สรุปวิพากษ์ข้อเสนอแนะงานวิจัยสถานภาพและบทบาทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในประเทศไทย

สรุปวิพากษ์ข้อเสนอแนะงานวิจัยสถานภาพและบทบาทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในประเทศไทย

20-21 มิถุนายน 2552 ณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

 

อาจารย์บรรยงค์ สุวรรณผ่อง รายงาน

รูปเล่ม อดีตต้องบรอดชีท มาตรฐานดั้งเดิม ไม่มีแท่นโรตารี่ ตัดครึ่งเพื่อเป็นบรอดชีท แต่ขณะนี้เป็นขนาดเล็กคือแทบลอยด์ ถ้าเป็นเข้มแข็งจะรายวัน ๑๒ หน้า ถึง ๒๔ หน้า ความถี่เป็นตัวทำตลาดและสร้างโอกาส  ถ้าเป็นยืนหยัด ๑๒-๑๖ หน้า ส่วนระดับพึ่งพิงเป็นรายเดือน เมื่อวางบนแผงต้องเป็นกระดาษปอนด์ สี่สี เป็นเหตุผลทางการตลาด และต้องกระดาษปอนด์ เผื่อเรื่องการโฆษณา รวมทั้งข่าวและภาพข่าว  รองลงมาเป็นสองสี เป็นเหตุผลทางการจัดหน้า ทำบล็อกแค่สามชิ้น ฉบับที่ทำสีเดียว จะค่อนข้างเชื่อมั่นว่า มีคนอ่านแน่นอน แต่มีน้อย

การจัดหน้า เป็นภูมิปัญญาของคนทำนสพ. ใช้วิธีการพิมพ์แล้วปริ้นท์ มาตัดแปะเนี๊ยบมาก แล้วค่อยไปถ่ายฟิล์มทำเพลท การจัดหน้าโดยใช้เพจเมกเกอร์ อิลลัสเตเตอร์ ควากเอ็กซเพรส หรืออินดีไซน์ มหาวิทยาลัยไหนที่สอนแบบดั้งเดิม ถ้าเด็กๆ ทำอินดีไซน์ได้ค่าตัวจะเพิ่ม

ถ้าเป็นเข้มแข็งเป็นโรตารี่ สามารถออกมาหลากหลายมาก บางฉบับเป็นดิจิตอลถ่ายเอกสาร ก็สามารถขายได้ ประหยัดด้วย น่าสนใจ เนื้อหาจะดี ไม่ต้องสนใจเรื่องการพิมพ์มาก ก็ขายได้

 

บทบาทการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมือง หมายถึงอะไร แม้แต่ส่วนกลางยังเข้าใจไม่ตรงกัน ถ้าใช้คำว่า บทบาทและหน้าที่จะเข้าใจ แต่บทบาทการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมืองต้องอธิบาย

๑. การให้ข่าวสารที่เป็นความรู้

๒. การมีส่วนร่วมแบ่งเป็นส่วนร่วมเชิงรับ ส่วนร่วมเชิงรุก ตอบจดหมายของผู้อ่าน ตัวอย่างการมีส่วนร่วมเชิงรับ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม ตัวอย่างเชิงรุก การให้พื้นที่ชาวบ้านเท่าๆ กัน ในเรื่องที่มีผลกระทบโดยตรง โดยอ้อม กลุ่มถูกกระทบ กลุ่มที่ทำให้กระทบ กลุ่มกำกับดูแล

๓. การสร้างความเท่าเทียม เชิงปริมาณ กลุ่มผู้อ่านเป้าหมายเป็นประชาชนทั่วไป เปิดโอกาสให้ชาวบ้านอย่างแจ๋วกับนายกอบจ.เท่ากันหรือไม่

 

ส่วนใหญ่การกำหนดกลุ่มผู้อ่านที่ข้าราชการ นักการเมือง เป็นเป้าหมายหลัก เป็นอุปสรรคสำคัญ เปิดโอกาสให้ชาวบ้านอย่างแจ๋วหรือให้ผู้ว่าฯ หรือให้นายกอบจ.มากกว่ากัน การกำหนดกลุ่มเป้าหมายเช่นนี้ทำให้ขาดโอกาส โดยเฉพาะเรื่องการตรวจสอบ มีนสพ.ท้องถิ่น ๑๐ ชื่อฉบับ ที่ตรวจสอบ พิสูจน์ตัวเองกับท้องถิ่น

ไม่มีกำไร ทำไมทำต่อไปได้ จากรายวัน รายสามวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ ลดขนาดไปเรื่อย ๆ

 

กำหนดวาระเผยแพร่ จากรายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ ลดขนาดจากบรอดชีทเป็นแทบลอยด์ รอวันเฉลิมฯ รอวันพิเศษเพื่อโฆษณา

รายได้มาจาก รับงานพิมพ์จากภายนอก การจำหน่ายตามราคา หรือเหมาจ่าย หรือให้เท่าไรก็เอา สมาชิกอบต. เลี้ยงตัวเองได้

มีรายได้จากเคเบิลทีวี ค่าสมาชิก หากเดือนละ ๓๐๐ บาท จะเป็นอย่างไร

ยกด้วยการขยายนสพ. ยกไม่ขึ้น แต่ขยายด้วยเคเบิลทีวีรายได้ดีกว่า

มิติทางจริยธรรม เป็นเรื่องทางธุรกิจ ไม่ใช่ว่าไม่มีจริยธรรม การลงข่าวภาพข่าวโดยได้รับเงินไม่ผิด

การเมือง ตามม.๔๘ เห็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการวางตัว ไม่ได้ชี้ระบบ เราจะเห็นอาชีพกับประโยชน์ทับซ้อน ตรงข้ามจะเป็นที่กว้างขวางในท้องถิ่น ถ้าทำงานการเมืองจะเห็นภาพจากข้างในมากขึ้น

 

นักข่าวเป็นที่ปรึกษางานประชาสัมพันธ์ แล้วส่งข่าวให้นสพ.ฉบับนั้น ต้องแยกให้ชัดเจน

 

นสพ.ท้องถิ่นกับประชากรผู้อ่าน ๕๗ ล้านคน ต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ได้

คนท้องถิ่นพึ่งพาสื่อส่วนกลาง ไม่พึ่งพาสื่อท้องถิ่น ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างสังคม

จะต่อยอดเป็นการวิจัยเชิงทดลองการดำรงอยู่ของนสพ.ท้องถิ่น

 

รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ วิพากษ์

๑.     สถานภาพ คำถามบางคำถามทำให้เกิดคำตอบซ้ำซ้อนได้ เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล อาชีพก่อนหน้าที่จะมาทำงานนสพ.ท้องถิ่นคืออะไร แต่ไม่ได้ถามว่าอาชีพนั้นยังทำอยู่หรือไม่ มันจะมีผลต่อมากับคำถามว่า ทำงานอย่างอื่นควบคู่ ก่อนหน้าทำแล้วปัจจุบันทำหรือไม่ การตอบอาชีพก่อนหน้าแล้ว มีอาชีพที่ควบคู่เป็นอาชีพที่ยังทำอยู่หรือเปล่า ในตารางที่ ๔ รายได้ต่อเดือนนอกจากนสพ.ท้องถิ่น แสดงว่าต้องมีอาชีพอื่นควบคู่ไปด้วย ตัวเลขอาจจะพลาดได้

๒.     สถานภาพของนสพ.เข้มแข็ง ยืนหยัด พึ่งพิง น่าจะรีวิวเป็นเรื่องขนาดของสิ่งพิมพ์มากกว่า เข้มแข็งไม่ได้สื่อว่า เป็นหนังสือพิมพ์เก่าแก่ ทำมานาน ปลอดจากอิทธิพล เข้มแข็งเป็นการแสดงสภาวะธุรกิจนสพ. น่าจะเป็นขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ไม่ต้องจ้างโรงพิมพ์ แต่มีแรง จ้างโรงพิมพ์ก็ได้ อาจทำให้ภาพบิดไปในสถานะของนสพ. ขึ้นอยู่กับผู้วิจัยด้วยว่าจะวัดอย่างไร อาจจะต้องใช้ตัววัดรายรับ รายจ่าย รายได้ที่รายงานประจำปีต่อกระทรวงพาณิชย์มาวัดเลยว่า มีกำไรสม่ำเสมอ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลนักการเมือง สามารถทำหน้าที่สื่อมวลชนได้ โดยไม่ต้องไปพึ่งว่าคนนี้เป็นผวจ.นำเสนอข่าวให้ อันนี้จึงเป็นความเข้มแข็งของนสพ. ต้องทำตาม”มาตรฐานวิชาชีพนสพ.”ให้ได้ จึงจะเข้มแข็ง

๓.     บทอภิปรายไม่มี ตัวเลขที่น่าสนใจ สนใจงานหนังสือพิมพ์ตั้งแต่แรก ๑๔๐๐ กว่าคะแนนเป็นอันดับแรก เลือกได้มากกว่า ๑ อันดับอื่น ๆ บอกอะไรบางอย่าง ทำนสพ.เพื่อประโยชน์ของพลเมืองหรือไม่ น่าจะหยิบมาอภิปรายให้มาก

๔.     คำถามที่ถามว่า ประกอบอาชีพอื่น กับไม่ได้ประกอบอาชีพอื่น ๑๘๙  แต่พอตารางประกอบอาชีพอื่นต้องมีตัวเลขอันนี้ ถามต่อ ว่ามีอาชีพอะไรบ้าง ตารางที่ ๑๐ บอกว่า ธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจสื่อมวลชน ๒๕๗ แสดงว่า นสพ.ก็มีคนที่ประกอบอาชีพอื่นด้วย ทำให้สถานภาพอาจผิดพลาดได้

๕.     การแบ่งสายงานอย่างเป็นทางการ ๑๒๙ ไม่แบ่งสายงาน  แต่พอถามว่า จำนวนบุคลากร๑-๓ คน เป็น ๑๕๑  ๔-๖ คน ๑๕๘ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นองค์กรใหญ่จึงมีบุคลากรเยอะมาก มาถึงผู้สื่อข่าวประจำ ๑๗๗ คอลัมนิสต์ประจำ ๑๕๔ ตัวเลขไม่แน่ใจว่าสัมพันธ์เชื่อมโยงกับบุคลากรจริง เพราะคำตอบอาจซ้ำกัน สายงานผลิต ๑-๓ คน สายบรรณาธิการ ๑-๓ คน ๔-๖ คน สายงานบริหาร ๑-๓ คน สายตลาด ๑-๓ คน แต่ที่ทราบทั้งฉบับทำอยู่คนเดียว หลายฉบับทำอยู่คนเดียว ถ้าเป็นโครงสร้างที่บอก แปลว่าต้องมีไม่น้อยกว่า ๑๐ คน ถ้าพึ่งพิงจะสรุปได้หรือไม่

ข้อจำกัด ถ้าไม่แบ่งสายงาน พบว่าจะตอบ๑-๓ ส่วนใหญ่ซึ่งอาจซ้ำกัน หรือคนเดียว

๖.     คอมพิวเตอร์ มาใช้ในงานบรรณาธิการเป็นเรื่องปกติ แต่ตัวเลข งานผลิตข่าว ๒๐๓ ฉบับ งานจัดหน้า ๑๙๓ สืบค้นข้อมูล ๙๓ คิดว่ามีแค่เครื่องเดียวทั้งองค์กรหรือไม่ คิดว่าใช้คอมพิวเตอร์ให้เต็มศักยภาพมากกว่า แสดงว่าทุกองค์กรมีอย่างน้อย ๑-๒ เครื่อง ต้องอธิบายชัดเจน ไม่งั้นนสพ.อยู่ในข่ายเข้มแข็งทั้งนั้นเลย เพราะซื้ออุปกรณ์มาในแต่ละฝ่ายได้

ข้อจำกัด เป็นไปได้ว่าใช้เครื่องคอมเครื่องเดียวผลิตทุกงาน

๗.     สี ปก ละเอียดมาก ตารางที่ ๓๖ เรื่องระบบสมาชิก๑๓๕ ฉบับ แบบไหนเป็นระบบสมาชิก เอาเงินมา แล้วแจก หรือส่งถึงบ้าน จำหน่ายถึงแค่นี้จริงหรือ ถ้านสพ.ท้องถิ่นทำได้ขนาดนี้ แปลว่านสพ.ท้องถิ่นสามารถอยู่ได้ในระบบสมาชิก มีลูกค้าถาวร สามารถพัฒนาได้อีกเยอะมาก ที่น่าสนใจคือ แจกฟรี

๘.     ส่งเสริมการขาย ลดแลกแจกแถม มีกำลังทุน ที่จะทำส่งเสริมการขาย เช่น ซื้อ๑ ฉบับแถมแก้ว๑ใบ กิจกรรมส่งเสริมการขาย ที่เป็นอภินันทนาการผู้มีกำลังโฆษณา วางสิ่งพิมพ์ให้อ่าน ฯลฯ เท่าที่ทราบ นสพ.จะไล่แจกแหล่งข่าว บังคับแหล่งข่าวให้ลงโฆษณา ตรงที่เป็นอภินันทนาการผู้มีกำลังโฆษณาจึงไม่น่าจะเป็นส่งเสริมการขาย

๙.     อาชีพ กลุ่มเป้าหมายหลัก กับรอง เหมือนกันเลย เช่น กลุ่มข้าราชการ ๑๑๗ ผู้นำชุมชน ก็อยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คนมีรายได้ ชนชั้นกลาง ก็คือประชาชนทั่วไป แต่แบ่งไม่ขาด นักพัฒนาท้องถิ่น เป็นได้ทั้งราชการ พัฒนาเอกชน ประชาชน อยู่ที่การนิยาม ให้ชัดเจน

๑๐.บทบาทการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมือง แยกจากสถานภาพ เพราะสองหัวข้อไม่ใช่สถานภาพ ต้องใช้ content analysis ไม่ใช่ไปถามเขาว่าคุณเป็นมั้ย ไม่ใช่ถามว่า เคยไปกินข้าววันเกิดกับแหล่งข่าวมั้ย เกี่ยวกับจริยธรรม เกี่ยวกับวิชาชีพ แต่เข้าใจว่า ถามเพื่อต้องการดูว่า ถ้าคุณไปแปลว่า คุณไม่มีความเป็นพลเมือง ถ้าคุณ... คุณเห็นแก่แหล่งข่าว ไม่ได้เห็นแก่พลเมือง โดยคำถามเป็นนัยเรื่องจริยธรรมมากกว่า ความเป็นพลเมือง ฉะนั้นจะวัดความเป็นพลเมืองต้องใช้เนื้อหาวัดดูว่า มีสาระความเป็นพลเมืองหรือไม่ และไม่มีใครในโลกนี้ตอบว่า ฉันเห็นแก่กำไร ไม่เห็นแก่พลเมือง เสนอว่า แยกสองประเด็นนี้ออกมา เขียนอธิบายรายละเอียด บอกว่า เพื่อให้นัยอะไรบ้าง เชิงบทบาทและหน้าที่ ต้องอธิบายมากขึ้น ผู้อ่านเข้าไม่ถึงในความคิดที่จะพยายามบอกทางอ้อม

๑๑.คำถามมิติต่าง ๆ ในสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมืองต้องขยันอธิบาย

๑๒.การเป็นพลเมืองกับ civic ตัวชี้วัดไม่สะท้อนการทำหน้าที่พลเมือง ไม่งั้นต้องเปลี่ยน methodology ถามเขาว่าเป็นมั้ย ก็จะมี bias เช่นถามเขาว่าผิดลูกผิดเมียเขาผิดศีลธรรมหรือไม่ ไม่หรอก ความรักเป็นใหญ่ จะได้คำตอบอย่างนี้แน่นอน

๑๓.ชลบุรี ที่ถามผู้อ่าน ค่าเฉลี่ยของการช่วยเหลือ ทำให้เห็นว่านสพ.ท้องถิ่นเป็นอย่างไร สังเกตความคาดหวัง จะคาดหวังปานกลาง แต่สิ่งที่ห่วงมากกว่านั้น คือ content ข่าว บทความ ภาพข่าว ฯลฯ แสดงว่า นสพ.ท้องถิ่นยังไม่เป็นไปตามที่เขาคาดหมาย จึงต้องเสนอแนะว่า นสพ.ท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องเจ็ดแปดเก้าสี แต่เน้นเนื้อหาที่ควรจะเป็น คนจึงจะอ่านเอง เมื่อนั้นนสพ.ส่วนกลางไม่เป็นประโยชน์เลย ในรีวิวบอกว่า นสพ.ส่วนกลางพยายามเสนอข่าวท้องถิ่น แสดงว่า พื้นที่ท้องถิ่นขายได้ดีมาก จากตารางจึงทำให้เห็นว่า คนท้องถิ่นอยากอ่าน ถ้านสพ.ท้องถิ่นสนองตอบเขาได้

๑๔.จากประสบการณ์ที่คลุกคลีกับนสพ.ท้องถิ่น นักวิจัยต้องทำความเข้าใจและใจกล้าพอที่จะพูดเกี่ยวกับ status ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น คนอื่นที่ทำนสพ.ท้องถิ่นที่มาทำเพราะมีประโยชน์อย่างอื่น เช่น นักการเมืองมีแท่นพิมพ์อยู่แล้ว มาทำนสพ.ท้องถิ่น ดูว่าเพื่อประโยชน์การเมืองหรือเพื่อพลเมือง หรือเพื่อธุรกิจ

๑๕.ต่างจังหวัด ความมีเสรีภาพ ความอยู่รอด ความเข้มแข็ง ยากที่จะปรากฏในต่างจังหวัดบ้านเรา คุณสุนทร ทราบดีว่าน้อยมาก แต่ก็เยอะกว่าอดีตขึ้น จะทราบว่า เขาตอบไปอย่างนั้นเอง ที่ อ.บรรยงค์เสนอรายงานไป ผู้ตอบยังไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่าตอบอะไร เช่น บทบาทหน้าที่การเป็นพลเมือง เพราะวัตถุประสงค์ที่เขาเข้ามาไม่ได้เข้ามาเพราะตรงนี้ มันเป็นสื่อ มีเนื้อหาพาเขาไปก็พอแล้ว เปิดพื้นที่ให้คนมีส่วนร่วมหรือไม่ คุณพูดอะไร พอถามว่า หมายความว่าคุณลงให้หรือไม่ คนตอบงง คนตอบขาดความเข้าใจในบทบาทวิชาชีพสื่ออยู่มาก เราหลงไปกับสิ่งที่เขาตอบ แล้วมารายงาน ที่ถูกต้องคือ บทบาทหน้าที่ มันเป็นประโยชน์ที่จะเห็น status ของนสพ.ท้องถิ่นจริง เพื่อพัฒนาให้ถูกทางมากขึ้น มีอะไรหลายอย่างที่มันเป็นปัจจัยทางสังคมที่ซับซ้อนมาก

 

ผศ.อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์ และ อาจารย์ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา ภาคใต้ รายงาน

อาจารย์ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา รายงาน สถานภาพและบทบาทการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมืองของนสพ.ท้องถิ่นภาคใต้

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานภาพและการดำรงอยู่ของนสพ.ท้องถิ่น บทบาทการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมืองของนสพ.ท้องถิ่น ศึกษาปัจจัยเกื้อหนุนและปัจจัยขัดขวางสถานภาพทางธุรกิจและบทบาทการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมืองของนสพ.ท้องถิ่น และศึกษาการปฏิรูปสื่อตามรัฐธรรมนูญพ.ศ.๒๕๕๐ ว่ามีผลกระทบอย่างไรต่อนสพ.ท้องถิ่น ประชากรคือ ผู้บริหารนสพ.ท้องถิ่นในภาคใต้ ที่ผลิตและเผยแพร่นสพ.ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง จำนวน ๔๙ ชื่อฉบับ โดยรวบรวมข้อมูลเดือนมกราคม - สิงหาคม ๒๕๕๑ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ในการเลือกตอบ ได้หลายคำตอบ ค่าสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบความสัมพันธ์ตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ด้วยค่าไค-สแควร์ในระดับความเชื่อมั่นที่ ๐.๐๕

ผลการวิจัย สถานภาพการดำรงอยู่ของนสพ.ท้องถิ่น พบว่า ผู้บริหารนสพ.ท้องถิ่นภาคใต้ เพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่อยู่วัยกลางคน อายุ ๔๐-๔๙ ปีมากที่สุด จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาระดับปริญญาตรี ซึ่งผู้จบการศึกษาปริญญาตรีเป็นรัฐศาสตร์มากที่สุด รองลงมาเป็นนิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา และบรรณาธิการบริหาร ส่วนใหญ่ทำงานอื่นควบคู่กับการทำงานนสพ.ท้องถิ่นมากกว่าทำนสพ.ท้องถิ่นอย่างเดียว งานอื่นที่ทำคู่กับนสพ.ท้องถิ่นได้แก่ ผู้แทนสื่อมวลชนส่วนกลาง รองลงมานักธุรกิจ ค้าขาย และนักการเมืองท้องถิ่น

ลักษณะองค์การและโครงสร้างนสพ.มีดังนี้ ภาคใต้มีนสพ.ที่พิมพ์อย่างต่อเนื่องจำนวน ๔๙ ชื่อฉบับ จังหวัดสงขลามีมากที่สุด จำนวน ๑๑ ชื่อฉบับ รองลงมาคือ ภูเก็ต จำนวน ๙ ชื่อฉบับ ตรัง จำนวน ๘ ชื่อฉบับ จังหวัดที่ไม่มีนสพ.เลย ได้แก่ สตูล ปัตตานี และนราธิวาส องค์กรนสพ.ท้องถิ่นมีเพียง ๑ ใน ๔ ที่ประกอบธุรกิจอย่างเดียว ที่เหลือต้องทำธุรกิจสื่ออื่น และธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจสื่ออื่นควบคู่ไปด้วย  ธุรกิจสื่ออื่นได้แก่ เว็บไซต์นสพ. วิทยุท้องถิ่น บริษัทโฆษณา ผลิตสื่อโฆษณา และดำเนินการโฆษณา  ส่วนธุรกิจอื่น ได้แก่ ค้าขาย ธุรกิจการเกษตร ธุรกิจบริการ รับจ้าง เป็นต้น

นสพ.ท้องถิ่นทำงานมาเป็นเวลา ๑๐-๑๙ ปีมากที่สุด รองลงมา ๑-๙ ปี มีเพียงรายเดียว ทำมานานกว่า ๓๙ ปี ค่าเฉลี่ยระยะเวลาเท่ากับ ๑๐.๘ ปี ส่วนธุรกิจอื่น ได้แก่ เว็บไซต์นสพ. ระยะเวลา ๑-๔ ปีมากที่สุด วิทยุท้องถิ่น ส่วนใหญ่ ๑-๔ ปี  ธุรกิจโฆษณา ส่วนใหญ่ ๑-๔ ปี

องค์กรนสพ.ท้องถิ่นภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นขนาดเล็ก มีจำนวนบุคลากรเป็นเวลา ๑-๓ คน มีลักษณะเป็นวิสาหกิจส่วนบุคคล มากกว่านิติบุคคล เป็นบริษัทจำกัด มากกว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด  ส่วนใหญ่เป็นกิจการครอบครัว และที่เหลือเป็นกิจการร่วมทุน นสพ.ภาคใต้ไม่มีการแบ่งสายงานอย่างเป็นทางการมีมากกว่าแบ่งสายงานอย่างเป็นทางการเล็กน้อย กรณีแบ่งสายงานเป็นทางการ สายงานที่พบ คือ สายงานบรรณาธิการ สายงานการผลิตมีน้อยที่สุด สายงานบริหารมี ๑-๓ คน  และสายงานการตลาด ๑-๓ คน ค่าเฉลี่ยของบุคลากรสายงานจากมากไปน้อยดังนี้ สายบรรณาธิการ สายบริหาร สายการผลิต และสายการตลาด เฉพาะสายงานบรรณาธิการมีคนประจำ จำนวน ๑-๔ คน เช่น ผู้สื่อข่าวประจำ พิสูจน์อักษร คอลัมนิสต์ ช่างภาพ ออกแบบจัดหน้า ค่าเฉลี่ยจำนวนบุคลากรจากมากไปน้อย เรียงลำดับดังนี้ คอลัมนิสต์ประจำ ผู้สื่อข่าวประจำ ช่างภาพประจำ และฝ่ายออกแบบจัดหน้า

ส่วนใหญ่จ้างโรงพิมพ์อื่นผลิตให้ เกือบทั้งหมดนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในองค์กร ในงานบริหารและงานบรรณาธิการใกล้เคียงกัน ได้แก่ ผลิตงานข่าว ใช้สืบค้นข้อมูลและสื่อสาร ใช้จัดรูปเล่ม นอกจากนี้ยังใช้คอมพิวเตอร์มาผลิตสื่ออื่น ได้แก่ เว็บไซต์นสพ.และสิ่งพิมพ์ มากที่สุด องค์กรนสพ.ท้องถิ่นส่วนใหญ่ไม่มีค่าตอบแทนบุคลากรแบบตายตัวในหน่วยงาน

สถานภาพธุรกิจของนสพ.ท้องถิ่นภาคใต้ พบว่า ผู้บริหารนสพ.กว่าครึ่งหนึ่งมองว่าตนเองเป็นระดับ ยืนหยัด รองลงมาเป็นพึ่งพิง และระดับเข้มแข็งน้อยที่สุด สัดส่วนรายได้ พบว่ารายได้จากการโฆษณา ร้อยละ ๗๕-๑๐๐ มากที่สุด รายได้จากยอดขาย ต่ำกว่าร้อยละ ๒๕ มากที่สุด องค์กรต้องนำรายได้มาจากที่อื่นจุนเจือนสพ.ท้องถิ่นเกินกว่าครึ่งหนึ่งเล็กน้อย ค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ รายได้จากโฆษณา รองลงมารายได้จากการทำงานอื่นจุนเจือ จำนวนหนึ่งได้รับการอุดหนุนจากเงินที่ไม่ใช่โฆษณาจากองค์กร บริษัท ห้างร้าน ร้อยละ ๗๕-๑๐๐ เช่น เงินอุดหนุนจากนักการเมือง พรรคการเมือง เงินอุดหนุนจากภาครัฐ นสพ.ท้องถิ่นภาคใต้จะเป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพ มากกว่าไม่เป็นสมาชิก

ส่วนใหญ่ตีพิมพ์เป็นภาษาไทย นอกนั้นเป็นสองภาษา คือไทย-อังกฤษ วาระการเผยแพร่เป็นรายปักษ์มากที่สุด รองลงมาเป็นรายเดือน มีรายวันและรายสะดวกอย่างละ ๑ ฉบับ ส่วนใหญ่ราคาจำหน่าย ๖-๑๐ บาทต่อฉบับ จัดจำหน่ายด้วยการวางแผงมากที่สุด รองลงมาเป็นระบบสมาชิก และแจกฟรีน้อยที่สุด วางแผงด้วยวิธีรวมห่อจัดจำหน่าย ใกล้เคียงกับวางแผงเอง ส่วนใหญ่จัดจำหน่ายในพื้นที่อำเภอภายในจังหวัดอันเป็นที่ตั้งของนสพ. วันที่นสพ.ขายดีส่วนใหญ่ตอบว่า ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับประเด็นข่าว การส่งเสริมการขายด้วยการอภินันทนาการแหล่งข่าวและผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการโฆษณา รองลงมาเป็นวางนสพ.ให้อ่านฟรีที่สนามบิน แหล่งชุมชน และโฆษณาในสื่ออื่นๆ  กลุ่มเป้าหมายหลักของนสพ.ท้องถิ่นภาคใต้ คือ ข้าราชการ ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มบริษัท องค์กรเอกชน นักธุรกิจเท่ากัน รองลงมาเป็นนักการเมือง  กลุ่มเป้าหมายรอง เป็นประชาชนทั่วไป และกลุ่มข้าราชการ ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่ากัน ต้นทุนเฉลี่ยจัดทำนสพ. ประมาณ ๑๖-๒๐ บาทมากที่สุด รองมา ๑๐-๑๕ บาท และ ๑-๙ บาท ยอดจำหน่าย ๑,๐๐๐-๑,๙๙๙ ฉบับ ใกล้เคียงกับยอดผลิตที่ ๒,๐๐๐-๒,๙๙๙ ฉบับ

บทบาทการสื่อสารเพื่อการเป็นพลเมือง เป็นการประเมินบทบาทตนเอง ดังนี้ โอกาสในการสร้างความเข้าใจเป็นประจำ มีโอกาสแก้ไขความขัดแย้งเป็นครั้งคราว การเผชิญปัญหาด้านจริยธรรม ผู้บริหารนสพ.ตอบว่า เคยเปิดโอกาสให้แหล่งข่าวกับฝ่ายตรงข้ามในสัดส่วนใกล้เคียงกันมากที่สุด รองลงมา เป็นการไปรับประทานข้าวกับแหล่งข่าว หรือสังสรรค์งานวันเกิดแหล่งข่าวเป็นการส่วนตัว และลงข่าวให้แหล่งข่าวที่รู้จักมากกว่าแหล่งข่าวที่ไม่รู้จักสนิทสนม แนวทางการปฏิบัติเมื่อมีปัญหาทางจริยธรรม มีดังนี้ การตีพิมพ์ชื่อนามสกุลแหล่งข่าวคลาดเคลื่อน ผู้บริหารนสพ.ขออภัยแหล่งข่าวและผู้อ่านในเล่มถัดไป เตือนทีมงานให้ระมัดระวังมากที่สุด กรณีลงข่าวความสัมพันธ์ของดาราผิดจากข้อเท็จจริง เลือกลงข่าวแก้ไขเพื่อขอโทษมากที่สุด รองลงมาตอบว่า ไม่เสนอข่าวลักษณะนี้ กรณีนำเสนอสินค้าตัวใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนแต่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการเดิม ผู้บริหารนสพ.เลือกนำเสนอสินค้าใหม่เกือบทั้งหมด โดยนำเสนอสินค้าเปรียบเทียบกับสินค้าที่มีอยู่แล้ว ใกล้เคียงกับรายงานไปตามที่ได้รับข้อมูลจากการแถลงข่าว กรณีที่ถูกแหล่งข่าวที่รู้จักขอร้องให้ลงข่าวตามที่แนะนำ ส่วนใหญ่ตอบว่า นำเสนอทั้งของชุมชนและที่ถูกขอร้อง ใกล้เคียงกับปฏิเสธและนำเสนอข้อมูลตามที่ตนเองได้รับข้อมูลมา

กรณีขอดูผลสอบของนักเรียนที่รู้สึกว่าการสอบคัดเลือกไม่เป็นธรรม เลือกตอบว่า ตีพิมพ์สิทธิตามพรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่ให้ขอเปิดดูข่าวสารได้ใกล้เคียงกับนำเสนอเป็นข่าวเช่นเดียวกับเหตุการณ์อื่นๆ กรณีชาวบ้านร้องเรียนปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมายังนสพ.ท้องถิ่น เลือกตอบว่า สอบถามแล้วหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้วจึงนำเสนอมากที่สุด กรณีที่บริษัทขนาดใหญ่ดำเนินธุรกิจแล้วมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และต่อมาบริษัทดำเนินการเพื่อบรรเทาผลเสีย เลือกตอบว่า เสนอข่าวทั้งส่วนโครงการและส่วนที่กระทบสิ่งแวดล้อม ใกล้เคียงกับเสนอข่าวที่บรรเทาสิ่งแวดล้อม โอกาสในการรายงานข่าวสารด้านต่างๆ เป็นดังนี้ รายงานข่าวสารข้อมูลทางเศรษฐกิจและธุรกิจท้องถิ่น เป็นประจำ และไม่ได้จัดพื้นที่รายงานความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเกษตรมากที่สุด รายงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความบันเทิงบ้างเป็นครั้งคราว ใกล้เคียงกับรายงานเป็นประจำ และการนำเสนอข่าวเพื่อให้ฉบับตาม มีบ้างแต่ไม่บ่อยนักมากที่สุด รองลงมาคือ มีประจำ

นสพ.ท้องถิ่นภาคใต้เคยรายงานข่าวที่มีผลกระทบต่อสังคม จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีบ้างแต่ไม่บ่อยนัก มากที่สุด ส่วนสาเหตุที่ทำให้ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงมีสองสาเหตุ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหา และเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกเกินการแก้ไขในระยะเวลาอันสั้น เช่น การซื้อเสียง การให้ความสำคัญของเนื้อหาของนสพ.ภาคใต้ ผลเป็นดังนี้ ความสำคัญระดับมากได้แก่ ข่าวการเมือง ภาพข่าว และรายงานพิเศษ ความสำคัญระดับปานกลางได้แก่ ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวสาธารณสุข ข่าวสารจากองค์กร ข่าวการศึกษา ข่าวศิลปวัฒนธรรม ข่าวสารจากผู้อ่าน คอลัมน์แสดงความคิดเห็น คอลัมน์ร้องทุกข์จากชาวบ้าน และข่าวกีฬา ส่วนความสำคัญระดับน้อย ได้แก่ ข่าวอาชญากรรม ปกิณกะ และการ์ตูนล้อการเมือง

ผู้บริหารนสพ.ท้องถิ่นภาคใต้มองบทบาทองค์กรของตนเอง ดังนี้ บทบาทเป็นสถาบันเพื่อสังคมมากที่สุด รองลงมา เป็นเวทีสาธารณะของทุกคน และเป็นที่พึ่งพิงของสังคมเท่ากัน ครูผู้ให้ความรู้ สุนัขเฝ้าบ้าน และน้อยที่สุดคือ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำทุกเรื่อง

ผลวิจัยส่วนที่สาม ปัจจัยเกื้อหนุนและปัจจัยขัดขวางสถานภาพทางธุรกิจและบทบาทการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมืองของนสพ.ท้องถิ่น ได้จากการใช้สถิติไค-สแควร์มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรต้น ๓๓ ตัวแปร กับตัวแปรตามคือสถานภาพของนสพ.ท้องถิ่นภาคใต้ พบว่า ตัวแปรต้นที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามตัวแปรเดียว คือ จำนวนบุคลากรประจำที่ทำงานเต็มเวลา โดยบุคลากรประจำมีความสัมพันธ์กับสถานภาพของนสพ.ท้องถิ่นภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยจำนวนบุคลากรประจำมีความสัมพันธ์กับสถานภาพนสพ.ท้องถิ่นภาคใต้ระดับเข้มแข็งที่ระดับร้อยละ ๓๐.๙

ผลการวิจัยส่วนที่สี่ การปฏิรูปสื่อของนสพ.ท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ผู้บริหารนสพ.ท้องถิ่นภาคใต้ส่วนใหญ่ไม่เคยสมัครตำแหน่งทางการเมือง ส่วนน้อยที่เคย ก่อนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศใช้ ผู้เคยสมัครดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลมากที่สุด รองลงมาเป็นสมาชิกสภาเขต และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่เคยนำรายได้มาจุนเจือนสพ.มากว่าเคย โดยผู้ที่ตอบว่าเคย จะนำรายได้ทางการเมืองมาจุนเจือเป็นประจำ และผู้เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีแนวทางปรับตัวตาม ม.๔๘ ของรัฐธรรมนูญ คือ วางมือจากงานการเมืองทุกตำแหน่งเพื่อบริหารงานนสพ.อย่างเดียว เท่ากับขายหุ้นให้ผู้อื่นเพื่อทำงานการเมืองอย่างเดียว และทำงานการเมืองอย่างเดียวโดยหาตัวแทนมาบริหารงาน ผู้บริหารงานสพ.ท้องถิ่นภาคใต้มีความเห็นต่อการปฏิรูปการเมืองและปฏิรูปสื่อดังนี้ เห็นว่ามีผลกระทบต่อองค์กรนสพ.ท้องถิ่นมากกว่าไม่มี โดยส่วนที่ตอบว่าไม่มีผลกระทบให้เหตุผลว่า การปฏิรูปมีผลเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ไม่มีผลใด มากที่สุด รองลงมาเป็นวางตัวเป็นกลาง ไม่ยุ่งการเมือง นำเสนอความจริง ก่อตั้งมานานอยู่ตัวแล้ว และเป็นนสพ.ขนาดเล็กไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ส่วนกลุ่มที่ตอบว่ามีผลกระทบ บอกว่า มีผลกระทบเรื่องสื่อแข่งขันรุนแรงมากที่สุด

ผศ.อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์ รายงาน ข้อสังเกต

๑.สถานภาพดำรงอยู่ของนสพ.ท้องถิ่นภาคใต้ พบนสพ.มากที่สุด สงขลา ภูเก็ต และตรัง จังหวัดที่ไม่พบนสพ.เลย คือ สตูล ปัตตานี และนราธิวาส ที่ตั้งจังหวัดและสภาพธุรกิจของจังหวัดทำให้นสพ.ต่างกัน สงขลา ตรัง เติบโตด้วยธุรกิจภาคบริการ มีโฆษณา

๒.รูปลักษณ์ของนสพ.ภาคใต้ เป็นสองสีชุดปก ซึ่งเท่าๆ กับสี่สี เป็นความต้องการของธุรกิจภาคบริการที่จะมาลงโฆษณา เพื่อให้ลงโฆษณาธุรกิจของตนเองดูดี

๓.สถานภาพทางธุรกิจส่วนใหญ่ผู้ประกอบการตอบว่า ตนเองอยู่ในสถานภาพระดับยืนหยัด รองลงมาพึ่งพิง และเข้มแข็ง ปัจจัยที่ทำให้นสพ.อยู่รอดเพราะเป็นองค์กรขนาดเล็ก ไม่แบ่งสายงานอย่างเป็นทางการ เจ้าของคนเดียวดูแลทั้งกองบรรณาธิการ และการบริหารองค์กร

๔.องค์กรทำธุรกิจอื่นควบคู่ไปด้วย ทั้งที่เกี่ยวข้องกับสื่อ และไม่เกี่ยวข้องกับสื่อ ใน๗๕เปอร์เซ็นต์เคยใช้เงินธุรกิจอื่นจุนเจือนสพ. หากดูค่าเฉลี่ยรายได้มาจากโฆษณา และรายได้จากยอดขาย แต่ยังน้อยอยู่แม้ว่าตัวเองบอกว่าอยู่ในระดับยืนหยัด ต้องใช้เงินอุดหนุนจากธุรกิจอื่นเข้ามา นอกจากจะพยายามลดจำนวนคนแล้ว ยังพยายามลดต้นทุนด้วย เช่นที่ตรัง พบว่ารูปลักษณ์นสพ.ไม่ค่อยสวย เป็นสองสี ใช้การโรเนียวดิจิตอล พิมพ์สีม่วงก่อนตามด้วยพิมพ์สีดำ ข้างในเป็นสีเดียวสีดำ กระบี่ ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นรวมกันนำข่าวที่ไม่ได้ตีพิมพ์จากส่วนกลางมารวม ทำให้มีข่าวลงสม่ำเสมอ แม้ว่าไม่มีคนประจำก็ตาม ทำให้องค์กรมีจำนวนคนน้อยการใช้แท่นพิมพ์ให้คุ้มค่ามากที่สุด ค่าใช้จ่ายลดน้อยลงตาม

๕.บทบาทการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมืองของภาคใต้ กรณีตอบแบบสอบถามโดยตั้งเป็นกรณีศึกษาแล้วให้เลือกตอบ ผู้บริหารตอบมาดีหมด ตรงประเด็น แต่เมื่อไปดูรายละเอียดส่วนหนึ่งที่ให้เรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหาในนสพ.ของตนเอง พบว่า ข่าวการเมืองสำคัญมากที่สุด ภาพข่าว สกู๊ปพิเศษ ข่าวเศรษฐกิจ ส่วนคอลัมน์ร้องทุกข์ พื้นที่สำหรับชาวบ้าน จะอยู่ในระดับกลาง ค่าเฉลี่ยค่อนข้างล่าง ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งคือ ประเมินบทบาทของตนเอง เป็นสถาบันทางสังคม เป็นเวทีสาธารณะ กับการแสดงออกไปไม่สอดคล้องกัน ระหว่างการแสดงบทบาทกับบาทการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมือง

๖. ปัจจัยเกื้อหนุนและปัจจัยขัดขวาง ที่มีผลต่อสถานภาพธุรกิจนสพ.ท้องถิ่นภาคใต้ แยกเป็น ๔ เรื่อง คือ เรื่องแรก ปัจจัยการเป็นเจ้าของ เมื่อพิจารณาการเป็นเจ้าของนสพ. พบว่า ส่วนใหญ่ตอบว่าสนใจทำนสพ.ตั้งแต่แรก อีกส่วนหนึ่งคือทำงานให้นสพ.ส่วนกลางแล้วผันตัวเองมา แต่ก็เห็นความตั้งใจทำนสพ.ท้องถิ่นในระดับสูง แต่อย่างนั้นก็ยังมีจุดด้อย คือ การบริหารงานนสพ.ท้องถิ่น

ข้อสอง โครงสร้างการบริหารจัดการนสพ. พบว่า เจ้าของส่วนใหญ่ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ต้องทำธุรกิจอื่นควบคู่ไปด้วย ธุรกิจที่ทำคู่ไปด้วยในจำนวนเปอร์เซ็นต์สูง คือทำธุรกิจสื่ออื่น เช่น เว็บไซต์นสพ. ทำวิทยุท้องถิ่น วิทยุชุมชน บริษัทโฆษณา ฯลฯ ตรงนี้มีการเป็นเจ้าของข้ามสื่อ ทำให้ข่าวชิ้นเดียวกันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เวลาไปขายโฆษณาจะขายง่าย อาจเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้อยู่รอดได้

ข้อสาม ปัจจัยที่เกี่ยวกับธุรกิจและการเมือง พบว่า นสพ.ที่เติบโตจะอยู่ในจังหวัดที่ค่อนข้างมีเศรษฐกิจเติบโต รายได้หลักของนสพ.อยู่ที่โฆษณา ตรงนี้น่าเป็นห่วง เพราะภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ จะได้รับผลกระทบโดยตรง

ข้อสี่ กฎหมายตามรธน.ม.๔๘ พบว่า นักนสพ.ท้องถิ่นส่วนใหญ่ในภาคใต้ เล่นการเมือง และอาจจะผันตัวเองไปเป็นผู้ก่อตั้ง แล้วให้คนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว มาทำแทน มีลักษณะเป็นนอมินี ในการดำเนินการแทน  ประเด็นผลกระทบของรธน.พ.ศ.๒๕๕๐ ที่มีต่อนสพ.ท้องถิ่น ในความเห็นของนักนสพ.ท้องถิ่นคิดว่า รธน.พ.ศ.๒๕๕๐ มีผลกระทบมากกว่าไม่มีผลกระทบ ผลกระทบที่ตอบมากที่สุด คือ สื่อแข่งขันกันรุนแรงในพื้นที่ที่อยู่ และเมื่อพิจารณาผลกระทบแง่บวกและลบ คือ การแข่งขันกันมากขึ้น ขณะเดียวกันมีเสรีภาพมากขึ้น ในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน แง่ของผู้รับสาร ผลกระทบจากรธน.พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นผลดีกับผู้รับสาร ทั้งสื่อมีเสรีภาพมากขึ้น การแข่งขันกันมากขึ้น ตรวจสอบสื่อได้มากขึ้นย่อมมีผลดีต่อประชาชน ขณะที่นักนสพ.อาจจะทำงานยากมากขึ้น

 

รศ.นรินทร์ นำเจริญ และผศ.พูนสุข ภระมรทัต ภาคเหนือ รายงาน

รศ.นรินทร์ นำเจริญ ภาคเหนือ รายงาน

สถานภาพนสพ.ภาคเหนือ พบว่า ไม่แตกต่างจากภาคใต้มากนัก ส่วนใหญ่ไม่ได้จบทางนิเทศศาสตร์ อายุการทำงานค่อนข้างนาน ส่วนใหญ่ทำงานอื่นควบคู่ไปด้วย ทำนสพ.ท้องถิ่นเพราะสนใจ มีการประกอบธุรกิจอื่นควบคู่ไปด้วย ทั้งที่เกี่ยวข้องกับสื่อ เช่น เว็บไซต์นสพ. บางรายก็ทำธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องสื่อด้วย นำรายได้จากการทำธุรกิจอื่นมาจุนเจือในธุรกิจนสพ.ท้องถิ่น เพราะรายได้นสพ.อย่างเดียวอยู่ไม่ได้ รูปแบบส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจส่วนบุคคล บุคลากรมีไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นทางการพิมพ์

รายได้ส่วนใหญ่มาจากโฆษณา ยอดขายค่อนข้างน้อยต่ำกว่าร้อยละ ๒๕ รายได้จากที่อื่นมาจุนเจือนสพ. ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาชีพ และส่วนใหญ่เคยใช้เครือข่ายมาสนับสนุนทำงานนสพ.  วาระค่อนข้างยาว ยอดผลิตค่อนข้างน้อย ราคาขายขาดทุน นี้เป็นลักษณะส่วนใหญ่นสพ.ที่พบ

แง่บทบาทการแสดงเพื่อความเป็นพลเมืองที่พบ ส่วนใหญ่บอกว่า ตนเองมีโอกาสสร้างความเข้าใจในท้องถิ่น มีโอกาสในการช่วยเหลือความขัดแย้งในท้องถิ่น มีความเชื่อมั่นในวิชาชีพของตนเองมาก แต่การปฏิบัติงานในบทบาททั้งสองอย่าง มีการเผชิญกับการข่มขู่ คุกคามโดยนักการเมือง การตัดสินใจทำหน้าที่ สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดจริยธรรมบางอย่าง เช่นนสพ.บางจังหวัดพูดถึงการเลือกตั้งอบจ. อบต.ในพื้นที่ เนื่องจากนสพ.ของเขาใกล้ชิดกับพรรคการเมืองบางพรรค เวลาเสนอข่าวสารก็จะเน้นส่วนที่เขาเกี่ยวข้อง แต่อีกสองสามคนที่ไม่เกี่ยวเขาก็ไม่นำเสนอข่าวสาร ตรงนี้มีคำถามว่าถูกต้องหรือไม่ แต่ไม่ถามตรงๆ ได้รับคำตอบว่า ไม่แปลกตรงไหนเลย เขาไม่ได้ไปด่านักการเมืองตรงกันข้าม แต่เขาแค่ไม่นำเสนอข่าวของฝั่งตรงกันข้ามเท่านั้น นสพ.ของเขาย่อมมีสิทธิที่จะนำเสนอฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเขา เขามีความเชื่อว่า การทำอย่างนี้ไม่ผิดต่อจริยธรรม ฉะนั้นจึงมีความสุ่มเสี่ยงต่อจริยธรรม ต้องเป็นข้อถกเถียงกันต่อไป เพราะนสพ.ส่วนกลางก็ถือข้างถือหางพรรคการเมืองเหมือนกัน

ปัจจัยเกื้อหนุนและปัจจัยขัดขวางสถานภาพของนสพ.ท้องถิ่น ปัจจัยเกื้อหนุน คือ ความเป็นเจ้าของสื่อ นักนสพ.ทำงานมานาน ทำด้วยความมุ่งมั่น เชื่อมั่นว่าสิ่งที่ทำมาถูกต้อง มองโลกในแง่ดีและพยายามทำให้ดีที่สุด ส่วนปัจจัยเชิงโครงสร้างและการบริหารจัดการ มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ และมีผู้บริหารจัดการเพียงคนเดียว ทำให้การบริหารงานคล่องตัวมากขึ้น

ปัจจัยบริบททางการเมือง พบว่า บรรณาธิการส่วนใหญ่ตอบว่า ตนเองไม่เคยเกี่ยวข้องกับการเมือง จริงไม่จริงไม่ทราบ แต่ในแบบสอบถามเขาตอบ เขาไม่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองก่อนหน้านี้ ปัจจัยเชิงกฎหมายและจริยธรรม มีสภาการนสพ. หลักจริยธรรมต่าง ๆ กฎหมายใหม่ รธน.ใหม่ พรบ.การพิมพ์ที่จะทำให้นสพ.ท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ

ปัจจัยด้านผู้รับสาร นสพ.บางส่วนเชื่อมั่นมากว่า ผู้รับสารยังต้องการนสพ.ท้องถิ่น เช่น นักนสพ.บอกว่า หากนำเสนอข่าวท้องถิ่น ต่อให้เป็นไทยรัฐ เดลินิวส์ ใครก็ตาม ไม่มีทางได้ลึกเท่ากับเขา นำเสนอได้ดีเท่ากับเขา เป็นต้น ฉะนั้น เขาเชื่อมั่นมากว่าผู้รับสารยังยินดีสนับสนุนหากนำเสนอข่าวสารโดนใจผู้รับสาร

ส่วนปัจจัยขัดขวาง เช่นเดียวกันว่า ปัจจัยส่วนบุคคล เห็นได้ว่านักนสพ.ไม่ได้จบนิเทศศาสตร์ ความจริงการจบหรือไม่จบก็ไม่ได้สำคัญอะไรมาก แต่มีความคิดบางอย่าง เช่น การเกี่ยวข้องกับการเมืองบ้าง การวิธีคิดเรื่องความเป็นกลางบ้าง อาจทำให้ถกเถียงประเด็นเหล่านี้เข้าใจได้ลึกซึ้งขึ้น อย่างไรก็ดี การเรียนรู้ในการทำนสพ.ท้องถิ่น เราไม่ได้เรียนจากสถาบันอุดมศึกษาเท่าไร เราเรียนจากการถ่ายทอด ครูพักลักจำมากกว่า ฉะนั้นความมุ่งมั่นจึงทำให้เรียนรู้ได้ดีกว่านิเทศศาสตร์ด้วยซ้ำไป เพียงแต่ว่าถ้ามีองค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ไปประกอบอีกเล็กน้อย เขาก็จะทำบทบาทได้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

การบริหารจัดการสื่อ มีพนักงานน้อย ค่าตอบแทนน้อย กำลังใจก็ลำบาก ทำงานส่วนใหญ่ค่อนข้างขาดทุน ไม่ได้รับกำไร แต่มีนสพ.รายวันยักษ์ใหญ่ถึงสองฉบับ ขายทั้งในเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง จากการสัมภาษณ์บรรณาธิการบางฉบับ บอกว่า ถ้าจะทำนสพ.ท้องถิ่นเราจะนำเอาความเป็นนักนสพ.มานำหน้าไม่ได้ เมื่อไรที่นำเอานักนสพ.มานำหน้าธุรกิจ เราจะขาดทุน องค์กรอยู่ไม่ได้ บรรณาธิการบอกว่าต้องคิดเรื่องธุรกิจมาเป็นอันดับหนึ่ง เรื่องตอบสนองต่อสังคมทำเท่าที่ทำได้ เช่น เป็นนักนสพ.ที่มีอุดมการณ์ ทำหน้าที่ สุดท้ายก็ถูกยิงเกือบตาย ทุกวันนี้ คุยกับคุณอำนาจเขาก็ยังกลัวจะถูกยิง ลูกกระสุนที่มันฝังเขาไปในเนื้อมันเจ็บมาก คนยิงใจร้ายมากเลย นักนสพ.ที่มีอุดมการณ์อย่างคุณอำนาจก็ไม่มีใครปกป้องได้ ขณะที่นักนสพ.อีกฟากหนึ่งทำธุรกิจก็มีกำไร อันนี้เป็นความคิดเห็นของบก. ที่ค้นพบออกมา

คำถามคือ แล้วนักนสพ.จะทำให้เป็นนักข่าวเพื่อความเป็นพลเมืองได้อย่างไร หากว่าเราไม่สามารถเอาตัวเองให้รอด ขณะเดียวกันคิดว่าเอาตัวเองให้รอดโดยปล่อยวางความเป็นนักนสพ. ความเป็นวิชาชีพออกไป เอาธุรกิจเป็นตัวตั้ง แล้วเราจะทำนสพ.ท้องถิ่นไปเพื่ออะไร จะทำให้ทั้งสองอย่างนี้สมดุลกันได้อย่างไร จึงจะทำให้นสพ.ท้องถิ่นก้าวต่อไปได้

ปัจจัยทางการเมือง แน่นอนว่ามีการลอบยิง มีการขู่เข็ญ มีการบังคับ เป็นการขัดขวางไม่ให้ทำหน้าที่ของนสพ.ท้องถิ่นได้ ส่วนเรื่องกฎหมาย จริยธรรม ยังมีช่องว่างทางกฎหมาย หรือความเห็นไม่ลงรอยกันในจริยธรรมบางอย่าง เช่น สัมภาษณ์นักนสพ.มาฉบับหนึ่ง เรื่องสภาการนสพ.แห่งชาติส่งหนังสือไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่าการให้เงินเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง เรียกว่าค่าแท็กซี่ก็ดี ค่ารถก็ดี เรียนหน่วยงานราชการไม่ต้องให้เงิน นสพ.ท้องถิ่นจำนวนมากไม่พอใจ ลุกขึ้นมาบอกว่า การทำนสพ.ส่วนกลางกับนสพ.ท้องถิ่นไม่เหมือนกัน ท้องถิ่นเงินก็น้อย ถ้ามีค่ารถให้ทำให้เขาทำข่าวได้ดีขึ้น สิ่งที่สำคัญ คือ สภาการนสพ.แห่งชาติบอกว่า การรับบางสิ่งบางอย่างแล้วผิดจริยธรรมข้อบังคับ นสพ.ท้องถิ่นบอกว่า สภาการฯออกระเบียบก็เป็นเรื่องของสภาการฯ ไม่เกี่ยวอะไรกับฉัน ไม่ใช่สมาชิก ไม่ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่าจะมีจริยธรรมของสภาการนสพ. แต่มีคนคิดว่า เป็นจริยธรรมนสพ.ของคนส่วนหนึ่งที่มีประสบการณ์ยอมรับกัน แต่ท้องถิ่นไม่ยอมรับกันหรือไม่ จะทำอย่างไรที่ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นยอมรับ ตราบที่พูดกันอย่างนี้ มันยากที่จะพัฒนาร่วมกัน ยากที่จะพัฒนาให้มีจริยธรรม หรือความเป็นพลเมือง

ปัจจัยผู้รับสาร เห็นได้ว่า ผู้รับสารต้องการสิ่งที่ดี ถ้านสพ.ท้องถิ่นทำดี ในขณะที่ถ้าทำไม่ดี ผู้รับสารก็ไม่สนับสนุน เช่น แจกฟรี ยอดขายน้อยมาก ขายได้น้อยก็ยิ่งทำให้โอกาสถ่ายทอดความคิด พลังก็ยิ่งน้อยลง ผลิตออกมาแล้วไม่สามารถกระจายตัวได้อย่างแท้จริง กลายเป็นว่านสพ.ท้องถิ่นกับชาวบ้านระดับรากหญ้าแยกออกจากกัน ทำอย่างไรให้ผู้รับสารเข้าถึงนสพ.ท้องถิ่น และนสพ.ท้องถิ่นเข้าถึงผู้รับสาร ปัจจัยขัดขวางจึงอาจกลายเป็นปัจจัยเกื้อหนุนได้

ความเป็นพลเมืองเป็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย นสพ.ท้องถิ่นจึงเป็นกลไกสำคัญในการทำให้เกิดความเป็นพลเมือง แต่ในการศึกษาครั้งนี้ของภาคเหนือ ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ในตัวแปรใดเลย ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ที่จะมีต่อสถานภาพระดับเข้มแข็ง ยืนหยัด พึ่งพิง เป็นที่น่าสังเกตว่า สถานภาพทางธุรกิจไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรเลยกับการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมือง นสพ.ที่เข้มแข็ง ยืนหยัด อาจจะนำเสนอข่าวสารเพื่อความเป็นพลเมืองน้อยกว่า ระดับพึ่งพิงด้วยซ้ำ

 

รศ.สุกัญญา บูรณเดชาชัย ภาคตะวันออก รายงาน

ภาคตะวันออกเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม คนเป็นคนเมือง ทำให้เนื้อหานสพ.ท้องถิ่นโดดเด่นต่างไปจากภาคอื่นๆ นสพ.ท้องถิ่นภาคตะวันออกมีอายุทำงานมากถึง ๓๙ ปี ทำแล้วจะแจกในเทศกาลเป็นส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นระดับยืนหยัด มักเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาชีพ เช่น ประชุมกันเพื่อเป็นความร่วมมือ สวัสดิการ ค่อนข้างลำบาก การเป็นสมาชิกเป็นประโยชน์ต่ออาชีพของเขา บทบาทเป็นสถานะองค์กรเพื่อสังคมเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่ตอบมาไม่ตรงกับที่รู้จัก อาจจะเป็นมุมมองที่ต่างกัน อย่างที่ทำเรื่องผู้รับสารของนสพ.ท้องถิ่น เขาพยายามทำเพื่อความอยู่รอด จะถูกคุกคามถูกข่มขู่ ทำด้วยความเก๋า ซึ่งต้องอธิบายว่าความเก๋าเป็นอย่างไร ตอนที่คุยกับนสพ.ศรีราชา เล่าให้ฟังว่าทำอย่างไรจึงจะผ่านไปได้ ต้องรู้จักอยู่รู้จักกิน รู้จักทำงานรู้จักตำรวจ

ภาคตะวันออก นสพ.พยายามที่จะอยู่ในจรรยา หลักปรัชญาด้านวารสารศาสตร์ แต่ก็เป็นข้อกังขาของผู้รับสารอยู่ดี ข่าวที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่น นสพ.ท้องถิ่นก็พยายามทำ ทั้งเสียงสาริกา ศรีราชา  ประชามติทำจนได้รับรางวัล พยายามทำ ข่าวสิ่งแวดล้อม ข่าวสืบสวนโดดเด่นมาก

ส่วนใหญ่โอกาสทำข่าวสร้างความเข้าใจของท้องถิ่น ทำเป็นประจำ โอกาสในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทำมาก เป็นประจำ เรื่องการปฏิบัติ สรุปว่า ถ้าไม่ปฏิบัติอย่างนี้เป็นคนดี เรื่องการข่าวบรรเทาผลเสียสิ่งแวดล้อม ลงข่าวบรรเทาผลเสียถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เสนอเรื่องนี้ ทั้งระยอง ตราด จันทบุรี ศรีราชา แหลมฉบัง เกาะช้าง ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการเสนอข่าวสิ่งแวดล้อม แสดงว่าตอบสนองท้องถิ่น กรณีเชียร์นักการเมืองท้องถิ่น อบต.อบจ.มีความสำคัญมาก การเมืองในส่วนกลางไม่ค่อยมีผลกระทบกับท้องถิ่น มีการซื้อหน้าโฆษณาตรงของกลุ่มเหล่านี้ ไม่ใช่โฆษณาแฝง แต่จะๆ กันเลย กรณีถูกข่มขู่ ไม่เคย ๕๑ เปอร์เซ็นต์ เคย ๔๘.๗ เปอร์เซ็นต์ พอกัน ส่วนใหญ่ทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ไม่ทำให้ถึงตาย ทำลายทรัพย์สิน ต่อว่าด้วยวาจา ถูกเรียกไปขอไม่ให้ลงข่าว นักข่าวบางคนที่อยู่ชลบุรี บอกเลยว่าจะรู้ว่าใครเป็นใคร เห็นหน้าค่าตากันอยู่ ไม่เหมือนส่วนกลางที่สามารถทำงาน มีองค์กรคุ้มครองได้ ขยายการคุ้มครอง ตอนเสนอข่าวเจ้าพ่อ เขาไม่เข้าบ้าน ใช้วิธีการหายหน้าไปพักหนึ่ง ในการต่อสู้ผลกระทบกับการเปลี่ยนแปลง มีบ้างแต่ไม่บ่อยครั้งนัก รองมาเป็นมีประจำ ทำอย่างไรให้ปรับความเข้าใจกัน ส่วนใหญ่ใช้หนีหายมากกว่า

เนื้อหาของนสพ.ภาคตะวันออก สำรวจความสำคัญเป็นภาพข่าวอันดับหนึ่ง และภาพข่าวประชาสัมพันธ์ ซึ่งถ้าเป็นภาพข่าวอาจมีผลเรื่องของโฆษณาแฝง บางฉบับเกิดขึ้นมาเพื่อเอาใจนายกเทศมนตรี ทั้งภาพข่าวและข่าว ซึ่งเกี่ยวพันกับข่าวการเมือง ส่วนข่าวอาชญากรรมน้อยมาก เน้นข่าวการเมือง และเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่ ส่วนบทบาทที่นสพ.ท้องถิ่นภาคตะวันออกมองตนเอง เป็นสถาบันเพื่อสังคมเป็นส่วนใหญ่ สถานภาพทางการเมืองของนักนสพ.ท้องถิ่น คนที่เคยสมัครการเมือง จะบอกว่ามีคนเคยมาชวนแล้ว แต่ไม่เอา ถ้าจะทำนสพ.ให้ทำเต็มที่ก่อน หรือจะทำการเมืองต้องละไปเลยจากนสพ. ฉะนั้นไม่มีคนทำนสพ.กับการเมืองทั้งสองอย่างเวลาเดียวกัน

ผลกระทบจากการปฏิรูปการเมืองและปฏิรูปสื่อ พบว่า สื่อกระแสหลักเข้ามา เว็บไซต์สื่อ สื่อต่างๆ มีผลให้เกิดการแข่งขันในการทำงาน สถานภาพเกี่ยวกับการเมือง อย่างที่ระบุว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการสมัครการเมือง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นกับตัวแปรตามมีสี่ตัวแปรด้วยกัน คือ การศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ การทำธุรกิจภายใต้เจ้าของธุรกิจคนเดียว วาระการเผยแพร่ไม่เกิน ๑๕ วัน และการยึดมั่นในจรรยาวิชาชีพมีความสัมพันธ์กับตัวแปรสถานภาพของนสพ.ท้องถิ่นระดับความเข้มแข็ง

สอดคล้องกับแนวคิดของทฤษฎีเมื่อเรียนแล้วจะเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ความรู้ก็จะนำมาใช้ในการปฏิบัติ นอกจากนี้อารยายังพบว่า ผู้สื่อข่าวสายการเมืองควรจะมีความรู้เกี่ยวกับสายนิเทศศาสตร์ อาจารย์บำรุง สุขพรรณ์ ระบุว่า ผู้ประกอบการของนสพ.ท้องถิ่นขาดความรู้เกี่ยวกับสื่อสารมวลชน ทำให้ไม่สามารถยืนหยัดได้ ถ้าปรับปรุงแล้วนำความรู้มาใช้จะดีทีเดียว คุณอาปรีชา พบสุข ระบุว่า ต้องรู้ด้วยนำความรู้นิเทศศาสตร์มาใช้ จากการสัมภาษณ์ทั้ง ๘ จังหวัดของภาคตะวันออก ครบทุกจังหวัด คุณวัฒนา จากตราดเดลี่ บอกว่า นักข่าวส่วนใหญ่ไม่ได้จบการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์โดยตรง ไม่มีความรู้ ถ้าสมาคมนักข่าวฯ จะเปิดอบรมให้จะดีมากเลย ข้อสองความเป็นเจ้าของคนเดียวทำให้เกิดความเข้มแข็ง สอดคล้องกับคุณทศพลและคุณกิจจา ระบุว่า ความอยู่รอดของนสพ.ท้องถิ่นมีหลายปัจจัย ปัจจัยที่ทำให้เข้มแข็ง คือ การเป็นเจ้าของคนเดียว จากการวิจัยยังพบว่า ภาคตะวันออกทำธุรกิจนสพ.ท้องถิ่นคนเดียว และทำธุรกิจอื่นควบคู่ไปด้วย คือ ค้าขาย ตรงนี้เป็นแหล่งรายได้อุดหนุน ไม่เช่นนั้นอยู่ไม่ได้ ตัวอย่างที่พัทยาตะวันออกโพสต์ นักศึกษาที่ไปทำงานที่นั้นจะขายฝาท่อน้ำทิ้งไปด้วยควบคู่กับการทำงานนสพ.ท้องถิ่น

ข้อสาม วาระเผยแพร่น้อยกว่า ๑๕ วัน สัมพันธ์กับระดับความเข้มแข็ง ความถี่ต้องออกนสพ.ให้ถี่ขึ้น ความสดใหม่ก็จะมาแน่นอน ถ้าออกไม่ถี่ คุณภาพของข่าวของนสพ.ลดลง ถ้าออกเป็นรายวันอย่างเชียงใหม่นิวส์ก็จะดีมาก สัมภาษณ์ที่จังหวัดอยุธยา และจังหวัดฉะเชิงเทรา คู่แข่งสำคัญคือ สื่อกระแสหลัก และการออกเป็นวาระสม่ำเสมอ ก็ทำให้นสพ.อยู่ได้ ข้อสี่ การมีจรรยาบรรณวิชาชีพมีผลต่อระดับความเข้มแข็ง ถ้าเสริมเรื่องนี้ให้เข้าใจมากขึ้นในด้านวิชาชีพ ซึ่งข้อนี้จะมีความสัมพันธ์กับข้อหนึ่งการมีความรู้เรื่องนิเทศศาสตร์ ทำให้เข้าใจจรรยาวิชาชีพการทำสื่อมากขึ้น หลายคนไม่ได้จบด้านนี้ แต่บางทีทำเอามัน ฝากให้คิดถึงบริบทรอบข้างที่มีผลกระทบ จากการทำวิจัยผู้อ่าน พบว่า คนชลบุรีต้องการให้นสพ.มีจรรยาวิชาชีพ นสพ.อย่างเสียงสาริกา ประชามติไม่มีสี เขาอ่านเนื้อหาเป็นหลัก ถามคุณจักรกฤษณ์ จากตราด ระบุว่า ทำนสพ.ด้วยจรรยาวิชาชีพ ไม่เกรงกลัวข่มขู่ จะแก้ปัญหาได้ทุกที ทำด้วยความเก๋า ต้องถามว่าความเก๋าเป็นอย่างไร คุณประสิทธิ์ จากสระแก้ว ก็เช่นกัน อาวุโสมาก ทำด้วยใจรัก ขาดทุนก็ทำ คนเก่าแก่ดีมาก ยึดมั่นในจรรยาบรรณ ก็ยังถูกคุกคามคุณสุลิดา กองประมุท เคยถูกอิทธิพลมืด แต่ด้วยความยึดมั่นในจรรยาบรรณ ยังสื่อข่าวได้ดี สอดคล้องกับไอลดา บอกว่า นสพ.ท้องถิ่นปัจจุบันตระหนักเรื่องจรรยาบรรณ สรุปว่า ถ้าเสริมสี่ประเด็นที่กล่าวมา นสพ.ท้องถิ่นภาคตะวันออกอยู่ได้

ข้อเสนอแนะ ๑. นสพ.ท้องถิ่นต้องมีองค์กรกลางวิชาชีพเข้ามาดูแล ต้องการการดูแลความปลอดภัย และยังต้องเสริมความรู้ใหม่ ๆ องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ

๒. ควรมีนโยบายปรับปรุงด้านเนื้อหา คนสนใจอ่านเนื้อหาจริงๆ และเฝ้ารอ

ข้อเสนอวิจัยครั้งต่อไป ๑.ควรศึกษาความตระหนักในจรรยาวิชาชีพของนสพ.ท้องถิ่นแล้ว ยังต้องสนใจจรรยาวิชาชีพของวิทยุชุมชน ของสื่ออื่นๆด้วย

๒. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำหน้าที่ของนสพ.ท้องถิ่นมีอะไรบ้าง

๓. ศึกษาผู้อ่านและผู้ไม่อ่านนสพ.ท้องถิ่น

๔. ศึกษาการตัดสินใจลงโฆษณาในนสพ.ท้องถิ่น

๕. บทบาทของนสพ.ท้องถิ่นที่ควรมีต่อท้องถิ่น

 

อาจารย์อังคณา พรมรักษา อาจารย์ธีระพล อันมัยและผศ.เมตตา ดีเจริญ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อาจารย์อังคณา พรมรักษา รายงาน ภาคอีสาน นักวิจัยมองว่าจะทำอย่างไรให้นสพ.ท้องถิ่นในก้าวต่อไปเกิดขึ้นได้ และนำเสนอเฉพาะประเด็นที่คิดว่าจะทำได้มาร่วมแลกเปลี่ยน บางสิ่งจะคล้ายกับที่อ.บรรยงค์กับ อ.อังธิดา นำเสนอเมื่อเช้า ขณะที่บางจุดจะต่าง รวมไปถึงว่าผลวิจัยเป็นภาพส่วนใหญ่ของภาคอีสาน หลายท่านที่อยู่ในภาคอีสานอาจมองว่า ไม่เข้าในข้อมูลที่นำเสนอ

ข้อมูลในแบบสอบถามที่ถามนักนสพ.ท้องถิ่นมองบทบาทของตัวเองอย่างไร พบว่า เป็นสถาบันเพื่อสังคมมากที่สุด เป็นเวทีสาธารณะของทุกคน เป็นที่พึ่งพิงของผู้คน และเป็นครูผู้ให้ความรู้ จึงจะฉายภาพให้เห็นว่า นสพ.ของท่านจะทำหน้าที่เหล่านี้ได้จะต้องมีประเด็นอะไรบ้างที่มาสนับสนุน พบว่า ภาคอีสานกระจุกตัวที่ โคราช ขอนแก่น และอุบลราชธานี มีนัยว่า นสพ.อยู่ที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจ สถานภาพที่พบว่าทำไมมาทำนสพ.ท้องถิ่นของผู้บริหารนสพ. คือ สนใจนสพ.ตั้งแต่แรก รองลงมาคือ สืบทอดกิจการของครอบครัว นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ และอาชีพที่เป็นปัจจัยสำคัญเอื้อต่อการทำนสพ.ท้องถิ่น รายได้ของนสพ.ท้องถิ่น พบว่า ทำนสพ.ท้องถิ่นอย่างเดียวน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับธุรกิจสื่ออื่นควบคู่ไปด้วย แต่ว่าน้อยกว่า ธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่สื่อมวลชน แบ่งเป็นสองด้าน รายได้ที่มาจากทำนสพ.อย่างเดียวไม่เกินหมื่นบาท ขณะที่รายได้อื่นมีถึง๑๐,๐๐๑- ๒๐,๐๐๐ บาท และถ้าทำอาชีพอื่นมักเป็นสื่อมวลชนส่วนกลางที่เป็นนสพ. ในธุรกิจสื่ออื่นที่ทำควบคู่พบว่า เป็นการทำสื่อโฆษณามากที่สุด ถ้าเป็นธุรกิจอื่น คือ ค้าขายมากที่สุด ข้อมูลตรงนี้เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยขัดขวางของนสพ.ท้องถิ่น

การบริหารจัดการและบุคลากรในองค์กร อาจจะต่างจากที่อื่น คือ ค่าตอบแทน ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับค่าตอบแทนน้อยมาก สังเกตได้จากคำตอบว่า ไม่มีเกณฑ์ตายตัว และไม่มีสวัสดิการ ทำให้คนทำงานในองค์กรขาดแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งผลวิจัยบอกว่า การพัฒนาบุคลากรในองค์กรควบคู่ไปด้วย ถ้ามีเรื่องแรงจูงใจด้วย คิดว่าสามารถพัฒนาองค์กร พัฒนาคน พัฒนาเนื้อหา และคุณภาพ ในส่วนของนักศึกษาเมื่อจบแล้วไม่อยากจะทำงานกรุงเทพ แต่อยากทำงานอยู่บ้าน จุดหนึ่งเรื่องค่าตอบแทน เมื่อเทียบกับกรุงเทพที่ต้องมีค่าที่พัก ค่าเดินทาง เมื่อเทียบกับในบ้านตัวเอง ถ้าพอมีค่าตอบแทน มีสวัสดิการ เด็ก ๆ ก็อยากอยู่ในพื้นที่

เรื่องเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ พูดไปแล้ว

เรื่องเครือข่ายบรรณาธิการวิชาชีพ ที่เป็นสมาชิกกันมากที่สุด คือ เครือข่ายบรรณาธิการภาคอีสาน ใช้ประโยชน์เครือข่ายในเรื่องเสรีภาพ การผลิตนสพ. ส่งเสริมการขาย และประเด็นเนื้อหา ข้อสังเกตที่จะชวนมองคือ เครือข่ายที่มีส่วนในการทำงานสำคัญด้านสื่ออย่างมาก การทำงานลำพังจะโดดเดี่ยว แต่เมื่อทำงานร่วมเครือข่ายจะช่วยขับเคลื่อน พัฒนา ผลักดัน เป็นกระจกสะท้อน เป็นที่ปรึกษา ซึ่งเป็นจุดเด่น จะเห็นว่าเวลาที่มีเวทีวิชาการ อีสานจะไปกันมาก อย่างระดับนสพ.เข้มแข็งจะทำอย่างไรที่จะถ่ายทอดถ่ายโอน เป็นที่ปรึกษาให้กลุ่มยืนหยัด กลุ่มพึ่งพิง กระเถิบขึ้นมา

สถานภาพทางธุรกิจจะเหมือนกับที่ส่วนกลางเสนอไป ในด้านรายได้ เห็นว่า มาจากองค์กรห้างร้าน ภาครัฐ แสดงให้เห็นการพึ่งพาในระบบอุปถัมภ์ บางครั้งการทำงานนสพ.อาจจะมองว่ามันไม่ใช่ แต่ในสังคมไทย ระบบอุปถัมภ์ฝังรากลึกมานาน จึงทำให้เห็นภาพนี้อยู่ในการพึ่งพารายได้แบบนี้ รายได้จากยอดขายของนสพ.ท้องถิ่นน้อย ถ้าตัวเลขยังน้อยกว่าข้อมูลภาพรวม ถ้าดูจากอาจารย์มาลีให้ข้อสังเกต ยังเป็นจุดที่น่าสนใจ การตั้งระบบสมาชิก เท่ากับเราตั้งฐานผู้อ่าน ตั้งฐานรายได้ให้องค์กรของเรา รูปธรรมน่าสนใจคือที่จังหวัดนครพนม นสพ.ไทยนิยม มีสมาชิก ๓๐๐ ราย จ่ายรายปีแน่นอน อ.บรรยงค์แลกเปลี่ยนว่า ในปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน แต่ถ้ามีสมาชิกแน่นอน ก็อาจทำให้เราอยู่ได้ก็ได้ เป็นกรณีที่น่าสนใจ

อีสาน ในเรื่องเนื้อหา จะโดดเด่นเรื่องความเป็นท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมบันเทิง รวมทั้งด้านเศรษฐกิจให้พ่อค้าในท้องถิ่น แต่มีข้อสังเกต คือ เหมือนกับภาพรวมที่อ.บรรยงค์ กับ อ.อังธิดาเสนอเมื่อเช้าว่า ให้ความสำคัญกับข่าวการเมือง ภาพข่าว และข่าวอื่นๆ ระดับมาก แต่ในระดับปานกลางอีกจำนวนหนึ่ง ถ้าได้ปรับเพิ่มจะทำให้นสพ.ท้องถิ่นน่าสนใจ นสพ.ท้องถิ่นมีนิยามว่า ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น เนื้อหาชี้ให้เห็นเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ ปัญหา ความรู้สึกนึกคิด วัฒนธรรม  มีคำกล่าวว่า เราอยากอ่านเรื่องใกล้ตัว ไม่อยากอ่านเรื่องของคนที่ไกล อ่านแล้วไม่ได้มีผลต่อเรา สิ่งที่นสพ.ท้องถิ่นอีสานพยายามทำอยู่แล้ว จากการเก็บข้อมูล คือ การนำเสนอเนื้อหาต่อผู้รับผิดชอบจนเกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นสาธารณะ ให้มีการทบทวนกฎระเบียบ นโยบาย ข้อมูลพบว่าอีสานทำตรงนี้ อีกจุดหนึ่งคือ นำเสนอเนื้อหาที่ตอบสนองความต้องการ ความสนใจ และประโยชน์ต่อท้องถิ่น โดยความต้องการนั้นเฉพาะท้องถิ่น ไม่มีใครทราบนอกจากท้องถิ่นเอง นสพ.ท้องถิ่นสามารถไปลงหาข้อมูลได้ แล้วนำเสนอ ให้คนพื้นที่อ่าน ส่วนกลางไม่มีทางเข้าถึงแน่ๆ

สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การสร้างคนอ่าน ทำให้ตอบธงที่ตั้งไว้ นสพ.ท้องถิ่นเป็นสถาบันของสังคม เป็นที่พึ่งพิงของสังคมอย่างแท้จริง

กลุ่มเป้าหมายหลัก-รอง เหมือนกันกับที่นำเสนอช่วงเช้า  ปัจจัยเกื้อหนุน-ขัดขวาง เหมือนกัน

อ.ธีระพล อันมัย รายงานเพิ่มเติม ภาคอีสาน ตั้งแต่มีการปฏิรูปการเมืองจนปฏิรูปสื่อ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ ครั้งที่๑ และปี๒๕๕๐ ครั้งที่ ๒ ใช้รัฐธรรมนูญเป็นตัวตั้ง ภาคอีสานมีแนวโน้มการเมืองแยกออกจากสื่อ ผลวิจัยพบว่า ๑ใน๔ นักนสพ.เคยเกี่ยวข้องกับการเมืองระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ แต่ได้ถอนตัวออกมา อาจจะไม่สามารถชนะการเลือกตั้ง การถ่ายโอนอำนาจให้คนอื่น มีระบบนอมินี สะท้อนว่า ความเป็นนักการเมืองกับความเป็นนักนสพ.ถ่างออกจากกันมากขึ้น ประเด็นที่สอง เมื่อความเป็นนักการเมืองห่างออกจากความเป็นนักนสพ.แล้ว กำลังพูดถึงความเป็นนักนสพ. การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปสื่อ คือ การสร้างการเมืองแบบมีส่วนร่วมด้วยการลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน สื่อต้องทำหน้าที่ตรงนี้ จากธงที่พบคือ สื่อจะเป็นบทบาทสถาบันเพื่อสังคม เป็นเวทีสาธารณะ เป็นที่พึ่งพิงของประชาชน เป็นครูผู้ให้ความรู้ ฯลฯ แต่เมื่อไปดูจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเชิงคุณภาพ สิ่งที่ตั้งไว้เป็นโจทย์ยังห่างไกล ไปดูกลุ่มเป้าหมายหลัก พบว่า เป็นกลุ่มข้าราชการ หน่วยงานภาครัฐท้องถิ่น รองลงมาเป็นกลุ่มธุรกิจ ประชาชนเป็นกลุ่มอันดับสาม แต่เป็นประชาชนที่ห่างไกล ไม่ใช่ประชาชนอย่างเข้มข้น สิ่งที่ทำให้การปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปสื่อเป็นไปได้ ต้องเอาประชาชนเป็นเป้าหมายหลัก รองมาจะเป็นภาคธุรกิจ สื่อจะหลุดออกจากระบบอุปถัมภ์ตามที่อาจารย์อังคณารายงาน เป็นเรื่องยาก สิ่งที่พบในภาคอีสาน ไม่ใช่นสพ.เป็นระดับยืนหยัดหมด ที่เข้มแข็งก็มี คนที่ทำงานเนื้อหาเข้มข้นก็มี ทำอย่างไรจึงจะได้พื้นที่เนื้อหาแลกกันตรงนั้น แลกแล้วนำไปสู่การผลิตเนื้อหาเข้มข้น พัฒนาขึ้น เราจะเป็นสื่อเพื่อประชาชนได้อย่างไร

อ.อังคณา ทิ้งคำถามสุดท้าย นสพ.ท้องถิ่น นิยามตัวเองหรือยังว่าเป็นอย่างไร

 

ผศ.สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ และดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์  ภาคกลาง รายงาน

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รายงาน ส่วนภาคกลาง มีจังหวัดเพชรบุรีอยู่ด้วย ทั้งหมด ๑๗ จังหวัด รวม ๔๑ ชื่อฉบับ แบ่งเป็นเข้มแข็ง ๖ ชื่อฉบับ ยืนหยัด ๒๕ ชื่อฉบับ และพึ่งพิง ๑๐ ชื่อฉบับ กรณีส่วนใหญ่ไม่ได้จบนิเทศศาสตร์ ประเด็นปัญหาคือ แต่ละคนมองว่า นสพ.ท้องถิ่นคืออะไร พอไม่ได้จบนิเทศศาสตร์มา ก็จะมอง..บางแห่งมองเป็นเรื่องการโฆษณา เช่น โฆษณาทางตรง ทางอ้อม นสพ.คืออะไร นสพ.ขายอะไร ขายข่าว หรือขายโฆษณาเป็นหลัก ถ้าขายโฆษณาเป็นหลัก สำหรับคนที่ไม่ได้จบนิเทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์ อาจจะจบการบริหารมาอาจจะบอกไม่เป็นไร เพราะเราโฆษณาขายองค์ประกอบนสพ.ท้องถิ่น ท่านอื่นที่เป็นผู้ประกอบการอาจจะช่วยเสริมในจุดนี้ภายหลัง ถ้างั้นคนที่ไม่จบนิเทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์มาทำนสพ.ท้องถิ่นไม่ได้รึ ทำได้ ทำได้ดีด้วย แต่ว่ามีปัจจัยที่จะเกื้อหนุนหรือไม่ ที่จะทำให้เป็นคำว่า “นสพ.ท้องถิ่น” อย่างแท้จริง นสพ.ท้องถิ่นที่เป็นเวทีของคนท้องถิ่นได้สะท้อนความคิดออกมา

พบว่า นักนสพ.ท้องถิ่นไม่ได้ทำอาชีพนสพ.ท้องถิ่นอย่างเดียว แต่ทำอาชีพอื่น ๆ เช่นทำ stringer ทำเคเบิลทีวี วิทยุชุมชน และสามารถนำเนื้อหาไปกระจายในนสพ.ท้องถิ่นด้วย แต่ที่สำคัญเนื้อหาที่ไปกระจายเป็นเนื้อหาธรรมดา หรือเป็นเนื้อหาที่เจาะลึกสืบสวน ถ้ามีการลงทุนเนื้อหาในข่าว บทความ หรือสกู๊ปที่สะท้อนถึงชุมชน ทำให้คลี่คลายปัญหา ความขัดแย้งของชุมชนได้ ลงทุนเนื้อหาแล้วกระจายไปทั้งนสพ.ท้องถิ่น เคเบิลทีวี วิทยุชุมชน อาจจะทำให้พื้นที่เป็นพื้นที่ของชุมชนตรงจุดมากกว่าหรือไม่

ส่วนที่เรียนรู้จากบรรณาธิการนสพ.ท้องถิ่น พบว่า นสพ.ท้องถิ่นยังสามารถเปิดพื้นที่ให้ปราชญ์ท้องถิ่น ไม่ใช่แค่นักวิชาการที่ตำแหน่ง ชาวบ้านธรรมดาที่เป็นผู้รู้จริงในท้องถิ่น ทั้งศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว ชุมชน คนอยากอ่าน ชาวบ้านอยากอ่าน ซึ่งนสพ.ส่วนกลางขาด ทำไม่ได้ อ่อนด้อย หากทำตรงนี้ได้ ทำให้กระตุ้นยอดขายได้ แทนหวังการโฆษณาจากภาครัฐ ภาคเอกชน

ผศ.สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ รายงาน ภาคกลางไม่โดดเด่น เท่ากับภาคอื่นๆ จากการสัมภาษณ์และพูดคุย นักวิชาการ พบว่า จากการวิจัยครั้งนี้สามารถต่อยอดทำได้อีก อย่างนักข่าวที่สนใจเรียน MBA หรือการทำ Life story แนวคิดนักนสพ.ท้องถิ่น

อ.บรรยงค์ สุวรรณผ่อง เพิ่มเติม ปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กร จากที่คุณเอกนที จัดเวทีวิชาการเครือข่ายบรรณาธิการภาคอีสาน ได้ให้แนวคิดว่า ความจำเป็นต้องปรับสภาพแนวคิดความจริงเสียก่อน ทั้งทัศนคติและค่านิยม เท่ากับยอมรับการที่จะเปลี่ยนทางที่ดีขึ้นในอนาคตได้

การแลกเปลี่ยนความรู้ตอนเดินทาง พบว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ นสพ.ท้องถิ่นไม่ได้นำมาใช้ในส่วนหลังของสำนักงานเลย วันนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ราคาประมาณสองหมื่นใช้กับอินเทอร์เน็ตได้ เขียนคอลัมน์ได้ คุ้มค่ามาก ย้ำเพิ่มเติมจากที่ภาคอีสานพูดคือ การทำระบบสมาชิกสร้างสรรค์รายได้ อาจไม่ได้เงินสักเท่าไร แต่เรารู้ว่าผู้อ่านเป้าหมายของเราคือใคร คงวิเศษมากเลย อาจใช้กลุ่มนี้สร้างการส่งเสริมการขายในอนาคตได้ ถ้ามองระบบสมาชิกกับต่างจังหวัด คือเรื่องระยะทางกับเรื่องเวลา มันข้ามวันแล้วบูด

การสร้างการแข่งขัน การสร้างความสัมพันธ์กับแผงหนังสือ

การเข้าองค์กรวิชาชีพ สมาคมต่างๆ จังหวัดเดียวยังมีสมาคมมากกว่าสมาชิก แต่ยังไม่เห็นการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ถ้าจัดระเบียบองค์กรวิชาชีพ เช่น ยุบรวมแล้วใช้เป็นกลไกสร้างความเข้มแข็งนสพ.ท้องถิ่นน่าจะได้เปรียบมากกว่า

รายปักษ์ มีระยะเวลาทำงานเพียง ๕ วัน นอกนั้นไปทำอย่างอื่น ถ้าเลื่อนวันขึ้นมาเป็น ๑๐ วัน เหมือนการซื้อสินค้า ซื้อนสพ.ท้องถิ่นก็เหมือนกัน ผู้อ่านเป้าหมายคือใคร ถ้าจะเป็นกลุ่มข้าราชการ หน่วยงานภาครัฐ ก็จับแน่นๆ แล้วทำเนื้อหาส่งไปให้ถึง คำว่าประชาชนทั่วไป ไม่ใช่กลุ่มผู้อ่านเป้าหมาย ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารทางการตลาด ต้องเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องตรงกัน

ที่ประชุมเมื่อคืนนี้เห็นตรงกัน คือ ผู้ประกอบวิชาชีพนสพ.ท้องถิ่นสามารถคลี่คลายความขัดแย้งในชุมชนได้ ในท้องถิ่นได้ เป็นกระบอกเสียงได้ ด้วยการสร้างช่องทางการสื่อสารของพื้นที่ของตน  การศึกษาหาข้อมูลของท้องถิ่นอย่างจริงจังเป็นระบบ จึงสามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้ ลองหาเรื่องที่ใกล้ตัวคนท้องถิ่น เรื่องที่อยู่ใกล้ หนีไม่พ้นความเห็นใจ ลงไปตรวจสอบเรื่องที่มีผลกระทบกับเขา ไม่ว่าเชิงเศรษฐกิจ หรือเชิงสังคม หรือเรื่องที่ผิดแผกไปจากปกติวิสัย หนีไม่พ้นสามเรื่อง

เรื่องใหญ่มากที่เกิดขึ้น ทำไมการตรวจสอบจึงเหมือนกับต้องไปตีกบาลเขาโป๊กโป๊ก หรือไปชี้หน้าเขาแกเลวแกผิด หักด้ามพร้าด้วยเข่า และแปลความว่า นี่คือการตรวจสอบ อย่างนั้นเราก็จะเท่ากับให้เขาตีหัวโป๊กโป๊กตอนหันหลังกลับมา แล้วทำอย่างไร เริ่มจากการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ชาวบ้านให้เขารู้ทัน เช่น การประมูล มีเงื่อนไข มีระเบียบ ราคากลาง การให้ข้อมูลเท่านี้กับชาวบ้านเป็นการตรวจสอบ ไม่ได้ชี้หน้าว่าใครเลว เหมือนการเดินไปแล้วมีต้นมะพร้าวขวางอยู่ หนึ่งเดินไปหัวโขกต้นมะพร้าวให้ล้มหรือตัวเองหัวแตกตายก่อนมะพร้าวล้ม สองเอามีดขว้านมะปรางไปฟันต้นมะพร้าวกิ๊กกิ๊ก สามเดินอ้อมต้นมะพร้าว

นสพ.ท้องถิ่นที่มีความพร้อมและอยู่ในฐานะที่จะช่วยเหลือได้ ควรทำกิจกรรมวิชาชีพของตนให้กับสังคม อันจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย อันนี้เป็นข้อเสนอฝากไว้ ภาคกลางที่เสนอเรื่องการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นและชาวบ้านกับข้อมูลท้องถิ่น เพิ่มเติมคือ ข้อมูลข่าวสารครอบคลุมแล้ว ยังแบ่งเบาเนื้อข่าว โดยเฉพาะช่วยเหลือการตรวจสอบแหล่งข่าว

ปัจจัยภายนอก ทีมวิจัยมีข้อเสนอ

๑.จัดตั้งศูนย์เพื่อให้คำปรึกษา เป็นแหล่งรวมความรู้ ให้คำปรึกษาแก่นสพ.ท้องถิ่นที่มีความตั้งใจจริงในวิชาชีพ ศูนย์ให้คำปรึกษามีผู้เชี่ยวชาญหมุนเวียนกันให้คำปรึกษาแก่นสพ.ท้องถิ่น

๒.ควรจัดตั้งกองทุนสำหรับวิชาชีพนสพ.ท้องถิ่น รองรับค่าใช้จ่ายสามด้าน คือ ค่าใช้จ่ายดูแลผู้เชี่ยวชาญ ค่าใช้จ่ายวิชาชีพให้นักนสพ.ท้องถิ่น และทดรองจ่ายด้านเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้

นักวิจัยจะเสนอกลับไปยังองค์กรวิชาชีพ ทั้งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เพื่อดูความเป็นไปได้ แนวคิดนี้ไม่ใช่จากนักวิจัย คนเสนอคือ อ.ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี องค์กรวิชาชีพ เช่น สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย รวมทั้งองค์กรวิชาชีพของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น คงหาแนวทางสร้างการยอมรับร่วมกันในวิชาชีพ เพื่อขจัดความรู้สึกว่า จริยธรรมเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่ของเรา แต่เป็นเรื่องเดียวกันที่อยู่ร่วมกันได้ คำว่าจริยธรรม เป็นคำกลาง ไม่ใช่ของใคร เพิ่มเติม คำว่านสพ.คืออะไร น่าจะเป็นตัวบอกว่าอะไรเป็นนสพ.ไม่เป็นนสพ.

 

ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันท์ วิพากษ์งานวิจัย

 

ข้อดีของงานวิจัยนี้ ฐานกว้างที่สุดของวิจัยนสพ.ท้องถิ่นที่เคยทำมาก่อน เติมเต็มช่องว่างทางความรู้อย่างชัดเจนในประเทศไทย โดยเฉพาะสื่อท้องถิ่นที่หายไป

รายงานผลทางสถานภาพให้เห็นทุกภาคส่วนประเทศไทย ข้อมูลเชิงประชากร การกระจายภูมิศาสตร์ โครงสร้างองค์กร ความเป็นเจ้าของ แหล่งที่มารายได้ การนำเสนอเนื้อหาที่เน้น ภาวะคุกคาม แต่ละภูมิภาค

นอกจากนี้ ข้อมูลเชิงคุณภาพมีความลึก ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ อ.บรรยงค์พูดน่าสนใจมากในช่วงเช้า ไปสัมภาษณ์เชิงลึก เห็นบทบาทเชิงรุกหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนหรือท้องถิ่น หรือ อ.นรินทร์ ที่นำเสนอ สิ่งที่คาใจกรอบแนวคิดของวิจัยเรื่องนี้ เรื่องสถานภาพทางเศรษฐกิจ จริงๆ อ.บรรยงค์เป็นมาร์กซิสต์ สถานภาพนสพ.๓ ระดับส่งผลยังไงกับการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมือง  สถานภาพทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมืองอย่างไร อ.นรินทร์ได้พูดทำให้มุมมองมาร์กซิสต์อาจล้มตึงไปเลย

มาร์กมองว่าฐานทางเศรษฐกิจจะแบ่งกลุ่มฐานะคน อ.นรินทร์บอกว่าไม่เกี่ยวเลย การแบ่งระดับเข้ม ยืนหยัด พึ่งพิงไม่ได้ส่งผลต่อการแสดงบทบทอะไรเลย แต่นีโอกมาร์กซิสต์อาจจะมองในมุม Degree of freedom นักวิชาชีพต่อรองกับความเป็นเจ้าของหรือปัจจัยทางเศรษฐกิจได้ อาจเป็นจ้อพิสูจน์ว่านีโอมาร์กซิสต์อาจจะถูกได้

 

ข้อเสียของงานวิจัย

๑.                          คำถามวิจัย ข้อ ๑ ข้อ ๒ ต้องเขียนไม่ให้ขัดกับข้อ ๒ คำถามคือสถานภาพของนสพ.ท้องถิ่นเป็นอย่างไร พิทักษ์ประโยชน์ผลทางการเมืองหรือพิทักษ์ธุรกิจ คำถามให้เลือก คำถามข้อสอง บทบาทการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมืองของนสพ.ท้องถิ่นเป็นอย่างไร พอเอาคำถามมาต่อกัน ถ้าตอบข้อหนึ่งได้ ข้อสองก็ไม่ต้องทำแล้ว ต้องเปลี่ยนคำถามเพื่อให้เรียงลำดับ

๒.                          คำถาม ข้อ 4 เรื่องผลรัฐธรรมนูญ สะท้อนอคติของหัวหน้าโครงการ ทำให้เห็นอคติของหัวหน้าโครงการ หัวหน้าโครงการเป็นคนจากในเมือง เป็นคนที่มีความรู้ ติดตามข่าวสารทางการเมือง อาจมองการปฏิรูปสื่อ ปัญหาคือว่า ปัญหาการปฏิรูปสื่อ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอาจไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง รู้ว่าใครเป็นคนเขียนรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ มาจากสนช. เขียนโดยสสร.ที่ตั้งขึ้นมาโดยปปช. ถ้าย้อนเวลากลับ เทียบกับรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ อันไหนสะท้อนเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ  รธน.ไม่สะท้อนเจตนารมณ์ปฏิรูปสื่อ เขียนเพราะกลัวทักษิณกลับมา มีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะทุนใหญ่จะมา มองจากมุมคนเมือง อาจจะไม่เกี่ยวโดยตรงกับนสพ.ท้องถิ่นหรือไม่

๓.                          การนิยาม อ.มาลีให้ความเห็นเรื่องสถานภาพ อ.บรรยงค์มองสถานภาพทางเศรษฐกิจ ขอเปลี่ยนเป็นเศรษฐกิจนะ สถานภาพดำรงอยู่ มองสถานภาพทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่ทางธุรกิจ อยู่รอดทางเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่ลืมดูเรื่องความเข้มแข็งเรื่องอื่นๆ  อีกประเด็น การนิยามดำรงอยู่แบบเปิดเผย แบบไม่เปิดเผย พอดูละเอียดเห็นว่า ธุรกิจเปิดเผย กับไม่เปิดเผย คือเป็นสื่อเพื่ออย่างอื่น มีปัญหาเรื่อง Wording บอกไปเลย “ภาคพลเมือง” ใช้ดำรงอยู่ในฐานะสื่อธุรกิจ สื่อพลเมืองไปเลย

๔.                          ประเภทของสื่อ ขึ้นอยู่กับว่าใช้อะไรเป็นฐานในการแบ่ง ถ้าแบ่งสื่อกระแสหลัก กับสื่อทางเลือก สื่อกระแสหลักหวังกำไร สื่อทางเลือกไม่หวังกำไร สื่อพลเมือง ไม่ใช่สื่อพลเมือง ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของทางเลือก สื่อเพื่อการเมือง สื่อเพื่อธุรกิจ สื่อมีหลายประเภทมากเลย ซึ่งภูมิทัศน์สื่อในท้องถิ่น มีหลายภาพที่ซ้อนกันอยู่ สื่อเพื่อความเป็นพลเมืองอาจเป็นสื่อการเมือง สื่อเพื่อธุรกิจ มีความซับซ้อนมาก ฉะนั้นเมื่อพูดถึงดำรงอยู่จะมีแค่สื่อสองแบบเท่านั้นหรือ ต้องทำให้ชัดเจน

๕.                          ปัจจัยเกื้อหนุน ปัจจัยขัดขวาง ให้บอกปัจจัยเดียว ปัจจัยก็คือสามารถแปรได้สองทางให้บอกว่า มีปัจจัยอะไรบ้าง และแปรไปทางใด

๖.                          การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมากเกินไป อะไรที่เกี่ยวกับสื่อกระแสหลัก ให้ลบออกไปเลย ถ้าเกี่ยวแล้วจึงเอามาใส่ ให้เฉพาะสื่อท้องถิ่นที่สื่อสารกับมวลชน (mass) เรากำลังพูดถึงสื่อท้องถิ่นที่ไม่ใช่มวลชน เป็นเป้าหมายเฉพาะท้องถิ่นชัดเจน เนื้อหาไม่เกี่ยวคือไม่เกี่ยว

๗.                          การสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมืองของหนังสือพิมพ์ ไม่รู้ว่า สื่อเพื่อปูทางเป็นพลเมืองของนสพ. หรือเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง มีสองแนวคิดที่ใกล้ๆ กัน สื่อประชาสังคม (civic media) หรือสื่อภาคพลเมือง (citizen media) ทำให้ชัดเจน  civic media ไม่ใช่สื่อกระแสหลัก เน้นขาย มุ่งเรตติ้ง เน้นรายได้ ไม่เน้นการหาทางออกเสมอไป ไม่แคร์ประชาชน สิ่งที่แตกต่าง คือ สื่อภาคประชาชนแคร์ประชาชน ประชาชนเป็นส่วนหนึ่ง ต้องวิเคราะห์รากเหง้า สร้างความเป็นสาธารณะ สร้างความเป็นพลเมือง ดึงการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมือง อภิปรายประเด็นปัญหา หาทางแก้ไขปัญหา

๘.                          ความเป็นวัตถุวิสัย สื่อกระแสหลักไม่สนใจ เอาตัวออกห่าง เพราะเป็นมืออาชีพ ขณะที่สื่อประชาสังคม civic media ต้องเอาตัวเข้าไปเกี่ยวข้อง แคร์เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม พยายามแก้ปัญหาให้แก่ชุมชนท้องถิ่น สิ่งที่พยายามหา concept ไม่เคลียร์ ตั้งแต่ทบทวนวรรณกรรมเยอะมาก  แต่ไม่ได้เอามิติของ civic มาเทสต์อย่างแท้จริง ส่วน operational ปฏิบัติการ การจำกัดความจึงยังไม่ชัด การสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมืองจึงออกมาไม่ชัด ไปแสดงออกในแง่จริยธรรมมากกว่า ซึ่งไม่ได้แปลว่า จะทำตามจริยธรรมของสภาการนสพ.ด้วยซ้ำ แต่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน พยายามหาทางออกให้ชุมชน คำถามทำให้ตอบมิติเหล่านั้นไม่ได้ วัดไม่พอ เช่น การไปกินข้าวกับแหล่งข่าว การ sensor โอกาสในการสื่อสารเพื่อความเข้าใจ แก้ไขความขัดแย้ง โอกาสการรายงานข่าวเศรษฐกิจธุรกิจท้องถิ่น รายงานข่าวเคลื่อนไหวการเกษตร วัฒนธรรม สุนทรียะ รู้สึกว่า ตรงนี้คือการวัดสื่อ civic media ไม่ใช่สื่อภาคพลเมือง citizen media เช่น blocker อยู่ดี ๆ ก็เป็น reporter เช่น โอเคเนชั่น เว็บบล็อก

๙.                          ระเบียบวิธี (Methodology) ผูกโยงกันอยู่ ใช้วิธีสำรวจโดยตอบคำถามด้วยการประเมินเองบางอย่างก็โอเคระดับหนึ่ง แต่เวลาที่จะtest concept แข็งๆ อย่างนี้ จะมีปัญหา reliability คนย่อมมี bias เลยทำให้คำตอบยังไม่ได้ มิติที่หายไปคือ content การจะตรวจสอบบทบาทของนสพ.ต้องอาศัยการวิเคราะห์เนื้อหา เช่น ช่อง ๓ ๕ ๗ ๙ จะทำหน้าที่สื่อมวลชนได้มากน้อยแค่ไหน เราคงไม่ไปถามเขา แต่ต้องดู content ที่ปรากฏ กระบวนการสื่อสารมี S M C R  งานวิจัยนี้ เน้น sender มาก นักข่าว เจ้าของ องค์กรเนื้อหาตรงนี้แข็งมากที่สุด นสพ.ท้องถิ่นในฐานะ sender ชัดมาก แต่ว่า นสพ.ท้องถิ่นในเนื้อหา ถ้ามีการวิเคราะห์เนื้อหารูปแบบ ข่าว บทความ รูปเล่ม สะท้อนความเป็นวารสารศาสตร์อย่างไร ขอให้เป็นโครงการหน้าแล้วกัน

๑๐.                     การวิเคราะห์ข้อมูล โยงกับการวิจัย ที่บอกว่าสถานภาพทางธุรกิจไม่มีความเกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมือง chi-square ใช้วัดความสัมพันธ์ระดับ nominal ordinal กับ interval  แต่ความจริงต้องใช้ ANOVA เพราะ chi-square ใช้วัดระดับ nominal กับ ordinal เท่านั้น

๑๑.                     ให้โฟกัสจุดแข็ง  ข้อมูลในฐานะที่นสพ.ท้องถิ่นเป็นผู้ส่งสาร (sender) ข้อมูลมหาศาล ไม่ต้องไปพยายามเป็น civic media ให้พยายามรีกรุ๊ปคำถามที่เกี่ยวกับ ethics ถามแทน ใช้มาตรฐานวิชาชีพวารสารศาสตร์ ใช้ Profession Journalism และ Ethics มาเป็นตัวหลักมากกว่า รวมทั้ง ทำให้เห็นปัจจัยต่างๆ ความเป็นเจ้าของ โครงสร้างองค์กร แหล่งที่มารายได้ กลุ่มเป้าหมาย สัมพันธ์กับอำนาจในแต่ละท้องถิ่น แต่ละภูมิภาคมีอะไรที่น่าสนใจ ให้ลงแต่ละพื้นที่โดยเปรียบเทียบ