน้อยที่มองการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสังเกตุและตีความวิเคราะห์เหตุปัจจัยที่มันทําให้เกิดขึ้น ด้วยความห่วงใยและเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างตัวแปรที่ดีหรือ Input ที่ดี ทําไมคนเล็ก คนน้อย มันจะมีพลังในสถานการณ์วิกฤต ซึ่งวันนี้อาจจะไม่ถึงที่สุด แต่วันข้างหน้าจะถึงที่สุด เพราะที่สุดแล้ว ตัวสื่อเองที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ขอให้เชื่อมั่นในตัวเองและเห็นพลังของตัวเองว่าวันหนึ่งจะเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง โดยเงินเราก็ไม่มี อํานาจ เราก็ไม่มี แต่เรามีมันสมอง เรามีสติปัญญา เรามีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และเรามิใจ เรามีใจที่อยากเห็นเพื่อนมนุษย์ยิ้มให้กันได้ รักกัน เรามีใจว่าสังคมนี้มันจะต้องอยู่เย็น เป็นสุข และไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น เรา จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทําให้ฝ่าฟันปัญหา อุปสรรคไปได้
---