ภาพการประชุมยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๑๑ ประจำปี ๒๕๕๘

เปิดประชุมยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ นายชาย ปถะคามินทร์  เลขาธิการ  สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมเป็นประธานเปิดการประชุมยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ครั้งที่ ๑๑ ประจำปี ๒๕๕๘ หัวข้อ “ถอดบทเรียนคอนเวอร์เจ้นท์ จากอดีต สู่อนาคต”  โดยมีนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธ์ ผู้อำนวยการ สถาบันอิศรา และคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ร่วมถ่ายภาพ ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)  เมื่อ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘

 

 

ทิศทางวารสารศาสตร์ไทย ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนานุกุล คณบดี คณะนิเทศศาสตร์  สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์  ในฐานะคณะทำงานประชุมยุทธศาสตร์ฯ ถ่ายภาพหมู่ร่วมกับวิทยากรในการเสวนาหัวข้อ “ทิศทางวารสารศาสตร์ไทย” ประกอบด้วย นายพีรวัฒน์ โชติธรรมโม บรรณาธิการบริหารฝ่ายข่าว ไทยรัฐทีวี นางสาวกนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาสื่อใหม่ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส นายจักรพงษ์ คงมาลัย Vice President Content Business ของเว็บไซต์ Sanook.com  และ ผศ. ดร. วรัชญ์ ครุจิต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรองค์การ นิด้า ในงานประชุมยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ครั้งที่ ๑๑ ประจำปี ๒๕๕๘  หัวข้อ “ถอดบทเรียนคอนเวอร์เจ้นท์ จากอดีต สู่อนาคต” ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)  เมื่อ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘

 

 

 

 

 

 

 

 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ลงทะเบียนออนไลน์ (คลิกที่นี้)

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯร่วมกับองค์กรเครือข่ายจัดประชุมยุทธศาสตร์

“ถอดบทเรียนคอนเวอร์เจ้นท์ จากอดีต สู่อนาคต”

ดร.สุรศักดิ์  จิรวัสตร์มงคล  อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย   เปิดเผยว่าสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย   ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะจัดประชุมยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์  ครั้งที่ ๑๑  ประจำปี ๒๕๕๘

หัวข้อ  “ถอดบทเรียนคอนเวอร์เจ้นท์ จากอดีต สู่อนาคต” ขึ้นใน วันศุกร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน  ๒๕๕๘ ณ ห้อง ๓๐๐๑ อาคารนวมินทราธิราช สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  สะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อมวลชน ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อใหม่ และเพื่อให้เกิดการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ

กิจกรรมในการประชุมประกอบด้วยการบรรยายพิเศษเรื่อง Shaping The Future of News Media – Content Convergence” โดย  นายสุทธิชัย หยุ่น    ที่ปรึกษากองบรรณาธิการเครือเนชั่น การเสวนา เรื่อง “ทิศทางวารสารศาสตร์ไทย” วิทยากรประกอบด้วย นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม บรรณาธิการบริหารฝ่ายข่าว ไทยรัฐทีวี  นางสาวกนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาสื่อใหม่  สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส   นายจักรพงษ์ คงมาลัย  Vice President Content Business ของเว็บไซด์ Sanook.com  ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต   ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์การ นิด้า

และการเสวนาเรื่อง “Future Journalism Revisited, Road to Quality” วิทยากรประกอบด้วย  ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล  สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์     ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง   กรรมการจริยธรรรม สมาคมนักข่าวฯ  นายจักร์กฤษ  เพิ่มพูล อดีตประธาน สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และอาจารย์สกุลศรี ศรีสารคาม  สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์  ดำเนินรายการ โดยนางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

ผู้สนใจทั้งนักวิชาการสื่อ นักวิชาชีพสื่อและนักศึกษา สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ www.tja.or.th ภายในวันอังคารที่ ๑๗พฤศจิกายน ๒๕๕๘

 

ดาวโหลดจดหมาย (doc) (pdf)

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ที่ สขนท.นว. ๒๓๒ / ๑๖ / ๒๕๕๗

 

๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๘

 

เรื่อง     ขอเชิญเข้าร่วมงาน ประชุมยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์  ครั้งที่ ๑๑  ประจำปี ๒๕๕๘

เรียน    นักวิชาชีพสื่อมวลชนทุกแขนง และนักวิชาการ ด้านนิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์

สิ่งที่แนบมาด้วย         กำหนดการ / โครงการ

 

เนื่องด้วยครบวาระ ๖๐ ปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  จึงร่วมกับ  สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จัดประชุมยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์  ครั้งที่ ๑๑  ประจำปี ๒๕๕๘ หัวข้อ “ถอดบทเรียนคอนเวอร์เจ้นท์ จากอดีต สู่อนาคต”  ในวันศุกร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  สะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อมวลชน ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อใหม่ และเพื่อให้เกิดการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ ณ ห้อง ๓๐๐๑ อาคารนวมินทราธิราช สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ในการนี้  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  จึงเรียนมาเพื่อขอเชิญท่านหรือผู้แทนเข้าร่วมงาน ประชุมยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์  ครั้งที่ ๑๑  ประจำปี ๒๕๕๘ ในวัน-เวลาดังกล่าว และขอความกรุณาแจ้งยืนยันการเข้าร่วมประชุมลงทะเบียนออนไลน์ www.tja.or.th หรือที่ คุณพีรพัฒน์  ดิลกกัลยากุล มือถือ ๐๘๖-๐๗๔-๐๐๐๕   โทรสาร ๐๒–๖๖๘-๗๕๐๕   e - mail: tjareporter@gmail.com ภายในวันอังคารที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับเกียรติ จากท่านในครั้งนี้และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

 

ขอแสดงความนับถือ

 

 

(นางสาวชุติมณฑ์ ศรีขำ)

เลขาธิการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

 

หมายเหตุ สำหรับผู้ร่วมการประชุมจากต่างจังหวัด ทางสถาบันอิศราฯจะสนับสนุนค่าพาหนะเดินทางไป – กลับตามจริง  สำหรับค่าน้ำมันรถยนต์ กิโลเมตรละ ๔ บาท  แต่ไม่เกินท่านละ ๑,๐๐๐ บาท  พร้อมทั้งจัดเตรียมห้องพักคู่สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างจังหวัด โดยจะจ่ายค่าพาหนะเดินทางให้เฉพาะผู้เข้าร่วมตลอดกิจกรรมเท่านั้น

 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ลงทะเบียนออนไลน์ (คลิกที่นี้)

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

กำหนดการ ประชุมยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์  ครั้งที่ ๑๑  ประจำปี ๒๕๕๘

หัวข้อ “ถอดบทเรียนคอนเวอร์เจ้นท์ จากอดีต สู่อนาคต”

วันศุกร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้อง ๓๐๐๒ อาคารนวมินทราธิราช สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

และ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐  น.        ลงทะเบียน

๐๙.๐๐ – ๐๙.๐๕ น.                   กล่าวต้อนรับ โดย   อธิการบดี     สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

๐๙.๐๕ – ๐๙.๑๕ น.                   กล่าวเปิดงาน โดย  นายชาย ปถะคามินทร์ เลขาธิการ สภาการหนังสือพิมพ์ฯ

 

๐๙.๑๕ – ๑๐.๔๕  น.        เสวนา เรื่อง “ทิศทางวารสารศาสตร์ไทย”  วิทยากร

นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม บรรณาธิการบริหารฝ่ายข่าว ไทยรัฐทีวี

นางสาวกนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาสื่อใหม่ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

นายจักรพงษ์ คงมาลัย Vice President Content Business ของเว็บไซด์ Sanook.com

ผู้ดำเนินรายการ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต   ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์การ นิด้า

 

๑๐.๔๕ – ๑๑.๐๐ น.                   พักรับประทานอาหารว่าง

๑๑.๐๐ - ๑๒.๐๐  น.         บรรยายพิเศษ เรื่อง

“Shaping The Future of News Media – Content Convergence”

โดย     นายสุทธิชัย หยุ่น

ที่ปรึกษากองบรรณาธิการเครือเนชั่น

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.                   พักรับประทานอาหารกลางวัน

 

๑๓.๐๐ – ๑๕.๔๕ น.                   เสวนาเรื่อง “Future Journalism Revisited, Road to Quality” วิทยากร

ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง กรรมการจริยธรรรม สมาคมนักข่าวฯ

นายจักร์กฤษ  เพิ่มพูล อดีตประธาน สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

อาจารย์สกุลศรี ศรีสารคาม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ผู้ดำเนินรายการ นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

๑๕.๔๕ – ๑๖.๐๐  น.        พักรับประทานอาหารว่าง

๑๖.๐๐ – ๑๖.๒๐ น.                   สรุปผลการประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

อาจารย์เอกพล เธียรถาวร หัวหน้าสาขาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

๑๖.๒๐ – ๑๖.๔๐ น.                   ปิดการสัมมนา  โดย   นายวันชัย  วงศ์มีชัย นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ

 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

โครงการยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์  ครั้งที่ ๑๑  ประจำปี ๒๕๕๘

หัวข้อ “ถอดบทเรียนคอนเวอร์เจ้นท์ จากอดีต สู่อนาคต”

วันศุกร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๘.๓๐-๑๖.๓๐ น.

ณ ห้อง ๓๐๐๑ อาคารนวมินทราธิราช สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์วารสารศาสตร์ก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่าน  อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  การเพิ่มปริมาณและประเภทของสื่อใหม่ๆ ที่เป็นทางเลือกให้แก่ผู้รับสาร นอกเหนือจากสื่อดั้งเดิมที่เคยเป็นสื่อหลักของสังคม   รสนิยมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้รับสาร  การลดลงของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ งบประมาณโฆษณาที่เคลื่อนตัวไปยังสื่อใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้ตรงกว่า  องค์กรข่าวกำลังอยู่ระหว่างการปรับตัว  การเคลื่อนย้ายทุนจากการเน้นลงทุนที่คนและคุณภาพของเนื้อหา ไปยังการลงทุนด้านเทคโนโลยี (Technology Investment) และการดำเนินการทางการตลาด ความพยายามเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบและเข้าถึงอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการปรับเนื้อหา ลีลาและรูปแบบการนำเสนอ รวมทั้งเพิ่มช่องทางการเข้าถึงผู้รับสารมากขึ้น

ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ภาวะ ‘การหลอมรวมกันของสื่อ’ (Media Convergence) นั่นหมายถึงทั้งในแง่ของเทคโนโลยี ที่ใช้องค์กรสื่อที่ขยายครอบคลุมธุรกิจสื่อหลายประเภทในเวลาเดียวกัน การร่วมมือกันระหว่างองค์กรในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน และงานข่าวที่มีเนื้อหาออกหลากหลายช่องทาง แนวโน้ม Convergent Journalism  ถูกมองว่าเป็นวารสารศาสตร์แห่งอนาคต  การรายงานข่าวเน้นข่าวเดียวออกหลากหลายช่องทาง  (One Content , Multiple Platforms) เพื่อตอบสนองผู้รับสารที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นผู้ที่ต้องการบริโภคข่าวทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ

นอกจากการปรับตัวของสื่อหนังสือพิมพ์ที่เคลื่อนเข้าหาสื่ออื่นๆ สื่อโทรทัศน์ก็กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านไปยังระบบดิจิทัล ความไม่แน่นอนเชิงโครงสร้างและนโยบาย การแย่งชิงความสนใจจากผู้รับสารที่บริโภคผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม ทั้งสื่อดั้งเดิมที่เคยมีอยู่และสื่อใหม่มากมาย นั่นหมายถึงเม็ดเงินโฆษณาที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่มีจำนวนผู้ต้องการส่วนแบ่งมากขึ้นเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ ในขณะเดียวกันสังคมก็กำลังตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของสื่อ ความสามารถในการกำกับดูแลกันเองตามอุดมคติของวิชาชีพสื่อ  และเรียกหาจริยธรรมและความรับผิดชอบจากสื่อเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้แก่สังคม

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการสื่อ และกระบวนการผลิตสื่อวารสารศาสตร์ทำให้  สถาบันการศึกษา  และสมาคมวิชาชีพวารสารศาสตร์ ที่เป็นองค์กรบ่มเพาะนักวารสารศาสตร์จำเป็นต้องนำมาพิจารณา ปรับปรุง และประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพวารสารศาสตร์แห่งอนาคต โดย ‘เครือข่ายวิชาชีพและวิชาการวารสารศาสตร์’ ได้จัดประชุมเครือข่ายในรูปแบบการสัมมนา“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ด้วยการนำเสนอและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในแง่มุมต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพทางด้านวารสารศาสตร์ แล้วทั้งสิ้น ๘ ครั้ง ดังนี้

  • ครั้งที่ ๑ หัวข้อ ‘ทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์’ ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ครั้งที่ ๒ หัวข้อ ‘Convergence Newsroom’ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ครั้งที่ ๓ หัวข้อ ‘การตรวจสอบในยุคหลอมรวมสื่อ (Monitoring  Media  in  the  Convergence  Era)’ ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ครั้งที่ ๔ หัวข้อ ‘ทิศทางวารสารฯ ในยุคสงครามแพลตฟอร์ม’ ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น   จังหวัดลำปาง
  • ครั้งที่ ๕ หัวข้อ ‘คนเปลี่ยน สื่อปรับ รุก-รับ อย่างไร’ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ครั้งที่ ๖ หัวข้อ ‘ASEAN Journalism & Education’ ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ครั้งที่ ๗ หัวข้อ ‘ตำราวารสารศาสตร์ คอนเวอร์เจ้นซ์’ ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ครั้งที่ ๘ หัวข้อ ‘ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ ปฏิรูปหลักสูตร’ ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ครั้งที่ ๙ หัวข้อ ‘ปฏิวัติคนข่าว: ทิศทางการพัฒนาบุคลากรสื่อ’ ณ  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ครั้งที่ ๑๐ หัวข้อ “ปฏิวัติคนข่าว ทุน-อุดมการณ์การปรับตัวของนักนิเทศศาสตร์ยุคดิจิทัล” ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ ๖๐ ปีแห่งการก่อตั้งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คณะทำงานจะจัดสัมมนา ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๑๑  ภายใต้หัวข้อ “ถอดบทเรียนคอนเวอร์เจ้นท์ จากอดีต สู่อนาคต” วันศุกร์ที่  ๒๗ พฤศจิกายน เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.  ณ   สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑. เพื่อเป็นเวทีนำเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องข่าวสาร และความก้าวหน้าทางวิชาการวิชาชีพสื่อมวลชน

๒. เพื่อสนับสนุน หรือเป็นสื่อกลางในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ ในการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ทั้งในส่วนของสถาบันการศึกษาและโครงการพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพให้ทันสมัย  สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน

รายละเอียดของโครงการ/กิจกรรม/วิธีดำเนินการ

กลุ่มเป้าหมาย

นักวิชาการ นักวิชาชีพ สื่อมวลชน นักศึกษา จำนวน ๘o คน

รูปแบบดำเนินการ

การบรรยายพิเศษ  การสัมมนา นำเสนอผลงานทางวิชาการ และประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

วันศุกร์ที่  ๒๗ พฤศจิกายน เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.  ณ   สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนา องค์กรทางด้านวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือในประเด็นต่าง ๆ ภายใต้โครงการวารสารศาสตร์แห่งอนาคต โดยความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

๔. สร้างสังคมที่มีสุขภาวะที่ดีจากการมีสื่อที่คุณภาพ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

๑. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๒. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

๓. สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

๔. คณะทำงานวารสารศาสตร์แห่งอนาคต

๕. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผู้สนับสนุนโครงการ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาวิชาการวิชาชีพสาขาวารสารศาสตร์

๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือในประเด็นต่าง ๆ ภายใต้โครงการวารสารศาสตร์แห่งอนาคต อันเป็นความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพ

๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ

๑. จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของจำนวนผู้ลงทะเบียนทั้งหมด

๒. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก