รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๙/๒๕๖๑

รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยสมัยที่ ๑๙/๒๕๖๑

คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๙ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๑ -๔ มีนาคม ๒๕๖๒ ได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานไว้ ๔ ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์หลักที่ ๑ ส่งเสริม พัฒนาวิชาชีพสื่อ ให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาในความเป็นมืออาชีพ รักษาความถูกต้องของเนื้อหาข่าวสาร ยึดมั่นในจริยธรรม ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ส่งเสริมเสรีภาพบนความรับผิดชอบ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิก ให้มีความสามัคคี ได้รับสวัสดิการและการเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาชีพ และ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การบริหารจัดการสมาคมฯ ให้มีประสิทธิภาพในการรองรับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อ

ในปี ๒๕๖๑ คณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ทำหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมตาม

ยุทธศาสตร์ข้างต้น โดยแบ่งออกเป็น ๖ คณะอนุกรรมการ ดังนี้

๑) คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ

๒) คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ

๓) คณะอนุกรรมการฝ่ายสวัสดิการและสมาชิกสัมพันธ์

๔) คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ

๕) คณะกรรมการอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ

๖) คณะกรรมการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ


๑. คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ

ในปี ๒๕๖๑ คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวฯ ดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน โดยนักข่าวจะต้องมีอิสรภาพ เสรีภาพในการทำงาน ไม่ถูกคุกคามแทรกแซงทั้งจากกลุ่มทุน รัฐ และผู้มีอิทธิพล โดยมีกิจกรรมดังนี้

๑.๑ งานรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพ

๑.๑.๑ โครงการวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) เป็นโครงการต่อเนื่องที่จัดขึ้นเป็นประจำ

ทุกวันที่ ๓ พฤษภาคม เนื่องจากเป็นวันที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ ประกาศให้วันที่ ๓ พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก ซึ่งก็คือเสรีภาพในการแสดงออก ตั้งแต่เมื่อปี ๒๕๔๓

ในปี ๒๕๖๑ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดกิจกรรมวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ภายใต้สโลแกน “ปลดล็อกคำสั่ง คสช. คืนเสรีภาพประชาชน” เพื่อสะท้อนสถานการณ์ของประเทศในด้านเสรีภาพ การแสดงความคิดเห็นของประชาชนท่ามกลางบรรยากาศที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ห้วงเวลาของการเลือกตั้งที่มีการบังคับใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ได้รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีการบังคับใช้ประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่จำกัดเสรีภาพอยู่หลายฉบับ โดยเฉพาะประกาศ คสช. ฉบับที่ ๙๗/๒๕๕๗, ประกาศ คสช. ฉบับที่ ๑๐๓/๒๕๕๗ และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ (ข้อ ๕)  โดยกิจกรรมภายในงานมีการกล่าวไว้อาลัยแก่สื่อมวลชนที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ อ่านแถลงการณ์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เสวนา หวั ข้อ “ปลดคำสั่ง ๐.๔ เดินหน้า เสรีภาาพประชาชนและมอบรางวลั ให้กับผู้รับรางวัลการประกวดสโลแกนวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก และมีการรณรงค์เปลี่ยนภาพประจำตัว หรือ ภาพโปรไฟล์ ใน Facebook ที่มีข้อความว่า “ปลดล็อกคำสั่ง คสช. คืนเสรีภาพประชาชน”

๑.๑.๒ สนับสนุนการดำเนินการของสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนด้าน สวัสดิการนักข่าว โดยได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหภาพแรงงานเลขทะเบียนที่ กธ.๑๑๑๔ เมื่อ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ โดยมีนายสุเมธ  สมคะเน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นประธาน

๑.๒ งานส่งเสริมทักษะวิชาชีพข่าว ในปี ๒๕๖๑ คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพสื่อและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ได้จัดการอบรมขึ้น ๒ หลักสูตร

๑.๒.๑ อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การรายงานข่าวในสถานการณ์ความรุนแรงและภัยพิบัติ รุ่น ๙ (Safety Training)”สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การรายงานข่าวในสถานการณ์ ความรุนแรงและภัยพิบัติ” ขึ้นเพื่อให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพ จากสื่อหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์และวิทยุ ได้เรียนรู้เรื่องการทำข่าวอย่างปลอดภัยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง สามารถรายงานข่าวภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย ๑. การเตรียมความพร้อมก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานของทีมข่าว ๒. การบริหารความเสี่ยง ๓. การรายงานข่าวในสถานการณ์อันตราย ๔. ภาษาที่ใช้ในการรายงานข่าวไม่ให้เป็นผู้ขยายข้อความเพิ่มความขัดแย้ง หรือ Hate speech รวมทั้งเป็นผู้ตรวจสอบข่าวลือ ข่าวลวงหรือ Fake news ที่กำลังเป็นปัญหาของโลกออนไลน์ในปัจจุบัน และ ๕. การปฐมพยาบาล จัดระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ - วันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ณ อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จ.สระบุรี มีสื่อมวลชนเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๒๙ คน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย, กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.), บมจ. บางจาก, บมจ.วิริยะประกันภัย, เครือเนชั่น, บริษัท แอลเอสเทคโนโลยี จำกัด รวมทั้งทีมกู้ชีพทางน้ำใจถึงใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน และสถานีโทรทัศน์ PPTV ช่อง ๓๖ ที่นำเสื้อชูชีพของสถานีมาสนับสนุนการอบรมทางน้ำ

๑.๒.๒ อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การใช้ข้อมูลน้ำ -อากาศ เพื่อการรายงานข่าว ถูกต้อง ฉับไว สื่อไทย รู้ทันสถานการณ์น้ำ” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำข้อมูลน้ำ-อากาศของรัฐบาล และหน่วยงานที่ดูแลเว็บไซต์ Thaiwater.net จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การใช้ข้อมูลน้ำ-อากาศ เพื่อการรายงานข่าวถูกต้องฉับไว สื่อไทย รู้ทันสถานการณ์น้ำ” และศึกษาดูงาน ณ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) จัดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๑

๑.๒.๓ กิจกรรมตรวจสุขภาพสื่อมวลชน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย และชมรมเพื่อเพื่อนช่างภาพ ร่วมกับแพทยสภากระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคและกรมสุขภาพจิต และนักเรียนหลักสูตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูงรุ่นที่ ๖ และมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพสื่อมวลชน เมื่อวันเสาร์ ที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๒


๒. คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ

ในปี ๒๕๖๑  คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ แบ่งงานออกเป็น ๕  กลุ่มงาน คือ

๒.๑. ด้านการอบรม สมาคมฯ ได้จัดทำโครงการด้านการฝึกอบรมจำนวน ๔ หลักสูตร คือ

๒.๑.๑ การอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวพิราบน้อยรุ่น ๒๑ เป็นโครงการต่อเนื่องจัดขึ้นเป็นปีที่ ๒๑  ซึ่งหากนับถึงปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมกว่า ๑,๐๐๐ คนแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้านสิ่งพิมพ์  (Professional Development) ความรับผิดชอบต่อจริยธรรมในวิชาชีพ (Ethics Responsibility)  และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะองค์กรเพื่อสังคม (Organizational Social Responsibility) ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสถาบันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักข่าวรุ่นพี่ที่ทำงานทั้งในภาคสนาม และในส่วนของผู้บริหารงานข่าว อันเป็นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการปลูกฝังอุดมคติให้กับนักศึกษาด้วย ในรุ่นที่ ๒๑  มีนักศึกษาที่เรียนด้านหนังสือพิมพ์จากสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมอบรมจำนวน ๔๖  คน จาก  ๒๐  สถาบัน จัดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ –วันอาทิตย์ที่ ๔  พฤศจิกายน  ๒๕๖๑  ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน

ในการอบรมครั้งนี้ได้เพิ่มกระบวนการฝึกฝนนักศึกษาในการเขียนข่าวเพิ่มขึ้นอีกขั้นตอนหนึ่ง โดยนักศึกษาทุกคนจะ ต้องส่งผลงานข่าวเข้าร่วมโครงการ TJA  Cyber Reporter อย่างน้อยคนละ ๒  ชิ้นงาน และจะมีการประกาศผลรางวัลในวันจันทร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๒

๒.๑.๒  การอบรมเชิงปฏิบัติการ วารสารศาสตร์มือถือสำหรับนักข่าว ปี ๒๕๖๑  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการพัฒนาและส่งเสริมให้บุคลากรในวิชาชีพสื่อมวลชน มีความพร้อมรับมือกับบริบทใหม่ของสังคมทั้งในด้านความรู้ทั่วไป และการพัฒนาวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้านสื่อดิจิทัล ตลอดจนเทคนิคการรายงานข่าวโดยใช้อุปกรณ์มือถือ เพื่อให้ผู้สื่อข่าวทำหน้าที่นักสื่อสารมวลชนที่ดีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเป็นการเสริมทักษะที่จะช่วยให้การทำงานของผู้สื่อข่าวในปัจจุบันง่ายขึ้น สะดวกขึ้น จัดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ มิถุนายน  ๒๕๖๑ ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีสื่อมวลชนเข้าร่วมอบรม ๓๖ คน

๒.๑.๓ อบรมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนานักสื่อสารข้อมูลเชิงลึก (Data Journalism Workshop)” โครงการนี้เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้นักวิชาชีพด้านวารสารศาสตร์ นักวิชาการในระดับอุดมศึกษาที่สอนสาขาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ หรือนักวิชาการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือสนใจในการสื่อสารข้อมูลเชิงลึกนี้ เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมอบรมมีโอกาสเรียนรู้ในกลุ่มนักวิชาชีพและนักวิชาการที่มีประสบการณ์ใกล้เคียงกันและสามารถทำงานกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะด้านการสื่อสารข้อมูลเชิงลึกสำหรับผู้ที่มีความสนใจแต่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน   และ  มุ่งให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้ในระดับต้น และสามาถนำไปต่อยอดเชิงวิชาชีพ เพื่อพัฒนาไปสู่การเสนอข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ในระดับสูงได้ต่อไป จัดขึ้นระหว่างวันศุกร์ที่ ๒๕ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๗ มกราคม  ๒๕๖๒  ศูนย์ฝึกอบรมดีแทค อาคารจามจุรีสแควร์ กรุงเทพมหานคร มีสื่อมวลชนเข้าร่วมอบรม ๒๕คน และนักวิชาการเข้าร่วมสังเกตุการณ์ ๑๑ คน ได้รับการสนับสนุนโครงการจาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

๒.๑.๔ อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้โปรแกรม Spredsheet สำหรับสื่อสารข้อมูลเชิงลึก  มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะด้านการสื่อสารข้อมูลเชิงลึก และมุ่งให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้ในระดับต้น และสามาถนำไปต่อยอดเชิงวิชาชีพ เพื่อพัฒนาไปสู่การเสนอข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ในระดับสูงได้ต่อไป จะจัดในวันเสาร์ที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๒ มีสื่อมวลชนเข้าร่วมการอบรม ๒๐ คน ได้รับการสนับสนุนโครงการจาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

๒.๒ กลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ ได้มีการจัดทำโครงการในกลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ จำนวน ๓ กิจกรรม ดังนี้

๒.๒.๑ ราชดำเนินเสวนา เป็นโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๒๐  ซึ่งเป็นความริเริ่มจากสมัยที่นายกวี จงกิจถาวร เป็นนายก สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๒) มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการทำงานข่าวให้มีคุณภาพและอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง  โดยมีการเชิญแหล่งข่าวมาพบปะพูดคุยและตอบคำถามนักข่าว เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างนักข่าวกับแหล่งข่าวในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในปี พ.ศ.  ๒๕๖๑  ได้จัดราชดำเนินเสวนาไปจำนวน ๕  ครั้ง สามารถติดตามเนื้อหาราชดำเนินเสวนาได้ที่ www.tja.or.th

๑. ราชดำเนินเสวนา หัวข้อ "องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญบทบาทและความท้าทายทางการเมือง"  วันอาทิตย์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๑

๒. ราชดำเนินเสวนา หัวข้อ"ทางออกโทษประหารกับ ปัญหากระบวนการยุติธรรม" วันอาทิตย์ที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๑

๓.ราชดำเนินเสวนา หัวข้อ"เตรียมความพร้อม ทำข่าวเลือกตั้ง ๖๒" วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๑

๔.  ราชดำเนินเสวนา หัวข้อ“อันตรายกฎหมายไซเบอร์...?” วันศุกร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๑

๕. ราชดำเนินเสวนา หัวข้อ "ปลดล็อกสื่อมวลชน คืนเสรีภาพประชาชน เดินหน้าสู่ประชาธิปไตย"วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๑

๒.๒.๒. รายการวิทยุช่วยกันคิดทิศทางข่าว เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กับสำนักข่าวไทยและบริษัท อสมท. จำกัด มหาชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท.  FM ๑๐๐.๕ Mhz ทุกวันอาทิตย์เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐น. เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักข่าวรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯ รวมทั้งเป็นเวทีในการสื่อสารเรื่องราวที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนให้สาธารณชนได้ รับทราบ รวมทั้งการวิเคราะห์ถึงทิศทางข่าวในสัปดาห์ต่อไป โดยเน้นความหลากหลายของประเด็นข่าว ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และอื่นๆที่เป็นประเด็นร้อนในขณะนั้น

สำหรับนักจัดรายการประจำปี  ๒๕๖๑ มีจำนวน ๑๑ คนคือ ๑. นายมงคล  บางประภา ๒.นายวสวัตต์ โอดทวี ๓.นายจีรพงษ์  ประเสริฐพลกรัง ๔.นางสาวดารากาญจน์  ทองลิ่ม ๕.นายสิทธิชน  กลิ่มหอมอ่อน ๖.นายธนัชพงศ์  คงสาย           ๗.นางสาวพิมพ์นารา  ประดับวิทย์   ๘.นางสาวนันทพร  ทาวะระ   ๙.นายบัญชา  จันทร์สมบูรณ์ ๑๐.นางสาวดารินทร์  หอวัฒนกุล  ๑๑.นางสาวรัชดาภรณ์  ม่วงทำ    ติดตามฟังรายการวิทยุย้อนหลังได้ที่  www.tja.or.th

๒.๒.๓ www.tja.or.th เป็นเวบไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข่าวสารต่างๆ ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรม,รายงานกิจกรรม,กฎหมายที่เกี่ยวข้อง,ประวัติความ เป็นมา จุดยืนและท่าทีของสมาคมฯต่อสถานการณ์ต่างๆของบ้านเมือง รวมทั้งการบันทึกผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ  และเป็นชุมชนออนไลน์ของนักวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน ในการแลกเปลี่ยนทัศนะของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน และนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงสื่อสารมวลชน

๒.๒.๔ เพจจุลสารราชดำเนินออนไลน์ https://www.facebook.com/rajdamnernbook/  มีวัถตุประสงค์  เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการข่าว  และวิชาการสื่อมวลชนรวมถึงวิชาชีพสื่อที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน  เพื่อเป็นกลไกสร้างความเข้าใจระหว่าง นักวิชาชีพสื่อ นักวิชาการด้านสื่อและประชาชนผู้บริโภคสื่อ เป็นการตรวจสอบซื่งกันและกัน   เพื่อเผยแพร่กิจกรรมของสมาคม และข่าวสารการปรับตัวของสื่อในประเทศและต่างประเทศ จัดทำโดยทีมงานสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๒.๓ กลุ่มงานหนังสือในปี   ๒๕๖๑  ฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำหนังสือรวม ๑  เล่ม ดังนี้

๒.๓.๑ หนังสือวันนักข่าว  "ทิศทางหลักสูตรนิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์ในภูมิทัศน์ใหม่"  หนังสือวันนักข่าวเป็นหนังสือรายงานประจำปีที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการข่าวและหนังสือพิมพ์  ตลอดจนรายงานกิจกรรมของสมาคม  และทำเนียบรายชื่อนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่เป็นสมาชิกสมาคม  เนื้อหาหลักในปีนี้เน้นเรื่อง  “การปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์ ในปัจจุบัน(ภูมิทัศน์ใหม่)” มีนางสาวน.รินี เรืองหนู เป็นบรรณาธิการ และนายวรพล กิตติรัตวรางกูร เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ มีการแจกจ่ายหนังสือวันนักข่าวถึงมือสมาชิก สมาคมฯ ในวันจันทร์ที่ ๔ มีนาคม  ๒๕๖๒  ซึ่งเป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมฯ

๒.๔. กลุ่มงานเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็น เครือข่ายที่นักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนร่วมกันก่อตั้งขึ้นเพื่อ เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน โดยในปี ๒๕๖๑ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ๑ กิจกรรม  ดังนี้

๒.๔.๑ ประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นเครือข่ายที่นักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนร่วมกันก่อตั้งขึ้นเพื่อ เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างและประสบการณ์ระหว่างด้านวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อสารมวลชน โดยนำเอาประเด็นทางวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่น่าสนใจและมีผลกระทบต่อ ประโยชน์สาธารณะมาแลกเปลี่ยนกัน ภายใต้การจัดสัมมนายุทธศาสตร์วารศาสตร์แห่งอนาคต  โดยในปี ๒๕๖๑ จัด  สัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๑๔  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย คณะทำงานวารสารศาสตร์แห่งอนาคต  และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)   หัวข้อ หัวข้อ “ทางเลือกทางรอดคนสื่อ ยุค ๔.๐”   วันศุกร์ที่ ๑๙  ตุลาคม  ๒๕๖๑    เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๘.๐๐ น. ณ ห้องคอนเวนท์ชั่น ฮอลล์  องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย-ส.ส.ท.(สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส)   ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์  สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย  บริษัท ปตท. จำกัด ( มหาชน )  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จากัด (มหาชน)

๒.๕. กลุ่มงานประกวดข่าว

๒.๕.๑ การประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๖๑  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิอิศรา อมันตกุล ให้ดำเนินการจัดการประกวดข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม รางวัลอิศรา อมันตกุล เพื่อเป็นการรำลึกถึงนายอิศรา อมันตกุล นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรกและนักหนังสือพิมพ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภาย ใต้กรอบจริยธรรม โดยดำเนินการจัดการประกวดมาตั้งแต่ ปี ๒๕๑๕ สำหรับในปี ๒๕๖๑  มีผลงานงานข่าวส่งเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวยอดเยี่ยมจำนวน  ๑๕ ข่าว จากหนังสือพิมพ์  ๗  ฉบับ และส่งผลงานภาพข่าวเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทภาพข่าวยอดเยี่ยมจำนวน   ๔๒  ภาพ จากหนังสือพิมพ์  ๗ ฉบับ

๒.๕.๒ การประกวดรางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๑ ของ ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมฯ ได้มอบหมายให้ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด ข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ซึ่งจัดการประกวดมาตั้งแต่ปี  ๒๕๓๒ สำหรับในปี ๒๕๖๑  มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน ๓  ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๓ ฉบับ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

๒.๕.๓ การประกวดรางวัลพิราบน้อย ประจำปี ๒๕๖๑  เป็นการประกวดผลงานฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีการทำหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ โดยแบ่งการประกวดออกเป็น ๒ รางวัล ๗ ประเภท คือ รางวัลพิราบน้อย ประกอบด้วย  ๑.ประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ๒. ประเภทข่าวฝึกปฏิบัติ ๓.ประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ ๔.ประเภทข่าวออนไลน์ฝึกปฏิบัติ ๕. ประเภทบรรณาธิกรหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ  ๖.ประเภทนิตยสารฝึกปฏิบัติ  และรางวัลริต้า ปาติยะเสวี คือประเภทสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ  เริ่มจัดการประกวดตั้งแต่ปี พ.ศ.   ๒๕๓๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำหนังสือพิมพ์และการทำข่าวของ นิสิตนักศึกษาวิชานิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์  ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันการศึกษา  กับสมาคมฯ    ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน ในปี ๒๕๖๑ มีผลงานส่งเข้าประกวดดังนี้

๑. หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติและบรรณาธิกรหนังสือพิมพ์    จำนวน  ๑๒  ฉบับ  จากสถาบันการศึกษา ๑๑  สถาบัน

๒. นิตยสารฝึกปฏิบัติ        จำนวน  ๕  ฉบับ  จากสถาบันการศึกษา ๕  สถาบัน

๓. สารคดีเชิงข่าว            จำนวน  ๒๐ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๙ ฉบับ สถาบันการศึกษา ๙ สถาบัน

๔. ข่าวฝึกปฎิบัติ             จำนวน  ๒๘ ข่าว จากหนังสือพิมฑ์ ๑๑ ฉบับ สถาบันการศีกษา ๑๑ สถาบัน

๕. ข่าวสิ่งแวดล้อม          จำนวน  ๒๕  ข่าว จากหนังสือพิมพ์  ๑๐ ฉบับ สถาบันการศึกษา  ๑๐ สถาบัน

๖. ข่าวออนไลน์              จำนวน  ๑๕  ข่าว จากสถาบันการศึกษา ๖ สถาบัน


๓ คณะอนุกรรมการฝ่ายสวัสดิการและสมาชิกสัมพันธ์

ในปี ๒๕๖๑ คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แบ่งงานออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ

๓.๑ งานด้านสมาชิกสัมพันธ์

๓.๑ จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพสมาชิก จำนวน ๖ หลักสูตร ดังนี้

๓.๑.๑ หลักสูตรพื้นฐานการทำธุรกิจ โดย ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด จัดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๑

๓.๑.๒ หลักสูตรการทำไลน์สติกเกอร์ โดย คุณธีระพงษ์ เจียมเจริญ General Manager บริษัท บุ๊ค คาเฟ่ จำกัด จัดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๑

๓.๑.๓ หลักสูตรดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง โดย คุณนนทพร เสาธงทอง Sr. Digital Marketing, MEDIA ASSOCIATED CO., LTD. จัดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๑

๓.๑.๔ หลักสูตรการขายออนไลน์ โดย คุณปฏิภาณ เพ็ชร์จุล เจ้าหน้าที่ Online Marketing บริษัท พีเอ็มจี คอปอร์เรชั่น จำกัด จัดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๑

๓.๑.๕ หลักสูตรการถ่ายทอดสอดออนไลน์ โดย คุณยุทธนา จันทวงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด จัดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๑

๓.๑.๖ หลักสูตรกาแฟสร้างอาชีพ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับบมจ.ซีพีออลล์ และบริษัท รีเทลลิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด จัดอบรมหลักสูตร “กาแฟสร้างอาชีพ เพื่อสังคมและชุมชน” ให้แก่สื่อมวลชนผู้สนใจ ที่ บริษัท ซีพีรีเทลลิงค์ จำกัด เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ มีสื่อมวลชนเข้าร่วม ๕๐ คน

๓.๒ งานด้านสวัสดิการสมาชิก

๓.๒.๑ ทุนการศึกษา สมาคมฯ ได้มอบทุนการศึกษาให้กับบุตร-ธิดา สมาชิก โดยแบ่งทุนการศึกษาออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑) ทุนส่งเสริมการศึกษา เป็นการให้ทุนแบบรายปี โดยใช้งบประมาณจากกองทุนการศึกษาเพื่อบุตร-ธิดา สมาชิกสมาคมฯ มีผู้ได้รับการอนุมัติทุนการศึกษาจำนวน ๙๖ ทุน ทุนละ ๔,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๓๘๔,๐๐๐ บาท มีการจัดพิธีมอบเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๑ และ ๒) ทุนต่อเนื่อง เป็นทุนที่มอบให้แบบต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-ระดับปริญญาตรี โดยได้รับการอนุเคราะห์ทุนการศึกษาจากมูลนิธิเอสซีจี ปีละ ๑๐ ทุน ต่อเนื่องเป็นปีที่ ๑๑ ปัจจุบันมีผู้รับทุนแล้ว ๑๑๔ คน (ปี ๒๕๖๐ ได้รับการสนับสนุน ๑๕ ทุน)

๓.๒.๒ การมอบสินไหมมรณกรรมและการร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรมศพ สมาคมฯได้จัดทำประกันชีวิตกลุ่ม ให้กับสมาชิกที่ชำระเงินค่าบำรุงประจำปีกับ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด


๔. คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ

ในปี ๒๕๖๑ คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แบ่งงานออกเป็น ๓ กลุ่มงาน คือ

๔.๑ กลุ่มงานสร้างเครือข่ายวิชาชีพต่างประเทศ

๔.๑.๑ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนเวียดนาม-ไทย Mr.Nguyen Be, Vice Chairman of Vietnam Journalists Association รองประธานสมาคมนักหนังสือพิมพ์เวียดนาม (Vietnam Journalists Association) เป็นหัวหน้าคณะนำคณะสื่อมวลชนจำนวน ๘ คน จากประเทศเวียดนามมาเยือนไทย วันจันทร์ที่ ๑๒-วันอาทิตย์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนเวียดนาม-ไทย เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๕๗

๔.๑.๒ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-จีน มงคล บางประภา อุปนายกฝ่ายบริหารและเลขาธิการสมาคมฯ เป็นหัวหน้าคณะนำผู้แทนจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจำนวน ๖ คน ไปเยือนสาธารณรัฐประชนชนจีน ตามคำเชิญของสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งสาธารณรัฐประชนชนจีน (All China Journalists Association-ACJA) ระหว่างวันเสาร์ที่๒๐-วันศุกร์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๑ โดยไปเยือนปักกิ่ง และชิงเต่าโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-จีน เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๒

๔.๑.๓ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-กัมพูชา นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นำคณะสื่อมวลชน เดินทางเยือนราชอาณาจักรกัมพูชา ตามคำเชิญของ สมาคมนักข่าวกัมพูชา (Club of Cambodian Journalists) ในโครงการความร่วมมือแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนไทย-กัมพูชา ระหว่างวันพุธที่ ๗-วันอาทิตย์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัทคาราบาวตะวันแดง จำกัด และได้รับการสนับสนุนบัตรโดยสารเครื่องบินจากสายการบินบางกอกแอร์เวย์  โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-จีน เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๗

๔.๑.๔ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนลาว-ไทย HE. Mr. Savankhone RAZMOUNTRY, President of Lao Journalists Association-LJA, Vice-Minister of Information, Culture and Tourism of Lao PDR (ท่านสะหวันคอน ราดซะมนตรี  รองรัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรมและท่องเที่ยว) เป็นหัวหน้าคณะนำผู้แทนสื่อมวลชนลาวรวมจำนวน ๘ มาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันพุธที่ ๕-วันอังคารที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนลาว-ไทย เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๓๐

๔.๑.๕ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-เมียนมา นางสาวกรชนก รักษาเสรี อุปนายกสมาคมนักข่าว

นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและรองบรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ นำคณะสื่อมวลชน เดินทางเยือนสหภาพเมียนมาตามคำเชิญของ Myanmar Journalists Association ในโครงการความร่วมมือแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนไทย-เมียนมาซึ่งเป็นคณะที่ ๒ ของโครงการฯ ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๑๗-วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ โดยได้รับความสนับสนุนจากเครือเอสซีจี บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และได้รับการสนับสนุนบัตรโดยสารจากสายการบินไทยแอร์เอเชียโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-เมียนมา เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๕๖

๔.๒ ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนนานาชาติ

๔.๒.๑ Southeast Asian Press Alliance (SEAPA)

๑) ผู้แทนสมาคมฯ ใน SEAPA Board of Trustees สมาคมฯ ได้แต่งตั้งนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และที่ปรึกษาสมาคมฯ เป็นผู้แทนสมาคมฯ ใน SEAPA Board of Trustees ในฐานะที่สมาคมฯ ซึ่งเป็นสมาชิกก่อตั้ง SEAPA ได้รับการเลือกตั้งจากองค์กรสมาชิกในการประชุมใหญ่สามัญ เมื่อปี ๒๕๖๑ ให้เข้าไปดำรงตำแหน่งในSEAPA Board

๔.๒.๒ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (Confederation of Thai Journalists) นายปราเมศ เล็กเพ็ชร์  นายกสมาคมฯ ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๑ให้เป็นประธานสมาพันธ์ฯ ต่อจากนายเทพชัย หย่อง ซึ่งหมดวาระในการดำรงตำแหน่ง โดยมีนายมงคล บางประภา เลขาธิการสมาคมฯ เป็นเลขาธิการสมาพันธ์

๔.๓. กลุ่มงานพัฒนาศักยภาพนักข่าว ในปี ๒๕๖๐ คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ได้จัดการอบรมขึ้น ๑หลักสูตร

๔.๓.๑ โครงการมองจีนยุคใหม่ ความท้าทายที่สื่อไทยต้องรู้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย ได้จัดทำโครงการมองจีนยุคใหม่ ความท้าทายที่สื่อไทยต้องรู้ ขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๐-วันอาทิตย์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. ให้ข้อมูลสื่อมวลชนไทยเพื่อทำความรู้จักและเข้าใจจีนในยุคใหม่ในมิติต่างๆ อันจะนำไปสู่การรายงานข่าวสารเกี่ยวกับสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนรอบด้าน ๒. เสริมสร้างกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนไทยและสื่อมวลชนรวมทั้งหน่วยงานต่างๆ จากสาธารณรัฐประชาชนจีน และ ๓. เพื่อให้เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกันกับสื่อมวลชนไทยและสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐกิจกรรมในหลักสูตรประกอบด้วย ๑. เวทีสาธารณะ (public forum) การเสวนาเพื่อความเข้าใจและรู้จักจีนในยุคใหม่ ๒. การจัดบรรยายให้ความรู้เป็นวงปิดเฉพาะสื่อมวลชนผู้เข้าร่วมโครงการ และ ๓. การเดินทางไปดูงานที่สาธารณรัฐประชาชนจีน (กวางโจวและเสิ่นเจิ้น) มีสื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๒๐ คน

๕. คณะกรรมการอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ

ในปี ๒๕๖๑ คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นการประสานความรว่ มมือกับองค์กรวิชาชีพสื่อและกิจกรรมที่ประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ดังนี้

๕.๑ งานด้านการระดมทุน

๕.๑.๑ ดินเนอร์ทอล์ค สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดงานดินเนอร์ทอล์คขึ้นเป็นประจำในวันที่ ๕ มีนาคมของทุกปีมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ งานดินเนอร์ทอล์คประจำปี ๒๕๖๑ จัดเมื่อวันจันทร์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๑ ณ ห้องวอเตอร์เกทบอลรูม ชั้น ๖ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท มีการปาฐกถา “ปฏิรูปกฎหมาย จุดเปลี่ยนประเทศไทย” โดยดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี

๕.๑.๒ หนังสือวันนักข่าว สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดทำหนังสือวันนักข่าว ซึ่งเป็นหนังสือรายงานประจำปีเผยแพร่ทุกวันที่ ๔ มีนาคม นอกจากจะเป็นการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมฯ แล้ว ยังได้รวบรวมผลการประกวดข่าวประเภทต่างๆ ของสมาคมฯ เอาไว้ด้วย สมาคมฯ ได้มอบหมายให้บริษัท นักทุ่งเที่ยว จำกัด เป็นผู้ดำเนินการการจัดหาโฆษณา

๕.๑.๓ การเขียนโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งสมาคมฯได้ยื่นเสนอขอรับงบประมาณไปในวงเงิน ๙ ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการพิจารณาผลอนุมัติ

๕.๒ งานด้านการบริหารจัดการ

๕.๒.๑ การปรับโครงสร้างในการบริหารงานสมาคมฯ ให้มีตำแหน่ง “ผู้อำนวยการสมาคมฯ” เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลและสมาคม ดูแลสวัสดิการและพัฒนาสมาชิก และหาทุน โดยแต่งตั้ง ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๕.๒.๒ การบริหารบัญชีเงินฝาก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีกองทุนต่างๆ อยู่จำนวน ๕ กองทุนประกอบด้วย ๑. กองทุน ๖๐ ปี สมาคม ๒. กองทุนเพื่อสิทธิเสรีภาพสื่อ ๓. กองทุนเหยี่ยวปีกหัก ๔. กองทุนการศึกษาบุตรธิดานักข่าว และ ๕. กองทุนเงินสะสมพนักงาน เพื่อให้มีรายได้เพิ่มเติมจากแต่ละกองทุน จึงได้มีการบริหารกองทุน โดยการจัดสรรงบประมาณไปซื้อสลากออมสินและลงทุนในกองทุนเปิด บลจ.ธนชาติ จำนวน ๙ ล้านบาท

รวมทั้งได้บริจาคเงินกองทุนส่งเสริมจรรณยาบรรณซึ่งมีจำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท ให้กับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลและส่งเสริมจริยธรรมสื่อมวลชนโดยตรง

๕.๒.๓ ปรับปรุงระบบบัญชีสมาคมฯ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างสำนักงานเอ็นแอนด์เคการบัญชีและตรวจสอบ วางระบบบัญชีและจัดทำบัญชีของสมาคมฯ เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารงานเป็นปีที่สอง

๕.๓ สัมมนายุทธศาสตร์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดสัมมนายุทธศาสตร์ ประจำปี ๒๕๖๑ โดยมีคณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานจากสมาคมฯ ร่วมการสัมมนาเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบายและแผนงานต่างๆ ของสมาคมฯ เมื่อวันที่ ๑๙-๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ณ ห้องฟ้าคราม นครริมขอบฟ้า เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ

๕.๔ โครงการบริจาคโลหิต สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมการบริจาคโลหิตขึ้นเป็นประจำทุกสามเดือน โดยในปี ๒๕๖๑ จัดเมื่อวันอังคารที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ (ครั้งที่ ๑๐) วันพุธที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๑ (ครั้งที่ ๑๑)  วันอังคารที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ (ครั้งที่ ๑๒) และเมื่อวันอังคารที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ (ครั้งที่ ๑๓) ณ สภากาชาดไทย

ถนนอังรีดูนังต์

๕.๕ อบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานภาษาจีนสำหรับสื่อมวลชน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมจีน ได้จัดทำโครงการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานภาษาจีนสำหรับสื่อมวลชนขึ้น ๒ หลักสูตรประกอบด้วย  ๑. หลักสูตรพื้นฐาน เน้นการอ่าน พูด เรียนทุกบ่ายวันอาทิตย์ และ ๒. หลักสูตรภาษาจีนสนทนาระดับกลาง สำหรับผู้มีพื้นฐาน เรียนทุกเช้าวันอาทิตย์ เริ่มเรียนวันอาทิตย์ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๑ ณ ศูนย์วัฒนธรรมจีน ถนนเทียมร่วมมิตร กรุงเทพฯ