กตป. กสทช. ผนึกกำลัง ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ร่วมจัดนิทรรศการนำเสนอผลการศึกษา (Open House) และการแถลงผลการศึกษาติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ประจำปี 2567 และ การประชุมเสวนาวิชาการ (Seminar Forum) “ทีวีไทย ไปต่อ หรือ พอแค่นี้ ?” ระหว่างวันที่ 14 และ 15กุมภาพันธ์ 2568 ณ Craft studio ชั้น 5 โซน Atrium ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อสะท้อนเสียงจากประชาชน ถึง กสทช. ต่อการบริหารงานและความดำรงอยู่ของโทรทัศน์ไทย

วันนี้ (14 ก.พ. 2568) ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ (กตป.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ร่วมจัดนิทรรศการนำเสนอผลการศึกษา (Open House) และการแถลงผลการศึกษาติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ประจำปี 2567 และ การประชุมเสวนาวิชาการ (Seminar Forum) “ทีวีไทย ไปต่อ หรือ พอแค่นี้ ? เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเพื่อสะท้อนเสียงจากประชาชน ถึง กสทช. การบริหารงานและความดำรงอยู่ของโทรทัศน์ไทย และการเสวนาจากคนในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ต่อความเป็นและทิศทางของกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทย จะอยู่ (ต่อ) อย่างไร และการปรับตัวของผู้ประกอบการเพื่อสู้ในเวทีโลก ระหว่างวันที่ วันที่ 14 และ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ณ Craft studio ชั้น 5 โซน Atrium ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร กตป. ด้านกิจการโทรทัศน์ ประธานการจัดงาน กล่าวว่ากรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช. เกิดขึ้นจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 หมวด 6 การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงาน มาตรา 70-73 ที่ต้องการ Check and Balance องค์กรอิสระของรัฐ ที่ไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ในระยะที่ผ่านมานั้น กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช. ชุดนี้เป็น ชุดที่ 3 เข้ามารับตำแหน่งในวันที่ 16 สิงหาคม 2565 และจะสิ้นสุดวาระ 3 ปี ในวันที่ 15 สิงหาคม 2568 โดยตลอดระยะเวลาการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช. จึงเป็นเสมือนกระจกสะท้อนเพื่อให้เกิดขับเคลื่อนทั้งเชิงนโยบาย กฎหมาย และการส่งเสริมพัฒนาแก่ กสทช. ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชน ต่อไป

รศ.ดร.สุดาวรรณ สมใจ หัวหน้าที่ปรึกษา ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ประจำปี 2567 กล่าวว่า ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการติดตามและประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ประจำปี 2567 ตามหลักวิชาการ ผ่านการรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ประเมินผล สรุปผลข้อมูล และจัดทำรายงาน บนพื้นฐานข้อเท็จจริงที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงผลของการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ เพื่อที่ กตป. นำข้อมูลไปรวบรวม วิเคราะห์และจัดทำรายงาน แจ้งผลให้ กสทช. ทราบภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้ กสทช. นำรายงานดังกล่าวเสนอต่อรัฐสภาดังกล่าวต่อไป

โดยภายในงานประกอบด้วยและนิทรรศการการำงานของ กตป. ตั้งแต่ ปี 2565-2567 การเปิดตัวพ็อคเก็ตบุ๊ค ทีวีไทย ไปต่อ หรือ พอแค่นี้? และการประชุมเสวนาวิชาการ (Seminar Forum) “ทีวีไทย ไปต่อ หรือ พอแค่นี้?” กับการระดมความคิดเห็นครั้งใหญ่จากคนในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ กับ 4 Chapter หลักประกอบด้วย
Chapter 1 แสดงวิสัยทัศน์อนาคตของโทรทัศน์ไทย พบกับ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ แสดงวิสัยทัศน์อนาคตของโทรทัศน์ไทย
Chapter 2 อุตสาหกรรมโทรทัศน์อยู่ (ต่อ) อย่างไร พบกับ ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านโทรทัศน์
Chapter 3 ผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทยในยุคของการเปลี่ยนแปลง พบกับ คุณชาคริต ดิเรกวัฒนชัย รองกรรมการผู้อำนวยการ สำนักกิจการและสื่อสารองค์กร บมจ. บีอีซี เวิลด์ และ อุปนายก สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย)
Chapter 4: โทรทัศน์และสื่อ ปรับเปลี่ยน อย่างไรให้อยู่รอด พบกับ รศ.ดร.วิชิตา รักธรรม จากมหิดลชาแนล คุณยศสินี ณ นคร บริษัท เมคเกอร์ Y จำกัด และคุณยิ่งยศ ปัญญา MONO MAX ดำเนินการเสวนา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ฐาศุกร์ จันประเสริฐ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ