งานเปิดตัวหนังสือ “เมื่อฟ้าหม่นเจดีย์หักที่ปักษ์ใต้”

งานเปิดตัวหนังสือ “เมื่อฟ้าหม่นเจดีย์หักที่ปักษ์ใต้” พิมพ์ ส่งเมล์
วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 2007 14:39น.

งานเปิดตัวหนังสือ “เมื่อฟ้าหม่นเจดีย์หักที่ปักษ์ใต้”

สถาบันอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย


book.jpgงาน เปิดตัวหนังสือ “เมื่อฟ้าหม่นเจดีย์หักที่ปักษ์ใต้” วันพุธที่ 12 กันยายน ศกนี้ ณ ห้องประชุมอิศรา ชั้น 3 อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน เขตดุสิต กทม.

นาง สาวนาตยา เชษฐโชติรส ในฐานะนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้กล่าวต่อประธานเปิดงาน ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ต่อไปนี้คือบางตอนจากคำกล่าวรายงานฯ

“ดิฉันเชื่อว่า ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาของเราทุกคนที่ต้องร่วมกันคิดร่วมกัน แสวงหาแนวทางในการยุติปัญหาโดยสันติวิธี สืบเนื่องจากสถาบันข่าวอิศรามีความตระหนักถึงการคงอยู่ของ “ศูนย์อิศรา” ที่รายงานข่าวอย่างรอบด้าน เปิดพื้นที่ข่าวอื่นที่ไม่ใช่เป็นข่าวความรุนแรง เช่น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนต่างเชื้อชาติศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อทำหน้าที่ในการถ่วงดุลข้อมูลที่ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม ศูนย์ข่าวอิศราจะทำหน้าที่ต่อไปไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะปัญหาด้านงบประมาณในการดำเนินการ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะขาดไม่ได้ ตั้งแต่กำลังคน การพัฒนาบุคคล มีการสื่อแขนงต่างๆ ลงพื้นที่ด้วยตนเอง  ดังนั้น เมื่อคุณวิลพรรณ ปีตธวัชชัย พี่ใหญ่ในวงการสื่อและในสถาบันอิศรา เล็งเห็นความสำคัญถึงเรื่องนี้ และเกรงว่าศูนย์อิศราฯ ซึ่งกำลังประสบปัญหาในเรื่องนี้จะไม่สามารถทำหน้าทีนี้ได้ จึงได้คิดริเริ่มโครงการทำหนังสือ เมื่อฟ้าหม่น เจดีย์หักที่ปักษ์ใต้ เพื่อนำรายได้ทั้งหมดมาสนับสนุนภารกิจของสถาบันข่าวอิศรา ซึ่งเป็นองค์กรสื่อที่ตั้งขึ้นด้วยความรวมมือของสมาคมนักข่าวนักหนังสือ พิมพ์แห่งประเทศไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่พัฒนาบุคลากรในวิชาชีพสื่อ โดยมีสำนักข่าวอิศราทำหน้าที่รายงานข่าวเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ใหญ่ที่กระทบกับบุคคลจำนวนมาก เช่นศูนย์อิศราฯ ที่รายงานข่าวสถานการณ์ในภาคใต้ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และในอนาคตหากมีเหตุการณ์ เช่นภัยพิบัติต่างๆ นักข่าวอิศราก็อาจมีหน้าที่รายงานข่าวเพื่อนำเสนอต่อประชาชน และเปิดโอกาสให้สื่อต่างๆ สามารถนำมาใช้อย่างเต็มที่ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นภารกิจของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในยุค ปฏิรูปสื่อ”

นางนาตยา เชษฐโชติรส กล่าวต่อไปว่า “หนังสือเมือฟ้าหม่นเจดีย์หักที่ปักษ์ใต้” พิมพ์ครั้งแรก 35,000 เล่ม เป็นการคัดเลือกผลงานของนักข่าวหนุ่มสาวในยุคปฏิรูปสื่อของเรา...ศูนย์ข่าว อิศราฯ โดยคุณวิมลพรรณได้คัดเลือกเพียง 30 เรื่อง แล้วนำเนื้อหาข่าวมาเรียบเรียงใหม่ งานนี้ได้รับความกรุณาจาก ฯพณฯ อดีตรองนายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงค์ปรีดิยาธร เทวกุล ที่กรุณาประสานงานกับสมาคมธนาคารไทยให้การสนับสนุนในการจัดพิมพ์ถึงสามหมื่น เล่ม  แล้วอีกหลายพันเล่มที่ขายได้ในวันนี้ เป็นฝีมือการประสานงานของคุณวิมลพรรณ...

"ในโอกาสการเปิดตัวหนังสือ 'เมื่อฟ้าหม่นเจดีย์หักที่ปักษ์ใต้' ในวันนี้ ดิฉันขอขอบคุณบุคคลสำคัญ 2 ท่าน ที่ได้ทำให้หนังสือเล่นนี้สำเร็จอย่างงดงานดังที่ปรากฏ คนแรกคือคุณวิมลพรรณ ซึ่งเพิ่งผ่านพ้นจากโรคเส้นโลหิตในสมองตีบ ซึ่งในตอนนั้นเธอก็ไม่แน่ใจว่าจะกลับมาทำหน้าที่นี้ได้อีก แต่เพราะเธอโชคดีที่ได้หมอที่มีมากความสามารถและคุณธรรมเป็นผู้รักษา ได้รับกำลังใจจากญาติสนิทมิตรสหาย ทำให้อาการของเธอดีขึ้นเป็นลำดับ กล่าวได้ว่าคุณวิลพรรณได้กลับมาทำงานที่เป็นประโยนช์ได้ในครั้งนี้ ก็เพราะฝีมือการรักษาของคุณหมออย่างแท้จริง คุณหมอท่านนั้นคือ พญ.กนกวรรณ บุญญพิสิฏฐ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นประสาน โรงพยาบาลศิริราช  ดิฉันในนามนายกสมาคมนักข่าวและสถาบันอิศรา ขอขอบคุณคุณหมอเป็นอย่างยิ่งที่ช่วยให้บุคลากรคุณภาพได้กลับมาทำงานอีกครั้ง หนึ่ง...

"ปิดท้ายนี้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของเราไม่อาจทิ้ง ภาระให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดปัญหาในพื้นที่เป็นของเราทุกคน ดิฉันหวังว่าสมาคมนักข่าวฯ และสถาบันอิศราจะได้มีโอกาสสร้างผลงานด้วยจิตสำนึกในวิชาชี่พสื่อ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นกับคนไทยทั้ง ประเทศ ดิฉันขอจบด้วยบทกวีของท่านเลขาธิการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คุณประดิษฐ์ เรือนดิษฐ์...

“มีแรงต้องเติมแรง     เพื่อให้แกร่งไม่แกว่งไป
มีใจต้องเติมใจ        เพื่อให้ใจนั้นมั่นคง”

นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธ์ ประธานสถาบันอิศรา  กล่าวถึงความเป็นมาและภารกิจของสถาบันอิศรา ดังนี้

“สถาบัน อิศราเดิมชื่อ สถาบันพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดตั้งอยู่ภายใต้มูลนิธิสถาบันอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสภาการหนังสื่อพิมพ์แห่งชาติ เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านวิชาชีพสื่อมวลชน และส่งเสริมการทำข่าวเชิงสืบสวนและทางด้านวิจัยทางสมาคม ต่อมาสมาคมนักข่าวฯ ได้จัดตั้งเป็น ‘ศูนย์ข่าวอิศรา’ เนื่องจากสถานการณ์ในพื้นที่ (3 จชต.) ได้เกิดความรุนแรง โดยได้รับความร่วมมือจากนักข่าวส่วนกลางและนักข่าวจากภูมิภาคเพื่อรายงาน ข่าวที่เกิดขึ้น โดยมีการรายงานข่าวทางด้านชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และแง่มุมต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นก็ได้มีการยกระดับจากศูนย์ข่าวอิศรามาเป็น ‘สถาบันข่าวอิศรา’ เมื่อดำเนินไประยะหนึ่งทางสมาคมนักข่าวฯ และสภาการหนังสือพิมพ์ รวมทั้งมูลนิธิอิศราเห็นว่า ทั้งสองสถาบันใช้บุคลากรกลุ่มเดียวกัน ก็มีความเห็นให้รวม 2 สถาบันเข้าด้วยกันภายใต้ชื่อใหม่ว่า ‘สถาบันข่าวอิศรา’ โดยมีวัตถุประสงค์หลักก็เช่นเดิม โดยเฉพาะในเรื่องการคงอยู่ของศูนย์อิศรา เนื่องจากสถานการณ์ภาคใต้ยังมีความรุนแรงและไม่มีทีท่าว่าจะยุติลง จึงมีความเห็นว่า เราต้องมีศูนย์อิศราฯ เพื่อที่จะรายงานข่าวอย่างรอบด้านต่อไป

”การดำเนินการของศูนย์อิศรา ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้นจำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในแต่ละปี การที่จะดำเนินการของศูนย์อิศราต่อไปได้ รวมทั้งสถาบันอิศรา มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความสนันสนุนในเรื่องของงบประมาณ การได้รับความสนันสนุนจากสมาคมธนาคารไทยจะทำให้สถาบันอิศราคงอยู่ต่อไปได้ แม้ว่าภารกิจของสถาบันข่าวอิศราจะเป็นเพียงฟันเพืองเล็กๆ แต่ทางสมาคมนักข่าวก็หวังว่าจะมีส่วนช่วยให้สถานการณ์ภาคใต้กลับคืนสู่สันติ สุขโดยเร็ว”

นายแพทย์ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี ได้กล่าวเปิดตัวหนังสือ - “เรื่องปัญหาความรุนแรงที่ภาคใต้ พูดถึงที่สุดแล้วเกิดเพราะคนไทยอ่านหนังสือน้อยจึงไม่เข้าใจเรื่องที่ซับ ซ้อน เมื่อเราไม่เข้าใจเรื่องซับซ้อนเราก็ไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นและจะแก้ปัญหา อย่างไร ผมเองได้พยากรณ์ตั้ง 10 กว่าปีที่แล้วว่า การศึกษาของเราแบบนี้ว่าการนองเลือดกำลังจะเกิดขึ้น เพราะว่าเราศึกษาเราได้แต่ท่องวิชานั้นวิชานี้ไปเรื่อยๆไม่มีเลยที่เราจะ ศึกษาในเรื่องของเพื่อนมนุษย์ เราแทบไม่เข้าใจตัวเองเลย ฉะนั้นเมื่อเราเจอเรื่องซับซ้อนเราก็ไม่เข้าใจ เราก็แก้ปัญหาไม่ได้ แล้วก็จะทะเลาะกันมากขึ้น และก็จะนำไปสู่ความรุนแรง...

“ท่านลองคิด ดูว่า ประชากรในเมืองไทย 63 ล้านคนขายหนังสือได้เพียงสองพันเล่มเท่านั้น นี่เป็นเรื่องใหญ่ที่เรากำลังเคลื่อนไหวที่เรียกว่า ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการอ่าน สมาคมนักข่าวฯได้พยายามทำเรื่องดีๆ อีกเยอะที่ผมได้รู้เห็นและมีส่วนรวมเล็กน้อย การตั้งศูนย์อิศราฯ ที่ภาคใต้ก็ตั้งโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสื่อพิมพ์ฯ เพื่อจะได้รายงานข่าวในรูปแบบพิเศษ เพื่อให้คนไทยรู้ความจริง สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเรารู้ความจริงก็จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ พยายามจะตั้งองค์กรมาทำงานสามเรื่องใหญ่เพื่อที่จะพัฒนาด้านการข่าว...

“ประการ ที่หนึ่ง สะท้อนความจริงในเรื่องที่ซับซ้อนต้องอาศัยความเป็นกลาง อาศัยปัญญา อาศัยความจริง มีคุณภาพ ประการที่สอง การข่าวที่มีการสอบสวนหาข้อเท็จจริงต่างๆ ตัวนี้จะมีพลังในการยับยั้งสิ่งที่ไม่ดีในสังคมได้… การทำข่าวสอบสวนนี้เป็นเรื่องยาก เพราะว่าต้องมีทักษะ ต้องมีความกล้าหาญ ต้องได้รับการซัพพอร์ต (สนับสนุน) เพราะว่าเราอยู่ท่ามกลางสังคมที่มีอำนาจ สมาคมนักข่าวฯ ต้องการทำ www.tjanews.org  เรื่องนี้อยากฝากท่านทั้งหลายไว้ให้ช่วยกันในการทำข่าวของ www.tjanews.org  ของสมาคมนักข่าวฯ ถ้าหากเราทำเรื่องนี้ก็จะหยุดคอร์รัปชั่น ฯลฯ จึงอยากเห็นสังคมภาคส่วนต่างๆ ช่วยกันสนับสนุน www.tjanews.org  มากขึ้น

“ประการ ที่สาม ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ คิดว่า จะทำอย่างไรให้นักข่าวรุ่นใหม่ให้เก่ง... เพราะว่าการข่าวมีความสำคัญเหลือเกิน ทางสมาคมนักข่าวฯ ก็ได้ทดลองรูปแบบต่างๆ เช่นมารวมตัวกันตั้งศูนย์ข่าวอิศรา สภาการหนังสือพิมพ์กับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ตั้งสถาบันข่าวอิศรา จะทำภารกิจสามเรื่องให้ดีขึ้น”

ท่านได้กล่าวถึงหนังสือ “เมื่อฟ้าหม่นเจดีย์หักที่ปักษ์ใต้” ว่าเป็นหนังสือซึ่งรวบรวมข่าวเชิงสารคดีซึ่งรายงานโดยนักข่าวคนหนุ่มสาวรุ่น ใหม่ของสถาบันข่าวอิศราฯ ที่ทำมาจากพื้นที่โดยตรง น่าสังเกตว่ามีลักษณะพิเศษมากกว่าที่จะเป็นเพียงเหตุการณ์ฆ่ารายวันเท่านั้น “นักข่าวเหล่านี้มีลักษณะพิเศษที่หยิบยกเอาความละเอียดอ่อนของความเป็น มนุษย์ ของผู้คนต่างๆ ของคนมุสลิม คนพุทธ ของตำรวจ ของครู ของทุกฝ่าย เอาความละเอียดอ่อน เอาความเป็นมนุษย์ขึ้นมาเล่า มารายงาน มาเข้าไปสู่หัวใจของความเป็นมนุษย์ เพราะว่ามนุษย์ทุกคนนี้มีเมล็ดพันธุ์แห่งความดีอยู่ในหัวใจ...” ราษฎรอาวุโสกล่าว

“ขณะนี้เรายังอยู่ในช่วงคลื่นวิกฤตลูกที่สี่แห่ง รัตนโกสินทร์ คลื่นลูกที่ 1 ตอนสงครามพม่ายกมา 9 ทัพ คลื่นลูกที่ 2 ก็ตอนที่ประเทศมหาอำนาจตะวันตกแผ่อำนาจเข้ามายึดบ้านเล็กเมืองน้อยหมด คลื่นลูกที่ 3 เป็นเรื่องคอมมิวนิสต์ คนไทยเข้าป่าไปเยอะ มีการสู้รบกัน ทั้งสามวิกฤตเราสามารถผ่านไปได้หมด แต่คลื่นลูกที่ 4 ที่เราเจออยู่ในปัจจุบันนี้ เราไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ใครเป็นผู้กระทำ ผมคิดว่าความซับซ้อนนั้น ถ้าเราไม่มีสามารถเข้าใจ เราก็จะไม่สามารถผ่านวิกฤตนั้นไปได้ การจะผ่านความยากไปได้นั้นต้องอาศัยความเป็นกลาง ขบวนการทางปัญญา ศูนย์อิศราฯได้พยายามทำข่าวในลักษณะนั้น ไม่ได้ประณามใคร ไม่ได้ไปด่าใคร เป็นเรื่องที่แปลกมากที่นักข่าวหนุ่มสาวเหล่านี้สามารถไปรายงานเรื่องที่มัน ลึก ที่มันจับใจผู้คน ทำตรงนี้ได้ ซึ่งผมคิดว่าสำคัญมาก...

“สมาคม นักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ เป็นองค์กรของประชาชน เป็นเครื่องมือของประชาชน เราต้องทะนุบำรุงเขาให้สามารถทำเรื่องดีๆ ได้ และหวังว่าหนังสือ ‘เมื่อฟ้าหม่นเจดีย์หักที่ปักษ์ใต้’ เล่มนี้จะสามารถก่อให้เกิดแรงบันดาลใจกับผู้คนทั้งหลายและตัวเองให้สามารถ ผ่านวิกฤตไปได้”

จากนั้นการเสวนาเกี่ยวกับหนังสือ ‘เมื่อฟ้าหม่นเจดีย์หักที่ปักษ์ใต้’ ก็เริ่มขึ้นบนเวทีด้านหน้าห้องประชุมซึ่งจัดอย่างง่ายๆ โดยให้คณะเสวนานั่งบนเก้าอี้โซฟาและพูดคุย ซักถามและไขความกันถึงหนังสือ ผู้ดำเนินรายการวันนี้คืออาจารย์นิตยา มาศะวิสุทธิ์ ที่ใครๆ รู้จักกันดี คนอื่นๆ ก็มี รศ.ดร.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร ซึ่งผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาและนักภาษาไทยรู้จักกันดีและยอมรับความสูง ด้วยคุณวุฒฒิของท่านไม่ต่ำกว่า 30 ปี นักวิชาการอีกท่านหนึ่งซึ่งได้รับเชิญมาเสวนาถึงหนังสือเล่มนี้คือ รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ที่จริงท่านเป็นนักประวัติศาสตร์ซึ่งโด่งดังมาจากงานเรียบเรียงประวัติ ศาสตร์ไทยรบพม่า โดยอาจารย์ได้เปิดมุมมองและทัศนะใหม่ในการมองประวัติศาสตร์คู่สงครามตามประ พณีคู่นี้ จากการใช้ข้อมูลจากทั้งสองฝ่ายมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ในการเรียบเรียงตี ความ  คราวนี้ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า อาจารย์จะตีความหนังสือ 'เมื่อฟ้าหม่นฯ' อย่างไร

อาจารย์นิตยา มาศะวิสุทธิ์ - “ขอบคุณค่ะ คุณวิมลพรรณ หรือติ๋มที่ให้เกียรติดิฉันมาเป็นผู้นำอภิปรายในวันนี้ ที่จริงแล้วผู้ที่ดำเนินการอภิปรายไม่ควรที่จะพูดมาก แต่การที่เชิญให้มาพูดอะไรที่เกี่ยวกับนักข่าว ยิ่งเป็นของคุณติ๋มแล้ว คงเป็นประโยชน์แก่น้องๆ นักข่าว น้องๆ (นักข่าว) ย่อมรู้เกี่ยวกับคุณติ๋มเป็นอย่างดี (ที่จริงนักข่าวหลายคนที่เป็นรุ่นน้องมากๆ ยังไม่ค่อยรู้จักพี่ติ๋มเท่าไหร่ เพราะพี่ติ๋มเป็นนักเขียนประเภทซุ่มเขียนหนังสือวิชาการเล่มเขื่องๆทั้งนั้น ไม่ค่อยปรากฏโฉม จึงตื่นเต้นดีใจที่ได้รู้จักตัวจริงในวันนี้)

“คุณ วิมลพรรณหรือคุณติ๋มผู้ที่เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ ไม่ใช่นักข่าวธรรมดาในสายตาของดิฉัน ดิฉันขอพูดถึงเขาหน่อยที่ว่าไม่เป็นนักข่าวธรรมดา จะขอเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เกี่ยวกับคุณติ๋มหรือติ๋มของดิฉันเท่ารู้จัก กันมา ดิฉันรู้จักกับติ๋มมาหลายสิบปีแล้ว รู้จักกันมาตั้งแต่ติ๋มยังเป็นนักข่าวตัวเล็กๆ อยู่ค่ายสยามรัฐ ตอนนั้นเราก็ไม่รู้ว่าติ๋มเป็นนักข่าวประจำกระทรวงไหน เห็นแต่ว่ามาเดินเตาะแตะอยู่แถวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และก็คุยกับแม่ค้าแถวท่าพระจันทร์ แกก็มาหาข่าวแถวนั้น และก็เป็นที่รักใคร่ของชาวธรรมศาสตร์และชาวท่าพระจันทร์ ติ๋มเขากว้างขวางและเป็นที่คุ้นเคยกับแม่ค้า พวกอาจารย์และนักศึกษา พวกเราพวกอาจารย์จะไม่มีใครรู้จักชื่อวิมลพรรณ แต่รู้จักว่าติ๋ม และพวกแม่ค้าก็เรียกว่าคุณติ๋ม พวกอาจารย์ก็จะเรียกติ๋ม แต่พวกที่สนิทคุ้นเคยกันก็จะเรียกไอ้ติ๋ม ซึ่งอันนี้จริงๆ นะที่เรียกกันว่าไอ้ติ๋ม พวกเราทึ่งในความเป็นนักข่าวมือเปล่าของคุณติ๋มมาก  คือว่าเดินทำข่าวน่ะ คุณติ๋มจะมือเปล่าจริงๆเลย เดินไปตามตลาดท่าพระจันทร์จะไม่มีกระเป๋าเอกสาร ไม่มีอะไรสักชิ้น มีเพียงปากกาประจำตัวติดกระเป๋าอยู่ เพราะฉะนั้นการจดบันทึกข่าวของติ๋มนั้นจะจดบนถุงกระดาษกล้วยแขก หรือว่าถุงผลไม้ ในสมัยนั้นยังใช้ถุงกระดาษค่ะ และถ้าเป็นตอนนี้ยังคิดอยู่ว่า ถ้าติ๋มไปหาข่าวตอนนี้จะเป็นอย่างไร เพราะตอนนี้ใช้ถุงพลาสติกคงทำยาก คนอย่างติ๋มมีความจำเป็นเลิศ และกว้างขวางมากในเรื่องการตั้งคำถาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคม การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ก็เลยสามารถที่จะถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้องชัดเจน มีสีสันและมีชีวิตชีวา...

“มีข่าวหนึ่งที่ติ๋มรายงานที่พวกเราชาว ธรรมศาสตร์จำได้ไม่รู้ลืม ก็คือข่าวสัมภาษณ์แม่สมหมาย ภารโรงหญิงของเรา เกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลา  ติ๋มเขาถามแม่สมหมายว่า ‘เห็นมีอาวุธซ่อนอยู่ในท่อน้ำบ้างไหม’ แม่สมหมายตอบว่า ‘อาวุธที่ไหนกัน เห็นมีแต่หมาแม่ลูกอ่อนออกลูก’ ติ๋มรายงานการสัมภาษณ์อันนี้ไปลงสยามรัฐ และเป็นที่ฮือฮา ก็ทำให้ผ่อนคลายบรรยากาศที่ตึงเครียดในยุค 6 ตุลาได้ เพราะหมาออกลูก...

“ดิฉันขอแถมอีกนิด คือตอนนั้นติ๋มเป็นนักข่าวประจำกระทรวงเกษตร และเผอิญดิฉันไปเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ก็มีปัญหาน้ำเค็มจากนาเกลือเข้ามาทำลายที่สวนไร่นาของชาวบ้าน  ก็เกิดมีปัญหาที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน ในนั้นนักข่าวติ๋มและทีมงานจากกระทรวงเกษตรก็ได้เดินทางไปพร้อมกับท่าน รัฐมนตรี ติ๋มไปมือเปล่าตามเคย หลังจากเสร็จงานแล้วเดินทางกลับมากรุงเทพฯ พอวันรุ่งขึ้นในหน้าสยามรัฐลงข่าวเต็มหน้าเลย เป็นข่าวเรื่องน้ำเค็มบรบือ เป็นข่าวที่ติ๋มเสนอข่าวสารและวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจน คนกระทรวงเกษตรโดยเฉพาะท่านรัฐมนตรีทึ่งมากว่าติ๋มทำได้อย่างไร อันนี้ก็เป็นตัวอย่างเล็กๆ ตรงที่คุณติ๋มเป็นนักข่าวทำมาได้จริงๆและมีความสามารถ ดิฉันเคยพูดกับติ๋มหลายหนว่า ‘น่าเสียดายนะที่ติ๋มเลิกเขียนคอลัมน์แล้ว น่าจะเขียนข่าวและเขียนคอลัมน์ต่อไป จะได้เป็นแม่แบบที่ดีของน้องๆ นักข่าวในปัจจุบันนี้ และพอมาเห็นหนังสือ ‘เมื่อฟ้าหม่นเจดีย์หักฯ’ ก็รู้สึกว่า ถึงแม้ว่าติ๋มจะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ แต่ก็ยังพยายามจะเอาข่าวที่นักข่าวรุ่นน้องรายงานและเอามาเรียบเรียงใหม่ ซึ่งดิฉันแน่ใจว่าจะทำให้เรื่องราวมีสีสันขึ้นและน่าอ่าน ซึ่งจะให้ภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ที่เกิดขึ้น”

วิทยากรท่าน ต่อไปที่อาจารย์นิตยา มาศะวิสุทธิ์แนะนำคือ รศ.ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ อาจารย์นิตยา กล่าวว่า “แทบจะไม่ต้องแนะนำเพราะทุกคนก็คงจะรู้จักกันมาแล้ว ถ้าใครอยากจะไปเที่ยวพม่า หรือใครอยากจะทำอะไรในพม่า ก็ต้องมาหา อ.สุเนตร ท่านเป็นนักประวัติศาสตร์ที่เชี่ยวชาญทางเอเชียศึกษา โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่า ท่านเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ปัจจุบันท่านเป็นผู้อำนวยการสถาบันเอเซียศึกษา ก็เลยอยากจะถามอาจารย์ว่า ความเห็นของอาจารย์ทั่วไปเมื่อเห็นหนังสือ ‘เมื่อฟ้าหม่นเจดีย์หักที่ปักษ์ใต้’ แล้วเป็นอย่างไร”

ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ - “ครับ ขอบพระคุณมากนะครับ สวัสดีครับท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมคิดว่าประเด็นแรกที่ผมจะกล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ นอกเหนือจากทั้งความชื่นชม ต่อผลงานชิ้นนี้ที่ออกมา เดี๋ยวจะคุยว่าทำไมถึงชื่นชมตื่นเต้นกับความรู้ที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่ม นี้ ทำให้ได้ความรู้รอบด้านเกี่ยวกับเรื่องของภาคใต้ และเรื่องที่ไม่คิดว่าจะทราบก็ทราบ ได้อารมณ์สะเทือนใจ และขณะเดียวกันก็ทำให้มองภาคใต้อย่างมีความหวัง ซึ่งแต่ก่อนนั้นไม่เคยได้มองภาคใต้ในมุมมองอย่างนี้มาก่อน ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้มีความสำคัญในชั้นต้นสูง คือต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาคใต้ในปัจจุบันที่เราได้รับ มันจะเป็นข้อมูลด้านใดด้านหนึ่งเสมอ ข้อมูลถ้าไม่ให้โดยภาครัฐ จากมุมมองหนึ่ง ข้อมูลเฉพาะด้านหนึ่งอาจจะเน้นความเร้าใจ ความน่าตื่นเต้นของคนทำข่าว ส่วนใหญ่ที่จะเห็นพาดหัวหนังสือพิมพ์ไม่เว้นแต่ละวัน หรือข้อมูลของคนในพื้นที่จริง อย่างเช่นแผ่นปลิว อะไรต่ออะไรต่างๆ ของผู้ที่เคลื่อนไหว ผู้ก่อความไม่สงบ นั่นก็เป็นข้อมูลอีกข้อมูลหนึ่ง ในลักษณะหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากภาคส่วนไหนก็ตามที  ที่มันถาโถมเข้ามาสู่สังคมไทยอยู่ในขณะนี้ มันเป็นข้อมูลด้านหนึ่งด้านใดเสมอ มันไม่มีข้อมูลที่ถูกให้ด้วยความพยายามที่จะสร้างดุลยภาพในการเสนอข่าว
ผม คิดว่าคุณูปการที่สำคัญประการแรกของหนังสือ ‘เมื่อฟ้าหม่นเจดีย์หักที่ปักษ์ใต้’ ก็คือว่า ผู้ที่เสนอข่าวมีสำนึกของการนำเสนอข่าวที่เห็นถึงความสำคัญของการที่จะรักษา ดุลยภาพ

“ประการแรกเลยคือ ด้านของเนื้อหาสาระ ถ้าท่านเปิดอ่านข่าวท่านจะไม่ได้เห็นเนื้อหาเฉพาะของไทยพุทธ แต่ท่านจะเห็นเรื่องของมุสลิมคู่ขนานด้วย ถ้าท่านได้ภาพของภาครัฐ บุคคลที่เป็นตัวแทนของภาครัฐที่ออกมาให้ข้อมูล ออกมาแบ่งปันประสบการณ์ ท่านก็จะได้ข้อมูลของภาคประชาชนคู่ขนานกันไปด้วย ไม่ได้เป็นข้อมูลภาคใดภาคหนึ่ง ถ้าท่านจะได้ข้อมูลของผุ้ชายที่เข้าไปมีบทบาทเข้าไปเคลื่อนไหว เข้าไปผลักดัน ท่านก็จะได้ข้อมูลของผู้หญิงซึ่งปกติแล้วจะไม่ค่อยมีพื้นที่ในหน้าข่าวเท่า ไหร่นัก ถ้าบังเอิญข่าวไม่หวือหวา ถ้าสมมุติว่าท่านได้ข้อมูลจากทหาร ตำรวจ ที่ทางฝ่ายทีมข่าวนำเสนอ ท่านก็จะได้ข้อมูลของผู้ที่ก่อความรุนแรงพร้อมกันไปด้วย เพราะฉะนั้นเป็นความพยายามที่ผมคิดว่าน่าสนใจ ประการแรกสุดเป็นพยายามให้ข่าวแบบรักษาดุลยภาพของการเสนอข่าว ซึ่งเราหายากเต็มทนในหน้าข่าวปัจจุบัน เพราะว่ามันจะเป็นไปในด้านใดด้านหนึ่ง โดยเฉพาะพูดถึงความรุนแรง พูดถึงภาคส่วนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะพูดถึงความรู้สึกอคติแอบแฝง แต่งานชิ้นนี้ผมคิดว่า จากสาระที่นำเสนอแล้วเห็นภาพตรงนี้น้อยมาก เป็นการรักษาดุลยภาพที่ผมคิดว่าน่าสนใจ แต่ดุลยภาพอีกด้านหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าแฝงมากับดุลยภาพของการเสนอข้อเท็จจริง คือการสร้างดุลยภาพในด้านอารมณ์ความรู้สึกด้วย ผมคิดว่าอันนี้เป็นการเขียนข่าวที่มีสีสัน เพราะว่าข่าวในปกติถ้าเราอ่านแล้ว เราจะรู้สึกว่าเราได้ข้อมูล แต่เราไม่ค่อยได้ความรู้สึกที่รับทราบหรือซึมซับซึ่งความเจ็บปวดซึ่งความ หวัง ซึ่งอะไรต่ออะไรต่างๆ ที่มนุษย์ที่มีจิตวิญญาณพึงมีได้ ผมคิดว่าในการนำเสนอข่าวในภาคส่วนนี้ ได้ให้ดุลยภาพในส่วนนี้ด้วย คือพอเราอ่านแล้ว ทำให้เรารู้สึกถึงการให้ดุลยภาพในด้านอารมณ์ความรู้สึกทั้งในส่วนของผู้สูญ เสียหรือในส่วนของทั้งสองฝ่ายเลย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายมุสลิม ฝ่ายพุทธ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบ้านเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายตรงข้าม เราจะได้ภาพตรงนี้ ได้ความรู้สึกอันมีดุลยภาพนี้ควบคู่กันไปกับดุลยภาพในด้านเนื้อหาสาระ ผมคิดว่าอันนี้เป็นอะไรที่เตะตาสุด เมื่อนำหนังสือเล่มนี้หรือการนำเสนอข่าวชิ้นนี้ไปเทียบกับกระแสข่าวทั่วไป ที่กำลังถาโถมเข้ามาใส่ในปัจจุบัน อันนี้จะเป็นประเด็นแรกที่พูดถึงนะครับ”

“ประเด็น ที่สอง ที่ผมจะคุยให้ฟังนี้นะครับ คือผมคุยในมุมมองของนักประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์จะมีงานเฉพาะอยู่อย่างหนึ่ง คือการใช้ข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ เพื่อจะเข้าไปศึกษาถึงผู้คนที่อยู่ในอดีต ว่าเขามีบทบาทความสำคัญมีชีวิตความเป็นอยู่มีอะไรต่างๆ อย่างไร แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่เราได้จากประวัติศาสตร์ จะสะท้อนภาพของคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นกลุ่มของผู้ปกครอง เราบอกว่ามีคนจำนวนเยอะแยะมหาศาลที่ปราศจากประวัติศาสตร์ เราอาจจะเรียกพวกนี้ว่า พีเพิล วิธเอ๊าท์ ฮิสทรี (People Without History) แต่จริงๆ แล้วมีส่วนอย่างยิ่งในการสร้างประวัติศาสตร์ ผมอยากจะบอกว่า คนเขียนข่าวคือคนเขียนประวัติศาสตร์ด้วย และบ่อยครั้งเหลือเกินที่คนเขียนข่าว เขียนประวัติศาสตร์นั้น จะเขียนแต่เฉพาะถึงคนบางกลุ่มบางส่วนที่คนเขียนข่าวรู้สึกว่าเขามีความสำคัญ และให้ความหมายกับความสำคัญนั้น เพราะว่ารู้สึกว่า เมื่อเขียนถึงแล้วคนจะสนใจ คนจะเสพข่าว คนจะซื้อหนังสือพิมพ์ คนจะเปิดทีวีดู ในขณะเดียวกัน มันเกิดเงื่อนไขของคนจำนวนมากมายมหาศาลซึ่งไม่มีพื้นที่ในหน้าข่าว แต่เป็นคนที่จริงๆ แล้ว ก็มีบทบาทและความสำคัญด้วยเช่นกัน ผมคิดว่านักเขียนข่าวหรือรายงานทำหน้าที่ที่คล้ายๆ กับคนที่บันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ในสมัยก่อน คือบางครั้งเลือกที่จะบันทึกเรื่องของคนบางกลุ่ม และละเลยคนจำนวนไม่น้อยที่มีความหมายกับเหตุการณ์ด้วย  แต่เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้ ผมคิดว่าคนที่บันทึกข่าวให้กับหนังสือเล่มนี้ หรือเรื่องที่หนังสือเล่มนี้รวบรวมมาได้กระทำสิ่งหนึ่ง คือการให้พื้นที่กับมนุษย์ที่ไม่เคยถูกให้ความหมายในหน้าข่าว ผมคิดว่าตรงนี้เป็นการเปิดศักราชใหม่ให้กับการรายงานข่าวปัญหาความไม่สงบใน ภาคใต้ และผมรู้สึกว่าอันนี้ทำให้มีความหมายมาก เพราะว่าน้องๆ กลุ่มอิศราได้มองเห็นข่าวและทำข่าวที่มันเริ่มเมื่อข่าวส่วนใหญ่เริ่มปิดฉาก ลง...

“ด้วยเหตุนี้ข่าวของเขามันถึงเข้าไปให้ภาพของมนุษย์ที่ไม่เคย เป็นข่าว หรือไม่เคยถูกให้ความหมายในหน้าข่าว และผมคิดว่าเป็นคุณูปการที่สำคัญของหนังสือเล่มนี้  ผมคิดว่าเป็นการทำข่าวให้เป็นข่าวอย่างรอบด้านอย่างจริงจัง ทำให้คิดถึงเรื่องรอสะนิง สาและ ที่เธออายุ 23 ที่เกิดเหตุการณ์นองเลือดในกรือเซะ ก็ได้เสียสามีไป และมีลูก 2 คน ซึ่งคนเล็กยังอยู่ในท้อง  และเป็นคนที่เข้ามาอยู่ในโครงการเยียวยาครอบครัวของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ในกรณีปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ และเสียสละ คือตัวเองมีความลำบากอย่างแสนสาหัส แต่ก็เห็นใจเพื่อนที่ร่วมชะตากรรมและเสียสละในส่วนที่ตัวเองจะพึงได้ให้กับ เพื่อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความหมายมาก และของเหล่านี้มันไม่มีในหน้าข่าวปกติ มีเรื่องของคนอีกเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเหตุการณ์นองเลือด 28 เมษา บาดแผลของคนที่อยู่หลัง และอีกหลายเรื่องราว ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นคุณูการประการที่สองของการเสนอข่าว ในงานชุด ‘ฟ้าหม่นเจดีย์หักฯ’ นอกเหนือจากประเด็นที่กล่าวไปแล้ว ก็มีประเด็นของการนำเสนอที่มีดุลยภาพซึ่งเป็นประเด็นแรกที่มีการนำเสนอข่าว สำหรับการพูดถึงหนังสือเล่มนี้ในกระบวนการนำเสนอ มีอีกสองประเด็น แต่พูดถึงว่าแล้วหนังสือเล่มนี้ได้สร้างมาตรฐานแห่งการรับรู้อย่างไร อันนั้นอีกหลายประเด็น” อาจารย์ ดร.สุเนตรขมวดการพูดในช่วงแรกเพียงเท่านี้

รศ. ดร.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร - “ต้องเรียนทุกท่านก่อนเลยว่า เวลาที่คุณติ๋ม วิมลพรรณ ขอให้ไปพูดถึงหนังสือของเธอทีไร จะตื่นเต้นมากกว่าปกติ ตื่นเต้นมากกว่าสอนหนังสือเยอะ ก็เพราะว่าจะได้พบผู้คนในระดับปกติที่ดิฉันขึ้นไม่ค่อยถึง คือไม่ค่อยคุ้นเคย แต่ว่าก็พูดโดยนิสัยของตัวเองโดยปกติ ขอไปต่อรอยของ อ.สุเนตรนิดเดียวในประเด็นที่สอง ซึ่งน่าสนใจมาก คือที่จริง ถ้าดิฉันไม่มีตัวลายลักษณ์อักษรมาด้วย คนก็จะหาว่าดิฉันพูดไม่จริงที่บอกว่า ประเด็นเราคงไม่ต่างกันเท่าไหร่ในแง่ของด้านคุณค่าสาระของหนังสือ แต่ในประเด็นที่สองที่ อ.สุเนตรพูดถึง ดิฉันอยากจะพูดในประเด็นอื่น แต่ลักษณะคล้ายๆกัน จะย้ำให้เห็นว่าเหมือนกันจริงๆ และเป็นกระแสที่กำลังน่าจะได้รับความสนใจสูง คือว่า ดิฉันไปเที่ยวที่สิงคโปร์มา และได้ไปดูพิพิธภัณฑ์แห่งชาติของสิงคโปร์ ซึ่งเขาเพิ่งสร้างใหม่ ต่อเติมและซ่อมแซมมาใหม่ ที่น่าสนใจคือการเล่าเรื่องราวของประวัติความเป็นมาของประเทศ ที่น่าสนใจก็คือว่า เวลาที่เราเดินเข้าไป ของของเขาค่อนข้างจะไฮเทค แต่ประเด็นมันก็คือว่า มันจะมีทางแยก และเขาจะถามเราว่า คุณจะฟังประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ที่เล่าโดยคนเล็กๆ ของสิงคโปร์หรือจะฟัง ประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ที่พูดถึงเหตุการณ์ใหญ่ๆที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ และมันน่าสนใจยิ่งตอนที่เดินเข้าไป ดิฉันเลือกเดินทางเล็กก่อน เขาก็เริ่มเล่าและให้เห็นถึงความขัดแย้งของสิ่งที่จะเป็นตำนาน ซึ่งมันทำให้เห็นดุลยภาพ คือเขาเล่าตำนานของสิงคโปร์ทีแรก และเป็นแบบนี้ เป็นอย่างนี้ตามลำดับ  ซึ่งบางอย่างก็อธิบายได้ว่าที่ถูกควรจะเป็นอย่างไร แต่บางอย่างมันก็เป็นว่ามันน่าจะเป็นอย่างไร หรือกว่าจะมีหลักฐานที่ชัดเจน...

“พอเดินเข้าไปอีก ก็จะมีห้องที่บอกว่าในตอนต้นสมัยที่ยังมีคนจีนมา มันไม่ได้มีแต่พ่อค้าที่เข้ามาแล้วก็ร่ำรวยเลย แต่มันก็มีทั้งคนขายของธรรมดา มีทั้งโสเภณี และมีอะไรหลายอย่าง และในแต่ละห้อง ในแต่ละมุมอย่างเช่นในมุมที่พูดถึงคนจีนเข้ามา ก็จะมีตัวพ่อค้าขายของเหมือนขายของเร่ ก็มีเสียงเล่าและข้าวของต่างๆ และก็มีโสเภณี ไม่ได้จะมาเล่าว่าโสเภณีสมัยนั้นดำเนินการอย่างไร แต่จะทำให้เห็นว่าชีวิตของเขาส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของชุมชนที่สร้าง ขึ้นมา และพอเข้าไปอีกก็มีจุดหนึ่งที่เกิดในสมัยสงครามโลก ก็ทำให้สิงคโปร์ลำบากมาก เด็กของสิงคโปร์ตอนนั้นเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก และระหว่างที่เราเดินไปเดินมา และสองทางก็จะมาเจอกัน คือในระหว่างนั้นก็จะมีเหตุการณ์ใหญ่ของประเทศอยู่ด้วย และช่วงนั้นสิงคโปร์ติดต่อค้าขายกับใคร มีความสัมพันธ์กับใคร ช่วงต่อไปเกิดสงคราม และสองส่วนก็เข้ามาประสานกัน และเราก็สามารถมองเห็นภาพรวม ที่น่าสนใจได้ ซึ่งมันไม่จำเป็นที่จะต้องผูกอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และก็ไม่จำเป็นต้องไปหาข้อสรุปว่า นี่เป็นสิ่งเดียวที่จริงแท้ อย่างที่นักประวัติศาสตร์เคยบอกเอาไว้ว่า ประวัติศาสตร์ต้องมาจากหลักฐานหรือมาจากมุมมองที่ต่างกัน จึงอยากที่จะเล่าให้ฟังถึงเรื่องของการให้ข้อมูลหรือความสมดุลบางอย่างใน ปัจจุบัน โดยเฉพาะในแง่มุมของประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก...

“...หนังสือ เล่มนี้ก็เหมือนกัน เหมือนกับที่บอกในเรื่องของการช่วยเหลือข้อมูลในส่วนที่เป็นมนุษย์ ซึ่งอันที่จริงแล้ว ดิฉันได้คัดลอกข้อมูลบางอย่างมาจากคุณหมอประเวศ เขียนไว้ในตอนคำนำ เพื่อจะบอกว่าในลักษณะเด่นที่น่าสนใจมากของหนังสือเล่มนี้ คือว่าการลงลึกในมิติของมนุษย์ ให้สัมผัสได้ในความรู้สึกนึกคิด ความทุกข์ร่วมกัน ความใฝ่ฝันในหน้าที่ ความเข้มแข็งความเสียสละ ซึ่งพวกเหล่านี้เป็นคุณสมบัติของสื่อมวลชน คือเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง แต่เหตุการณ์นั้นประกอบด้วยมนุษย์ มนุษย์เป็นผู้สร้าง เป็นผู้ตกอยู่ในเหตุการณ์นั้น คือมนุษย์ก็เป็นผู้ที่จะซ่อมแซมได้ หรือจะทำให้หายไป และทำให้เกิดสิ่งที่ดีกว่ามาแทน เพราะฉะนั้นประเด็นนี้ก็จะนำมาสนับสนุนความเห็นของ อ.สุเนตรว่า หนังสือเล่มนี้ที่ได้ความหมายตรงนี้มาก....

“อีกลักษณะหนึ่งที่จะนำ เสนอตัวเนื้อหาก็คือ ว่าที่จริงมันก็เป็นเรื่องของการนำเสนอด้วย แต่มันไปเน้นความสำคัญในส่วนเนื้อหาด้วย ถ้าถามว่าในเมื่อข่าวก็มีแล้ว และในปัจจุบันนี้ข่าวเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตก็มี ผ่านทางเว็บไซต์ และผ่านทางหนังสือต่างๆ ซึ่งจะย้อนดูตอนหลังก็ทำได้ และการที่นำมาเรียบเรียงเป็นหนังสืออย่างนี้มันเป็นประโยชน์ ขั้นต้นก็คือว่า คนจะพูดว่าทำให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น เข้าใจและก็ทำให้เกิดความซึมซับความรู้สึกของความหมายที่แท้จริงของสิ่งที่ เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่รับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเฉยๆ แต่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น มองผ่านสายตาของมนุษย์ธรรมดาๆ ด้วยกัน ส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งเมื่อนำมาเรียบเรียงรวมเข้าเป็นหนังสือ เผอิญโชคดีที่ดิฉันขอต้นฉบับจากคุณวิมลพรรณไปดูด้วย ก็มองเห็นว่าการที่จะนำมันขึ้นมาเรียบเรียงเป็นเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพ มันไม่ใช่การนำข่าวขึ้นมารวบรวม และเลือกเอาเรื่องนี้มา และคัดไป หนังสือเล่มนี้เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วเหมือนการเขียนเรื่องเรื่องหนึ่ง แต่ไม่ได้เขียนจากความคิดของตัวเอง เขียนจากสิ่งที่เกิดขึ้น ถ้าท่านได้อ่านแบบสมบูรณ์ และดิฉันก็อ่านหลายรอบอยู่เหมือนกัน ก็จะเห็นจากเรื่องที่เหมือนกับการเล่าในชีวิตคนค่อนข้างจะเป็นความเบิกบาน แจ่มใส ซึ่งในหนังสือเล่มนี้มีเรื่อง 30 กว่าเรื่อง บางเรื่องก็ต่อกัน แต่ที่น่าสนใจ...

“ถ้าท่านเปิดดูจากสารบัญเรื่องแรกก็จะพูดถึงเรื่อง โครงการฟาร์มตัวอย่าง และพูดถึงบ้านทรายขาว ตลาดรูสะมิแล จังหวัดปัตตานี ภาพยังเป็นภาพชีวิตในเรื่องราวปกติ และน่าชื่นชมด้วย แปลงผักถั่วฝักยาวอวบน่ากิน เห็นแล้วก็อยากจะไปกิน เพราะเป็นผักที่ไม่ใส่ยาฆ่าแมลง ดูเป็นภาพชีวิตธรรมดาเริ่มต้นขึ้นมาเหมือนนำเรื่อง ถ้าเป็นเพลงคงขึ้นมาแบบโหมโรง ถัดจากนั้นมาก็เป็นเรื่องของผู้ใหญ่บ้านกูเฮงแห่งบ้านควนลาแม เริ่มมีแกให้เห็นว่ามันมีอะไรมากขึ้น เพราะฉะนั้นอารมณ์ของเรื่อง ถ้าเราอ่านเรื่องมันจะค่อยขึ้นเป็นลำดับ ชุมชนปิยมิตรก็ยังดี แสดงให้เห็นถึงสามัคคีคือพลัง ทำให้เห็นความสามัคคีร่วมกัน เห็นน้ำหนักให้เห็นความเกื้อกูลกัน และมีทัศนคติที่ดีต่อกันหรือมิตรภาพกัน ขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงเหตุการณ์นองเลือด 28 เมษา เริ่มเห็นความสูญเสีย รอสะนิง เพื่อนหญิงหม้ายผู้สูญเสีย ที่ อ.สุเนตรได้ยกมาเมื่อกี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเธอไม่ยอมรับเงินจากการช่วยเหลือส่วนนั้น แต่เธอทำหน้าที่จัดสรรให้กับเพื่อนที่ร่วมชะตากรรมเดียวกัน ถัดนั้นเหตุการณ์ก็ไล่ไปสู่ความรุนแรงเรื่อยๆ มันเหมือนกับการที่เราดูหนังสักเรื่อง หรืออ่านเรื่องเรื่องหนึ่งที่มีการเริ่มต้น มีการนำเข้าสู่ เหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับ จนขึ้นไปถึงจุดสุดยอดเลย จนกระทั่งลงมาถึงทหารพรานหญิงถูกจ่อยิงเสียชีวิต และค่อยๆ ลดระดับลงมาสู่สุดท้าย คือเรื่องน้ำชาน้ำใจของบังหนูด ซึ่งกลับไปสู่มิตรภาพ ความหวัง ความที่อยากให้พุทธ มุสลิมก็ดี ผู้หญิง ผู้ชาย คนสูญเสีย อะไรก็แล้วแต่ ได้มีโอกาสกลับมาประสานกันด้วยความสามัคคี และก็จบไปด้วยดอกไม้เมืองหนาว...

“เพราะฉะนั้นมันจะเป็นการเขียนภาพ ที่สมบูรณ์ แต่ไม่ได้เขียนจากมือของตัวเอง เขียนจากสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้ที่เราเรียกเป็นการเรียบเรียง จึงอยากจะเน้นให้เห็นความสำคัญของการเรียบเรียงตรงนี้ ไม่มีตรงไหนที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงไม่มีตรงไหนที่คุณวิมลพรรณเขียนเอง แต่มาจากเนื้อข่าว เพราะฉะนั้นดิฉันขอสรุปตรงนี้หน่อยเลยว่า ลักษณะเด่นและความสำคัญก็คือว่า มันมีอยู่ 3 อย่างของการเรียบเรียงโดยการเอาข่าวมาเรียบเรียงให้เป็นหนังสือขึ้นมาเล่ม หนึ่ง ซึ่ง 3 ขั้นก็คือว่า

ขั้นที่ 1 การคัดกรอง คัดกรองไม่ใช่เอาแต่สิ่งดีๆไว้ หรือเลือกเอาแต่ใจตัวเองไว้ คัดกรองหมายถึงว่าจะคัดเอาอะไรไว้และก็เลือกสิ่งที่จะนำไปสู่ประเด็นนั้น เพราะอันนี้ก็เหมือนกัน ไม่ได้ว่าเอาแต่สิ่งที่ต้องการและทิ้งสิ่งที่ไม่ต้องการ ซึ่งทุกอย่างต้องได้ความครอบคลุมและตรงประเด็นไม่ได้ทิ้งในข้อปลีกย่อยออกไป

ขั้น ที่ 2 คือการขัดเกลา หมายถึงว่าก่อนที่เราจะเอามาเชื่อมต่อกัน มันต้องมีการสร้างหัวสร้างท้ายโยงให้เข้ากัน ไม่ใช่ว่าบทสุดท้ายของตรงนี้ต้องไปต่อกับบทหนึ่งของบทใหม่ ไม่ใช่ในลักษณะนั้น แต่ต้องไปเชื่อมต่อกับบทนั้น และในเรื่องของภาษาก็เหมือนกัน ถ้าท่านไปอ่านในหน้าเว็บจะเห็นได้ว่า คุณวิมลพรรณก็ทำงานหนักเหมือนกัน ไม่ได้หมายความว่าภาษาของท่านผู้สื่อข่าวทั้งหลายไม่ดี เพราะถ้าท่านตรวจดูก็จะคงภาษาเดิมของท่านไว้มาก แต่ก็มีการปรับภาษา ที่จริงดิฉันอยากจะชมนักข่าวจากศูนย์ข่าวอิศราว่าเขียนภาษาได้ดีเหมือนกัน เพราะฉะนั้นในส่วนนี้คือการขัดเกลาของผู้เรียบเรียง ซึ่งผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ก็ได้ทำแล้ว มันถึงเกิดน้ำหนักที่สมดุลและความต่อเนื่องไร้รอยต่อสะดุด

สุดท้ายใน ขั้นที่ 3 คือ การเอามาร้อยและเรียงเข้าด้วยกัน ซึ่งการร้อยเรียงต้องร้อยเรียงตามเวลา แต่ถ้าท่านดูในหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เรียงตามเวลา เพราะบางเรื่องก็มีนาคม และกลับมามกราคม และก็มีการกลับไปกลับมา แล้วที่นี้เรียงอะไร คือเรียงตามสิ่งที่มันเกิดขึ้นเพื่อให้เห็นจุดสูงสุดที่ทำให้ความรู้สึกเจ็บ ปวดหรือเกิดสิ่งที่ปกติอย่างรุนแรง และก็ค่อยๆ นำมาสู้ความหวังส่วนหนึ่งที่ยังมีเหลืออยู่ ไม่ใช่ว่าหมดหวัง เพราะฉะนั้นเมื่อเรียบเรียงอย่างนี้ได้ ดิฉันไม่คิดว่าหนังสือเล่มนี้จะมุ่งไปในเรื่องอารมณ์ แต่จะบอกว่าวิธีการนำเอาข้อความจริงที่เลือกแล้วขัดเกลาแล้วรักษาความจริง เอาไว้ รักษาน้ำหนักของส่วนต่างๆ รอบด้านเอามาประกอบกัน แล้วเรียงเข้ามาด้วยกัน มันไม่ได้เน้นที่อารมณ์อย่างเดียว แต่มันเน้นความเป็นจริงที่เกิดขึ้นข้างใน มันต่างกันจากการรับรู้จริงๆ ของสำนึกที่อยู่ข้างใน แตกต่างจากการรับรู้เรื่องอารมณ์เฉยๆ เราไม่มีเรื่องไหนที่เราใช้ภาษาฟูมฟาย แต่ในความไม่มีก็ทำให้เกิดอารมณ์ได้เป็นอย่างมาก”

ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ - “สิ่งที่น่าชื่นชมคุณวิมลพรรณมากคือ ในฐานะของผู้ที่เรียบเรียงก็คือว่า เมื่อพูดถึงเรื่องราวของความรุนแรง ในระยะเวลา 2 ปี ถ้าพูดถึงเรื่องของความรุนแรงทางภาคมุสลิม แต่ก็จะไม่ลืมพูดถึงครูจูหลิงหรืออะไรทำนองนี้ เราจะเห็นภาพที่คู่ขนานน่าสนใจอย่างนี้ไปโดยตลอด ทีนี้ผมคิดว่าการอ่านหนังสือเล่มนี้ คุณูปการมีอยู่ 2 ส่วนหลักด้วยกัน ส่วนหนึ่งคือส่วนของการเรียบเรียงของคุณวิมลพรรณ และอีกส่วนหนึ่งคือพวกคำนิยม คำนำ บทนำต่างๆ จำนวนยาวพอสมควร ซึ่งผมคิดว่า ตรงนี้ถ้าอ่านแล้วเราเข้าใจถึงความสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งผมคิดว่าเป็นประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่จะชวนให้คิด และคุณวิมลพรรณได้พูด และที่สำคัญผู้ที่เขียนบทนำท่านหนึ่งซึ่งได้เขียนลักษณะเด่นของหนังสือตรง นี้ด้วย ถ้าจำไม่ผิดก็คือคุณประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ท่านได้เปิดประเด็นที่น่าสนใจ ที่ผมจะขอพูดถึงนิดหน่อย คืออย่างนี้...

“ปกติ หนังสือโดยทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำข่าวที่เป็นข่าวเฉพาะ อย่างเช่นข่าวภาคใต้ ได้มีการตั้งข้อสังเกตไว้เหมือนกันว่า ผู้ทำข่าวจะมีความเข้าใจในปัญหาลึกซึ้งมากน้อยแค่ไหน ทำข่าวได้ลึกมากน้อยแค่ไหน ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ของการทำข่าวเกี่ยวกับภาคใต้ปัจจุบัน และความจริงอยากจะตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ไม่ใช่เฉพาะข่าวภาคใต้เท่านั้น บางครั้งคงจะเคยคุ้น บางทีนักข่าวมาสัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องของเราหรือตัวเราแล้วเอาไมค์มาจ่อมา ถาม เกือบจะไม่ได้ทำการบ้านเลย การต่อติดของการถามถ้าเราไม่มีการรับรู้ความเข้าใจเท่าที่ควร ข่าวที่นำเสนอ หรือสาระที่นำเสนอ ก็จะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงของการนำเสนอได้ ผมคิดว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาใหญ่ของการทำเกี่ยวกับเรื่องของทางภาคใต้ ซึ่งผมคิดว่าคุณประดิษฐ์ได้ตั้งข้อสงเกตในเล่มนี้ไว้ พอเราอ่านหนังสือเล่มนี้ ถึงแม้ว่าการนำเสนอข่าวของแต่ละตอน ข่าวแต่ละเรื่องจะไม่ถึงกับยาว แต่เมื่อเอาข่าวทั้งหลายแหล่มาประมวลกัน มันสะท้อนให้เห็นถึงระดับของความรับรู้ความเข้าใจ และเข้าถึง..ถึงปัญหา เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเป็นตัวอย่างที่ดีอีกประการหนึ่ง เป็นข้อเด่นอีกประการหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ ที่พยายามล้วงลึกลงไปในมิติที่จริงๆ แล้วคนทำข่าวจะต้องมีการรับรู้ มีความเข้าใจ อาจจะต้องเป็นคนในพื้นที่ หรือเป็นคนที่รู้ซึ้งของปัญหา และผมคิดว่าเขาเขียนข่าวอย่างเข้าใจ เข้าใจใน 2 มิติ คือหนึ่งเข้าใจในตัวของปัญหา และสองเข้าใจในความเป็นมนุษย์ ผมคิดว่าทั้ง 2 อย่างประกอบกันเข้ากันได้อย่างลงตัวแล้วก็มีสีสันมากๆในการนำเสนอ…

“ประเด็น สุดท้ายที่ผมอยากจะเสนอเป็นข้อเด่น คือว่า ถ้าเราอ่านข่าวโดยปกติแล้ว จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ผมคิดว่าผู้เสนอข่าวในบางครั้งกระทำตนเป็นผู้พิพากษาที่จะตัดสินเชิงศีลธรรม พร้อมกันไป เพราะฉะนั้นบางทีเราได้ข่าวเราจะมีความรู้สึกว่ามีการแบ่งฝ่าย ข้างดีข้างชั่ว มีการแบ่งฝ่ายข้างถูกข้างผิด บางครั้งมีความรู้สึกว่าเวลาเราอ่านข่าวว่าใครเป็นผู้ดีใครเป็นผู้ร้าย แต่ผมคิดว่าการนำเสนอข่าวที่นี่ได้กระทำในสิ่งที่คือ ก้าวล่วงมิติแห่งการที่จะต้องนำเสนอ โดยมีการตัดสินเชิงศีลธรรมว่าถูกผิดดีเลว ใครเป็นผู้ดี ใครเป็นผู้ร้าย ผมคิดว่ามีข้อเด่นอันหนึ่งที่เป็นข้อเท็จจริงบางประการที่มันอยู่เหนือหรือ หลุดพ้นเกณฑ์มาตรฐานที่ว่ามันดีหรือมันชั่ว เพราะว่าจริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของความเจ็บปวด มันเป็นเรื่องของความสูญเสีย มันเป็นเรื่องแห่งความกล้าหาญมันเป็นเรื่องของอะไรบางอย่าง ที่บางครั้งบอกไม่ได้ว่าใครถูกหรือใครผิด แต่เราบอกได้ว่าใครได้รับผลกระทบอะไรซึ่งตรงนี้มีตัวอย่างให้ดูเยอะแยะ เช่นบาดแผลจากตากใบ ถ้าเราอ่านตรงนี้ก็จะรู้ว่าฝ่ายไหนถูกฝ่ายไหนผิดกันแน่ แต่มันเป็นการบอกว่า ผลจากการเกิดของกรณีตากใบ ณัฐกานต์ เจ๊ะเละ เสียลูกชายเขาไป แล้วเขาจะอยู่อย่างไร หัวข้อ 2 ชีวิตของเยาวชนที่ทางทหารกระทำผิดพลาด ในการยิงถูกเด็กซึ่งเข้าใจว่าเป็นผู้ก่อการ และทำให้คุณอิสมาแอ สุหลงสูญเสียลูกชายไป มันเป็นความเจ็บช้ำ มันเป็นความรู้สึกสะเทือนใจอย่างไรที่ผู้เป็นพ่อจะต้องสูญเสียนั้น มันเป็นอะไรที่ก้าวล่วงความถูกผิด มันเป็นเรื่องที่เข้าไปสัมผัสถึงเหตุการณ์ที่เกิดการกระทำนั้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอให้เห็นว่าประชาชนคือผู้เจ็บช้ำคือผู้เจ็บปวดที่สุด คือผู้ที่รับผลที่สุด และผมคิดว่าอันนี้เป็นข้อเด่นอีกประการหนึ่งที่อาจารย์ถามผมว่า ทำไมผมถึงชอบหนังสือเล่มนี้ ผมคิดว่าการนำเสนอมันมี 4 ส่วนด้วยกัน ที่คุยให้ฟังอย่างเช่นดุลยภาพ อย่างเช่นประเด็นที่คนไม่เห็นว่าน่าจะเป็นข่าว และมิติที่ 3 เป็นการตั้งเกนไม่แน่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่อันนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า เมื่อนักข่าวจะลุกขึ้นทำข่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เขาควรที่จะมีความรับรู้ความเข้าใจอย่างรอบด้านพอสมควรในข่าวที่เขาเขียน ไม่ว่าเขาจะเขียนยาวหรือสั้น…

“และประการสุดท้ายเลยก็คือ การก้าวล่วงผ่านจารีตที่จะต้องมีการตัดสินเชิงศีลธรรมที่จะนำเสนอข้อเท็จ จริง ซึ่งมันจะไม่ต้องเป็นเรื่องมาตัดสินกันว่าใครถูกใครผิด ใครดีใครชั่ว แต่จะต้องมาอธิบายให้เห็นว่า ใครเดือดร้อน ใครเจ็บปวด ใครได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นั้น…”

อาจารย์นิตยา มาศะวิสุทธิ์ – “ขอบคุณ อ.สุเนตร เรื่องนี้ อ.สุวรรณายังไม่ได้พูดทั้งคุณวิมลพรรณและนักข่าวศูนย์ข่าวอิศรา ทุกท่านคงตัวลอย เย็นนี้คงไม่หิว คงรู้สึกว่าวิทยากรทั้งคู่ชื่นชมหนังสือเล่มนี้มาก คุณวิมลพรรณน่าจะภูมิใจมากๆ ขอเชิญ อ.สุวรรณา พูดต่อเลยค่ะ”

รศ. ดร.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร - “ดิฉันขอเจาะลูกโป่งให้ยุบลงมาข้างล่างซักลูกสองลูกให้มาถึงพื้น แต่ก่อนที่จะเจาะลูกโป่งที่ว่าจะขอพูดเสริมนิดนึงในประเด็นคล้ายๆกัน เพราะเราอ่านหนังสือเล่มเดียวกันใกล้เคียงสายเดียวกัน ก็มีวิธีการอะไรที่คล้ายกัน ดิฉันต้องขอเสริมในแง่ตรงนี้นิดหนึ่งว่า ก่อนหน้านี้ อ.นิตยา ก็บอกไปแล้วว่า (ดิฉัน) บังเอิญไปเรียนต่อขั้นสุดท้ายทางมานุษยวิทยา ซึ่งเรียนแค่ในทางวรรณคดีอย่างเดียวนัยน์ตาเราอาจจะแคบไป จะขยายไปดูว่าคนอื่นคิดกับมนุษย์และตัวละครอย่างไร ที่นี้หากมามองตรงนี้ในเชิงมานุษยวิทยาพยายามจะพูดเน้นในแง่นั้น จะเอาทฤษฎีอะไรมามองในการเขียนข่าวอะไรนั้น มุมที่ อ.สุเนตรพูดถึงว่า คนเขียนข่าวเสนอข่าวออกมาควรจะได้รู้ เป็นคนที่มีความเข้าใจในสิ่งตัวเองเขียน สภาพแวดล้อมตรงนั้น ในฐานะนักวิจารณ์เรามีหลักการใหญ่อยู่ข้อหนึ่งว่า นักมานุษยวิทยาจะต้องออกไปให้ถึงตัวคนที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรม ถึงตัวคนที่เป็นเจ้าของข้อมูล สมัยแรกๆเรียกว่า“อาร์มแชร์ ออฟ” (armchair off) พวกนั่งทำในเก้าอี้นวม แล้วมองออกไปมองว่าคนตรงโน่นตรงนี้เป็นอย่างไร นานมาแล้วไม่ใช่แล้ว ต้องไปให้ถึงตัวเจ้าของข้อมูล เจ้าของวัฒนธรรม ทำความเข้าใจกับเขาในพื้นที่ของเขา ในศัพท์วิชาการจะบอกว่าเป็นบริบท อยากจะให้ดูตัวอย่างในเรื่องตอนที่พูดถึงวัดไทยนะคะ หน้าที่ 221 ในหน้านี้พูดถึงเรื่องของวัด ไปสัมภาษณ์พระท่านเจ้าอาวาสที่นั่น พอลงท้ายเขาก็ว่าอย่างนี้ คือวัดช้างไห้ เราก็..เราก็บอกว่าวัดช้างไห้แถวนั้น เขาเล่าถึงตำนานว่า แถวนั่นเป็นดงที่ช้างอาศัยอยู่ ก็ได้ยินเสียงร่ำไห้ของช้างอยู่เป็นประจำ จริงไม่จริงก็แล้วแต่ แต่บอกแล้วว่าเป็นตำนาน ในขณะที่ทุกวันนี้ได้ยินแต่เสียงร่ำไห้ของคน อันนี้เป็นคำพูดของเจ้าอาวาส สรุปในบรรทัดเดียว ที่วัดนี้เองยังเคยถูกวางระเบิด เจ้าอาวาสกล่าวด้วยเสียงเยือกเย็น ฟังแล้วหม่นหมองใจเจ็บนัก จบแค่นี้ ทำไมต้องมาบอกว่าวัดนี้มันก็มาวางระเบิด หรือมันมาทำอะไร ไม่ต้องบอกอะไรให้มาก ท่านพูดแค่นี้เราก็เข้าใจมั๊ย เราเข้าใจทันที แล้วหากเมื่ออ่านขั้นต้นมาท่านก็พยายามแสดงให้เห็นว่า ความเข้าใจอันดีก็ยังมีอยู่ คนจะมาทำอะไรก็ตาม ความเข้าใจในระหว่างคนนั้นก็ยังมีอยู่ ไม่ได้สูญหายไป จบไปแค่นี้ อันนี้คือสิ่งที่ดิฉันประทับใจมากในหนังสือเล่มนี้ เป็นคนในบอกออกมาแล้ว คิดความออกมา หรือเป็นคนนอกพูดถึงก็ตาม มันพอดีๆ ความพอดีเป็นสิ่งที่หายาก ปัจจุบันมันมักจะมากไปนิด หรือน้อยไปหน่อยเสมอ การที่ทำได้พอดีในตัวของมันเองคือความหมายที่สำคัญมากในการทำให้หนังสือเล่ม หนึ่ง เข้าไปอยู่ในใจ อันนี้เป็นส่วนสรรเสริญ...

“ที่นี้จะเจาะให้ ลอยลงมาหน่อย มันไม่ได้สวยงามราบรื่นไปทั้งหมด มันยังมีบางส่วนซึ่งเราก็มองเห็นได้เหมือนกัน ถึงแม้มันมีน้ำหนักที่พยายามให้สมดุลกัน มันก็ยังมีบางส่วนเหมือนกันที่เราพอจะมองเห็น มันก็มองจากอคติของคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่บ้าง อย่างน้อยเราก็มีความรู้สึก มันไม่มีที่จะได้ 50–50 ที่จะได้น้ำหนักเท่ากัน ข้างนี้พูดอย่างนี้ ข้างนี้เสนอออกมามันจะมีส่วนนั้นอยู่ มันไม่ใช่ข้อเสียแน่นอน มันเป็นธรรมดาที่มันมีอยู่ที่มันเกิดขึ้นหรือแม้แต่การที่เขาจะเลือกหรือคิด เอาข้อความไหนขึ้นมาเนี่ย มันก็ย่อมมีอคติของคนที่จะเล่า ก็ย่อมเป็นธรรมดาเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราจะไปบอกว่าคุณต้องเขียนจากคำที่เขาพูด มันไม่ใช่อย่างนั้น แต่ที่ดิฉันรู้สึกว่า บ้างประโยคที่พูดออกมาเขาพูดอย่างนั้นจริงหรือปล่าว เพราะบางที่ในนี้ชาวบ้านพูดด้วยสำนวนที่แสนจะวิชาการไม่ค่อยจะคุ้น ไม่ทราบว่าสถานการณ์ในปัจจุบัน พวกเราก็ต้องยอมอดทน หรือชาวบ้านเขาอาจจะพูดก็ได้นะคะ คือมันมีหลายคำที่ชาวบ้านไม่น่าจะพูดอยู่ในนี้ด้วย ก็เลยทำให้เห็นว่า มันอาจจะมีการเขียนให้ดูดีขึ้นหรือปล่าว ก็ไม่เป็นไร ไม่ได้มากนักจนกระทั่งรู้สึกไม่ไว้วางใจ...

“และศัพท์บางตอนก็น่ารัก นะคะ อย่างเช่นในหน้า 55 ผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งขายเครื่องชั้นใน เขาบอกว่าเขาเรียกสิ่งที่เขาขายว่า เจ้ากะจิ๋วหลิว ตรงนี้มันน่ารักมากเลย เอามาใช้ทำให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวเขาเองกับสิ่งที่เขาทำอยู่ อันนี้ที่เราเรียกว่าเป็นมิติของความเป็นมนุษย์ มันไม่ได้แค่เปลี่ยนอาชีพอย่างนั้นมาเป็นอย่างนี้ เปลี่ยนจากคนขายรองเท้ามาเป็นคนขายก๋วยเตี๋ยวอะไรนี่นะคะ บางตอนก็ใช้คำที่มันแปลกๆ แต่ถ้าท่านอ่านในเรื่องของลุงจวนที่ถูกตัดหัว ที่มีเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่น่าสยดสยองมากเลย บอกได้เลยว่าถ้าท่านอ่านจะรู้สึกถึงความสยดสยองอยู่เพียงแค่ 2-3 คำ จากประโยคที่ว่า และวันนั้นเองลุงจวนก็ถูกยิงและถูกตัดหัว เล่าอย่างนี้มันก็สยดสยองดีกว่ามาเล่าว่า เอามีดดาบยาวๆ มาตัดหัวขาดออก เอาหัวไปวางไว้ตรงนั้นตรงนี้ อันนี้เป็นส่วนที่ดี แต่ยังมีหลายคำซึ่งอ่านแล้วแปลกๆ นะคะ ขอทำตัวเป็นนักภาษานิดหนึ่ง มันอดไม่ได้...

“อย่างเช่นเขียนบอกว่า เขาเล่าว่ามีการตัดหัวคนไทยพุทธคนหนึ่งคือลุงจวนนะคะ ทั้งที่ก่อนหน้านี้หนึ่งวันที่จะมีการตัดคอลุงจวน ในตอนบ่ายของวันที่ 8 ฟังดูเป็นประโยคอะไรก็ไม่ทราบ มันเหมือนกับนี้เป็นการเตรียมไว้ทั้งก่อนหน้านี้หนึ่งวันที่จะมีการตัดคอลุง จวน มันเป็นความแปลกที่ไม่รู้จะว่ายังไง คือไม่ได้ผิดอะไรเลย สำนวนออกมาแปลก มีการบอกออกมาอย่างนี้ว่าเป็นเหตุให้พี่น้องไทยมุสลิมบาดเจ็บ 3 คน การตัดคอลุงจวนครั้งนี้จะได้มีใบปลิวระบุ คือการตัดคอลุงจวนนี้ ตัดครั้งเดียวนะ ไม่มีครั้งนี้ครั้งไหนนะคะ ตัดครั้งเดียวก็ขาดแล้ว เพราะครั้งนี้มันไม่มีนะคะ การตัดคอลุงจวนนี้แหละทำให้เกิดขึ้นมา ฉันอ่านแล้วเอ๊ะ มีหลายครั้งหรือเปล่า หลายครั้งคือยังไม่ตายสนิท และอีกหน้าหนึ่งก็บอกอีกวันถัดมาจึงได้มีการฆ่าตัดหัวลุงจวน คือขอประทานโทษ คืออันนี้คุณติ๋มก็ได้บอกดิฉันเอง คือพยายามทำอะไรที่ดูดีนะคะ มันก็ยังมีหลงอยู่บ้าง...

“ขอโทษท่าน ทั้งหลาย ไม่ได้รู้สึกอะไรหรอก ดิฉันเองเพื่อนก็ว่าตาผีจมูกมด.. ชอบเห็นคำอะไรที่ประหลาดๆ หลายก็เคยว่า ขอเรียนไว้ว่าคงจะเจาะลูกโป่งได้บ้างซักลูกสองลูกนะคะ...หรือคำบางคำเช่นบอก ว่า ‘นายตำรวจผู้คร่ำหวอด’ นี้ เล่าถึงตำรวจใช่มั้ยคะ ไอ้คำว่า ‘คร่ำหวอด’ เขาไม่มาใช้กับนามเฉยๆ ‘คร่ำหวอด’ กับเรื่องอะไรซักเรื่องหนึ่ง ‘นายตำรวจผู้คร่ำหวอด’ กับโจรผู้ร้าย.. ‘นายตำรวจผู้คร่ำหวอด’ อยู่กับคดีประเภทอะไร..อย่างนั้นนะคะ นายตำรวจผู้คร่ำหวอด..ก็ยังไม่รู้จะไปคร่ำหวอดอยู่กับอะไรนะคะ แต่ส่วนมากที่เคยอ่านที่ไม่ดีก็มีนิดหน่อย เอามาช่วยเจาะลูกโป่ง แต่ส่วนใหญ่แล้วดีในถ้อยคำ เป็นอาวุธ คุณกฤษณา (อโศกสิน) เคยบอกว่า ถ้อยคำหรือวรรณกรรมคมกว่าดาบ และก็งามกว่าเพชร ก็เลยขออนุญาตใช้หน่อยนะคะ เพราะในนั้นมันก็มีบ้างเป็นข้อบกพร่องเป็นเรื่องธรรมดา...

“สิ่งที่ ฉันว่าดีที่สุดมี 2 อย่างในหนังสือคือ 1 ก็คือดิฉันคิดว่าคุณวิมลพรรณได้ช่วยสอนให้น้องๆ รู้วิธีของการที่จะนำเสนอข่าว หรือเรียบเรียงข่าวที่ใช้ความพอเหมาะพอดี และก็ใช้ภาษาก็แน่นอนน้องๆ เหล่านี้ย่อมกับไปอ่านถึงสิ่งที่ตัวเองเขียน และสิ่งที่พี่ติ๋มเขียนอาจจะจับไม่ได้หรอกนะคะ เพราะพี่ติ๋มไม่ได้เขียน 1 2 3 บอกว่า หนึ่งเป็นอย่างไร สองเป็นอย่างนี้เนี่ยะ อาจเป็นเพียงตัวอย่างวิธีการเรียนการสอนที่ดีที่ถูกของมนุษยชาติ อันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีมาก...

“ส่วนที่ 2 เป็นผลกับคนอ่านโดยตรง ดิฉันบอกแล้วหนังสือเล่มนี้ไม่ทำให้เกิดอารมณ์หวือหวา ไม่ได้ทำให้เกิดอารมณ์คว้าปืนไปยิงด้วย หรือว่าอ่านแล้วแบบจะไปช่วยเขาทำตาม หรืออะไรก็ไม่ถึงขั้นนั้นนะคะ ผลที่เกิดขึ้นกับผู้อ่านไม่ใช่อารมณ์ที่รุนแรง แต่เป็นการรับรู้ และเป็นการเข้าใจซึมซับบางสิ่งซึ่งเราอาจมั่วๆ มึนๆ การอ่านข่าวหลายอย่างมันอ่านแล้วมันชินอย่างเช่น คนกระโดดตึกมากๆ เราอ่านก็รู้สึกกระโดดอีกแล้วหรือ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมันทำให้คนอ่านส่วนมาก ซึ่งแน่นอนว่าเคยได้รับรู้ข่าวนี้ในลักษณะต่างๆ ข่าวหนังสือพิมพ์ ข่าวทีวี ข่าววิทยุ หรือบอกเล่าอะไรก็แล้วแต่ เมื่อได้มาอ่านลักษณะหนังสือแบบนี้สิ่งที่ผู้อ่านที่ใส่ใจและจะได้รับก็คือ การเกิดความเข้าใจที่ตัวเองจะคัดกรอง คือเมื่ออ่านข่าวแล้ว คือก็จะมองเห็นได้ว่าอะไรคือส่วนที่เป็นสิ่งที่เราควรจะรับเอาไว้แล้วเกิด ความเข้าใจ หรือเก็บเอาไว้ การที่ทำให้คนอ่านได้เกิดความรู้ในตรงนี้ ดิฉันคิดว่าเป็นประโยคข้อหนึ่งที่บางทีเราไม่ได้นึกถึงในเรื่องนี้นะคะ คนอ่านจะค่อยๆ คัดกรองสิ่งเหล่านี้ที่เป็นประโยชน์หรือความหมายที่แท้จริง เรียนรู้การที่จะนำมันมาเรียบเรียงไว้ที่การรับรู้ของตัวเอง ก็เก็บมันเอาไว้ เพื่อจะได้ใช้วัดกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป...

”ขอกลับ ไปอัดลูกโป่งต่อ ต้องขอถือโอกาสขอบพระคุณที่ให้มาพูดในครั้งนี้ ปกติดิฉันก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับรายการแบบข่าวแบบอะไรนั้นนะคะ แม้ว่าจะชอบอ่านข่าว แต่ว่าเขาจะใช้ให้ไปช่วยจับผิดนักข่าวส่วนมากว่าเขียนไม่ดียังไง แต่วันนี้ต้องขอขอบพระคุณอย่างมากเลยที่ให้โอกาสมาทำให้เห็นว่า จะมีการรับรู้ที่มันชัดเจนที่จะปลุกให้เราฟูมฟายไปด้วย หรือสยดสยองไปด้วย หรือว่าทำให้เกิดความเคียดแค้นขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้น อันนี้ต้องขอขอบพระคุณไว้ในที่ด้วยนะคะ”

อาจารย์นิตยา มาศะวิสุทธิ์ – “ขอบคุณ อ.สุวรรณา อ.สุเนตรหมดประเด็นหรือยัง หากหมดจะเรียนถามว่า ที่คุยกันกับ อ.สุเนตรก่อนนั้น อยากจะถามเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ อยากจะรู้ว่าที่บอกว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้ทำให้เกิดอารมณ์อย่างที่ อ.สุวรรณาว่า แต่เป็นการทำให้เกิดการรับรู้และเข้าใจ การรับรู้และการเข้าใจนี่ มันจะช่วยเรารับรู้เราเข้าใจ แต่มันจะช่วยสถานการณ์ต่างๆ ยังไง..ที่มันเกิดขึ้นในภาคใต้ หนังสือเล่มนี้จะมีส่วนช่วยมั้ย”

ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ – “คือว่าอยากจะตั้งข้อสังเกตดังนี้เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ก็คือว่า ถ้าก่อนที่เราจะอ่านหนังสือเล่มนี้ เรามีความรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาคใต้อย่างไร เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว เชื่อว่าการรับรู้และความเข้าใจที่เรามีเกี่ยวกับภาคใต้ จะมีโอกาสปรับเปลี่ยนไปได้มากน้อยแค่ไหน เอาอย่างนี้ดีกว่า ผมคิดว่าต้องดูก่อนว่า ปกติเมื่อพุดถึงเรื่องภาคใต้ หรือข่าวของภาคใต้ ข่าวส่วนใหญ่ที่ให้เกี่ยวกับเรื่องของภาคใต้จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ถึงแม้จะเป็นการเขียนเรื่องเกี่ยวกับคน หรือไม่ใช่คน ผมคิดว่าด้านการเน้นภาพของความรุนแรง ด้วยการตัดสินดีชั่ว มันเป็นกระบวนการที่มันเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ความรุนแรงของข่าวมันทำให้ความเป็นมนุษย์หายไปจากข่าว และท้ายที่สุด ข่าวเหล่านี้ไม่ได้ช่วยสมานความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างพุทธกับมุสลิม ข่าวเหล่านี้ไม่ได้ทำให้คนไทยตระหนักว่า กว่าที่เราจะมาเป็นเราอยู่ได้ในปัจจุบันนี้ เราได้เติบโตขึ้นมาบนรากฐานของความหลากหลาย ความหลากหลายและการมีอยู่ของความหลากหลายที่ทำให้มันเกิดพัฒนาการที่เป็นไป ได้ถึงปัจจุบัน ผมคิดว่าตรงนี้มันมีในข่าวโดยทั่วไป มันดีคือมันไหลจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม มันทำลายความเป็นมนุษย์ลง แต่พออ่านหนังสือเล่มนี้ ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออย่างที่ท่าน อ.ประเวศเขียนไว้ในคำนิยม คือว่าได้ให้ความรู้สึกกับการเป็นมนุษย์ฮิวแมนไรท์ (Human Right) ผมคิดว่าอันนี้ควรค่ามาก เพราะฉะนั้นเมื่อเราอ่านสาระต่างๆ ที่อยู่ในนี้ ถึงคนที่ปกติแล้วไม่มีพื้นที่ในหน้าข่าว ทันทีเลยเราจะมีความรู้สึกว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นพุทธหรือมุสลิมก็ดี เขามีความเจ็บปวด เขามีความเดือดร้อน เขาได้รับผลกระทบที่ไม่ต่างไปจากอีกหลายๆคนที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าเขาจะเป็นเชื้อชาติใด ศาสนาใด อันนี้เป็นสิ่งที่ผมคิดว่ามีคุณูปการอย่างยิ่ง และปกตินี่เราจะไม่เกิดความสำนึก และเกิดความคิด อันนี้ถ้าเราอ่านข่าวปกติ แต่พออ่านข่าวนี้แล้วเราได้ประเด็นที่ 2 ที่ผมคิดว่าสำคัญ...

“คือ ทุกครั้งที่เราอ่านข่าวเกี่ยวกับภาคใต้ และอ่านอยู่ทุกวัน เราเกิดภาวะความหมดหวัง เรารู้สึกว่าโลกไม่น่าอยู่ ภาคใต้ก็ไม่น่าอยู่ ภาคใต้เป็นแดนมิคสัญญี และบางทีเราก็พูดกันเล่นว่า เดี๋ยวส่งไปอยู่สามจังหวัดชายแดนใต้เลย ทำนองคล้ายๆ อย่างนี้ เราจะมีความรู้สึกว่า มันช่างไม่มีความหวังเหลืออยู่ที่นี่เลย แต่เราลืมนึกไปว่า แล้วมันมีคนอีกกี่ล้านคนที่อยู่ที่นั่นแล้ว คนอีกเท่าไรที่จริงๆ แล้วนี้เขาโยกย้ายถิ่นย้ายที่กันไม่ได้ เขาต้องอยู่กับสิ่งนั้น แล้วเขาอยู่กับสิ่งนั้นอย่างไร เราไม่เคยรู้เลยนะครับ เพราะเราอยู่ไกลกับปัญหาเกินไป แล้วเราก็ได้พัฒนาทัศนคติจากข่าวที่เราได้รับเป็นประจำวัน ว่ามันปราศจากความหวัง ผมคิดว่า พอคนอ่านหนังสือเล่มนี้ ยังเกิดความรู้สึกว่ามันยังมีความหวัง มันมีตลาดนัดรูสะมิแล มันมีโครงการต่างๆ และมันมีอะไรหลายๆ อย่างที่คนยังเอื้ออาทรกัน คนก็ยังมีความสมานฉันท์ต่อกัน คนก็ยังต่อสู้ คนก็ยังดิ้นรน ผมคิดว่าอันนี้เป็นสิ่งแรกที่มันทำให้เรารู้สึกว่า ที่นั่นยังมีความหวัง และมีคนที่พยายามคิดจะต่อสู้ วึ่งตรงนี้ก็ทำให้มันคิดอยู่เหมือนกันว่า เขาลำบากขนาดนั้น เขายังต่อสู้เขายังดิ้นรน แต่คนที่อาจจะมีความสบายกว่าที่นั้น เยอะแยะมากมายอาจจะมีความท้อถอยกับชีวิต เพราะฉะนั้นพออ่านหนังสือเล่มนี้ มันทำให้รู้สึกเหมือนกันนะครับว่า คนที่ลำบากกว่าเรายังมีอยู่เป็นจำนวนมหาศาล มันเป็นพลังที่ต่อลมหายใจของมนุษย์เราได้ต่อความรู้สึกที่ท้อถอย ให้กลับเป็นความรู้สึกที่กล้าที่จะยืนหยัดต่อสู้ อย่างในเรื่องของนายตำรวจท่านหนึ่ง ที่เสียทั้งแขนและขา เกือบจะเสียมือเสียตาไป แต่ประกาศยืนหยัดที่จะอยู่ทำงานต่อไป คือเป็นคนที่มีพลังใจที่เข้มแข็ง และมีใครอีกหลายๆ คนในนี้ที่พร้อมที่จะหยัดยืนอยู่ ถึงแม้จะได้เผชิญกับความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้มันให้ความหวังสองระดับ คือ ระดับแรก ทำให้เรารู้สึกภาคใต้ยังมีความหวัง และระดับที่สอง ถ้าไปไกลกว่านั้นก็คือ ทำให้รู้สึกว่าชีวิตยังมีความหวัง ผมคิดว่าตรงนี้ยังมีความหมายและสำคัญอย่างยิ่ง...

“ประเด็นที่สาม ผมคิดว่าเป็นการสร้างมาตรฐานแห่งการรับรู้และความเข้าใจภาคใต้เสียใหม่จาก ข้อมูลที่ถูกสั่งสมและถูกประมวลรวมกัน ผมคิดว่ามันทำให้เกิดฐานแห่งการรับรู้และความเข้าใจ ซึ่งมันไปไกลกว่า ไม่ว่าในเชิงข้อมูล ในเชิงของการทำความเข้าใจต่อปัญหา ผมคิดว่าสามสิ่งนี้เป็นเหมือนผลผลิต อันเกิดจากประเด็นที่ได้คุยได้ฟังว่า หนังสือนี้ถูกเรียบเรียงด้วยความสมดุลของอะไรต่ออะไร คือมันให้ความหวัง มันให้ความเป็นมนุษย์ และมันให้การรับรู้และความเข้าใจใหม่...

”ผม คิดว่าหนังสือเล่มนี้ ในส่วนของรูปที่มีอยู่เป็นจำนวนมหาศาล มันเหมือนคำอธิบายที่มีค่ามาก แต่เสียดายครับ ผมรู้สึกแปลกเหมือนกัน เพราะว่าปกติ การทำข่าวจะให้คำอธิบายรูปว่านี้คือรูปของอะไร นี่มันถ่ายเมื่อไหร่ นี่มันอะไรยังไง แต่กลับไม่มีคำอธิบายภาพ (caption) อาจจะเร่งไปนิดหนึ่ง หรือจะอย่างไรก็แล้วแต่ เราต้องอ่านแล้วค่อยๆ เดาเอาเองว่านี่คือคนนี้ ถ้าเพิ่มเติมในรูปอะไรต่างๆ ด้วยนี่ก็ดี...

“เห็น ด้วยกับคำพูดของ อ.สุวรรณา นำเสนอว่า คงจะยากที่จะตัดในเรื่องของความรู้สึกอคติออกมาได้ ทั้งที่เจตจำนงของผู้นำเสนอก็อาจจะพยายามที่มีความเป็นกลางมากๆ โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์คงยากที่ตัดจะตัดสิ่งเหล่านี้ออกไป มันอาจจะมีโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจที่แทรกซ้อนอยู่ในนี้ แต่ก็อยากจะช่วยแก้ต่างให้เหมือนกันว่า คนทำได้พยายามเหลือเกิน ที่ทำแล้วให้ได้ภาพที่มันเกิดดุลยภาพขึ้น แต่แน่นอนที่สุด อาจจะยังไม่เต็มที่เสียทีเดียว เชื่อว่าต่อไปถ้าจะมีชุดสอง ชุดสาม ของอะไรแบบนี้ออกมาอีก เป็นอะไรที่น่าอ่านมาก เป็นอะไรที่เพลิดเพลินต่อความรู้สึก ได้อารมณ์ดี สะเทือนใจ ได้หลายอย่าง จากภาษาที่เรียบง่าย อย่างที่ อ.สุวรรณา กล่าวว่า ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่เรียบง่ายและกินใจ ผมอ่านแล้วก็ยังจับข้อสังเกตแบบ อ.สุวรรณาไม่ได้ ว่าตรงนั้นเป็นอย่างนั้น ตรงนี้เป็นอย่างนี้ อันนี้ไม่เป็นความจริง อ่านไปเพลิดเพลินไป ไม่ทันรู้สึกว่า ลุงจวนถูกตัดคอตั้งหลายครั้งในเรื่อง”

วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย – “เพราะเวลามันมีน้อย เราทำหนังสือเล่มนี้อยู่สองอาทิตย์ 30 เรื่องนี้สองอาทิตย์ เพราะไม่มีเวลา งานอื่นรออยู่ ส่งไปทางสำนักพิมพ์ดีเอ็มจีบุ๊คเขาตรวจบรู๊ฟ เขาจัดหน้าให้ โดยทาง บก.ศูนย์ข่าวอิศราเป็นคนจัดรูปให้ ก็มีเรื่องหงุดหงิดเยอะแยะ ในการที่คนทำหน้าที่พิสูจน์อักษร (proof reader) เขาไม่ได้ทำหน้าที่พิสูจน์อักษรอย่างเดียว เขาจะแก้สำนวนเราด้วย สิ่งที่หงุดหงิดก็คือว่า เราเขียนว่า ‘ไอ้ของพวกนี้มันข้ามขอบฟ้าข้ามทะเลมา’ เขาว่าเราเขียนผิดไปแก้มันว่า ‘ข้ามน้ำข้ามทะเลมา’ เราก็บอกมันให้อารมณ์ต่างกันกับที่เขาไปแก้มา เราเขียนถึงครูจูหลิง บอกว่า ‘เรือจ้างได้อับปางลงอย่างน่าเศร้าระทมใจ’ เขาก็ไปแก้ว่า ‘น่าเศร้าสลดใจ’ เราก็บอกว่าไม่ใช่หน้าที่เขาที่จะมาแก้ของเรา เราก็ต้องตามกลับไปแก้ใหม่ มันมีหลายตอนที่ต้องตามไปให้เขาแก้ ขณะเดียวกันมันก็เป็นความผิดพลาดของเราด้วย เวลามันน้อย เวลาทำหนังสือจนถึงพิมพ์ให้เสร็จเพียงหนึ่งเดือนเอง ส่วนที่ถามกันว่า ‘เจดีย์หัก’ ที่แท้เรื่อง ‘ฟ้าหม่นเจดีย์หักที่ปักษ์ใต้’ อยากจะเน้นให้เห็นว่าเมืองไทยเราเป็นเมืองพุทธ คนพุทธรักสงบ คนพุทธเป็นคนจิตใจกว้างขวาง อยู่กับคนทุกศาสนาได้อย่างมีความสุขมาโดยตลอด ไม่ใชมีปัญหาเรื่องความขัดแย้งทางศาสนา เจดีย์เราก็หมายถึงศีลธรรมคุณงามความดี เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ภาคใต้โดยคนกลุ่มน้อยที่ทำให้มีความเดือดร้อนวุ่นวาย มันก็เหมือนกับคุณงามความดีกำลังถูกทำลาย เจดียืหักก็คือสัญลักษณ์อันนั้น ไม่ได้หมายถึงมุสลิมหรือพุทธอะไร”

รศ. ดร.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร – “ขอเพิ่มเติมนิดหนึ่งนะคะ ตอนได้ยินชื่อหนังสือ คือได้ยินชื่อก่อนเห็นตัวหนังสือ เพราะคุณวิมลพรรณโทรไปบอก ส่วนที่หนึ่ง คุณวิมลพรรณ นอกจากจะเป็นนักเขียนแล้วนี้ยังเป็นกวีเขียนกลอน เขียนอะไรเกือบจะเป็นกลอนสดได้เลย เพราะนั้นมันเป็นสิ่งที่อยู่ในสมองของเธอจึงออกมาชื่อนี้เป็นอย่างที่รู้กัน ข้อที่สอง ดิฉันคิดว่าเวลาพูดถึงปักษ์ใต้เขาก็จะหมายเน้นไปที่มุสลิมทางมัสยิดอยู่แล้ว ประการแรก การที่พูดถึงเจดีย์อยู่ได้ในทางใต้คือสิ่งที่เป็นมาแต่เดิมในอดีต ว่ามันมีสิ่งนั้นอยู่ ได้การสร้างวัด ได้มีเจดีย์ได้ใช่มั้ยคะ แต่วันนี้มันเกิดความผิดปกติขึ้นมาแล้ว ดิฉันตีความมาตรงนั้นไม่มุ่งไปที่ว่า เอ๊ะจะมุ่งไปแต่เจดีย์หัก แต่ต้องการจะบอกว่า เจดีย์อยู่ได้มาที่นั้นมาตั้งแต่อดีตมาตั้งนานแล้ว หลายอย่างมีวัดมีอะไรมากมาย อันนี้มันมีความผิดปกติอยู่ เกิดขึ้นอย่างที่ดิฉันคิดถ้าเผื่อเป็นคนที่คุ้นเคยทางวรรณคดีก็จะรู้สึกว่า อันนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ความหมายตรง”

อาจารย์นิตยา มาศะวิสุทธิ์ – “เรียน อ.เนตรสักนิดได้มั้ยคะว่า ตอนที่ อ.สุเนตร อ.สุวรรณาพูดบอกว่า มันทำให้เราเกิดความเข้าใจ ความเรียนรู้ตระหนักอะไรได้หลายอย่าง แต่ผลกระทบอีกอย่างหนึ่ง ดิฉันอยากจะทราบว่าผู้คนที่แก้ปัญหาในภาคใต้นั้นนะคะ จะมีโอกาสที่จะได้อ่านหนังสือนี้ หรือนำไปประกอบความเข้าใจรับรู้เค้าจะได้มั้ย ไม่ทราบว่าจะแจกจ่ายเค้าได้ใช่มั้ยคะ คือคนที่มีหน้าที่โดยตรงที่จะแก้ปัญหาพวกนี้นะคะ มีโอกาสได้อ่านมั้ย”

ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ – คือตรงนี้นะครับผมเองคงตอบไม่ได้ แต่สิ่งที่ผมตอบได้แน่นอนเนี่ย คือ ผู้เขียนบทความและมีบทความหลายตอนที่อยู่ในนี้ซึ่งมีสาระที่ฝากไปถึงผู้ที่ ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ ในอันนี้แน่นอนที่สุด ในอันนี้มีการตั้งคำว่า เมื่อมันเกิดภาวะอย่างนี้ ผู้ที่มีความรับผิดชอบหน้าที่โดยตรง ไม่ว่าภาครัฐจะมีการเข้ามารับผิดชอบไหม และเข้ามาช่วยเหลือไหม เข้ามาจัดการแก้ปัญหายังไงที่จะให้ความมั่นคงทางด้านความรู้สึก ที่จะปลอดภัยอย่างไร ผมคิดว่า มีข้อความไม่น้อยเลยที่อยู่ในนี้ ที่ฝากขึ้นไปให้ แต่จะถึงหรือปล่าวนี้ประเด็นแรกไม่ทราบ แล้วก็ประเด็นที่สองก็คือว่า ถ้าจะถึงแล้วจะเกิดผลอะไรหรือปล่าว ก็บอกไม่ได้”

วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย – “ขออธิบายนิดหนึ่งนะคะ ก่อนหน้านี้ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ ท่านก็ให้ความสนใจกับศูนย์ข่าวอิศรามาก  ท่านฝากปรารภว่าจะฝากเงินสัก 50 ล้าน ทำต่อไปเถอะ เราบอกว่ารับไม่ได้ คือความเป็นสมาคมนักข่าว รับเงินแบบนี้ไม่ได้ เรากำลังทำหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ท่านก็บอกว่าท่านจะดูซิว่า รัฐบาลจะซื้อได้ยังไงแค่ไหน ก็แล้วว่าท่านจะซื้อแค่ไหนเราก็รออยู่”

รศ. ดร.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร – “ขออนุญาตเพิ่มเติมของ อ.สุเนตรที่บอกว่ามีการส่งสารบางอย่าง มันมีบทหนึ่งที่ดิฉันติดใจมาก คือพูดถึงคุณหมอที่ทำงานในพื้นที่ และบทนั้นมันเป็นเนื้อหาที่ชัดเจนมากเลย เพราะคุณหมออธิบายได้ชัดเจนมาก เป็น 5 ประเด็น มันทำให้รู้สึกว่าเกิดปัญหาอะไร ในการที่เข้าไปปฏิบัติการแล้วไปตกอยู่ระหว่างสองฝ่าย ซึ่งบางทีทางฝ่ายรัฐก็เหมือนว่าจะเข้ามาช่วย หรือพยายามเข้ามาใกล้ชิด แต่มันจะทำให้เกิดปัญหาขึ้น ทางฝ่ายประชาชนเองก็อยากจะใกล้ชิด แต่ก็มีความไม่ไว้วางใจ และมันเป็นภาวะที่ลำบากมากของคน ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็นฝ่ายรัฐนั่นแหละ คือเป็นฝ่ายทางการนั่นแหละ คิดว่าไปทำงานตรงนั้น น่าสนใจมากเลย ดิฉันคิดว่า
มันเป็นเพียงตัวอย่าง หนึ่งของหน่วยงานหลายๆ หน่วยงานที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตรงนั้น ซึ่งภาพผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ทราบว่าจะไปบังคับ บีบคอให้อ่านได้อย่างไร มันก็อยู่ที่ว่าคนดีอย่างนั้นอยู่ที่ตรงไหนบ้าง เราก็หวังว่าเขาจะมีอำนาจพอที่จะทำให้เกิดวงคลื่นที่จะแผ่ไปมากๆ...

“ดิฉัน เชื่อว่าหนังสื่อเล่มนี้ คนอ่านที่เป็นคนธรรมดาสามัญทั้งหลาย จะเป็นนักเรียนนักศึกษา จะเป็นผู้คนทั้งหลายทั่วไปที่เขาถูกรุมอยู่ด้วยข่าวทั้งหลายนี้นะคะ ถ้ามีเวลาพอที่จะอ่าน อันนี้มันจะได้หยุด ไม่ใช่ว่ารักพวกนั้นนะคะ ได้มีเวลาที่สมองจะปลอดจากการที่จะรับข้อมูล ที่จะระดมเข้ามา ไม่รู้ว่ามันเป็นข้อมูลของใครทางไหน มีประโยชน์อะไรบ้าง และความเข้าใจอย่างนี้ จะมีภาวะคัดกรองบางอย่าง และการรับรู้บางสิ่งซึ่งมีความหมายนี้ มันน่าจะเป็นประโยชน์ตรงนั้น พอหมดเรื่องคุณหมอ  ดิฉันอ่านแล้วรู้สึกเข้าใจเลยว่า เป็นดิฉันก็คงกลุ้มใจ... แล้วก็ประทับใจมากตอนที่คุณหมอเล่าว่า เป็นตอนจบที่ดิฉันชอบมาก บางบทก็รู้สึกขำๆ บทนี้ก็อ่านแล้วรู้สึกดีมาก เป็นบทสั้นๆ บอกว่าเขาเถียงกันว่า ญาติขอว่าไม่เอามารักษาแล้วบอกว่าให้ตายอย่างสงบดีกว่า แต่ญาติอีกฝั่งหนึ่งก็อยากมารักษาที่โรงพยาบาล แล้วคุณหมอก็ตัดสินใจเดินเข้าไปดู แล้วบอกว่านั่นเป็นโรคเบาหวาน แล้วก็ช็อคไปเท่านั้นเอง ให้ยาแล้วก็หาย คุณหมอก็เลยว่า ผมก็กลายเป็นหมอวิเศษไป นี่มันเป็นลักษณะที่ อ.สุเนตรบอกว่า มันทำให้คนเป็นมนุษย์ที่มีความหมาย ทุกๆ ฝ่ายไม่ใช่มีความหมายฝ่ายเดียว แต่เป็นทุกฝ่าย ทุกบทมันมีอะไรที่น่าสนใจเสมอ แต่ที่บอกมันมีน้ำหนักต่างกันบ้าง แต่บทนี้เป็นเนื้อหนังโดยตรง และจุดสำคัญเลย”

อาจารย์นิตยา มาศะวิสุทธิ์ – “รายการอภิปรายก็ขอจบลงเพียงเท่านี้คะ”