พร้อมไหม? ดีเดย์ 1ก.ค.65 “ถอดแมสก์” เข้าสู่โหมดโควิดเป็นประจำถิ่น

1 กรกฎาคม 2565 นี้ ประเทศไทยดีเดย์เข้าสู่โหมด “โควิดเป็นโรคประจำถิ่น” ทั้งนี้กว่า 2 ปีที่ผ่านมาทุกคนเคยชิน กับการ "สวมหน้ากากอนามัย" และปฏิบัติตัวตามคำสั่ง ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) อย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความมั่นใจ ให้แก่ตัวเองครอบครัวและสังคม

จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง และนันทพร ทาวะระ นักจัดรายการ ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พูดคุยใน “รายการช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ในประเด็น "พร้อมไหม? นับถอยหลังสู่โควิดเป็นโรคประจำถิ่น" ว่า

แม้ ศบค.ชุดใหญ่จะมีมติเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.65 ไฟเขียว ให้ถอดหน้ากากอนามัย หรือ ถอดแมสก์ กำหนดดีเดย์ออกมาแล้วคือวันที่ 1 ก.ค. 65 แต่มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกังวล เพราะจำนวนผู้ฉีดวัคซีน เข็มกระตุ้นยังไม่ถึง 60% ขณะที่ยังไม่มียารักษาโควิดได้ 100% และมองว่าการสวมหน้ากากอนามัย ถือเป็นการป้องกันพื้นฐานที่ทุกคนควรปฏิบัติ และสามารถป้องกันโรคอื่นได้ด้วย

แต่ทั้งนี้ เมื่อดู​ประกาศคำสั่ง ศบค.ให้ดี พบว่า ก่อนหน้านี้คำสั่งเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัยเคยใช้คำว่า “ต้องสวมหน้ากากอนามัย” เปลี่ยนมาเป็นใช้คำว่า “ควรสวมหน้ากากอนามัย” แทน ทำให้ทุกคนต้องประเมิน ความเสี่ยงด้วยตัวเอง

และมีเงื่อนไข บางข้อ คือ กลุ่ม 608 หรือกลุ่มผู้สูงอายุและ7โรคเรื้อรัง ที่ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ควรสวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่น , ผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสเสียงสูง ให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่น

​สถานที่ภายนอกอาคารที่โล่งแจ้ง ให้สวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่ร่วมกับคนอื่น ไม่สามารถเว้นระยะห่าง เพราะรวมกลุ่มกับคนจำนวนมาก การระบายอากาศไม่ดี มีความแออัด , สถานที่ภายในอาคาร ให้สวมหน้ากากอนามัย แต่ถอดหน้ากากอนามัยได้ กรณีอยู่คนเดียว หากอยู่ร่วมกับคนอื่น แต่ไม่ได้พักอาศัยที่เดียวกัน ต้องเว้นระยะห่างไม่รวมกลุ่ม

บางอาชีพที่จำเป็นในการเลิกสวมหน้ากากอนามัย เช่น ผู้ประกาศข่าว นักแสดง ต้องเปิดหน้า หลายคนก็ตื่นเต้น ที่จะได้กลับมาเห็นหน้ากันอีกครั้ง แต่ต้องดำเนินรายการด้วยความระมัดระวัง ฉีดวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ เว้นระยะห่าง ตรวจ ATK ก่อนเข้าพื้นที่ถ่ายทำทุกครั้ง หากถ่ายทำต่อเนื่อง ก็ต้องตรวจซ้ำทุก 5-7 วัน เมื่อกิจกรรมนั้นเสร็จ ควรสวมหน้ากากอนามัยทันที

​นอกจากนี้มติศบค. ยังมีการปรับพื้นที่สีเขียว 77 จังหวัดทั่วประเทศ ให้บริโภคสุราในร้านอาหาร ผับ บาร์ สถานบันเทิงเปิดได้ถึงเที่ยงคืน แต่มีข้อเสนอขอขยายให้ถคงตี 2 ได้หรือไม่ ก็มีข้อเสนอและพูดคุยในศบค. เกี่ยวกับกฎหมายที่ต้องนำไปปลดล็อค หารือในประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับสถานบันเทิง การบริโภคเครื่องดื่มสุรา เชื่อมโยงกันอยู่ กับคำสั่งห้ามร้านสะดวกซื้อ ขายแอลกอฮอลล์หลังเที่ยงคืน

ขณะที่การเดินทางเข้าประเทศไทย มีการยกเลิก Thailand Pass ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่เดินทางเข้าประเทศ ยกเลิกการตรวจวัดไข้อุณหภูมิ แต่ต้องแสดงเอกสารการฉีดวัคซีนครบโดส หรือผลตรวจโควิด-19 ซึ่งเจ้าหน้าที่สายการบินจะสุ่มตรวจ ขณะผู้ให้บริการบนเครื่องบิน ยังต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเช่นกัน

เช็คลิสต์อุปกรณ์ป้องกันโควิด ต้นทุนชีวิตที่กำลังจะบอกลา

​สำหรับอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ที่จำเป็นต้องใช้ ช่วงสถานการณ์แพร่ระบาด ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลัก ที่สอดแทรกเข้ามา ในชีวิตประจำวัน และกำลังจะถูกบอกลา ในเร็ววันนี้ คือ

“หน้ากากอนามัย” ช่วงระบาดแรกๆ ถือเป็นปัญหาระดับโลก จนรัฐบาลต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ตรวจสอบการจำหน่ายและควบคุมราคา เพราะเคยสูงถึง 3 ชิ้น 100 บาท แถมยังมีพวกหัวใส นำหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว มาหลอกขายแบบรียูส หรือกักตุนไว้จำนวนมาก แล้วนำมาปล่อยขายในช่วงขาดแคน

​“ชุดตรวจ ATK” ที่ราคาเคยแพงถึง 89 บาทและหายาก ถูกจำกัดการซื้อ เป็นปัญหาที่องค์การอาหารและยา (อย.) ต้องออกมาตรฐานรับรอง ปัจจุบันราคา 39 บาท แทบจะไม่มีใครซื้อแล้ว

“เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว” ตรวจหาค่าออกซิเจนในร่างกาย จำเป็นต้องซื้อมาไว้เพื่ออุ่นใจ

“เครื่องวัดไข้ รูปแบบต่างๆ” ที่กำลังจะใช้น้อยลง

​“ถุงมือพลาสติกใส” เพราะก่อนหน้านี้ต้องจับสิ่งของ หรือจุดสัมผัสต่างๆ

“ชุดป้องกันต่างๆและเครื่องวัดความดัน” บางจังหวัดเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ไม่เพียวพอทั่วถึง ประชาชนที่ติดเชื้อ จึงต้องมีอุปกรณ์พื้นฐาน วัดร่างกายตัวเองและส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ เพื่อจัดยาและ "Update ข้อมูลอุณหภูมิทางระบบออนไลน์

​“วัคซีนป้องกันโควิด” ต้องเสียเงินจับจองกันข้ามปี ควักกระเป๋าจ่ายราคา 1,500 -1,600 บาท สุดท้ายบางคนก็ขายสิทธิ์จอง ขณะที่ปัจจุบันโรงพยาบาลรัฐต่างๆ มีครบทุกยี่ห้อแล้ว หรือสามารถ Walk-in ที่ศูนย์วัคซีนกลางบางซื่อได้เลย มีให้เลือกทุกยี่ห้อ

“อุปกรณ์ทำความสะอาดต่างๆ” ทุกคนต้องมีพกติดตัวและที่บ้าน เช่น สบู่ เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ สเปย์ ฯลฯ มีราคาแพงมากในช่วงที่โควิดระบาดใหม่ๆ

​ “ประกันโควิด” ได้รับความนิยมล้านหลาม ในช่วงที่โควิดระบาดใหม่ๆ สุดท้ายบางรายไม่ได้รับเงินประกัน เพราะไม่ได้อ่านเงื่อนไขกรมธรรม์อย่างถี่ถ้วน จนเป็นที่มาของการ ไปร้องเรียนที่สำนักงานคปภ.จำนวนมาก

คงต้องรอดูว่า 1 ก.ค.นี้ บรรยากาศประเทศจะเป็นอย่างไรในวันที่คนไทยหลายคนคงเลิกสวมหน้ากากอนามัย นักข่าวคงออกไปถ่ายภาพการถอดแมสก์ ครั้งแรกของประเทศไทย คงได้เห็นกันเต็มหน้าสื่อแน่นอน

ติดตาม “รายการช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น.โดยความร่วมมือของ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และคลื่นข่าว MCOT News FM 100.5