กุหลาบ สายประดิษฐ์

สุภาพบุรุษนักประพันธ์ คมปากกานักหนังสือพิมพ์

{xtypo_quote}มนุษย์จำพวกที่เห็นแก่ตัวจนเกินไปยังเที่ยวอยู่ในโลกหลายสิบเปอร์เซ็นต์นักตราบใดที่ประเทศยังเต็มไปด้วยมนุษย์จำพวกนี้ ตราบนั้นเรื่องสกปรกเหล่านี้จะหมดสิ้นไปไม่ได้{/xtypo_quote}{xtypo_info}คำคมจากหนังสือ มารมนุษย์ อันเป็นข้อเขียนของ ศรีบูรพา นามปากกาของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักเขียนชื่อดัง{/xtypo_info}

            กุหลาบ สายประดิษฐ์ เกิดปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นคนกรุงเทพ 4 ขวบเริ่มต้นเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดหัวลำโพง มาต่อที่ โรงเรียนทหารเด็ก จากนั้นย้ายมาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ชั้นมัธยม 2 และเรียนจนจบชั้นมัธยม 8 เมื่อ พ.ศ. 2468

            อายุ 17 ปี เริ่มฝึกหัดการแต่งหนังสือ และทำหนังสือ โดยใช้พิมพ์ดีด เริ่มเขียนบทกวี และเขียนเรื่องจากภาพยนตร์ ส่งไปให้หนังสือพิมพ์ และเริ่มต้นใช้นามปากกา "ศรีบูรพา" เป็นครั้งแรก ในเขียนงานชื่อ แถลงการณ์ ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ทศวารบรรเทิง และเป็นนักประพันธ์เขียนเรื่องขายอย่างเป็นเรื่องเป็นราว

            พออายุ  19 ปี อยู่ชั้นมัธยม 8 กุหลาบ สายประดิษฐ์ ใช้นามจริงเป็นครั้งแรกในการเขียนกลอนหก ชื่อ "ต้องแจวเรือจ้าง" พิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ของโรงเรียน ขณะเดียวกันก็ได้ไปช่วยเพื่อนทำหนังสือพิมพ์ ธงไทย รายสัปดาห์ และหนังสือพิมพ์ ข่าวสด จนได้ทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ เสนาศึกษาและแผ่วิทยาศาสตร์ และได้เบนชีวิตหันมาประกอบอาชีพนักเขียน นักหนังสือพิมพ์โดยอิสระเพียงอย่างเดียว

            กุหลาบ สายประดิษฐ์เป็นหนึ่งใน คณะสุภาพบุรุษ และเป็นบรรณาธิการ ร่วมกับนักเขียนชื่อดัง เช่น ยาขอบ ฮิวเมอริสต์ จัดทำหนังสือพิมพ์ชื่อ สุภาพบุรุษ รายปักษ์

หลังจากนั้นตำนานแห่ง คณะสุภาพบุรุษ ยังคงมีสืบต่อมา

            กุหลาบ สายประดิษฐ์ แบบอย่างนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน นักต่อสู้ทางการเมือง
ในยุคต่อมา หนังสือพิมพ์ถูกเข้มงวดจากผู้ปกครองขึ้นมาก กล่าวคือ มีการออกกฎหมายมาควบคุม นับแต่ พ.ร.บ. การพิมพ์ 2476 มีการใช้หนังสือพิมพ์เป็นกระบอกเสียงของผู้มีอำนาจ มีการออกหนังสือพิมพ์โดยผู้มีอำนาจ
            บันทึกประวัติศาสตร์สำคัญของหนังสือพิมพ์ไทยยุคนี้ คือ การต่อสู้เพื่อความชอบธรรมในสังคมของนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ที่สำคัญคือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ผู้เป็นเจ้าของนามปากกา ศรีบูรพา เขียนนิยายขนาดสั้นเรื่อง ข้างหลังภาพ ตัวเอกของเรื่องได้แสดงแนวความคิดด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมได้อย่างแนบเนียน
            ภาวะขณะนั้นที่นักหนังสือพิมพ์ถูกแทรกแซงจากผู้ปกครองบ้านเมือง บทความเรื่อง มนุษยภาพ ที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงจุดอ่อนของระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นเหตุให้หนังสือพิมพ์ศรีกรุงถูกปิด

            ปี 2495 กุหลาบ สายประดิษฐ์ ถูกจับกุมด้วยข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร หรือ "กบฏสันติภาพ" และได้รับนิรโทษกรรมใน ปี 2500 ช่วงปลายชีวิตได้ลี้ภัยไปอยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน จนเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม และเส้นโลหิตตีบที่หัวใจ

            กุหลาบ สายประดิษฐ์ มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยขึ้นในปี พ.ศ.2484 (ซึ่งเป็นปีเดียวกันที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม บังคับใช้พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน) แต่เขาขอไม่รับตำแหน่งใดๆ ของกรรมการบริหารสมาคมชุดแรก ภายหลังกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นนายกสมาคมคนที่ 3 ในปี พ.ศ.2488 - 2489 ของสมาคมนักข่าวฯ