ขอเชิญร่วมกิจกรรม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติห้องเรียนสาธารณะ “นักข่าว Gen Z ใส่ใจจริยธรรม”

ที่ สขนท.  วช.045/16/2558

 

วันที่ 18 สิงหาคม 2558

 

เรื่อง    ขอเชิญร่วมกิจกรรม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติห้องเรียนสาธารณะ “นักข่าว Gen Z ใส่ใจจริยธรรม”

เรียน    คณบดี หัวหน้าภาควิชา และอาจารย์ด้านสื่อสารมวลชน ในสถาบันอุดมศึกษาทุกท่าน

สิ่งที่ส่งมาด้วย    โครงการ กำหนดการ และแบบตอบรับเข้าร่วมโครงการ

 

ด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย  จัดอบรมเชิงปฏิบัติห้องเรียนสาธารณะ ““นักข่าว Gen Z ใส่ใจจริยธรรม” ให้กับนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2-ชั้นปีที่ 4 จำนวนไม่เกิน 45 คน ในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ประเด็นจริยธรรมและจรรยาบรรณาสื่อ และเพื่อสร้างผู้สื่อข่าวที่มีความพร้อมในการทำงานที่อยู่บนกรอบของจริยธรรมและจรรยาบรรณสื่อมวลชน เพื่อปฏิบัติหน้าที่สื่ออันพึงประสงค์ตามความคาดหวังของสังคม

สถาบันที่สนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ต้องส่งแบบตอบรรับเข้าร่วมโครงการมาที่สมาคม แล้วทางสมาคมฯ จะส่งวิทยากรและคณะทำงานไปให้ความรู้และฝึกปฏิบัติจริงตามรายละเอียดโครงการ เป็นระยะเวลา 1 วัน  สมาคมฯ จะรับผิดชอบค่าตอบแทนวิทยากรและคณะทำงาน พร้อมค่าพาหนะเดินทาง และค่าเอกสารประกอบ ส่วนสถาบันที่เข้าร่วมโครงการรับผิดชอบค่าสถานที่อบรม ค่าอาหารว่าง และอาหารกลางวัน (กรณีต่างจังหวัดจะมีค่าที่พักวิทยากรและคณะทำงาน) ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการตั้งแต่  กันยายน 2558-เมษายน 2559

ในการนี้ สมาคมฯ ขอเชิญท่านสมัครเข้าร่วมกิจกรรม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติห้องเรียนสาธารณะ “นักข่าว Gen Z ใส่ใจจริยธรรม” โดยส่งแบบตอบรับกลับมายังสมาคมนักข่าวฯ ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 10 กันยายน 2558  ทางโทรสาร. 02-668-7505 หรือ e-mail : tjareporter@gmail.com

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา   สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากท่านด้วยดีเช่นเคย และขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

 

ขอแสดงความนับถือ

 

(นางสาวชุติมณฑน์  ศรีขำ)

เลขาธิการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

 

หมายเหตุ ประสานงาน นายพีรพัฒน์ ดิลกกัลยากุล โทร. 02-668-9422, 086-074-0005

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

แบบตอบรับเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติห้องเรียนสาธารณะ ““นักข่าว Gen Z ใส่ใจจริยธรรม”

 

 

ชื่อ – นามสกุล .................................................................................................

คณะ ......................................................................    สถาบบัน ...........................................................................

จังหวัด ...................................................................    โทรศัพท์ ........................................................................

มือถือ  ..................................................................     อีเมล์ .................................................................................

 

ยินดีเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ในเดือน

(  ) เดือน กันยายน 2558                            (  ) เดือน ตุลาคม 2558

(  ) เดือน พฤศจิกายน 2558                        (  ) เดือน ธันวาคม 2558

(  ) เดือน มกราคม 2559                            (  ) เดือน กุมภาพันธ์ 2559

(  ) เดือน มีนาคม 2559                              (  ) เดือน เมษายน  2559

 

ในวันที่ ........  หรือ วันที่ ...........

 

ความคาดหวังจากการเข้าร่วมโครงการ

.........................................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................................

 

ข้อเสนอแนะอื่นๆ

.........................................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................................

 

ลงชื่อ ......................................................... อาจารย์ประสานงานเข้าโครงการ

วันที่ ........../........................../ ....................

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

 

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ห้องเรียนสาธารณะ

“นักข่าว Gen Z ใส่ใจจริยธรรม”

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

หลักการและเหตุผล

 

การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อ การปรับตัวขององค์กรข่าวสู่การทำข่าวหลากแพล็ตฟอร์ม การขยายตัวของสื่อออนไลน์และบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของสื่อออนไลน์ในการรับรู้ข่าวสาร การแข่งขันทางธุรกิจของสื่อในการเข้าถึงผู้รับสาร และการนำเสนอข่าวสารที่ต้องแข่งขันทั้งความเร็ว และเนื้อหา รูปแบบการนำเสนอที่ดึงดูดความสนใจ ทำให้เรื่องของจริยธรรมและจรรยาบรรณในการทำงานของสื่อถูกตั้งคำถามเพิ่มมากขึ้นในหลายกรณี บทบาทของสื่อที่ถูกตั้งคำถามต่อการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งในเรื่องความถูกต้อง ความเป็นกลาง การรักษาความสมดุล การเคารพต่อสิทธิของบุคคลในข่าว การเคารพต่อสิทธิในการรับรู้ของผู้รับสาร การรักษาบทบาทหน้าที่ท่ามกลางแรงกดดันจากทุน รัฐ และการอยู่รอดทางธุรกิจ ตลอดจนเรื่องของรสนิยมในการนำเสนอข่าวสาร การใช้สื่อออนไลน์ในการหาข้อมูลข่าวและนำเสนอข่าวอย่างมีจริยธรรม เหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อมวลชนให้กับนักศึกษานิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์เพื่อเข้าใจประเด็นจริยธรรม และมีแนวทางในการตัดสินใจในการปฏิบัติงานให้อยู่ในกรอบจริยธรรมและจรรยาบรรณตามบทบาทหน้าที่อันพึงประสงค์ของการเป็นสื่อมวลชน

กิจกรรมโครงการห้องเรียนสาธารณะ หัวข้อ “นักข่าว Gen Z ใส่ใจจริยธรรม” มุ่งสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวแก่นิสิต นักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์ โดยการถ่ายทอดประสบการณ์ ประเด็นจริยธรรมที่เกิดขึ้นจริงจากวิชาชีพ ควบคู่กับการให้กรอบวิชาการในการตัดสินใจเรื่องจริยธรรม เพื่อเป็นแนวทางให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพนักข่าวได้ในอนาคต

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ประเด็นจริยธรรมและจรรยาบรรณาสื่อ

2. เพื่อสร้างผู้สื่อข่าวที่มีความพร้อมในการทำงานที่อยู่บนกรอบของจริยธรรมและจรรยาบรรณสื่อมวลชน เพื่อปฏิบัติหน้าที่สื่ออันพึงประสงค์ตามความคาดหวังของสังคม

กลุ่มเป้าหมาย

นิสิตนักศึกษานิเทศศาสตร์ / วารสารศาสตร์ชั้นปี 2 -4 จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ และอาจารย์ผู้สอน

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นิสิตนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ได้รับความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมและจรรยาบรรณาสื่อและสามารถวิพากษ์ แยกแยะบทบาทหน้าที่อันพึงประสงค์ได้

2. นิสิตนักศึกษาที่ผ่านการอบรมฯ มีความพร้อมเข้าสู่วงการข่าวในฐานะนักข่าวที่มีความตระหนึกรู้เรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณ

 

ผู้รับผิดชอบโครงการฯ

จักรกฤษณ์ เพิ่มพูล และ สกุลศรี ศรีสารคาม ภายใต้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

 

**อุปกรณ์ที่สถาบันที่เข้าร่วมโครงการต้องเตรียมพร้อมในการอบรม

  1. คอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต มีโปรแกรมตัดต่อภาพ / ตัดต่อวิดีโอ
  2. กล้องวิดีโอ กล้องถ่ายภาพ อุปกรณ์บันทึกเสียง ไมโครโฟนเชื่อมต่อกล้อง

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@


รายละเอียดกิจกรรมการอบรม (Workshop)

ช่วงเช้า             แยกแยะ วิพากษ์ ประเด็นจริยธรรมและกระบวนการตัดสินใจของสื่อในการทำงาน

9.00-10.00 น.           - อธิบายบทบาทหน้าที่ของสื่อ

อธิบายว่าสิ่งใดคือถูกต้องตามจริยธรรม และจรรยาบรรณ

- อธิบายกระบวนการตัดสินใจในการทำข่าวที่ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างจริยธรรมกับ                      ปัจจัยอื่นๆ เพื่อให้เห็นแนวทางในการตัดสินใจ

10.00-10.30 น.                   เบรก

10.30-11.30 น.                   กิจกรรม “สื่อที่เห็น – สื่อควรเป็น”

การระดมสมองเป็นกลุ่ม ให้

-          ตัดข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่เตรียมให้ เลือกว่าข่าวแบบไหนสะท้อนการทำงานที่ควรทำ กับ การทำงานผิดจริยธรรมของสื่อ แปะกระดานแบ่งเป็นสองส่วน

-          หรือ แจกกระดาษให้แต่ละกลุ่มเขียน ประเด็นที่สื่อควรเป็น และสิ่งที่สื่อทำและผิดจริยธรรม เพื่อแปะกระดานแยกเป็นสองส่วน

(กิจกรรมนี้เพื่อให้นักศึกษาลองแยกเรื่องบทบาทของสื่อ และจริยธรรมสื่อตาม                           ความเข้าใจและนำมาอภิปรายร่วมกัน)

11.30-12.30 น.                   อภิปรายและสอนจากตัวอย่างที่นักศึกษาแบ่งกลุ่มไว้บนกระดาน โดยผู้สอนจะ

 

* ตัวอย่างที่จะเลือกมาให้ใช้แบ่งกลุ่ม ควรมีทั้งที่ผิดจริยธรรมชัดเจน มีลักษณะที่กึ่งๆ ต้องอาศัยวิจารณญาณ มีที่เหมือนจะไม่ควรทำแต่จำเป็นต้องทำเพื่อประโยชน์บางอย่าง

* ผู้สอนช่วงนี้ ควรเป็นวิชาชีพ เพื่ออธิบายกระบวนการในการคิด คัดเลือก และตัดสินใจทางจริยธรรมได้จากประสบการณ์จริง

 

ตัวอย่างประเด็น

- จริยธรรมกับกฎหมายมันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เพราะบางครั้งผิดจริยธรรมแต่ไม่ผิดกฎหมาย

- ลักษณะการพาดหัวข่าว. ภาพถ่ายบุคคลในข่าว

- หน้าที่อื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับสื่อเช่นโฆษณาแฝง

- ทำตัวดาม่าในข่าวประหนึ่งว่าตนเป็นบุคคลในข่าว

- การนำข้อมูลจากโซเชียลมีเดียมาใช้ (ได้ท้้งจริยธรรมและพวกกฎหมายลิขสิทธิ์)

 

12.-30-13.30 น.                  พักกลางวัน

ช่วงบ่าย  เน้นเรื่องจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสื่อ

13.30-14.30              จำลองสถานการณ์ “จริยธรรมของสื่อ”

ทำโจทย์บทบาทสมมติให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาเล่นเป็นบทบาทต่างๆ ที่จะสะท้อนการทำงานทั้งมีจริยธรรม และไม่มีจริยธรรม / ผิดกฎหมาย ถูกตาม        กฎหมายที่เกี่ยวกับสื่อ อาจมีลักษณะเป็นทั้งบทที่กำหนดให้ทำทั้งถูกและผิด และส่วนของโจทย์ที่เว้นให้ตัวแสดงตัดสินใจทำเอง เพื่อดูว่าเด็กจะเลือกแสดงออกมาในบทบาทที่ถูกหรือผิด

จากนั้น วิทยากรจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมกับสอนให้ข้อมูลเรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวกับสื่อ และจริยธรรมของสื่อ

14.30-15.00             เบรก

15.00-16.30              สรุปหลักจริยธรรม และ หลักกฎหมายที่สำคัญต่อการทำงานของสื่อ

(เป็นการสรุปประเด็นสอนอีกครั้ง หลังจากอภิปรายแล้วทั้งเช้าบ่าย ส่วนนี้จะเป็น    การให้กรอบคิดและหลักการ – ควรเป็นนักวิชาการให้ความรู้)