สัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์”ครั้งที่ ๘ หัวข้อ “ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ” ๑๗-๑๘ ต.ค. ๒๕๕๗ ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

 

 

 

 

 

 

ดูภาพบรรยายการสัมมนาทั้งหมด

 

 

ขอเชิญร่วมสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์”ครั้งที่ ๘

หัวข้อ “ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ” ๑๗-๑๘ ต.ค. ๒๕๕๗ ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เนื่องด้วยครบวาระ ๖๐ ปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๗ “สัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๘ หัวข้อ “ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ” ในวันศุกร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ ขึ้น


เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อมวลชน ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อใหม่ และเพื่อให้เกิดการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ จึงได้จัดให้มีการประชุมนักวิชาการ หัวข้อ “ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ….ปฏิรูปหลักสูตร” โดยเปิดเวทีระดมความเห็นของฝ่ายวิชาการ ถึงแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรวิชาชีพสื่อม วลชนยุคใหม่ ในวันเสาร์ ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ ห้องประชุมศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหง มหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมทั้งจัดให้มีการศึกษาดูงาน องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) เพื่อให้เห็นถึงการปรับตัวของสื่อโทรทัศน์จากอนาล็อกเป็นดิจิตอล ขึ้นในวันเดียวกัน

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ขอเชิญทุกท่านที่สนใจประเด็นดังกล่าวเข้าร่วมงานประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจาปี ๒๕๕๗ ในวัน-เวลาดังกล่าว และขอความกรุณาแจ้งยืนยันการเข้าร่วมประชุมได้ที่ คุณพรศรินทร์ ศรีสวัสดิ์(ฝ้าย) ๐๘๗-๙๒๕๓๔๖๔ โทรสาร ๐๒–๒๔๑๓๙๐๖ e - mail: pornsarin.isra@gmail.com
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

กำหนดการ

ประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๗

ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๘ หัวข้อ “ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ”

วันศุกร์ที่ ๑๗  ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

ห้องประชุมศักดิ์  ผาสุขนิรันต์ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

วันศุกร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๗

๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐  น.             ลงทะเบียน

๐๙.๐๐ – ๐๙.๐๕ น. อรุณสวัสดิ์

- อาจารย์จเลิศ  เจษฎาวัลย์

คณบดีคณะสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

๐๙.๐๕ – ๐๙.๑๕ น.              ปฐมบท ปฏิวัติคนข่าว

- นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์

นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๐๙.๑๕ – ๑๐.๐๐ น.              บรรยายพิเศษ เรื่อง “ทำไมต้องปฏิวัติคนข่าว และอภิวัฒน์สื่อ”

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์

อธิการบดี  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

๑๐.๐๐ – ๑๐.๑๕ น.                อาหารว่าง

 

๑๐.๑๕ – ๑๒.๐๐ น.                เสวนาเรื่อง “สร้างสมดุลอย่างไร ให้สื่อมีคุณภาพ และอยู่รอดทางธุรกิจ”

- นางสาวดวงกมล  โชตะนา

กรรมการผู้อำนวยการ เนชั่นกรุ๊ป

- นางกรรณิกา  วิริยะกุล

กรรมการผู้จัดการ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

-นายพัชระ  สารพิมพา

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  สำนักข่าวสปริงนิวส์

-นายวริษฐ์  ลิ้มทองกุล

ผู้อำนวยการเว็บ ASTV  ผู้จัดการออนไลน์

- ดร.สุดารัตน์  ดิษยวรรธนะ  จันทราวัฒนากุล

คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ดำเนินการสนทนา

 

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.                อาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.                เสวนา เรื่อง “วางกรอบความสัมพันธ์นักข่าว และนักโฆษณา ประชาสัมพันธ์อย่างไร ให้เหมาะสม”

-นายดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สำนักพิมพ์ดีเอ็มซี

-ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธาตรี ใต้ฟ้าพูล

อาจารย์ประจำภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.วรัชญ์  ครุจิต

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

-นายวีระศักดิ์   พงศ์อักษร

บรรณาธิการบริหาร เนชั่นทีวี

-ดร.มานะ   ตรีรยาภิวัฒน์

รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ดำเนินการสนทนา

 

๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕  น.               อาหารว่าง

๑๔.๔๕ – ๑๖.๐๐ น.                เสวนา เรื่อง “ทางเลือกในการกำกับดูแลกันเองของสื่อ”

-นายบรรยงค์  สุวรรณผ่อง

กรรมการควบคุมจริยธรรม  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

-ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันท์

อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-นายภัทระ  คำพิทักษ์

บรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

-อาจารย์จเลิศ  เจษฎาวัลย์

คณบดีคณะสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ดำเนินการสนทนา

 

๑๖.๐๐ – ๑๖.๑๕ น.                ผลการประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

สรุปการประชุม -ดร.สุระชัย  ชูผกา

ผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

-นางสาวอศินา  พรวศิน

บรรณาธิการ Social Media หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น

๑๖.๑๕ – ๑๖.๓๐ น.                ก้าวต่อไป  อภิวัฒน์สื่อ

-นายจักร์กฤษ  เพิ่มพูล

ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

 

*******************************

 

กำหนดการประชุมและศึกษาดูงาน

“ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ….ปฏิรูปหลักสูตร”

วันเสาร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๗

วันเสาร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๗

๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น.              ลงทะเบียน

๐๙.๐๐ – ๐๙.๐๕ น. อรุณสวัสดิ์

๐๙.๐๕ – ๐๙.๓๐ น.              บรรยายพิเศษ ความเดิม “ปฏิวัติคนข่าวฯ  ทำไมต้องปฏิรูปหลักสูตร”

วิทยากร - นายบรรยงค์  สุวรรณผ่อง

กรรมการควบคุมจริยธรรม  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๐๙.๓๐ – ๐๙.๔๕ น.              วีดิทัศน์ “คุณสมบัติแบบไหนที่อุตสาหกรรมสื่อไทยอยากได้

 

๐๙.๔๕ - ๑๐.๓๐ น.              ระดมสมอง “ร่วมปฏิรูปหลักสูตร…..เพื่อปฏิวัติคนข่าว”

- อาจารย์จเลิศ  เจษฎาวัลย์

คณบดีคณะสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๕ น.                พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๔๕ – ๑๑.๓๐ น.      ระดมสมอง “ร่วมปฏิรูปหลักสูตร…..เพื่อปฏิวัติคนข่าว” (ต่อ)

- อาจารย์จเลิศ  เจษฎาวัลย์

คณบดีคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง


๑๑.๓๐ – ๑๒.๐๐น.               สรุปการระดมสมอง และซักถาม

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.                พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ น.                            ออกเดินทางไปดูงาน องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.)

๑๓.๔๐ น.                           ถึง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.)

๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.                ฟังบรรยายสรุป ดูงาน และซักถามข้อมูล ทีวีดิจิทัล

๑๖.๐๐ น.                           ออกเดินทางกลับมหาวิทยาลัยรามคำแหง

๑๖.๓๐ น.                           กลับถึงมหาวิทยาลัยรามคำแหง และเดินทางกลับภูมิลำเนา

 

########

 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๗

ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์  ครั้งที่ ๘

หัวข้อ“ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ”

วันศุกร์ที่ ๑๗  ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

ห้องประชุมศักดิ์  ผาสุขนิรันต์ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

และ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์วารสารศาสตร์ก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่าน  อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  การเพิ่มปริมาณและประเภทของสื่อใหม่ๆ ที่เป็นทางเลือกให้แก่ผู้รับสาร นอกเหนือจากสื่อดั้งเดิมที่เคยเป็นสื่อหลักของสังคม   รสนิยมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้รับสาร  การลดลงของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ งบประมาณโฆษณาที่เคลื่อนตัวไปยังสื่อใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้ตรงกว่า  องค์กรข่าวกำลังอยู่ระหว่างการปรับตัว  การเคลื่อนย้ายทุนจากการเน้นลงทุนที่คนและคุณภาพของเนื้อหา ไปยังการลงทุนด้านเทคโนโลยี (Technology Investment) และการดำเนินการทางการตลาด ความพยายามเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบและเข้าถึงอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการปรับเนื้อหา ลีลาและรูปแบบการนำเสนอ รวมทั้งเพิ่มช่องทางการเข้าถึงผู้รับสารมากขึ้น

 

ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ภาวะ ‘การหลอมรวมกันของสื่อ’ (Media Convergence) นั่นหมายถึงทั้งในแง่ของเทคโนโลยี ที่ใช้องค์กรสื่อที่ขยายครอบคลุมธุรกิจสื่อหลายประเภทในเวลาเดียวกัน การร่วมมือกันระหว่างองค์กรในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน และงานข่าวที่มีเนื้อหาออกหลากหลายช่องทาง แนวโน้ม Convergent Journalism  ถูกมองว่าเป็นวารสารศาสตร์แห่งอนาคต  การรายงานข่าวเน้นข่าวเดียวออกหลากหลายช่องทาง  (One Content , Multiple Platforms) เพื่อตอบสนองผู้รับสารที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นผู้ที่ต้องการบริโภคข่าวทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ

 

นอกจากการปรับตัวของสื่อหนังสือพิมพ์ที่เคลื่อนเข้าหาสื่ออื่นๆ สื่อโทรทัศน์ก็กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านไปยังระบบดิจิทัล ความไม่แน่นอนเชิงโครงสร้างและนโยบาย การแย่งชิงความสนใจจากผู้รับสารที่บริโภคผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม ทั้งสื่อดั้งเดิมที่เคยมีอยู่และสื่อใหม่มากมาย นั่นหมายถึงเม็ดเงินโฆษณาที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่มีจำนวนผู้ต้องการส่วนแบ่งมากขึ้นเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ ในขณะเดียวกันสังคมก็กำลังตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของสื่อ ความสามารถในการกำกับดูแลกันเองตามอุดมคติของวิชาชีพสื่อ  และเรียกหาจริยธรรมและความรับผิดชอบจากสื่อเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้แก่สังคม

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการสื่อ และกระบวนการผลิตสื่อวารสารศาสตร์ทำให้  สถาบันการศึกษา  และสมาคมวิชาชีพวารสารศาสตร์ ที่เป็นองค์กรบ่มเพาะนักวารสารศาสตร์จำเป็นต้องนำมาพิจารณา ปรับปรุง และประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพวารสารศาสตร์แห่งอนาคต โดย ‘เครือข่ายวิชาชีพและวิชาการวารสารศาสตร์’ ได้จัดประชุมเครือข่ายในรูปแบบการสัมมนา“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ด้วยการนำเสนอและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในแง่มุมต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพทางด้านวารสารศาสตร์ แล้วทั้งสิ้น ๗ ครั้ง ดังนี้

  • ครั้งที่ ๑ หัวข้อ ‘ทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์’ ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ครั้งที่ ๒ หัวข้อ ‘Convergence Newsroom’ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ครั้งที่ ๓ หัวข้อ ‘การตรวจสอบในยุคหลอมรวมสื่อ (Monitoring  Media  in  the  Convergence  Era)’ ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ครั้งที่ ๔ หัวข้อ ‘ทิศทางวารสารฯ ในยุคสงครามแพลตฟอร์ม’ ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น   จังหวัดลำปาง
  • ครั้งที่ ๕ หัวข้อ ‘คนเปลี่ยน สื่อปรับ รุก-รับ อย่างไร’ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ครั้งที่ ๖ หัวข้อ ‘ASEAN Journalism & Education’ ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ครั้งที่ ๗ หัวข้อ ‘ตำราวารสารศาสตร์ คอนเวอร์เจ้นซ์’ ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

สำหรับครั้งที่ ๘ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ ๖๐ ปีแห่งการก่อตั้งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คณะทำงานจะจัดสัมมนา ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๘ ขึ้น ภายใต้หัวข้อ“ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ”ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในวันศุกร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๗

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑. เพื่อเป็นเวทีนำเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องข่าวสาร และความก้าวหน้าทางวิชาการวิชาชีพสื่อมวลชน

๒. เพื่อสนับสนุน หรือเป็นสื่อกลางในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ ในการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ทั้งในส่วนของสถาบันการศึกษาและโครงการพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพให้ทันสมัย  สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน

รายละเอียดของโครงการ/กิจกรรม/วิธีดำเนินการ

กลุ่มเป้าหมาย นักวิชาการ นักวิชาชีพ สื่อมวลชน นักศึกษา จำนวน ๘o คน

รูปแบบดำเนินการ

การบรรยายพิเศษ (keynote lecture) และการเสวนา (seminar)

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

วันศุกร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๗  เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

สถานที่จัดงาน

ณ  ห้องประชุมศักดิ์  ผาสุขนิรันต์ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนา องค์กรทางด้านวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือในประเด็นต่างๆ ภายใต้โครงการวารสารศาสตร์แห่งอนาคต โดยความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

๔. สร้างสังคมที่มีสุขภาวะที่ดีจากการมีสื่อที่คุณภาพ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

๑. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๒. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

๓. สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

๔. คณะทำงานวารสารศาสตร์แห่งอนาคต

๔. คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

ผู้สนับสนุนโครงการ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาวิชาการวิชาชีพสาขาวารสารศาสตร์

๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือในประเด็นต่างๆ ภายใต้โครงการวารสารศาสตร์แห่งอนาคต  ภายใต้ความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพ

๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ

๑.จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของจำนวนผู้ลงทะเบียนทั้งหมด

๒.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

 

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

“ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ….ปฏิรูปหลักสูตร”

วันเสาร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ ห้องประชุมศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และ คณะสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

หลักการและเหตุผล

ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อใหม่ จากอนาล็อกเป็นดิจิตอล จากการหลอมรวมสื่อต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ทำให้ ‘Media Landscape’ เปลี่ยนแปลงไป เปิดพื้นที่สื่อใหม่ๆ มากมาย อาทิ ทีวีดิจิตอล ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี หนังสือพิมพ์ออนไลน์ วิทยุออนไลน์ วิทยุชุมชน วิทยุท้องถิ่น (SMEs) ยังไม่นับรวมประเภท e-book e-magazine หรือแม้แต่สื่อสังคมออนไลน์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่นับวันมีบทบาทในการสื่อสารและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมมากขึ้น สื่อใหม่ (New Media) ย่อมต้องการเครื่องมือใหม่ (New Tools) ในกระบวนการทำงาน ตั้งแต่การเตรียมการผลิต กระบวนการผลิตเนื้อหา หรือช่องทางการนำเสนอเผยแพร่ ไปจนถึงการตลาด การโฆษณา และการจัดจำหน่ายใหม่ อีกทั้งการคัดกรอง การทำหน้าที่บทบาท การกำหนดประเด็น การตรวจสอบและกำกับดูแล หรือจริยธรรมวิชาชีพ จำเป็นต้องทบทวนกันใหม่

ในทางเดียวกัน ผู้รับสารหรือผู้บริโภคข่าวสารก็ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับข่าวสาร เพราะเทคโนโลยีสื่อใหม่ด้วยเช่นกัน พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงจากเดิม ทางเลือกสื่อใหม่มากขึ้น กระจายตัวมากขึ้น วิธีการและช่วงเวลาการเสพข่าวสารของผู้บริโภคไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป รวมทั้งความคาดหวังที่มีต่อสื่อมวลชนมีมากขึ้นเป็นลำดับ

‘Perfect Storm’ หรือพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ นับเป็นสิ่งที่ทั้งนักวิชาการและนักวิชาชีพต้องเผชิญหน้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ ความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำงานในอนาคต โดยเฉพาะส่วนวิชาการอันเป็นต้นทางการผลิตบุคลากรวารสารศาสตร์/สื่อสารมวลชน ในการสร้างบุคลากรที่ตอบสนองสังคมและเข้าสู่วิชาชีพต้องมี ‘หลักสูตร’ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว อันเป็นหัวใจสำคัญ ทั้งยังต้องมี ‘เอกลักษณ์เฉพาะ’ ของแต่ละสถาบัน

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปี “ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ”    จึงร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และสถาบันการศึกษาด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ซึ่งในครั้งนี้ ได้แก่ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตระหนักถึง ‘ความเปลี่ยนแปลง’ ดังกล่าวข้างต้น จึงจัดการประชุมแลกเปลี่ยนความเห็น “ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ….ปฏิรูปหลักสูตร”

เพื่อสร้างเสริมศักยภาพของนักวิชาการ เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้ และเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ร่วมกันคิดร่วมกันสร้างแนวทางหลักสูตรวารสารศาสตร์ไทยในยุคใหม่ อีกทั้งศึกษาดูงานด้านสื่อมวลชน เพื่อต่อยอดทางความคิดจากวิชาชีพที่กำลังอยู่ในสถานการณ์จริง จะมีส่วนสนับสนุนให้เกิดประโยชน์ในการออกแบบและจัดการหลักสูตรตามแนวทางของแต่ละสถาบัน อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสถาบันนั้นๆ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑. เพื่อเป็นเวทีนำเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องข่าวสารและความก้าวหน้าทางวิชาการวิชาชีพสื่อมวลชน

๒. เพื่อสนับสนุน หรือเป็นสื่อกลางในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิชาการ และวิชาชีพในการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาวิชาวารสารศาสตร์ทั้งในส่วนของสถาบันการศึกษาและโครงการพัฒนาบุคลากร โดยสมาคมวิชาชีพให้ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน รวมทั้งสอดรับกับอนาคต

๓. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายนักวิชาการวิชาชีพวารสารศาสตร์

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

๑.      คณะอนุกรรมการวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๒.      สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

๓.      สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

๔.      คณะทำงานวารสารศาสตร์แห่งอนาคต

๕.      คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

สนับสนุนโครงการโดย

๑.      สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

รายละเอียดของโครงการ/กิจกรรม/วิธีดำเนินการ

กลุ่มเป้าหมาย

จำนวน 25-30 คน ประกอบด้วยบุคลากรจากวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

รูปแบบดำเนินการ

๑.      การบรรยายพิเศษ

๒.      การสัมมนาระดมสมอง

๓.      การดูงาน

วัน เวลา และสถานที่

วันเสาร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๗

เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๒.๐๐ น.  ณ ห้องประชุมศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.  ศึกษาดูงานองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาวิชาการวิชาชีพสาขาวารสารศาสตร์

๒. เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ด้านวิชาชีพสื่อมวลชนให้กับอาจารย์ด้านวารสารศาสตร์

๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

 

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ

๑.   จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของจำนวนผู้ลงทะเบียนทั้งหมด

๒.   ผู้เข้าร่วมประชุมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

๓.   แนวคิดหลัก การพัฒนาหลักสูตรวารสารศาสตร์แห่งอนาคต