Citizen Journalism…วารสารศาสตร์พลเมือง (3)

Citizen Journalism...วารสารศาสตร์พลเมือง (3)

โดย ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์
E-mail : dr.mana@hotmail.com
Twitter: @dr_mana


ผมเขียนทิ้ง ท้ายเอาไว้ในตอนที่แล้วว่า  สื่อกระแสหลัก (Mainstream media) ในสังคม ทั้งสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เนท แม้จะตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของวารศาสตร์ยุค 2.0 ด้วยการเปิดเวทีบางส่วนต้อนรับผลงานของนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) แต่นักข่าวมืออาชีพในสื่อกระแสหลักเหล่านั้นไม่ ค่อยแฮปปี้กับการทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวของชาวบ้านสักเท่าไหร่

ด้วยมองว่า ผลงานของนักข่าวพลเมืองยังอ่อนด้อยด้านทักษะการทำข่าวแบบมือโปรฯ

ขณะเดียวกัน เหล่านักข่าวพลเมืองผู้กระตือรือร้นอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการบอก เล่า...สื่อสารข้อมูล  ข่าวสาร ให้กับสังคมก็รู้สึกอึดอัดกับขั้นตอนการกลั่นกรอง  และเกณฑ์การทำข่าวแบบมืออาชีพ

นักข่าว พลเมืองจำนวนไม่น้อยมองว่า  การทำข่าวภายใต้สังกัดของสื่อกระแสหลักจะทำให้ขาดอิสระและขาดเสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็น  เพราะถึงที่สุดแล้วสื่อกระแสหลักยังต้องพึ่งพิงอยู่กับรัฐหรือก ลุ่มทุนใหญ่ผู้เป็นสปอนเซอร์ให้กับสื่อนั่นเอง

พวกเขาจึง มองหาเวทีให้กับตัวเอง  บางคนเลือกสร้าง Blog ส่วนตัวเป็นเหมือนกระบอกเสียงถ่ายทอดแนวคิดและ ข่าวสารสู่สาธารณชน

แต่บางคน เลือกส่งข่าว  และข้อคิดแสดงความคิดให้ไปให้กับสื่อทางเลือก(Alternative Media) ต่างๆที่มีอยู่ในสังคม

อย่างเช่น เวบอินดี้มีเดีย www.indymedia.org ซึ่งเป็นสื่อทางเลือกที่เติบโตและ ขยายเครือข่ายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่การนำเสนอข่าวสารการประท้วงต่อต้านการประชุมขององค์การ การค้าโลก (WTO) ที่เมืองซีแอตเติล สหรัฐอเมริกา เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2542

อย่างไรก็ ตาม  สื่อทางเลือกที่โดดเด่นและได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำของวารสาร ศาสตร์พลเมือง (Citizen Journalism) กลับไม่ใช่สื่อทางเลือกจากโลกซีกตะวันตกอย่าง เวบอินดี้มีเดีย หากแต่เป็นสื่อทางเลือกจากโลกซีกตะวันออก...ประเทศเกาหลีใต้

นั่นคือเวบ โอมายนิวส์ www.ohmynews.com เวบข่าวออนไลน์ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วม ของคนอ่าน

คำขวัญ ของเวบคือ ประชาชนพลเมืองทุกคนคือนักข่าว “Every Citizen is a Reporter” เพราะฉะนั้นข่าวเกือบทั้งหมดของเวบ ผลิตโดยนักข่าวพลเมือง ไม่ใช่นักข่าวมืออาชีพเหมือนสื่อกระแสหลักอื่นๆ

ต้นตำหรับ ของเวบโอมายนิวส์เป็นภาษาเกาหลีนะครับ แต่ต่อมาพัฒนาเป็นเวอร์ชั่นอินเตอร์โดยใช้ภาษาอังกฤษ http://english.ohmynews.com และภาษาญี่ปุ่น www.ohmynews.co.jp

ผู้ก่อตั้ง เวบโอมายนิวส์คือ โอ ยอน โฮ (Oh Yeon Ho) นักข่าวมืออาชีพจากเป็นนิตยสารข่าวรายเดือน ประเภทสื่อทางเลือก เขาให้สัมภาษณ์กับ Japan Media Review ถึงมูลเหตุจูงใจในการก่อตั้งเวบว่า...

“...ในเกาหลี ชาวบ้านไม่พึงพอใจและไม่เชื่อถือสื่อหลักๆในสังคม ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ ทีวี ขณะเดียวกันชาวบ้านก็อยากจะบอกเล่าความคิด ความเชื่อของตัวเอง อยากจะเล่าประสบการณ์ ข่าวสารที่ตัวเองพบเจอ ตรงนี้แหละ เป็นรากฐานของการทำเวบโอมายนิวส์...

...ผมอยากทำ สื่อทางเลือก  ที่ให้ชาวบ้านมาเป็นนักข่าวมานานกว่า  10 ปี แต่ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะตอนนั้นสื่ออินเตอร์เนทยังไม่แพร่หลาย หากผมเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการทำสื่อทางเลือกแบบนี้ต้องลงทุน สูงมากๆ ดังนั้นเมื่ออินเตอร์เนทมีการพัฒนาและแพร่หลาย ผมไม่รอช้าที่จะทำเวบข่าวทางเลือกแบบนี้...”

นั่นคือจุด เริ่มต้นของเวบโอมายนิวส์ เมื่อวันทื่ 22 กุมภาพันธ์ 2543

ในตอนแรกเวบ นี้มีสตาฟที่เป็นนักข่าวมืออาชีพคอยกลั่นกรอง ขัดเกลาสำนวนภาษา พาดหัวข่าว และจัดความสำคัญของข่าวเพียงไม่กี่คนเท่านั้น นักข่าวพลเมืองที่อาสาเขียนข่าว เขียนบทความส่งเข้ามายังเวบก็ยังมีไม่มาก แต่ต่อมาด้วยกระแสปากต่อปาก ถึงความเป็นเวทีอิสระในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของคนธรรมดาๆ ผู้สวมบทบาทเป็นนักข่าวมือสมัครเล่น รวมทั้งเป็นช่องทางหนึ่งในการเสพข่าวสาร ข้อมูลที่ไม่สามารถหาอ่าน หาชมได้จากสื่อกระแสหลักในสังคม

เหล่านี้ทำ ให้โอมายนิวส์เป็นเวบข่าวยอดฮิตของชาวเกาหลีซึ่งอาศัยอยู่ทั่วโลก ที่ทั้งอ่าน ทั้งมีส่วนร่วมในการเขียนส่งข้อมูล ข่าวสาร ความคิดเห็นต่างๆ กลายเป็นเครือข่ายทางสังคมรูปแบบใหม่ขึ้นในโลกอินเตอร์เนท

อิทธิพลอัน ทรงพลังของเวบนักข่าวพลเมืองนี้มีมากถึงขนาดทำให้เมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดี เกาหลีใต้ในปลายปี 2545 โรห์ มู ฮุน (Roh Moo Hyun) ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ยินยอมให้เวบโอมายนิวส์สัมภาษณ์พิเศษเป็นรายแรก

ต่อมาเมื่อ เวบโอมายนิวส์เปิดเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษก็ยิ่งดึงดูดผู้คนจากทั่ว โลก ให้เป็นนักข่าวพลเมืองส่งข่าวสาร ความคิดเห็นต่างๆมายังเวบไซด์

ปัจจุบันเวบ โอมายนิวส์มีนักข่าวพลเมืองกว่า 6 หมื่นคน เฉพาะเวอร์ชั่นโอมายนิวส์อินเตอร์ฯ ที่ผลิตเป็นภาษาอังกฤษมีนักข่าวพลเมืองลงทะเบียนอยู่กว่า 3 พันคน อาศัยอยู่นับ 100 ประเทศทั่วโลกนักข่าวเหล่านี้จะส่งข่าวสาร และบทความเข้าสู่กองบรรณาธิการเป็นประจำ วันละหลายร้อยชิ้น

ส่วนกอง บรรณาธิการมีทีมงานประจำร่วม  100 คน ทำหน้าที่เป็นฝ่ายตรวจสอบ ขัดเกลาภาษาข่าว และเป็นฝ่ายเทคนิคสนับสนุน

มาถึงตรงนี้ คุณผู้อ่านบางคนอาจจะคิดว่า ถ้าเป็นเช่นนี้นักข่าวพลเมืองจะนึกเขียนข่าวด่า  หรือใส่ร้ายป้ายสีใครก็ทำได้ง่ายๆละสิ

ความจริง แล้ว  โอมายนิวส์ เขากำหนดกฎกติกา จรรยาบรรณร่วมของนักข่าวพลเมืองไว้อย่างชัดเจน เข้มข้น โดยให้ทุกคนที่จะสมัครเป็นนักข่าวพลเมืองต้องละทะเบียนด้วยการ ใช้เลขประจำตัวประชาชนซึ่งสามารถยืนยันถึงตัวตนที่แท้จริงของนัก ข่าวคนนั้นๆได้

หากนักข่าว พลเมืองไปคัดลอกเนื้อความ  ถ้อยความของคนอื่นมาโดยไม่ได้รับอนุญาต  หรือละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไปใส่ร้ายป้ายสีคนอื่นย่อมมีผลทางกฎหมาย ถูกฟ้องร้องหรือถูกลงโทษได้

สำหรับราย ได้ของโอมายนิวส์ ร้อยละ 60-70 มาจากการลงโฆษณาในเวบไซด์ ประมาณร้อยละ 20 ได้มาจากการขายข่าวให้กับสำนักข่าวต่างๆทั่วโลก อีกร้อยละ 10 มาจากรายได้อื่นๆเช่นการบริจาค

ในช่วง  3 ปีแรกโอมายนิวส์อยู่ในสภาวะขาดทุน แต่เมื่อขึ้นปี 4 หลังจากเวบได้รับการยอมรับมากขึ้น รายได้ที่เข้ามาทำให้โอมายนิวส์มีผลกำไร สามารถนำเงินรายได้มาขยายงานต่ออีกหลายๆอย่าง อาทิ การออกเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น การทำนิตยสารฉบับสื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ

และด้วย ตระหนักถึงจุดอ่อนของนักข่าวพลเมืองที่มักถูกนักข่าวมืออาชีพดู หมิ่น  ดูแคลนเรื่องทักษะแบบมืออาชีพ ทำให้เมื่อปลายปี 2550 โอมายนิวส์เปิดโรงเรียนสอนนักข่าวพลเมืองขึ้นมา เป็นการเฉพาะ ชื่อ The OhmyNews Journalism School ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆทางตอน ใต้ของโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ โดยสามารถเดินทางจากโซลด้วยรถยนต์ประมาณ 90 นาที

โรงเรียนนัก ข่าวพลเมืองแห่งนี้ มีห้องพักรองรับผู้สนใจร่วมร้อยคน เน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการทำข่าวแบบมืออาชีพให้กับผู้คน ทั่วไป สอนทั้งเรื่องการหาข่าว การสัมภาษณ์  การเขียนข่าว การใช้กล้องถ่ายรูป กล้องดิจิตอล ฯลฯ

แบบอย่าง ของโอมายนิวส์ ถือว่าเป็นโมเดลในฝันของคนทำสื่อทางเลือกทั่วโลก

ในเมืองไทย มีสื่อทางเลือกมากมายพยายามประยุกต์แนวคิดของนักข่าวพลเมืองมา ปรับใช้  แต่ที่โดดเด่นที่สุดในขณะนี้คงเป็นเวบประชาไท www.prachatai.com

ประชาไทเป็น เวบข่าวทางเลือกที่นำเสนอข่าวสาร บทความ ความคิดเห็น คอลัมน์ที่แตกต่างออกไปจากสื่อกระแสหลัก พูดง่ายๆว่าสิ่งที่หาอ่านได้จากประชาไท ไม่สามารถหาได้จากสื่ออื่น

แม้ว่าข่าว สาร หรือบทความโดยส่วนใหญ่ของประชาไทจะเป็นการผลิตโดยกองบรรณาธิการ หรือคอลัมนิสต์ แต่ประชาไทได้เปิดโอกาสให้คนอ่าน ชาวบ้าน นิสิต นักศึกษา ส่งข่าวสาร ข้อมูล ประสบการณ์เข้ามาให้ โดยเปิดพื้นที่ในส่วนของ iReport นักข่าวพเนจร ให้เป็นการเฉพาะ

แต่ที่น่า สนใจคือตรงเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษครับ

ประชาไทเปิด โอกาสให้ผู้สนใจเข้ามาช่วยแปลข่าว แปลบทความจากเวอร์ชั่นภาษาไทยเป็นเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ ทำให้นิสิต นักศึกษา นักเลงภาษาผู้สนใจการเขียน การแปล สามารถใช้เป็นเวทีฝึกฝนฝีมือ

อย่างไรก็ ตาม  ต้องยอมรับว่าการมีส่วนร่วมของพลเมืองไทยในการทำหน้าที่เป็นนัก ข่าว บอกเล่าเรื่องราว ถ่ายทอดประสบการณ์  แสดงทัศนะความคิดเห็นต่างๆยังไม่มากมายนัก

ไม่เช่น นั้น เราคงได้เห็นสิ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ๆในแวดวงวารสารศาสตร์ของไทยเรา