รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๔/๒๕๕๖
คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๔ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๖ – ๔ มีนาคม ๒๕๕๗ ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการดำเนินไว้ว่า “พัฒนาศักยภาพ ดูแลสวัสดิการ ส่งเสริมสวัสดิภาพ กระชับความสัมพันธ์กับนักข่าว” ภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก ๕ ยุทธศาสตร์คือ
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาศักยภาพนักข่าว
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ดูแลสวัสดิการ ส่งเสริมสวัสดิภาพ กระชับความสัมพันธ์กับนักข่าว
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ เสรีภาพสื่อบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ สร้างภาคีสื่อในการขับเคลื่อนเพื่อหาทางออกในปัญหาสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสร้างเครือข่าย: วิชาชีพ วิชาการและ ภาคประชาชน
ในปี ๒๕๕๖ คณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ทำหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรม โดยแบ่งออกเป็น ๖ คณะอนุกรรมการ ดังนี้
๑) คณะอนุกรรมการฝ่ายพิจารณาบทบาทสมาคมในสถานการณ์เร่งด่วน
๒) คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ
๓) คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ
๔) คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์
๕) คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ
๖) คณะกรรมการอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ
๑. คณะอนุกรรมการฝ่ายพิจารณาบทบาทสมาคมในสถานการณ์เร่งด่วน ประกอบด้วย ที่ปรึกษา ๔ คนและอนุกรรมการ ๖ คน
๑.นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อดีต นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แหงประเทศไทย ที่ปรึกษา
๒. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี อดีต นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แหงประเทศไทย ที่ปรึกษา
๓. นายอรุณ ลอตระกูล อดีตกรรมการบริหาร สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๔. นายจักรกฤษณ์ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ที่ปรึกษา
๕. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายก สมาคมฯ ประธาน
๖. นายวงศ์ชัย วงศ์มีชัย อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ อนุกรรมการ
๗. นายเสด็จ บุนนาค อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๘. นายอนุชา เจริญโพธิ์ อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๙. นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ เลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๐. นายยุทธนา นวลจรัส กรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
คณะอนุกรรมการ ชุดนี้จะทำหน้าที่ในการรวบรวมทั้งความเห็นและข้อเสนอต่างๆ จากบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการนำมาพิจารณาบทบาทสมาคมฯ ในสถานการณ์เร่งด่วน ทั้งในรูปแบบของการออกแถลงการณ์, การออกจดหมายเปิดผนึก และการเผยแพร่คำชี้แจงในเรื่องต่างๆ รวมทั้งทำความเข้าใจและสื่อสารกับสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆ ของสื่อ (ดูเอกสารแถลงการณ์ในเล่ม)
๒. คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๕ คนและอนุกรรมการ ๑๑ คน
๑ ดร. สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล สถาบันปัญญภิวัฒน์ ที่ปรึกษา
๒ นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ที่ปรึกษา
๓ ดร. มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ปรึกษา
๔ ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทึ่ปรึกษา
๕ นายวิษณุพงษ์ หิญชีระนันท์ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ที่ปรึกษา
๖ นายวันชัย วงศ์มีชัย อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ ประธาน
๗ นายอรุณ ลอตระกูล หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ รองประธาน
๗ อาจารย์เสาวนีย์ ฉัตรแก้ว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อนุกรรมการ
๘ นายสุทธิรักษ์ อุฒมนตรี รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ เลขานุการคณะอนุกรรมการ
๙ นางสาวเรวดี พงศ์ไชยยง หนังสือพิมพ์มติชน อนุกรรมการ
๑๐ นางสาว น. รินี เรืองหนู หนังสือพิมพ์มติชน อนุกรรมการ
๑๑ นายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ อนุกรรมการ
๑๒ อาจารย์เสาวนีย์ ฉัตรแก้ว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อนุกรรมการ
๑๓ นายไพรัช มิ่งขวัญ นายทะเบียนและสวัสดิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๔ นายยุทธนา นวลจรัส กรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๕ นางสาวเย็นจิตร์ สถิรมงคลสุข สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส อนุกรรมการ
๑๖ นางสาวมณีรัตน์ ศิริปัญจนะ กรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
ในปี ๒๕๕๖ คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ แบ่งงานออกเป็น ๕ กลุ่มงาน คือ
๒.๑. ด้านการอบรม สมาคมฯ ได้จัดทำโครงการด้านการฝึกอบรมจำนวน ๒ หลักสูตร คือ
๒.๑.๑ การอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าว ประจำปี ๒๕๕๖ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าว ประจำปี ๒๕๕๖ ขึ้นระหว่างวันศุกร์ที่ ๕ - วันอาทิตย์ที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ณ สามพรานริเวอร์ไซต์ จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพสื่อมวลชน โดยใช้ Role model ทั้งจากผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับจากกลุ่มวิชาชีพและผู้แทนจากกลุ่มนักวิชาการเพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ความเป็นวิชาชีพและจริยธรรมให้กับผู้สื่อข่าว มีนักข่าวเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๒๕ คน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
หัวข้อการอบรมประกอบด้วย “ไทย : ความท้าทาย ในภาวะวิกฤต ที่ไร้พรมแดน” โดย นางสาวรุ่งมณี เมฆโสภณ นักข่าวอาวุโส อิสระและนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการอาวุโส ไทยพีบีเอส การฝึกจับประเด็นข่าวกรณี ผลกระทบการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง การชวนคิด ชวนคุย “จริยธรรมสื่อในสถานการณ์วิกฤตและความขัดแย้ง” และการเสวนากับนักข่าวสายเศรษฐกิจในหัวข้อ “สกัดประเด็น ตามรอย…ข้าวสารเน่า ข้าวเปลือกล่องหน” และการฝึกปฏิบัติการเขียนข่าว เขียนสกู๊ป รายงานพิเศษและการถ่ายภาพข่าว
๒.๑.๒ การอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวพิราบน้อยรุ่น ๑๖ เป็นโครงการต่อเนื่องจัดขึ้นเป็นปีที่ ๑๖ ซึ่งหากนับถึงปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมกว่า ๑,๐๐๐ คนแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้านสิ่งพิมพ์ (Professional Development) ความรับผิดชอบต่อจริยธรรมในวิชาชีพ (Ethics Responsibility) และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะองค์กรเพื่อสังคม (Organizational Social Responsibility) ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสถาบันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักข่าวรุ่นพี่ที่ทำงานทั้งในภาคสนาม และในส่วนของผู้บริหารงานข่าว อันเป็นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการปลูกฝังอุดมคติให้กับนักศึกษาด้วย ในรุ่นที่ ๑๖ มีนักศึกษาที่เรียนด้านหนังสือพิมพ์จากสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมอบรมจำนวน ๖๐ คน จาก ๓๒ สถาบัน จัดอบรมระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๘ – วันอาทิตย์ที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ โรงแรมภูเขางามรีสอร์ท จังหวัดนครนายก ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน
ในการอบรมครั้งนี้ได้เพิ่มกระบวนการฝึกฝนนักศึกษาในการเขียนข่าวเพิ่มขึ้นอีกขั้นตอนหนึ่ง โดยนักศึกษาทุกคนจะ ต้องส่งผลงานข่าวเข้าร่วมโครงการ TJA Cyber Reporter อย่างน้อยคนละ ๔ ชิ้นงาน
๒.๒ กลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ ได้มีการจัดทำโครงการในกลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ จำนวน ๓ กิจกรรม ดังนี้
๒.๒.๑ ราชดำเนินเสวนา เป็นโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๑๕ ซึ่งเป็นความริเริ่มจากสมัยที่นายกวี จงกิจถาวร เป็นนายก สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๒) มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการทำงานข่าวให้มีคุณภาพและอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง โดยมีการเชิญแหล่งข่าวมาพบปะพูดคุยและตอบคำถามนักข่าว เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างนักข่าวกับแหล่งข่าวในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ(สสส.) ผ่านทางสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ได้จัดราชดำเนินเสวนาไป จำนวน กิจกรรมเสวนาสาธารณะ การจัดเวทีเสวนาสาธารณะจัดร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ และองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆที่เป็นภาคี และเครือข่ายพันธมิตรใหม่ๆ โดยเน้นความหลากหลาย และให้ความสาคัญกับเนื้อหาหรือ หัวข้อเสวนาที่เป็นการสนับสนุนกิจกรรมด้านสิทธิเสรีภาพและสิทธิในการสื่อสาร เป็นการเปิดเวทีให้กับภาคประชาสังคม ได้ใช้เป็นพื้นที่ร่วมกันหาทางออก และหาแนวทางแก้ปัญหาด้านสังคม ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมจำนวน ๙ ครั้ง ดังนี้
๑.“ไข่ราคาสูง...เงินเฟ้อต่ำ เหตุใดกลไกตลาดบิดเบือน?”(๑๐ มิ.ย.๕๖)
๒.“อวสานรถหรูเลี่ยงกฎหมาย?”(๑๗ มิ.ย.๕๖)
๓.“ลดราคาจำนำข้าว:ลดขาดทุน-ป้องกันทุจริตได้จริงหรือ?”(๒๔ มิ.ย.๕๖)
๔.“เงินกู้ 2 ล้านล้าน วิกฤติหรือโอกาสประเทศไทย?”(๒๘ ก.ค.๕๖)
๕.“นิรโทษกรรม...ทำเพื่อใคร?”(๑ ส.ค.๕๖)
๖.“เป้าหมายสุดท้ายของกลุ่ม BRN กับ Peace Process” จัดร่วมกับ สกว. (๒๕ ส.ค.๕๖)
๗.“๔๐ ปี ๑๔ ตุลา เส้นทางเสรีภาพสื่อไทย” จัดร่วมกับมูลนิธิ 14 ตุลา (๑๓ ต.ค.๕๖)
๘."ทางออกวิกฤติ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม กับแนวโน้มการเมืองไทย"(๙ พ.ย.๕๖)
๙. "หนึ่งทศวรรษปัญหาใต้ ในมุมมองของ ดร.วันกาเดย์ เจ๊ะมัน และ ดร.จรัญ มะลูลีม" (๒๘ พ.ย.๕๖)
สามารถติดตามเนื้อหาราชดำเนินเสวนาได้ที่ www.tja.or.th
๒.๒.๒. รายการวิทยุช่วยกันคิดทิศทางข่าว เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กับสำนักข่าวไทยและบริษัท อสมท. จำกัด มหาชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท. FM ๑๐๐.๕ Mhz ทุกวันอาทิตย์เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐น. เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักข่าวรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯ รวมทั้งเป็นเวทีในการสื่อสารเรื่องราวที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนให้สาธารณชนได้ รับทราบ รวมทั้งการวิเคราะห์ถึงทิศทางข่าวในสัปดาห์ต่อไป โดยเน้นความหลากหลายของประเด็นข่าว ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และอื่นๆที่เป็นประเด็นร้อนในขณะนั้น
สำหรับนักจัดรายการประจำปี ๒๕๕๖ มีจำนวน ๑๓ คนคือ ๑.นายธีรเดช เอี่ยมสำราญ (มติชนออนไลน์) ๒. นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ) ๓. นายราม อินทรวิจิตร (หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ) ๔. นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา (สำนักข่าวเนชั่น) ๕.นางสาวชุติมณฑน์ ศรีขำ (หนังสือพิมพ์บ้านเมือง) ๖.นางสาวเลอลักษณ์ จันทร์เทพ (หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์) ๗. นางสาวจินตนา จันทร์ไพบูลย์ (หนังสือพิมพ์สยามรัฐ) ๘. นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง (สำนักข่าวเนชั่น ) ๙. นายมานพ ทิพย์โอสถ (หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์) และ ๑๐.นางสาวบุษดี พนมภู (หนังสือพิมพ์บ้านเมือง) ๑๑.นายวรพล กิตติรัตวรางกูล (หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์) ๑๒.นางสาวประนอม บุญล้ำ (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ) ๑๓.นายสุทธิรักษ์ อุฒมนตรี (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)
ติดตามฟังรายการวิทยุย้อนหลังได้ที่ www.tja.or.th
๒.๒.๓ www.tja.or.th เป็นเวบไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข่าวสารต่างๆ ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรม,รายงานกิจกรรม,กฎหมายที่เกี่ยวข้อง,ประวัติความ เป็นมา จุดยืนและท่าทีของสมาคมฯต่อสถานการณ์ต่างๆของบ้านเมือง รวมทั้งการบันทึกผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ และเป็นชุมชนออนไลน์ของนักวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน ในการแลกเปลี่ยนทัศนะของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน และนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงสื่อสารมวลชน
๒.๓ กลุ่มงานหนังสือ ในปี ๒๕๕๖ ฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำหนังสือรวม ๒ เล่ม ดังนี้
๒.๓.๑ จุลสารราชดำเนิน ในปี ๒๕๕๖ สมาคมฯ ได้จัดทำวารสารราชดำเนินโดยออกเป็นรายสามเดือนจำนวน ๓ ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับมีเนื้อหาที่น่าสนใจ ได้รับเสียงสะท้อนอย่างดีทั้งจากสมาชิกสมาคมฯ สถาบันวิชาการและผู้สนใจทั่วไป
วารสารราชดำเนินฉบับที่ ๒๕ เผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๖ เนื้อหาหลักเรื่อง “ความท้าทายของนักข่าวไทย” นายพงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ เป็นบรรณาธิการ
และวารสารราชดำเนินฉบับที่ ๒๖ ประจำปี ๒๕๕๖ เผยแพร่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เนื้อหาหลักเรื่อง “นักข่าวผี”
อ่านเนื้อหาจุลสารราชดำเนินฉบับย้อนหลังได้ที่ www.tja.or.th
๒.๓.๒ หนังสือวันนักข่าว “บทบาทสื่อไทยในประชาคมอาเซียน” หนังสือวันนักข่าวเป็นหนังสือรายงานประจำปีที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการข่าวและหนังสือพิมพ์ ตลอดจนรายงานกิจกรรมของสมาคม และทำเนียบรายชื่อนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่เป็นสมาชิกสมาคม เนื้อหาหลักในปีนี้เน้นเรื่อง “บทบาทสื่อไทยในประชาคมอาเซียน” มีนางสาว น.รินี เรืองหนู เป็นบรรณาธิการ มีการแจกจ่ายหนังสือวันนักข่าวถึงมือสมาชิก สมาคมฯ ในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมฯ
๒.๔. กลุ่มงานเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็น เครือข่ายที่นักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนร่วมกันก่อตั้งขึ้นเพื่อ เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน โดยในปี ๒๕๕๖ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ๓ กิจกรรม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ(สสส.) ผ่านทางสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ดังนี้
๒.๔.๑ ห้องเรียนสาธารณะ เป็นกิจกรรมที่เน้นการถ่ายทอดความรู้ และเทคนิค ทางวิชาชีพสื่อมวลชน แก่นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และเป็นแรงจูงใจในการกระตุ้นให้นิสิต นักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ เข้ามาทำงานสื่ออย่างเป็นระบบภายใต้กรอบการทำงานเชิงวิชาการ และเป็นการร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างนิสิต นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และนักวิชาชีพสื่อทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น โดยในปี ๒๕๕๖ จัดกิจกรรมหัวข้อ "Multi-skilled journalists " ร่วมกับ ๓ สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร(๒๔ ก.ย.๕๖) , มหาวิทยาลัยศิลปากร(๑๘ ธ.ค.๕๖) และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต (๑๙ ธ.ค.๕๖)
๒.๔.๒ ประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นเครือข่ายที่นักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนร่วมกันก่อตั้งขึ้นเพื่อ เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน โดยในปี ๒๕๕๖ จัดกิจกรรม ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เรื่อง ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๕ ตอน “คนเปลี่ยน สื่อปรับ รุก-รับ อย่างไร” (๑๙ ก.ค.๕๖)
๒.๔.๓ ประชุมใหญ่ทางวิชาการสื่อสารมวลชน “อนาคตสื่อไทย : ความท้าทายภายใต้ รัฐ ทุน และเทคโนโลยี” สมาคมฯ ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จัดทำโครงการประชุมวิชาการวิชาชีพสื่อสารมวลชน ระดับชาติ หัวข้อ ““ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๒ ตอน “Convergence Newsroom”” จัดระหว่างวันศุกร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาหอการค้าไทย
๒.๔.๔ โครงการศึกษาดูงานด้านสื่อมวลชนของอาจารย์ด้านวารสารศาสตร์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา จัดทำโครงการศึกษาดูงานด้านสื่อมวลชนของอาจารย์ด้านวารสารศาสตร์ รุ่นที่ ๖ จัดขึ้นภายในระยะเวลา ๓ สัปดาห์ วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ ตุลาคม - วันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ที่สอนด้านนิเทศศาสตร์เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ๘ คน
๑.อาจารย์ทรงพร ศรีช่วย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
๒.อาจารย์อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา มหาวิทยาลัยเนชั่น
๓.อาจารย์อรรณพ แสงภู มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
๔.อาจารย์วิรยา ตาสว่าง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
๕.อาจารย์บุษบาบรรณ ไชยศิริ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
๖.อาจารย์สุนิศา เพี้ยนโอสถ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
๗.อาจารย์จุฬารัตน์ หนูทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
๘.อาจารย์ชุมพล มียิ่ง มหาวิทยาลัยศรีปทุม
๒.๕. กลุ่มงานประกวดข่าว
๒.๕.๑ การประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๕๖ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิอิศรา อมันตกุล ให้ดำเนินการจัดการประกวดข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม รางวัลอิศรา อมันตกุล เพื่อเป็นการรำลึกถึงนายอิศรา อมันตกุล นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรกและนักหนังสือพิมพ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภาย ใต้กรอบจริยธรรม โดยดำเนินการจัดการประกวดมาตั้งแต่ ปี ๒๕๑๕ สำหรับในปี ๒๕๕๖ มีผลงานงานข่าวส่งเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวยอดเยี่ยมจำนวน ๑๕ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๕ ฉบับ และส่งผลงานภาพข่าวเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทภาพข่าวยอดเยี่ยมจำนวน ๕๗ ภาพ จากหนังสือพิมพ์ ๘ ฉบับ
๒.๕.๒ การประกวดรางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๖ ของ ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมฯ ได้มอบหมายให้ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด ข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ซึ่งจัดการประกวดมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ สำหรับในปี ๒๕๕๖ มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน ๔ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๓ ฉบับ
๒.๕.๓ การประกวดรางวัลพิราบน้อย ประจำปี ๒๕๕๖ เป็นการประกวดผลงานฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีการทำ หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ โดยแบ่งการประกวดออกเป็น ๒ รางวัล ๔ ประเภท คือ รางวัลพิราบน้อย ประกอบด้วย ๑.ประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ๒. ประเภทข่าวฝึกปฏิบัติ ๓.ประเภทข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ และรางวัลริต้า ปาติยะเสวี คือประเภทสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ เริ่มจัดการประกวดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำหนังสือพิมพ์และการทำข่าวของ นิสิตนักศึกษาวิชานิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันการศึกษา กับสมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน ในปี ๒๕๕๖ มีผลงานส่งเข้าประกวดดังนี้ ๑. หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ๑๓ ฉบับ ๒. ข่าวฝึกปฏิบัติ ๒๘ ข่าว ๓. ข่าวสิ่งแวดล้อม ๒๙ ข่าว และ ๔. สารคดีเชิงข่าว ๓๕ ชิ้น
๓. คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๒ คนและอนุกรรมการ ๑๓ คน
๑. ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปรึกษา
๒. นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร อดีต เลขาธิการ สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๓. นายเสด็จ บุนนาค อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ประธาน
๔. นางสาวกุลชาดา ชัยพิพัฒน์ เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ อนุกรรมการ
๕. ผู้แทนสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อนุกรรมการ
๖. นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง เลขาธิการ สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย อนุกรรมการ
๗. นายมานพ ทิพย์โอสถ อดีตกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๘. นายปราเมศร์เหล็กเพ็ชร์ เลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๙.นายสุเมธ สมคะเน ประธานสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย อนุกรรมการ
๑๐. นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา เนชั่นทีวี อนุกรรมการ
๑๑. นายสถาพร พงศ์พิพัฒน์วัฒนา สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส อนุกรรมการ
๑๒. นายสนธยา พิกุลทอง กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๓. นายชนะ ผาสุกสกุล หนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ อนุกรรมการ (ลาออก)
๑๔. นายปรัชญาชัย ดัชถุยาวัตร หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ อนุกรรมการ
๑๕. นายเชษฐ์ สุขสมเกษม รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ เลขานุการคณะอนุกรรมการ
ในปี ๒๕๕๖ คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ดำเนินงานภายใต้รูปแบบของการจัดตั้ง “ศูนย์ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน” เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมส่งเสริมและปกป้องมีสิทธิเสรีเสรีภาพของสื่อมวลชน โดยนักข่าวจะต้องมีอิสรภาพ เสรีภาพ ในการทำงาน ไม่ถูกคุกคาม แทรกแซงทั้งจากกลุ่มทุน รัฐ และผู้มีอิทธิพล โดยมีกิจกรรมดังนี้
๓.๑ งานรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพสื่อ
๓.๑.๑. โครงการฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day – 3 MAY) เป็นโครงการต่อเนื่องที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันที่ ๓ พฤษภาคม เนื่องจากเป็นวันที่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก้ ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ ๓ พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก ซึ่งก็คือเสรีภาพในการแสดงออก ตั้งแต่เมื่อปี ๒๕๔๓ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ก็ได้ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และเครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าวมาโดยตลอด
ในปี ๒๕๕๖ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ โดยใช้หัวข้อหลัก “เสรีภาพที่ไม่คุกคาม” กิจกรรมประกอบด้วย การเสวนาในหัวข้อเรื่อง “เสรีภาพที่ไม่คุกคาม” โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายจักรกฤษ เพิ่มพูน ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ นางวลักษณ์กมล จ่างกมล คณะบดีคณะวิทยาการสื่อสาร ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ การออกแถลงการณ์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อแสดงถึงท่าที่และจุดยืนของสื่อมวลชนไทย
๓.๑.๒ สนับสนุนการดำเนินการของสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย เพื่อเป็นกลไกในการ ขับเคลื่อนด้าน สวัสดิการนักข่าว โดยได้มีการจัดเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดสวัสดิการสื่อ โดยได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหภาพแรงงานเลขทะเบียนที่ กธ.๑๑๑๔ เมื่อ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ โดยมีนายสุเมธ สมคะเน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นประธานก่อตั้ง และได้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการ สหภาพชุดแรก เมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๖ มีนายสุเมธ สมคะเน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นประธานคนแรกของสหภาพ
๓.๒ งานส่งเสริมทักษะวิชาชีพข่าว ในปี ๒๕๕๖ คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพสื่อและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ได้จัดการอบรมขึ้น ๒ หลักสูตร
๓.๒.๑ การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง รุ่น ๔ (Safety Training for Thai Journalists)” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การรายงานข่าวในสถานการณ์ความรุนแรง (Safety Training)” ขึ้นเพื่อให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพจากสื่อหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์และวิทยุ ได้เรียนรู้เรื่องการทำข่าวอย่างปลอดภัยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง โดยเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย ๑. การเตรียมตัวและวางแผนก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานข่าว ๒. การเข้าทำข่าวพื้นที่ที่มีความขัดแย้งในแต่ละสถานการณ์ ภาษาที่ใช้ในการรายงานข่าว . การปฐมพยาบาล ๖.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำข่าวในสถานการณ์ขัดแย้ง จัดระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๑ ถึง วันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ ไมด้ากอลฟ์คลับ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีทั้งผู้สื่อข่าวและช่างภาพจากหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์เข้าร่วมจำนวน ๒๕ คน โดยหลังจากอบรมหลักสูตรนี้แล้วได้มีการคัดเลือกผู้เข้าอบรมจากทั้ง ๔ รุ่น เพื่อเข้าอบรมหลักสูตร Train the trainer for safety training ต่อไป
สำหรับผู้สนับสนุนการอบรมประกอบด้วย ๑. บริษัท แคนนอน ประเทศไทย จำกัด ๒.สถานีโทรทัศน์ช่อง ๗ สี ๓. เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๔. บริษัท นามยง เทอร์มินัล จำกัด
๓.๒.๒ การอบรมหลักสูตร “กฎหมายเพิ่มศักยภาพสื่อระดับสูง” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน สถาบันอิศรา จัดการอบรมหลักสูตร “กฎหมายเพิ่มศักยภาพสื่อระดับสูง” ขึ้นเพื่อให้สื่อมวลชนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องระบบกฎหมายของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ กฎหมายแรงงาน หมิ่นประมาท คดีแพ่งและพาณิชย์ที่เน้นคดีผู้บริโภค ความรู้เกี่ยวกับคดีอาญาในระดับสูง รวมทั้งศึกษาอำนาจของกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ อย่างถ่องแท้ และสามารถนำไปพัฒนาความคิดในการสื่อสารไปสู่สังคมได้โดยไม่คลาดเคลื่อน เป็นภูมิคุ้มกันในการประกอบวิชาชีพ เพื่อไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้ต้องการใช้กฎหมายในทางบิดเบือน โดยยืมมือสื่อมวลชน และที่สำคัญคือให้สื่อมวลชน รู้ถึงสิทธิเสรีภาพที่ตนมีอยู่ มีภูมิคุ้มกันทางกฎหมาย ขณะเดียวกันก็ต้องมีความระมัดระวัง ไม่ไปละเมิดบุคคลอื่นจากการทำหน้าที่ของตนเอง
โดยเรียนทุกวันอาทิตย์เต็มวัน ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มกราคม – วันอาทิตย์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ มีนักข่าวเข้าร่วมอบรมจำนวน ๒๙ คน
๓.๒.๓ การอบรมหลักสูตรการถ่ายภาพในสถานการณ์ความรุนแรง สมาคมฯร่วมกับบริษัท แคนนอน ประเทศไทย จำกัด จัดการอบรมหลักสูตรการถ่ายภาพในสถานการณ์ความรุนแรง เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๓ สิงหาคม๒๕๕๖ ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีช่างภาพสนใจเข้าร่วมอบรม ๒๐ คน
๓.๓ งานติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพและสถานการณ์สื่อ
๓.๓.๑ ติดตามคดีกรณีสื่อมวลชนถูกคุกคามสิทธิเสรีภาพ อาทิ กรณีคุณสมโภชน์ โตรักษา ผู้ช่วยหัวหน้าบรรณาธิการข่าว ช่อง7 ถูก อบจ.สมุทรปราการฟ้องหมิ่นประมาทจากการเสนอข่าวในรายการคอลัมน์หมายเลข7 ต้านทุจริตตามติดกลโกง ซึ่งเปิดโปงเรื่องการพบพิรุธเงินอุดหนุนวัดในจังหวัดสมุทรปราการ กรณีนายภัทระ คำพิทักษ์ บรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงถล่มบ้านและผูกวัตถุคล้ายระเบิดแขวนไว้รั้วหน้าบ้าน กรณีคุณสมชัย กตัญญุตานันท์ หรือ “ชัย ราชวัตร” นักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองชื่อดัง ถูก นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ฟ้องในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และกรณีนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการข่าวการเมืองและความมั่นคงของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถูกกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ออกหมายเรียกตามข้อกล่าวหา พ.ร.บ.คอมฯ ฐานสร้างความตื่นตระหนก หลังโพสต์ข่าวลือว่าจะมีปฏิวัติ ให้ประชาชนกักตุนน้ำและอาหาร
โดยเมื่อวันอังคารที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๖ ได้เข้าพบ พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อติดตามการดำเนินคดี เนื่องจากในรอบปีที่ผ่านมาองค์กรสื่อมวลชนและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ได้ถูกคนร้ายใช้กำลังประทุษร้ายด้วยวิธีการและรูปแบบการคุกคามอันละเมิดต่อกฏหมาย อาทิ การขว้างปา จุดประทัดยักษ์ ทุบกระจก ไปจนถึงการใช้อาวุธปืนยิงใส่รถข่าว สำนักงาน และที่พักอาศัย ซึ่งตนเห็นว่า หากสื่อมวลชน ยังคงถูกคุกคามและถูกกระทำ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่สามารถจับคนผิดได้
๓.๓.๒ การจัดระบบลงทะเบียนปลอกแขนสื่อมวลชน สมาคมฯร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ และสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ได้ร่วมกับลงทะเบียนแจกปลอกแขนให้กับสื่อมวลชน เพื่อให้สื่อมวลชนใช้เป็นสัญญลักษณ์ในการเข้าพื้นที่การชุมนุม ซึ่งผู้เกี่ยวข้องจะสามารถสังเกตเห็นได้จากระยะไกล หรือในสภาวะชุลมุน โดยได้มีการเข้าพบ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) และ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)เพื่อชี้แจงและขอความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกให้กับสื่อมวลชนในการเข้าพื้นที่นำเสนอข่าว โดยถึงขณะนี้มีการแจกปลอกแขนให้กับสื่อมวลชนทุกแขนงทั้งไทยและเทศไปประมาณห้าพันชิ้น
๔. คณะกรรมการอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๑ คนและอนุกรรมการ ๑๓ คน
๑ นายกิตติพงษ์ นโรปการ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่ปรึกษาอนุกรรมการ
๒ นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่ปรึกษา
๓ นายชุติมณฑน์ ศรีขำ เหรัญญิก สมาคมฯ อนุกรรมการ
๔ นายวิศรุต ชาวนายก หนังสือพิมพ์บ้านเมือง อนุกรรมการ
๕ นายวัฒนา ค้ำชู สำนักข่าวเนชั่น อนุกรรมการ
๖ นายอนุพนธ์ ศักดิ์ดา หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ อนุกรรมการ
๗ นายวุฒิชัย มั่งคั่ง หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ อนุกรรมการ
๘ นายวัสยศ งามขำ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ อนุกรรมการ
๙ นางสาวสุพัฒนา บุญธรรม สำนักข่าวINN อนุกรรมการ
๑๐ นายราม ปั้นสนธิ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ อนุกรรมการ
๑๑ นางสาวบุษดี พนมภู กรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๒ นายเอกราช สัตตบุรุษ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ อนุกรรมการ
๑๓ นายไพรัช มิ่งขวัญ นายทะเบียนและสวัสดิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๑๔ นายคมสัน นันทจักร กรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ เลขานุการคณะอนุกรรมการ
ในปี ๒๕๕๖ คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แบ่งงานออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ
๔.๑ งานด้านสมาชิกสัมพันธ์
๔.๑.๑ กระจิบกระจาบพิราบน้อยรุ่น ๖ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดทำโครงการกระจิบกระจาบพิราบน้อยรุ่น ๖ ขึ้นในวันเสาร์ที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๗ โดยในปีนี้ได้นำบุตร-ธิดานักข่าวที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาเข้าร่วมทัศนศึกษา ณ ซาฟารีเวิลด์ มีผู้เข้าร่วม ๕๐ คน ได้รับการ
๔.๒ งานด้านสวัสดิการสมาชิก
๔.๒.๑ ทุนการศึกษา สมาคมฯ ได้มอบทุนการศึกษาให้กับสมาชิกสมาคมฯ โดยแบ่งเป็นทุนการศึกษาที่มอบให้กับสมาชิกสมาคมฯ และทุนการศึกษาที่มอบให้กับบุตร-ธิดา สมาชิก ดังนี้
๑) ทุนการศึกษาที่มอบให้กับบุตร-ธิดา สมาชิก สมาคมฯ แบ่งทุนการศึกษาออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑) ทุนส่งเสริมการศึกษา เป็นทุนแบบรายปี ๒) ทุนต่อเนื่อง เป็นทุนที่มอบให้แบบต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ -ระดับปริญญาตรี โดยได้รับการอนุเคราะห์ทุนการศึกษาจากมูลนิธิซีเมนต์ไทย ปีละ ๑๐ ทุน ปัจจุบันมีผู้รับทุนแล้ว ๖๐ คน
มีการจัดพิธีมอบทุนการศึกษาบุตร-ธิดานักข่าว เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ได้แบ่งให้ทุนการศึกษาออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ทุนส่งเสริมการศึกษา เป็นการให้ทุนแบบรายปี โดยใช้งบประมาณจากกองทุนการศึกษาเพื่อบุตร-ธิดา สมาชิกสมาคมฯ มีผู้ได้รับการอนุมัติทุนการศึกษาจำนวน ๑๒๕ ทุน ทุนละ ๔,๐๐๐ บาท เป็น เงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท และ ๒. ทุนต่อเนื่อง ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซิเมนต์ไทย เป็นปีที่ ๖ โดยในปี ๒๕๕๖ ได้รับการสนับสนุนเพิ่มอีก ๑๐ ทุน รวมเป็น ๖๐ ทุน
๒.) ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทมอบให้สมาชิกสมาคมฯ ในปีนี้มีมหาวิทยาลัยศรีปทุม มอบทุนการศึกษาให้กับสมาคมฯจำนวน ๒ ทุน โดยคณะกรรมการบริหาร สมาคมฯได้คัดเลือกให้นายสอนของพ่อ สถิตในดวงใจจากหนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการและนายธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ เข้ารับทุนดังกล่าว (ต่อมานายธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน ได้ขอถอนตัวจากการรับทุน)
๔.๒.๒ การมอบสินไหมมรณกรรมและการร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรมศพ สมาคมฯได้จัดทำประกันชีวิตกลุ่มให้กับสมาชิกที่ชำระเงินค่าบำรุงประจำปีกับ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ในปี ๒๕๕๖สมาคมฯ ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรมศพและส่งหรีดเคารพศพสมาชิกอีก ๔ รายคือ
๑. นายวิทยา ตัณฑสุทธิ์ (วิสามัญสมาชิก) ๒. นายไพฑูรย์ สุนทร (นสพ. ไทยรัฐ) ๓. นายทวี พรหมมิ(นสพ.เอเอสทีวีผู้จัดการ) และ ๔. นายสุจินต์ รุ่งเรืองกุล (นสพ. เดลินิวส์)
๔.๒.๓ การจัดทำโครงการสวัสดิการผู้ป่วยนอกร่วมกับโรงพยาบาลเอกชน เพื่อเป็นการดูแลสวัสดิการด้านสุขภาพให้กับสมาชิก สมาคมฯได้จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับโรงพยาบาลเอกชน ๒ โรงพยาบาลคือ โรงพยาบาลเวชธานีและโรงพยาบาลพญาไท โดยสมาชิกสามารถเข้ารับการรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายครั้งละ ๑,๕๐๐ บาท ต่อคน คนละ ๖ ครั้งต่อไป และมีนโยบายที่จะประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆในลักษณะเดียวกันนี้ให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯทั้ง ๔ มุมเมือง
๕. คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๕ คนและอนุกรรมการ ๙ คน
๑.นายกวี จงกิจถาวร นักหนังสือพิมพ์อาวุโส ที่ปรึกษา
๒. นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ นักหนังสือพิมพ์อาวุโส ที่ปรึกษา
๓. นางสาวบุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ที่ปรึกษา
๔. นางสนิทสุดา เอกชัย กองจันทึก หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ที่ปรึกษา
๕. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี อดีตนายก สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๖. นายอนุชา เจริญโพธิ์ อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ประธาน
๗. นายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล หนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ อนุกรรมการ
๘. นางกุลชาดา ชัยพิพัฒน์ เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ อนุกรรมการ
๙. นางสาวตติกานต์ เดชพงษ์ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ อนุกรรมการ
๑๐. นางสาวสุภาภรณ์ อัษฏมงคล สื่อมวลชนอิสระ อนุกรรมการ
๑๑. นายนเรศ เหล่าพรรณราย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ อนุกรรมการ
๑๒. นางสาวธนิดา ตันศุภผล หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ อนุกรรมการ
๑๓. นางสาวปิยะภรณ์ วงศ์เรือง หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ อนุกรรมการ
๑๔. นางสาวกรชนก รักษาเสรี กรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ เลขานุการคณะอนุกรรมการ
ในปี ๒๕๕๖ คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แบ่งงานออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ
๕.๑ กลุ่มงานสร้างเครือข่ายวิชาชีพต่างประเทศ
๕.๑.๑ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนพม่า-ไทย เป็นโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ ที่คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ มีความประสงค์ในการจัดตั้งความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรสื่อในภูมิภาคเดียวกันขึ้น โดยครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกของการเยือนที่สมาคมนักข่าวฯจะทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการต้อนรับสมาคมนักข่าวแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Myanmar Journalists Association) ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๑– วันพฤหัสบดีที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๖ โดยมีนาย Aung Hla Tun ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวรอยเตอร์ และ รองนายกสมาคมนักข่าว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน พร้อมด้วยคณะจำนวน ๔ คน ประกอบด้วย ๑.นาย Than Soe ๒ .นาย Kyaw Zwa Min ๓. นาย Zaw Than และ ๔. นาย U Ye Min Oo
ทั้งนี้ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงทำความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศเมียนมาร์ ซึ่งประเด็นสำคัญอยู่ที่ทั้งสองสมาคมจะร่วมมือกันทำความเข้าใจเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีในเรื่องความสัมพันธ์กันระหว่างสองประเทศทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และทั้งสองสมาคมยินดีที่จะดำเนินการโครงการแลกเปลี่ยนเยี่ยมเยือนกันระหว่างสองประเทศจากนี้ต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นการลงนามครั้งแรกในประวัติศาสตร์สื่อมวลชนไทยและเมียนม่าร์
๕.๑.๒ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนจีน-ไทย สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้เชิญผู้แทนของ All China Journalists Association – ACJA ) มาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๑๗ – วันเสาร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ โดยมี Mr. ZHANG YANQIN, Vice President of Innor Mongolia Daily เป็นหัวหน้าคณะ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนจีน-ไทยนี้เป็นโครงการที่สลับกันเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากแต่ละประเทศ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๒ เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศอีกทั้งยัง เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
โดยการมาเยือนครั้งนี้นอกจากเข้าเยี่ยมชมสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แล้ว ยังได้เข้าพบอดีตเลขาธิการอาเซียน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ และมีการสัมมนาร่วมกันในหัวข้อ “บทบาทสื่อมวลชนไทย-จีนในการส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-จีน” และทัศนศึกษาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและภูเก็ต
๕.๑.๓ การสัมมนาความร่วมมือสื่อมวลชนอาเซียน สมาคมนักข่าวฯ ได้ใช้โอกาสการจัดกิจกรรมประชุมใหญ่สามัญประจำปีและการจัดงานดินเนอร์ระหว่างวันที่ ๔ – ๕ มีนาคม ๒๕๕๖ เชิญสื่อมวลชนจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว พม่า เวียตนาม และกัมพูชามาร่วมสัมมนาเพื่อกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน
๕.๒ ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนนานาชาติ
๕.๒.๑ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในปี ๒๕๕๖ นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นรองประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (ได้ลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวในภายหลัง) และนายปราเมศ เหล็กเพชร์ เลขาธิการ สมาคมฯ ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการ สมาพันธ์ฯ
๕.๒.๒ SEAPA หรือ สมาคมสื่อมวลชนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในฐานะนายก สมาคมฯ ทำหน้าที่เป็นกรรมการบริหารสมาคมสื่อมวลชนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สมาคมนักข่าวฯเป็นองค์กรก่อตั้ง SEAPA)
๕.๒.๒ IFEX - International Freedom of Expression Exchange สมาคมฯเป็นสมาชิกของ IFEX มีการเข้าร่วมประชุมใหญ่ทุกปี
๕.๓. กลุ่มงานพัฒนาศักยภาพนักข่าว ในปี ๒๕๕๖ คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ได้จัดการอบรมขึ้น ๓ หลักสูตร
๕.๓.๑ การอบรมหลักสูตรเสริมสร้างความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ สำหรับผู้บริหารสื่อมวลชน (ASEAN Intensive Course) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนของบริษัท ไทยเบฟ จำกัด มหาชน ได้จัดอบรมหลักสูตรเสริมสร้างความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียนใน ปี ๒๕๕๘ สำหรับผู้บริหารสื่อมวลชน ขึ้น โดยเน้นให้ผู้บริหารข่าวจำนวน ๓๐ คน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาคมอาเซียนตลอดจนการสร้างความตระหนักในความหลากหลายของภูมิภาค รวมทั้งตระหนักต่อประชาคมอาเซียนและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่แก่สาธารณชนได้เริ่มการอบรมระหว่างวันที่ ๙-๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ซึ่งนอกจากจะมีการบรรยายในห้องเรียนแล้ว ยังมีการศึกษาดูงานประเทศเพื่อนบ้านใน ๔ เส้นทางประกอบด้วย เส้นทางที่ ๑. สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เส้นทางที่ ๒. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เส้นทางที่ ๓. ราชอาณาจักรกัมพูชา (พนมเปญ)และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (โฮจิมินห์ ซิตี้) และเส้นทางที่ ๔. สหพันธรัฐมาเลเซียและสาธารณรัฐสิงคโปร์
๕.๓.๒ หลักสูตรความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียน; การเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Connectivity) รุ่นที่ ๒ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับชมรมนักข่าวอาเซียน โดยการสนับสนุนของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ได้จัดอบรมหลักสูตรนี้ ขึ้น โดยเน้นให้สื่อมวลชนในสายงานต่างๆ นักวิชาการสายนิเทศศาสตร์และนักพัฒนาภาคเอกชน ร่วมทั้งผู้แทนจากองค์กรสนับสนุนจำนวน ๓๐ คน เพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจ และเสริมสร้างความสัมพันธ์ในเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างกันในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะในประเทศไทย พม่า และ เวียดนาม จัดระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๔ กันยายน – วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ซึ่งนอกจากจะมีการบรรยายในห้องเรียนแล้ว ยังมีการลงพื้นที่ดูงานชายแดนไทย-พม่า และลงศึกษาชุมชนแรงงานพม่าที่อยู่ในประเทศไทย รวมทั้งการศึกษาดูงานประเทศเพื่อนบ้านใน ๒ เส้นทางประกอบด้วย เส้นทางที่ ๑. สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และเส้นทางที่ ๒. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
๖. คณะกรรมการอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๒ คนและอนุกรรมการ ๖ คน
๑. นายวงศ์ชัย วงศ์มีชัย อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๒. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายก สมาคมฯ ที่ปรึกษา
๓.นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ เลขาธิการ สมาคมฯ ประธาน
๔. นายเชษฐ์ สุขสมเกษม รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๕. นายสุทธิรักษ์ อุฒมนตรี รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ อนุกรรมการ
๖. นางสาวชุติมณฑน์ ศรีขำ เหรัญญิก สมาคมฯ อนุกรรมการ
๖. นายพรพัฒน์ ชุณชฎาธาร หนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ อนุกรรมการ
๗. นายสุทธา พิมาลัย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ อนุกรรมการ
ในปี ๒๕๕๖ คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นการประสานความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพสื่อและกิจกรรมที่ประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ดังนี้
๖.๑ การจัดสัมมนาเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ สมาคมฯ ได้จัดการสัมมนาเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ สมาคมฯ ขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ ๖ - วันอาทิตย์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๖ ณ สามพรานริเวอร์ไซต์ จังหวัดนครปฐม มีทั้งกรรมการบริหาร สมาคมฯ ชุดปัจจุบันและชุดที่ผ่าน ที่ปรึกษา สมาคมฯ และอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เข้าร่วมการสัมมนา ซึ่งจากการสัมมนาดังกล่าวทำให้เห็นเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงานของสมาคมฯมากขึ้น
๖.๒. การจัดทำระบบทะเบียนสมาชิก สมาคมฯ ให้มีการจัดทำฐานข้อมูลของสมาชิกให้อยู่ในรูปแบบของ Data Base รวมทั้งปรับปรุงระบบการส่งข่าวสารถึงสมาชิกโดยเพิ่มช่องทางการส่งข่าวผ่านข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถืออีกหนึ่งช่องทาง
๖.๓ การจัดกิจกรรมระดมทุน สมาคมฯ จัดกิจกรรมระดมทุนครั้งใหญ่ปีละ ๒ กิจกรรม คือการจัดทำหนังสือรายงานประจำปีและการจัดงานดินเนอร์ทอล์ค โดยในส่วนของงานดินเนอร์ทอล์คประจำปี ๒๕๕๖ จัดเมื่อวันอังคารที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท ประตูน้ำ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราภิชาน ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีต รองนายกรัฐมนตรี มาปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ประเทศไทย ณ จุดเปลี่ยน”
ส่วนในปี ๒๕๕๗ จะจัดวันพุธที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๗ ณ โรงแรมสุโกศล ได้รับเกียรติจาก คุณประมณฑ์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอรัปชัน (ประเทศไทย) มาปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “วาระประเทศไทย ล้างคอรัปชั่น
รวมทั้งอยู่ระหว่างการจัดทำโครงการ ๖๐ ปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีการเปิดตัวโครงการในวันพุธที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๗
๖.๔ โครงการ “ถอดบทเรียนเปลี่ยนอนาคตประสบการณ์ ๒๐ ปี จาก ๒๐ ประเทศทั่วโลกของอดัม คาเฮน” สมาคมฯ ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักวิทยุแห่งประเทศไทยและสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จัดทำโครงการ “ถอดบทเรียนเปลี่ยนอนาคตประสบการณ์ ๒๐ ปี จาก ๒๐ ประเทศทั่วโลกของอดัม คาเฮน” วัตถุประสงค์เพื่อแนะนำวิธีออกจากปัญหาด้วยเครื่องมือใหม่ Transformative Scenario Planning วิธีสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการออกแบบชุดภาพอนาคต จากประสบการณ์กว่า ๒๐ ปีของ อดัม คาเฮน กับการทำงานออกแบบอนาคตกว่า ๒๐ ประเทศทั่วโลก เมื่อวันศุกร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๖ ณ โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ
๖.๕ เวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่อง “สถานการณ์การเมืองและการปฏิรูปประเทศไทย” สมาคมฯ ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย เวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่อง “สถานการณ์การเมืองและการปฏิรูปประเทศไทย” เมื่อวันพุธที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๖ ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมในระดับบรรณาธิการ หรือผู้ช่วยบรรณาธิการ จากหนังสือพิมพ์และวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยมีประเด็นในการหารือ ๒ ประเด็น คือ ๑.สถานการณ์วิกฤตของประเทศไทย และ ๒. รับฟังความคิดเห็นจากบรรณาธิการสื่อต่างๆ ว่าองค์กรวิชาชีพควรจะมีจุดยืนหรือท่าทีต่อสถานการณ์ของประเทศอย่างไร
ปี ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นปี “ปีแห่งการท้าทายบทบาทสื่อมวลชน” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำโครงการต่างๆ ที่จะเอื้ออำนวยและสนับสนุนการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนทุกแขนง ภายใต้ความคาดหวังที่จะให้สื่อมวลชนสามารถรักษาบทบาทการทำหน้าที่ที่มีความเป็นกลางและเป็นธรรม ภายใต้หลักการแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน อย่างมั่นคงและเข้มแข็ง
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
แผนยุทธศาสตร์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๖
การสื่อสารในยุคไร้พรมแดนได้พลิกโฉมหน้า ไม่เพียงสื่อสารระหว่างกันของผู้คนจะไร้ข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่เท่านั้น แต่สื่อมวลชนก็กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ท้าทาย จากการทำงานที่กำลังก้าวเข้าสู่ภาวะ“ไร้พรมแดน”อย่างแท้จริง นักข่าวหลายคนเริ่มถูกเรียกร้องจากต้นสังกัดให้นำเสนอข่าวครอบคลุมหลากหลายสื่อ ไม่จำกัดเฉพาะการเขียนข่าวเพื่อลงหนังสือพิมพ์เช่นเดิมอีกต่อไป การเสนอข่าวข้าม platform ในสถานการณ์ Media Convergence กำลังจะกลายเป็นสถานการณ์ปกติที่นักข่าวทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ต้องเผชิญ ไม่ช้าก็เร็ว
ที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์หลายฉบับพยายามดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด โดยเปิดช่องทางการสื่อสารให้กว้างขวางขึ้น ทั้งหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ข่าวสั้นผ่านมือถือ วิทยุออนไลน์ การสร้างแอพลิเคชั่น และหาช่องทางการประมูลทีวีดิจิตอล ขณะที่แนวโน้มการเพิ่มบุคลากรเพื่อรองรับภาระงานเหล่านั้นกลับสวนทาง สื่อหลายค่ายไม่มีนโยบายเพิ่มพนักงาน เป็นสัญญาณบ่งบอกชัดเจนว่านักข่าวที่จะดำรงหน้าที่ของตนไว้ได้ จำเป็นต้องปรับทักษะการทำงานให้สามารถนำเสนอข่าวได้หลากหลายประเภท ซึ่งสื่อแต่ละประเภทย่อมมีลักษณะเฉพาะ ทั้งเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างกันไป
ไม่เพียงความต้องการในด้านทักษะการนำเสนอข่าวผ่านสื่อต่างๆ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น แต่นักข่าวในฐานะที่เคยมีบทบาทหลักในการเสนอข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชน กำลังต้องเผชิญกับความท้าทายจากสถานการณ์การสื่อสารบนโลกออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้สามารถเป็นทั้งผู้ส่งสาร และผู้รับสารได้ในคราวเดียว นักข่าวภาคพลเมือง(Media Citizenship) เกิดขึ้นแทบจะทุกวินาที หลายเหตุการณ์ทั่วโลก ประชาชนทั่วไปที่มีสมาร์ทโฟน สามารถรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้าได้อย่างละเอียดและรวดเร็วก่อนที่นักข่าวภาคสนามจะไปถึงเหตุการณ์เสียอีก
สถานการณ์เช่นนี้มีนัยที่ชัดเจนว่า นักข่าวไม่สามารถดำรงอยู่ด้วยการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบวันต่อวันได้อีกต่อไป สาธารณชนคาดหวังให้นักข่าวนำเสนอ“ข่าวเชิงลึก” ที่สะท้อนเบื้องลึกเบื้องหลังได้อย่างถึงแก่น ขณะเดียวกันก็ต้องการการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้สื่อแสดงบทบาทนำในการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จนนำไปสู่การหาทางออกในปัญหาต่างๆ ร่วมกันในสังคม
สื่อมวลยังทำหน้าที่ที่มีความท้าทายในทุกๆด้าน ทั้งด้านความขัดแย้ง ความแตกแยกในสังคมและการเมืองยังคงดำรงอยู่และยังไม่มีใครรู้ว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะคลี่คลายตัวไปในทิศทางใด เช่นเดียวกันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทำให้เครือข่ายทางสังคมบนโลกอินเตอร์เน็ตขยายตัวอย่างรวดเร็ว เกิดสื่อใหม่ๆทั้งวิทยุชุมชน ทีวีดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี ทีวีดิจิตัล ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสิ่งพิมพ์และสื่อดั้งเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ส่งผลให้ความเป็นเจ้าของสื่อที่เคยผูกขาดโดยรัฐและทุนขนาดใหญ่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ที่สำคัญสังคมไทยได้ยอมรับให้กลุ่มการเมืองต่างๆหรือพรรคการเมืองสามารถเป็นเจ้าของประเภทสื่อต่างๆไปโดยปริยาย
ความหลากหลายของสื่อทำให้เส้นแบ่งระหว่างสื่อมวลชนกับสื่อทั่วๆไปคลุมเครือ สื่อมวลชนที่เคยทำหน้าที่รายงานข่าวสาร ข้อมูล ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน นำความจริงไปสู่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเที่ยงตรง เพื่อประโยชน์สาธารณะ(Public Interest)นั้น กลับมีบทบาทน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด แม้ในยามที่สื่อต้องดิ้นรนอย่างเต็มที่เพื่อความอยู่รอด แต่ในฐานะผู้ดำรงวิชาด้านงานข่าว นักข่าวไม่อาจปฏิเสธการดำเนินงานภายใต้กรอบจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ จึงควรมีการทบทวนมาตรการตรวจสอบกันเองของสื่ออย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อให้การตรวจสอบการทำงานของสื่อมีพลังที่เข้มแข็ง
จึงมีเป้าหมาย“พัฒนาศักยภาพ ดูแลสวัสดิการ ส่งเสริมสวัสดิภาพ กระชับความสัมพันธ์กับนักข่าว”
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาศักยภาพนักข่าว
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ดูแลสวัสดิการ ส่งเสริมสวัสดิภาพ กระชับความสัมพันธ์กับนักข่าว
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ เสรีภาพสื่อบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ สร้างภาคีสื่อในการขับเคลื่อนเพื่อหาทางออกในปัญหาสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสร้างเครือข่าย: วิชาชีพ วิชาการและ ภาคประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาศักยภาพนักข่าว
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสื่อในยุค Media Convergence นักข่าวจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ ด้วยการพัฒนาทักษะการทำข่าว ดังนี้
- การพัฒนาทักษะการเขียนข่าว/รายงานข่าว ผ่านสื่อใน platform ต่างๆ ครอบคลุมทั้งข่าวออนไลน์ และการรายงานข่าวโทรทัศน์/วิทยุ
- การทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน ข่าวเชิงลึก ข่าวเชิงวิเคราะห์ รอบด้านทั้งมิติการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
- การพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำข่าวที่ในบริบทที่กว้างขึ้น เช่น การทำข่าวในภูมิภาคอาเซียน
- ส่งเสริมให้นักข่าวมีเว็บไซต์ข่าวของตัวเอง โดยจะจัดให้มีโครงการอบรมการสร้างเว็บไซต์สำหรับสมาชิกและนักข่าวที่สนใจ
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ดูแลสวัสดิการ ส่งเสริมสวัสดิภาพ กระชับความสัมพันธ์กับนักข่าว
ท่ามกลางความท้าทายจากภาระหน้าที่ที่เพิ่มมากขึ้น นักข่าวหลายคนเริ่มต้องปฏิบัติงานหลายด้าน (Multi-tasks) ผ่านสื่อหลากหลายประเภท สวัสดิการและผลตอบแทนก็ควรได้รับการพิจารณาอย่างสมเหตุสมผลควบคู่ไปด้วย ขณะเดียวกันนักข่าวก็ควรมีสวัสดิภาพในการทำงานด้วย กล่าวคือ ขณะที่มีการเรียกร้องให้นักข่าวนำเสนอข่าวเชิงลึก วิเคราะห์วิจารณ์ และสะท้อนความไม่เป็นธรรมต่างๆ ในสังคม ตัวนักข่าวเองก็ควรได้รับการปกป้องไม่ให้ถูกข่มขู่ คุกคาม ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ เช่นเดินหน้าทำโครงการโครงการสวัสดิการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกกับโรงพยาบาลต่างๆ การส่งเสริมให้สมาชิกสมาคมฯทำประกันสุขภาพ , อาจมีโครงการทำบัตรสมาชิกของสมาคมฯเป็น ที่มีสิทธิของสมาชิกปรากฎอยู่ในบัตร
ทั้งนี้ต้องให้การสนับสนุนสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นตัวกลางในการหารือกับองค์กรสื่อ เพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายด้านผลตอบแทนและสวัสดิการแก่นักข่าวได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อการดำรงชีพในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้จำเป็นต้องมีโครงการที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักข่าวภาคสนามกับสมาคนักข่าวฯ เป็นการเปิดประตูแห่งโอกาสให้นักข่าวเข้ามาร่วมกิจกรรมกับสมาคมนักข่าวฯหรือเปิดช่องทางให้นักข่าวภาคสนามเสนอโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของนักข่าวในแต่ละพื้นที่และเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์อันดีของคนในวิชาชีพสื่อ โดยสมาคมนักข่าวฯให้การสนับสุนกิจกรรมดังกล่าวด้วยความจริงจัง
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ เสรีภาพสื่อบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคม
เมื่อสื่อมีการดำเนินงานในลักษณะหลอมรวม(Media Convergence) โดยที่ข่าวหนึ่งเรื่องอาจถูกนำเสนอผ่านช่องทางหลากหลาย การครอบงำทางความคิดโดยองค์รสื่อที่มีสื่อหลายประเภทในมือจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความระมัดระวัง การนำเสนอข่าวในยุคหลอมรวมนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกรอบจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพกำกับ ซึ่งที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้จัดทำกรอบจริยธรรมและการทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน ก้าวต่อไปควรมีการหามาตรการตรวจสอบกันเองของสื่ออย่างจริงจังและเห็นผลในทางปฏิบัติ ดังนี้
- การเปิดเวทีเสวนาร่วมกัน ระหว่างนักวิชาชีพ นักวิชาการ และองค์กรภาคประชาชน เพื่อวิพากษ์การทำงานของสื่อภายใต้กรอบจริยธรรมและกฎหมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเส้นแบ่งของสื่อสารมวลชนที่ต้องทำหน้าที่ อาทิ การหาจุดสมดุลระหว่างความเป็นกลาง ความเป็นธรรม , การเลือกข้างของสื่อ, การครอบงำสื่อจากนายทุนและเจ้าของสื่อ, สื่อสารธารณะกับประเด็นอ่อนไหวในสังคม เป็นต้น
- การเปิดช่องทางสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการติดตามตรวจสอบการทำงานของสื่อภายใต้กรอบจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และต้องร่วมรณรงค์ให้สื่อมวลชนเห็นถึงจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ความถูกต้องเป็นธรรมอย่างแท้จริง ด้วยการกลั่นกรองข่าวที่จะนำเสนอด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและยึดประโยชน์สาธารณะ
- เฝ้าระวังไม่ให้เสรีภาพของสื่อทุกประเภทถูกละะเมิด แทรกแซงและคุกคาม
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ สร้างภาคีสื่อในการขับเคลื่อนเพื่อหาทางออกในปัญหาสังคม
จากภาวะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม สื่อมวลชนถูกตั้งข้อสังเกตว่า อาจมีส่วนจุดชนวนให้ความขัดแย้งยิ่งรุนแรงขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้น สื่อควรแสดงบทบาทนำในการเปิดเวทีให้ทุกฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูล รับฟังเหตุผลที่แตกต่างหลากหลาย พร้อมร่วมกันคิด และหาทางออกให้กับสังคมด้วย เปิดเวทีสาธารณะผ่านโครงการราชดำเนินเสวนา สนับสนุนให้มีโครงการราชดำเนินสนทนา เพื่อนำนักข่าวที่มีประสบการณ์และมีความรู้ ความเข้าใจในปัญหาใดปัญหาหนึ่งมาแลกเปลี่ยนในเวทีเล็กๆกับนักข่าวด้วยกัน
รวมทั้งต้องให้ความสำคัญในการเข้าไปเรียนรู้การรายงานข่าวเพื่อสันติภาพในพื้นที่ในปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนใต้ มีโครงการสัมมนาร่วมกับนักข่าวในพื้นที่ โครงการพานักข่าวจากทุกสื่อลงไปในพื้นที่เพื่อร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยนปัญหากับประชาชนกลุ่มต่างๆในพื้นที่
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสร้างเครือข่าย: วิชาชีพ วิชาการและ ภาคประชาชน
จากสถานการณ์ของสื่อในยุคที่กำลัง ก้าวเข้าสู่การหลอมรวม (Media Convergence) ซึ่งมีการดำเนินงานข้ามสื่อ ดังนั้นองค์กรวิชาชีพด้านสื่อ ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน รวมทั้งองค์กรภาคประชาชน ควรมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในลักษณะเครือข่าย เพื่อให้การจัดทำโครงการและกิจกรรมต่างๆ (ตามยุทธศาสตร์ ๑ – ๓) เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
นอกเหนือจากเครือข่ายระดับประเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยยังควรสืบสานความสัมพันธ์ที่ดีต่อเครือข่ายองค์กรสื่อระดับนานาชาติ โดยเฉพาะองค์กรวิชาชีพสื่อในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญที่รองรับการทำงานร่วมกันในประชาคมอาเซียน.