“นักข่าวตามนายกฯเป็นทีมประจำจะรู้อารมณ์นายกฯดี ไม่ค่อยตื่นเต้นตกใจเท่าไหร่ เวลานายกฯฟาดงวงฟาดงาหรือมีอารมณ์ขึ้น”
ญาดา เพิ่มลาภ ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ติดตามภารกิจนายกรัฐมนตรี เล่าถึงบรรยากาศที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ฉีดสเปย์ใส่สื่อประจำทำเนียบรัฐบาลว่า วันนั้นเกิดขึ้นหลังการแถลงข่าว เพราะนักข่าวถามถึงการปรับคณะรัฐมนตรี และบุคคลที่จะมาเป็นคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายกฯบอกว่ารายชื่อในส่วนของพรรคพลังประชารัฐส่งมาให้ตัวเองแล้วอยู่ที่กระเป๋ากางเกง นักข่าวก็พยามถามว่าโพยนั้นมีชื่ออะไร แต่นายกฯก็บอกว่ายังไม่ได้เปิดอ่าน นิสัยนักข่าวคือจี้ถาม แต่ลักษณะของนายกฯคือขี้เล่น ย้อนถามมาว่า “ทำไมฉันยังไม่ได้เปิดอ่านมันอยู่ในกระเป๋ากางเกง” จังหวะนั้นนายกฯก็เห็นว่านักข่าวถามเยอะไปแล้วถามอยู่ได้ ถามคำถามเดิมๆก็ตอบไปแล้ว เลยเดินลงจากโพเดียม นำสเปรย์แอลกอฮอล์ที่ติดตัวไว้ตลอดฉีดพ่นไส่สื่อ ซึ่งนายกฯต้องการหยอกล้อเหมือนกับว่าถามมากนัก สื่อก็รู้ว่าแสดงความเป็นกันเอง และไม่มีใครได้รับผลกระทบจากการฉีดสเปย์ในครั้งนั้น
แต่สื่อต่างชาติอาจจะมองอีกมุมหนึ่งว่าสเปรย์แอลกอฮอล์อันตรายควรทำหรือไม่ ทั้งนี้ได้พูดคุยกับนายกฯก็ได้รับคำตอบว่า ต้องการหยอกล้อสื่อและระมัดระวังอยู่แล้วว่าจะต้องฉีดในระยะไหน ฉีดยังไงไม่ให้อันตราย นายกฯขอโทษขอโพยสื่อ และบอกว่าต่อไปนี้ต้องระมัดระวังตัวเองมากขึ้น จะไม่หยอกล้ออะไรแบบนี้อีกแล้ว พูดแบบนอยๆน้อยใจนิดนึง ว่าทำไมฉันพยายามที่จะรีแล็กซ์ เล่นกับสื่อ เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมีข้อครหากับสื่อเหมือนกัน บอกว่านายกฯเว้นระยะห่างเกินไป เจ้าระเบียบเกินไป การรักษาความปลอดภัยก็เข้มในลักษณะเจ้าระเบียบมาก แต่คราวนี้บอกว่าในเมื่อเรารีแล็กซ์แล้วเราเล่นแล้ว เราหยอกล้อแล้ว แต่สื่อไม่เซฟให้กับเรื่องพวกนี้เลย เล่นเป็นข่าวสีสันดราม่ากันไปหมด นายกฯก็บอกว่าต่อไปนี้ต้องเว้นระยะห่างกับสื่อให้มากแล้วกลับไประเบียบเป๊ะเข้มเหมือนเดิม
“สื่อทำเนียบรัฐบาลต่อเหตุการณ์นี้ หลังมีข่าวออกไปเราพูดคุยกันว่าบรรยากาศในวันนั้น นักข่าวไม่ได้มีใครรู้สึกว่านายกฯทำยังงั้นไม่ดีเราไม่ได้พูดหรือรู้สึกแบบนั้น แต่เราพูดกันว่าเดี๋ยวจะต้องมีดราม่าเกิดขึ้นแน่นอน แล้วเราก็เชื่อว่ามันก็เป็นไปตามนั้น เรื่องดราม่าแบบนี้ก็จะอยู่บนหน้าสื่อได้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ เดี๋ยวก็จะค่อยๆจางหายไปเพราะนายกฯออกมาขอโทษขอโพยสื่อแล้ว ยอมรับว่าไม่ได้มีเจตนาที่จะต้องการทำให้สื่อได้รับอันตรายจากแอลกอฮอล์”
ญาดา บอกว่า สมัยที่ยังไม่มีสถานการณ์โควิด นายกฯมักจะลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชน แต่ละพื้นที่จะมีการนำสินค้าโอทอปประจำหมู่บ้านมาจัดแสดง นายกฯก็อาจจะมีการหยิบนั่นหยิบนี่แล้วก็โยนใส่สื่อบ้างเป็นการหยอกล้อ เพื่อต้องการสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งสื่อก็คาดการณ์ไว้แล้วว่าถ้านายกฯจับของชิ้นนี้ เดี๋ยวจะต้องมีเหวี่ยงมีโยนใส่ มาแล้วก็เป็นไปตามนั้น เหมือนกับต่างคนต่างรู้มุมรู้ความรู้สึกกัน แต่สไตล์การหยอกล้อ กับความเป็นทหารเลยมีความดิบอยู่ในตัว อาจจะโผงผางนิดนึง ตลอดชีวิตของพล.อ.ประยุทธ์ อยู่กับทหาร อยู่กับกำลังพลมาตลอด เล่นอะไรก็มักจะในลักษณะที่ห่ามๆ แต่ด้วยความที่นักข่าวอาจจะมีทั้งผู้หญิงเยอะกว่าผู้ชาย การหยอกล้อก็เหมือนกับเบาแล้ว แต่เบาของลักษณะนายกฯในสายตาคน อาจมองว่าไม่มีมารยาทไม่เหมาะไม่สมไม่ควรส่วนคนที่ต้องการจับผิดนายกฯก็อาจมองว่าไม่มีมารยาท
“พล.อ.ประยุทธ์เป็นคนที่มีต่อมอารมณ์โมโหตื้น ถ้าใครไปจี้ต่อมอะไร ก็จะปรู๊ดปร๊าดขึ้นมาทันที โดยเฉพาะในสมัยที่เป็นนายกมาจากคสช. ตอนนั้นจะขึ้นเร็วมากขึ้นแล้วไม่ลงด้วย จะเดินสะบัดหน้าไปเลย กัดฟันแล้วกำหมัดแล้วก็เดินไป แต่หลังจากเป็นนายกฯที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว ก็ลดอารมณ์รงนั้นได้เยอะมาก จะมีภาพของการที่อารมณ์เสียน้อยมากกว่าครั้งก่อนนี้ ที่ผ่านมานายกฯ เคยเล่าให้ฟังว่าก่อนจะออกจากบ้านตอนเช้า จะส่องกระจกดูแล้วมองหน้าตัวเอง แล้วบอกว่าอย่าเป็นคนขี้โมโหนะ ใจเย็นให้มากๆนะก็จะซ้อมกับกระจกก่อนออกจากบ้าน ทุกวันนี้นายกฯก็จะอารมณ์เบาลงเยอะ จะสังเกตได้ล่าสุดจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะควบคุมอารมณ์ได้มากขึ้นกว่าครั้งที่ผ่านผ่านมา เทียบกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งแรกๆ ถ้าใครพูดอะไรก็จะคว้าไมล์ลุกขึ้น โดยไม่สนใจข้อบังคับการประชุม แบบโต้เลยแต่วันนี้นายกจะควบคุมอารมณ์ได้มากขึ้นดีขึ้นกว่าเดิมเยอะ”
นายกฯจะอารมณ์ขึ้นเฉพาะในช่วงที่นักข่าวถามจี้หรือถามคำถามซ้ำๆ หรือถามในลักษณะที่นำคำพูดของนักการเมืองคนนั้น ของแหล่งข่าวคนนี้ จี้ถามใส่ปากนายกฯ ตามประสาข่าวก็คือต้องการให้นายกฯซัดกลับหรือโต้กลับ ในลักษณะที่สร้างความแตกแยกหรือขัดแย้งเพิ่มขึ้นตรงนี้นายกก็จะแสดงอารมณ์โมโหแต่ในมุมมองของญาดา นายกฯแกล้งโมโหไปอย่างนั้น เพื่อที่จะตัดจบไม่ต้องตอบสื่อปิดประเด็นไป
การทำงานในพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล นักข่าวจะซ้อมกันเองก่อนที่นายกฯจะให้สัมภาษณ์ ถ้าไม่ได้ส่งคำถามไปล่วงหน้า ก็จะดูสีหน้าหรือไม่เราก็จะเช็คนายกฯตั้งแต่เช้ามาว่า อารมณ์ดีไหม ฟาดงวงฟาดงาหรือไม่ มีใครเข้าใกล้ได้หรือเปล่า เราเช็คอารมณ์ก่อนแล้วว่าวันนั้นอารมณ์ของนายกเป็นอย่างไร เราก็ต้องรู้วิธีการส่งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบ
และไม่ได้ตั้งใจที่จะโยนคำถาม เพื่อให้ได้อารมณ์โมโหของนายกฯกลับมา ส่วนคำถามที่ถามแล้ววงแตก เราก็ต้องรอดูอาการก่อน เพราะบางทีจับอารมณ์นายกฯไม่ได้จริงๆ
ส่วนการทำข่าวของสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลนั้น ญาดา บอกว่า มีการแบ่งสายงานกันชัดเจน เช่น ติดตามภารกิจนายกฯโดยเฉพาะเป็นทีมประจำก็จะรู้อารมณ์นายกฯดี ไม่ค่อยตื่นเต้นตกใจเท่าไหร่ เวลานายกฟาดงวงฟาดงาหรือมีอารมณ์ขึ้น หรือติดตามภารกิจรองนายกฯคนอื่นๆ และนักข่าวที่ดูภาพรวมทั่วไปในทำเนียบรัฐบาล เช่น รองนายกรัฐมนตรี ,รัฐมนตรีประจำสำนักนายกมนตรี , สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งโดยหลักๆจะมีการแบ่งงานที่ชัดเจน ทั้งทีมการเมืองและทีมเศรษฐกิจ ยิ่งวันนี้ทำงานแข่งกับโซเชียลด้วย จึงต้องรีบซอยประเด็นส่งให้กับสื่อแต่ละสำนัก
#ช่วยกันคิดทิศทางข่าว เวลา 11.10-12.00 น. โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ดำเนินรายการโดย พิมพ์นารา ประดับวิทย์ - ดารากาญจน์ ทองลิ่ม จากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยช่วงที่ 1 : โจทย์ใหญ่ ศบค.คลายล็อคช่วงสงกรานต์ โควิดก็ต้อง ‘ป้อง’ ท่องเที่ยวก็ต้อง ‘หนุน’ช่วงที่ 2 : รวมตำนานสื่อทำเนียบฯ กับ การรับมืออารมณ์นายกฯ สัมภาษณ์ - คุณญาดา เพิ่มลาภ ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ติดตามภารกิจนายกรัฐมนตรี : ร่วมคุยข่าว Line Official @mcotnews : ส่งข้อความสั้น SMS 4689399: ฟังรายการผ่าน Application : FM 100.557จำนวนคนที่เข้าถึง0จำนวนการมีส่วนร่วมไม่สามารถโปรโมทได้ถูกใจแสดงความคิดเห็นแชร์
#ช่วยกันคิดทิศทางข่าว
#สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
#สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ #Thaijournalistsassociation