โครงการมองจีนยุคใหม่รุ่น6 ศึกษาดูงานChongqing Planning Exhibition จากเฉินตูเป็นเมืองฉงชิ่ง

วันที่ 29 ตุลาคม 2568 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นำผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “มองจีนยุคใหม่ “มองจีนยุคใหม่ สิ่งที่สื่อไทยควรรู้” ครั้งที่ 6 ศึกษาดูงานที่ Chongqing Planning Exhibition ที่จัดแสดงความเป็นมาของเมือง ย้อนไปเมื่อปี 1997 เมืองฉงชิ่ง แยกมาจากเฉินตู เป็น ‘เทศบาลนคร’ ขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง
.
โดยเริ่มจากการพัฒนาเมืองให้เป็นศูนย์กลางกระจายความเจริญของจีนในพื้นที่ตะวันตก-ตอนกลาง โดยมีทางออก 4 ทิศทาง อิงตาม ‘เส้นทางสายไหม’ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของจีน โดยมีจุดเชื่อมสำคัญคือ ‘แม่น้ำแยงซีเกียง’ ผ่านเมืองฉงชิ่ง 600 กิโลเมตร 18 เขต ซึ่งเมืองฉงชิ่งเป็นเมืองที่เป็นภูเขา 6 ใน 8 ส่วน

ส่วน ‘ฉงชิ่ง’ เมืองภูเขา ‘น้ำท่วม’ หรือไม่ ? ได้รับคำตอบว่า มีน้ำท่วม เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา (ปี2020) มีน้ำท่วมสูง แต่บางพื้นที่น้ำท่วมทุกปีตามธรรมชาติ

ทั้งนี้เมืองฉงชิ่งแบ่งเป็น 38 เขต แบ่ง 3 โซน ได้แก่ เขตเมือง เขตเมืองท่า เขตที่พักอาศัย แต่มีการแบ่งเมืองย่อยอื่นๆ เช่น เมืองแห่งนวัตกรรม ที่เป็นโซนการศึกษา-วิจัย และโซนราชการ เป็นต้น
.
‘เมืองฉงชิ่ง’ มีรางรถไฟมากที่สุด 2,000 กิโลเมตร มีรถไฟ 12 สาย และได้มีการตั้งเป้าปี 2035 จะมีทั้งหมด 24 สาย
.
ด้วยภูมิประเทศที่เป็นภูเขาพื้นที่ทับซ้อนกัน จึงเป็นเมืองแห่งสะพาน ที่นับจากสะพานโบราณจนถึงปัจจุบันมีประมาณ 20,000 สะพาน เช่น สะพาน 8 ทิศ ซ้อนกัน 5 ชั้น ใช้เวลาหลายเดือนในการทำ Map ผ่านดาวเทียม ทำระบบ GPS นำทาง
.
สำหรับเมืองฉงชิ่งเคยเป็นอดีตเมืองหลวงเก่าในยุค ‘เจียง ไค เช็ก’ ที่เคยย้ายเมืองหลวงมาที่ฉงชิ่ง
.
ในทางประวัติศาสตร์เมืองฉงชิ่งขุดพบซากไดโนเสาร์ จนมีการกล่าวว่า สร้างบนกระดุกสันหลังของไดโนเสาร์ ในอดีตมีชนเผ่าชื่อ Tong Zhi Xiu ที่มีรากวัฒนธรรมยาวนาน หนึ่งในมรดกสำคัญคือคือ ‘ไหมปัก’ เป็นรูปภาพต่างๆ

รวมทั้งงานแกะสลักหินต้าจู๋ (da zu shi ke) และเครื่องปั้นดินเผา rong chang tao qi ที่ใช้ ‘พืชท้องถิ่น’ ในการเผา ทำให้สีแดงแบบพุทธา บางแบบกระดาษ และสว่างเหมือนกระจก
.
หากย้อนอดีตจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญของเมืองฉงชิ่ง ในการพัฒนา ‘สิ่งปลูกสร้าง’ ยุคต่างๆ ตั้งแต่บ้านยุคโบราณ จุดสำคัญอยู่ที่เมื่อ ค.ศ.1964 รัฐบาลกลางได้จัดทำแผนพัฒนาเมืองฉงชิ่ง ผ่านโครงสร้างพื้นฐานขนส่งทางอุตสาหกรรม สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่-ทันสมัย ได้เกิดขึ้น เช่น ศาลาประชาชน สนามกีฬา เป็นต้น

โดยเฉพาะ “โครงการ 816” เมื่อปี 1966 มีการสร้างถ้ำใต้ภูเขาขนาดใหญ่ เป็นฐานทัพทางทหาร โดยมีอุโมงค์หลักและรอง ความยาวรวม 25 กิโลเมตร และพื้นที่ก่อสร้างรวม 104,000 ตารางเมตร ปัจจุบันเป็น ‘สถานที่ท่องเที่ยว’

เขียนโดย : ปรัชญา นงนุช