ประชุมใหญ่วิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๕ วันศุกร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕

ประชุมใหญ่วิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน  ประจำปี ๒๕๕๕

หัวข้อ  “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์”   ครั้งที่  ๒

นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ และเลขาธิการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย  สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์   และภาควิชาวารสารศาสตร์           คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ   จัดการประชุมใหญ่วิชาการสื่อสารมวลชน  ประจำปี ๒๕๕๕ หัวข้อ “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ”   ครั้งที่  ๒ ในวันศุกร์ที่  ๒๐  กรกฎาคม ๒๕๕๕  เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ ห้องประชุม  ปองทิพย์ ๑  อาคาร ๑๒ นิเทศศาสตร์คอมเพล็กซ์   ปองทิพย์  โอสถานุเคราะห์   ชั้น ๙ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต โดยมีกิจกรรมการนำเสนอผลงานทางวิชาการ  การบรรยายพิเศษ และการฝึกอบรมกลุ่มย่อย

การประชุมใหญ่วิชาการในครั้งนี้  มีการบรรยายพิเศษหัวข้อ “การบริหารจัดการธุรกิจสื่อยุคใหม่” โดยนายอดิศักดิ์   ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีการนำเสนอผลงานวิจัย หัวข้อ  “ยุทธศาสตร์การปรับตัวองค์กรสื่อสู่ Convergence Media กรณีศึกษาเครือเนชั่น  เดลินิวส์  และผู้จัดการ ”

นอกจากนี้ ยังมีการเสวนา  เรื่อง “ชวนคิดชวนคุย  กรณีศึกษาเรื่อง Convergence Journalism” และ เปิดห้อง Work  shop  เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย   ๓ หัวข้อ คือ. Data Journalism & Investigative Reporting   ๒. Content Curation Tools & Techniques และ D.I.Y. - News Clip

อย่างไรก็ตาม   การจัดประชุมใหญ่วิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชนนั้นเป็นการเปิดเวทีเพื่อให้มีการนำเสนอผลงานวิจัย ของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ประจำปี ๒๕๕๕  เพื่อต้องการเผยแพร่ความก้าวหน้าของความร่วมมือระหว่างกัน   ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ในการสะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและเชิงวิชาการต่อประเด็นวิกฤตการเมือง เศรษฐกิจ สังคม   เพื่อช่วยในการขยายเครือข่ายความร่วมมือให้มีการพัฒนาและสร้างสรรค์ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอีกด้วย

นักวิชาการ และสื่อมวลชนที่สนใจเข้าร่วม กรุณาแจ้งยืนยันการเข้าร่วมประชุมได้ที่ นางสาวพรศรินทร์ ศรีสวัสดิ์   ๐๘๗-๙๒๕๓๔๖๔ โทรสาร ๐๒ – ๖๖๘๗๕๐๕  e - mail: pornsarin.isra@gmail.com ภายในวันที่ ๑๕  กรกฎาคม ๒๕๕๕

 

กำหนดการ  ประชุมใหญ่วิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๕

“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่  ๒

วันศุกร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๗.๐๐ น.

ณ  อาคาร ๑๒  นิเทศศาสตร์คอมเพล็กซ์  ชั้น ๙  ห้องประชุมปองทิพย์ ๑  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และ ภาควิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

๐๘.๓๐ ๐๙.๐๐  น. ลงทะเบียน

๐๙.๐๐ – ๐๙.๐๕ น. กล่าวต้อนรับโดย ดร.มัทนา  สานติวัตร

อธิการบดี  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

๐๙.๐๕ ๐๙.๑๕ น. กล่าวเปิดงานโดย   นายชวรงค์    ลิมป์ปัทมปาณี

นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๐๙.๑๕ ๑๐.๐๐ น. บรรยายพิเศษ “การบริหารจัดการธุรกิจสื่อยุคใหม่”

โดย นายอดิศักดิ์  ลิมปรุ่งพัฒนกิจ

กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

๑๐.๐๐ – ๑๐.๑๕ น. พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๑๕ – ๑๒.๐๐ น. นำเสนองานวิจัย เรื่อง “ยุทธศาสตร์การปรับตัวองค์กรสื่อสู่ Convergence Media กรณีศึกษา เครือเนชั่น เดลินิวส์ และเครือผู้จัดการ”

วิทยากร  นำเสนอผลงาน โดย นางสาวอศินา  พรวศิน เนชั่น

และ อาจารย์สกุลศรี  ศรีสารคาม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

วิพากษ์ผลงาน โดย ผศ.ดร.วรัชญ์   ครุจิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม

และ นายนิรันดร์ เยาวภาว์   ผู้ดูแลเว็บ www.manager.co.th

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. เสวนา “ชวนคิดชวนคุย กรณีศึกษาเรื่อง Convergence Journalism”

วิทยากร ดร.ทรงยศ   บัวเผื่อน ศึกษาดูงาน หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์เอกพล  เธียรถาวร ศึกษาดูงาน หนังสือพิมพ์ The Nation

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อาจารย์เอกชัย  แสงโสดา ศึกษาดูงาน หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์สุกัลยา  คงประดิษฐ์ ศึกษาดูงาน หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ดำเนินรายการโดย อาจารย์สมยศ  สุขขัง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

๑๕.๐๐ – ๑๕.๑๕ น. พักรับประทานอาหารว่าง

๑๕.๑๕ – ๑๖.๑๕ น. แบ่งห้อง Workshop ฝึกอบรมกลุ่มย่อย

ห้องที่  ๑ Data Journalism & Investigative Reporting

กับ นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันอิศรา

ห้องประชุมย่อย ๑๒ – ๔๐๕

ห้องที่ ๒   Content Curation Tools & Techniques

โดย ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ห้องประชุมย่อย ๑๒ – ๔๐๖

ห้องที่ ๓ D.I.Y. - News Clip

โดย นายพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้สื่อข่าว สำนักข่าวไทย อสมท

ห้องประชุมย่อย ๑๒ – ๔๐๗

๑๖.๑๕ – ๑๖.๕๕ น. สรุปผลการประชุมใหญ่วิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๕

โดย นายจักร์กฤษ  เพิ่มพูล

ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

ดร.สุดารัตน์   ดิษยวรรธนะ   จันทราวัฒนากุล

คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

๑๖.๕๕ – ๑๗.๐๐ น. กล่าวปิดงาน โดย นายจักร์กฤษ  เพิ่มพูล

ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

 

---------------------------------------

เรื่อง  กิจกรรมต่อเนื่องจากการจัดประชุมใหญ่วิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๕

“สัมมนาโครงการจัดทำตำรา ด้านวารสารศาสตร์” วันเสาร์ที่ ๒๘ – วันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕

ณ  ห้องประชุมกุมาริกา ชั้น ๒ โรงแรมสวนดุสิต เพลส

ที่มา - จากการประชุมสัมมนา“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่  ๑ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2555 ที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์  ได้มีการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างวิชาการและวิชาชีพในการพัฒนาองค์ความรู้เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ โดยส่วนใหญ่เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดทำโครงการตำราด้านวารสารศาสตร์ร่วมสมัยที่สอดคล้องกับบริบททางวารสารศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไป

หากท่าน ๑) มีความสนใจ และมีเวลาที่สามารถทุ่มเทกับกิจกรรมโครงการจัดทำตำราด้านวารสารศาสตร์ได้อย่างต่อเนื่อง ๒) มีประสบการณ์ อาทิ ทำงานวิชาชีพ วิจัย ตำรา ที่สอดคล้องกับหัวข้อนั้นๆ

โปรดตอบแบบสอบถามนี้ และส่งมาที่คุณพรศรินทร์  ศรีสวัสดิ์ ๐๘๗-๙๒๕๓๔๖๔ โทรสาร ๐๒ – ๖๖๘๗๕๐๕

e - mail: pornsarin.isra@gmail.com ภายในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๕

หมายเหตุ – สมาคมจะจัดสัมมนาสัมมนาโครงการจัดทำตำรา ด้านวารสารศาสตร์” วันเสาร์ที่ ๒๘ – วันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ  ห้องประชุมกุมาริกา ชั้น ๒ โรงแรมสวนดุสิต เพลส รับกลุ่มละไม่เกิน ๑๐ คน เท่านั้น

มีความประสงค์เข้าร่วมสัมมนาโครงการจัดทำตำราด้านวารสารศาสตร์ร่วมกับกลุ่มนักวิชาการวิชาชีพ โดยสนใจ

กลุ่มที่ ๑  Principles of Convergence Journalism

กลุ่มที่ ๒  เทคนิคและเทคโนโลยี ในงานข่าว

กลุ่มที่ ๓  การรายงานข่าวในยุคดิจิตอล

กลุ่มที่ ๔ การบริหารจัดการสื่อ (Media Management)   Business models   รวมทั้งเรื่อง ผู้รับสาร ผู้บริโภค