รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๒
คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๒ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๔ มีนาคม ๒๕๕๕ ได้ร่วมกันกำหนดนโยบายและทิศทางการบริหาร สมาคมฯ ไว้ ๕ ด้าน ดังนี้
๑) ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อจากการถูกคุกคาม แทรกแซงจากกลุ่มทุน-รัฐ-ผู้มีอิทธิพล
๒) ส่งเสริมและการยกระดับวิชาชีพของสมาชิกให้ทันกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก
๓) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิก สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกด้วยกันเองและสมาชิกกับสมาคมวิชาชีพสื่อ
๔) กระชับความสัมพันธ์และขยายความสัมพันธ์กับองค์กรสื่อระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ
๕) ระดมทุนให้เพียงพอต่อการดำเนินงานของสมาคมฯทั้งจากแหล่งทุนในประเทศและต่างประเทศ
ในปี ๒๕๕๔ คณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ทำหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรม โดยแบ่งออกเป็น ๖ คณะอนุกรรมการ ดังนี้
๑) คณะอนุกรรมการฝ่ายพิจารณาบทบาทสมาคมในสถานการณ์เร่งด่วน
๒) คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ
๓) คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ
๔) คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ
๕) คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์
๖) คณะกรรมการอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ
๑.คณะอนุกรรมการฝ่ายพิจารณาบทบาทสมาคมในสถานการณ์เร่งด่วน ประกอบด้วย อนุกรรมการ ๗ คน
๑. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายก สมาคมฯ ประธาน
๒. ดร.สุรศักดิ์ จิรวัสตร์มงคล อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ อนุกรรมการ
๓. นายเสด็จ บุนนาค อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๔. นายวิษณุพงษ์ หิญชีระนันท์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๕. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ เลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๖. นางสาวจินตนา จันทร์ไพบูลย์ รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๗. นายสมศักดิ์ ศรีกำเหนิด กรรมการฝ่ายสวัสดิการและสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ อนุกรรมการ
คณะอนุกรรมการ ชุดนี้จะทำหน้าที่ในการรวบรวมทั้งความเห็นและข้อเสนอต่างๆ จากบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการนำมาพิจารณาบทบาทสมาคมฯ ในสถานการณ์เร่งด่วน ทั้งในรูปแบบของการออกแถลงการณ์, การออกจดหมายเปิดผนึก และการเผยแพร่คำชี้แจงในเรื่องต่างๆ รวมทั้งทำความเข้าใจและสื่อสารกับสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆ ของสื่อ (ดูเอกสารแถลงการณ์ในเล่ม)
๒. คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๔ คนและอนุกรรมการ ๑๓ คน
๑. ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ที่ปรึกษา
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
๒. นายจักรกฤษ์ เพิ่มพูล หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ที่ปรึกษา
๓. ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ปรึกษา
๔. ผศ.ดร. วรัชญ์ คุรจิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ปรึกษา
๕. นายวิษณุพงษ์ หิญชีระนันท์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ ประธาน
๖. นางสาวเย็นจิตร์ สถิรมงคลสุข อดีตอุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๗. นายธีรเดช เอี่ยมสำราญ อดีตเลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๘. นายธาม เชื้อสถาปนศิริ โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม อนุกรรมการ
๙. นายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ อนุกรรมการ
๑๐. นายปกรณ์ รัตนทรัพย์ศิริ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ อนุกรรมการ
๑๑. นางสาวสุภาภรณ์ อัษฏมงคล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ อนุกรรมการ
๑๒. นางสาวน.รินี เรืองหนู อดีตรองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๓. นายอรุณ ลอตระกูล กรรมการบริหาร สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๔. นายนพปฎล รัตนพันธ์ นายทะเบียน สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๕. นางสาวบุษดี พนมภู กรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๖. นางสาวพรรณี อมรวิพุธพนิช หนังสือพิมพ์คมชัดลึก อนุกรรมการ
๑๗. นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ เลขานุการคณะอนุกรรมการ
ในปี ๒๕๕๔ คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ แบ่งงานออกเป็น ๕ กลุ่มงาน คือ
๒.๑. ด้านการอบรม สมาคมฯ ได้จัดทำโครงการด้านการฝึกอบรมจำนวน ๓ หลักสูตร คือ
๒.๑.๑ การอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าว ประจำปี ๒๕๕๔ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าว ประจำปี ๒๕๕๔ ขึ้นระหว่างวันศุกร์ที่ ๖ - วันอาทิตย์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ เดอะไทด์รีสอร์ท บางแสน จังหวัดชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพสื่อมวลชน โดยใช้ Role model ทั้งจากผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับจากกลุ่มวิชาชีพและผู้แทนจากกลุ่มนักวิชาการเพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ความเป็นวิชาชีพและจริยธรรมให้กับผู้สื่อข่าว มีนักข่าวเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๓๐ คน
หัวข้อการอบรมประกอบด้วย “กลโกงการเลือกตั้ง” บทเรียน twit ฉาว และกฎเหล็กนักข่าว twitter เทคนิคการคิดประเด็น และ การวางแผนการทำข่าวสืบสวนสอบสวน สนทนาสร้างแรงบันดาลใจ “นักข่าวผู้ไม่แพ้” กับรุ่งมณ๊ เมฆโสภณ จริยธรรมสื่อ ลงพื้นที่ทำข่าวและเขียนข่าวจากการลงพื้นที่
๒.๑.๒ การอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวพิราบน้อยรุ่น ๑๔ เป็นโครงการต่อเนื่องจัดขึ้นเป็นปีที่ ๑๓ ซึ่งหากนับถึงปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมกว่า ๑,๐๐๐ คนแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้านสิ่งพิมพ์ (Professional Development) ความรับผิดชอบต่อจริยธรรมในวิชาชีพ (Ethics Responsibility) และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะองค์กรเพื่อสังคม (Organizational Social Responsibility) ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสถาบันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักข่าวรุ่นพี่ที่ทำงานทั้งในภาคสนาม และในส่วนของผู้บริหารงานข่าว อันเป็นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการปลูกฝังอุดมคติให้กับนักศึกษาด้วย ในรุ่นที่ ๑๔ มีนักศึกษาที่เรียนด้านหนังสือพิมพ์จากสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมอบรมจำนวน ๖๙ คน จาก ๓๒ สถาบัน จัดอบรมระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ – วันอาทิตย์ที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ โรงแรมเทาทอง มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน
๒.๑.๓ การอบรมนักจัดรายการวิทยุ “พัฒนาทักษะการจัดรายการวิทยุอย่างมืออาชีพรุ่น ๒” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา และสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดอบรมระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๐ – อาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๔ ณ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารวิทยพัฒนา ชั้น ๗ เพื่อพัฒนาทักษะให้กับนักจัดรายการวิทยุของ สมาคมฯ โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย ๑. คุณสมบัติการเป็นนักจัดรายการวิทยุที่ดีและประสบความสำเร็จ ๒. เทคนิคการจัดรายการวิทยุในรูปแบบต่าง ๆ ๓. จรรยาบรรณนักจัดรายการวิทยุ ๔.การเขียนบทวิทยุ ๕.ฝึกปฏิบัติ การเขียนบทรายการสารคดี ๖.ระดมสมองออกแบบรายการวิทยุ “ ช่วยกันคิดทิศทางข่าว” และ ๗.ฝึกปฏิบัติผลิตรายการ “ช่วยกันคิดทิศทางข่าว” มีผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวน ๑๗ คน
๒.๒ กลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ ได้มีการจัดทำโครงการในกลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ จำนวน ๓ กิจกรรม ดังนี้
๒.๒.๑ ราชดำเนินเสวนา เป็นโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๑๓ ซึ่งเป็นความริเริ่มจากสมัยที่นายกวี จงกิจถาวร เป็นนายก สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๒) มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการทำงานข่าวให้มีคุณภาพและอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง โดยมีการเชิญแหล่งข่าวมาพบปะพูดคุยและตอบคำถามนักข่าว เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างนักข่าวกับแหล่งข่าวในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ(สสส.) ผ่านทางสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ได้จัดราชดำเนินเสวนาไป จำนวน ๑๗ ครั้ง ดังนี้
๑. ประกันแรงงานนอกระบบ ช่วยเหลือหรือเพิ่มภาระคนจน (๑๙ มกราคม ๒๕๕๔)
๒. ทางออกจากวิกฤตการเมือง: สู่การเมืองและสังคมสันติสุข (๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔)
๓. ปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปความเป็นธรรมในสังคมไทย ( ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๔ )
๔. “จุดประกายจริยธรรมเลือกตั้ง จุดเปลี่ยนวิกฤตการเมืองไทย? จัดร่วมกับศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และ องค์กรภาคีเครือข่าย (๒๔ เมษายน ๒๕๕)
๕. วิพากษ์นโยบายเศรษฐกิจ ประชาธิปัตย์ – เพื่อไทย ( ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔)
๖. ขุมทรัพย์พรรคการเมือง จัดร่วมกับเว็บไซต์ข่าวสืบสวนออนไลน์ TCIJ. ( ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔)
๗. นโยบายด้านสุขภาพ : ข้อเสนอต่อพรรคการเมือง ? ( ๖ มิถุนายน ๒๕๕๔)
๘. ถกนโยบายการศึกษารัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้ง จัดร่วมกับชมรมสื่อมวลชนสายการศึกษา และกลุ่ม For Thailand (๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๔)
๙. สิทธิการตายอย่างสงบ ทางเลือกอันชอบธรรมของผู้ป่วย ? จัดร่วมกับเครือข่ายพุทธิกา และศูนย์กฏหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔)
๑๐. ฮ. ตก กับปัญหาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ( ๘ สิงหาคม ๒๕๕๔)
๑๑. ผ่าแผนล้ม สรรหา กสทช. จัดร่วมกับ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย (๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๔)
๑๒. นโยบายดับไฟใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับแนวโน้มการพูดคุยสันติภาพ ( ๒๖ กันยายน ๒๕๕๔)
๑๓.การแลกเปลี่ยนประสบการณ์สวัสดิการสื่อ (๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔)
๑๔.วิเคราะห์ร่างพระราชกำหนดการโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ จัดร่วมกับ ศูนย์วิจัยกฎหมายและการ
พัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(๑๒ มกราคม ๒๕๕๕)
๑๕.ราคาชีวิต...ผู้เสียหาย จากความรุนแรง โดยรัฐสองมาตรฐานจริงหรือ? (๒๑ มกราคม ๒๕๕๕)
๑๖. ทางเลือกยกร่างรัฐธรรมนูญ : เลือกตั้ง ส.ส.ร.หรือ ตั้งกรรมการ? จัดร่วมกับ สถาบันสิทธิมนุษยชน
และสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (๒๒ มกราคม ๒๕๕๕)
๑๗.ทางแพร่งระบบประกันสุขภาพ ภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ (๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕)
สามารถติดตามเนื้อหาราชดำเนินเสวนาได้ที่ www.tja.or.th
๒.๒.๒. รายการวิทยุช่วยกันคิดทิศทางข่าว เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กับสำนักข่าวไทยและบริษัท อสมท. จำกัด มหาชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท. FM ๑๐๐.๕ Mhz ทุกวันอาทิตย์เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐น. เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักข่าวรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯ รวมทั้งเป็นเวทีในการสื่อสารเรื่องราวที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนให้สาธารณชนได้ รับทราบ รวมทั้งการวิเคราะห์ถึงทิศทางข่าวในสัปดาห์ต่อไป โดยเน้นความหลากหลายของประเด็นข่าว ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และอื่นๆที่เป็นประเด็นร้อนในขณะนั้น
สำหรับนักจัดรายการประจำปี ๒๕๕๔ มีจำนวน ๑๐ คนคือ ๑.นายธีรเดช เอี่ยมสำราญ (มติชนออนไลน์) ๒. นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ) ๓. นายราม อินทรวิจิตร (หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ) ๔. นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา (สำนักข่าวเนชั่น) ๕.นางสาวชุติมณฑน์ ศรีขำ (หนังสือพิมพ์บ้านเมือง) ๖.นางสาวเลอลักษณ์ จันทร์เทพ (หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์) ๗. นางสาวจินตนา จันทร์ไพบูลย์ (หนังสือพิมพ์สยามรัฐ) ๘. นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง (สำนักข่าวเนชั่น ) ๙. นายมานพ ทิพย์โอสถ (หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์) และ ๑๐.นางสาวบุษดี พนมภู (หนังสือพิมพ์บ้านเมือง) ๑๑.นายวรพล กิตติรัตวรางกูล (หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์)
ติดตามฟังรายการวิทยุย้อนหลังได้ที่ www.tja.or.th
๒.๒.๓ www.tja.or.th เป็นเวบไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข่าวสารต่างๆ ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรม,รายงานกิจกรรม,กฎหมายที่เกี่ยวข้อง,ประวัติความ เป็นมา จุดยืนและท่าทีของสมาคมฯต่อสถานการณ์ต่างๆของบ้านเมือง รวมทั้งการบันทึกผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ และเป็นชุมชนออนไลน์ของนักวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน ในการแลกเปลี่ยนทัศนะของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน และนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงสื่อสารมวลชน
๒.๓ กลุ่มงานหนังสือ ในปี ๒๕๕๔ ฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำหนังสือรวม ๓ เล่ม ดังนี้
๒.๓.๑ วารสารราชดำเนิน ในปี ๒๕๕๔ สมาคมฯ ได้จัดทำวารสารราชดำเนินโดยออกเป็นรายสามเดือนจำนวน ๓ ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับมีเนื้อหาที่น่าสนใจ ได้รับเสียงสะท้อนอย่างดีทั้งจากสมาชิกสมาคมฯ สถาบันวิชาการและผู้สนใจทั่วไป
วารสารราชดำเนินฉบับที่ ๑ เผยแพร่เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๕๔ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “ทิศทางสื่อในมุมมองของ ๕ นักคิด” เป็นฉบับเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของจุลสารราชดำเนิน คือ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มีข้อตกลงร่วมกันในการผลิตจุลสารราชดำเนิน ให้เป็นจุลสารร่วมของสององค์กร เพื่อความเป็นเอกภาพ จุลสารราชดำเนินมีนายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม เป็นบรรณาธิการทั้งสองฉบับ
วารสารราชดำเนินฉบับที่ ๒ เผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายน มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “โศกนาฏกรรม พฤษภา ๕๓” เป็นการบันทึกปากคำของนักข่าวภาคสนามที่มีส่วนร่วมในการทำข่าวเหตุการณ์พฤษภาคม ๕๓
และวารสารราชดำเนินฉบับที่ ๑ ประจำปี ๒๕๕๕ เผยแพร่เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๕๕ ฉบับนี้มีนายเสถียร วิระพรรณพงศา เป็นบรรณาธิการ มีเนื้อหาหลักเกี่ยว ความเปลี่ยนแปลงของหนังสือพิมพ์มติชน
อ่านเนื้อหาจุลสารราชดำเนินฉบับย้อนหลังได้ที่ www.tja.or.th
๒.๓.๒ หนังสือวันนักข่าว “เทคโนโลยีก้าวหน้ากับวิชาชีพข่าว” หนังสือวันนักข่าวเป็นหนังสือรายงานประจำปีที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการข่าวและหนังสือพิมพ์ ตลอดจนรายงานกิจกรรมของสมาคม และทำเนียบรายชื่อนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่เป็นสมาชิกสมาคม เนื้อหาหลักในปีนี้เน้นเรื่อง “อุตสาหกรรมสื่อ กับ Social Media และวัฒนธรรมการแชร์ (Share)” ซึ่งเนื้อหาจะเป็นการติดตามสถานการณ์การปรับตัวของอุตสหกรรมสื่อที่มีการนำสื่อแบบ Social Media มาใช้มากขึ้น ร่วมทั้งการตั้งคำถามต่อวัฒนธรรมการแชร์ (Share)” มีนางสาว น.รินี เรืองหนู เป็นบรรณาธิการ มีการแจกจ่ายหนังสือวันนักข่าวถึงมือสมาชิก สมาคมฯ ในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมฯ
๒.๔. กลุ่มงานเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็น เครือข่ายที่นักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนร่วมกันก่อตั้งขึ้นเพื่อ เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน โดยในปี ๒๕๕๔ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ๓ กิจกรรม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ(สสส.) ผ่านทางสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ดังนี้
๒.๔.๑ ห้องเรียนสาธารณะ เป็นกิจกรรมที่เน้นการถ่ายทอดความรู้ และเทคนิค ทางวิชาชีพสื่อมวลชน แก่นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และเป็นแรงจูงใจในการกระตุ้นให้นิสิต นักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ เข้ามาทำงานสื่ออย่างเป็นระบบภายใต้กรอบการทำงานเชิงวิชาการ และเป็นการร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างนิสิต นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และนักวิชาชีพสื่อทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น
ในปี ๒๕๕๔ จัดห้องเรียนสาธารณะส่วนกลาง ไป ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๑ จัดร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เรื่อง“หลักประกันสุขภาพไทย เรื่องควรรู้ก่อนเข้าสู่สนามข่าว” ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔) และจัดร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวข้อ “Social media for journalism” (๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕)
ห้องเรียนสาธารณะส่วนภูมิภาค ๑ ครั้ง โดยจัดร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เรื่อง“หลักประกันสุขภาพไทย เรื่องควรรู้ก่อนเข้าสู่สนามข่าว” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย(๔ สิงหาคม ๒๕๕๔)
๒.๔.๒ ประชุมเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็น กิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อสารมวลชน โดยนำเอาประเด็นทางวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่น่าสนใจและมีผลกระทบต่อ ประโยชน์สาธารณะมาแลกเปลี่ยนกัน
สมาคมฯ ร่วมกับสถาบันอิศรา จัด ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องหลักเกณฑ์ประกวดรางวัลพิราบน้อย วันพุธที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องหลักเกณฑ์ประกวดรางวัลพิราบน้อย และรางวัลริต้า ปาติยะเสวี ด้านหนังสือพิมพ์ฝึกปฎิบัติ และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างบูรณาการระหว่าง สถาบันวิชาชีพและสถาบันวิชาการ ด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน
๒.๔.๓ ประชุมใหญ่ทางวิชาการสื่อสารมวลชน “อนาคตสื่อไทย : ความท้าทายภายใต้ รัฐ ทุน และเทคโนโลยี” สมาคมฯ ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา และสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย จัดทำโครงการประชุมวิชาการวิชาชีพสื่อสารมวลชน ระดับชาติ หัวข้อ “อนาคตสื่อไทย : ความท้าทายภายใต้ รัฐ ทุน และเทคโนโลยี” จัดระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๘-วันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ ณ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา จังหวัดชลบุรี
การจัดประชุมมีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑.เป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัย ของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนประจำปี ๒. เผยแพร่ความก้าวหน้าของความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและนัก วิชาชีพสื่อสารมวลชนให้เป็นประโยชน์ ๓. สะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและเชิงวิชาการต่อประเด็นวิกฤตการเมือง เศรษฐกิจและสังคมและ ๔. ขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิชาการ และนักวิชาชีพ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ ๑๐๐ คนจากทั่วประเทศ และในโอกาสนี้ได้มีการจัดเปิดตัววารสารวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ “อิศรา ปริทัศน์” (Isra Media Review) ซึ่งเป็นวารสารที่องค์กรวิชาชีพสื่อทุกภาคส่วนจัดทำขึ้น เพื่อรองรับผลงานทางวิชาการ กิจกรรมทางวิชาการร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ในการเป็นแหล่งกลางเผยแพร่งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา
๒.๕. กลุ่มงานประกวดข่าว
๒.๕.๑ การประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๕๔ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิอิศรา อมันตกุล ให้ดำเนินการจัดการประกวดข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม รางวัลอิศรา อมันตกุล เพื่อเป็นการรำลึกถึงนายอิศรา อมันตกุล นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรกและนักหนังสือพิมพ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภาย ใต้กรอบจริยธรรม โดยดำเนินการจัดการประกวดมาตั้งแต่ ปี ๒๕๑๕ สำหรับในปี ๒๕๕๔ มีผลงานงานข่าวส่งเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวยอดเยี่ยมจำนวน ๙ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๙ ฉบับ และส่งผลงานภาพข่าวเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทภาพข่าวยอดเยี่ยมจำนวน ๒๐๕ ภาพ จากหนังสือพิมพ์ ๑๒ ฉบับ
๒.๕.๓ การประกวดรางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๔ ของ ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมฯ ได้มอบหมายให้ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด ข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ซึ่งจัดการประกวดมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ สำหรับในปี ๒๕๕๔ มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน ๙ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๕ ฉบับ
๒.๕.๔ การประกวดรางวัลพิราบน้อย ประจำปี ๒๕๕๔ เป็นการประกวดผลงานฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีการทำ หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ โดยแบ่งการประกวดออกเป็น ๒ รางวัล ๔ ประเภท คือ รางวัลพิราบน้อย ประกอบด้วย ๑.ประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ๒. ประเภทข่าวฝึกปฏิบัติ ๓.ประเภทข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ และรางวัลริต้า ปาติยะเสวี คือประเภทสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ เริ่มจัดการประกวดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำหนังสือพิมพ์และการทำข่าวของ นิสิตนักศึกษาวิชานิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันการศึกษา กับสมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน ในปี ๒๕๕๔ มีผลงานส่งเข้าประกวดดังนี้ ๑. หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ๑๕ ฉบับ ๒ ข่าวฝึกปฏิบัติ ๒๔ ข่าว ๓. ข่าวสิ่งแวดล้อม ๑๓ ข่าว และ ๔. สารคดีเชิงข่าว ๒๒ ชิ้น
๓. คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๔ คนและอนุกรรมการ ๘ คน
๑. นายวันชัย วงศ์มีชัย อดีตอุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๒. ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปรึกษา
๓. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ อดีต เลขาธิการ สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๔. นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร อดีต เลขาธิการ สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๕. นายเสด็จ บุนนาค อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ประธาน
๖. นางสาวกุลชาดา ชัยพิพัฒน์ เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ อนุกรรมการ
๗. นางสาวกรรวี ธัญญะตุลย์ เลขาธิการ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อนุกรรมการ
๘. นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง สำนักข่าวเนชั่น อนุกรรมการ
๙. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ เลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๐. นายมานพ ทิพย์โอสถ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ อนุกรรมการ
๑๑. นายโอภาส บุญล้อม กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๒. นางสาวจินตนา จันทร์ไพบูลย์ รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ เลขานุการคณะอนุกรรมการ
ในปี ๒๕๕๔ คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ดำเนินงานภายใต้รูปแบบของการจัดตั้ง “ศูนย์ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน” เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมส่งเสริมและปกป้องมีสิทธิเสรีเสรีภาพของสื่อมวลชน โดยนักข่าวจะต้องมีอิสรภาพ เสรีภาพ ในการทำงาน ไม่ถูกคุกคาม แทรกแซงทั้งจากกลุ่มทุน รัฐ และผู้มีอิทธิพล โดยมีกิจกรรมดังนี้
๓.๑ งานรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพสื่อ
๓.๑.๑. โครงการฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day – 3 MAY) เป็นโครงการต่อเนื่องที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันที่ ๓ พฤษภาคม เนื่องจากเป็นวันที่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก้ ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ ๓ พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก ซึ่งก็คือเสรีภาพในการแสดงออก ตั้งแต่เมื่อปี ๒๕๔๓ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ก็ได้ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ และองค์การยูเนสโก้ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าวมาโดยตลอด
ในปี ๒๕๕๔ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยใช้หัวข้อหลัก “เสรีภาพ บนความรับผิดชอบ” กิจกรรมประกอบด้วย การเสวนาในหัวข้อเรื่อง “เสรีภาพ บนความรับผิดชอบ โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายกิติติ สิงหาปัด พิธีกรรายการข่าว 3 มิติ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา หัวหน้าข่าวหน้า 1 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ผศ.ดร.กาญจนา มีศิลปะวิกกัย คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ดำเนินรายการโดยนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา พิธีกรรายการตอบโจทย์ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส การออกแถลงการณ์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อแสดงถึงท่าที่และจุดยืนของสื่อมวลชนไทย และกิจกรรมรณรงค์เพื่อเปิดรับรับฟังเสียงสะท้อนมุมมองความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อ ภายใต้แนวคิดที่ว่า “ เสรีภาพ บนความรับผิดชอบ ” และการประกวดขบวนรณรงค์จากโดยมี 5 สถาบันการศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าร่วมรณรงค์ บริเวณรอบๆสยามแสควร์ สยามพารากอน และมาบุญครอง
โดยผู้สนับสนุนงานวัน เสรีภาพสื่อมวลชนโลก ประกอบด้วย ๑. องค์การยูเนสโก้, ๒. เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเซียอาคเนย์ ๓. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ๔. บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๕.บริษัท ซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ๖. บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ๗. บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด ๘. บริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด, ๙.ธนาคารออมสิน ๑๐. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
๓.๑.๒ สนับสนุนการจัดตั้งสหภาพแรงงานนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ เพื่อเป็นกลไกในการ ขับเคลื่อนด้าน สวัสดิการนักข่าว โดยได้มีการจัดเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดสวัสดิการสื่อ เมื่อ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยมีนายโกศล นาคาชล ประธานสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ นายเสด็จ บุนนาค ประธานสหภาพแรงงานสื่อสารมวลชนไทย นางสาวอรวรรณ กริ่มวิรัตน์กุล ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท อสมท. นายประสพสินธุ์ บุญประสิทธิ์ ประธานสมาพันธ์พนักงานองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สาธารณะแห่งประเทศไทย นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการด้านแรงงาน นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีต นักข่าวที่ก่อตั้งสหภาพแรงงานกลางสื่อ และนักข่าวและช่างภาพที่สนใจเข้าร่วมแลกเปลี่ยน โดยประเด็นหลักในการเสวนาคือ ๑. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อนำศึกษาเรื่องสหภาพแรงงานกลางสื่อ ปัญหาอุปสรรค และรูปแบบที่ทำให้นำไปสู่ความสำเร็จ ๒. เปรียบเทียบสวัสดิการแต่ละบริษัท เพื่อให้ได้สวัสดิการที่เป็นมาตรฐานสำหรับนักข่าว ๓. ความคิดเชิงบวกในการจัดตั้งสหภาพแรงงานสื่อ ต่อนายจ้าง และการมีส่วนร่วมในการบริหารและพัฒนาองค์กร และพัฒนาวิชาชีพสื่อ
๓.๑.๓ เวทีเสวนา เรื่อง ทิศทางสื่อไทยหลังเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง จะไปทางไหน สมาคมฯ ร่วมกับ เครือข่ายสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดเวทีเสวนา เรื่อง ทิศทางสื่อไทยหลังเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง จะไปทางไหน ขึ้นเมื่อ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ ห้องกมลมาศ โรงแรมสยามซิตี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนบทบาทของสื่อ ในรอบปีที่ผ่านมาและเพื่อเป็นการหารือถึงแนวทางในการเตรียมความพร้อมของสื่อฯเพื่อรับมือกับความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
๓.๒ งานส่งเสริมทักษะวิชาชีพข่าว ในปี ๒๕๕๔ คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิและเสรีภาพสื่อ สมาคมฯ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การรายงานข่าวในสถานการณ์ความรุนแรง รุ่น ๒ (Safety Training for Thai Journalists)” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ INSI-International News Safety Institue จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การรายงานข่าวในสถานการณ์ความรุนแรง (Safety Training)” ขึ้นเพื่อให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพจากสื่อหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์และวิทยุ ได้เรียนรู้เรื่องการทำข่าวอย่างปลอดภัยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง โดยเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย ๑. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำข่าวในสถานการณ์ขัดแย้ง ๒. การประเมินความเสี่ยง-การตัดสินใจส่งนักข่าวลงพื้นที่ ๓. การทำข่าวท่ามกลางการจลาจลและความรุนแรง ๔. การช่วยเหลือพยาบาล ๕. เรียนรู้เรื่องอาวุธชนิดต่างๆ ๖. สถานการณ์การวางเพลิง ๗. การปฏิบัติตัวเมื่อถูกตั้งด่านตรวจ ๘. การเอาตัวรอดเมื่อถูกจับตัวโดยผู้ก่อการร้าย ๙. การปฏิบัติตัวในภาวะกดดันจากความรุนแรง จัดระหว่างวันศุกร์ที่ ๒๖ ถึง วันอาทิตย์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณ ฮิลล์ไซด์รีสอร์ท คันทรีโฮม กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีทั้งผู้สื่อข่าวและช่างภาพจากหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์เข้าร่วมจำนวน ๒๐ คน
๓.๓ งานติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพและสถานการณ์สื่อ
๓.๓.๑ การจัดรายงานสถานการณ์สื่อไทยและภาษาอังกฤษ (2011 Thai Media Updates) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำรายงานสถานการณ์สื่อรายเดือนเผยแพร่ผ่านเวบไซต์www.tja.or.th โดยเป็นการจัดทำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
๓.๓.๒ การจัดทำสถานการณ์สื่อประจำปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยได้จัดทำรายงานสถานการณ์สื่อประจำปี ๒๕๕๔ เผยแพร่ในวันสิ้นปี เพื่อสรุปเหตุการณ์หลักที่เกิดขึ้นในแวดวงสื่อมวลชน โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้สรุปว่า ปี ๒๕๕๔ เป็น “ปีแห่งความท้าทายบทบาทหน้าที่สื่อมวลชน”
๔ . คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๒ คนและอนุกรรมการ ๑๒ คน
๕. คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๒ คนและอนุกรรมการ ๙ คน
๑. นายดำฤทธิ์ วิริยะกุล อดีตอุปนายก สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๒. นายธนดล มีถม อุปนายกฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๓. ดร.สุรศักดิ์ จิรวัสตร์มงคล อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ ประธาน
๔. นายสมศักดิ์ ศรีกำเหนิด กรรมการฝ่ายสวัสดิการและสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯอนุกรรมการ
๕. นางสาวอัชณา จิณณวาโส อดีตกรรมการบริหาร สมาคมฯ อนุกรรมการ
๖. นางสาวเรวดี พงศ์ไชยยง อดีตรองเลขาธิการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๗. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ เลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๘. นายนพปฎล รัตนพันธ์ นายทะเบียน สมาคมฯ อนุกรรมการ
๙. นางสาวจินตนา จันทร์ไพบูลย์ รองเลขาธิการ อนุกรรมการ
ฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ
๑๐. นายฉลาด จันทรเดช ประธานชมรมช่างภาพการเมือง อนุกรรมการ
๑๑. นางสาวอุทุมพร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา เหรัญญิก สมาคมฯ เลขานุการคณะอนุกรรมการ
ในปี ๒๕๕๔ คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แบ่งงานออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ
๔.๑ งานด้านสมาชิกสัมพันธ์
๔.๑.๑ อบรมหลักสูตรการรายงานข่าวการเงิน ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด ที่ปรึกษาด้านตรวจสอบบัญชี ภาษี การบริหารจัดการธุรกิจและการเงิน จัดการอบรม “การรายงานข่าวการเงินอย่างมืออาชีพ” เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของธุรกิจและสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งให้เกิดเพื่อการนำเสนอข่าวอย่างเชิงวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีสื่อมวลชนสนใจเข้าร่วมอบรมจำนวนมาก ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๕๔ โดยมีนักข่าวเข้าร่วมอบรมจำนวน ๓๐ คน
๔.๑.๒ การอบรมเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ให้กับนักข่าว ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รับเกียรติจากนางสาวประภัสสร ธุรนิกร ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างภาพลักษณ์ จากสถาบันพัฒนาบุคลิกภาพ จอห์น โรเบิร์ต เพาเวอร์ส ในการจัดกิจกรรมให้กับสมาชิกสมาคมนักข่าว ฯ ในโครงการอบรมเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ให้กับนักข่าว ซึ่งรูปแบบการฝึกอบรม : Interactive และ Individual Practice กิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยในการเสริมสร้างและพัฒนาบุคลิกภาพให้แก่ผู้สื่อข่าว เพื่อช่วยสร้างความประทับใจ ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างความเชื่อมั่นใจแก่ผู้สื่อข่าวและแหล่งข่าว เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้สื่อข่าว จัดเมื่อ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีนักข่าวเข้าอบรมจำนวน ๒๕ คน
สำหรับหัวข้อการอบรม ประกอบด้วย การพัฒนาทักษะในการติดต่อสื่อสาร ท่วงท่าอิริยาบถที่สง่างามทางธุรกิจ การวิเคราะห์บุคลิกลักษณะรายบุคคล ท่วงท่าในการนั่ง ยืน เดิน การเสริมสร้างอิริยาบถในการนำเสนองานทางธุรกิจ การทำงานและการเข้าสังคมระดับผู้บริหาร มารยาทการติดต่อสื่อสาร การทักทาย การแนะนำ การใช้นามบัตร บัตรเชิญ (Business Greetings) มารยาทในการติดต่อสื่อสารของวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมตะวันตก และมารยาทบนโต๊ะอาหาร การแนะนำเรื่องการแต่งกายเพื่อเสริมบุคลิกภาพ วิเคราะห์บุคลิกและรูปลักษณ์รายบุคคลเพื่อการเลือกสรรเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับรูปร่าง หลักการเลือกสรรเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ส่งเสริมบุคลิก ภาพในแต่ละกาลเทศะ การผสมผสานสีสรรของเสื้อผ้าเพื่อสร้างบุคลิกที่สง่างามในการแต่งกาย ตลอดจนการ การดูแลรักษาผิว การเลือกทรงผมให้เหมาะสมกับบุคลิก
๔.๑.๓ งาน “รวมพลคนข่าว Social Media” ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดกิจกรรม “รวมพลคนข่าว Social Media” ขึ้นเมื่อ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ บ้านไร่กาแฟ เอกมัย โดยการสนับสนุนจากบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆที่ใช้ Social Media ในงานข่าว
เนื้อหาของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ประกอบด้วย ๑. การทำความรู้จักกัน “ใครเป็นใคร ใน Social Media?” ๒.แลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงจากการใช้งานของกันและกัน “Do& Don’t: อะไรควรทำ ไม่ควรทำ ใน Social
Media?” ๓. กลเม็ดการใช้ประโยชน์สูงสุดจาก Social Media เพื่องานข่าวจากผู้เชี่ยวชาญ “Social Media: Trip & Trick” ( Trip & Trick on Twitter โดย @macroart และ Trip & Trick on Facebook โดย @mehtaxz) และ มีนักข่าวเข้าร่วมงานจำนวน ๘๐ คน
๔.๑.๔ อบรมหลักสูตรกาแฟมืออาชีพ สำหรับสื่อมวลชน รุ่น ๒ ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดการอบรมหลักสูตรกาแฟมืออาชีพ สำหรับสื่อมวลชน รุ่น ๒ ขึ้น โดยความร่วมมือกับบริษัท รีเทลลิงค์ (ไทยแลนด์) และบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด มหาชน เมื่อวันเสาร์ที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๔ ณ บริษัท รีเทลลิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด วิภาวดี ๖๒ โดยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับนักข่าวและครอบครัว มีนักข่าวเข้าร่วมอบรมจำนวน ๔๐ คน
๔.๑.๕ ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียนรุ่น ๕ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการปั้นนักข่าวเป็นนักเขียนรุ่น ๕ ขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๐ – วันอาทิตย์ที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๕ ณ ๑๗ หาดเจ้าสำราญรีสอรท์ จังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่นักข่าว และการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับนักข่าวในการนำไปพัฒนาการเขียนข่าวและการ เขียนในรูปแบบอื่นๆ การอบรมเน้นการฝึกปฏิบัติจริงในการเขียนเรื่องสั้น โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานวรรณกรรม อาทิ นายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ นักเขียน-นักหนังสือพิมพ์, นางชมัยภร แสงกระจ่าง ที่ปรึกษา นายกสมาคมนักเขียนฯ, นางสาวรุ่งมณี เมฆโสภณ สื่อมวลชนอิสระ, นายประชาคม ลุนาชัย นักเขียนรางวัลเซเว่นบุ๊คอะวอร์ด ,นายเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีซีไรท์ และนายวัชระ สัจจะสารนักเขียนรางวัลซีไรต์ และนายจเด็ด กำจรเดช นักเขียนรางวัลซีไรต์ มีนักข่าวเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๓๐ คน
๔.๒ แผนงานด้านสวัสดิการสมาชิก
๑) ทุนการศึกษา สมาคมฯ ได้มอบทุนการศึกษาให้กับสมาชิกสมาคมฯ โดยแบ่งเป็นทุนการศึกษาที่มอบให้กับสมาชิกสมาคมฯ และทุนการศึกษาที่มอบให้กับบุตร-ธิดา สมาชิก ดังนี้
๑.๑ ทุนการศึกษาที่มอบให้กับสมาชิกสมาคมฯ สมาคมฯ ได้รับมอบทุนการศึกษาใน
ระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นประจำทุกปี ปีละ ๒ ทุน
๑.๒ ทุนการศึกษาที่มอบให้กับบุตร-ธิดา สมาชิก สมาคมฯ แบ่งทุนการศึกษา
ออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑) ทุนส่งเสริมการศึกษา เป็นทุนแบบรายปี ๒) ทุนต่อเนื่อง เป็นทุนที่มอบให้แบบต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ -ระดับปริญญาตรี โดยได้รับการอนุเคราะห์ทุนการศึกษาจากมูลนิธิซีเมนต์ไทย ปีละ ๑๐ ทุน ปัจจุบันมีผู้รับทุนแล้ว ๓๐ คน ๓) ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี ณ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จำนวนปีละ ๒ ทุน
๔.๒.๑ การจัดพิธีมอบทุนการศึกษาบุตร-ธิดานักข่าว สมาคมฯ มอบทุนการศึกษาบุตร-ธิดานักข่าวเมื่อวันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔ ได้แบ่งให้ทุนการศึกษาออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ทุนส่งเสริมการศึกษา เป็นการให้ทุนแบบรายปี โดยใช้งบประมาณจากกองทุนการศึกษาเพื่อบุตร-ธิดา สมาชิกสมาคมฯ มีผู้ได้รับการอนุมัติทุนการศึกษาจำนวน ๑๔๘ ทุน ทุนละ ๔,๐๐๐ บาท เป็น เงิน ๕๙๒,๐๐๐ บาท และ ๒. ทุนต่อเนื่อง ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซิเมนต์ไทย เป็นปีที่ ๔ โดยในปี ๒๕๕๔ ได้รับการสนับสนุนเพิ่มอีก ๑๐ ทุน
๔.๒.๒ คัดเลือกนักข่าวเข้ารับทุนการศึกษาระดับมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม ใน ปี ๒๕๕๔ สมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาระดับมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยศรีปทุมจำนวน ๒ ทุน โดยได้คัดเลือก๑. นายวิศิษฏ์ ชวนพิพัฒน์พงศ์ สำนักข่าวเนชั่น และ ๒. นางสาวบุษดี พนมภู หนังสือพิมพ์บ้านเมือง กรรมการบริหาร สมาคมฯ เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต โดยเกณฑ์การคัดเลือกนักข่าวเข้ารับทุนการศึกษา นั้นต้องเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้กับสมาคมฯ มีความสนใจและรับผิดชอบในการศึกษาต่อ (ในปี ๒๕๕๑ สมาคมฯ ได้ส่งนายธีรเดช เอี่ยมสำราญ บรรณาธิการเวบไซต์หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจและอดีตเลขาธิการ สมาคมฯ เข้าศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต, ปี ๒๕๕๒ สมาคมฯได้ส่งนายเสถียร วิริยะพรรณพงศา เข้าศึกษาในหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต ปี ๒๕๕๔ สมาคมฯ ได้ส่งนายสุเมธ สมคะเน ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ไทยรัฐและคณะทำงานจุลสารราชดำเนิน สมาคมฯ และนาย นายจิรยุทธ ปรีชัย นักข่าวสังกัดมีเดียสตูดิโอและคณะทำงานสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต )
๔.๒.๓ การมอบสินไหมมรณกรรมและการร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรมศพ สมาคมฯได้จัดทำประกันชีวิตกลุ่มให้กับสมาชิกที่ชำระเงินค่าบำรุงประจำปีกับ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต โดยในปี ๒๕๕๔ สมาคมฯ ได้ส่งมอบสินไหมมรณกรรมให้กับทายาทของสมาชิกที่เสียชีวิตจำนวน ๒ รายคือ ๑. ทายาทของนายวิทยา วิทยอำนวยคุณ หนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจ ๒. ทายาทของนายวรุตม์ ลิ้มเฉลิม หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ร่วมทั้งได้ร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรมศพสมาชิกอีก ๒ รายคือ นายทองใบ ทองเปาด์ (๒๕ มกราคม ๒๕๕๔)และนายมนู จรรยงค์ (๓๐ มกราคม ๒๕๕๔)
๔.๒.๔ ชมรมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์อาวุโส สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มอบหมายให้นายบุตรดา ศรีเลิศชัย กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมฯ รับผิดชอบดูแลสวัสดิการสมาชิกอาวุโส โดยได้มีการเชิญบรรดานักหนังสือพิมพ์อาวุโสมาร่วมประชุมเพื่อหารือเรื่องทิศทางและแนวทางในการดูแลด้านสวัสดิการให้กับนักหนังสือพิมพ์อาวุโส ได้มีการจัดตั้งชมรมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์อาวุโส ขึ้นโดยมีนายพษ์ ศักดิ์ พยฆวิเชียร เป็นประธาน นายบัณฑิต รัชวัฒนะธานินทร์ รองประธานคนที่ ๑ และเหรัญญิก นางคณิต นันทวาณี รองประธานคนที่ ๒ นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ประธานฝ่ายกิจกรรม นายศรี อินทปันตี รองประธานฝ่ายกิจกรรม นายวิทยา ตัณฑสุทธิ์ นายทะเบียน นายบุตรดา ศรีเลิศชัย เลขานุการ นายแถมสิน รัตนพันธ์ กรรมการ และ นายวิรัช ทศานนท์กรรมการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำทะเบียนสื่อมวลชนอาวุโสเพื่อรวบรวมรายชื่อ ผลงานและประสบการณ์
๕. คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๕ คนและอนุกรรมการ ๖ คน
๑.นายกวี จงกิจถาวร หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ที่ปรึกษา
๒. นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ หนังสือพิมพ์ข่าวสด ที่ปรึกษา
๓. นางสาวบุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ที่ปรึกษา
๔. นางสนิทสุดา เอกชัย กองจันทึก หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ที่ปรึกษา
๕. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายก สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๖. นายอนุชา เจริญโพธิ์ อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ประธาน
๗. นายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล หนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ อนุกรรมการ
๘. นางกุลชาดา ชัยพิพัฒน์ เครือข่ายซีป้า อนุกรรมการ
๙. นางสาวตติกานต์ เดชพงษ์ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ อนุกรรมการ
๑๐. นางสาวสุภาภรณ์ อัษฏมงคล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ อนุกรรมการ
๑๑. นางสาวจิรวัสต์ ณ ถลาง หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น อนุกรรมการ
ในปี ๒๕๕๔ คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แบ่งงานออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ
๕.๑ ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนระหว่างประเทศ
๕.๑.๑ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-กัมพูชา เป็นโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-กัมพูชา ที่คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ มีความประสงค์ในการรื้อฟื้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างสื่อมวลชนไทยกัมพูชา ซึ่งห่างหายจากความสัมพันธ์ไปนาน โดยครั้งล่าสุดที่คณะสื่อมวลชนไทยไปเยือนกัมพูชาคือเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ นำโดยนางผุสดี คีตวรนาฏ นายก สมาคมฯ ในขณะนั้น และในปี ๒๕๕๔ นับเป็นโอกาสอันดีที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้เป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะสื่อมวลชนกัมพูชา ซึ่งมาเยือนประเทศไทยระหว่าง วันศุกร์ที่ ๑๖ กันยายน – วันอังคารที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๔ โดยมี ๑.Mr. Pen Samitthy, the president of the Club of Cambodian Journalists เป็นหัวหน้าคณะ พรอ้มด้วยผู้แทนอีก ๔ คนประกอบด้วย ๒. Mr. Prach Sim, Secretary General of the Club of Cambodian Journalists ๓. Mr. Chea Garoda, editor of Koh Santepheap Newspaper ๔. Mr. Chhay Sophal, member of CCJ Board และ ๕. Mr. Nguon Serath, office manager of the Club of Cambodian Journalists
โดยการมาเยือนครั้งนี้ ได้มีการเข้าเยี่ยมคารวะนายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี การเยี่ยมชมหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส การสัมมนาเรื่อง "บทบาทสื่อมวลชนในการส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา" พิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่าง ๒ สมาคม
และการทัศนศึกษาที่จังหวัดกระบี่ ในเบื้องต้นได้มีการจัดตั้งสายด่วนแลกเปลี่ยนข่าวสารแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน
๕.๑.๒ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-จีน สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ให้การต้อนรับคณะผู้แทนสื่อมวลชนจาก All China Journalists Association – ACJA ) โดยมี Mr.Zhao Xiting
Deputy President of Jilin Daily เป็นหัวหน้าคณะพร้อมผู้แทนอีก ๗ คนประกอบด้วย ๒. Mr. Li Zhiwei
Chief editor of Guangming Daily ๓. Ms. Yanyuqing Chief editor of Qiushi Magazine ๔. Mr. Zhu Guoqiu Director of Mass Work of Shanghai Wenhui Daily ๕. Mr. Wang Hangang Director of Jinhao Net of Shaanxi Radio ๖. Mr. Nisongduoji Deputy Director of News Deparment of Tibet TV ๗.Mr. Cai Xiaobin Editor-in-Chief of Qingdao Daily และ ๘. Mr. Zhang Bingshun Cadre of International Liason Department of All China Journalists Association ระหว่างวันพุธที่ ๑๖ – วันอังคารที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนจีน-ไทยนี้เป็นโครงการที่ผลัด เปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากแต่ละประเทศ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๒ เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศอีกทั้งยัง เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
๕.๑.๓ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนลาว-ไทย เป็นโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ในลักษณะเดียวกับโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ไทย-จีน เริ่มต้นแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ เมื่อปี ๒๕๓๐ โดยในปี ๒๕๕๔ คณะสื่อมวลชนไทยนำโดยนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะพร้อมด้วยผู้แทนอีก ๖ คน ประกอบด้วย ๒ .นางผุสดี คีตวรนาฏ ที่ปรึกษา สมาคมฯ ๓. นายโอภาส บุญล้อม กรรมการ ฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ๔.นายสมศักดิ์ ศรีกำเนิดกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ ๕. นางสาว ตติกานต์ เดชพงษ์ อนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ๖. นางสาวอำมร บรรจง กรรมการบริหาร สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ ๗. นางสาวอศินา พรวศิน ประธาน ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปเยือน สปป.ลาวระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๘ – วันศุกร์ที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๕ ตามคำเชิญของสมาคมนักข่าวแห่ง สปป.ลาว
๕.๒ ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนนานาชาติ
๕.๒.๑ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในปี ๒๕๕๔ นายชวรงค์ ลิมปํปัทมปาณี นายก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
๕.๒.๒ การร่วมประชุมใหญ่ International Freedom of Expression Exchange - IFEX ครั้งที่ 16 สมาคมฯ ได้มอบหมายให้นายอนุชา เจริญโพธิ์ อุปนายก สมาคมฯ เข้าร่วมประชุมใหญ่ IFEX ระหว่าง๒๘ พฤษภา คม – ๓ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ กรุงเบรุต ประเทศเลบานอน โดยการประชุมเน้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมในประเด็นด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนของแต่ละประเทศ
๕.๒.๓ จัดการบรรยายพิเศษเรื่อง “การใช้สื่อใหม่ในการรายงานข่าวการเมือง ทั้งภายในและภายนอกประเทศ” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถานทูตสหรัฐอเมริกา ได้จัดการบรรยายพิเศษ โดย Mr. Ralph J. Begleiter ผู้อำนวยการศูนย์การสื่อสารด้านรัฐ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเดลาแวร์ สหรัฐอเมริกา อดีตผู้สื่อข่าวซี.เอ็น.เอ็น. เรื่อง “การใช้สื่อใหม่ในการรายงานข่าวการเมือง ทั้งภายในและภายนอกประเทศ” เมื่อ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔
๕.๒.๔ ต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากประเทศสิงคโปร์ นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากประเทศสิงคโปร์ ที่มาเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๔ และได้ให้ต้อนรับคณะเจ้าหน้าที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ประเทศสิงคโปร์พบ เมื่อ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔
๕.๒.๕ การเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์วัน Impunity Day ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน โดยกิจกรรมรณรงค์ดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้มีการรณรงค์ให้เอาผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้ หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Campaign Against Impunity เพราะพบว่าในปัจจุบันสื่อมวลชนในประเทศต่างๆมากมาย ถูกสังหาร ถูกขู่ฆ่าจากผู้มีอำนาจ แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลประเทศนั้นๆก็ยังไม่สามารถที่จะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ ไม่ไกลจากประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์ คดี Ampatuan เป็นคดีสังหารหมู่นักข่าวและนักการเมืองท้องถิ่น ๕๘ ศพเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบันแม้จะรู้ตัวผู้กระทำผิดและกำลังมีการพิจารณาคดีอยู่ในชั้นศาลแต่ทางผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังมีความรู้สึกว่าผู้ต้องหาในคดีนี้จะหลุดจากคดีก็เป็นไปได้เพราะเป็นผู้มีอำนาจ อันเนื่องมาจากคดี Ampatuan ที่คนทั่วโลกรู้จักในที่ประชุมจึงมีมติกำหนดให้วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวัน Against Impunity Day โดยสมาคมนักข่าวฯ ได้เข้าร่วมรณรงค์โดยการยื่นจดหมายเรียกร้องผ่านทางฑูตฟิลิปปินส์ประจำประเทศไทย เมื่อ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
๖. คณะกรรมการอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วยกรรมการบริหาร ๘ คน
๑. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายก สมาคมฯ ประธาน
๒. ดร.สุรศักดิ์ จิรวัสตร์มงคล อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ กรรมการ
๓. นายวิษณุพงษ์ หิญชีระนันท์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ กรรมการ
๔. นายเสด็จ บุนนาค อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ กรรมการ
๕. นายอนุชา เจริญโพธิ์ อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ กรรมการ
๖. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ เลขาธิการ สมาคมฯ กรรมการ
๗. นางสาวจินตนา จันทร์ไพบูลย์ รองเลขาธิการ ฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ กรรมการ
๘.นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ กรรมการ
ในปี ๒๕๕๔ คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ โดยแบ่งเป็นกิจกรรมที่ประสานความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพสื่อและกิจกรรมที่ประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ดังนี้
๖.๑ กิจกรรมด้านการบริหารจัดการภายใน
๖.๑.๑ การจัดสัมมนาเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ สมาคมฯ ได้จัดการสัมมนาเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ สมาคมฯ ขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๙ – วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยมีทั้งกรรมการบริหาร สมาคมฯ ชุดปัจจุบันและชุดที่ผ่าน ที่ปรึกษา สมาคมฯ และอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เข้าร่วมการสัมมนา ซึ่งจากการสัมมนาดังกล่าวทำให้เห็นเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงานของสมาคมฯมากขึ้น
๖.๑.๒ การจัดทำระบบทะเบียนสมาชิก สมาคมฯ อยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบทะเบียนสมาชิก โดยจะมีการจัดทำฐานข้อมูลของสมาชิกให้อยู่ในรูปแบบของ Data Base ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเอต์
๖.๑.๓ การจัดกิจกรรมระดมทุน สมาคมฯ จัดกิจกรรมระดมทุนครั้งใหญ่ปีละ ๒ กิจกรรม คือการจัดทำหนังสือรายงานประจำปีและการจัดงานดินเนอร์ทอล์ค โดยในส่วนของงานดินเนอร์ทอล์คประจำปี ๒๕๕๔ จัดเมื่อ ๕ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ มีการอภิปรายเรื่อง “ปรับรื้อเศรษฐกิจไทย รับมือขั้วอำนาจโลกใหม่” โดยมีวิทยากรประกอบด้วย ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบัน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดำเนินรายการโดย นายวีระ ธีรภัทรานนท์
สื่อมวลชนอิสระ
ส่วนในปี ๒๕๕๕ สมาคมฯ จัดงานดินเนอร์ทอล์คในวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท ประตูน้ำ ได้รับเกียรติจากฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาปาฐกถาพิเศษเรื่อง “รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอบโจทย์ประเทศไทย” และการอภิปรายในหัวข้อเดียวกัน โดยมีวิทยากรประกอบด้วย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายประมณฑ์ สุธีวงศ์ ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้าไทย
และประธานเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น และนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย นายวีระ ธีรภัทรานนท์ สื่อมวลชนอิสระ
๖.๒. กิจกรรมที่ประสานความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพสื่อและองค์กรเครือข่าย
๖.๒.๑ พรรคการเมือง ตอบโจทย์สื่อ ปฏิรูปประเทศไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สถาบันอิศรา จัดเวทีสัมมนาสื่อมวลชนเรื่อง “พรรคการเมือง ตอบโจทย์สื่อ ปฏิรูปประเทศไทย” เพื่อนำเสนอแนวทางนโยบายพรรคการเมืองและการปฏิรูปประเทศไทย ในวันอาทิตย์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด ถนนรัชดาภิเษก โดยมีพรรคการเมืองที่เข้าร่วม ๕ พรรคประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และร่วมตั้งคำถามโดยผู้แทนสื่อมวลชน ๕ ประกอบด้วย นางสนิทสุดา เอกชัย หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ นางยุวดี ธัญญสิริ สื่อมวลชนอาวุโส นางสาวดวงกมล โชตะนา ประธานบริหารหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ นางฐิติวรรณ ไสวแสนยากร หัวหน้าข่าวการศึกษาและสาธารณสุข หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันอิศรา
๖.๒.๒ ร่วมจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาส ๑๔ ปีสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๔ ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ระหว่างวันศุกร์ที่ ๒๔ – วันอาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ชั้นสอง ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยในส่วนที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ร่วมจัดประกอบด้วยกิจกรรม ๓ กิจกรรม คือ
๑) การประกวดการแสดงรณรงค์ “ จริยธรรมสื่อมวลชน ” เพื่อรณรงค์ส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรมสื่อมวลชน โดยมีสถาบันการศึกษาส่งทีมเข้าร่วมประกวด ได้แก่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น โดยการประกวดจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๖.๓๐ น. ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งคณะกรรมการผู้ตัดสินประกอบด้วย ๑.นายพรชัย ปุณวัฒนาพร เลขาธิการ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ๒. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ เลขาธิการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ๓. นายกรุณพล เทียนสุวรรณ (เพชร) ดารานักแสดงจากช่อง ๓ ๔. ดร.ลักษณา คล้ายแก้ว ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตร์มาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ๕.นายดำฤทธิ์ วิริยะกุล ที่ปรึกษา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ สนับสนุนการประกวดโดยมูลนิธิซีเมนต์ไทย
๒) เปิดตัวหนังสือบันทึกภาพเหตุการณ์การชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) “หมายเหตุประเทศไทย รศ. ๒๒๙” ซึ่งเป็นหนังสือภาพที่บรรดาช่างภาพหนังสือพิมพ์ทุกสำนักร่วมกันเลือกกว่าหมื่นภาพ จนเหลือสามร้อยกว่าภาพ มีการจำหน่ายหนังสือภาพในงานดังกล่าวที่บูทสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในราคาพิเศษด้วย
๓) เวทีสนทนา "ภาพข่าวเล่าเรื่อง กระเทาะเปลือกคนหลังเลนส์" สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯร่วมกับชมรมช่างภาพการเมืองจัดเวทีเสวนาเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้และเข้าใจชีวิตช่างภาพ โดยมีวิทยากรประกอบด้วย กิจกรรมบนเวที "ภาพข่าวเล่าเรื่อง กระเทาะเปลือกคนหลังเลนส์" โดย นายสกล สนธิรัตน ช่างภาพ หนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น นายโกศล นาคาชล ช่างภาพ หนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ นางสาวประเสริฐ ขวัญมา ช่างภาพ หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ และนายมานพ ทิพย์โอสถ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และบรรณาธิการหนังสือฯ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔
๖.๒.๓ อนาคตกรรมกร (นัก) ข่าวไทยในยุคเปลี่ยนผ่านการเมือง ทุนและเทคโนโลยี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ ร่วมกับ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค โดยการสนับสนุนจาก มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท จัดสัมมนาเรื่อง อนาคตกรรมกร (นัก) ข่าวไทยในยุคเปลี่ยนผ่านการเมือง ทุนและเทคโนโลยี เมื่อวันพุธที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณ โรงแรมสยามซิตี้
๖.๓. กิจกรรมเฉพาะกิจ ศูนย์เฉพาะกิจประสานงานช่วยเหลือสื่อมวลชนผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปสภ.
จากสถานการณ์อุทกภัยในภาคเหนือและภาคกลางได้ไหลเข้ามาท่วมในจังหวัดปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานีและนนทบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครบางส่วน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตบ้านพักอาศัยของประชาชนที่เข้ามาทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร สถานการณ์ดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนทุกแขนงที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวและข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์อุทกภัยและการช่วยเหลือประชาชนในภาวะเร่งด่วน
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมและชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการสนับสนุนของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และเครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ (SEAPA) จึงได้ร่วมกันจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจประสานงานช่วยเหลือสื่อมวลชนผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปสภ.ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประสานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทั้งในระยะเฉพาะหน้าและระยะยาว พร้อมกันนี้ ได้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ดังกล่าว โดยความร่วมมือขององค์กรวิชาชีพสื่อทุกองค์กร โดยศูนย์ฯได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
๖.๓.๑ การส่งมอบถุงยังชีพ สมาคมฯ ได้รับความอนุเคราะห์ถุงยังชีพจากหน่วยงานต่างๆ จึงได้มีการส่งมอบถุงยังชีพให้กับนักข่าวที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทั้งนำส่งไปที่องค์กรต้นสังกัด และทั้งให้มารับถุงยังชีพด้วยตัวเองที่อาคาร สมาคมฯ
๖.๓.๒ . จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวขึ้นที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสนสำหรับรองรับสมาชิกองค์กรที่ต้องอพยพฉุกเฉินและยังไม่สามารถหาที่พักพิงได้ในช่วงแรก
๖.๓.๓ อนุมัติเงินช่วยเหลือให้กับสื่อมวลชนที่ประสบอุทกภัย โดยไม่จำกัดเฉพาะสมาชิกองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ได้มีการอนุมัติให้เงินช่วยเหลือสำหรับสื่อมวลชนที่เป็นสมาชิกรายละ ๖,๐๐๐ บาท จำนวน. ๓๖๓ คน รวมป็นเงินจำนวน ๒,๑๗๘,๐๐๐ บาท และอนุมัติเงินช่วยเหลือสำหรับสื่อมวลชนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกรายละ ๒,๐๐๐ บาท จำนวน ๓๕๒ คน รวมป็นเงินจำนวน ๗๐๔,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ยังได้อนุมัติเงินช่วยเหลือให้กับสื่อมวลชนที่ส่งเอกสารไม่ทันภายในเวลาที่กำหนด โดยอนุมัติเงินช่วยเหลือสำหรับสมาชิกคนละ ๓,๐๐๐ บาท จำนวน ๒๕ คน รวมป็นเงินจำนวน ๗๕,๐๐๐ บาท และสื่อมวลชนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกคนละ ๑,๐๐๐ บาท จำนวน ๑๔ คน รวมป็นเงินจำนวน ๑๔,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินที่อนุมัติช่วยเหลือสื่อมวลชน ๒,๙๗๑,๐๐๐ บาท
๖.๓.๔ กู้บ้าน ซ่อมรถ สมาคมฯ ร่วมกับ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดกิจกรรม “กู้บ้าน ซ่อมรถ คนข่าว” เพื่อให้ความรู้เรื่องการซ่อมบ้านและการดูแลบ้านหลังน้ำรถจากช่างผู้เชี่ยวชาญ ความรู้ในการซ่อมรถที่ถูกน้ำท่วม และคำปรึกษาทางด้านการเงินให้แก่สื่อมวล ขึ้นในวันเสาร์ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
กิจกรรมในงานประกอบด้วยการให้คำแนะนำเบื้องต้นตั้งแต่การเข้าไปในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมให้
ปลอดภัย การดำเนินการซ่อมแซมบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจากเครือเอสซีจี และผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์จากบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย ) จำกัด จะมาให้ความรู้และตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการซ่อมรถที่ถูกน้ำท่วม พร้อมทั้งผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน จาก ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารกสิกร ธนาคารไทยพาณิชย์ มาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการขออนุมัติสินเชื่อเพื่อการซ่อมแซมบ้าน
๖.๓.๕ คนข่าว มาขายของ สมาคมฯ ร่วมกับศูนย์การค้า MBK Center และ The Nine Neighborhood Center จัดกิจกรรมคนข่าว มาขายของ ขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๗ –อาทิตย์ที่๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณ ลานNine Square The Nine Neighborhood Center โดยมีเป้าหมายต้องการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือสื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้นำสินค้าที่มีมาจำหน่ายเพื่อหารายได้
กิจกรรมในงานประกอบด้วย การออกร้านจำหน่ายสินค้าของสื่อมวลชน ประมูลของรักดารา,นักข่าวชื่อดัง นักการเมือง,การแสดงเดินแฟชั่นโชว์จากนักข่าวชื่อดัง นิทรรศการภาพถ่ายน้ำท่วม กิจกรรมเขียนภาพลายเส้นจากการ์ตูนนิสต์ชื่อดัง ซุ้มถ่ายภาพกับนักข่าวดัง เสวนาคนข่าวมาเล่าเรื่องประสบการณ์ช่วงน้ำท่วม และจำหน่ายเสื้อที่ระลึก
ปี ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นปีแห่งความท้าทายบทบาทหน้าที่สื่อมวลชน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำโครงการต่างๆ ที่จะเอื้ออำนวยและสนับสนุนการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนทุกแขนง ภายใต้ความคาดหวังที่จะให้สื่อมวลชนสามารถรักษาบทบาทการทำหน้าที่ที่มีความเป็นกลางและเป็นธรรม ภายใต้หลักการแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน ท่ามกลางวิกฤตที่รุ่มเร้าอย่างไม่ขาดสาย
////////////////////////////////////////////////////////////////