กำหนดการ ประชุมวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชนระดับชาติ ปี ๒๕๕๓

ประชุมวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชนระดับชาติ ปี ๒๕๕๓

หัวข้อ : ปฏิรูปสื่อ  สู่การปฏิรูปสังคม

วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ - วันศุกร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องบัวหลวง  แกรนด์รูม  ชั้น ๕ อาคาร ดร.สุข  พุคยาภรณ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน

โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

สถาบันอิศรา  มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย  และมหาวิทยาลัยศรีปทุม

สนับสนุน โดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กรกฎาคม
o๙.oo - ๐๙.๓๐  น.            ลงทะเบียน

๐๙.๓๐ -o๙.๔๕ น.            กล่าวเปิดงาน โดย
คุณมานิจ  สุขสมจิตร  ประธานมูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

o๙.๔๕ -๑o.oo  น.            กล่าวนำ เรื่อง  “กระบวนการปฏิรูปสื่อภาครัฐ” โดย
ดร.วรากรณ์  สามโกเศศ  ประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางปฏิรูปสื่อภาครัฐ

๑o.oo  - ๑๐.๑๕ น.            พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๑๕ - ๑๒.๐๐ น.        อภิปราย “ปฏิรูปสื่อ  สู่การปฏิรูปสังคม”  
วิทยากร            
คุณสุทธิชัย  หยุ่น                
บรรณาธิการอำนวยการ เครือเนชั่น            
รศ. มาลี  บุญศิริพันธ์    
คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คุณฉัตรชัย  ตะวันธรงค์
กรรมการผู้จัดการบริษัท สปริงส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด
คุณสฤณี  อาชวานันทกุล
บรรณาธิการ  เว็บไซต์โอเพ่นออนไลน์
ผู้ดำเนินรายการ             
ดร.ณัฎฐา  โกมลวาทิน                
สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย
๑๒.๐๐ – ๑๓.oo น.        รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๓๐ – ๑๖.๓o น.        นำเสนอผลงานวิจัยภายใต้กรอบ แนวคิด “สื่อ กับการปฏิรูปสังคม”       

วันศุกร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม
๐๙.๐๐ - ๑๐.๑๕ น.        สรุปผลการนำเสนอผลงานวิจัยกลุ่มย่อย     
๑๐.๑๕ - ๑๐.๓๐ น.        พักรับประทานอาหารว่าง
๑๐.๓๐ – ๑๒.๓o น.        เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นการปฏิรูปสื่อ
๑๒.๓๐ - ๑๓.๓๐ น.        รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๓๐ - ๑๔.๓๐  น.        สรุปประเด็นการรับฟังความคิดเห็น  
๑๔.๓๐ - ๑๕.๐๐ น.        ประเมินผล - สรุปการสัมมนา / พิธีปิดการประชุม

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หลักการและเหตุผล
ในช่วงที่ผ่านมา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและนักวิชาการสื่อสารมวลชน เพื่อร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ โดยได้ดำเนินการโครงการหลายโครงการ เช่น โครงการห้องเรียนสาธารณะ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์วิชาชีพในการรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนให้กับนัก ศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ โครงการพิราบน้อย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิชาชีพหนังสือพิมพ์ให้กับนักศึกษาสาขาหนังสือพิมพ์ โครงการประชุมวิชาการวิชาชีพสื่อสารมวลชน เพื่อความร่วมมือและแลกเปลี่ยนมุมมองที่สร้างสรรค์ต่อประเด็นปัญหาที่เกี่ยว ข้องกับสื่อมวลชน เป็นต้น โดยมีคณะกรรมการความร่วมมือวิชาชีพและวิชาการสื่อสารมวลชน (กวส.) ซึ่งเป็นคณะกรรมการอาสาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นผู้ดำเนินการ
เนื่อง จากในสถานการณ์ปัจจุบัน การประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างมากและกว้างขวาง  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรวิชาชีพสื่อ ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของการช่วยแก้วิกฤติ รวมทั้งบทบาทของการส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพสื่อ ให้สื่อสารมวลชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคม โดยที่คณะกรรมการ กวส. เป็นความร่วมมือกันระหว่างนักวิชาชีพ และนักวิชาการสื่อสารมวลชน

โดยในปีนี้ รัฐบาลโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศแผนปรองดองเพื่อแก้ไขวิกฤตประเทศไทย ประกาศให้การสนับสนุนและยืนยันสิทธิการแสดงออกและการนำเสนอข้อมูลข่าวสารให้ประชาชน แต่ได้แสดงความกังวลถึงข้อวิจารณ์ว่า การใช้สื่อในช่องทางต่างๆ รวมทั้งการใช้สื่อของรัฐ มีส่วนสร้างความขัดแย้งหรือนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ดังนั้นในกระบวนการปรองดอง สื่อจะต้องมีสิทธิเสรีภาพ แต่ต้องเป็นกลไกที่เป็นอิสระเข้ามากำกับดูแลอย่างแท้จริง ให้มีการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์จะทำให้สังคมก้าวพ้นความขัดแย้งและกลับมามีความปรองดองสงบสุขได้อย่างรวดเร็วนั้น

องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ได้พิจารณาข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี เห็นว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการใช้สื่อมวลชนบางส่วนบิดเบือน ขณะเดียวกันสื่อมวลชนที่ประพฤติอยู่ในกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพก็ตกเป็นเป้าหมายถูกปิดกั้นการทำหน้าที่และถูกคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ วิชาชีพสื่อ จึงเห็นถึงบทบาทร่วมกันในด้านการวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับ การใช้สื่อเพื่อสะท้อนมุมมองต่อแก้วิกฤติในสังคม จึงเห็นสมควร จัดประชุมวิชาการสื่อสารมวลชน ในการประชุมหัวข้อ “ปฏิรูปสื่อ สู่การปฏิรูปสังคม” ขึ้น


วัตถุประสงค์

๑.       เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศศาสตร์ประจำปี

๒.     เพื่อเป็นการเผยแพร่ความก้าวหน้าของความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพสื่อ สารมวลชน ให้เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ  และวิชาชีพสื่อสารมวลชน

๓.     เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานการวิจัยให้เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชนในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

๔.     เพื่อสะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและเชิงวิชาการต่อประเด็นวิกฤติการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

๕.     เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิชาการและนักวิชาชีพ อันจะเป็นการขยายเครือข่ายความร่วมมือให้กว้างขวางยิ่งขึ้นในอนาคต


กลุ่มเป้าหมาย

๑.       ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในฐานะผู้เสนอผลงานวิจัย

๒.     นักวิชาชีพและนักวิชาการในหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) และผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) ของสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้นำเสนอผลงานวิจัย

๓.     นักวิชาชีพ ในวงวิชาชีพสื่อสารมวลชน และกรรมการบริหารองค์กรวิชาชีพสื่อ

๔.     คณาจารย์  นักวิชาการ และนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์ ผู้เข้าร่วมการประชุมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

๕.     สื่อมวลชน ร่วมรายงานข่าว

ผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งสิ้น ๑oo คน

รูปแบบและวิธีการดำเนินการ ประชุมวิชาการวิชาชีพสื่อสารมวลชนระดับชาติ ครั้งนี้ประกอบด้วย

๑.       การปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ปฏิรูปสื่อ สู่การปฏิรูปสังคม”

๒.     การอภิปราย หัวข้อ “ปฏิรูปสื่อ สู่การปฏิรูปสังคม”

๓.     การนำเสนอผลงานวิชาการบนเวที รวมจำนวน ๖ หัวข้อ

๔.     การพบปะสังสรรค์เครือข่ายนักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อ

ระยะเวลาและสถานที่

วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ – วันศุกร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓

ณ ห้องบัวหลวง  แกรนด์รูม ชั้น ๕ อาคาร ดร.สุข  พุคยภรณ์  มหาวิทยาลัยศรีปทุม  บางเขน

ผู้รับผิดชอบและเครือข่ายองค์กร

๑.     สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๒.     สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

๓.     สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

๔.     สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

๕.     สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

๖.      มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

๑.       ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาได้รับความรู้ และทราบถึงผลงานทางวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศศาสตร์ ของนักวิชาการและนัก วิชาชีพ

๒.     ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการวิจัยด้านสื่อสารมวลชนอย่างมีคุณภาพ

๓.     ผู้เข้าร่วมสัมมนาเกิดแรงจูงใจในการผลิตผลงานทางวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ที่มีคุณภาพออกสู่สาธารณะชน

๔.      ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้สะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและเชิงวิชาการต่อประเด็นวิกฤตการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม อันนำไปสู่การแก้วิกฤติ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------