คู่มือประกอบการอบรมtrainning for trainner

เอกสารประกอบการอบรม trainning for trainner
วิทยากรจากประเทศแคนนาดา
Madelaine  Drohan
Bernard  Simon
แปลโดย ปรางทิพย์  ดาวเรือง

การวางจังหวะการฝึกอบรม

(การป้องกันไม่ให้นักเรียนเบื่อ)

การที่เรารู้ว่าจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ได้ดีนั้นเป็นเรื่องหนึ่ง แต่การจะสอนให้คนอื่นให้เรียนรู้สิ่งนี้ ด้วยวิธีการสนุกสนานและน่าสนใจก้เป็นอีกเรื่อง หัวใจสำคัญของการป้องกันความน่าเบื่อหน่ายก็คือ ผู้ฝึกสอนต้องไม่ใช้วิธีการบรรยายเพียงอย่างเดียว ในทางตรงข้าม พยายามให้มีช่วงที่บรรยายนานๆ ให้น้อยที่สุด

ตัวอย่างข้างล่างนี้เป็นเทคนิคต่างๆ ที่สามารถเลือกมาใช้ในการอบรมได้โดย ผู้ฝึกสอน แต่ละคนก็อาจมีวิธีอื่นๆ อีกตามที่จะคิดค้นได้ เวลาที่ท่านวางรายละเอียดการสอนในแต่ละหัวข้อ อย่าลืมคิดถึงเทคนิคการสอน ของการอบรม พยายามกระจายเทคนิคที่สนุกสนานให้อยู่ในการฝึกอบรมตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อไม่ให้นักเรียนมีเวลาที่จะเบื่อหน่าย

เกมและสถานการณ์จำลอง แทนที่ท่านจะใช้วิธีบรรยาย เรื่องการเสนอหัวข้อข่าวต่อ บรรณาธิการ ทำไมไม่ใช้วิธีการแบบสถานการณ์จำลองในการสอนโดยให้ผู้ฝึกอบรมเล่นบทเป็นนักข่าว และผู้ฝึกสอน เป็นบรรณาธิการ หรือแทนที่จะใช้วิธีการบรรยาย เรื่องเทคนิคการสัมภาษณ์ ท่านอาจสร้างสถานการณ์จำลองให้นักข่าวได้สัมภาษณ์บุคคลสมมุติที่เป็นนักการเมือง หรือนักกีฬาชื่อดัง  นอกจากนั้นถ้าหากผู้รับการอบรมยังไม่รู้จักกันดี การเล่นเกมที่ทำให้แต่ละคนได้พูดคุยทำความคุ้ยเคยต่อกันก็จะเป็นประโยชน์มาก สิ่งที่สำคัญในการเตรียมเกมประกอบการอบรมคือ ท่านจะต้องทดลองเล่นอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อนนำมาใช้จริง เพื่อจะรู้ล่วงหน้าว่าเกมนั้นจะคลี่คลายไปอย่างไร ที่สำคัญกว่านั้นคือ ท่านจะต้องรู้ว่าเกมนั้น จะสื่อความหมายหลักๆ อะไร ที่เป็นเรื่องของเนื้อหาที่ท่านต้องการให้นักเรียนจดจำ

การนำเสนอผ่านรูปภาพหรือ เสียง ไม่ว่าท่านจะหน้าตาดีเพียงใด ถ้าหากนักเรียนมองแต่ตัวท่านนานๆ สักพักหนึ่งก็ย่อมจะเบื่อหน่าย ดังนั้นท่านควรจะหาทางเลือกด้านสายตาให้เขาเหล่านั้น  ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาพยนตร์  ข่าวโทรทัศน์  ข่าววิทยุ  หรือนำเสนอโดยใช้โปรแกรมพาวเวอร์พ้อยท์   เช่นท่านอาจใช้ข่าวโทรทัศน์เป็นตัวนำในการแลกเปลี่ยนเรื่อง  แหล่งข่าวของข่าวนั้นๆ หรือเปิดเสียงข่าววิทยุในการสอนเรื่องเทคนิคการสัมภาษณ์ วิธีการเหล่านี้สามารถคิดค้านได้อย่างกว้างขวางโดยอาศัยจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ของท่านเอง

วิทยากรรับเชิญ การเชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยายระหว่างการอบรมจะช่วยเพิ่มเนื้อหาของการอบรมให้แน่นขึ้น นอกจากนั้นท่านยังอาจใช้ช่วงถามตอบหลังการบรรยายในการฝึกเทคนิคการสัมภาษณ์ หรือให้นักเรียนเขียนข่าวสั้นจากการบรรยายนั้นในการฝึกหัดเทคนิคการเขียน

การทำงานกลุ่ม ผู้ฝึกสอนไม่จำเป็นต้องคิดว่าตนเองจะต้องเป็นผู้ดำเนินการการอบรมให้ทุกหัวข้อบางครั้ง ผู้ฝึกสอนอาจแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มเพื่อทำแบบฝึกหัดเทคนิคนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้ ผู้ฝึกสอนได้พักเท่านั้น แต่ยังทำให้นักเรียนได้เรียนรู้จากกันและกัน แต่ในการทำเช่นนี้ ผู้ฝึกสอน ต้องให้เวลาที่พอเพียงในการทำงานกลุ่ม

การพูดคุยแลกเปลี่ยน การเปิดโอกาสให้ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันเป็นเรื่องที่มีประโยชน์อาจเป็นเรื่องอะไรก็ได้ที่นักเรียนยังข้องใจอยู่ หรือ อาจเป็นเรื่องปัญหาที่นักข่าวประสบร่วมกันหรือแลกเปลี่ยน เพื่อขอความเห็นจากกลุ่ม  แต่ท่านต้องเตรียมเวลาให้เพียงพอด้วย

การออกนอกสถานที่ การเปลี่ยนสถานที่เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะรักษาระดับความสนใจของนักเรียนท่านอาจจะส่งพวกเขาออกไปทอลองทำข่าว หรือหาเพียงหัวข้อข่าวที่น่าสนใจก็ได้ การออกนอกสถานที่อาจใช้ ได้กับแบบฝึกหัดเรื่องการสังเกตการณ์ ที่ให้นักเรียนออกไปข้างนอกแล้วกลับมา รายงานว่า ได้สังเกตเห็นอะไรบ้าง อย่าลืมเตรียมการเรื่องเวลาและยานพาหนะให้พร้อม

สุดท้าย ถ้าท่านเห็นวิธีการดีๆ จากที่อื่นก็อย่าลืมนำมาประยุกต์ใช้ เป้าหมายของท่านก็คือการทำให้การอบรมสนุกสนานและน่าสนใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

เทคนิคการนำเสนอของผู้ฝึกสอน

ไม่ใช่ทุกคนที่ชอบยืนอยู่หน้าห้องแล้วบรรยายให้คนแปลกหน้าฟัง แต่ท่านต้องจำไว้ว่า ตัวท่านเองนั้นมีสายสัมพันธ์กับนักเรียนของท่านในแง่ที่ว่าทุกคนเป็นักข่าวเหมือนกัน และเมื่อผ่านวันแรกไปแล้ว ก็ไม่มีใครเป็นคนแปลกหน้าของใครอีกต่อไป

นี่คือเคล็ดลับบางอย่างในการนำเสนอของผู้ฝึกสอน

ตระหนักถึงข้ออ่อนของตัวเอง และพยายามหลีกเลี่ยง

ถ้าท่านไม่ชอบพูดมากนัก ให้ใช้วิธีอื่นแล้วพยายามพูดให้น้อย เช่นใช้การแบ่งกลุ่มทำแบบฝึกหัด การนำเสนอโดยใช้ภาพ หรืออื่นๆที่ได้กล่าวมา แต่ถ้าท่านเป็นคนช่างพูด ขอให้ตระหนักในจุดนี้และพยายามรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่เราทำได้ดี และไม่ดีนัก แล้วพยายามปรับใช้สิ่งที่เราถนัดที่สุด

แต่งตัวให้เหมาะสม พยายามตรวจสอบความเหมาะสมด้านการแต่งกายของท่านให้สอดคล้องกันถูกมองว่าไม่ให้เกียรติเขาเหล่านั้น

มีอารมณ์ขัน ในขณะที่เป้าหมายคือการสอน และการเรียนรู้  จงพยายามทำให้วิธีการเป็นเรื่องสนุก ผู้ฝึกสอนที่เคร่งเครียดเกิดไปจะทำให้นักเรียนเบื่อ แต่ถ้าท่านทำตัวสนุกสนานพวกเขาก็จะสนุกสนานด้วย

อย่ายึดติดกับแผนการเกินไป ไม่มีการอบรมใดที่จะเป็นไปตามแผนรอ้ยเปอร์เซ็นต์เต็ม ดังนั้นผู้ฝึกสอน จะต้องมีความยืดหยุ่นพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน ถ้าวิทยากรรับเชิญไม่มาตามนัด  จงนำหัวข้อที่เตรียมไว้ในยามฉุกเฉินมาใช้แทน

สังเกตสภาวะของผู้รับการอบรม ถ้านักเรียนคนใดคนหนึ่งเริ่มสัปปะหงก ท่านจงรู้ว่า ความสนใจของกลุ่มเริ่มถดถอย ท่านอาจให้กลุ่มหยุดพักแล้วเปลี่ยนกิจกรรมเป็นเรื่องที่น่าสนใจตื่นเต้นขึ้น  อย่าพยายามดันทุรังใช้วิธีเดิมต่อไป

เปิดโอกาสให้มีการถาม ไม่ว่าท่านจะแน่ใจว่าทำดีที่ดสุดในแต่ละ session ท่านก็ยังจำเป็นต้องถามในตอนท้ายว่ามีใครมีคำถามบ้าง บางทีท่านอาจจะแปลกใจก็ได้

รู้จักให้คำวิพากษ์ วิจารณ์อย่างเหมาะสม ศิลปะของการเป็นผู้ฝึกสอน (หรือแม้กระทั่ง บรรณาธิการ) ที่ดี ก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องเป็นลบในการให้คำวิจารณ์ผู้รับการอบรม พยายามหาสิ่งที่ดีๆ ที่จะพูดถึงก่อนเวลาท่านวิจารณ์งานส่วนตัวหรืองานกลุ่ม  นักเรียนจะเปิดใจยอมรับมากขึ้นต่อข้อวิจารณ์ด้านบกพร่องที่ตามมา

ท้าทายตัวเอง อย่าใช้วิธีเดิมๆ ในการอบรม ถ้ามีผู้ฝึกสอน หลายคนในการอบรมครั้งหนึ่ง จงพยายามแลกเปลี่ยนหัวข้อกันเพื่อท่านจะได้รู้จักการอบรมให้ครบถ้วนทุกหัวข้อ

เตรียมตัวล่วงหน้า ไม่มีใครอบรมได้โดยไม่เตรียมตัว ท่านต้องแน่ใจว่าท่านรู้ เนี้อหาที่จะอบรมเป็นอย่างดี รู้ว่าจะสอนอะไรผ่านเทคนิคหลากหลายที่นำมาใช้เป็นที่รู้กันในหมู่ทนายว่า  พวกเขาไม่ควรตั้งคำถามในศาลถ้าไม่รู้คำตอบล่วงหน้า  ผู้ฝึกสอนไม่ควรเริ่มการอบรม จนกว่าจะรู้ว่านักเรียนต้องได้อะไรจากการอบรมครั้งนั้นๆ   นอกจากนั้นการเตรียมการล่วงหน้า ยังจะช่อยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ฝึกสอนด้วย

 

T 1-3a

สถานที่

สถานที่ ถึงแม้ว่า ผู้ฝึกสอน มักจะไม่เป็นผู้เลือกสถานที่ในการอบรม ผู้ฝึกสอน จะต้องตรวจสอบเรื่องนี้ ล่วงหน้ากับฝ่ายจัดการ เพื่อให้แน่ใจสถานที่ที่เลือกนั้นเป็นที่ที่เหมาะสมที่สุด

ในการเลือกสถานที่ จะต้องมีการพิจารณารายละเอียดสองประเด็น นั่นคือจุดที่ตั้งของสถานที่นั้นๆ และห้องที่จะใช้ในการอบรม

จุดที่ตั้งของสถานที่ฝึกอบรม การหาจุดที่ตั้งของสถานที่ฝึกอบรมให้ไกลจากตัวเมืองซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของกองบรรณาธิการ เป็นสิ่งที่ควรทำแม้ว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้นักข่าวหลบออกไปทำข่าว หรือถูกบ.ก. สั่งงานกะทันหันได้ แต่ถ้าสถานที่ที่เลือกนั้น เป็นสถานที่สวยงามเช่นรีสอร์ทริมหาดที่อาจทำให้ผู้รับการอบรมวอกแวก  ผู้ฝึกสอนจะต้องจัดตารางการฝึกอบรมให้ผู้รับการอบรมได้มีเวลาชื่นชมกับสถานที่นั้นด้วย  ถ้าหากจำเป็นต้องจัดการอบรมในตัวเมืองที่ผู้รับการอบรมส่วนใหญ่ทำงานอยู่ ผู้ฝึกสอนจะต้องเตรียมตัวรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และวางแผนล่วงหน้าที่จะแก้ปัญหานั้น (ดูเอกสารแจกเรื่อง การจัดการปัญหาผู้ฝึกอบรมหายตัว จากชั้นภายใต้หัวข้อเรื่อง พลวัตรของกลุ่ม)

ห้องที่ใช้ในการอบรม ห้องฝึกอบรมจะต้องเป็นห้องที่ไม่มีเสียงรบกวน มีแสงสว่างเพียงพอและมีโต๊ะเก้าอี้ที่เหมาะสม ห้องที่รกไม่เป็นระเบียบอาจทำให้ผู้รับการอบรมง่วง ในขณะที่ห้องที่มีเสียงรบกวนสามารถทำลายสมาธิของทั้งผู้ฝึกสอน และผู้รับการอบรม ถ้าหากว่า ห้องที่เลือกไว้มีปัญหา ผู้ฝึกสอนจะต้องขอให้ผู้จัดการอบรมหาห้องใหม่ให้

ห้องฝึกอบรมจะต้องอยู่ในจุดที่เหมาะสมสำหรับการพักดื่ม ชา/กาแฟ และห้องน้ำ

T 1-3b

เครื่องมือ

ผู้ฝึกสอน จะต้องตรวจสอบล่วงหน้าว่าอุปกรณ์ที่จำเป็นมีครบถ้วน และมีระบบติดตั้งรองรับในสถานที่ที่เลือกไว้หรือไม่ เช่นถ้าต้องการจะฉายภาพยนตร์จาก DVD ก็ต้องแน่ใจว่ามีเครื่องเล่น DVD เตรียมไว้หรือเปล่า อุปกรณ์ที่จำเป็นในแต่ละการฝึกอบรมนั้นมีแตกต่างกันไป แต่ผู้ฝึกสอนควรจะต้องเตรียมอุปกรณ์พื้นฐานต่อไปนี้

-          ป้ายชื่อ สำหรับติดตัวผู้รับการฝึกอบรม และป้ายชื่อตั้งบนโต๊ะ

-          ฟลิบชาร์จ หรือไวด์บอร์ด และปากกาสำหรับเขียน

-          กระดาษและปากกาสำหรับแจกผู้รับการอบรม

-          เครื่องถ่ายเอกสารสำหรับเอกสารแจกที่จะต้องเตรียมกระทันหัน

-          เครื่องรับโทรทัศน์ และเครื่องเล่น VCR/DVD ในกรณีการฉายภาพยนตร์

-          LCD โปรเจคเตอร์ สำหรับการนำเสนอที่ใช้ โปรแกรมพาวเวอร์พอยท์

-          เครื่องคอมพิวเตอร์ และพรินเตอร์และกระดาษสำหรับผลิตเอกสาร และสำหรับผู้รับการอบรมได้ใช้พิมพ์ในกรณี ต้องทำแบบฝึกหัด (ในกรณีที่เป็นการฝึกอบรมนักข่าววิทยุหรือโทรทัศน์ก็ต้องเตรียมเครื่องมือในการผลิตข่าวที่ต้องออไป)

-          อินเตอร์เน็ต

ผู้ฝึกสอนไม่ควรใช้ไมโครโฟนในการบรรยายยกเว้นในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เพราะไมโครโฟนจะสร้างความห่างเหินระหว่างผู้ฟังกับผู้พูด และอาจทำให้เสียเวลาถ้าหากผู้ถามคำถามมีไมโครโฟนอันเดียว และต้องยื่นให้กันไปมาอย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีผู้บรรยายรับเชิญ ก็ควรเตรียมไมโครโฟนไว้ในกรณีที่มีการร้องขอ

ถ้ามีการออกนอกสถานที่ ผู้ฝึกสอนจะต้องเตรียมการเรื่องยานพาหนะไว้ล่วงหน้า

ถ้าต้องไปจัดการอบรมในสถานที่ที่ท่านไม่คุ้นเคย ผู้ฝึกสอนควรจัดเตรียมอุปกรณ์พื้นฐานสำรองไว้ด้วยตัวเองอีกชุดหนึ่ง  เพื่อเตรียมรับปัญหาเฉพาะหน้า สิ่งที่ควรเตรียมถือป้ายชื่อ กระดาษและปากกา ฟลิปชาร์จ และปากกา สำหรับเขียน เทปสำหรับติดกระดาษกับผนักห้อง  คอมพิวเตอร์ และพรินเตอร์ขนาดเล็ก และเครื่องบันทึกเสียง  ผู้ฝึกสอน ต้องไม่พยายามคิดว่าทุกอย่างจะต้องมีรอบรับไว้แล้วอย่างสมบูรณ์แบบ

T 1-3c

รู้จักนักเรียนของท่าน

การฝึกอบรมที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือการอบรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับการฝึกอบรมได้อย่างตรงจุด  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ผู้ฝึกสอนจะต้องรู้ล่วงหน้าให้มากที่สุดเกี่ยวกับตัวของผู้รับการอฝึกอบรม แต่ละคน  สิ่งที่พวกเขาคาดหวังจากาการฝึกอบรม

วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การให้ผู้รับการฝึกอบรมกรอกแบบสอบถาม โดยมีคำถามพื้นฐานดังนี้ล

  1. ชื่อของผู้รับการอบรม
  2. ชื่อและลักษณะของสื่อที่ตนทำงานอยู่
  3. อายุงานของผู้รับการอบรม
  4. ทำข่าวสายไหน
  5. ความต้องการเฉพาะตัวที่จะเรียนรู้ เรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ
  6. ความคาดหวังต่อการฝึกอบรมครั้งนี้

ถ้าไม่สามารถทำแบบสอบถามล่วงหน้า ผู้ฝึกสอนควรจัดเวลาให้มีการกรอกแบบสอบถามในวันแรกของการฝึกอบรมเพื่อที่จะได้รู้จักผู้รับการอบรมในครั้งนี้ เพราะผู้ฝึกอบรมอาจพบว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการอบรมอย่างกะทันหันเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะตัวของผู้รับการอบรม

การฝึกอบรมจะไม่เป็นประโยชน์เลยถ้าหากผู้ฝึกสอน สอนในสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับผู้รับการอบรม เช่นเอาโปรแกรมที่วางไว้สำหรับนักข่าวที่มีอายุงานสูงมาอบรมนักข่าวใหม่ หรือพยายามสอนเจาะลึกเรื่องการทำข่าวการเมืองให้กับนักข่าวสายธุรกิจ

การรู้จักนักเรียนของท่านล่วงหน้า คือก้าวแรกของความสำเร็จในการฝึกอบรมของท่าน

 

T 1 –4

การวางโครงสร้างการอบรม : การเลือกหัวข้อ

ก้าวแรกของการวางโครงสร้างการอบรมคือ การเลือกหัวข้อต่าง ๆ ที่จะพูดถึง ในกรณีที่ท่านยังไม่รู้จักนักเรียนของท่านดี ท่านอาจจะต้องเลือกหัวข้อต่าง ๆ ในจำนวนที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อที่เมื่อท่านได้พบผู้รับการอบรมแล้ว ท่านจะได้มีตัวเลือกที่เหมาะสมและตัดหัวข้อที่ไม่จำเป็นออกได้ นอกจากนั้นปัจจัยเรื่องเวลาก็เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าท่านมีเวลาอบรมเพียงสามวัน ท่านจะต้องหาจำนวนหัวข้อต่างๆ ที่เหมาะสมสำหรับสามวัน ไม่ใช้ห้าวัน

ในการเลือกหัวข้อที่จะสอนนั้น ถ้าหากท่านเลือกสอนในเรื่องที่มีประสบการณ์อยู่แล้วจะถือเป็นข้อได้เปรียบ แม้กระนั้นก็ตาม ท่านก็ควรถามความเห็นจากเพื่อนนักข่าวหลายๆ คนว่าควรจะมีการพูดถึงประเด็นไหนบ้างแล้วน้ำมาปรับให้เหมาะสมกับการฝึกอบรมนั้นๆ (ตัวอย่างเช่น เมื่อ Madelaine เริ่มออกแบบการอบรมเรื่องการทำข่าวสืบสวนสอบสวน เธอได้ร่างแผนเบื้องแรกขึ้นจากประสบการณ์ของตัวเอง หลังจากนั้นได้ขอความเห็นจากนักข่าวสืบสวนสอบสวนคนอื่น และอาจารย์สอนวิชาหนังสือพิมพ์อีกคนหนึ่ง สุดท้ายก็ปรึกษา trainer ที่จะร่วมอบรมด้วยกัน ในขั้นตอนการปรึกษากับแต่ละคน ก็จะมีการแก้ไขตามมา การแก้ไขแผนการอบรมครั้งสุดท้าย เป็นการปรับให้เข้ากับพื้นฐานของผู้รับการอบรม)

เทคนิคนี้นอกจากจะใช้กับการวางแผน เนื้อหาการอบรมโดยรวมแล้ว ยังควรใช้กับเนื้อหาของแต่ละหัวข้อย่อยของแต่ละวัน trainer จะต้องมีการวางแผนและจดรายละเอียดของสิ่งที่จะต้องพูดภายใต้แต่ละหัวข้อ (Session) แล้วขอความเห็นจากคนอื่น ๆ และสุดท้ายเรียงลำดับประเด็นที่จะพูดก่อนหลัง (ดูเรื่องจังหวะในการนำเสนอ)

การเรียงลำดับก่อนหลังของหัวข้อต่างๆ :

การวางเป้าหมายในการฝึกปฏิบัติสำหรับผู้รับการอบรมจะช่วยให้การอบรมครั้งนั้นๆ น่าสนใจยิ่งขั้น ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายให้ผู้รับการอบรมต้องทำข่าวที่สมบูรณ์ทั้งเรื่อง การหาหัวข้อเรื่องที่น่าสนใจ หรือการวางแผนการรายงานข่าวสืบสวนสอบสวนอย่างต่อเนื่องเป็นชุด เป้าหมายแต่ละอย่างขึ้นอยู่กับกรอบเวลาของการอบรม เช่น ถ้าหากมีเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ อาจไม่เหมาะที่จะวางเป้าให้ผู้รับการอบรมทำข่าวที่สมบูรณ์ทั้งชิ้น แต่เป้าหมายอื่น เซ่น การวางแผนการทำข่าวสืบสวนสอบสวน เพียงอย่างเดียวอาจเป็นจริงกว่า

การวางเป้าหมายทางปฏิบัติเช่นนี้จะช่วยให้ trainer ได้วางโครงสร้างการอบรมได้ดีขึ้น และยังจะช่วยให้ผู้รับการอบรมได้มีสิ่งติดมือติดไม้กลับไปใช้ในการทำงานได้จริง นอกเหนือจากความรู้จากการบรรยาย

เพื่อให้มีความตื่นเต้นมากขึ้น trainer อาจจัดให้มีการประกวดผลงานเพื่อชิงรางวัล เช่น รางวัลข่าวดีเด่น การตั้งหัวข้อเรื่องดีเด่น หรืออื่นๆ โดยธรรมชาติแล้วนักข่าวมักจะมีสัญชาติญาณการแข่งขันสูง วิธีนี้จะสามารถจับความสนใจของผู้รับการอบรมมากขึ้น

เมื่อ trainer มีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วก็เริ่มจัดลำดับก่อนหลังของหัวข้อการอบรมต่างๆ (Session) โดยเริ่มต้นด้วย Session  ที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยากหรือซับซ้อนกว่า เช่น ในการอบรมเรื่องการทำข่าวสืบสวนสอบสวน อาจะให้ Session ที่มีการแลกเปลี่ยนเรื่อง “อะไรคือข่าวสืบสวนสอบสวน” ขึ้นไว้ในตอนต้นสัปดาห์และเอาเรื่องการจัดการกับแหล่งข่าวไว้ตอนหลัง

ท่านต้องจัดเวลาให้พอสำหรับการทำแบบฝึกหัดของผู้รับการอบรมในแต่ละวัน นอกจากนี้ยังต้องให้เวลาแต่ละวันสำหรับผู้รับการอบรมจะเข้าปรึกษาหรือถามคำถามสิ่งนี้จะช่วยให้ท่านสามารถรู้ปัญหาของผู้รับการอบรมได้แต่เนิ่นๆ

เพราะ trainer มักจะไม่มีเวลาพอที่จะพิจารณางานของแต่ละคน การให้แบบฝึกหัดควรทำเป็นกลุ่ม การทำงานกลุ่ม ยังจะช่วยให้ผู้รับการอบรมแต่ละคนเรียนรู้จากกันและกันได้ แต่ก็มีข้อเสียก็คื แต่ละกลุ่มจะทำงานออกมาเพียวชิ้นเดียว และสมาชิกกลุ่มแต่ละคนอาจมีโอกาสกลับไปใช้ไม่เท่ากัน

ไม่ควรจะให้แต่ละ Session ยาวเกินชั่วโมงครึ่งและควรให้มีการพักเป็นระยะๆ

ควรจัดให้มี Session ที่ต้องเคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมช่วงหลังอาหารกลางวัน พยายามอย่าให้มีวิทยากรรับเชิญมาบรรยายในช่วงนี้เพราะผู้รับการอบรมอาจะง่วงเหงาหาวนอนได้

สุดท้าย พยายามหาหัวข้อสำรองที่นำมาใช้ในยามฉุกเฉินไว้ เพราะอาจะมีบาง Session ที่ท่านไม่อาจทำตามแผนเดิมได้ เช่น ผู้รับการอบรมอาจจะรู้เรื่องที่ท่านเตรียมไว้อย่างดีอยู่แล้ว วิทยากรรับเชิญยกเลิกกระทันหัน ในกรณีที่ท่านไม่ได้เตรียมแผนสำรองมาจริงๆ ให้ถามผู้รับการอบรมว่าอยากจะแลกเปลี่ยนเรื่องอะไรเป็นพิเศษ แล้วจัดการตามความต้องการนั้นๆ

 

T 2-4

พลวัตรของกลุ่ม

การอบรมคนเป็นกลุ่มอาจไม่ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มนักข่าวที่มักมีความคิดเห็นตัวของตัวเอง ตัวอย่างข้างล่างนี้เป็นปัญหาของที่อาจเกิดในการฝึกอบรม  และวิธีการแก้ไข

ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ

  1. นักเรียนมาสาย
  2. นักเรียนมา แต่หายตัวไปบางช่วงระหว่างการอบรม
  3. ไม่พยายามมีส่วนร่วม
  4. มีคนผูกขาดการพูดอยู่คนเดียว
  5. นักเรียนคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งชอบขัดจังหวะฃ
  6. เบื่อ
  7. ผู้ฝึกสอนตั้งเป้าไว้สูง หรือต่ำเกินไป
  8. นักเรียนไม่เคารพผู้ฝึกสอนด้วยเหตุผล เรื่องเชื้อชาติ/ สีผิว หรือ เพศยสภาพ
  1. นักเรียนมาสาย

วิธีแก้ปัญหา  ขอให้ผู้รับการอบรมคนอื่นที่ตรงเวลาช่วยปลุกเพื่อนหรือตามเข้าชั้น แต่ผู้ฝึกสอนก็ต้องมีความยืดหยุ่นด้วย  เช่น การมาสายเพียงห้านาทีมไม่ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แต่ถ้าสายครึ่งชั่วโมงถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกลุ่ม ผู้ฝึกสอนบางคนอาจตั้งกฎของการอบรมไว้แต่ต้น (เช่นให้นักเรียนรักษาเวลา หรือ ปิดมือถือ หรือห้ามสูบบุหรี่ในห้องประชุม) แต่ผู้ฝึกสอนบางคนอาจไม่ชอบวิธีนี้ เพราะเห็นว่าเหมือนโรงเรียนมากเกินไป อย่างไรก็ตามถ้ามีนักเรียนคนใดคนหนึ่งมาสายตลอดเวลา  ให้พยายามสอบถามเป็นส่วนตัว หรือพยายามหาสาเหตุของปัญหา

  1. นักเรียนหายตัวระหว่างช่วงการอบรม

พยายามสอบถามหาสาเหตุ เป็นไปได้ว่า บรรณาธิการอาจสั่งงานกระทันหันและนักข่าวต้องไปทำงานนั้น หรืออาจเป็นแค่บางคนหลบไปสูบบุหรี่ ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจใช้มาตรการใดมาตรการหนึ่งจงพยายามหาสาเหตุที่แท้จริงเสียก่อนในกรณีที่ร้ายแรงจริงๆ  ท่านอาจจะต้องเชิญผู้รับการอบรมคนนั้นออกจากการอบรม แต่โดยทั่วไปแล้วจะไม่มีเหตุที่สุดขั้วขนาดนั้นถ้าหากท่านมีโอกาสพูดคุยสอบถาม

  1. ผู้รับการอบรมไม่พยายามมีส่วนร่วม

ปัญหานี้ถือเป็นฝันร้ายของผู้ฝึกสอนเรื่องหนึ่ง ถ้าหากนักเรียนแสดงอาการไม่อยากมีส่วนร่วม ให้เปลี่ยนเป็นกิจกรรมที่นักเรียนต้องแสดงออก เช่น แบ่งกลุ่มทำงานหรือเล่นเกม

  1. ผู้รับการอบรมคนใดคนหนึ่งผูกขาดการพูด

ในการฝึกอบรมทุกครั้งมักจะมีนักเรียนที่พูดมากกว่าคนอื่นๆ วิธีแก้ปัญหาก็คือ ผู้ฝึกสอนอาจโยนคำถามให้คนที่พูดน้อย หรือคนที่ขี้อายแล้วให้เขาได้พูด  หลังจากผ่านไปสักหนึ่งหรือสอง Session กลุ่มที่พูดน้อยก็จะเริ่มออกความเห็นมากขึ้น

5. นักเรียนคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งชอบขัดคดคนอื่น

นี่ก็เป็นปัญหาใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งต้องจัดการอย่างไม่ให้นักเรียนกลุ่มนี้ต้องเสียหน้า ผู้ฝึกสอนจะต้องหลีกเลี่ยงการทำให้เขาต้องอาย วิธีจัดการคือพยายามขอให้เขาช่วยในการทำกิจกรรมหรือโยนคำถามให้ตอบ เพื่อให้เขามีส่วนร่วมในเนื้อหาของการอบรม

6. นักเรียนเบื่อ

ใช้วิธีแบบข้อ 3 คือเปลี่ยนกิจกรรมให้เป็นเรื่องที่ตื่นเต้นน่าสนใจแล้วค่อยกลับไปหาส่วนที่น่าเบื่อภายหลัง หลังจากที่หาจุดอ่อนแล้วปรับเปลี่ยนส่วนนั้น

7. ตั้งเป้าการฝึกอบรมไว้สูงหรือต่ำเกินไป

ถ้ามีนักเรียนที่มีประสบการณ์สูงกว่าคนอื่นก็พยายามให้เขาได้เป็นผู้ช่วยในการอบรม หรือเป็นผู้นำทีมพยายามถามขอคำแนะนำจากคนๆนั้นแล้วให้เขามีส่วนร่วม ถ้ามีนักเรียนที่ประสบการณ์น้อยกว่าคนส่วนใหญ่ในกลุ่มให้พยายามให้สมาชิกบางคนในกลุ่มช่วยเหลือเป็นพี่เลี้ยง ถ้านักเรียนทั้งกลุ่มมีประสบการณ์มาก หรือน้อยกว่าที่ท่านคิดไว้ ให้ปรับระดับการอบรมของท่านขึ้นหรือลงตามสถานการณ์  ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้า

8. ถ้านักเรียนไม่ให้ความเคารพท่าน เพราะเรื่อง เพศ สีผิว หรือศาสนา

พยายามถมช่องว่างด้วยการบอกว่าทุกคนเป็นนักข่าวเหมือนกัน และพบปัญหาเดียวกันบนพื้นฐานนี้

*****************************************************************************

แบบประเมินผล Training the Trainers

22- 24 มีนาคม  2547

โปรดให้คะแนนหัวข้อดังต่อไปนี้ (1= ต่ำสุด – 10 = สูงสุด)

 

เนื้อหา

การวางแผนเตรียมการเพื่อการอบรม

- เรื่องการรู้จักและขอข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนล่วงหน้า

1          2          3          4          5          6          7          8          9          10

- เรื่องสถานที่และเครื่องไม้เครื่องมือ

1          2          3          4          5          6          7          8          9          10

การวางโครงสร้างการอบรม

- การเลือกประเด็นต่างๆ ภายใต้หัวข้อใหญ่ของการอบรมที่ตั้งไว้

1          2          3          4          5          6          7          8          9          10

-จังหวะก้าวของการอบรม(เทคนิคที่ทำให้การอบรมไม่น่าเบื่อ)

1          2          3          4          5          6          7          8          9          10

-ทักษะการสอน (การแต่งตัวที่เหมาะสม การมีอารมณ์ขัน ฯลฯ)

1          2          3          4          5          6          7          8          9          10

-พลวัตรของกลุ่ม (จัดการกับนักเรียนมาสาย ไม่พูด ฯลฯ)

1          2          3          4          5          6          7          8          9          10

-การแบ่งกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนแล้วนำเสนอแผนการอบรมกลุ่ม

1          2          3          4          5          6          7          8          9          10

-การทดลองสอนของแต่ละคน

1          2          3          4          5          6          7          8          9          10

-หัวข้อใหญ่ของการวางแผนการอบรมที่วิทยากรเสนอให้ทั้งสองกลุ่ม

1          2          3          4          5          6          7          8          9          10

-ความหลากหลายของกิจกรรมที่วิทยากรนำมาใช้ในการอบรมครั้งนี้

1          2          3          4          5          6          7          8          9          10

-ระยะเวลาการอบรม (4 วัน) (ถ้าต่ำกว่า 8 ท่านคิดว่าเวลาที่กำหนด สั้นไป ยาวไป)

1          2          3          4          5          6          7          8          9          10

ประสิทธิภาพวิทยากร

Madelaine  Drohan

1          2          3          4          5          6          7          8          9          10

Bernard  Simon

1          2          3          4          5          6          7          8          9          10

ทั่วไป

คะแนนรวมของการอบรม

1          2          3          4          5          6          7          8          9          10

 

ท่านชอบอะไรเกี่ยวกับการอบรมที่สุด

...............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

ท่านชอบอะไรน้อยที่สุด

...............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

.............................................................................................................................................

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะอื่นๆ

...............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

.............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

.............................................................................................................................................