โดย หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ
ศูนย์วิจัยหลายแห่งเปรียบเศรษฐกิจไทยเหมือน "คนป่วยที่เดินท่ามกลางพายุ "ธุรกิจสื่อเองก็กําลังเผชิญความท้าทายท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเฉพาะผลกระทบต่อรายได้จากโฆษณาและสปอนเซอร์ซึ่งเป็นรายได้หลัก ขณะที่ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นค่าแพลตฟอร์มและบุคลากรซึ่งเป็นต้นทุนคงที่ทําให้การบริหารจัดการในภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะ “เงินฝืด” เช่นนี้เป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง
ขณะเดียวกันธุรกิจสื่อกําลังอยู่ในจุดเปลี่ยนผ่านที่สําคัญระหว่างการรักษาคุณค่าดั้งเดิมของวิชาชีพสื่อมวลชน และการ ปรับตัวรับเทคโนโลยีใหม่ โดยเฉพาะ Al ที่กําาลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการทํางาน และโครงสร้างต้นทุนของธุรกิจ และยังต้อง รับมือกับความท้าทายในการบริหารคนต่างรุ่น และการสร้างสมดุลระหว่างคนต่างรุ่นไปพร้อมๆ กับการรักษาคุณภาพเนื้อหา
ท่ามกลางความกดดันด้านต้นทุนและการ แข่งขันที่รุนแรง สื่อจะปรับตัวอย่างไรให้อยู่ รอด โดยที่มีรายได้หล่อเลี้ยงองค์กรและ รักษาจรรยาบรรณสื่อมืออาชีพที่ตอบโจทย์ “ปัญญาชน” และสังคมไปพร้อม ๆ กันได้

“ฉาย บุนนาค” ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันแพลตฟอร์มหลักของสื่อประกอบด้วยออนไลน์ (รวมถึงโซเชียลมีเดีย) สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ และกิจกรรมภาคพื้น เช่น งาน สัมมนา โดยวิทยุและนิตยสารไม่ถือเป็น สื่อหลักอีกต่อไป ขณะที่รายได้หลักยังคงมาจากโฆษณาในรูปแบบต่างๆ ทั้งโฆษณาผ่าน ระบบ Programmatic สปอนเซอร์รายใหญ่ เอเจนซี่ และโฆษณาทีวัดผลได้โดยตรง เช่น โฮมชอปปิง
เมื่อโมเดลธุรกิจพึ่งพิงรายได้จากสปอนเซอร์และโฆษณาเป็นหลัก พอเศรษฐกิจไม่ดีสิ่งแรกที่เขาจะตัดคืองบฯ สปอนเซอร์ชิพ ขณะที่ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นฟิกซ์คอสต์ ถ้าหารายได้จากสปอนเซอร์ชิพเกินคุณก็ทำกำไร ถ้าได้น้อยกว่าคุณก็ขาดทุน ธุรกิจสื่อไม่เคยเป็นธุรกิจที่หวังกำไรสูงสุด นอกจากด้านบันเทิง คนที่เลือกอาชีพนักข่าวต้องยอมรับว่าคงไม่ได้โบนัส 10 เดือน 5 เดือนเหมือน ธุรกิจ Mega trend อื่น แต่เป็นอาชีพที่มีการเขียนข่าวทั่วไป งานบัญชี HR และ IT ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดต้นทุนได้ 20-30% ไม่ได้เกียรติ และต้องยืดมั่นในหลักจริยธรรมการเสียสละเพื่อสังคม
ฉาย กล่าวว่า อนาคตของวงการสื่อจะเกิดการแบ่งแยกที่ชัดเจนระหว่างสื่อคุณภาพกับสื่อมวลชน โดยสื่อคุณภาพจะต้องเน้นการนําาเสนอข้อมูลเชิงการวิเคราะห์เจาะลึก และเนื้อหาที่มีคุณค่าต่อสังคม และปัญญาชน ขณะที่สื่อมวลชนอาจต้องแข่งขันกับโซเชียลมีเดียและ AI ในการนำเสนอข่าวทั่วไป หนทางเดียวที่จะทําให้สื่อยังคงมีความสําคัญและได้รับความเชื่อถือจากสังคม
“เราต้องกลับไปสู่รากฐานของความเป็นสื่อมวลชนที่ดี คือการนําเสนอความจริง การวิเคราะห์อย่างเป็นกลางและรับใช้สังคมนำเสนอเรื่องที่สังคนโหยหาให้ได้”
Al ตัวช่วยผลิตคอนเทนต์ตอบโจทย์ “ปัญญาชน - สังคม”
ดังนั้นในสถานการณ์ที่เผชิญกับความท้าทายมากมายในยุคดิจิทัล เนชั่น กรุ๊ป ได้วางยุทธศาสตร์การปรับตัวเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้นมุ่งเน้นการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการนํา AI มาช่วยทั้งงานแบ็กออฟฟิศและการผลิตคอนเทนต์ เช่น งานด้านกลางตัดต่อ การเขียนข่าวทั่วไป งานบัญชี HR และ IT ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดต้นทุนได้ 20% - 30% ไม่ได้เป็นการลดคน แต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน บุคลากรที่ไม่ปรับตัวหรือไม่เปิดรับ AI จะกลายเป็นสกิลเซตที่เดินไปไม่ได้กับองค์กร

“การนํา AI มาใช้เป็นยุทธศาสตร์หลักที่เนชั่น กรุ๊ป ต้องทําต่อเนื่อง แม้จะเป็น เรื่องยากเพราะคนส่วนใหญ่ไม่ชอบการ เปลี่ยนแปลง ที่สําคัญ AI สามารถทดแทน คนบางกลุ่มได้ เช่น นักข่าวที่เป็นรีไรเตอร์ หรือเก็บข้อมูลมิติเดียว การตัดต่อก็ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น”
ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) ย้ำว่าหากไม่ปรับตัวรับ AI เพื่อลดต้นทุนเนชั่น กรุ๊ปที่อยู่มา 55 ปี การไปต่ออาจจะลำบาก จึงต้องเร่งปรับโมเดลธุรกิจและพัฒนาบุคลากรควบคู่กันไป โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภค ขณะเดียวกันก้ต้องรักษาจุดแข็งด้านการนำเสนอข่าวเชิงลึกและการวิเคราะห์ที่เป็นประโยชน์ต่อปัญญาชนและสังคมให้มากที่สุด
สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ในด้านการพัฒนาองค์กร นอกจากการนํา AI มาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานแล้ว เนชั่น กรุ๊ป ยังให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนา โดยเฉพาะการสร้างภาพแวะล้อมที่เปิดกว้างสำหรับความคิดเห็นที่แตกต่าง และการส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ เพราะการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในวงการสื่อไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี แต่การเปลี่ยนแปลงทั้งระบบนิเวศของอุตสาหกรรมสื่อ
“การเป็นนักข่าวต้องอาศัยการสั่งสมประสบการณ์ ต้องมีกระดูก ต้องเรียนรู้และต้องได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นพี่บางครั้งและต้องได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นพี่บางครั้งเด็กรุ่นใหม่อาจมองว่าการนำเสนอข่าวประเด็นได้ เรตติ้งดี แต่ผู้มีประสบการณืจะมองเห็นผลกระทบในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นในสังคม จึงต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างสำหรับความคิดเห็นที่แตกต่าง และการส่งเสริมบุคลากรทุกระดับได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่”
ฟื้น “Journalism” วิเคราะห์เจาะลึก
ส่วนยุทธศาสตร์ระยะยาว ฉายกล่าวว่า เนชั่น กรุ๊ป จะมุ่งฟื้นความเป็น “Journalism” โดยเฉพาะนำเสนอข่าวเชิงลึกและการวิเคราะห์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ฟื้นคอลัมนิสต์ นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มปัญญาชน เพราะเชื่อตามที่มีวิเคราะห์ว่า “ยุคทอง” ของวารสารศาสตร์คุณภาพ หรือที่เรียกว่า “Renaissance of Journalism” จะกลับมาอีกครั้ง ท่ามกลางข้อมูลในโซเชียลมีเดียที่ล้นทะลัก และ AI ที่ไม่สามารถวิเคราะห์อนาคตหรือให้ข้อมูลเชิงลึกได้เหมือนนักข่าวมืออาชีพ
“การเป็นนักข่าวไม่ได้เกี่ยวกับอายุ แต่เป็นเรื่องของจิตวิญญาณและความรักในอาชีพ เป็นครีเอทีฟ มีความสร้างสรรค์ที่รู้ลึกรู้จริง มีแหล่งข่าว สามารถวิเคราะห์ได้ ทำให้สังคมได้สิ่งที่โหยหา ถ้าคุณเสนอแต่ข่าวแมส ข่าวสถานการณ์ คุณไม่มีทางสู้โซเชียลมีเดยอละ AI ได้ AI อาจจะบอกได้ว่า ครม. ปี 2544 มีใครบ้าง แต่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าการปรับ ครม. รอบนี้จะเป็นอย่างไร” นี่คือจุดที่นักข่าวต้องใช้ข้อมูลจาก AI มาสนับสนุนการวิเคราะห์ของตัวเอง”
จับมือมหาวิทยาลัยปลูกฝังนักข่าวรุ่นใหม่
ขณะเดียวกัน เนชั่น กรุ๊ป จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะคณะนิเทศศาสตร์ เพื่อปลูกฝังนักข่าวรุ่นใหม่ให้มีจิตวิญญาณสื่อมวลชชนที่มีคุณภาพ โดยเน้นสร้างนักข่าวที่มีความเชี่ยวชาญ มีแหล่งข่าว และสามารถวิเคราะห์เจาะข่าวได้อย่างลึกซึ้ง เต็มไปด้วยจิตวิญญาณและความรักในอาชีพนักข่าวที่รู้ลึกรู้จริง มีแหล่งข่าว สามารถวิเคราะห์ได้ออกมาสู่วงการวิชาชีพเพิ่มอีกด้วย เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ๆ ออกมาสู่วงการ