ข้อบังคับ มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๐
หมวดที่ ๑ ชื่อเครื่องหมายและสํานักงานที่ตั้ง
ข้อ ๑ ชื่อมูลนิธิว่า มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ย่อว่า มพสท. เรียกเป็น ภาษาอังกฤษว่า Thai Press Development Foundation
ข้อ ๒ เครื่องหมายมูลนิธิมีลักษณะเป็นรูปปากกาสีขาวอยู่ในหลอดไฟสีน้ําตาลอ่อนซึ่งส่อง สว่างและล้อมรอบด้วยคําว่า มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย มีภาษาอังกฤษคําว่า Thai Press Development Foundation อยู่บริเวณฐานของหลอดไฟ
ข้อ ๓ สํานักงานของมูลนิธิตั้งอยู่เลขที่ ๕๓๘/๑ ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐
หมวดที่ ๒ วัตถุประสงค์
ข้อ ๔ วัตถุประสงค์ของมูลนิธินี้ คือ
(๑) ส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางวิชาชีพให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนทุกแขนง
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน
(๓) ยกระดับมาตรฐานทางวิชาชีพสื่อมวลชนในประเทศไทยให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
(๔) สนับสนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างเป็นระบบ
(๕) ไม่จําเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
(๖) ดําเนินการหรือร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
หมวดที่ ๓ ทุนทรัพย์ ทรัพย์สิน และการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
ข้อ ๕ ทรัพย์สินของมูลนิธิมีทุนเริ่มแรกเป็นเงินสด จํานวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน) รวมเป็นราคาทรัพย์สินทั้งสิ้น ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)
ข้อ ๖ มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีต่อไปนี้
(๑) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น ๆ โดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิต้องรับผิดชอบในหนี้สินหรือภาระติดพันอื่นใด
(๒) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้
(๓) ดอกผลที่เกิดจากทรัพย์สินของมูลนิธิ
(๔) รายได้อันเกิดจากการจัดกิจกรรมของมูลนิธิ
หมวดที่ ๔ คุณสมบัติ และการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการ
ข้อ ๗ กรรมการของมูลนิธิต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(๑) มีอายุไม่ต่ํากว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์
(๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) ไม่เป็นผู้ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ข้อ ๘ กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ถึงคราวออกตามวาระ
(๒) ตายหรือลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับข้อ ๗
(๔) เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสีย และคณะกรรมการมูลนิธิมีมติให้ออกโดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการมูลนิธิ
หมวดที่ ๕ การดำเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ ๔ มูลนิธิดําเนินการโดยคณะกรรมการมูลนิธิจํานวน ๑๓ คน
ข้อ ๑๐ คณะกรรมการของมูลนิธิประกอบด้วย ประธานกรรมการมูลนิธิ รองประธานกรรมการ มูลนิธิ เหรัญญิก เลขาธิการ และกรรมการอื่น ๆ ตามจํานวนที่เห็นสมควรตามข้อบังคับข้อ ๙
ข้อ ๑๑ วิธีเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิให้ปฏิบัติ ดังนี้
(๑) ให้คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยนําเสนอบุคคลเป็นกรรมการมูลนิธิจํานวน ๓ คน
(๒) ให้คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาตินําเสนอบุคคลเป็นกรรมการมูลนิธิจํานวน ๓ คน
(๓) ให้กรรมการมูลนิธิตามข้อ (๑) และ (๒) คัดเลือกบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ มูลนิธิอีก ๗ คน
ข้อ ๑๒ กรรมการมูลนิธิอยู่ในตําแหน่งคราวละ ๒ ปี
ข้อ ๑๓ กรรมการมูลนิธิที่พ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับเลือกเข้าเป็นกรรมการมูลนิธิได้อีก แต่ไม่เกิน ๒ สมัยติดต่อกัน
หมวดที่ ๖ อํานาจหน้าที่คณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ ๑๔ คณะกรรมการมูลนิธิมีอํานาจหน้าที่ในการดําเนินการกิจการของมูลนิธิตามวัตถุประสงค์ ของมูลนิธิ และภายใต้ข้อบังคับนี้ ให้มีอํานาจหน้าที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดนโยบายของมูลนิธิ และดําเนินงานตามนโยบายนั้น
(๒) ควบคุมการเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ ของมูลนิธิ
(๓) เสนอรายงานกิจการ รายงานการเงิน และบัญชีงบดุล รายได้รายจ่ายต่อ กระทรวงมหาดไทย
(๔) ดําเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ และวัตถุประสงค์ของข้อบังคับนี้
(๕) ตราระเบียบเกี่ยวกับการดําเนินกิจการของมูลนิธิ
(๖) แต่งตั้งหรือถอดถอนคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อดําเนินการเฉพาะอย่างของมูลนิธิภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการมูลนิธิ
(๗) เชิญผู้ทรงเกียรติเป็นผู้อุปถัมภ์มูลนิธิ
(๘) เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิ
(๔) แต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าหน้าที่ประจํามูลนิธิมติให้ดําเนินการตามข้อ (๗) และ (๘) ต้องเป็นมติเสียงข้างมากของที่ประชุม และที่ปรึกษาตามข้อ (๘) ย่อมเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิที่เชิญเท่านั้น
ข้อ ๑๕ ประธานกรรมการมูลนิธิมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
(๑) เป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
(๒) เรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
(๓) เป็นผู้แทนของมูลนิธิในการติดต่อกับบุคคลภายนอก หรือการลงลายมือชื่อในเอกสาร ข้อบังคับและสรรพหนังสืออันเป็นหลักฐานของมูลนิธิ เมื่อประธานกรรมการมูลนิธิ หรือ กรรมการมูลนิธิผู้ได้รับมอบหมายให้ทําการแทนได้ลงลายมือชื่อแล้ว จึงเป็นอันใช้ได้
(๔) ปฏิบัติการอื่น ๆ ตามข้อบังคับ และมติของคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ ๑๖ ให้รองประธานกรรมการมูลนิธิทําหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิเมื่อประธานไม่ สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ หรือในกรณีที่ประธานมอบหมายให้ทําการแทน
ข้อ ๑๗ ถ้าประธานกรรมการมูลนิธิและรองประธานกรรมการมูลนิธิไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ใน การประชุมคราวหนึ่งคราวใดได้ ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิคนใดคนหนึ่ง เป็นประธานการ ประชุมคราวนั้น
ข้อ ๑๘ เลขาธิการมูลนิธิมีหน้าที่ควบคุมกิจการและดําเนินการประจําของมูลนิธิ ติดต่อประสานงานทั่วไป รักษาระเบียบข้อบังคับของมูลนิธิ นัดประชุมกรรมการตามคําสั่งของประธาน กรรมการมูลนิธิ รายงานการประชุม และรายงานกิจการมูลนิธิ
ข้อ ๑๙ เหรัญญิกมีหน้าที่ควบคุมการเงิน เกี่ยวข้องให้ถูกต้องและเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกําหนด
ข้อ ๒๐ สําหรับกรรมการตําแหน่งอื่น ๆ ให้มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมูลนิธิกําหนด โดยทําเป็นคําสั่งระบุอํานาจหน้าที่ให้ชัดเจน
ข้อ ๒๑ คณะกรรมการมูลนิธิมีสิทธิเข้าร่วมประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการอื่น ๆ ของมูลนิธิได้
หมวดที่ ๗ การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ ๒๒ คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องจัดให้มีการประชุมสามัญประจําปีทุก ๆ ปี ภายในเดือน มีนาคม และต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็น องค์ประชุม
ข้อ ๒๓ การประชุมวิสามัญอาจมีได้ในเมื่อประธานกรรมการมูลนิธิหรือเมื่อคณะกรรมการมูลนิธิตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปแสดงความประสงค์ไปยังประธานกรรมการมูลนิธิ หรือผู้ทําการแทนขอให้มีการ ประชุม ก็ให้เรียกประชุมวิสามัญได้
ข้อ ๒๔ กําหนดการประชุมและองค์ประชุมของคณะอนุกรรมการให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการมูลนิธิกําหนดไว้ซึ่งถ้ามิได้กําหนดไว้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกําหนดการประชุม ให้คณะอนุกรรมการตกลงกันเอง และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์ประชุมให้ใช้ข้อ ๒๒ บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๕ ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการ หากมิได้มีข้อบังคับกําหนดไว้ เป็นอย่างอื่น มติของที่ประชุม ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมาก ในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธาน ในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด กิจการใดที่เป็นงานประจําหรือเป็นกิจการเล็กน้อย ประธานกรรมการมูลนิธิมีอำนาจสั่งให้ใช้วิธีสอบถามมติทางหนังสือแทนการเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ แต่ประธาน กรรมการมูลนิธิต้องรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิในคราวต่อไปถึงมติและกิจการที่ได้ ดําเนินการไปตามมตินั้น กิจการใดเป็นงานประจําหรือเป็นกิจการเล็กน้อยหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของ ประธานกรรมการมูลนิธิ
ข้อ ๒๖ ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการ ประธานกรรมการมูลนิธิ หรือ ประธานที่มีอํานาจเชิญหรืออนุญาตให้บุคคลที่เห็นสมควรเข้าร่วมประชุมในฐานะแขกผู้มีเกียรติหรือผู้ สังเกตการณ์หรือเพื่อชี้แจง หรือเพื่อให้คําปรึกษาแก่ที่ประชุมได้
หมวดที่ ๘ การเงิน
ข้อ ๒๗ ประธานกรรมการมูลนิธิหรือรองประธานกรรมการมูลนิธิในกรณีทําหน้าที่แทน มีอํานาจ สั่งจ่ายเงินได้คราวละไม่เกิน 90,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจํานวนดังกล่าว ต้องได้รับ อนุมัติจากคณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมาก เว้นแต่กรณีจําเป็นและเร่งด่วนให้อยู่ในดุลพินิจของ ประธานกรรมการ มูลนิธิที่จะอนุมัติให้จ่ายได้ แล้วต้องรายงานให้คณะกรรมการมูลนิธิทราบในการ ประชุมคราวต่อไป
ข้อ ๒๘ เหรัญญิกมีอํานาจเก็บรักษาเงินสดได้ครั้งละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาทถ้วน)
ข้อ ๒๙ เงินสดของมูลนิธิหรือเอกสารสิทธิ ต้องนําฝากไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นใดที่ รัฐบาลให้การค้ําประกัน แล้วแต่คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นสมควร
ข้อ ๓๐ การสั่งจ่ายเงินโดยเช็คหรือตั๋วสั่งจ่ายเงิน จะต้องมีลายมือชื่อของประธานกรรมการ มูลนิธิ หรือผู้ทําการแทน กับเลขาธิการหรือเหรัญญิกลงนามทุกครั้ง จึงจะเบิกจ่ายได้
ข้อ ๓๑ การใช้จ่ายเงินตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ รวมทั้งค่าใช้จ่ายประจําสํานักงาน ให้จ่ายเพียงดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินที่เป็นทุนเงินที่ผู้บริจาคมิได้แสดงเจตนาให้เป็นเงินสมทบทุนโดยเฉพาะ และรายได้อันเกิดจากการจัดกิจกรรมของมูลนิธิ
ข้อ ๓๒ ให้คณะกรรมการมูลนิธิวางระเบียบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และทรัพย์สิน ของมูลนิธิ ตลอดจนกําหนด านาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในข้อบังคับ
ข้อ ๓๓ ให้คณะกรรมการมูลนิธิกําหนดรอบระยะเวลาบัญชี ของมูลนิธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาเสนอต่อที่ประชุมในการประชุมสามัญประจําปี
หมวดที่ ๙ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
ข้อ ๓๔ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับจะกระทําได้ โดยเฉพาะที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งต้อง มีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด และการอนุมัติให้แก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับประกอบด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด
หมวดที่ ๑๐ การเลิกมูลนิธิ
ข้อ ๓๕ ถ้ามูลนิธิต้องเลิกล้มไปโดยมติของคณะกรรมการหรือโดยเหตุใดก็ตาม ทรัพย์สินทั้งหมด ของมูลนิธิที่เหลืออยู่ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ข้อ ๓๖ การสิ้นสุดของมูลนิธินั้น นอกจากที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วให้มูลนิธิเป็นอันสิ้นสุดโดยมิ ต้องให้ศาลสั่งเลิกด้วยเหตุต่อไปนี้
(๑) เมื่อมูลนิธิได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้วไม่ได้รับทรัพย์สินตามคำสั่งเต็มจำนวน
(๒) เมื่อกรรมการมูลนิธิจํานวนกึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด มีมติให้ยกเลิก
(๓) เมื่อมูลนิธิไม่อาจหากรรมการได้ครบตามจํานวนกรรมการที่กําหนดไว้ในข้อบังคับ
(๔) เมื่อมูลนิธิไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ
หมวดที่ ๑๑ บทเบ็ดเตล็ด
ข้อ ๓๗ การตีความในข้อบังคับของมูลนิธิ หากเป็นที่สงสัยให้คณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้าง มากของจํานวนกรรมการที่มีอยู่เป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๓๘ ให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมูลนิธิมาใช้บังคับในเมื่อ ข้อบังคับของมูลนิธิได้กําหนดไว้
ข้อ ๓๙ มูลนิธิต้องไม่ดําเนินการหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันหรือเพื่อบุคคลใด นอกจากเพื่อ ดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเอง