รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๐ ประจำปี 2552
คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๐ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้ร่วมกันกำหนดนโยบายและทิศทางการบริหาร สมาคมฯ ภายใต้ ๔ ทิศทางหลัก คือ ๑. ส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพ ๒. คุ้มครองเสรีภาพสื่อนักข่าว ๓. พัฒนาบุคลากร และ ๔ .ส่งเสริมสวัสดิการ
โดยได้มีการจัดสรรภารกิจของคณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ ออกเป็นฝ่ายงานต่างๆ จำนวน ๖ ฝ่ายงาน ทำงานในรูปแบบของคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ดังนี้
๑.คณะอนุกรรมการฝ่ายพิจารณาบทบาทสมาคมในสถานการณ์เร่งด่วน ประกอบด้วย อนุกรรมการ จำนวน ๗ คน ดังนี้
๑. นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายก สมาคมฯ ประธาน
๒. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ อนุกรรมการ
๓. นายวันชัย วงศ์มีชัย อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๔. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๕. นายวัสยศ งามขำ รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๖. นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๗. นายวิษณุพงษ์ หิญชีระนันท์ กรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
โดยคณะอนุกรรมการ ชุดนี้จะทำหน้าที่ในการรวบรวมทั้งความเห็นและข้อเสนอต่างๆ จากบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการนำมาพิจารณาบทบาทสมาคมฯ ในสถานการณ์เร่งด่วน ทั้งในรูปแบบของการออกแถลงการณ์, การออกจดหมายเปิดผนึก และการเผยแพร่คำชี้แจงในเรื่องต่างๆ รวมทั้งทำความเข้าใจและสื่อสารกับสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆ ของสื่อ (ดูเอกสารแถลงการณ์ในเล่ม)
๒. คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ ประกอบด้วยที่ปรึกษาจำนวน ๕ คนและอนุกรรมการจำนวน ๑๒ คน ดังนี้
๑. ผศ. สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ปรึกษา
๒. ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนานุกุล คณบดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ปรึกษา
๓. นายภัทระ คำพิทักษ์ อดีต นายก สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๔. นางสาวนงค์นาถ ห่านวิไล เลขาธิการ สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๕. นายจักรกฤษณ์ เพิ่มพูน หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ที่ปรึกษา
๖. นางสาวเย็นจิตร์ สถิรมงคลสุข อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ ประธาน
๗. นายธีรเดช เอี่ยมสำราญ อดีตเลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๘. นางสาวนภาภรณ์ พิพัฒน์ อดีตอุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๙. นางสาวน.รินี เรืองหนู อดีต รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๐. นางสาวจีรวัฒน์ ณ ถลาง อดีตกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๑. นางสาวเบญจวรรณ สมสิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อนุกรรมการ
๑๒. นายธาม เชื้อสถาปนศิริ โครงการมีเดีย มอนิเตอร์ อนุกรรมการ
๑๓. นายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ อนุกรรมการ
๑๔. นายปกรณ์ รัตนทรัพย์ศิริ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ อนุกรรมการ
๑๕. นายวิษณุพงษ์ หิญชีระนันท์ กรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๖. นายราม อินทรวิจิตร กรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๗. นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ เลขานุการคณะอนุกรรมการ
ในปี ๒๕๕๒ คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ แบ่งงานออกเป็น ๕ กลุ่มงาน คือ
๒.๑ กลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ ได้มีการจัดทำโครงการในกลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ จำนวน ๓ โครงการ ดังนี้
๒.๑.๑ ราชดำเนินเสวนา เป็นโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๑๑ ซึ่งเป็นความริเริ่มจากสมัยที่นายกวี จงกิจถาวร เป็นนายก สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๒) มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการทำงานข่าวให้มีคุณภาพและอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง โดยมีการเชิญแหล่งข่าวมาพบปะพูดคุยและตอบคำถามนักข่าว เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างนักข่าวกับแหล่งข่าวในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ผ่านทางสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ได้จัดราชดำเนินเสวนาไปจำนวน ๒๐ ครั้ง ดังนี้
๑. คดีสิ่งแวดล้อมจากมาบตาพุด ถึงแม่เมาะ ทางออกอยู่ตรงไหน (๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ) ๒. พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ปกป้องหรือคุกคาม(๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒) ๓. บำนาญแห่งชาติหลักประกันรายได้ยามชรา(๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒) ๔. ถึงเวลา ประเทศไทย มี พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะได้หรือยัง? (๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒) ๕. สิทธิเกษตรกร สิ่งที่หายไปใน พ.ร.บ. สภาเกษตรกรแห่งชาติ(๑o พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒) ๖. การเข้าถึงยาของคนไทย...ทำไมใช้ยาแพง(๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒) ๗. สื่อและประชาธิปไตยในวิกฤต : บทบาทและความรับผิดชอบของสื่อ? (๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒) ๘. รัฐธรรมนูญมาตรา ๑๙๐ : ปัญหาที่มีอยู่จริง หรือเพียงเกมส์การเมือง? (๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒) ๙. ไข้หวัดใหญ่ 2009 กับบทเรียนระบบสาธารณสุขไทย (๑๖สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒) ๑๐. เหรียญเจริญวัดอักษร ( ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒) ๑๑. แนวทางการรายงานข่าวเพื่อการป้องกันและแพร่ระบาดโรคอุบัติใหม่ ( ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒) ๑๒. ข่าวสืบสวน : พลังอำนาจของข่าวสารพลังปัญญาของสังคม (๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒) ๑๓. มองปรากฏการณ์ แกรมมี่ ซื้อหุ้นโพสต์-มติชน ธุรกิจ การเมืองและเสรีภาพสื่อมวลชน (๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒)
๑๔. เครื่องตรวจระเบิด จีที ๒๐๐ ประสิทธิภาพเต็มร้อยจริงหรือ ? ( ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒) ๑๕. รู้เขารู้เรา พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง? (๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒) ๑๖. นครปัตตานี...ทางออกในวาระ ๖ ปีไฟใต้? (๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒) ๑๗. คนไร้รัฐกับการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ (๒o ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒) ๑๘. มาบตาพุด วิกฤต หรือ โอกาส ? (๒o ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒) ๑๙. สังหารหมู่นักข่าวที่มากินดาเนา:การคุกคามสื่อจากฟิลิปปินส์ถึงไทย (๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒) ๒๐. ถามหาความเป็นธรรมด้านสุขภาพให้คนไทยไร้สถานะ”(๓๑ มกราคม ๒๕๕๓)
สามารถติดตามเนื้อหาราชดำเนินเสวนาได้ที่ www.tja.or.th
๒.๑.๒. รายการวิทยุช่วยกันคิดทิศทางข่าว เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ กับสำนักข่าวไทยและบริษัท อสมท. จำกัด มหาชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท. FM ๑๐๐.๕ Mhz ทุกวันอาทิตย์เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐น. เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักข่าวรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯ รวมทั้งเป็นเวทีในการสื่อสารเรื่องราวที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนให้สาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งการวิเคราะห์ถึงทิศทางข่าวในสัปดาห์ต่อไป
สำหรับนักจัดรายการประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มีจำนวน ๘ คนคือ ๑. นายธีรเดช เอี่ยมสำราญ, ๒.นายราม อินทรวิจิตร, ๓. นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา, ๔.นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง, ๕.นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์, ๖.นายวีรศักดิ์ พงศ์อักษร, ๗. สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี และ๘. นายมานพ ทิพย์โอสถ ติดตามฟังรายการวิทยุย้อนหลังได้ที่ www.tja.or.th
๒.๑.๓ www.tja.or.th เป็นเวบไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข่าวสารต่างๆ ของสมาคมฯ ทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรม,รายงานกิจกรรม,กฎหมายที่เกี่ยวข้อง,ประวัติความเป็นมา,จุดยืนและท่าทีของสมาคมฯต่อสถานการณ์ต่างๆของบ้านเมือง รวมทั้งการบันทึกผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ และเป็นชุมชนออนไลน์ของนักวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน ในการแลกเปลี่ยนทัศนะของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน และนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงสื่อสารมวลชน
๒.๒ กลุ่มงานหนังสือ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ฝ่ายวิชาการ สมาคม ได้จัดทำหนังสือรวม ๒ เล่ม ดังนี้
๒.๒.๑ จุลสารราชดำเนิน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สมาคมฯ ได้จัดทำจุลสารราชดำเนินโดยออกเป็นรายสามเดือนจำนวน ๒ ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับมีเนื้อหาที่น่าสนใจ ได้รับเสียงสะท้อนอย่างดีทั้งจากสมาชิกสมาคมฯ สถาบันวิชาการและผู้สนใจทั่วไป จุลสารราชดำเนินประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “คนเล่าข่าว” ๑ ฉบับและเนื้อหาเรื่อง “หนังสือพิมพ์กำลังจะตาย” อีก ๑ ฉบับ อ่านเนื้อหาจุลสารราชดำเนินฉบับย้อนหลังได้ที่ www.tja.or.th
๒.๒.๒ หนังสือวันนักข่าว “เทคโนโลยีกับการปรับตัวของสื่อ” หนังสือวันนักข่าวเป็นหนังสือรายงานประจำปีที่สมาคมฯ ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการข่าวและหนังสือพิมพ์ ตลอดจนรายงานกิจกรรมของสมาคม และทำเนียบรายชื่อนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่เป็นสมาชิกสมาคม เนื้อหาหลักในปีนี้เน้นเรื่อง “เทคโนโลยีกับการปรับตัวของสื่อ” ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ, วรรณกรรมบนสื่อออนไลน์กับผลกระทบต่อสิ่งพิมพ์,เทคโนโลยี 3G มีการแจกจ่ายหนังสือวันนักข่าวถึงมือสมาชิก สมาคมฯ ในวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมฯ
๒.๓ กลุ่มงานฝึกอบรม ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สมาคมฯ ได้จัดทำโครงการด้านการฝึกอบรม ๓ โครงการ ดังนี้
๒.๓.๑ โครงการชุมนุมนักข่าวประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สมาคมฯ ร่วมกับสถาบันอิศรา จัดทำโครงการชุมนุมนักข่าวประจำปีพ.ศ. ๒๕๕๒ ขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ ๕ – วันอาทิตย์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ณ บ้านสวนสาริการีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยจัดกิจกรรมขึ้นในรูปแบบของการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สื่อข่าวซึ่งเป็นนักข่าวที่ปฏิบัติงานอยู่ในสนามข่าว เพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านวิชาการ ไปสนับสนุนด้านวิชาชีพ โดยในการอบรมครั้งนี้มีนักข่าวเข้าร่วมจำนวน ๒๗ คน จากหนังสือพิมพ์ ๑๒ ฉบับ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
๒.๓.๒ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวพิราบน้อยรุ่น ๑๒ เป็นโครงการต่อเนื่องจัดขึ้นเป็นปีที่ ๑๒ ซึ่งหากนับถึงปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมร่วม ๑,๐๐๐ คนแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้านสิ่งพิมพ์ (Professional Development) ความรับผิดชอบต่อจริยธรรมในวิชาชีพ (Ethics Responsibility) และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะองค์กรเพื่อสังคม (Organizational Social Responsibility) ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสถาบันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักข่าวรุ่นพี่ที่ทำงานทั้งในภาคสนาม และในส่วนของผู้บริหารงานข่าว อันเป็นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการปลูกฝังอุดมคติให้กับนักศึกษาด้วย ในรุ่นที่ ๑๒ มีนักศึกษาที่เรียนด้านหนังสือพิมพ์จากสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมอบรมจำนวน ๗๒ คน จัดอบรมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๖ - วันอาทิตย์ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ อุทยานการเรียนรู้ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน
๒.๔. กลุ่มงานเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นเครือข่ายที่นักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนร่วมกันก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ๓ กิจกรรม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ผ่านทางสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ดังนี้
๒.๔.๑ ห้องเรียนสาธารณะ เป็นกิจกรรมที่เน้นการถ่ายทอดความรู้ และเทคนิค ทางวิชาชีพสื่อมวลชน แก่นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากภาควิชาชีพไปสู่ภาควิชาการ นอกจากนี้ ยังเป็นการ เตรียมความรู้ให้กับกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่กำลังจะเข้ามาสู่วิชาชีพข่าว ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ จัดไปแล้ว ๓ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นการถอดประสบการณ์ข่าวเจาะเรื่อง “หายนะฟองสบู่ซับไพรม สู่วิกฤตเศรษฐกิจไทย (๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒), ครั้งที่ ๒ จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และสมาคมนักข่าวบันเทิง เรื่อง สื่อไทย-ข่าวบันเทิง : รูปแบบ – เนื้อหา แค่ไหนพอดี?” (๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒) และครั้งที่ ๓ จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามและโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor)เรื่อง “เบื้องลึก..รายการคุยข่าว/เล่าข่าว : บทสะท้อนคุณค่าต่อสังคม ” (๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒)
๒.๔.๒ ประชุมเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อสารมวลชน โดยนำเอาประเด็นทางวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่น่าสนใจมาแลกเปลี่ยนกัน จัดไปแล้ว ๓ ครั้งคือ ครั้งที่ ๑ เมื่อ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัทยา โดยในการประชุมครั้งนี้ได้มีการจัดเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “หลักสูตรนิเทศศาสตร์” โดยนักวิชาการที่เข้าร่วมมาจากสถาบันการศึกษาในภาคกลาง, ครั้งที่ ๒ จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เน้นประเด็นเรื่องจริยธรรมสื่อ โดยนักวิชาการที่เข้าร่วมมาจากสถาบันการศึกษาในภาคเหนือและครั้งที่ ๓ จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เน้นประเด็น “วิชาการ – วิชาชีพสื่อสารมวลชน : บูรณาการและเสริมสร้างเครือข่ายความรู้” โดยนักวิชาการที่เข้าร่วมมาจากสถาบันการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ
๒.๔.๓ ประชุมใหญ่ทางวิชาการสื่อสารมวลชน สมาคมฯ ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา
และสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย จัดทำโครงการประชุมวิชาการวิชาชีพสื่อสารมวลชน ระดับชาติ หัวข้อ “บทเรียนสื่อ : อำนาจรัฐ อำนาจทุน อำนาจประชาชน ?” เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๖-วันอาทิตย์ที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ ๑. เป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศศาสตร์ประจำปี, ๒.เผยแพร่ความก้าวหน้าของความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน ให้เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน, ๓.เผยแพร่ผลงานการวิจัยให้เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชนในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม, และ ๔. สะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและเชิงวิชาการต่อประเด็นวิกฤติการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และเพื่อพบปะแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิชาการและนักวิชาชีพ มีนักวิชาการและสื่อมวลชนจากทั่วประเทศเข้าร่วม ๒๐๐ คน ได้รับเกียรติจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายก รัฐมนตรี มาแสดงปาฐกถาเรื่อง “ร่วมกันคิดทิศทางสื่อ”
๒.๕. กลุ่มงานประกวดข่าว
๒.๕.๑ การประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สมาคมฯ ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิอิศรา อมันตกุล ให้ดำเนินการจัดการประกวดข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม รางวัลอิศรา อมันตกุล เพื่อเป็นการรำลึกถึงนายอิศรา อมันตกุล นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรกและนักหนังสือพิมพ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กรอบจริยธรรม โดยดำเนินการจัดการประกวดมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ สำหรับในปี ๒๕๕๒ มีผลงานงานข่าวส่งเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวยอดเยี่ยมจำนวน ๑๓ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๗ ฉบับ และส่งผลงานภาพข่าวเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทภาพข่าวยอดเยี่ยมจำนวน ๑๐๑ ภาพ จากหนังสือพิมพ์ ๘ ฉบับ
๒.๕.๓ การประกวดรางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๒ ของชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมฯ ได้มอบหมายให้ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวดข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ซึ่งจัดการประกวดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ สำหรับในปี ๒๕๕๒ มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน ๕ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๕ ฉบับ
๒.๕.๔ การประกวดรางวัลพิราบน้อย ประจำปี ๒๕๕๒ เป็นการประกวดผลงานฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีการทำหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ โดยแบ่งการประกวดออกเป็น ๔ ประเภท คือ ๑.หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ๒. ข่าวฝึกปฏิบัติ ๓.ข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ ๔.สารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ (รางวัลริต้า ปาติยะเสวี) เริ่มจัดการประกวดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำหนังสือพิมพ์และการทำข่าวของนิสิตนักศึกษาวิชานิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันการศึกษา กับสมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน ในปี ๒๕๕๒ มีผลงานฝึกปฏิบัติส่งเข้าประกวด ดังนี้ ๑. หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติจำนวน ๑๓ ฉบับ จาก ๑๒ มหาวิทยาลัย ๒. ข่าวฝึกปฏิบัติจำนวน ๒๗ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๑๒ ฉบับ ๓. ข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติจำนวน ๑๔ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๘ ฉบับ และ ๔. สารคดีเชิงข่าวรางวัลริต้า ปาติยะเสวีจำนวน ๑๖ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๑๐ ฉบับ
๒.๕.๕ กองทุนเพื่อการฝึกอบรม และรางวัลประกวดข่าว คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ ได้ริเริ่มจัดตั้งกองทุนเพื่อการฝึกอบรม และรางวัลประกวดข่าวขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ และเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษาด้านวารศาสตร์และนิเทศศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ประจำปี และจัดสรรเป็นเงินรางวัลในการประกวดข่าวประเภทต่างๆ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการกำหนดระเบียบของกองทุนและจัดกิจกรรมระดมทุน
๓. คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยที่ปรึกษาจำนวน ๓ คนและอนุกรรมการจำนวน ๑๐ คน ดังนี้
๑. นางเรวดี พงษ์ไชยยงค์ หนังสือพิมพ์มติชน ที่ปรึกษา
๒. นายดำฤทธิ์ วิริยะกุล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่ปรึกษา
๓. นายวัสยศ งามขำ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ที่ปรึกษา
๔. นายมนตรี จุ้ยม่วงศรี กรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ ประธาน
๕. นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง หนังสือพิมพ์แนวหน้า อนุกรรมการ
๖. นายนิติพันธ์ สุขอรุณ หนังสือพิมพ์แนวหน้า อนุกรรมการ
๗. นางสาวเบญจมาศ เลิศไพบูลย์ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ อนุกรรมการ
๘. นายอนิรุตน์ มีสกุล หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ อนุกรรมการ
๙. นายธเนศ นุ่นมัน หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ อนุกรรมการ
๑๐. นายสุเมธ สมคะเน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ อนุกรรมการ
๑๑. นายโอฬาร เลิศรัตนดำรงกุล หนังสือพิมพ์บ้านเมือง อนุกรรมการ
๑๒. นางสาวชุติมา นุ่นมัน หนังสือพิมพ์มติชน อนุกรรมการ
๑๓. นางสาวออริสา อนันทะวัน หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เลขานุการคณะอนุกรรมการ
ได้มีการแบ่งเนื้อหาของคณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ออกเป็นแผนงานด้านต่างๆ จำนวน ๒ ด้าน ดังนี้
๓.๑ แผนงานด้านสมาชิกสัมพันธ์
๓.๑.๑ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ พิราบ fit & firm สมาคมฯ ได้ร่วมกับเครือข่ายคนไทยไร้พุง จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติ พิราบ fit & firm ขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๙ – วันอาทิตย์ที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ ภูไอยรารีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายคนไทยไร้พุ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดจากการทำงานของนักข่าวทั้งในภาคสนามและนักข่าวที่ทำงานในระดับบริหาร ซึ่งต่างก็มีความเครียดที่เกิดจากสภาพการทำงานที่เต็มไปด้วยความกดดันและขาดการดูแลทั้งทางด้านสุขภาพและการบริหารจิตใจ มีผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งสิ้น ๔๖ คน
กิจกรรมในการอบรมประกอบด้วยการทำบรรยายเรื่องหลักโภชนาการ, การทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์, การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ, การฝึกบริหารร่างกายด้วยโยคะและไทเก็ก, การเสวนาเรื่องสื่อรู้ทันปัญหาสุขภาพ และการเสวนาเรื่องทำข่าวอย่างไรไม่ให้เครียด
๓.๑.๒ โครงการปั้นนักข่าวเป็นนักเขียนรุ่น ๓ สมาคมฯ ร่วมกับสถาบันอิศรา และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการปั้นนักข่าวเป็นนักเขียนรุ่น ๓ ขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ – วันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ บ้านทิพย์สวนทอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม สนับสนุนงบประมาณโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่นักข่าว และการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับนักข่าวในการนำไปพัฒนาการเขียนข่าวและการเขียนในรูปแบบอื่นๆ การอบรมเน้นการฝึกปฏิบัติจริงในการเขียนเรื่องสั้น โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานวรรณกรรม อาทิ นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปิน นักเขียน บรรณาธิการ, นางชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนฯ, นางสาวรุ่งมณี เมฆโสภณ สื่อมวลชนอิสระ, นายประชาคม ลุนาชัย นักเขียนรางวัลซีไรต์ ,นายเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีซีไรท์ และนายวัชระ สัจจะสารนักเขียนรางวัลซีไรต์ และนายจักรกฤษณ์ สิริริน บรรณาธิการนิตยสาร Vote มีนักข่าวเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๒๕ คน และมีการรวบรวมผลงานของนักเขียนที่เข้าร่วมการอบรมพิมพ์เป็นหนังสือเล่ม “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ซึ่งจะแจกในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๓ วันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมฯ
๓.๒ แผนงานด้านสวัสดิการสมาชิก
๓.๒.๑ การจัดพิธีมอบทุนการศึกษาบุตร-ธิดานักข่าว สมาคมฯ มอบทุนการศึกษาบุตร-ธิดานักข่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้แบ่งให้ทุนการศึกษาออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ทุนส่งเสริมการศึกษา เป็นการให้ทุนแบบรายปี โดยใช้งบประมาณจากกองทุนการศึกษาเพื่อบุตร-ธิดา สมาชิกสมาคมฯ มีผู้ได้รับการอนุมัติทุนการศึกษาจำนวน ๑๕๒ ทุน ทุนละ ๔,๐๐๐ บาท เป็น เงิน ๖๐๘,๐๐๐ บาท และ ๒. ทุนต่อเนื่อง ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซิเมนต์ไทย เป็นปีที่ ๒ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับการสนับสนุนเพิ่มอีก ๑๐ ทุน และได้รับการอนุมัติทุนต่อเนื่องจากมูลนิธิฯเพิ่มเป็นกรณีพิเศษอีก ๒ ทุน เพื่อมอบให้กับบุตรของนักข่าวมติชนซึ่งเสียชีวิตระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ครอบครัวละ ๑ ทุน รวมจำนวน ๒ ทุนคือ ๑. เด็กชายพงศ์ชนก ไชยนุรัตน์ บุตรของนายอธิวัฒน์ ไชยนุรัตน์ (นักข่าวนสพ.มติชน จ.นครศรีธรรมราช)และ ๒. เด็กหญิงจิรารัตน์ บุตรของนายจารึก รังเจริญ (นักข่าวนสพ.มติชน จ.สุพรรณบุรี)
กิจกรรมในวันมอบทุนการศึกษา ได้มีการจัดกิจกรรม “วาดเส้น เล่นสี” ประกวดวาดภาพในหัวข้อครอบครัวของฉัน และกิจกรรมสันทนาการกับบุตร-ธิดาที่มาร่วมงานและมีการจัดเลี้ยงอาหารกลางวัน ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ได้รับความสนใจจากบุตร-ธิดา สมาชิก เข้าร่วมประมาณ ๒๐๐ คน
๓.๒.๒ การมอบสินไหมมรณกรรม สมาคมฯได้จัดทำประกันชีวิตกลุ่มให้กับสมาชิกที่ชำระเงินค่าบำรุงประจำปีกับบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สมาคมฯ ได้ส่งมอบสินไหมมรณกรรมให้กับทายาทของสมาชิกที่เสียชีวิตจำนวน ๔ รายคือ ๑. ทายาทของนายประเสริฐ ประภากิจ (วิสามัญ สมาชิก) ๒. ทายาทของนายธีรวัฒน์ ช่วยเจริญพงษ์ (นสพ. เดลินิวส์) ๓. ทายาทของนายวุฒิ นกสกุล (นสพ. เดลินิวส์) และ ๔. ทายาทของนายสาธิต ไตรธรรม (นสพ. เดลินิวส์)
๓.๒.๓ คัดเลือกนักข่าวเข้ารับการศึกษาหลักสูตรพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่ ๑ (พ.ต.ส.๑) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สมาคมฯ ได้คัดเลือกนางสาวจินตนา จันทร์ไพบูลย์ หนังสือพิมพ์สยามรัฐและกรรมการฝ่ายสวัสดิการ สมาคมฯ ซึ่งมีความสนใจเข้าศึกษาหลักสูตรพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
๓.๒.๔ คัดเลือกนักข่าวเข้ารับทุนการศึกษาระดับมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาระดับมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยศรีปทุมจำนวน ๑ ทุน โดยได้คัดเลือกนายเสถียร วิริยะพรรณพงศา ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเนชั่นและอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพ สมาคมฯ เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต โดยเกณฑ์การคัดเลือกผู้สื่อข่าวเข้ารับทุนการศึกษา นั้นต้องเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้กับสมาคมฯ มีความสนใจและรับผิดชอบในการศึกษาต่อ (ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ สมาคมฯ ได้ส่งนายธีรเดช เอี่ยมสำราญ บรรณาธิการเวบไซต์หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจและอดีตเลขาธิการ สมาคมฯ เข้าศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต)
๓.๒.๕ คัดเลือกนักข่าวเข้ารับการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ ๒ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สมาคมฯ ได้คัดเลือกนายวัสยศ งามขำ ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และรองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ซึ่งมีความสนใจในเรื่องสิทธิเสรีภาพและการสร้างสันติสุข เข้าศึกษาหลักสูตร การเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ ๒ ของสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า โดยจะเริ่มเรียนตั้งแต่วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
๔. คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ ประกอบด้วยที่ปรึกษาจำนวน ๑ คนและอนุกรรมการ จำนวน ๗ คน ดังนี้
๑. นายกวี จงกิจถาวร อดีตนายก สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๒. นางสาวบุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ อุปนายก ฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ประธาน
๓. นายตุลสถิตย์ ทับทิม อดีต อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๔. นางสาวจีรวัฒน์ ณ ถลาง หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น อนุกรรมการ
๕. นางสาวกุลชาดา ชัยพิพัฒน์ เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเซียอาคเนย์ อนุกรรมการ
๖. นางสนิทสุดา เอกชัย หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ อนุกรรมการ
๗. นายอนุชา เจริญโพธิ์ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ อนุกรรมการ
๘. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ อนุกรรมการ
คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ ได้แบ่งแผนงานออกเป็น ๒ แผนงาน คือ
๔.๑ ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนระหว่างประเทศ
๔.๑.๑ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนจีน-ไทย สมาคมฯ ได้ให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชนจีนจำนวน ๙ คน นำโดย Mr.Yu Qingchu Director, department of newspaper management, People’s Daily ซึ่งมาเยือนประเทศไทย ในนามของสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (All China Journalists Association – ACJA) เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๕ – วันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ ได้รับการสนับสนุนการต้อนรับจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, เมืองพัทยา, สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ไทย-จีน , โดยนอกจากจะมีการเยี่ยมชมและพบปะกับผู้บริหารองค์กรสื่อ อาทิ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, หนังสือพิมพ์มติชน, กรมประชาสัมพันธ์ และสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยแล้ว ยังมีการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง”กฎหมายการควบคุมสื่อในประเทศไทย ระบบการจัดการและการบริหารสื่อมวลชนในประเทศและการควบคุมดูแลตัวเองของสื่อไทย” และการทัศนศึกษานอกสถานที่ที่พัทยาและจังหวัดกระบี่
โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนจีน-ไทยนี้เป็นโครงการที่ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากแต่ละประเทศ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศอีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
๔.๑.๒ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนลาว-ไทย เป็นโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ในลักษณะเดียวกับโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์จีน-ไทย เริ่มต้นแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายก สมาคมฯ เป็นหัวหน้าคณะนำสื่อมวลชนไทยอีก ๘ คน ประกอบด้วย ๑. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ (เลขาธิการ สมาคมฯ) ๒. นางสาวผุสดี คีตวรนาฏ (อดีตนายกสมาคมฯ) ๓. นายราม อินทรวิจิตร (กรรมการบริหาร สมาคมฯ) ๔. นายเขมชาติ ชวนะธิต (กรรมการบริหาร สมาคมฯ) ๕. นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ (กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมฯ) ๖. นายสมาน สุดโต (กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมฯ) ๗. นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง (อนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ) และ ๘. นายกนก สิริกาญจน (เจ้าหน้าที่อาวุโส สมาคมฯ) ไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามคำเชิญของ สมาคมนักข่าวแห่ง ส.ป.ป. ลาว (Laos Journalists Association) เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ – วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ในการไปเยือนครั้งนี้ได้มีการทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสื่อมวลชนไทย-ลาว เพื่อส่งเสริมและขยายความสัมพันธ์ร่วมมือกันระหว่างสมาคมนักข่าวแห่งสปป.ลาวกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยด้วย
๔.๒ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาคมฯกับองค์กรต่างประเทศในระดับนานาชาติ
๔.๒.๑ ประชุมใหญ่สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน สมาคม ได้มอบหมายนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายก สมาคมฯ พร้อมด้วยนายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการ สมาคมฯ และนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ เข้าร่วมการประชุมใหญ่สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน ครั้งที่ ๑๖ ที่ โรงแรมนิโก้ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
กิจกรรมในงานประกอบด้วยการส่งมอบตำแหน่งประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์อาเซียนซึ่งดำรงตำแหน่งโดยนางสาวนาตยา เชษฐโชติรส อดีตนายก สมาคมฯ ให้กับผู้แทนจากประเทศมาเลเซีย, การจัดแผนปฏิบัติการกัวลาลัมเปอร์ 2009-2011 ซึ่งเน้นการพัฒนาสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน ให้เป็นหนึ่งในองค์กรประชาคมขององค์กรอาเซียน รวมถึงการจัดแสดงนิทรรศการและประกวดภาพข่าวของสื่อมวลชนในอาเซียน ซึ่งใช้ชื่อหัวข้อการประกวดว่า “ภาพข่าวที่คนอยากรู้” โดยให้แต่ละประเทศคัดเลือกภาพที่ดีที่สุดประเทศละ ๕ ภาพ ส่งมาประกวด
ในส่วนของภาพข่าวจากประเทศไทยนั้น ได้มีการคัดเลือกภาพข่าวจาก นสพ.ไทยรัฐ ๓ ภาพ (ถ่ายโดยนายกิตติ วงษ์ใบแก้ว , นายประสิทธิ์ นิเวศน์ทอง และนายธนิศา ตันติเจริญ), ภาพข่าวจาก นสพ.ข่าวสด ๑ ภาพ (ถ่ายโดยนายจุลวัฒน์ ถีติปริวัตร์) และภาพข่าวจาก นสพ.บางกอกโพสต์ ๑ ภาพ (ถ่ายโดยนายภาวัตร โอไพศาลทักษิณ) ผลการตัดสินปรากฏว่าภาพข่าว กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงกำลังทุบรถนายกรัฐมนตรี ถ่ายโดยนายกิตติ วงษ์ใบแก้ว นสพ. ไทยรัฐ ได้รับรางวัลที่ ๒
๔.๒.๒ การรณรงค์กรณีสังหารหมู่นักข่าวฟิลิปปินส์ที่มากินดาเนา สมาคมฯได้ร่วมกับองค์กร ๔๘ องค์กรเคลื่อนไหวด้านสิทธิเสรีภาพสื่อจากทั่วโลก รณรงค์กรณีสังหารหมู่นักข่าวฟิลิปปินส์ที่มากินดาเนา ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งทำให้มีผู้สื่อข่าวเสียชีวิต ๓๐ คน จากยอดผู้เสียชีวิตที่พบศพแล้วทั้งสิ้น ๕๗ คน
ในเบื้องต้นสันนิษฐานว่าการสังหารหมู่ครั้งนี้มีสาเหตุมาจากการเมืองท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งของสองตระกูลเจ้าพ่อที่มีอิทธิพล ในพื้นที่ของจังหวัดมากินดาเนา นอกจากนี้ในบรรดาผู้ที่ถูกสังหาร มีภริยาของหัวหน้าคนหนึ่งของตระกูลมาดูดาดาตูที่กำลังจะลงสมัครท้าชิง ตำแหน่งผู้ราชการจังหวัดมากินดาเนาซึ่งตกเป็นของผู้นำคนหนึ่งของตระกูลอัมปาตวนที่เป็นศัตรูกันอยู่
โดยสมาคมฯ ได้ร่วมกับเครือข่ายองค์กรที่ทำงานรณรงค์ด้านสิทธิเสรีภาพสื่อจากทั่วโลกออกแถลงการณ์แสดงท่าทีต่อกรณีการสังหาร(เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒) , การมอบหมายให้นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ เดินทางไปฟิลิปปินส์ เพื่อกดกันรัฐบาลให้เร่งหาตัวคนผิดมาลงโทษ (เมื่อวันจันทร์ที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒) , การเข้าพบนายอันโตเนียว เวนุส โรดรีเกซ เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ประจำประเทศไทย เพื่อยื่นจดหมายยื่นจดหมายถึงประธานาธิบดี ประเทศฟิลิปปินส์ (เมื่อวันอังคารที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๒) รวมทั้งการบริจาคเงินจำนวน ๑,๐๐๐ US$ ให้สมาคมนักข่าวฟิลิปปินส์ เพื่อช่วยเหลือด้านคดีและครอบครัวนักข่าวที่ถูกสังการ
๕. คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ ประกอบด้วยที่ปรึกษาจำนวน ๕ คนและอนุกรรมการ จำนวน ๑๔ คน ดังนี้
๑. นายกวี จงกิจถาวร อดีตนายก สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๒. นายดำฤทธิ์ วิริยะกุล อดีตอุปนายก สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษา
๓. นายภัทระ คำพิทักษ์ อดีตนายก สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๔. นายตุลสถิตย์ ทับทิม อดีต อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๕. นางสาวกุลชาดา ชัยพิพัฒน์ เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ ที่ปรึกษา
๖. นายวันชัย วงศ์มีชัย อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ประธาน
๗. นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๘. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๙. นายจำนงค์ ศรีนคร หนังสือพิมพ์มติชน อนุกรรมการ
๑๐. นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง หนังสือพิมพ์แนวหน้า อนุกรรมการ
๑๑. นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น อนุกรรมการ
๑๒. นายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ อนุกรรมการ
๑๓. นายประกาศิต คำพิมพ์ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อนุกรรมการ
๑๔. นายอุดม ไพรเกษตร สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย อนุกรรมการ
๑๕. นายภาณุพงษ์ วงษ์รอด ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ อนุกรรมการ
๑๖. นายสัญญา เอียดจงดี สภาทนายความ อนุกรรมการ
๑๗ .นายธนดล มีถม อดีตอุปนายกฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๘. นายปราเมศร์ เหล็กเพชร์ รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ อนุกรรมการ
๑๙. นายวัสยศ งามขำ รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ เลขานุการอนุกรรมการ
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
๕.๑ แผนงานรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพสื่อ
๕.๑.๑. โครงการฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day – 3 MAY) เป็นโครงการต่อเนื่องที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันที่ ๓ พฤษภาคม เนื่องจากเป็นวันที่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก้ ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ ๓ พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก ซึ่งก็คือเสรีภาพในการแสดงออก ตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๓ สมาคมฯ ก็ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าวมาโดยตลอด
ในปี ๒๕๕๒ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒กิจกรรมประกอบด้วย การแถลงผลสำรวจการใช้ภาษาที่นำไปสู่ความขัดแย้งของสื่อมวลชนไทย โดย นายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor), การถอดบทเรียนการทำหน้าที่สื่อมวลชนในสถานการณ์ความรุนแรงจากสื่อต่างชาติ, การเสวนาหัวข้อ “เสรีภาพสื่อมวลชนไทย จะช่วยเติมหรือดับไฟความขัดแย้ง” ร่วมทั้งการรณรงค์“เสรีภาพสื่อ ต้องร่วมลดความรุนแรง” การแสดงละครเร่สะท้อนการทำหน้าที่สื่อมวลชนในภาวะความรุนแรง จากเครือข่ายละครดีดี๊ดี โดยได้รับความร่วมมือจากสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ส่งผู้ประกาศข่าวมาร่วมเดินรณรงค์และร่วมปล่อยลูกโป่งรณรงค์ยุติความรุนแรง
ผู้ประกาศข่าวที่ร่วมเดินรณรงค์ อาทิ นางสาวปุณยวีร์ (ปอ) สุขกุลวรเศรษฐ์ (พิธีกรรายการสามสิบยังแจ๋ว), นางสาวปราย ธนาอัมพุช(พิธีกรรายการสามสิบยังแจ๋ว) ,นางสาวปิยณี เทียมอัมพร (ผู้ประกาศข่าว พระราชสำนัก สถานีโทรทัศน์ช่อง ๓), นางสาวอรรินทร์ ยมกกุล (ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ชอ่ง ๓ ), นายกิตติ สิงหาปัด (พิธีกรรายการข่าวสามมิติ), นายภัทร จึงกานต์กุล (ผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์ช่อง๗ ), นางสาวศรีสุภางค์ ธรรมาวุธ (ผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์ช่อง ๗) ,นางสาวทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว (ผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย), และนายณัฐพงษ์ ธีระภัทรานนท์ (ผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย),
๕.๑.๒ โครงการ “ รณรงค์หยุดทำร้ายประเทศไทย ทุกฝ่ายหยุดใช้ความรุนแรง” สมาคมฯ ร่วมกับเครือข่ายหยุดทำร้ายประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ “หยุดทำร้ายประเทศไทย ทุกฝ่ายหยุดใช้ความรุนแรง” โดยการเชิญชวนทุกองค์กร ทุกบริษัท ห้างร้าน ส่วนราชการ หน่วยงานที่เห็นด้วยกับเครือข่ายแขวนธงชาติหน้าบริษัท ห้างร้าน หน่วยงาน และบ้านที่อยู่อาศัยและติดป้าย “หยุดทำร้ายประเทศไทย ทุกฝ่ายหยุดใช้ความรุนแรง” ไว้หน้าหน่วยงาน รวมทั้งได้จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ ในวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ จากบริเวณอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ด้านหน้าสวนลุมพินี ) ไปยังธนาคารกรุงเทพสำนักงานใหญ่ ( สีลม ) เพื่อกล่าวคำปฎิญญาประชาชน
“ไม่ทำร้ายประเทศไทย ไม่ใช้ความรุนแรง” ร่วมกัน และได้เชิญชวนทุกภาคส่วนในสังคมที่เห็นด้วยกับแนวทางให้บุคลากรชุมนุมโดยสงบสันติหน้าองค์กร บริษัท ห้างร้าน และหน่วยงานของตนเอง โดยทุกคนถือธงชาติ เพื่อให้ผู้ขัดแย้งได้เห็นพลังด้านบวกของคนส่วนใหญ่ในสังคม ว่าไม่ยอมรับความรุนแรงไม่ว่าจะเกิดจากใครหรือรูปแบบใด
นอกจากนี้ยังได้ ขอความร่วมมือหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ สถานีโทรทัศน์ทุกช่อง สถานีวิทยุทุกแห่ง เคเบิลทีวีทุกแห่ง วิทยุชุมชนทุกแห่ง ช่วยกันเชิญชวนคนไทยส่วนใหญ่ที่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ร่วมกันรณรงค์ และในการณรงค์ครั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือจากศิลปินเพลงเพื่อชีวิต “แอ๊ด คาราบาว” แต่งเพลง หยุดทำร้ายประเทศไทย” สำหรับงานนี้โดยเฉพาะให้อีกด้วย
สาระสำคัญที่ใช้ในการสื่อสารในการรณรงค์ครั้งนี้ประกอบด้วย ๑. ประชาธิปไตยเห็นแตกต่างกันได้ แต่ต้องไม่ใช้ความรุนแรง ๒.ประชาธิปไตยต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ๓. สร้างความยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคมไทย ทำให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์และไม่เลือกปฏิบัติ และ ๔. สร้างความเป็นพลเมืองไทยที่มีสำนึกประชาธิปไตย
โครงการหยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ความรุนแรง เกิดขึ้นการที่สมาคมฯ จึงได้หารือกับหน่วยงานต่างที่เคยร่วมทำกิจกรรมยุติความรุนแรง เพื่อหาแนวทางคลี่คลายสถานการณ์จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น
ตั้งแต่การปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ความรุนแรงในการปิดล้อมที่ประชุมอาเซียนซัมมิท เมืองพัทยาและเหตุการณ์ในสถานที่ต่างๆที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และเนื่องจากมีแนวคิดเรื่องการรณรงค์ในระดับค่อนข้างใหญ่ และในที่สุดก็ได้มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งต้องออกมาเป็นกลางๆ โดยได้ใช้ธงชาติเป็นสัญลักษณ์ในการรณรงค์
๕.๑.๓. โครงการศิลปะของความต่าง: ดอกไม้บานหลากสี....ที่กรุงเทพฯ (Art of Difference: Flowers with flying colors are blossoming...in Bangkok) สมาคมฯ ร่วมกับเครือข่ายหยุดทำร้ายประเทศไทย จัดกิจกรรมรณรงค์ดอกไม้บานหลากสีที่กรุงเทพฯ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
กิจกรรมในงานประกอบด้วยการประกวดประกวดวาดภาพ “ดอกไม้บานหลากสีที่กรุงเทพฯ” โดยมีนักเรียนนักศึกษาชั้นมัธยมต้น มัธยมปลาย และอุดมศึกษาเข้าร่วมประกวดกว่า ๓๐๐ คน, ขบวนรณรงค์ “ แต้มสีดอกไม้บานทั้งแผ่นดิน”โดยนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, และมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์, กิจกรรมตลาดนัดศิลปะ บริเวณลานสกายวอล์ค หน้าห้างสรรพสินค้า มาบุญครอง และการแสดงดนตรีจากครอบครัวอี๊ด ฟุตบาธ, เม้าท์ออแกนแจ๊ส จากอาจารย์นพดลกับลูกชาย , การแสดงดนตรีเรกเก้จากวงแซม เขียว เหลืองแดงและวงมาดากัสกา, และดนตรีดุริยางค์ สี่ชิ้นทหารเรือ
ได้รับเกียรติจาก คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), ศ. ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการ สถาบันพระปกเกล้า และ พ.ญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพ ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานในพิธีเปิดและปิดงาน
สำหรับกรรมการผู้ตัดสินการประกวดภาพวาดประกอบด้วย๑.อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ (ประธาน) ๒. ศ. ปรีชา เถาทอง คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ๓. รศ. ทินกร กาษรสุวรรณ มหาวิทยาลัยศิลปากร ๔. ผศ. ญานวิทย์ กุญแจทอง รองอธิการบดี ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ๕. อาจารย์ธำรงศักดิ์ ธำรงเลิศฤทธิ์ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. และ ๖. อาจารย์สังคม ทองมี ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร
โดยมีผู้ร่วมสนับสนุนประกอบด้วย บริษัท ดับเบิ้ลเอ ,บริษัท ยัม เรสเตอรองต์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์), และบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด มหาชน
๕.๑.๔ การอภิปรายเรื่อง “คิดอย่างไรกับรัฐธรรมนูญ” สมาคมฯร่วมกับ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า, ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำโครงการ “คิดอย่างไรกับรัฐธรรมนูญ” โดยแบ่งเป็นการจัดอภิปรายจำนวน ๕ ครั้ง ดังนี้ ๑. รัฐธรรมนูญกับวิกฤตทางการเมืองในปัจจุบัน (๒๑พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒) ๒. ส.ส. กับความเป็นผู้แทนของปวงชน (พ.ศ. ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒) ๓. ส.ว. กับความเป็นผู้แทนของปวงชน ( ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒) ๔. จุดเด่นและจุดด้อยขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒) ๕.ประเด็นร้อนในรัฐธรรมนูญ (๑๘มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒) ๖. รัฐธรรมนูญกับทางออกของวิกฤตการเมืองไทย (๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒)
๕.๒ ศูนย์เฝ้าระวังการคุกคามสื่อ (Alert Network)
สมาคมฯ ตระหนักถึงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ที่อาจได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งในรูปแบบของการข่มขู่ คุกคาม การทำร้ายร่างกายและทรัพย์สิน จึงได้มีความพยายามในการจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังการคุกคามสื่อ (Alert Network) ขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยในปี ๒๕๕๒ สมาคมฯ ได้เฝ้าระวังการคุกคามสื่อ ดังนี้
๕.๒.๑ คู่มือการทำข่าวม็อบและอุปกรณ์ในการทำข่าวม็อบ ศูนย์เฝ้าระวังการคุกคามสื่อ มีความเป็นกังวลว่าการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในวันพุธที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ .อาจจะมีการใช้ความรุนแรงที่อาจกระทบกระทั่งถึงตัวนักข่าวอีก และมีความต้องการให้ผู้สื่อข่าวทำงานด้วยความปลอดภัย จึงได้จัดหนังสือคู่มือการทำข่าวม็อบ พร้อมทั้งแจกจ่ายอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ขวดน้ำ ผ้าขนหนู และปลอกแขนสื่อมวลชนให้กับผู้สื่อข่าวที่ต้องปฎิบัติงานภาคสนาม รวมทั้งยังมีการเปิดอาคารสำนักงานสมาคม ฯ ถนนสามเสน เป็นศูนย์สื่อมวลชน ให้สามารถเข้ามาใช้สถานที่ในการส่งข่าวและพักผ่อนได้
๕.๒.๒ การอบรมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครปกป้องสิทธิ พิชิตการคุกคามสื่อ(Alert Net work) รุ่น ๑ เป็นโครงการที่ศูนย์เฝ้าระวังการคุกคามสื่อ ร่วมกับเครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเชียอาคเนย์(ซีป้า) จัดขึ้น ระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๘ - วันอาทิตย์ที่ ๑๙ กรกฏคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ โรงแรมเมาเท่นบีชรีสอร์ท พัทยา จังหวัดชลบุรี เพื่อสร้างอาสาสมัครในการเฝ้าระวังสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยทั่วประเทศให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน โดยการจัดอบรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้สื่อข่าวทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนกลางเข้าร่วมอบรมเป็นอาสาสมัครในโครงการนี้จำนวน ๒๐ คน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถานฑูตสหรัฐอเมริกา
๕.๒.๓ การจัดทำหนังสือคู่มือการทำข่าวอย่างปลอดภัย สืบเนื่องจากการที่สื่อมวลชนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต้องปฏิบัติภารกิจในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งตลอดเวลา ศูนย์เฝ้าระวังการคุกคามสื่อ จึงได้ริเริ่มจัดทำหนังสือคู่มือการทำข่าวอย่างปลอดภัย ให้เป็นหนังสือที่มีข้อปฏิบัติที่ชัดเจนเวลาที่ต้องทำหน้าที่ในสถานการณ์ที่อาจจะไม่ปลอดภัยกับสื่อมวลชน (How to) ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมเนื้อหา เช่น การทำข่าวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้, การทำข่าวในพื้นที่การชุมนุม เป็นต้น
๕.๒.๔ รับเรื่องร้องเรียนจากหนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา ของมหาวิทยาลัยบูรพา นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายก สมาคมฯ รับเรื่องร้องเรียนจากนางสาวสาวิตรี แก้วมณีบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว ซึ่งมาร้องขอความเป็นธรรม หลังจากถูกผู้บริหารมหาวิทยาลัยขู่ปิดหนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว หลังเสนอข่าวผลหยั่งเสียงเลือกตั้งอธิการบดีคนใหม่ เมื่อวันอังคารที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
๕.๒.๕ จดหมายข่าวศูนย์เฝ้าระวังการคุกคามสื่อและรายงานพิเศษ เพื่อเป็นการติดตามสถานการณ์และรายงานความเคลื่อนไหวในประเด็นที่สื่อที่ถุกคุกคามได้มีการจัดทำจดหมายข่าวศูนย์เฝ้าระวังการคุกคามสื่อและรายงานพิเศษขึ้น
๕.๒.๖ การติดตามสถานการณ์การคุกคามสื่อ ศูนย์เฝ้าระวังได้มีการติดตามสถานการณ์การคุกคามสื่อมาอย่างต่อ เนื่อง โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้ติดตามสถานการณ์การคุกคามสื่อ อาทิ ติดตามความคืบหน้ากรณีนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการและแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถูกลอบยิง, ติดตามกรณีหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจเลิกจ้างพนักงาน และติดตามกรณีผู้สื่อข่าวถูกทำร้ายในการระหว่างการปฏิบัติหน้าที่รายงานการชุมนุมต่างๆ เป็นต้น
๕.๓ งานติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพและสถานการณ์สื่อ
๕.๓.๑ การจัดรายงานสถานการณ์สื่อไทยและภาษาอังกฤษ (2009 Thai Media Updates) สมาคมฯได้จัดทำรายงานสถานการณ์สื่อรายเดือนเผยแพร่ผ่านเวบไซต์www.tja.or.th โดยเป็นการจัดทำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
๕.๓.๒ การจัดทำสถานการณ์สื่อประจำปี สมาคมฯ ได้จัดทำรายงานสถานการณ์สื่อประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เผยแพร่ในวันสิ้นปี เพื่อสรุปเหตุการณ์หลักที่เกิดขึ้นในแวดวงสื่อมวลชน ปีแห่งการใช้สื่อเพื่อสร้างสงครามการเมือง
๕.๔ กองทุนสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ
สมาคมฯ ได้จัดตั้งกองทุนสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ ขึ้นเพื่อทำให้การทำงานด้านการรณรงค์สิทธิเสรีภาพสื่อ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากขึ้น โดยเบื้องต้นได้รับงบประมาณสนับสนุนจากการประมูลภาพวาดสีน้ำของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมี ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๒ จำนวน ๑,๗๒๒,๐๐๐ บาท โดยกองทุนมีวัตถุประสงค์หลัก ๔ ข้อ คือ ๑. ติดตามเฝ้าระวังสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชน๒. ส่งเสริมและปกป้องสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน ๓. ผลักดันนโยบายและกฎหมายเพื่อการปฏิรูปสื่อ และ ๔. ส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ทำงานด้านสิทธิเสรีภาพทั้งในและนอกประเทศ
๕.๕ ศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน
สมาคมฯ ได้ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดตั้งศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมองค์ความรู้ในเรื่องกฎหมายสื่อมวลชน เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาเพื่อให้เกิดความระมัดระวังในการเสนอข่าวและความคิดเห็น รวมทั้งในการสนับสนุนและรวบรวมผู้สนใจและเชี่ยวชาญในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน เพื่อสนับสนุนการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนให้เป็นอิสระและปราศจากการคุกคามและลิดรอนสิทธิเสรีภาพโดยการใช้กฎหมาย โดยมอบหมายให้สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการ
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน เป็นกลไกสำคํญในการผลักดัน พรบ. คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน ซึ่งจะเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลกซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าวและการแสดงความคิดเห็น ให้ได้รับการคุ้มครอง ปราศจากการแทรกแซง มีการวางหลักใหญ่ ๒ หลัก คือ ๑.หลักสิทธิเสรีภาพและ ๒.หลักจริยธรรม
๖. คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ ประกอบด้วยที่ปรึกษาและอนุกรรมการจำนวน ๗ คน ดังนี้
๑. นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายก สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๒. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการ สมาคมฯ ประธาน
๓. นายปราเมศร์ เหล็กเพ็ชร์ รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๔. นายวัสยศ งามขำ รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๕. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ อนุกรรมการ
๖. นางสาวนภาพร พานิชชาติ เหรัญญิก อนุกรรมการ
๗. นางสาวเทียมใจ ทองเมือง ผู้จัดการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
ในปี ๒๕๕๒ คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
๖.๑ กิจกรรมภายในองค์กร
๖.๑.๑ โครงการหนังสือเล่ม “บันทึกเดือนเมษายน ๒๕๕๒” สมาคมฯ ได้จัดทำโครงการหนังสือรวบรวมข้อเท็จจริง เหตุการณ์การชุมนุม เมื่อวันพุธที่ ๘ – วันพุธที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำบันทึกเหตุการณ์และข้อเท็จจริงเหตุการณ์ดังกล่าวของสื่อมวลชนทุกแขนงที่อยู่ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ทั้งยังเป็นการสรุปบทเรียนและประสบการณ์ในการทำข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง และการนำเสนอข้อเท็จจริงต่อสาธารณชน โดยในหนังสือจะประกอบด้วยข้อเขียน บทสัมภาษณ์ และภาพข่าวในเหตุการณ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมต้นฉบับ
๖.๒.๒ ปาฐกถาอิศรา อมันตกุล “บทบาทสื่อกับการปฏิรูปการเมือง” สมาคมฯ ได้ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ ของมูลนิธิอิศรา อมันตกุล ในการจัดปาฐกถาประจำปีเพื่อรำลึกถึงนายอิศรา อมันตุล นักหนังสือพิมพ์และนักเขียนผู้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นนักหนังสือพิมพ์ผู้มีจริยธรรม ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้จัดปาฐกถาอิศรา อมันตกุลเรื่อง“บทบาทสื่อกับการปฏิรูปการเมือง” โดย ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ราชบัณฑิต เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (วันเกิดนายอิศรา อมันตกุล ตรงกับวันที่ ๑๘ พฤษภาคม)
๖.๒.๓ ลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช สมาคมฯ ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้ทรงหายจากอาการพระประชวร ณ อาคาร ๑๐๐ ปี โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
๖.๒.๔ โครงการปรับปรุงอาคาร สมาคมฯ ถนนราชดำเนินกลาง สมาคมฯ ได้มีมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ ครั้งที่ ๕ สมัยที่ ๑๐ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้ปรับปรุงอาคาร สมาคมฯ ถนนราชดำเนินกลางเป็นห้องแสดงภาพ (Gallery) โดยจะมีการนำภาพข่าวที่ได้รับรางวัลอิศรา อมันตกุลมาจัดแสดง ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
๖.๒ กิจกรรมการประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอก
๖.๒.๑ งานสัปดาห์ส่งเสริมการเขียนจดหมาย สมาคมฯ ร่วมกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมการเขียนจดหมาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในคุณค่าการเขียนภาษาไทยในรูปแบบการเขียนจดหมาย กิจกรรมในงานประกอบด้วย การสัมนาทางวิชาการ การจัดนิทรรศการ การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดเมื่อวันศุกร์ที่ ๙ – วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
๖.๒.๒ งานประชุมว่าด้วย “พุทธทาสกับสื่อมวลชน” สมาคมฯ ร่วมกับหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กรมประชาสัมพันธ์ กรมการศาสนา องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย(อสมท.) เป็นคณะเจ้าภาพรวมจัดงานปาฐกถาประจำปี ๒๕๕๒ เรื่อง พุทธทาสกับสื่อมวลชน ระหว่างวันเสาร์ที่ ๒๒- วันอาทิตย์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพหลโยธิน กทม. กิจกรรมในงานประกอบด้วยเวทีธรรม ละครและดนตรี นิทรรศการส่งเสริมการศึกษาและปฏิบัติธรรม และปาฐกถาเกียรติยศหัวข้อ “เขาหาว่าพุทธทาสบ้า ที่จะทำให้สื่อมวลชนเป็นปูชนียบุคคล”
๖.๓ กิจกรรมการพัฒนาบุคคลากรของสมาคมฯ
๖.๓.๑ การส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมหลักสูตรต่างๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สมาคมฯ ได้ส่งพนักงาน สมาคมฯ เข้าร่วมอบรมหลักสูตรต่างๆ ดังนี้
๑) หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก. รุ่นที่ ๑) สมาคมฯ ได้มอบหมายให้นางสาวเทียมใจ ทองเมือง ผู้จัดการ สมาคมฯเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง ซึ่งจัดโดยสถาบันอิศรา ระหว่างเดือนมกราคม -เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒
๒) หลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต. รุ่นที่ ๑) สมาคมฯ ได้มอบหมายให้นายพีรพัฒน์ ดิลกกัลยากุล หัวหน้าศูนย์ข้อมูล สมาคมฯ เข้าร่วมอบรมหลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น ซึ่งจัดโดยสถาบันอิศรา ระหว่างเดือนพฤษภาคม – เดือนกันยายน ๒๕๕๒
๓) หลักสูตรการบริหารการเงิน (Management for Effective Programmes: A Programme Officer's Survival Course) สมาคมฯ ได้มอบหมายให้นางสาวเทียมใจ ทองเมือง ผู้จัดการ สมาคมฯเข้าร่วมอบรมหลักสูตรการบริหารการเงิน ซึ่งจัดโดยเครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ (ซีป้า) เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ สิงหาคม – วันศุกร์ที ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ โรงแรมวินเซอร์ ถนนสุขุมวิท
๗. คณะกรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมฯ
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ คณะกรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมฯ ได้ประชุมหารือเรื่องแนวทางการทำงานของคณะกรรมการควบคุมจริยธรรม ให้มีความสอดคล้องกับทิศทางของหลักของคณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ ในข้อแรก คือ การส่งเสริมจริยธรรม โดยที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมฯ จำนวน ๕ ประกอบด้วย ๑. นางบัญญัติ ทัศนียะเวช ๒. นายสมาน สุดโต ๓. นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ ๔.นายสมเจตน์ วัฒนาธร และ ๕.นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง ได้มีแต่งตั้งนายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง เป็นประธาน กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมฯ และแต่งตั้งนางสาวเย็นจิตร์ สถิรมงคลสุข เป็นเลขานุการ กรรมการควบคุมจริยธรรม
สำหรับข้อร้องเรียนเรื่องจริยธรรมแห่งวิชาชีพที่เข้าสู่การประชุมของคณะกรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมฯ มีจำนวน ๑ เรื่อง คือ ข้อร้องเรียนจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยนายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ทำจดหมายถึงสมาคมฯ เรื่องการนำเสนอภาพข่าวของสื่อมวลชนในกรณีคนร้ายฆาตกรรมและหั่นศพเด็กชายอายุ ๕ ขวบ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อจิตใจและไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
จากกรณีดังกล่าว คณะกรรมการควบคุมจริยธรรม ได้ออกประกาศเตือนการนำเสนอภาพข่าวและข่าวที่ม่คำนึงถึงการละเมิดสิทธิเด็ก เป็นการหมิ่นเหม่ต่อจริยธรรมแห่งวิชาชีพ (วันศุกร์ที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒)
รวมทั้งคณะกรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมฯ ยังได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังจริยธรรมสื่อหนังสือพิมพ์ ร่วมกับโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม(MediaMonitor)เพื่อสร้างการทำงานเชิงรุกทางจริยธรรม จากเดิมที่สมาคมฯ รับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหาย เป็นครั้งคราวและออกคำเตือนหรือขอความร่วมมือเป็นครั้งๆไป มาเป็นการสร้างการเฝ้าระวังจริยธรรมอย่าวต่อเนื่อง
ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นปีที่สื่อมวลชนต้องเผชิญหน้าวิกฤตความขัดแย้งที่มีความรุนแรงมากขึ้น โดยที่แต่ละฝ่ายได้ใช้ “สื่อเพื่อสร้างสงครามการเมือง” ส่งผลให้สังคมมองบทบาทสื่อมวลชนโดยรวมว่า เป็นสื่อที่นำไปสู่วิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและนำมาซึ่งปัญหายุ่งยากในการหาทางออกของวิกฤตประเทศในครั้งนี้ สมาคมฯในฐานะองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่เป็นองค์กรตัวแทนในการร่วมผลักดันและขับเคลื่อนสังคมให้พ้นจากวิกฤตความขัดแย้งที่เกิดขึ้น รวมทั้งได้เรียกร้องให้สื่อมวลชนทุกแขนงยึดมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ต้องคำนึงถึงความถูกต้อง รอบด้านของข้อมูล ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย รักษาความเป็นมืออาชีพในการค้นหาความจริงมาตีแผ่ โดยค้นหาและรายงานข่าวที่มีหลักฐานข้อมูลหนักแน่นเพื่อส่งต่อความจริงให้ถึง มือประชาชน ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ และต้องทำหน้าที่เพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่ง สำคัญสูงสุด