รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ 9 ปี 2551

รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๙ ปี ๒๕๕๑

คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๙ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑-๔ มีนาคม ๒๕๕๒ ได้ร่วมกันกำหนดนโยบายและทิศทางการบริหาร สมาคมฯ ภายใต้ ๔ ทิศทางหลัก คือ ๑. ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ๒. สร้างองค์ความรู้ ๓. สร้างภาพลักษณ์ และ ๔. งานเชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆ

ได้มีการจัดสรรภารกิจของคณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ ออกเป็นฝ่ายงานต่างๆ จำนวน ๕ ฝ่ายงาน โดยทำงานในรูปแบบของคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ดังนี้

๑. คณะอนุกรรมการฝ่ายพิจารณาบทบาทสมาคม ฯ ในสถานการณ์เร่งด่วน ซึ่งประกอบด้วยอนุกรรมการจำนวน ๕ คน ดังนี้
๑) นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายก สมาคมฯ ประธานอนุกรรมการ
๒) นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ อนุกรรมการ
๓) นายวันชัย วงศ์มีชัย อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๔) นายวีรศักดิ์ พงศ์อักษร กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๕) นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการ สมาคมฯ เลขานุการ คณะอนุกรรมการ

โดยคณะอนุกรรมการ ชุดนี้จะทำหน้าที่ในการรวบรวมทั้งความเห็นและข้อเสนอต่างๆ จากบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการนำมาพิจารณาบทบาทสมาคมฯ ในสถานการณ์เร่งด่วน ทั้งในรูปแบบของการออกแถลงการณ์, การออกจดหมายเปิดผนึก และการเผยแพร่คำชี้แจงในเรื่องต่างๆ รวมทั้งทำความเข้าใจและสื่อสารกับสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆ ของสื่อ (ดูเอกสารแถลงการณ์ในเล่ม)

๒. คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๓ คนและอนุกรรมการ ๑๓ คน ดังนี้
๑. ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่ปรึกษา
๒. นางสาวบุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๓. นางสาวนงค์นาถ ห่านวิไล เลขาธิการ สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๔. นางสาวนภาภรณ์ พิพัฒน์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ ประธาน
๕. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๖. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ อดีตรองเลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๗. นายธีรเดช เอี่ยมสำราญ อดีตเลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๘. นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๙. นางสาวอิศรินทร์ หนูเมือง อดีตรองเลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๐. นางสาวเย็นจิตร์ สถิรมงคลสุข หนังสือพิมพ์มติชน อนุกรรมการ
๑๑. นางสาวจีรวัฒน์ ณ ถลาง อดีตกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๒. นายวัสยศ งามขำ กรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๓. นายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ อนุกรรมการ
๑๔. นางสาวนภาพร พานิชชาติ นายทะเบียน สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๕. ผศ. สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อนุกรรมการ
๑๖. นางสาวน.รินี เรืองหนู รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ เลขานุการคณะอนุกรรมการ

ในปี ๒๕๕๑ คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ แบ่งงานออกเป็น ๕ กลุ่มงาน คือ
๒.๑ กลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ ได้มีการจัดทำโครงการในกลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ จำนวน ๓ โครงการ ดังนี้
๒.๑.๑ ราชดำเนินเสวนา เป็นโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๑๐ ซึ่งเป็นความริเริ่มจากสมัยที่นายกวี จงกิจถาวร เป็นนายก สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๒) มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการทำงานข่าวให้มีคุณภาพและอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง โดยมีการเชิญแหล่งข่าวมาพบปะพูดคุยและตอบคำถามนักข่าว เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างนักข่าวกับแหล่งข่าวในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในปี ๒๕๕๑ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ผ่านทางสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ได้จัดราชดำเนินเสวนาไปจำนวน ๑๒ ครั้ง ดังนี้ ๑. ส่องกระจกบทบาทสื่อในสถานการณ์ความขัดแย้ง (๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๑) ๒. วิเคราะห์การเมืองไทย (๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑) ๓.พลังสื่อขับเคลื่อนระบบประกันสุขภาพได้จริงหรือ ? (๑ มิถุนายน ๒๕๕๑) ๔. จะออกจากการเมืองสุดขั้วได้อย่างไร (๘มิถุนายน ๒๕๕๑) ๕. วิกฤตประเทศอยู่ที่รัฐธรรมนูญจริงหรือ?” (๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๑) ๖. ๔ เดือน รัฐบาลสมัคร สอบผ่านหรือสอบตก? ” (๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๑) ๗. สงครามการ (กลาง) เมือง พปช. – พธม. ชนวนวิกฤต ๖ ตุลา ภาค ๒ (๓ สิงหาคม ๒๕๕๑) ๘. ๑๐ คำถามที่สาธารณะอยากรู้จาก ปตท. ?” (๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๑) ๙.สถานการณ์การเมืองหลังทักษิณลี้ภัย......คลี่คลาย หรือ รบแตกหัก ?” (๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๑) ๑๐, ชี้ชะตาประเทศไทย... จับตาผู้นำใหม่ (๑๔ กันยายน ๒๕๕๑) ๑๑. นับถอยหลังเลือกตั้งสหรัฐ เจาะลึกนโยบายเศรษฐกิจ-การเมือง และผลกระทบต่อไทย (๓ ตุลาคม ๒๕๕๑) ๑๒.บทบาทสื่อกับการยุติความรุนแรง (๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๑) ๑๓. วิกฤตสังคมการเมือง (๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๑) ๑๔. ทิศทางไฟใต้ ปี ๕๒ (๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๑) ๑๕. นโยบายและการผลักดันปฏิรูปสื่อของรัฐบาลอภิสิทธิ์ (๑๓ มกราคม ๒๕๕๑) ๑๖. วิกฤตเศรษฐกิจ : ผลกระทบต่อระบบสุขภาพคนไทย (๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒) โดยสามารถติดตามเนื้อหาสรุปของการจัดเสวนาแต่ละครั้งได้ที่ www.tja.or.th ได้มอบหมายให้นายธีรเดช เอี่ยมสำราญ,นายปราเมศ เหล็กเพชร์ และนายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม ป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

๒.๑.๒. รายการวิทยุช่วยกันคิดทิศทางข่าว เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ กับสำนักข่าวไทยและบริษัท อสมท. จำกัด มหาชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท. FM ๑๐๐.๕ Mhz ทุกวันอาทิตย์เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น. (เพิ่งเปลี่ยนแปลงเวลาในการออกอากาศตั้งแต่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑) เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักข่าวรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯ รวมทั้งเป็นเวทีในการสื่อสารเรื่องราวที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนให้สาธารณชนได้รับทราบ สำหรับนักจัดรายการประจำปี ๒๕๕๑ มีจำนวน ๑๐ คนคือ ๑. นายธีรเดช เอี่ยมสำราญ, ๒.นายราม อินทรวิจิตร, ๓. นางสาวหทัยรัตน์ พหลทัพ, ๔. นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา, ๕.นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง, ๖.นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์, ๗.นายวีรศักดิ์ พงศ์อักษร, ๘. สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี, ๙. ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์, ๑๐. นายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม

๒.๑.๓ www.tja.or.th เป็นเวบไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข่าวสารต่างๆ ของสมาคมฯ ทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรม,รายงานกิจกรรม,กฎหมายที่เกี่ยวข้อง,ประวัติความเป็นมา,จุดยืนและท่าทีของสมาคมฯต่อสถานการณ์ต่างๆ ของบ้านเมือง รวมทั้งการบันทึกผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงเวบไซต์ให้
เป็นชุมชนออนไลน์ของนักวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน ในการแลกเปลี่ยนทัศนะของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน และนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงสื่อสารมวลชน โดยในเบื้องต้นได้มอบหมายให้นายปราเมศ เหล็กเพชร์, นายจีรพงศ์ ประเสริฐพลกรัง, ดร. มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ และนางสาว น.รินี เรืองหนู เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

๒.๒ กลุ่มงานหนังสือ ในปี ๒๕๕๑ ฝ่ายวิชาการ สมาคม ได้ผลิตหนังสือรวม ๓ เล่ม ดังนี้
๒.๒.๑ จุลสารราชดำเนิน ในปี ๒๕๕๑ สมาคมฯ ได้ผลิตจุลสารราชดำเนินโดยออกเป็นรายสามเดือนอย่างต่อเนื่องจำนวน ๓ ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับมีเนื้อหาที่น่าสนใจ ได้รับเสียงสะท้อนอย่างดีทั้งจากสมาชิกสมาคมฯ สถาบันวิชาการและผู้สนใจทั่วไป โดยสามารถอ่านเนื้อหาจุลสารราชดำเนินฉบับย้อนหลังได้ที่ www.tja.or.th โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

๒.๒.๒ หนังสือวันนักข่าว”วิกฤตสื่อ” หนังสือวันนักข่าวเป็นหนังสือรายงานประจำปีที่สมาคมฯ ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการข่าวและหนังสือพิมพ์ ตลอดจนรายงานกิจกรรมของสมาคม และทำเนียบรายชื่อนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่เป็นสมาชิกสมาคม เนื้อหาหลักในปีนี้เน้นเรื่อง “วิกฤตสื่อ” ซึ่งจะมีเนื้อหาประกอบด้วยวิกฤตทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองที่มีผลกระทบกับสื่อและสังคม จะมีการแจกจ่ายหนังสือวันนักข่าวถึงมือสมาชิก สมาคมฯ ในวันที่ ๔ มีนาคมของทุกๆปี

๒.๒.๓ หนังสือคู่มือสื่อมวลชนไทย-ลาว เป็นหนังสือคู่มือสื่อมวลชนที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและ สมาคมนักข่าวแห่ง ส.ป.ป. ลาว ริเริ่มจัดทำร่วมกันมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓ (เดิมใช้ชื่อหนังสือ ไทยบ่ฮู้ซาว ลาวไม่รู้ยี่สิบ) มีเป้าหมายเพื่อเป็นกรอบในการทำงานสำหรับนักข่าวของทั้งสองประเทศสามารถสื่อสารได้ตรงกัน อันจะนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการต่างประเทศ และสมาคมมิตรภาพไทย-ลาว มีพิธีเปิดตัวหนังสือเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๑ ในโอกาสที่คณะสื่อมวลชนลาวนำโดยท่านสมสนุก มิไซ นำคณะสื่อมวลชนลาวมาเยือน เมื่อวันที่ ๒๒-๒๙ ธันวาคม๒๕๕๒




๒.๓ กลุ่มงานฝึกอบรม ในปี ๒๕๕๑ สมาคมฯ ได้จัดทำโครงการด้านการฝึกอบรม ๓ โครงการ ดังนี้


๒.๓.๑ โครงการชุมนุมนักข่าวประจำปี ๒๕๕๑ สมาคมฯ ร่วมกับสถาบันอิศรา จัดทำโครงการชุมนุมนักข่าวประจำปี ๒๕๕๑ ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๗ - ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ ณ โรงแรมจุลดิสรีสอร์ท แอนด์ สปา เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นในรูปแบบของการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สื่อข่าวซึ่งเป็นนักข่าวที่ปฏิบัติงานอยู่ในสนามข่าว เพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านวิชาการ ไปสนับสนุนด้านวิชาชีพ โดยใช้บุคคลที่เป็นต้นแบบ (Role model) ทั้งจากผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับจากกลุ่มวิชาชีพสื่อมวลชนและผู้แทนจากกลุ่มนักวิชาการ ในสายที่จำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ต่อการปฏิบัติงานในสายข่าว โดยในการอบรมครั้งนี้ นอกจากนักข่าวไทยจากหนังสือพิมพ์ ๑๘ ฉบับแล้วยังมีผู้แทนจากสมาคมนักข่าวแห่ง สปป. ลาวจำนวน ๒ คน เข้าร่วมการชุมนุมด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนไทย-ลาวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน

๒.๓.๒ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างวิทยากรข่าวเชิงสืบสวน สมาคมฯร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างวิทยากรข่าวเชิงสืบสวน” ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๑๓กรกฎาคม –วันพุธที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ณ คาชัวริน่า รีสอร์ท จังหวัดเพชรบุรี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และได้รับเกียรติจาก Mrs. Madelaine Drohan ผู้สื่อข่าวจากแคนาดา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการฝึกอมรบและการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน โดยการอบรมครั้งนี้มีนักข่าวทั้งจากส่วนกลางและภูมิภาคเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๘ คน ประกอบด้วย ๑. นายกมล ชวาลวิทย์ (ประชาชาติธุรกิจ) ๒. นายนันทสิทธ์ นิตย์เมธา (เครือเนชั่น) ๓.นางสาวพรรณี อมรวิพุธพนิช (คมชัดลึก) ๔.นางสาวดิษนีย์ นาคเจริญ (ประชาชาติธุรกิจ) ๕.นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ (ไทยรัฐ) ๖. นางสาวหทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ (มติชน) ๗. นายอภิชาต พวงน้อย(เพชรภูมิ จ.เพชรบุรี) ๘. นายนำชัย อู่วานิชย์ (เชียงใหม่นิวส์ จ.เชียงใหม่)

๒.๓.๓ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวพิราบน้อยรุ่น ๑๑ เป็นโครงการต่อเนื่องจัดขึ้นเป็นปีที่ ๑๑ ซึ่งหากนับถึงปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมกว่า ๘๐๐ คนแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้านสิ่งพิมพ์ (Professional Development) ความรับผิดชอบต่อจริยธรรมในวิชาชีพ (Ethics Responsibility) และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะองค์กรเพื่อสังคม (Organizational Social Responsibility) ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสถาบันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักข่าวรุ่นพี่ที่ทำงานทั้งในภาคสนาม และในส่วนของผู้บริหารงานข่าว อันเป็นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการปลูกฝังอุดมคติให้กับนักศึกษาด้วย ในรุ่นที่ ๑๑ มีนักศึกษาที่เรียนด้านหนังสือพิมพ์จากสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมอบรมจำนวน ๗๒ คน จาก ๓๓ สถาบัน จัดอบรมระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๒๘-๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ ณ คุ้มแม่น้ำท่าจีน หม่อมไฉไล อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน



๒.๔. กลุ่มงานเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นเครือข่ายที่นักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนร่วมกันก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน โดยในปี ๒๕๕๑ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ๓ กิจกรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ผ่านทางสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ดังนี้

๒.๔.๑ ห้องเรียนสาธารณะ เป็นกิจกรรมที่เน้นการถ่ายทอดความรู้ และเทคนิค ทางวิชาชีพ
สื่อมวลชน แก่นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากภาควิชาชีพไปสู่ภาควิชาการ นอกจากนี้ ยังเป็นการ เตรียมความรู้ให้กับกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่กำลังจะเข้ามาสู่วิชาชีพข่าว ในปี ๒๕๕๑ จัดไปแล้ว ๓ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ เป็นการถอดประสบการณ์การทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนเรื่อง “สินบนซีทีเอ็กซ์” (๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑), ครั้งที่ ๒ จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการถอดประสบการณ์ข่าวเจาะเรื่อง “ข่าวเจาะ-เจาะข่าว ชุดอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ “เปิดโปงขบวนการต้มตุ๋น หุ้น แชร์ข้าวสาร ที่ มหาวิทยาลัยบูรพา (๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๑), ครั้งที่ ๓ จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เรื่อง Media Manipulation: จับจ้อง มองสื่อ (๒๓ มกราคม ๒๕๕๒)

๒.๔.๒ ประชุมเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อสารมวลชน โดยนำเอาประเด็นทางวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่น่าสนใจมาแลกเปลี่ยนกัน จัดไปแล้ว ๒ ครั้งคือ ครั้งที่ ๑ เมื่อ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑ โดยในการประชุมครั้งนี้ได้มีการจัดเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ สื่อเปลี่ยนสังคมเปลี่ยน : แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายสื่อและครั้งที่ ๒ เมื่อ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๑ ซึ่งเป็นการประชุมหารือเพื่อเตรียมการจัดประชุมใหญ่ทางวิชาการสื่อสารมวลชนและทบทวนหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการพิราบน้อย

๒.๔.๓ ประชุมใหญ่ทางวิชาการสื่อสารมวลชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิชาการด้าน
สื่อสารมวลชนและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชน รวมทั้งนักสื่อสารภาคประชาชนที่สนใจ ได้มานำเสนองานวิจัยและความคิดเห็นประเด็นใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสื่อสารมวลชน ในลักษณะของการประชุมใหญ่ทางวิชาการ (Symposium) จะจัดระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๖-วันอาทิตย์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ใช้หัวข้อหลักในการประชุมว่า “บทเรียนสื่อ : อำนาจรัฐ อำนาจทุน อำนาจประชาชน”

๒.๕. กลุ่มงานประกวดข่าว

๒.๕.๑ การประกวดรางวัลข่าวทุจริตเชิงสืบสวนยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๕๑ สมาคมฯร่วมกับองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทยจัดการประกวดข่าวทุจริตเชิงสืบสวนยอดเยี่ยมประจำปี ๒๕๕๑ โดยเริ่มจัดการประกวดตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ เพื่อให้สังคมไทยได้รับรู้และตระหนักถึงภัยจากการคอร์รัปชั่น และส่งเสริมให้ความโปร่งใสเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชิวิตของบุคคลในสังคม รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สื่อมวลชนในการทำข่าวสืบสวนประเด็นคอร์รัปชั่นมีผลงานข่าวที่ส่งเข้าประกวดจำนวน ๕ ข่าว โดยในปี ๒๕๕๑ ไม่มีผลงานข่าวใดได้รับรางวัลยอดเยี่ยมแต่มีรางวัลดีเด่นได้แก่ “ข่าวเจาะทุจริต “บ้านเอื้ออาทร” แสนล้าน จุดจบ วัฒนา เมืองสุข บิ๊กเคหะฯ กับพวก” จากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ รางวัลชมเชยอันดับ ๑ ได้แก่ “ข่าวเปิดโปงช่องทางทุจริตใหม่ อบจ. ทั่วประเทศฮั้วพ่อค้า ซื้อหนังสือห่วยแจกโรงเรียน” จากหนังสือพิมพ์มติชน และรางวัลชมเชยอันดับ ๒ ได้แก่ “ข่าวสัญญาเอฟอาร์ซีดีเอสเอ็มอีแบงก์ฉาว”จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ได้มีการจัดพิธีมอบรางวัลเมื่อ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ ณ ห้องบอลรูม โรงแรมอโนมา

๒.๕.๒ การประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๕๑ สมาคมฯ ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิอิศรา อมันตกุล ให้ดำเนินการจัดการประกวดข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม รางวัลอิศรา อมันตกุล เพื่อเป็นการรำลึกถึงนายอิศรา อมันตกุล นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรกและนักหนังสือพิมพ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กรอบจริยธรรม โดยดำเนินการจัดการประกวดมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ สำหรับในปี ๒๕๕๑ มีผลงานงานข่าวส่งเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวยอดเยี่ยมจำนวน ๑๖ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๗ ฉบับ และส่งผลงานภาพข่าวเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทภาพข่าวยอดเยี่ยมจำนวน ๑๑๗ ภาพ จากหนังสือพิมพ์ ๙ ฉบับ

๒.๕.๓ การประกวดรางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๑
ของชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมฯ ได้มอบหมายให้ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวดข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ซึ่งจัดการประกวดมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ สำหรับในปี ๒๕๕๑ มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน ๓ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๓ ฉบับ

๒.๕.๔ การประกวดรางวัลพิราบน้อย ประจำปี ๒๕๕๑ เป็นการประกวดผลงานฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีการทำหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ โดยแบ่งการประกวดออกเป็น ๔ ประเภท คือ ๑.หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ๒. ข่าวฝึกปฏิบัติ ๓.ข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ ๔.สารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ (รางวัลริต้า ปาติยะเสวี) เริ่มจัดการประกวดตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำหนังสือพิมพ์และการทำข่าวของนิสิตนักศึกษาวิชานิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันการศึกษา กับสมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน

นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ ยังได้ริเริ่มจัดตั้งกองทุนเพื่อการฝึกอบรม และรางวัลประกวดข่าวขึ้นมาอีก ๑ กองทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ และเตรียมความพร้อมแก่ของนักศึกษาด้านวาร
ศาสตร์และนิเทศศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ประจำปี และจัดสรรเป็นเงินรางวัลในการประกวดข่าวประเภทต่างๆ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการกำหนดระเบียบของกองทุน

๓. คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๒ คนและอนุกรรมการ ๖ คน ดังนี้

๑. นายดำฤทธิ์ วิริยะกุล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่ปรึกษา
๒. นายธนดล มีถม อุปนายกฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๓. นายวัสยศ งามขำ กรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ประธาน
๔. นายเขมชาติ ชวนะธิต กรรมการฝ่ายสวัสดิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๕. นางสาวชุติมา นุ่นมัน หนังสือพิมพ์มติชน อนุกรรมการ
๖. นายธนก บังผล หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ อนุกรรมการ
๗. นายมนตรี จุ้ยม่วงศรี หนังสือพิมพ์มติชน อนุกรรมการ
๘. นายธเนศ นุ่นมัน หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ อนุกรรมการ

ได้มีการแบ่งเนื้อหาของคณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ออกเป็นแผนงานด้านต่างๆ จำนวน ๒ ด้าน ดังนี้

๓.๑ แผนงานด้านสมาชิกสัมพันธ์

๓.๑.๑ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายภาพดิจิตอล I Draw with Light เป็นโครงการที่สมาคมฯจัดขึ้นเพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีของนักข่าวสายต่างๆผ่านการร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายภาพดิจิตอล ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มพูนทักษะของนักข่าว จัดเมื่อวันเสาร์ที่ ๕-วันอาทิตย์ที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ณ ฟิชเชอร์วิลเลจ หาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน และได้รับเกียรติจากช่างภาพมืออาชีพร่วมเป็นวิทยากร อาทิ อภิชาติ วีรวงศ์ ช่างภาพสำนักข่าวเอพี, นายธวัชชัย เข็มกำเหนิด ช่างภาพหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และ นายนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา ช่างภาพเครือเนชั่น นักข่าวเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๓๐ คน

๓.๑.๒ โครงการปั้นนักข่าวเป็นนักเขียนรุ่น ๒
สมาคมฯ ได้ร่วมกับสถาบันอิศรา และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการปั้นนักข่าวเป็นนักเขียนรุ่น ๒ ขึ้น โดยจัดระหว่างวันเสาร์ที่ ๒๐ – วันอาทิตย์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ณ ภูตะวันรีสอร์ท เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนงบประมาณโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่นักข่าว และการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับนักข่าวในการนำไปพัฒนาการเขียนข่าวและการเขียนในรูปแบบอื่นๆ การอบรมเน้นการฝึกปฏิบัติจริงในการเขียนงานวรรณกรรมการ ๓ ประเภท คือ เรื่องสั้น บทกวีและสารคดีเชิงข่าว โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานวรรณกรรม เช่น นายอัศศิริ ธรรมโชติ นักเขียนรางวัลซีไรท์, นางชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนฯ, นางรุ่งมณี เมฆโสภณ สื่อมวลชนอิสระ ,นางสาวอรสม สุทธิสาคร นักเขียนสารคดี,นายชาติ กอบจิตติ นักเขียนรางวัลซีไรต์ นายประชาคม ลุนาชัย นักเขียนรางวัลซีไรต์ และนายเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีซีไรท์ มีนักข่าวเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๓๐ คน


๓.๒ แผนงานด้านสวัสดิการสมาชิก


๓.๒.๑ กองทุนเพื่อเพื่อน ในปี ๒๕๕๑ สมาคมฯ ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อเพื่อนขึ้นเพื่อทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ โดยการให้ความช่วยเหลือสื่อมวลชนที่ประสบอุบัติเหตุหรือเสียชีวิตเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ และให้ความช่วยเหลือองค์กรสาธารณประโยชน์และไม่แสวงหากำไร โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๑ โดยที่ผ่านมาได้ให้ความช่วยเหลือนักข่าวไทยรัฐที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตระหว่างการเดินทางไปร่วมงานศพนักข่าวที่เสียชีวิตระหว่างการทำข่าวความรุนแรงทาง ๓ จังหวัดชายแดนใต้ รวมถึงนักข่าวมติชนประจำจังหวัดสุพรรณบุรีและนักข่าวมติชนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชที่เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่

.๒.๒ กองทุนเพื่อผู้อาวุโส สมาคมฯ อยู่ระหว่างการจัดทำร่างระเบียบกองทุนเพื่อผู้อาวุโส ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลสมาชิกอาวุโสที่ขาดผู้อุปถัมภ์ดูแล

๓.๒.๓ การจัดพิธีมอบทุนการศึกษาบุตร-ธิดานักข่าว สมาคมฯ มอบทุนการศึกษาบุตร-ธิดานักข่าวเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๑ มีผู้ได้รับการอนุมัติทุนการศึกษาจำนวน ๑๕๐ ทุน ทุนละ ๔,๐๐๐ บาท เป็น เงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งได้มอบทุนการศึกษาต่อเนื่องให้กับสมาชิกอีกจำนวน ๑๐ ทุน โดยในส่วนของทุนต่อเนื่องได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิซิเมนต์ไทย โดยในช่วงเช้าได้มีการจัดกิจกรรมอบรมปั้นดินหัวข้อ “ปั้นดินให้เป็นดาว” และกิจกรรมสันทนาการกับบุตร-ธิดาที่มาร่วมงานและมีการจัดเลี้ยงอาหารกลางวัน ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ได้รับความสนใจจากบุตร-ธิดา สมาชิก เข้าร่วมประมาณ ๒๐๐ คน

๓.๒.๔ การมอบสินไหมมรณกรรม สมาคมฯได้จัดทำประกันชีวิตกลุ่มให้กับสมาชิกที่ชำระเงินค่าบำรุงประจำปีกับบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต โดยในปี ๒๕๕๑ สมาคมฯ ได้ส่งมอบสินไหมมรณกรรมให้กับทายาทของสมาชิกที่เสียชีวิตจำนวน ๒ รายคือ ๑. ทายาทของนายทศพร โกศัยดิลก สมาชิกสังกัดหนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ (๗ สิงหาคม ๒๕๕๒)และ ๒. ทายาทของนายประเสริฐ ประภากิจ วิสามัญสมาชิกสมาคม (๒๒ มกราคม ๒๕๕๒)

๓.๔.๕ คัดเลือกนักข่าวเข้ารับการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีปทุม สมาคมฯ ได้คัดเลือกนายธีรเดช เอี่ยมสำราญ หัวหน้าข่าวหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจและอดีตเลขาธิการ สมาคมฯ ซึ่งมีความสนใจในการศึกษาแสวงหาความรู้ เข้ารับทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทเข้าเรียนในหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต โดยเป็นทุนที่มหาวิทยาลัยศรีปทุมมอบให้กับนักข่าวที่มีความสนใจและทำคุณประโยชน์

๔. คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๒ คนและอนุกรรมการ ๖ คน ดังนี้
๑. นายกวี จงกิจถาวร อดีตนายก สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๒. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษา สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๓. นางสาวบุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ อุปนายก ฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ประธาน
๔. นายตุลสถิตย์ ทับทิม อดีต อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๕. นางสาวจีรวัฒน์ ณ ถลาง หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น อนุกรรมการ
๖. นางสาวกุลชาดา ชัยพิพัฒน์ เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเซียอาคเนย์ อนุกรรมการ
๗. นางสนิทสุดา เอกชัย หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ อนุกรรมการ
๘. นายอนุชา เจริญโพธิ์ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ อนุกรรมการ

คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ ได้แบ่งแผนงานออกเป็น ๒ แผนงาน คือ

๔.๑ ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนระหว่างประเทศ

๔.๑.๑ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-จีน นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายกสมาคมฯ ได้นำคณะสื่อมวลชนไทยจำนวน ๘ คน ไปเยือนประเทศจีนระหว่างวันที่ ๒๒ กันยายน - ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ โดยไปเยือนเมืองซีอัน(มณฑลส่านซี), เมืองตุนหวง (มณฑลกันซู่) และเมืองอูหลู่มู่ฉี (มณฑลซินเจียง) ซึ่งการเยือนครั้งนี้ นอกจากคณะสื่อมวลชนไทยแล้วยังมีผู้แทนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจำนวน ๒ คนร่วมเดินทางด้วย (รายชื่อคณะสื่อมวลชนและททท. ประกอบด้วย ๑.นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส-นายก สมาคมฯ ๒. นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ –อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ ๓. นางสาวบุญรัตน์ อภิชาตไตรสรณ์-อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ๔.นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์-เลขาธิการ สมาคมฯ ๕. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี (ที่ปรึกษา สมาคมฯ) ๖. นายวัสยศ งามขำ (กรรมการบริหาร สมาคมฯ) ๗. นางสาวผุสดี คีตวรนาฏ (อดีตนายกสมาคมฯ) ๘.นางสาวเทียมใจ ทองเมือง (ผู้จัดการ สมาคมฯ) ๙. นายจำลอง รัตนพันธุ์ (ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ททท.) และ ๑๐. นายบริสุทธิ์ ประสมทรัพย์ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ททท.) โดยโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนจีน-ไทยนี้เป็นโครงการที่ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากแต่ละประเทศ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยครั้งนี้สื่อมวลชนไทยเป็นฝ่ายไปเยือนประเทศจีน

๔.๑.๒ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนลาว-ไทย เป็นโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ในลักษณะเดียวกับโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์จีน-ไทย เริ่มต้นแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ โดยในปี ๒๕๕๑ นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายก สมาคมฯ เป็นหัวหน้าคณะนำสื่อมวลชนไทยอีก ๗ คน ประกอบด้วย ๑. นางสาวบุญรัตน์ อภิชาตไตรสรณ์-อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ๒. นางสาวผุสดี คีตวรนาฏ (อดีตนายกสมาคมฯ) ๓. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี (ที่ปรึกษา สมาคมฯ) ๔.นายดำฤทธิ์ วิริยะกุล (ที่ปรึกษา สมาคมฯ) ๕. นายวัสยศ งามขำ (กรรมการบริหาร สมาคมฯ) ๖. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ (อนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ) และ ๗. นายพีรพัฒน์ ดิลกกัลยากุล (หัวหน้าศูนย์ข้อมูล สมาคมฯ) ไปเยือนส.ป.ป.ลาว ตามคำเชิญของ สมาคมนักข่าวแห่ง ส.ป.ป. ลาว เมื่อวันที่ ๑๑-๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โดยในการไปเยือนครั้งนี้ได้มีการทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสื่อมวลชนไทย-ลาว เพื่อส่งเสริมและขยายความสัมพันธ์ร่วมมือกันระหว่างสมาคมนักข่าวแห่ง สปป.ลาว สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยด้วย

๔.๑.๓ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-ลาว หลังจากที่คณะสื่อมวลชนไทยไปเยือน ส.ป.ป. ลาวเมื่อวันที่ ๑๑-๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ แล้ว สมาคมนักข่าวแห่ง ส.ป.ป. ลาว โดยท่านสมสนุก มิไซ อุปนายกสมาคมฯ ได้เป็นหัวหน้าคณะนำสื่อมวลชนลาวอีก ๖ คน มาเยือนประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๒-๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ โดยได้มีการนำคณะสื่อมวลชนลาวเข้าพบนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ), ทัศนศึกษาเกาะช้าง จังหวัดตราด (สนับสนุนโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย), เยี่ยมชมหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, ทัศนศึกษาจังหวัดราชบุรีและการสัมมนาสื่อมวลชนไทย-ลาวและเปิดตัวหนังสือคู่มือสื่อมวลชนไทย-ลาว

๔.๒ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาคมฯกับองค์กรต่างประเทศในระดับนานาชาติ


๔.๒.๑ การส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมใหญ่ขององค์กร Global forum for media Development และการเข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ “Quality Information for All” สมาคมฯ ได้มอบหมายให้ นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายก สมาคมฯ เข้าร่วมประชุมกับ Global forum for media Development ในประเด็น “Quality Information for All” เมื่อวันที่ ๗-๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ

๔.๒.๒ การส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม Asia Regional Forum For Media Development สมาคมฯ ได้มอบหมายให้นายอนุชา เจริญโพธิ์ อนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุม Asia Regional Forum For Media Development ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ ๔-๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ โดยองค์กรต่างๆที่เข้าร่วมประชุมได้แสดงความสนใจในการทำงานของศูนย์ข่าวภาคใต้ รวมทั้งมีข้อเสนอเรื่องการผลิตชิ้นงานที่เกี่ยวกับสื่อไทยเป็นภาษาอังกฤษ

๔.๒.๓ การส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมเรื่องการปฏิรูปสื่อต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมาคมฯ ได้มอบหมายให้นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการ สมาคมฯ เข้าร่วมประชุมเรื่องเรื่องการปฏิรูปสื่อต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจัดโดย SEAPA ณ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕กรกฎาคม๒๕๕๑ ได้รับคำชมว่าสามารถนำเสนอเนื้อหาได้อย่างน่าสนใจ

๔.๒.๔ การส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมหัวข้อการส่งเสริมภาพยนตร์และความร่วมมือระหว่างไทยกับอินเดีย สมาคมฯ ได้มอบหมายให้นางสาวนภาภรณ์ พิพัฒน์ อุปนายกฝ่ายวิชาการเข้าร่วมประชุมหัวข้อการส่งเสริมภาพยนตร์และความร่วมมือระหว่างไทยกับอินเดีย ณ เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ ๑๕-๑๘ กันยายน ๒๕๕๑

๔.๒.๕ การส่งผู้แทนเข้าร่วมสัมมนาเนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐ ปี SEAPA สมาคมฯ
ไดมอบหมายให้นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส,นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นางสาวบุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ และนายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เข้าร่วมการสัมมนาเนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐ ปีSEAPA หรือเครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ เมื่อวันที่ ๑๐-๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ณ โรงแรมอิมพีเรียลควีนปาร์ค กทม.

๔.๒.๖ สถาบันAIT ดูงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นางสาวบุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ อุปนายกฝ่ายต่างประเทศและนายกวี จงกิจถาวร อดีตนายก สมาคมฯ ได้ให้การต้อนรับและบรรยายเรื่อง สถานการณ์สื่อมวลชนในประเทศไทยให้นักศึกษาจากโครงการแลกเปลี่ยนจาก ๖ ประเทศของ Asian Institute of Technology ฟัง เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๑

๕. คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๗ คนและอนุกรรมการ ๑๐ คน

๑. นายกวี จงกิจถาวร อดีตนายก สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๒. นายดำฤทธิ์ วิริยะกุล อดีตอุปนายก สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษา
๓. นายภัทระ คำพิทักษ์ อดีตนายก สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๔. นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๕. นางสาวบุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๖. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษา สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๗. นายตุลสถิตย์ ทับทิม อดีต อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๘. นายวันชัย วงศ์มีชัย อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ประธาน
๙. นายวีรศักดิ์ พงศ์อักษร กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๐. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๑. นายจำนงค์ ศรีนคร หนังสือพิมพ์มติชน อนุกรรมการ
๑๒. นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง หนังสือพิมพ์แนวหน้า อนุกรรมการ
๑๓. นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น อนุกรรมการ๑๔. ผู้แทนสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อนุกรรมการ
๑๕. ผู้แทนสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย อนุกรรมการ
๑๖. ผู้แทนชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ อนุกรรมการ
๑๗. นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ เลขานุการคณะอนุกรรมการ

ในปี ๒๕๕๑ คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิ ฯ ได้ยกระดับการทำงานจากในรูปแบบของคณะอนุกรรมการเป็นฝ่ายงานสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

๕.๑ แผนงานรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพสื่อ

๕.๑.๑. โครงการฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day – 3 MAY)
เป็นโครงการต่อเนื่องที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันที่ ๓ พฤษภาคม เนื่องจากเป็นวันที่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก้ ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ ๓ พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก ซึ่งก็คือเสรีภาพในการแสดงออก ตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๓ สมาคมฯ ก็ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าวมาโดยตลอด
ในปี ๒๕๕๑ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๑กิจกรรมประกอบด้วย การสัมมนาในหัวข้อ อภิปราย หัวข้อ “วิวาทกรรม สมัครกับสื่อ” การแถลงผลการวิจัยการศึกษารอบพิเศษ เรื่อง (วิ)วาท กรรม สมัครกับสื่อ,การออกแถลงการณ์ร่วมขององค์กรวิชาชีพสื่อ ร่วมทั้งการรณรงค์ด้วยการสวมเสื้อ “คุกคามสื่อ คุกคามประชาชน” และมอบเสื้อ “คุกคามสื่อ คุกคามประชาชน” ให้กับนายจักรภพ เพ็ญแขรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒)

๕.๒ งานติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพและสถานการณ์สื่อ

๕.๒.๑ การจัดรายงานสถานการณ์สื่อทยและภาษาอังกฤษ (2008 Thai Media Updates)
สมาคมฯได้จัดทำรายงานสถานการณ์สื่อรายเดือนเผยแพร่ผ่านเวบไซต์www.tja.or.th โดยเป็นการจัดทำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

๕.๒.๒ การจัดทำสถานการณ์สื่อประจำปี สมาคมฯ ได้จัดทำรายงานสถานการณ์สื่อประจำปี ๒๕๕๑ เผยแพร่ในวันสิ้นปี เพื่อสรุปเหตุการณ์หลักที่เกิดขึ้นในแวดวงสื่อมวลชน

๕.๓ งานจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังการคุกคามสื่อ (Alert Network)
สมาคมฯ ตระหนักถึงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ที่อาจได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งในรูปแบบของการข่มขู่ คุกคาม การทำร้ายร่างกายและทรัพย์สิน โดยในปี ๒๕๕๑ วงการวิชาชีพสื่อมวลชนได้สูญเสียนักข่าวจากการทำหน้าที่สื่อมวลชนทั้งจากกรณีการทำข่าวในถานการณ์ภาคใต้, การประสบอุบัติเหตุในระหว่างการเดินทางไปปฏิบัติงานและการประทุษร้ายจากผู้มีอิทธิพลจนถึงแก่ชีวิต ๒ ราย(นายอธิวัฒน์ ไชยนุรัตน์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชนจังหวัดนครศรีธรรมราช และนายจารึก รังเจริญ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี จึงได้มีความพยายามในการจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังการคุกคามสื่อ (Alert Network) ขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการคัดเลือกอาสาสมัคร โดยในปีที่ผ่านมาสมาคมฯ ได้เฝ้าระวังการคุกคามสื่อ ดังนี้

๕.๓.๑ . บุกรังนกกระจอกรับฟังปัญหานักข่าวม๊อบ
นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วยนายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการสมาคมฯและกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวฯ เดินทางเข้าพบสื่อมวลชนที่ปักหลักทำข่าวการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในทำเนียบรัฐบาลเพื่อรับฟังความคิดเห็นและให้กำลังใจ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๑

๕.๓.๒ . เยี่ยมนักข่าว จส.๑๐๐ นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยพร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ เข้าเยี่ยมพร้อมนำกระเช้ามอบให้นายปิตตินนท์ แก่นสาร ผู้สื่อข่าวจส.๑๐๐ ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมของตำรวจหน้ารัฐสภา โดยขณะพักรักษาตัวที่วชิรพยาบาล เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑
๕.๓.๓ ยื่นหนังสือจี้ ผบ.ตร. เร่งคลี่คลายคดีมือปืนลั่นไกฆ่านักข่าวมติชน นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ บรรณาธิการอาวุโสหนังสือพิมพ์มติชน และอุปนายกสมาคมฯ นายธนดล มีถม อุปนายกสมาคมฯ นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการสมาคมฯ และ นายวัสยศ งามขำ กรรมการบริหารสมาคมฯ เข้ายื่นหนังสือต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. เพื่อให้เร่งติดตามดำเนินคดี คนร้ายบุกสังหาร นายอธิวัฒน์ ไชยนุรัตน์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย พล.ต.อ.พัชรวาท ได้เป็นผู้รับเรื่องด้วยตนเอง เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒

๕.๓.๔ ยื่นหนังสือจี้ ผบ.ตร. เร่งคลี่คลายคดีมือปืนลั่นไกฆ่านักข่าวมติชน รายที่ ๒ นายธนดล มีถม อุปนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเข้ายื่นหนังสือต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. เพื่อให้เร่งติดตามดำเนินคดีคนร้ายสังหาร นายจารึก รังเจริญ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี (เหตุเกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน) พร้อมกันนั้นได้สอบถามความคืบหน้าคดีการสังหารนายอธิวัฒน์ ไชยนุรัตน์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑

๕.๓.๕ การสัมมนาหัวหน้าข่าวภูมิภาคเรื่องความปลอดภัยของนักข่าว สมาคมฯ ได้จัดสัมมนาบรรณาธิการข่าวภูมิภาคเรื่องความปลอดภัยของนักข่าว โดยได้เชิญบรรณาธิการข่าวภูมิภาคของหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ มาประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการดูแลความปลอดภัยของนักข่าว โดยจะได้มีการจัดทำหนังสือคู่มือแนวทางการทำข่าวอย่างปลอดภัยต่อไป เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑

๕.๔ งานศูนย์ข้อมูลสื่อและกฎหมายที่เกี่ยวกับสื่อ
สมาคมฯ ได้ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดตั้งศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมองค์ความรู้ในเรื่องกฎหมายสื่อมวลชน เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาเพื่อให้เกิดความระมัดระวังในการเสนอข่าวและความคิดเห็น รวมทั้งในการสนับสนุนและรวบรวมผู้สนใจและเชี่ยวชาญในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน เพื่อสนับสนุนการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนให้เป็นอิสระและปราศจากการคุกคามและลิดรอนสิทธิเสรีภาพโดยการใช้กฎหมาย โดยมอบหมายให้สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการ

ฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ยังอยู่ในระหว่างการจัดตั้งกองทุนสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ เพื่อทำให้การทำงานของฝ่ายสิทธิฯ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากขึ้น โดยเบื้องต้นคาดว่าจะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากการประมูลภาพวาดสีน้ำของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมี ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๒

๖. คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ ประกอบด้วยที่ปรึกษาและอนุกรรมการจำนวน ๗ คน ดังนี้
๑. นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๒. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการ สมาคมฯ ประธาน
๓. นางสาวน.รินี เรืองหนู รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๔. นายปราเมศร์ เหล็กเพ็ชร์ รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๕. นายเสด็จ บุนนาค เหรัญญิก อนุกรรมการ
๖. นายวัสยศ งามขำ กรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๗. นางสาวเทียมใจ ทองเมือง ผู้จัดการ สมาคมฯ อนุกรรมการ

ในปี ๒๕๕๑ คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

๖.๑ ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และนายเสด็จ บุนนาค กรรมการบริหารสมาคมฯ พร้อมทั้งนางสาววิมลพรรณ ปีตธวัชชัย กรรมการบริหารสถาบันอิศรา ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และทูลเกล้าฯถวายแจกันดอกไม้ ณ ตึก สก.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๑

๖.๒ มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่จีน คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มีมติอนุมัติให้บริจาคเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จากกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ ให้กับ นายจางกั๋วชิ่ง อุปทูต สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่จีนเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๑

๖.๓ บทบาทสื่อไทยในบริบทของอาเซียน สมาคมฯนักข่าวในฐานะสำนักงานเลขาธิการของมูลนิธิอิศรา อมันตกุลได้จัดการปาฐกถาอิศรา อมันตกุล ประจำปี ๒๕๕๑ ในหัวข้อ บทบาทสื่อไทยในบริบทของอาเซียนโดย ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ และในโอกาสนี้ สมาคมฯได้บริจาคเงินสมทบให้กับมูลนิธิอิศรา อมันตกุล เป็นเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ด้วย

๖.๔ โครงการ Press Photo in Focus สมาคมฯ ร่วมกับ บริษัท โอเวชั่นสตูดิโอ จำกัด และสถานเอกอัครราชฑูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย,สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,มูลนิธิอิศรา อมันตกุล ,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เซน ดีพาร์ทเมนท์ สโตร์ ,ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
และบริษัท แคนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด จัดทำโครงการ Press Photo in Focus ซึ่งเป็นการรวมนิทรรศการภาพข่าว ๒ นิทรรศการเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ World Press Photo Exhibition และ Thai Press Photo Exhibition จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๘ มิถุนายน ถึง วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ณ ZEN Event Gallery ชั้น ๘ เซน ดีพาร์ทเม้นท์ สโตร์

๖.๕ การประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต สมาคมฯ ร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ เครือข่ายการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ และบริษัท ดีซีคอนซัลแทนส์ฯ จัดเสวนาในหัวข้อ “การประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต: เมื่อทุนข้ามชาติใช้กลไกกฎหมายคุกคามสื่อและประชาชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อแสวงหาแนวทางป้องกันและรับมือกับวิกฤติการณ์ ด้วยกลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤติ ณ หอประชุมพุทธคยา บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ ชั้น 22 อาคารอัมรินทร์พลาซ่า เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑

๖.๖ ร่วมบำเพ็ญพระกุศลศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางฯ สมาคมฯร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อ ร่วมเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญพระกุศลศพถวายสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่
๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑

๖.๗ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มีมติอนุมัติให้บริจาคเงินจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาทจากกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ ให้กับมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อนำไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ โดยได้นำเงินจำนวนดังกล่าวทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา ทั้งนี้เงินกองทุนดังกล่าว เงินรายได้จากการจำหน่ายหนังสือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ซึ่งเรียบเรียงโดยนางสาววิมพลรรณ ปีตธวัชชัย

๖.๘ เครือข่ายสานเสวนาเพื่อยุติความรุนแรง
สมาคมฯ ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า และองค์กรพันธมิตรเข้าร่วม
เครือข่ายสานเสวนาเพื่อยุติความรุนแรง เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางในการยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน โดยได้จัดการประชุมร่วมระหว่างบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑, การจัดทำเสื้อรณรงค์ “ยุติความรุนแรง” การประชุมใหญ่เครือข่ายสานเสวนาเพื่อสันติธรรม เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๑และการออกแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องการยุติความรุนแรง

๖.๙ โครงการหนังสือบันทึกคนข่าว ๗ ตุลาคม ข้อเท็จจริงที่แตกต่าง สมาคมฯ ได้จัดพิมพ์หนังสือพอคเก็ตบุ๊ค บันทึกคนข่าว ๗ ตุลา ข้อเท็จจริงที่แตกต่าง โดยมอบหมายให้นายธีรเดช เอี่ยมสำราญ หัวหน้าข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ เป็นบรรณาธิการ โดยรวบรวมนักข่าวและช่างภาพจากสื่อมวลชนทุกแขนงที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ 7 ตุลาคม มาเขียนความจริงจากสิ่งที่เห็น ตอบคำถามหลักๆ ว่านักข่าวและช่างภาพ อยู่ตรงไหน เห็นอะไร เป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ของคนทำข่าวกว่า 20 ชีวิตที่เสี่ยงตายอยู่ในสนามข่าว ได้มีการจัดงานเปิดตัวหนังสือใน วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๑

ปี ๒๕๕๑ เป็นปีที่สื่อมวลชนที่เผชิญหน้ากับวิกฤตต่างๆมากมาย ทั้งวิกฤตทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง เหมือนกับที่บุคคลกลุ่มคนอื่นๆในสังคมต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตเหล่านั้นสมาคมฯในฐานะองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่เป็นองค์กรตัวแทนในการร่วมผลักดันและขับเคลื่อนสังคมให้พ้นจากวิกฤตภายใต้กรอบภารกิจของสมาคมฯ รวมทั้งยังได้รณรงค์ให้สื่อมวลชนมีสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร อันจะนำไปสู่การทำหน้าที่เพื่อการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน เป็นธรรมกับทุกฝ่าย และรักษาไว้ซึ่งความเป็นอิสระ มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น มีเสรีภาพในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล และเพื่อรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพของสังคมไทยโดยรวม