เกี่ยวกับเรา

 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเป็นองค์กรวิชาชีพของสื่อมวลชนซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2543 โดยการรวมกันของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ.2498 – พ.ศ.2543) กับสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (พ.ศ.2508 – พ.ศ.2543) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกภาพในองค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน ให้สามารถทำหน้าที่ผดุงไว้ซึ่งมาตรฐานทางวิชาชีพ และจริยธรรมของสื่อมวลชนไทยได้อย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น

วิสัยทัศน์ เป็นสถาบันหลักของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน

นโยบายในการดำเนินงาน
1. พัฒนาความเป็นปึกแผ่นขององค์กรวิชาชีพหลังการรวมสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยและสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเป็นสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

2. ส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ ยึดมั่นในจริยธรรมและความเป็นกลาง เพื่อให้เกิดการยอมรับและน่าเชื่อถือในวิชาชีพต่อสังคม

3. พัฒนาการประกอบวิชาชีพ โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้นำทางความคิด

4. สร้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาคมฯ สมาชิก องค์กรผู้ประกอบธุรกิจสื่อมวลชน และองค์กรวิชาชีพในต่างประเทศ

การบริหารงาน
คณะกรรมการสมาคมมีทั้งหมด 15 คน มีวาระในการดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี โดยเป็นผู้แทนมาจากหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ที่มีสมาชิกสมาคมสังกัดอยู่ และได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่สมาชิกสมาคมซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 4 มีนาคม ของทุกปี สมาคมฯ มีสำนักงานเลขาธิการซึ่งมีเจ้าหน้าที่ประจำทำงานเต็มเวลา จำนวน 6 คน

สมาชิกภาพ
เดิมสมาคมมีสมาชิกที่เป็นเฉพาะนักหนังสือพิมพ์จากหนังสือพิมพ์ข่าวทั้งรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน และได้เริ่มขยายขอบเขตของสมาชิกโดยการรับนักข่าวจากวิทยุและโทรทัศน์เข้าร่วมเป็นสมาชิกวิสามัญในปี 2540 โดยสมาชิกจะต้องชำระค่าบำรุงปีละ 300 บาท

กิจกรรม
กิจกรรมด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ สมาคมเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการรณรงค์เคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนและสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน เช่น การรณรงค์ให้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ การเรียกร้องต่อรัฐบาลในการเปิดให้สื่อมวลชนเข้าฟังการพิจารณางบประมาณประจำปี การติดตามการทำงานของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารทางราชการ ฯลฯ

กิจกรรมด้านการฝึกอบรม เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพวงการสื่อสารมวลชน สมาคมดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมทั้งในระดับของนักศึกษาวิชาการหนังสือพิมพ์ อาจารย์ที่สอนวิชาการหนังสือพิมพ์ นักหนังสือพิมพ์ทั้งในระดับประเทศและนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ตลอดจนมีการจัดอบรมเฉพาะทางสำหรับนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ด้วย

นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังจัดกิจกรรมในการเปิดโอกาสให้นักข่าวได้พบปะพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับแหล่งข่าว ซึ่งนอกจากนักข่าวจะได้ประเด็นข่าวที่จะรายงานต่อประชาชนแล้ว ยังได้ความรู้ในแต่ละประเด็นอย่างลึกซึ้งอีกด้วย นักข่าวทั่วไปรู้จักกิจกรรมนี้ในนามของ ราชดำเนินเสวนา เป็นอย่างดี เพราะสมาคมได้ริเริ่มจัดอย่างต่อเนื่องทุก ๆ วันเสาร์

กิจกรรมด้านสวัสดิการสมาชิก สมาคมมีบทบาทในการดูแลสมาชิกครอบคลุมทั้งสวัสดิการรักษาพยาบาล ประกันชีวิต คลอดบุตร ทุนการศึกษาบุตร สวัสดิการมรณกรรม และดูแลนักข่าวอาวุโสโดยการจัดตั้งกองทุน เหยี่ยวปีกหัก เพื่อให้ความช่วยเหลือ

กิจกรรมด้านต่างประเทศ สมาคมฯ เป็นองค์ผู้ร่วมก่อตั้ง International Freedom of Expression eXchange (IFEX) และ South East Asian Press Allian (SEAPA) ซึ่งทำงานด้านการรณรงค์เรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกสมทบของ International Federation of Journalists (IFJ) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานด้านการประสานเครือข่ายนักหนังสือพิมพ์ทั่วโลก รวมทั้งการมีบทบาทในการสนับสนุนนักข่าวไทยเข้าอบรมและสัมมนาร่วมกับนักหนังสือพิมพ์ในระดับนานาชาติ

กิจกรรมด้านการจัดประกวดข่าว สมาคมฯ จัดกิจกรรมประกวดข่าวเป็นประจำทุกปี แบ่งการประกวดเป็น 4 ประเภท คือ การประกวดข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยมรางวัลอิศรา อมันตกุล การประกวดข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการประกวดข่าวหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา รางวัลพิราบน้อย

กิจกรรมด้านการส่งเสริมจริยธรรม สมาคมฯ ส่งเสริมให้มีการตรวจสอบและควบคุมจริยธรรมระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเอง โดยที่ประชุมใหญ่สมาชิกของสมาคมจะเลือกตั้งคณะกรรมการจริยธรรมวิชาชีพจำนวน 5 คน เพื่อทำหน้าที่ในการดูแลจรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์ให้ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของสมาชิกสมาคม และยังทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการเป็นของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติด้วย

ารเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สมาคม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารสำหรับสมาชิกและผู้สนใจผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
1. หนังสือวันนักข่าว เผยแพร่ปีละ 1 ฉบับ ทุกวันที่ 4 มีนาคม

2. เพจจุลสารราชดำเนิน

3. เพจสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

4. เผยแพร่ผ่าน Line Group

5. เผยแพร่ผ่าน Line official

6. เผยแพร่ผ่าน Twitter

7. รายการวิทยุช่วยกันคิดทิศทางข่าว FM 100.5

จริยธรรมของวิชาชีพ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
1. ส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพของการเสนอข่าวและความคิดเห็น

2. ให้ประชาชนได้ทราบข่าวเฉพาะที่เป็นจริง การเสนอข่าวสารใด ๆ ออกพิมพ์โฆษณาเผยแพร่ ถ้าปรากฏว่าไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องรีบจัดการแก้ไขให้ถูกต้องโดยไว

3. ในการได้มาซึ่งข่าว ภาพ หรือข้อมูลอื่นใดมาเป็นของตน ต้องใช้วิธีการที่สุภาพและซื่อสัตย์เท่านั้น

4. เคารพในความวางใจของผู้ให้ข่าว และรักษาไว้ซึ่งความลับของแหล่งข่าว

5. ปฏิบัติหน้าที่ของตน โดยมุ่งหวังต่อสาธารณประโยชน์ ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือหมู่คณะใด ๆ โดยไม่ชอบธรรม

6. ไม่กระทำการอันเป็นการบั่นทอนเกียรติหรือความสามัคคีของเพื่อนร่วมวิชาชีพ


Thai Journalists Association

538/1 Samsan Road, Dusit,
Bangkok 10300  Thailand
Tel 0 2668 9422 ; Fax 0 2668 7505
www.tja.or.th Email: tjareporter@gmail.com

Thai Journalists Association (TJA) is an independent non-governmental media organization that was established on 2 March 2000 upon a merger between Reporters’ Association of Thailand and Journalist Association of Thailand with an aim to unify and strengthen the free press institution of Thailand, in allowing it to better promote journalistic professionalism and ethics.

TJA is a founding member of Canada-based IFEX (formerly International Freedom of Expression Exchange), a worldwide network of over 100 non-governmental organizations that promotes and defends the rights to freedom of expression as a fundamental human right

TJA is also a founding member of Bangkok-based Southeast Asian Press Alliance (SEAPA), a regional organization promoting media freedom, journalists’ safety and access to information, among others.

Visions
Thai Journalists Association intends to be the core institution of the country in promoting and safeguarding the rights and liberties of media professionals.

Objectives
1.     TJA aims to solidify media organizations in Thailand to better defend the interest of members of the press

2.   TJA aims to promote honesty, ethics and objectivity in the work of its members

3.    TJA aims to promote journalistic professionalism among its members and other media organizations

4.   TJA aims to build up relationship and promote collaboration with media professionals and organizations overseas

Management
TJA is governed by a 15-member executive board, with a term of two years. Board members have to be active members of TJA, who are currently working in newspapers or online-news media, and are elected at TJA’s annual general meeting. The executive board is assisted by a secretariat headed by an executive director.

Membership
Reporters’ Association of Thailand, before its merger, accepted membership only from individual journalists working in newspapers – either daily, weekly or monthly. In 1997, a few years before the merger, Reporters’ Association of Thailand began to accept broadcasting journalists as its extraordinary members with no voting rights. After its merger with Journalist Association of Thailand to become Thai Journalists Association, TJA, in November 2017, added online journalists to its ordinary membership. Both ordinary and extraordinary members have to pay Baht 300 for their annual membership fee.

Programs and Activities
TJA organizes its programs and activities in accordance with the four main committees under its executive board.

1.      Media rights and reform – promoting and protecting the rights and liberties of media workers, and promoting the rights to know, or access to information under the possession of the public sector, for the general public

2.      Media programs and activities – organizing capacity building trainings for journalists, trainings for young journalists, and organizing regular discussion forums on media issues

3.      International affairs – developing and maintaining good relationship and collaboration with other media organizations in Southeast Asia and other regions through exchanging visiting programs, conferences and other activities

4.      Welfare and membership – providing various benefits to members, including medical and life insurance, educational scholarships for members’ children, and welfare programs for retired journalists

โลโก้-สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ดูเพิ่มเติม