รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๘/๒๕๖๐

รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๘/๒๕๖๐

คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๘ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๐ – ๔ มีนาคม ๒๕๖๑  ได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานไว้ ๒ ยุทธศาสตร์ คือ  ยุทธศาสตร์หลักที่ ๑ สิทธิเสรีภาพสื่อ สร้างภาคีสื่อและเครือข่ายในการขับเคลื่อน เพื่อส่งเสริม ปกป้องสิทธิเสรีภาพสื่อ และ ยุทธศาสตร์หลักที่ ๒ การพัฒนาสื่อสู่ความเป็นมืออาชีพ   กระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิก ดูแลสวัสดิการ  ส่งเสริมสวัสดิภาพสมาชิก พัฒนาคุณภาพและศักยภาพนักข่าวภายใต้เสรีภาพบนความรับผิดชอบ และสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมนักข่าวภาคสนามให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของสมาคมนักข่าวฯ

ในปี ๒๕๖๐ คณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ  ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ทำหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์ข้างต้น  โดยแบ่งออกเป็น ๕ คณะอนุกรรมการ ดังนี้

๑) คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ

๒) คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ

๓) คณะอนุกรรมการฝ่ายสวัสดิการและสมาชิกสัมพันธ์

๔) คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ

๕) คณะกรรมการอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ

๑. คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ

ในปี ๒๕๖๐ คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวฯ ดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน โดยนักข่าวจะต้องมีอิสรภาพ เสรีภาพในการทำงาน ไม่ถูกคุกคาม แทรกแซงทั้งจากกลุ่มทุน รัฐ และผู้มีอิทธิพล โดยมีกิจกรรมดังนี้

๑.๑.งานรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพ

๑.๑.๑ โครงการวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) เป็นโครงการต่อเนื่องที่จัดขึ้นเป็นประจำ ทุกวันที่ ๓ พฤษภาคม เนื่องจากเป็นวันที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ ประกาศให้วันที่ ๓ พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก ซึ่งก็คือเสรีภาพในการแสดงออก ตั้งแต่เมื่อปี ๒๕๔๓ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยก็ได้ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และเครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าวมาโดยตลอด

ในปี ๒๕๖๐ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับองค์กรสื่อมวลชนเครือข่าย กว่า ๓๐ องค์กร อาทิ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์, สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย และองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนอื่นรวม ๓๐ องค์กร จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดยมีนักการทูตซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทยเข้าร่วมงาน เพื่อเป็นการรวมพลังต่อสู้กับความพยายามของบางฝ่าย ที่มีจุดประสงค์ออกกฎหมายเพื่อคุกคามสิทธิ เสรีภาพสื่อมวลชน กรณีที่  "สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)" ผลักดันร่างกฎหมายที่หวังใช้เป็นเครื่องมือเพื่อขีดกรอบการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน คือ "ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน" ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวเมื่อผ่านที่ประชุม สปท. แล้วจะเข้าสู่วาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อบัญญัติเป็นกฎหมายใช้ต่อไป โดยการจัดเสวนาหัวข้อ “เสรีภาพสื่อกับอนาคตสังคมไทย” เมื่อวันพุธที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐

การรณรงค์ในปีนี้ใช้ธีม “หยุดตีทะเบียนสื่อ หยุดครอบงำประชาชน” เป็นเนื้อหาหลักในการรณรงค์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายต่อสู้กับความพยายามที่จะออกกฎหมายเพื่อคุกคามสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน ที่สำคัญเป็นสโลแกนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากกิจกรรมการประกวดสโลแกนวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกอีกด้วย

๑.๑.๒ สนับสนุนการดำเนินการของสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนด้าน สวัสดิการนักข่าว โดยได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหภาพแรงงานเลขทะเบียนที่ กธ.๑๑๑๔ เมื่อ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ โดยมีนายสุเมธ สมคะเน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นประธาน

นอกจากนี้ ได้มีการจัดการอบรมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสหภาพแรงงานอื่นๆ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “พิราบแรงงาน” โครงการพัฒนาเครือข่ายสื่อเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงาน  โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

๑.๒ งานส่งเสริมทักษะวิชาชีพข่าว ในปี ๒๕๖๐ คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพสื่อและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ได้จัดการอบรมขึ้น ๒ หลักสูตร

๑.๒.๑ การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การรายงานข่าวในสถานการณ์ความรุนแรงและภัยพิบัติ รุ่น ๘ (Safety Training)” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การรายงานข่าวในสถานการณ์ความรุนแรงและภัยพิบัติ” ขึ้นเพื่อให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพ จากสื่อหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์และวิทยุ ได้เรียนรู้เรื่องการทำข่าวอย่างปลอดภัยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง สามารถรายงานข่าวภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย ๑.การเตรียมความพร้อมก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานของทีมข่าว ๒.การบริหารความเสี่ยง ๓.การรายงานข่าวในสถานการณ์อันตราย ภาษาที่ใช้ในการรายงานข่าว ๔.การปฐมพยาบาล เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ - วันอาทิตย์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ณ อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จ.สระบุรี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.), กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (Thai Media Fund), สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง ๗, บริษัท เทรนด์ วีจี ๓ (ไทยรัฐทีวี), สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี, สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ และบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

๑.๒.๒ การอบรมหลักสูตร “กฎหมายแรงงานสำหรับสื่อมวลชน” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ร่วมกับ สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการอบรมหลักสูตร “กฎหมายแรงงานสำหรับสื่อมวลชน” เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน เพื่อให้เท่าทันความผันผวนทางเศรษฐกิจ สถานการณ์การเลิกจ้าง และการเปิดโครงการสมัครใจลาออกของสื่อมวลชนหลายสำนักที่มีมาอย่างต่อเนื่อง จัดในวันอาทิตย์ที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ ณ สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถซักถาม แสดงความคิดเห็น หรือตั้งข้อสังเกตผ่านกรณีศึกษา รวมถึงมีการถ่ายทอดภาคปฏิบัติชองการต่อสู้คดีแรงงานผ่านเวที “ศาลจำลอง” จากคณะวิทยาการได้อีกด้วย

๑.๓ งานติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพและสถานการณ์สื่อ

ในปี ๒๕๖๐ เป็นปีที่คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ และเพื่อนสื่อมวลชน ยังคงต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัดของคำสั่งอำนาจพิเศษ ตามมาตรา ๔๔ ตลอดจนท่าทีและทัศนคติของนายกรัฐมนตรีที่มีต่อการทำงานของสื่อมวลชน อีกทั้งกรณีที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ผลักดัน "ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน" โดยหวังใช้เป็นเครื่องมือเพื่อขีดกรอบการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน เปิดช่องทางที่จะให้นักการเมือง ข้าราชการ สามารถใช้อำนาจแทรกแซง ควบคุมการทำหน้าที่ของนักข่าวมืออาชีพ ผ่านสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติได้ ซึ่งเป็นการคุมสื่อแบบเบ็ดเสร็จ ขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติ ที่กำหนดเอาไว้ชัดเจนว่าให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ

คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ จึงร่วมกับเพื่อนสื่อและองค์กรวิชาชีพสื่อ ประกาศจุดยืนคัดค้านทุกรูปแบบให้ถึงที่สุดต่อแนวคิดของ สปท. (ดูแถลงการณ์ที่เกี่ยวข้องท้ายเล่ม)

 

๒. คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ

ในปี ๒๕๖๐  คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ แบ่งงานออกเป็น ๕  กลุ่มงาน คือ

๒.๑. ด้านการอบรม สมาคมฯ ได้จัดทำโครงการด้านการฝึกอบรมจำนวน ๒ หลักสูตร คือ

๒.๑.๑ การอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวพิราบน้อยรุ่น ๒๐ เป็นโครงการต่อเนื่องจัดขึ้นเป็นปีที่ ๒๐  ซึ่งหากนับถึงปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมกว่า ๑,๐๐๐ คนแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้านสิ่งพิมพ์  (Professional Development) ความรับผิดชอบต่อจริยธรรมในวิชาชีพ (Ethics Responsibility)  และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะองค์กรเพื่อสังคม (Organizational Social Responsibility) ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสถาบันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักข่าวรุ่นพี่ที่ทำงานทั้งในภาคสนาม และในส่วนของผู้บริหารงานข่าว อันเป็นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการปลูกฝังอุดมคติให้กับนักศึกษาด้วย ในรุ่นที่ ๒๐  มีนักศึกษาที่เรียนด้านหนังสือพิมพ์จากสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมอบรมจำนวน ๔๔  คน จาก  ๒๕  สถาบัน จัดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ พฤศจิกายน – วันอาทิตย์ที่ ๓ ธันวาคม  ๒๕๖๐ ณ รีสอร์ทบ้านสวนทรายทอง อำเภอบางคนที  จังหวัดสมุทรสงคราม    ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน

ในการอบรมครั้งนี้ได้เพิ่มกระบวนการฝึกฝนนักศึกษาในการเขียนข่าวเพิ่มขึ้นอีกขั้นตอนหนึ่ง โดยนักศึกษาทุกคนจะ ต้องส่งผลงานข่าวเข้าร่วมโครงการ TJA  Cyber Reporter อย่างน้อยคนละ ๒  ชิ้นงาน และจะมีการประกาศผลรางวัลในวันที่ ศุกร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๑

๒.๑.๒  การอบรมเชิงปฏิบัติการ วารสารศาสตร์มือถือสำหรับนักข่าว ปี ๒๕๖๐  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการพัฒนาและส่งเสริมให้บุคลากรในวิชาชีพสื่อมวลชน มีความพร้อมรับมือกับบริบทใหม่ของสังคมทั้งในด้านความรู้ทั่วไป และการพัฒนาวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้านสื่อดิจิทัล ตลอดจนเทคนิคการรายงานข่าวโดยใช้อุปกรณ์มือถือ เพื่อให้ผู้สื่อข่าวทำหน้าที่นักสื่อสารมวลชนที่ดีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเป็นการเสริมทักษะที่จะช่วยให้การทำงานของผู้สื่อข่าวในปัจจุบันง่ายขึ้น สะดวกขึ้น จัดเมื่อวันอาทิตย์ที่  ๕  พฤศจิกายน  ๒๕๖๐ ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีสื่อมวลชนเข้าร่วมอบรม ๒๘ คน

๒.๒ กลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ ได้มีการจัดทำโครงการในกลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ จำนวน ๓ กิจกรรม ดังนี้

๒.๒.๑ ราชดำเนินเสวนา เป็นโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๑๙  ซึ่งเป็นความริเริ่มจากสมัยที่นายกวี จงกิจถาวร เป็นนายก สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๒) มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการทำงานข่าวให้มีคุณภาพและอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง  โดยมีการเชิญแหล่งข่าวมาพบปะพูดคุยและตอบคำถามนักข่าว เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างนักข่าวกับแหล่งข่าวในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ในปี พ.ศ.  ๒๕๖๐  ได้จัดราชดำเนินเสวนาไปจำนวน ๗  ครั้ง สามารถติดตามเนื้อหาราชดำเนินเสวนาได้ที่ www.tja.or.th

๑. ราชดำเนินเสวนา หัวข้อ "ถอดบทเรียนความไม่เป็นธรรมในการใช้กฎหมายปิดปากสื่อ" วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๐

๒. ราชดำเนินเสวนา หัวข้อ "ข่าวเปรี้ยว ข่าวเปรี้ยง ! สะท้อนความป่วยไข้ของสังคมไทย ?” วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐

๓.ราชดำเนินเสวนา "๘๕ ปี ประชาธิปไตย จะไปไหนดี ?" วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐

๔.  ราชดำเนินเสวนา หัวข้อ “๒ปี สปท.สังคมได้อะไรจากการปฏิรูป” วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐

๕.ราชดำเนินเสวนา หัวข้อ "ปลุกข้อหา มาตรา ๑๑๖ อุปสรรคต่อการปฏิรูปประเทศ?"  วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๐

๖. ราชดำเนินเสวนา หัวข้อ "ภาษาไทย ภาษาสื่อ"  วันที่ ๑๕  ตุลาคม ๒๕๖๐

๗ .ราชดำเนินเสวนา หัวข้อ "ปฏิรูปงานสอบสวน ? ให้ยุติธรรมกับประชาชน"  วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน  ๒๕๖๐

๒.๒.๒. รายการวิทยุช่วยกันคิดทิศทางข่าว เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กับสำนักข่าวไทยและบริษัท อสมท. จำกัด มหาชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท.  FM ๑๐๐.๕ Mhz ทุกวันอาทิตย์เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐น. เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักข่าวรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯ รวมทั้งเป็นเวทีในการสื่อสารเรื่องราวที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนให้สาธารณชนได้ รับทราบ รวมทั้งการวิเคราะห์ถึงทิศทางข่าวในสัปดาห์ต่อไป โดยเน้นความหลากหลายของประเด็นข่าว ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และอื่นๆที่เป็นประเด็นร้อนในขณะนั้น

สำหรับนักจัดรายการประจำปี  ๒๕๖๐ มีจำนวน ๑๑ คนคือ ๑. นายมงคล  บางประภา ๒.นายราม อินทรวิจิตร ๓.นายจีรพงษ์  ประเสริฐพลกรัง ๔.นางสาวดารากาญจน์  ทองลิ่ม ๕.นายสิทธิชน  กลิ่มหอมอ่อน ๖.นายธนัชพงศ์  คงสาย           ๗.นางสาวพิมพ์นารา  ประดับวิทย์   ๘.นางสาวนันทพร  ทาวะระ   ๙.นายบัญชา  จันทร์สมบูรณ์ ๑๐.นางสาวดารินทร์  หอวัฒนกุล  ๑๑.นายบัญชา  จันทร์สมบูรณ์

ติดตามฟังรายการวิทยุย้อนหลังได้ที่  www.tja.or.th

๒.๒.๓ www.tja.or.th เป็นเวบไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข่าวสารต่างๆ ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรม,รายงานกิจกรรม,กฎหมายที่เกี่ยวข้อง,ประวัติความ เป็นมา จุดยืนและท่าทีของสมาคมฯต่อสถานการณ์ต่างๆของบ้านเมือง รวมทั้งการบันทึกผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ  และเป็นชุมชนออนไลน์ของนักวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน ในการแลกเปลี่ยนทัศนะของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน และนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงสื่อสารมวลชน

๒.๓ กลุ่มงานหนังสือ ในปี   ๒๕๖๐  ฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำหนังสือรวม ๒  เล่ม ดังนี้

๒.๓.๑ จุลสารราชดำเนิน ในปี ๒๕๖๐  สมาคมฯ ได้จัดทำวารสารราชดำเนินโดยออกเป็นรายสามเดือนจำนวน ๒   ฉบับ

ฉบับที่ ๓๓  เนื้อหาหลักคือ หยุดตีทะเบียนสื่อ หยุดครอบงำประชาชน   มีนายวรพล กิตติรัตวรางกูร เป็นบรรณาธิการ และฉบับที่  ๓๒ เนื้อหาหลักคือ น้อมรำลึกถึงในหลวง รัชกาลที่๙    มีนายวรพล กิตติรัตวรางกูร เป็นบรรณาธิการ

อ่านเนื้อหาจุลสารราชดำเนินฉบับย้อนหลังได้ที่ www.tja.or.th

๒.๓.๒ หนังสือวันนักข่าว  "สื่อมืออาชีพ ในภูมิทัศน์ใหม่"  หนังสือวันนักข่าวเป็นหนังสือรายงานประจำปีที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการข่าวและหนังสือพิมพ์  ตลอดจนรายงานกิจกรรมของสมาคม  และทำเนียบรายชื่อนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่เป็นสมาชิกสมาคม  เนื้อหาหลักในปีนี้เน้นเรื่อง  “การปรับตัวของสื่อหลักในปัจจุบัน(ภูมิทัศน์ใหม่)” มีนายวรพล กิตติรัตวรางกูร เป็นบรรณาธิการ มีการแจกจ่ายหนังสือวันนักข่าวถึงมือสมาชิก สมาคมฯ ในวันที่ ๔ มีนาคม  ๒๕๖๑  ซึ่งเป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมฯ

๒.๔. กลุ่มงานประกวดข่าว

๒.๔.๑ การประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๖๐  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิอิศรา อมันตกุล ให้ดำเนินการจัดการประกวดข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม รางวัลอิศรา อมันตกุล เพื่อเป็นการรำลึกถึงนายอิศรา อมันตกุล นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรกและนักหนังสือพิมพ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภาย ใต้กรอบจริยธรรม โดยดำเนินการจัดการประกวดมาตั้งแต่ ปี ๒๕๑๕ สำหรับในปี ๒๕๖๐  มีผลงานงานข่าวส่งเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวยอดเยี่ยมจำนวน  ๑๓  ข่าว จากหนังสือพิมพ์  ๗  ฉบับ และส่งผลงานภาพข่าวเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทภาพข่าวยอดเยี่ยมจำนวน  ๖๓ ภาพ จากหนังสือพิมพ์  ๗ ฉบับ

๒.๔.๒ การประกวดรางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๐ ของ ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมฯ ได้มอบหมายให้ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด ข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ซึ่งจัดการประกวดมาตั้งแต่ปี  ๒๕๓๒ สำหรับในปี ๒๕๖๐  มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน ๓  ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๓ ฉบับ

๒.๔.๓ การประกวดรางวัลพิราบน้อย ประจำปี ๒๕๖๐  เป็นการประกวดผลงานฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีการทำ หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ โดยแบ่งการประกวดออกเป็น ๒ รางวัล ๗ ประเภท คือ รางวัลพิราบน้อย ประกอบด้วย  ๑.ประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ๒. ประเภทข่าวฝึกปฏิบัติ ๓.ประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ ๔.ประเภทข่าวออนไลน์ฝึกปฏิบัติ ๕. ประเภทบรรณาธิกรหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ  ๖.ประเภทนิตยสารฝึกปฏิบัติ  และรางวัลริต้า ปาติยะเสวี คือประเภทสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ  เริ่มจัดการประกวดตั้งแต่ปี พ.ศ.   ๒๕๓๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำหนังสือพิมพ์และการทำข่าวของ นิสิตนักศึกษาวิชานิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์  ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันการศึกษา  กับสมาคมฯ    ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน ในปี ๒๕๖๐ มีผลงานส่งเข้าประกวดดังนี้

๑. หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติและบรรณาธิกรหนังสือพิมพ์    จำนวน  ๑๒  ฉบับ  จากสถาบันการศึกษา ๑๑  สถาบัน

๒. นิตยสารฝึกปฏิบัติ        จำนวน  ๔  ฉบับ  จากสถาบันการศึกษา ๔  สถาบัน

๓. สารคดีเชิงข่าว            จำนวน  ๑๘  ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๘ ฉบับ สถาบันการศึกษา ๗ สถาบัน

๔. ข่าวฝึกปฎิบัติ             จำนวน  ๒๓ ข่าว จากหนังสือพิมฑ์ ๑๑ ฉบับ สถาบันการศีกษา ๑๐ สถาบัน

๕. ข่าวสิ่งแวดล้อม          จำนวน  ๑๕  ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๗ ฉบับ สถาบันการศึกษา ๖ สถาบัน

๖. ข่าวออนไลน์              จำนวน  ๘  ข่าว จากสถาบันการศึกษา ๔ สถาบัน

 

๓ คณะอนุกรรมการฝ่ายสวัสดิการและสมาชิกสัมพันธ์

ในปี   ๒๕๖๐  คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แบ่งงานออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ

๓.๑ งานด้านสมาชิกสัมพันธ์

๓.๑.๑ อบรมการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ แบบครบวงจร   สมาคมนักข่าวฯได้ให้ความสำคัญกับการจัดอบรมสร้างอาชีพเสริมสำหรับสื่อมวลชน เนื่องด้วยสภาวะ เศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงในแวดวงวิชาชีพที่หลายองค์กรสื่อ มีแนวโน้ม ปรับโครงสร้างองค์กร ลดจำนวนพนักงานอย่างต่อเนื่องธ์ สมาคมนักข่าวฯ จึงมีกำหนดจัดกิจกรรม อบรมการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ แบบครบวงจร  จนถึงขั้นตอนการ แปรรูปเพื่อจำหน่าย  ระหว่างวันเสาร์ที่  ๕ – วันอาทิตย์ที่ ๖  สิงหาคม ๒๕๖๐ ณ  "กระท่อมเห็ด ฟาร์ม "  อำเภอบางบัวทอง  จังหวัดนนทบุรี  เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการอบรมเรียนรู้ เทคนิคการเพาะเห็ดต้นทุนต่ำ ปลูกง่ายและรายได้ดีไปประกอบอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน  ตลอดจน สามารถพึ่งพาตนเองได้บนพื้นฐาน แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีสื่อมวลชนเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๒๐ คน

๓.๒ งานด้านสวัสดิการสมาชิก

๓.๒.๑ ทุนการศึกษา สมาคมฯ ได้มอบทุนการศึกษาให้กับสมาชิกสมาคมฯ โดยแบ่งเป็นทุนการศึกษาที่มอบให้กับสมาชิกสมาคมฯ และทุนการศึกษาที่มอบให้กับบุตร-ธิดา สมาชิก ดังนี้

๑) ทุนการศึกษาที่มอบให้กับบุตร-ธิดา สมาชิก สมาคมฯ แบ่งทุนการศึกษาออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑) ทุนส่งเสริมการศึกษา เป็นทุนแบบรายปี ๒) ทุนต่อเนื่อง เป็นทุนที่มอบให้แบบต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ -ระดับปริญญาตรี โดยได้รับการอนุเคราะห์ทุนการศึกษาจากมูลนิธิเอสซีจี ปีละ ๑๐ ทุน ปัจจุบันมีผู้รับทุนแล้ว ๑๐๐ คน

มีการจัดพิธีมอบทุนการศึกษาบุตร-ธิดานักข่าว เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ เมษายน  ๒๕๕๘ ได้แบ่งให้ทุนการศึกษาออกเป็น ๒ ประเภท  คือ ๑. ทุนส่งเสริมการศึกษา เป็นการให้ทุนแบบรายปี โดยใช้งบประมาณจากกองทุนการศึกษาเพื่อบุตร-ธิดา สมาชิกสมาคมฯ มีผู้ได้รับการอนุมัติทุนการศึกษาจำนวน ๑๐๑  ทุน ทุนละ ๔,๐๐๐ บาท เป็น เงิน ๔๐๔,๐๐๐ บาท และ ๒. ทุนต่อเนื่อง ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซิเมนต์ไทย โดยในปี  ๒๕๖๐ ได้รับการสนับสนุนเพิ่มอีก ๑๔ ทุน

๓.๒.๒ การมอบสินไหมมรณกรรมและการร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรมศพ สมาคมฯได้จัดทำประกันชีวิตกลุ่มให้กับสมาชิกที่ชำระเงินค่าบำรุงประจำปีกับ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต

๓.๒.๓ การจัดทำโครงการสวัสดิการผู้ป่วยนอกร่วมกับโรงพยาบาลเอกชน เพื่อเป็นการดูแลสวัสดิการด้านสุขภาพให้กับสมาชิก สมาคมฯได้จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับโรงพยาบาลเอกชน ๒ โรงพยาบาลคือ โรงพยาบาลเวชธานีและโรงพยาบาลพญาไท โดยสมาชิกสามารถเข้ารับการรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายครั้งละ ๑,๕๐๐ บาท ต่อคน คนละ ๖ ครั้งต่อไป และมีนโยบายที่จะประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆในลักษณะเดียวกันนี้ให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯทั้ง ๔ มุมเมือง

๔. คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ

ในปี  ๒๕๖๐  คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  แบ่งงานออกเป็น ๓กลุ่มงาน คือ

๔.๑ กลุ่มงานสร้างเครือข่ายวิชาชีพต่างประเทศ

๔.๑.๑ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-เวียดนาม    ดร.อนุชา เจริญโพธิ์ อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ และนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และที่ปรึกษาสมาคมฯ นำคณะรวม ๘ คน เดินทางเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นเวลา ๗ วัน ตามคำเชิญของสมาคมนักข่าวเวียดนาม (Vietnam Journalists Association) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนของแต่ละประเทศ โดยในปีนี้ คณะได้เดินทางเยือนกรุงฮานอย ซาปา และนครโฮจิมินห์ ระหว่างวันพุธที่ ๑๘ –วันอังคารที่  ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๐

โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนจีน-ไทยนี้เป็นโครงการที่สลับกันเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากแต่ละประเทศ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี  ๒๕๔๒  เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศอีกทั้งยัง เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ

๔.๑.๒ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-ลาว  นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมฯ และนายชวรงค์ ลิมป์

ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และที่ปรึกษาสมาคมฯ นำคณะรวม ๘ คน เดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นเวลา ๗ วัน ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๗ – วันพุธที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ตามคำเชิญของสมาคมนักข่าวลาว (Lao Journalists Association) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนของแต่ละประเทศ โดยในปีนี้ คณะได้เดินทางเยือนเมืองหงสา แขวงไซยะบุรี แขวงหลวงพระบาง และนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมระหว่าง ๒ สมาคม ฉบับใหม่ ที่จะมีระยะเวลา ๒ ปี ระหว่างปี ๒๕๖๑ ถึง ๒๕๖๒ ด้วย สนับสนุนงบประมาณโดยบริษัท ช.การช่าง จำกัด มหาชน

โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนลาว-ไทยนี้ เป็นโครงการที่สลับกันเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากแต่ละประเทศ เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศอีกทั้งยัง เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี  ๒๕๓๐

๔.๑.๒  โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนจีน-ไทย  Mr. Gong Zhengwen   Vice President and Editor-in-Chief of Hunan Daily นำคณะสมาคมนกข่าวจีน (All – China Journalists Association) จำนวน ๕ คน เดินทางเยือนประเทศไทยเป็นเวลา ๖ วัน ระหว่างวันจันทร์ที่ ๓ –วันเสาร์ที่  ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ตามคำเชิญของสมาคมฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนของแต่ละประเทศ โดยคณะได้เดินทางเยือนกรุงเทพฯ และจังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาดูงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road) ของรัฐบาลจีน

โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-จีน นี้เป็นโครงการที่สลับกันเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากแต่ละประเทศ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี  ๒๕๔๒ เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศอีกทั้งยัง เป็น

๔.๒ ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนนานาชาติ

๔.๒.๑ Southeast Asian Press Alliance (SEAPA)

๑) ผู้แทนสมาคมฯ ใน SEAPA Board of Trustees สมาคมฯ ได้แต่งตั้งนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และที่ปรึกษาสมาคมฯ เป็นผู้แทนสมาคมฯ ใน SEAPA Board of Trustees ในฐานะที่สมาคมฯ ซึ่งเป็นสมาชิกก่อตั้ง SEAPA ได้รับการเลือกตั้งจากองค์กรสมาชิกในการประชุมใหญ่สามัญ เมื่อปี ๒๕๕๘ ให้เข้าไปดำรงตำแหน่งใน SEAPA Board of Trustees ซึ่งมีวาระถึงปี ๒๕๖๑

๒) SEAPA Retreat: Toward a SEAPA membership strategy และ SEAPA Consultative Gender Action Planning Workshop  นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และที่ปรึกษาสมาคมฯ ในฐานะตัวแทนสมาคมฯ ใน SEAPA Board of Trustees นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมฯ และนางสาวสุมนชยา จึงเจริญศิลป์ กรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ เข้าร่วมการประชุม SEAPA Retreat: Toward a SEAPA membership strategy ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๕ –วันจันทร์ที่  ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ที่โรงแรมพูลแมน พัทยา จังหวัดชลบุรี

นายสุเมธ สมคะเน กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพ และปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ นางสาวสุมนชยา จึงเจริญศิลป์ กรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ นางสาวเพ็ญโสภา สุคนธรักษ์ อนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ และนางธนิดา ตันศุภผล อนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ เข้าร่วม SEAPA Consultative Gender Action Planning Workshop ที่โรงแรมพูลแมน พัทยา จังหวัดชลบุรี

๔.๒.๒ COCONET: Southeast Asia Digital Rights Camp โดย APC และ SEAPA

นางสาวหทัยรัตน์ พหลทัพ อนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพ และปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ เป็นตัวแทนสมาคมฯ ไปเช้าร่วมโครงการ COCONET: Southeast Asia Digital Rights Camp ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการสร้างเครือข่ายภายในภูมิภาค เผยแพร่ประเด็น และขยายแคมเปญเกี่ยวกับ Digital Rights โดยการเชื่อมโยง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย นักวิจัย นักรณรงค์ นักเทคโนโลยี และสื่อ โดยการมาแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ร่วมกัน ที่ยอกยากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซียระหว่างวันอาทิตย์ที่  ๒๒ -วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐

๔.๒.๓ SEAPA Dialogue Mission to Cambodia

นายชนะ ผาสุกสกุล รองเลขาธิการ และกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพ และปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ และนางสาวสุมนชยา จึงเจริญศิลป์ กรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ร่วมกับตัวแทนองค์กรสมาชิก SEAPA จากเมียนมา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และติมอร์ เลสเต ลงพื้นที่กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อพูดคุยภับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการเก็บข้อมูลสถานการณ์ด้านเสรีภาพสื่อมวลชน และสิทธิในการแสดงออก ในกัมพูชา โดยได้เข้าพบปะหารือและสอบถามสถานการณ์กับนายเขียว กันหะริด รัฐมนตรีข่าวสาร ราชอาณาจักรกัมพูชาด้วย เมื่อวันอังคารที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๐

****ลงวันที่***

๔.๒.๔ การจัดทำคู่มือสื่อมวลชนไทย – ลาว, ลาว – ไทย ฉบับปรับปรุง สมาคมฯ และสมาคมนักข่าวลาว เห็นพ้องร่วมกันที่จะปรับปรุงคู่มือสื่อมวลชนไทย – ลาว, ลาว – ไทย ซึ่งได้มีการจัดทำไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ ให้มีความทันสมัยในเรื่องข้อมูลมากขึ้น โดยคณะนี้ ทั้งสองฝ่ายได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อปรับคู่มือฯ ฉบับดังกล่าว โดยกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ สนับสนุนงบประมาณโดยบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และสายการบินไทย แอร์เอเชีย

๔.๓. กลุ่มงานพัฒนาศักยภาพนักข่าว ในปี ๒๕๖๐   คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ได้จัดการอบรมขึ้น ๔หลักสูตร

๔.๓.๑ อบรมความรู้พื้นฐานภาษาไทยสำหรับสื่อมวลชนกัมพูชา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมนักข่าวกัมพูชา (Club of Cambodian Journalists: CCJ)  จัดอบรมความรู้พื้นฐานภาษาไทยสำหรับสื่อมวลชนกัมพูชา โดยจะเรียนทั้งสิ้น ๑๐ สัปดาห์ รวม ๓๐ ชั่วโมง ระหว่างวันเสาร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ถึง ๘ เมษายน ๒๕๖๐

ผลการการทดสอบหาผู้ที่ได้รับคะแนนดีที่สุดเพื่อรับทุนมาฝึกปฏิบัติงานในประเทศไทยมี ๒ คน คือ Ms. Sorn Sokkheang จาก CNC TV ฝึกปฏิบัติงานที่สำนักข่าวไทย และ Mr. Leng Phearun จาก Sabay Digital Corp ฝึกปฏิบัติงานไทยที่รัฐออนไลน์ ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๒๑- วันอาทิตย์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ กับ  สนับสนุนงบประมาณโดย เอสซีจี และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ครูผู้สอนคือนายจันดารา ดวง (ชาวกัมพูชา)

๔.๓.๒ อบรมความรู้พื้นฐานภาษาเวียดนามสำหรับสื่อมวลชนไทย  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานภาษาเวียดนามสำหรับสื่อมวลชนขึ้นระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ – วันอาทิตย์ที่  ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐    โดยมีเวลาเรียนรวม ๓๐ ชั่วโมง ภายในระยะเวลา ๑๐ สัปดาห์ เน้นทักษะการอ่านและการสนทนา สอนโดยอาจารย์พิสิฐ  อำนวยเงินตรา หัวหน้าสาขาวิชาภาษาอาเซียน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผลการการทดสอบหาผู้ที่ได้รับคะแนนดีที่สุดเพื่อได้รับทุนเดินทางไปศึกษาดูงานและปฏิบัติงานข่าวในองค์กรสื่อมวลชนในประเทศเวียดนามมี ๒  คนคือ นางสาวอรุณรัตน์ เชื้อบาง พนักงานศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  ฝึกปฏิบัติงานที่หนังสือพิมพ์ Nhan Dan  และนางสาวอัญชลี ศิลปชัย บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๕ ฝึกปฏิบัติงานที่สำนักข่าวเวียดนาม ระหว่างวันจันทร์ที่ ๑๗ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐            สนับสนุนงบประมาณโดยบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และสายการบินไทย แอร์เอเชีย

๔.๓.๓ อบรมความรู้พื้นฐานภาษาไทยสำหรับสื่อมวลชนเวียดนาม  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้สนับสนุนให้สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งเวียดนาม (Vietnam Journalists Association) จัดอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานภาษาไทยสำหรับสื่อมวลชนเวียดนาม ผลการการทดสอบหาผู้ที่ได้รับคะแนนดีที่สุดเพื่อรับทุนมาฝึกปฏิบัติงานในประเทศไทยมี ๒ คน Ms. Nguyen Phuong Hang จาก Vietnam News Agency และ Ms. Nguyen Thi Thom จาก Business and Trade Magazine เดินทางมาฝึกปฏิบัติงานกับองค์กรสื่อในประเทศไทย ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๔ - วันอาทิตย์ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๑ กับสำนักข่าวไทย และหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และสายการบินไทย แอร์เอเชีย

๔.๓.๔ อบรมความรู้พื้นฐานภาษาอินโดนีเซียสำหรับสื่อมวลชนไทย  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดอบรมความรู้พื้นฐานภาษาอินโดนีเซียสำหรับสื่อมวลชนไทย  ขึ้นระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๖ สิงหาคม  – วันอาทิตย์ที่  ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๐   โดยมีเวลาเรียนรวม ๓๐ ชั่วโมง ภายในระยะเวลา ๑๐ สัปดาห์ หลักสูตรจะเน้นทักษะการอ่านและการสนทนา (Introduction to Bahasa Indonesia, Bahasa Indonesia Alphabets, Greeting & Introduction, Family, Hobby and Occupation, Food and Drink, Position, Direction and Location, Daily Activities, Shopping, Travelling, At the Hospital  สอนโดย Ms. Yanti Ovina Limiarti (ชาวอินโดนีเซีย)  อาจารย์ประจำศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผลการการทดสอบหาผู้ที่ได้รับคะแนนดีที่สุดเพื่อได้รับทุนเดินทางไปศึกษาดูงานและปฏิบัติงานข่าวในองค์กรสื่อมวลชนในประเทศอินโดนีเซียมี ๒  คนคือนางสาวพัชรินทร์ สารพูนทรัพย์ พนักงานศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  และ นางสาวผุสดี สิริวัชระเมตตา จากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ซึ่งทำคะแนนได้ดีที่สุดจากการสอบวัดผลในโครงการฯ ได้เดินทางไปฝึกปฏิบัติงานกับ Kompas กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๓ - วันอาทิตย์ที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ สนับสนุนงบประมาณโดย เอสซีจี, PTT Group และบริษัท ไพพรรณรัตน์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด

๔.๓.๕  โครงการ ASEAN Travel JOURNO CAMP สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสายการบินไทย แอร์เอเชีย จัดทำโครงการ TJA ASEAN Travel Journo Camp เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งอาเซียน  โดยเล็งเห็นความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชน ในฐานะกลไกสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับประชาชน เพื่อให้ประชาคมอาเซียนเข้มแข็ง ก้าวไปข้างหน้าโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดกิจกรรมค่ายผู้สื่อข่าวอาเซียนขึ้น โดยมีผู้สื่อข่าวรุ่นใหม่ ๑๗ คน จาก ๙ ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว เมียนมา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย เข้าร่วมศึกษาการท่องเที่ยวชุมชน และการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ระหว่างวันพฤหัสบดีที่  ๑๗ – วันศุกร์ที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๐

๔.๔ กิจกรรมอื่นๆของคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ

นอกเหนือจากโครงการต่างๆ โดยอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ แล้ว สมาคมฯ โดยอนุฯ ยังได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรม และงานต่างๆ ขององค์กร หรือหน่วยงานอื่นๆ ดังนี้

๔.๔.๑ เป็นส่วนช่วยประสานให้สมาคมนักข่าวกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน

ในฐานะสมาชิกของสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (Confederation of Thai Journalists) สมาคมฯ ซึ่งมีความสัมพันธ์ทวิภาคีกับสมาคมนักข่าวกัมพูชา (Club of Cambodian Journalists) ได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นตัวเชื่อมให้สมาคมนักข่าวกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ ๘ ของสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน ซึ่งได้มีการรับรองในการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ ๑๙ ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันพุธที่ ๒๔ – วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๑

๔.๔.๒ ร่วมต้อนรับคณะสื่อมวลชนเวียดนาม ซึ่งเดินทางเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

Mr. Tran Ba Dung Vice-president of Vietnam Journalists Association นำคณะจำนวน ๗ คน เดินทางเยือนประเทศไทยระหว่างวันจันทร์ที่ ๓ – วันอาทิตย์ที่  ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ตามคำเชิญของสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในโอกาสนี้สมาคมฯ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองอาหารเย็นคณะที่ห้องอาหารครัวกรุงเทพ เมื่อวันเสาร์ที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐

๔.๔.๓ ร่วมต้อนรับคณะสื่อมวลชนเวียดนาม ซึ่งเดินทางเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ จังหวัดเชียงใหม่

Mr. Lai Ba Ha รองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจนครหลวงฮานอย นำคณะจำนวน ๗ คน เดินทางเยือนประเทศไทย ตามคำเชิญของหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ จังหวัดเชียงใหม่ ในโอกาสนี้สมาคมฯ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองอาหารเย็นคณะที่ห้องอาหารครัวกรุงเทพ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๐

 

๕. คณะกรรมการอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ

ในปี ๒๕๖๐  คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ  ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นการประสานความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพสื่อและกิจกรรมที่ประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ดังนี้

๕.๑ งานด้านการระดมทุน

๕.๑.๑ ดินเนอร์ทอล์ค สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดงานดินเนอร์ทอล์คขึ้นเป็นประจำในวันที่ ๕ มีนาคมของทุกปีมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๙  งานดินเนอร์ทอล์คประจำปี ๒๕๖๐ จัดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๐ ณ ห้องวอเตอร์เกท บอลรูม ชั้น ๖ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท มีการปาฐกถา "สื่อมวลชนกับการสืบสานพระราชปณิธาน ในหลวง ร.๙"   โดยหม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานกรรมการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเลขาธิการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

๕.๑.๒ หนังสือวันนักข่าว สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดทำหนังสือวันนักข่าว ซึ่งเป็นหนังสือรายงานประจำปีเผยแพร่ทุกวันที่ ๔ มีนาคม นอกจากจะเป็นการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆของสมาคมฯแล้ว ยังได้รวบรวมผลการประกวดข่าวประเภทต่างๆของสมาคมฯเอาไว้ด้วย สมาคมฯได้มอบหมายให้บริษัท นักทุ่งเที่ยว จำกัด เป็นผู้ดำเนินการการจัดหาโฆษณา

๕.๒ งานด้านการบริหารจัดการ

๕.๒.๑ การบริหารบัญชีเงินฝาก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีกองทุนต่างๆอยู่จำนวน ๖ กองทุน ประกอบด้วย ๑.กองทุน ๖๐ ปี สมาคม ๒. กองทุนเพื่อสิทธิเสรีภาพสื่อ  ๓.กองทุนส่งเสริมจรรยาบรรณ ๔.กองทุนเหยี่ยวปีกหัก  ๕.กองทุนการศึกษาบุตรธิดานักข่าว และ ๖.กองทุนเงินสะสมพนักงาน เพื่อให้มีรายได้เพิ่มเติมจากแต่ละกองทุน จึงได้มีการบริหารกองทุน โดยการจัดสรรงบประมาณไปซื้อสลากออมสินและพันธบัตรที่มีความมั่นคง

๕.๒.๒ ปรับปรุงระบบบัญชีสมาคมฯ  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ได้ว่าจ้างสํานักงาน เอ็นแอนดเค การบัญชีและตรวจสอบ วางระบบบัญชีและจัดทำบัญชีของสมาคมฯ เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารงาน

๕.๓ โครงการบริจาคโลหิต  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  จัดกิจกรรมการบริจาคโลหิตขึ้นเป็นประจำทุกสามเดือน  โดยในปี ๒๕๖๐  จัดเมื่อวันพุธที่ ๙  สิงหาคม  ๒๕๖๐ (ครั้งที่ ๗) วันพฤหัสบดีที่  ๙พฤศจิกายน ๒๕๖๐ (ครั้งที่ ๘) และเมื่อวันพฤหัสบดีที่  ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ (ครั้งที่ ๙)     ณ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์

๕.๔ อบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานภาษาจีนสำหรับสื่อมวลชน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ศูนย์วัฒนธรรมจีน ได้จัดทำโครงการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานภาษาจีนสำหรับสื่อมวลชน (หลักสูตรจะเน้นทักษะการอ่านและการสนทนา) วันจันทร์ที่ ๑๙กันยายน  ๒๕๕๙ – วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มกราคม  ๒๕๖๐  โดยมีเวลาเรียนรวม ๙๐ ชั่วโมง ภายในระยะเวลา ๑๕สัปดาห์  เรียนสัปดาห์ละ ๒วัน คือทุกวันจันทร์ ระหว่างเวลา ๐๙.๒๐ - ๑๒.๐๐น. และทุกวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ศูนย์วัฒนธรรมจีน ถนนเทียมร่วมมิตร กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน ๒๕ คน

๕.๕  อบรมโครงการ  “เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐”  โดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้จัดอบรมโครงการ  “เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐”  ขึ้นที่สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ อาคาร เกษม อุทยานิน คณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โดยมีผู้เข้าอบรมประกอบด้วยสื่อมวลชนทุกแขนง  ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์  และสื่อสังคมออนไลน์  ระดับผู้สื่อข่าวภาคสนาม  หัวหน้าข่าว  จนถึงบรรณาธิการข่าวรวม ๔๖ คน

๕.๖ เนื่องจากกรณีที่มีกระแสข่าวตามสังคมสื่อออนไลน์พาดพิงถึงผู้บริหารองค์กรสื่อมีพฤติกรรมเข้าข่ายคุกคามทางเพศ  รวมทั้งความเคลื่อนไหวเข้าชื่อเรียกร้องให้องค์กรสื่อมีกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจึงได้ทาบทามและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริง ฯเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงให้เกิดความกระจ่างในความเป็นมาเป็นไปของกระแสข่าว  รวมทั้งเกิดความชัดเจนในข้อเท็จจริงของประเด็นที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล องค์กร ตลอดจนแวดวงสื่อสารมวลชนโดยรวม ให้มีกรอบระยะเวลาการทำงานภายใน ๙๐ วัน และได้ออกแถลงการณ์ผลการพิจารณารายงานการแสวงหาข้อเท็จจริงกรณีผู้บริหารองค์กรสื่อมีพฤติกรรมเข้าข่ายคุกคามทางเพศ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๑