สื่อวิทยุยังไม่ตายแต่ไม่โต และไม่สิ้นอนาคต…

โดย วรพล กิตติรัตวรางกูร

--

“สื่อวิทยุ” ที่แวดวงวิชาการด้านสื่อสาร มวลชนเรียกกันว่า “สื่อดั้งเดิม” (Traditional Media) ซึ่งอยู่กับสังคมโลกมายาวนาน เป็นอีกหนึ่งสื่อที่น่าสนใจว่าสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมาเป็นอย่างไรและต่อจากนี้จะ เป็นอย่างไร หลังต้องยอมรับว่า คนฟังวิทยุ น้อยลงไปจากเดิมมา

“รัชชพล เหล่าวานิช นักจัดรายการวิทยุแนว news and talk ที่คร่ำหวอดอยู่ ในวงการสื่อวิทยุมายาวนานหลายสิบปี รวมถึงผ่านการทํางานสื่อมาหลายแขนง เช่น ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรรายการข่าว ทางสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น” โดยปัจจุบัน จัดรายการข่าวทางวิทยุหลักๆ คือ “สนาม ข่าว 96" ทางคลื่น FM 96 เป็นต้นเล่าถึงสถานการณ์ของสื่อวิทยุ-รายการข่าวทางวิทยุในปัจจุบันปี 2568 ที่เขาให้คําจํากัดความไว้ว่า “สื่อวิทยุยังไม่ตาย แต่ไม่โต ไม่มีอนาคต แต่ก็ไม่สิ้น อนาคต” ว่า น่าจะเป็นปีที่ยากลําบากอีกหนึ่งปีของกลุ่มคนฟังวิทยุ เนื่องจากปัจจุบันมีสื่อใหม่ที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ คนทํางานมากกว่าวิทยุเยอะ เช่น TikTok Youtube Podcast และสํานักข่าวออนไลน์ปัจจุบันส่วนใหญ่ก็ทํารายการข่าวในแพลตฟอร์มโวเชียลมีเดียของตัวเอง

ปัจจุบันคนฟังวิทยุ มี 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มคนที่ฟังรายการวิทยุที่บ้านพักอาศัยส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มคนสูงวัย เป็นกลุ่ม Baby Boomer กลุ่ม Gen X ขณะที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ ไปฟัง Podcast และคนฟังวิทยุอีกกลุ่มหนึ่งก็คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่-คนวัยทํางาน ที่ยังฟังรายการวิทยุอยู่แต่ฟังบนรถยนต์ส่วนบุคคล ที่ถือเป็นกลุ่มคนฟังหลัก อีกกลุ่มหนึ่ง ที่ยังฟังวิทยุอยู่ รวมถึงกลุ่มคน ขับแท็กซี่

กลุ่มคนฟังวิทยุ ก็มีทั้งติดตามข่าวสารและฟังรายการเพลง รายการกีฬา จะเห็นได้ว่ากลุ่มคนฟังวิทยุค่อนข้างมีจำกัด ไม่ขยายตัวไม่สามารถเติบโตได้ในแง่ของคนฟังวิทยุ

สื่อวิทยุปรับตัวให้อยู่รอด

“รัชชพล เล่าถึงการปรับตัวของ “คนทํา สื่อวิทยุ” เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดต่อไปว่า คนทําวิทยุปัจจุบัน ทําทุกวิถีทางเพื่อจะขยายฐานคนดูคนฟังให้ขยายออกไป เช่นที่เห็นกันปัจจุบันที่นอกจากเผยแพร่ทางวิทยุแล้ว ก็จะมีการนำเสนอผ่านแพลตฟอร์ม เฟซบุ๊กไลฟ์ ยูทูบไลฟ์ ประกอบไปด้วยเพื่อจะดึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาติดตาม จะได้ขายฐานคนฟังคนติดตามออกไปให้มากขึ้น ทำให้ช่วงสองปีที่ผ่านมารายการวิทยุเกือบทั้งหมด จะมีการถ่ายทอดผ่านเฟซบุ๊กและยูทูบไปพร้อมๆ กัน แต่ก็มีความจำกัดตรงที่การเข้าถึงเฟซบุ๊ก ปัจจุบันค่อนข้างจะปิดกั้นทำให้ไม่ค่อยขยายตัวได้มากเท่าที่ควร อย่างสมมุติเราอยากให้มีคนฟัง คนติดตาม คนเข้ามากดไลค์ กดแชร์ เพื่อให้กลุ่มเพื่อนฝูงได้เข้ามาร่วมติดตาม แต่พอเฟซบุ๊กปิดกั้นมันก็ไปยากอีก ทำให้รายการวิทยุส่วนหนึ่งเน้นไปที่การไลฟ์ผ่านยูทูบ รวมถึงมีหลายแห่ง ใช้วิธีการตัดคลิปในรายการไปเผยแพร่ผ่านช่องทาง TikTok Instagram

แต่มันก็เป็นอะไรที่ยากลำบาก เพราะการเช่าเวลาสถานีวิทยุเพื่อจัดรายการวิทยุ มันเป็นต้นทุนใหญ่ของการผลิต แม้ราคาค่าเช่าเวลาสถานีเพื่อจัดรายการวิทยุปัจจุบันราคาจะลดลงจากก่อนหน้านี้ แต่ว่ามันยังเป็นโดยที่การหาสปอนเซอร์เพื่อมาคัฟเวอร์รายการ ทั้งต้นทุนสําคัญของการผลิตรายการ ค่าจัดรายการที่ให้กับผู้จัดรายการ ก็ทําให้สถานีวิทยุหลายสถานีพบว่าการจะมาเช่าเวลาของสถานีแบบเหมาทั้งคลื่นหลายกลุ่มต้องถอยไป สู้ไม่ไหว คนที่ยังพอหาได้ ก็คือคนที่มีความสามารถทางการตลาดที่จะหาสปอนเซอร์มาแบ็กอัพทําให้ปี 2568 ยังคงเป็นปีที่ยังคงเหนื่อยต่อไป เหนื่อยแล้วเหนื่อยอีก

แต่หากถามคนที่อยู่ในวงการสื่อวิทยุว่าบนธุรกิจวิทยุที่ก็ไม่ได้มีกําไรมากมายแต่ทําไมยังทํากันอยู่ ซึ่งเราก็ไม่ได้อยากพูดแบบโอ่ตัวเอง แต่มันก็เป็นจิตวิญญาณของคนทําสื่อ คนที่อยู่ตรงนี้มานานแล้วก็ยังอยากจะทํา ตราบเท่าที่คนก็ยังฟังเรา คือ “ทําด้วยใจ” ผมเชื่อว่าหลายคนที่อยู่ในวงการสื่อวิทยุ ส่วนใหญ่ทําด้วยใจ เพราะเป็นสิ่งที่ทําแล้ว ไม่มีทางทําให้ร่ำรวยขึ้นมาได้ แต่ทําด้วยใจ เอาแค่พอประคับประคองไปได้ก็เก่งแล้ว 

อย่างผมเองที่ทําอยู่ตอนนี้ หากหวังจะพึ่งรายได้จากการจัดรายการวิทยุอย่างเดียว ก็อยู่ไม่ได้แน่ ก็ต้องทําอย่างอื่นด้วย ทําสํานักข่าวออนไลน์ เป็นที่ปรึกษาอะไรต่างๆ แต่ที่ยังทํารายการวิทยุอยู่ ก็เพราะเราชอบตรงนี้ เรามีความสุขกับการทํารายการวิทยุการนําเสนอต่างๆ ซึ่งคิดว่าเป็นบทบาทที่พอจะวิเคราะห์หรือชี้นําสังคมในบางจุดที่เราคิดว่า มันจะเป็นปัญหา เพราะรายการวิทยุที่ผมจัด ไม่ได้แค่มาอ่านข่าวว่าใครทําอะไร ที่ไหน เมื่อใด แต่เน้นที่จะวิเคราะห์ว่า ข่าวที่เกิดขึ้นปรากฏการณ์ที่จะเกิดต่อจากนั้นมันจะเกิดอะไร หรือว่ามีอินไซด์ของเรื่องราวในแต่ละข่าวอย่างไร

“รัชชพล” บอกเล่าเรื่องราวคนทําสื่อ วิทยุไว้อีกว่า คนที่ทําวิทยุตอนนี้จริงๆ ที่เหลืออยู่ ส่วนใหญ่ คือคนที่ต้องการจะทําในสิ่งนี้จริงๆ ไม่ได้หมายถึงตัวผมคนเดียว แต่หมายถึงคนส่วนใหญ่ที่ยังทํารายการทอล์ค เกี่ยวกับข่าวทางวิทยุ ก็ทําด้วยจิตวิญญาณมากกว่าที่จะไปหวังรายได้ หวังอะไรต่างๆ ด้วยความเป็นสื่อที่ทําให้เขายังอยู่ตรงนี้กัน ผมยังมีความเชื่อว่าสื่อต้องนําหน้าที่แบบนี้ เพราะปัจจุบันหากไปดูรายการทางโทรทัศน์หรือรายการข่าวของสํานักข่าวต่างๆ อย่างข่าวทีวี ข่าวการเมือง ก็นําเสนอกันน้อยมาก ส่วนใหญ่ก็ไปเล่นอาชญากรรม ข่าว แนว human interest เสียส่วนใหญ่ ซึ่งบางเรื่อง เราก็รู้สึกว่ามันมีความสําคัญที่จะต้องให้น้ำหนักกับเรื่องบางเรื่องขนาดนั้น บางข่าวเล่นกันทีเป็นชั่วโมง จนต้องคิดว่า สารัตถะที่คนติดตามสื่อ สุดท้ายเขาจะได้ อะไร โดยที่เราไม่ได้เห็นปัญหาใหญ่ๆ ของสังคม ของชาติว่าควรต้องแก้ตรงไหน เรากําลังหลงทิศหลงทางอะไรกันอยู่หรือไม่ ซึ่งมันยังเป็นบทบาทที่ต้องสะท้อนสิ่งเหล่านี้ออกมา

ภาพรวมของวงการวิทยุ มันแค่พอไปได้ หากดูจากรายการวิทยุส่วนใหญ่ แม้แต่อย่างคลื่นในเครือข่ายของ อสมท.คือ 96.5 และ 100.5 หรือบางรายการที่เช่าเวลาจัดรายการจากสถานีวิทยุต่างๆ รายได้ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากสปอนเซอร์ แต่ต้องทํากิจกรรมเสริม สารพัดรูปแบบ

อย่างรายการที่ผมจัด ผมบอกกับคนฟังว่าหากอยากให้รายการอยู่ต่อก็อยากให้ช่วยlนับสนุนซื้อผลิตภัณฑ์บางอย่างที่ทำออกมา เช่น เสื้อยืด กระเป๋า เพื่อให้รายการอยู่ได้หรือบางคลื่น ก็ใช้วิธีจัด meeting หรือจัดกิจกรรมพาไปเที่ยว พาไปดูบอล (ต่างประเทศ) หรือจัดสัมมนา ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อหาเม็ดเงินหารายได้มาหล่อเลี้ยงตัวเองให้รายการไปต่อได้ ที่สะท้อนให้เห็นว่ารายได้จากสปอนเซอร์ไม่เข้ามาแบบที่พอเลี้ยงตัวเองได้ เพราะสปอนเซอร์ส่วนใหญ่ เขาก็อาจมองว่าวิทยุเป็นสื่อที่ตายไปแล้วในความเห็นของเขาเลยไม่เอาเม็ดเงินมาใส่ในรายการวิทยุเหมือนสมัยก่อน ก็ไปทางมีเดียอื่นหมด โดยเฉพาะมีเดียพวกออนไลน์ หรือสำนักข่าวต่างๆ ทำให้เม็ดเงินโฆษณาไม่สามารถหล่อเลี้ยงผู้จัดการรายการได้แล้ว ณ วันนี้ อย่างบางคลื่น ก็มีการลดค่าจัดรายการของผู้จัดรายการบางคนที่อาจเป็นคนมีชื่อเสียงก็อาจมีรายได้ที่โอเคในระดับหนึ่ง แต่ค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ก็แค่พอประคับประคอง ไม่ได้เป็นรายได้หลัก ต้องมีรายได้เสริมทางอื่น แม้แต่คลื่นกีฬา ที่เราเข้าใจกันว่าคนฟังเยอะ เท่าที่ผมทราบ ก็มีการขอลดค่าจัดรายการ

“คิดว่าปีนี้ก็อาจคล้ายกับปี 2567 คืออาจมีบางคลื่นที่ไปต่อไม่ไหว หรือต้องลดผู้จัดการ สื่อวิทยุยังไม่ถึงกับตาย แต่ว่าก็อยู่แบบผีดิบ อยู่แบบไม่โต ก็อาจพอประคองอยู่กันได้ แต่หากไม่ไหว ก็ต้องล้มหายตายจากไป แต่คนที่ทำส่วนใหญ่ก็ยังรักที่จะทำกันอยู่ เขาก็พยายามประคับประคอง เพราะสื่อวิทยุ เป็นสื่อที่ใกล้ชิดคนฟังในระดับหนึ่ง”

เมื่อถามถึงว่า วงการสื่อวิทยุ มีแนวโน้มที่จะมีผู้เล่นหน้าใหม่ หรือบริษัทที่ทำธุรกิจสื่อขยายไลน์เข้ามาทำธุรกิจสื่อวิทยุหรือไม่ “รัชชพล”ผู้คร่ำหวอดในวงการสื่อวิทยุ” ฟันธงทันที “ไม่น่าจะมี” พร้อมกับให้เหตุผลว่า เพราะอย่างที่กล่าวข้างต้น วิทยุเป็นสื่อเก่า ที่ไม่ค่อยมีคนสนใจ จึงไม่มีหน้าใหม่กระโดดเข้ามา การจะมีหน้าใหม่ เขาต้องเห็นว่า  มันมีอนาคตหรือมีแนวโน้มทางธุรกิจที่เจะสร้าง value ได้ แต่อย่างที่เห็นกัน นาทีนี้ มันยังมองไม่เห็นคือเป็นสื่อเสริมได้ สำหรับในบางกรณี เพราะที่เป็นอยู่คือ วิทยุคือสื่อหลักของคนทำทำวิทยุเดิมแล้วไปต่อยอดด้วยสื่อใหม่ๆ อื่นเพื่อขยายฐานคนฟัง แต่สื่อใหม่ที่จะกระโดเข้ามาในสื่อวิทยุ เขาคงไม่เลือกที่จะเข้ามา เพราะมันก็มีต้นทุนต่างๆ มากมายเช่นค่าเช่าเวลาสถานี

…อีกทั้งสื่อวิทยุก็มีข้อจำกัดโดยตัววิทยุเองคือ เรื่องรัศมีการส่งสัญญาณ อันนี้หมายถึงสื่อวิทยุโดยตรง ที่ไม่ได้พูดถึงออนไลน์อย่างคลื่นFM ก็มีรัศมีจำกัดคือก็อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไม่ได้ฟังกันได้ทั้งประเทศ ทำให้ถูกตีกรอบคนฟังอยู่ในกลุ่มกรุงเทพฯ ปริมณฑล ทำให้สปอนเซอร์มองว่าไม่คุ้มที่จะลงโฆษณา โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับไปลงโฆษณาในสื่อออนไลน์ ที่ติดตามกันทั้งประเทศและทั้งโลกเลย เลยทำให้สื่อวิทยุจึงต้องดิ้นรนไปที่แพลตฟอร์มออนไลน์ด้วยเพื่อทำให้ฐานคนฟังขยายตัวออกจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล

“สื่อวิทยุยังไม่ตาย แต่ไม่โต ไม่มีอนาคตแต่ก็ไม่สิ้นอนาคต” คือบทสรุปสุดท้ายหลังเราถามว่า สื่อวิทยุตายหรือยัง และ “โก้-รัชชพล” บอกกับเราในตอนท้าย

---