15กย52-ราชดำเนินเสวนาครั้งที่ 22 มองปรากฏการณ์ แกรมมี่ ซื้อหุ้นโพสต์-มติชน ธุรกิจ การเมือง และเสรีภาพสื่อมวลชน

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุ และโทรทัศน์ไทย และสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดรายการราชดำเนินเสวนา ครั้งที่ 22 ประจำปี 2548 เรื่อง”มองปรากฏการณ์ แกรมมี่ ซื้อหุ้นโพสต์-มติชน ธุรกิจ การเมืองและเสรีภาพสื่อมวลชน โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย นายมานิจ สุขสมจิต อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ดร.พันธ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ที่ปรึกษา สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ดร.เจษฎ์ โทณะวนิก คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม นายพิภพ ธงไชย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์ คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ(ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งในการเสวนามีสื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ตลอดจนนักศึกษาและประชาชนเข้ารับฟังจำนวนมาก จนแน่นขนัดห้องประชุม

 



** มานิจ-น่ากังวลใจมาก

 

นายมานิจ สุขสมจิตร อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ในฐานะผู้เฝ้าติดตามสิทธิเสรีภาพของสื่อจากอดีตถึงปัจจุบัน กล่าวว่า การเข้ามาถือหุ้นของแกรมมี่ในมติชนและบางกอกโพสต์ในครั้งนี้ถือว่าสาหัสที่ สุดเท่าที่เคยพบในอดีต และรู้สึกกังวลมาก

ในอดีตรัฐบาลมีวิธีจัดการกับสื่อ 4 วิธีใหญ่ คือ 1.ใช้อำนาจตามกฏหมาย โดยผู้บริหารออกกฏหมายบังคับใช้ เช่น พ.ร.บ.การพิมพ์ 2484 2.ใช้อำนาจเถื่อน เช่น ทุบแท่นพิมพ์ จับนักหนังสือพิมพ์ซึ่งหัวแข็งไม่ยอมอยู่ในโอวาทหรือไปฆ่าทิ้ง หรือทำร้ายร่างกาย 3.บีบทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการไปบอกบริษัทโฆษณาไม่ให้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ 4.ให้คนของพรรคการเมืองซึ่งเป็นคนของพรรครัฐบาลเข้าไปซื้อหุ้น เมื่อได้หุ้นใหญ่ก็สามารถจะบ่งการได้ทุกอย่างในธุรกิจนั้น

ซึ่งในข้อ 4 กำลังเกิดขึ้นกับสื่อไทยขณะนี้ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ให้การรับรองสิทธิเสรีภาพของคนทำงานในสื่อไว้ ในมาตรา 41 ว่าพนักงานหรือลูกจ้างในภาคเอกชนที่ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ย่อมมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อ จำกัดตามรัฐธรรมนูญโดยไม่อยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจหรือเจ้าของกิจการนั้นๆ โดยต้องไม่ขัดต่อจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อ ตรงนี้ชัดเจน



** พันธ์ทิพย์-มติชนไม่ใช่กรณีแรก

ดร.พันธ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวด้วยความวิตกกังวลว่า จากการทำวิจัยเกี่ยวกับสื่อหนังสือพิมพ์มาตลอด พบว่า กรณีของมติชนไม่ใช่เรื่องแรก และคงไม่ใช่เรื่องสุดท้าย และถ้าสังคมไม่เข้าใจประเทศไทยจะเสียใจมาก วันนี้เห็นได้ชัดว่าความเหิมของภาคธุรกิจก้าวล่วงไปมาก และครั้งนี้ก็ไม่ใช่ครั้งแรกของแกรมมี่ที่ทำเช่นนี้ แกรมมี่มีสื่อในมือมาก ฉะนั้นการจะไปสงสัยว่าเขาเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองบางพรรคคงไม่เป็นธรรม แต่ในใจก็อดที่จะหวาดกลัวไม่ได้ เพราะว่าวันนี้พรรคการเมืองหนึ่งมีคะแนนเสียงมากที่สุด และหากเกิดสื่อเป็นกระแสเดียวก็คงจะเป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างยิ่งใน เรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่องของความเป็นธรรมจะถูกกำหนดโดยกระแสเดียวในสังคมไทยคงเป็นไปไม่ได้

วันนี้จึงอยากร้อง ขอให้มติชน นอกจากจะรักษาตัวเองให้อยู่รอดแล้ว ขอให้สละตัวเองเป็นหนูตะเภา เพราะวันนี้เราไม่ได้เผชิญอยู่กับแกรมมี่แต่เรากำลังเผชิญกับกระแสทางธุรกิจ อยากให้มองกันให้ชัด ๆ อย่ามองแค่ 2-3 วันแล้วหายไป อยากให้มองมติชนเป็นกรณีตัวอย่าง วันนี้ภาควิชาการคงจะต้องช่วยกันออกมาแล้ว เพราะเราคงหลอกตัวเองไม่ได้ว่าทุนนิยมอยู่ในประเทศไทย

{xtypo_quote}เราไม่น่ารอให้มติ ชนล้มลงไป วันนี้ 50,000 ชื่อ น่าจะร่วมกันร่างกฏหมายคุ้มครองมติชนและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสื่อ ด้วยความร่วมมือร่วมใจกัน{/xtypo_quote} ดร.พันธ์ทิพย์ กล่าว

** วสันต์ แกรมมี่คุมทีเดียว 5 ฉบับ

ด้าน นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ที่ปรึกษา สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า ตนกังวลว่าสถาบันสื่อกำลังถูกคุกคามหนักขึ้นไปทุกที สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนจะหดหายไป กรณีการเข้ามาเทคโอเวอร์มติชนและบางกอกโพสต์ครั้งนี้ดูแล้วไม่ธรรมดา สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่นายทุนต้องการนั้นมากมายมหาศาลไม่ใช่แค่เอาเงินมาลง ทุนแล้วนั่งรอดูดอกผล เพราะหากแกรมมี่ต้องการเช่นนั้นจริงมีธุรกิจมากมายที่มีผลตอบแทนด้าน เศรษฐกิจที่ดีกว่ามติชนหลายเท่า

การที่เข้ามาคุมหนังสือพิมพ์ถึง 5 ฉบับ การที่กำจัดสื่อเสรีครั้งเดียวถึง 5 ฉบับเป็นเรื่องที่น่าตกใจ และเป็นเรื่องที่คิดว่าคนอ่านประชาชน คนทั่วไป รวมถึงเพื่อนวิชาชีพยอมไม่ได้

สื่อ เป็นธุรกิจที่ไม่เหมือนธุรกิจทั่วไป เป็นธุรกิจที่มีความผูกพันธ์ มีพันธะกับผู้อ่านกับสาธารณะ ฉะนั้นการที่นายทุนคิดว่าเมื่อเข้ามาถือหุ้นใหญ่ เข้ามาครอบงำสื่อแล้วจะสั่งทุกอย่างได้แล้วเป็นเรื่องที่ผิด ความพยายามนี้เมื่อมีกระแสต้านมาแล้วน่าจะเป็นบทเรียนให้นายทุนคิดได้ แล้วพิจารณาตัวเองว่าควรจะทำอย่างไรหากวันนี้คุณไพบูลย์จะหันหลังกลับก็ยัง ไม่สาย

** ดร.เจษฎ์ วิชาชีพต้องเข้มแข็ง

ดร. เจษฏ์ โทณะวนิก คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม บอกว่าหากวันนี้อากู๋(ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม)ถอนตัวจริง ก็คงต้องมานั่งคิดเพื่อไม่ให้หลง อยากมองต่างมุมในประเด็นที่ว่าอากู๋จะไม่แทรกแซงสื่อ ตนเชื่อว่าทุกอย่างมีเงื่อนเวลา และมีเงื่อนไข ท้ายที่สุดเรื่องของความเป็นจริงในการแทรกแซง คนเราจะซื้อธุรกิจอื่นก็ต้องซื้อเพื่อกำไร ใครก็ตามที่สามารถถือครองสื่อ 5-6 ฉบับในขณะเดียวกันด้วยกำลังทุน กำลังทรัพย์สามารถสร้างเสถียรภาพความได้เปรียบ แต่ข้อสำคัญคือมีแน่นอนที่จะเกิดพลังในทางการเมืองขึ้น

ฉะนั้น สิ่งที่จะต่อสู้กับกลุ่มทุนได้ คือความเข้มแข็งของวิชาชีพ ถ้าหากว่าเนื้อในยังแข็งอยู่ ผู้ที่มีจรรยาบรรณ ผู้ที่ประกอบวิชาชีพไม่ว่าจะสื่อไหน ๆ สามารถที่จะรวมตัวกัน สามารถที่จะเกาะกลุ่มกัน ต้องใช้หลักการในเชิงวิชาชีพในมาตรา 41 ทั้งหมดคือหน้าที่ของรัฐที่จะต้องออกมาจัดการ

ขณะ นี้พวกเรากำลังสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของคนไทยทุกคน ไม่ใช่สู้เพื่อมติชน หรือสู้เพื่อบางกอกโพสต์ ถ้าคนไทยไม่มีสิทธิเสรีภาพในการพูด การเขียน การแสดงความคิดเห็น ก็เท่ากับฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งไปได้เลย



** พิภพ เชื่อมติชนจะชนะ

นาย พิภพ ธงไชย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า การเข้ามาซื้อหุ้นของนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม หรือ อากู๋ประธานกรรมการบริหาร จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ครั้งนี้คิดว่า มติชนชนะแน่ เพราะเชื่อในตัวของกลุ่มผู้บริหารมติชน และการเข้ามาซื้อหุ้นมติชนของอากู๋ไม่ผิด แต่ตนคิดว่ามีวาระซ่อนเร้น ไปสู่ทุนการเมือง หรือจะเป็นหุ้นที่ซื้อเพื่อเก็งกำไรแล้วขายทิ้ง และถือเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่ธนาคารไทยพาณิชย์ให้อากู๋กู้ถึง 2-3 พันล้าน เหมือนกับครั้งที่ธนาคารไทยพาณิชย์ให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีกู้เป็นทุนหลัก ในที่สุดมีคนอ้างต้องการซื้อไอทีวีเพื่อช่วยไทยพานิชย์ ซึ่งตรงนี้ตนเกรงว่า ถ้ามติชนมีปัญหา ก็จะมีคนๆ หนึ่งอ้างว่าจะเข้ามาช่วยธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งคนที่จะเข้ามาช่วยตรงนี้ได้ต้องมีเงินมากกว่า 2-3 พันล้านเป็นร้อยๆเท่า แล้วเป็นใครกลุ่มทุนไหนในประเทศที่มีเงินมากขนาดนั้น ตนจึงกลัวว่าเส้นทางมติชนจะเหมือนกับไอทีวี

นาย พิภพ กล่าวต่อว่า ทำสื่อไม่เหมือนกับทำเทป ตนกลัวว่าวันหนึ่งกลุ่มผู้บริหารมติชนชุดปัจจุบันจะทิ้งมติชนไปแล้วสุด ท้ายมติชนจะกลายเป็นเศษกระดาษ และจะเกิดอะไรขึ้นกับไทยพาณิชย์เหมือนกับการใช้เงิน 2 พันล้านทุบหนังสือพิมพ์ทิ้ง ซึ่งเป็นการคิดแบบการเมือง ตนคิดว่าอากู๋คิดผิดในเรื่องการซื้อเพื่อการเมือง สำหรับทางออกในเรื่องนี้ควรทบทวนการนำสื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ และต้องคิดว่าจะทำอย่างไรไม่ให้สื่อถูกครอบงำ เพราะสื่อเป็นของผู้บริโภคสาธารณะ ใครจะซื้อใครจะขายมั่วๆ ไม่ได้

{xtypo_quote}กรณี นี้การแทรกแซงทางการเมืองมีสูงมาก ทำทุกอย่างทั้งกดดันเรื่องการลงโฆษณา การปิดสถานีวิทยุ รัฐบาลทักษิณ รวยแล้วยังไม่พออีกหรือ ยังปิดปากปิดหูปิดตาประชาชน แทรกแซงสื่อองค์กรอิสระ ผมจึงสงสัยว่าทักษิณจะอยู่ได้หรือไม่ ถ้าอยู่ได้ก็ต้องมีปัญหาแน่{/xtypo_quote} นายพิภพ กล่าว

** ดรุณี รุนแรงยิ่งกว่าสึนามิ

ดร. ดรุณี หิรัญรักษ์ คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้า กล่าวว่า วันนี้เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ในแวดวงของสื่อมวลชน เป็นเหตุการณ์ที่วิกฤต กว่าสึนามิ วิกฤตกว่ากรณีภาคใต้ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหมายถึงสิทธิเสรีภาพอันชอบธรรมของประชาชนกำลังจะ ถูกฉกฉวยไปด้วยอำนาจทุน อำนาจเงิน และอำนาจ พวกเราทุกคนต้องช่วยกัน

ครั้ง หนึ่งเคยมีผู้เทคโอเวอร์นั่งอยู่ในห้องเรียนเมื่อ 32 ปีที่ผ่านมา แต่วันนี้ขอพูดในฐานะนักวิชาการ ขอถามกลับไปยังผู้เทคโอเวอร์ว่าสามารถตอบสังคมได้ไหม เพราะเชื่อแน่ว่านักวิชาการ นิสิต นักศึกษาคงไม่หยุดแค่นี้ เพราะหากปล่อยให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นต่อไปต้องปรับหลักสูตรนิเทศศาสตร์กัน ใหม่ จึงขอเรียกร้องผู้เทคโอเวอร์หากถอยได้ก็ขอให้ถอยเถอะ



** ดร.สมเกียรติ ยื่น 6 ข้อเสนอ

ใน ขณะที่”ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นักวิชาการจากสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศ วิเคราะห์ว่าธุรกิจหนังสือพิมพ์ไม่ใช่ธุรกิจที่โตเร็ว ไม่ใช่ธุรกิจที่น่าลงทุน เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง มีทั้งเรื่องฟ้องร้อง มีทั้งต้นทุนค่ากระดาษ โดยเฉพาะมติชนขณะนี้มีคดีอยู่หมิ่นประมาทค้างอยู่ประมาณ 30 กว่าคดี มูลค่าหลายหมื่นล้านบาท


ฉะนั้นที่บอกว่าการเข้าควบกิจการเพื่อลดความเสี่ยงจึงฟังไม่ขึ้น พร้อมกันนี้ ดร.สมเกียรติ์ ได้เสนอและเรียกร้อง 6 ประการ

1. อากู๋บอกว่าอากู๋รักมติชน รักโพสต์ ถ้าจะรักกันจริงๆ อากู๋อย่าไปยุ่งกับเขา

2. ตอนนี้คงต้องเรียกร้องกับนายทุนกลุ่มต่างๆในสังคมไทยที่มีเงิน เพราะศึกนี้คงไม่จบในเวลาสั้นๆ แม้ว่าในสุดเครือมติชนจะสามารถทัดทานแข่งขันในการซื้อหุ้นกลับมาได้ แต่สิ่งที่คาดหมายต่อไปว่าถ้าเกิดการเคลื่อนไหวครั้งนี้มีเบื้องหลังทางการ เมืองอย่างที่เราสงสัยกันจริง สิ่งที่จะตามมาคือการกดดันในรูปแบบอื่นที่จะมีมาอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าจะจัดการด้วยวิธีนี้ไม่ได้ก็จัดการด้วยวิธีอื่น เช่นเรื่องของการโฆษณา แต่ถ้าเราไปดูพอร์ตโฆษณาของมติชนจะมีโฆษณารายใหญ่ 25 ราย ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดถึง 40 เปอร์เซ็นของมติชน ในจำนวนนั้นก็จะมีบริษัทต่างๆ เอสซีแมชบอกซ์ ฉะนั้นนี่คือด่านต่อไป ฉะนั้นนายทุนที่จะเข้ามาเป็นพันธมิตรให้มองระยะยาวและช่วยกันให้ตลอดรอดฝั่ง

3. เรียกร้องกับคอลัมนิสต์ นักเขียนอิสระ ที่มีความเป็นกลางอยู่แล้วในเครือมติชน เช่น อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ อ.วรากรณ์ สามโกเศศ หรือพล.ต.อ.วศิษฐ์ เดชกุญชร อยากให้นักเขียนอิสระเหล่านี้รวมตัวกัน แล้วประกาศจุดยืนที่ชัดเจนว่า หากกลุ่มแกรมมี่เท็กโอเวอร์ได้สำเร็จ จะเลิกเขียนให้กับเครือผู้บริหารใหม่ ผมคิดว่าต้องทำก่อนอย่าปล่อยให้เท็กโอเวอร์แล้วค่อยเลิกเขียน แต่ว่าวิธีการที่จะยับยั้งการรุกคืบควบรวมกิจการได้ก็คือ การประกาศก่อนว่าถ้าเท็กโอเวอร์ไปข้อเขียนของคุณคืออะไร

4. หน่วยงานด้านสื่อ โดยเฉพาะสภาการหนังสือพิมพ์ จะต้องเป็นแกนกลางในการรวบรวมความเป็นปึกแผ่นของสื่อเข้าด้วยกัน เพราะวันนี้มีนิมิตหมายที่ดีมากที่สื่อมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการปกป้องภัย พิบัติของสื่อ แต่อาจจะมีอีกหลายภัย ขอให้ใช้การรวมโอกาสครั้งนี้แปลงวิกฤตเป็นโอกาสรวมตัวกันกับหลายๆเรื่อง เช่นคดีหมิ่นประมาทที่มีอยู่มากมาย ถ้าเป็นการหมิ่นประมาทในลักษณะข่มเหงรังแกกัน และมีการฟ้องร้อง เลยอยากให้กลุ่ม เฟรนด์ออฟเพรส ร่วมมือกับสภาการหนังสือพิมพ์ ถ้าเกิดจะมีข่าวฟ้องร้องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง คล้ายกับคดีของสุภิญญา กลางณรงค์ และอีกหลายเรื่อง อยากให้กลุ่มนักวิชาการใน เฟรนด์ออฟเพรส ไปเป็นพยานในศาลขุดคุ้ยเรื่องต่างๆออกมา แล้วสื่อต่างๆก็ช่วยกันตีพิมพ์ขนานใหญ่ ต้องเอากันให้เข็ด

5. หากเทกโอเวอร์ได้สำเร็จ ผู้บริโภคควรจะรวมหัวกันบอยคอตเลิกซื้อหนังสือพิมพ์ที่ถูกเทกโอเวอร์ไป ซึ่งจุดนี้มีความเป็นไปได้สูงเพราะส่วนใหญ่ผู้บริโภคที่ซื้อมติชน ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกประจำ แต่เป็นการซื้อตามแผง ฉะนั้นเราสามารถโหวตด้วยเงินได้ ว่าไม่เอาสื่อที่เป็นที่เคลือบแคงสงสัย

6. หากการเทกโอเวอร์สำเร็จจริงๆ คิดว่าคงถึงจุดสำคัญจุดหนึ่งซึ่งผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่ของทั้ง 2 เครือ โดยเฉพาะเครือมติชน จะต้องตัดสินใจว่าในที่สุดจะต้องใช้กลยุทธ์พระเจ้าตากฝ่าวงล้อมทิ้งเมืองออก ไป อยากจะซื้อก็ซื้อไป ทิ้งเงินมา 3 พันล้าน ก็จะได้หัวหนังสือพิมพ์ ซึ่งคงจะหมดค่าลงทุกวัน ถ้าไม่มีความเชื่อถือหนุนหลังอยู่ 2.ได้แท่นพิมพ์ไป และ3.ได้ตึกไป แต่ว่าไม่ได้พนักงาน ไม่ได้นักเขียน ไม่ได้กองบรรณาธิการ ไม่ได้ชีวิตจิตใจ ไม่ได้รับความเชื่อถือ ถ้าเกิดตีค่าที่จะซื้ออยู่ 3 พันล้าน เมื่อไปดูงบดุลของมติชนมีทรัพย์สินตามบัญชีประมาณ 1600 ล้าน แปลว่าส่วนที่เหลือมีอยู่ประมาณ 1600 ล้านเช่นกัน คือส่วนของความนิยม ส่วนของกู๊ดวิว ส่วนของความเชื่อถือที่มีอยู่ ดังนั้นหากอากู๋จะซื้อ 3 พันล้าน อากู๋ก็จะได้ไปเพียง 1600 ล้านเท่านั้น



** พงษ์ศักดิ์ เราต่างจากแกรมมี่

ขณะ ที่ นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์มติชนและบรรณาธิการอำนวยการหนังสือพิมพ์มติชน แถลงว่า ต้องขอบคุณประชาชนเจ้าของมติชน ซึ่งการประชุมกับเพื่อนพนักงาน 1,680 คนทุกคนตระหนักดีว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานในนามของประชาชนคนอ่านจน หนังสือพิมพ์มติชนกล่าวเป็นสถาบันของชาติ และไม่เคยคาดคิดว่าเพื่อนที่รู้จักกันจะมาทำกันแบบนี้ ทั้งที่ธุรกิจในเครือของมติชน แตกต่างโดยสิ้นเชิงกับของจีเอ็มเอ็มฯ เพราะมติชนมุ่งหวังสร้างความรู้และวิชาการวิถีไทย รวมทั้งยึดแนวพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ดำรงเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้มุ่งไปทางบันเทิงหรือเรื่องเซ็กซ์ เราจึงไม่เห็นด้วยหากจะต้องทำธุรกิจเพื่อนำไปสู่ความล่มสลายของสังคม สร้างความเสื่อมเสียทางวัฒนธรรม การแก้เกมของมติชนนั้นจะไม่ทิ้งบ้าน แต่จะต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง

{xtypo_quote}ขณะ นี้ไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปร้อนรนตื่นเต้นว่าเราจะต้องหนีไปอยู่ที่ไหน ของๆ เรา บ้านของเราๆ ทำและต่อสู้ของเรามา ต่อสู้แกะระเบิดมา จะไปติดคุกติดตะรางสารพัดอย่าง มติชนไม่ใช่ 2,000 ล้านตามตัวเลขเท่านั้น การต่อสู้และชื่อเสียงทั้งหลายเป็นมูลค่าทั้งนั้น เป็นมูลค่าของประชาชนคนอ่าน ซึ่งเราไม่สามารถให้ใครมายึดบ้านของเราได้ เราไม่ใช้ม้าอารี ใครเข้ามาแล้วมาถอยๆ ไป{/xtypo_quote} นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว

...............................