ประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๕

ประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๕

ประชุมสัมมนา  “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๑

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์วารสารศาสตร์ก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่าน  อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  การเพิ่มปริมาณและประเภทของสื่อใหม่ๆที่เป็นทางเลือกให้กับผู้รับสารนอกเหนือจากสื่อดั้งเดิมที่เคยเป็นสื่อหลักของสังคม   รสนิยมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้รับสาร   การลดลงของผู้อ่านหนังสือพิมพ์  งบประมาณโฆษณาที่เคลื่อนตัวไปยังสื่อใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้ตรงกว่า  องค์กรข่าวกำลังอยู่ในระหว่างการปรับตัว  การเคลื่อนย้ายทุนจากการเน้นลงทุนที่คน  (Human  Investment)  และคุณภาพของผลิตภัณฑ์สื่อ  (Media  Product)  ไปยังการลงทุนด้านเทคโนโลยี    (Technology  Investment) และการดำเนินการทางการตลาด  ความพยายามเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบและเข้าถึงอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการปรับเนื้อหา ลีลาและรูปแบบการนำเสนอ  รวมทั้งเพิ่มช่องทางการเข้าถึงผู้รับสารมากขึ้น

ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ภาวะ การหลอมรวมกันของสื่อ (Media Convergence)  นั่นหมายถึงทั้งในแง่ของเทคโนโลยีที่ใช้ องค์กรสื่อที่ขยายครอบคลุมธุรกิจสื่อหลายประเภทในเวลาเดียวกัน  การร่วมมือกันระหว่างองค์กรในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน และงานข่าวที่มีเนื้อหาออกหลากหลายช่องทาง  แนวโน้ม  Convergent Journalism  ถูกมองว่าเป็นวารสารศาสตร์แห่งอนาคต  การรายงานข่าวเน้นข่าวเดียวออกหลากหลายช่องทาง  (One Content , Multiple Platforms) เพื่อตอบสนองผู้รับสารที่เปลี่ยนแปลงไปที่ต้องการบริโภคข่าวทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ  แนวโน้มชี้ให้เห็นว่าองค์กรกำลังต้องการนักข่าวที่ปรับตัวได้ดี  มีทักษะความสามารถหลากหลาย  (Multi-tasking skills)  จากห้องข่าวที่แยกกันชัดเจนระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะมีการผสมผสานทั้งในแง่การบริหารจัดการงานข่าว  การรายงานข่าว  การจัดการเนื้อหา  การเปิดพื้นที่ของนักข่าวภาคประชาชน  ตลอดจนเทคนิคใหม่ๆ ในการทำงานข่าว

เมื่อทิศทางวารสารศาสตร์เปลี่ยนแปลงไป  นักข่าวก็ต้องปรับตัวมากเช่นกัน  รวมทั้งกระบวนการผลิตและพัฒนาศักยภาพนักข่าว ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ของสถาบันการศึกษา  และสมาคมวิชาชีพวารสารศาสตร์ องค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการในวิชาชีพวาสารศาสตร์ที่มีอยู่เดิมจำเป็นต้องนำมาพิจารณา  ปรับปรุง และประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพวารสารศาสตร์แห่งอนาคต

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑.เพื่อระดมความคิดเห็นในการวางยุทธศาสตร์ การพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพวารสารศาสตร์แห่งอนาคต

๒. เพื่อสนับสนุน หรือเป็นสื่อกลางในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิชาการ และวิชาชีพในการบริหารจัดการ

หลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาวิชาวารสารศาสตร์ทั้งในส่วนของสถาบันการศึกษาและโครงการพัฒนาบุคลากร โดยสมาคมวิชาชีพให้ทันสมัย  สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน รวมทั้งสอดรับกับอนาคต

๓. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายนักวิชาการวิชาชีพวารสารศาสตร์

กลุ่มเป้าหมาย

๑.นักวิชาการด้านวารสารศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้อง         ๕o          คน

๒.สื่อมวลชน                                                                      ๓o          คน

รวมจำนวนทั้งสิ้น                                                              ๘o          คน

 

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

วันศุกร์ที่  ๓o  มีนาคม  ๒๕๕๕  เวลา o๘.๓o – ๑๗.๐๐ น.

 

สถานที่จัดงาน

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถ.แจ้งวัฒนะ  ต.บางตลาด  อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี

ช่วงเช้า Convention Hall

ช่วงบ่าย ห้อง ๓๓๐๔ – ๓๓๐๕

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.แนวทางในการพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพ และข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาการเรียนการสอนวารสารศาสตร์

๒.โครงการย่อยจากความร่วมมือระหว่างนักวิชาการสถาบันต่าง ๆ และนักวิชาชีพในการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือในประเด็นต่างๆ ของวารสารศาสตร์แห่งอนาคต

๓.สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

 

องค์กรที่รับผิดชอบ

๑.สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

๒. สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

๓.สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๔. สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

๕. ศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน สถาบันอิศรา

๖. ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

๗. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

 

 

 

กำหนดการ ประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน  ประจำปี ๒๕๕๕

ประชุมสัมมนา “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๑

จัดโดย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ร่วมกับ  สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย , สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

ศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน , ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์  และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

วันศุกร์ที่  ๓๐ มีนาคม  ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๓๐-๑๗.๐๐ น.  ณ Convention Hall สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

 

วันศุกร์ที่  ๓๐ มีนาคม  ๒๕๕๕

๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐  น.         ลงทะเบียน

๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๕  น.         กล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดย

รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

๐๙.๑๕ -๑๐.๑๕  น.          บรรยายพิเศษ “ทิศทางสื่อ  ทิศทางวารสารศาสตร์”

โดย  คุณสุทธิชัย  หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น กรุ๊ป

๑๐.๑๕ -๑๐.๓๐  น.           พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๓๐-๑๒.๐๐   น.           เสวนา “เผชิญความจริงกับสิ่งที่เปลี่ยนไป(ในงานวารสารศาสตร์)”

วิทยากร                                 คุณประสงค์  เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิศรา

คุณชวรงค์  ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

คุณบัณฑิต  จันทศรีคำ  (แคน  สาริกา) บรรณาธิการอำนวยการหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก

ดร.สุดารัตน์  ดิษยวรรธนะ  จันทราวัฒนากุล สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ดำเนินรายการโดย            ดร.มานะ  ตรีรยาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

๑๒.๐๐ -๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐-๑๔.๐๐  น.            สัมมนากลุ่มย่อย “รับ รุก ร่วมสร้าง อนาคตทางวิชาการ/วิชาชีพ”

กลุ่มที่ ๑ นโยบายสื่อ จริยธรรมสื่อ สภาวิชาชีพ สมาคมวิชาชีพ หลักสูตรวิชาการ

กลุ่มที่ ๒ นักข่าว  กระบวนการรายงานข่าว

กลุ่มที่ ๓ เทคนิค เทคโนโลยีในงานข่าว ช่องทางการนำเสนอข่าว

กลุ่มที่ ๔ ผู้บริโภคข่าว  เนื้อหา ความอยู่รอดทางธุรกิจ ช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค

๑๔.๐๐ -๑๔.๑๕  น.          พักรับประทานอาหารว่าง

๑๔.๑๕ – ๑๖.๓๐ น.         นำเสนอผลการสัมมนากลุ่มย่อย กลุ่มละ ๑๐ นาที และอภิปราย

ดำเนินรายการโดย              คุณอมรรัตน์  มหิทธิรุกข์ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

๑๖.๓๐-๑๗.๐๐ น.             สรุปการสัมมนา โดย อาจารย์บรรยงค์  สุวรรณผ่อง

ปิดการสัมมนา

ประเด็นอภิปรายกลุ่มย่อย  งานประชุมสัมมนา “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์”

กลุ่มที่ ๑ นโยบายสื่อ จริยธรรมสื่อ สภาวิชาชีพ สมาคมวิชาชีพ หลักสูตรวิชาการ

  • Participatory Journalism – วารสารศาสตร์แบบมีส่วนร่วม / Citizen Journalism / Blog & Journalism/ Convergence Journalism
  • กฏหมาย จริยธรรม (revisit + เพิ่มเติมจริยธรรมเฉพาะบนสื่อใหม่) ลิขสิทธิ์  การตรวจสอบข้อมูลบนโลกออนไลน์และ social media /accountability & Responsibility
  • Self-regulation /สมาคมและสภาวิชาชีพ/ การกำกับดูแล
  • การพัฒนารูปแบบในการพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพ

นำโดย

จักร์กฤษ  เพิ่มพูล  เครือเนชั่น

ผศ.สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ มรภ.สวนสุนันทา

กลุ่มที่ ๒ นักข่าว  กระบวนการรายงานข่าว

  • ลักษณะ / รูปแบบ ที่เปลี่ยนแปลงไป ข่าวทั้งเชิงเร็วและลึก ข่าวบน platform ที่ต่างกันรูปแบบเนื้อหาต่างกันหรือไม่อย่างไร ความน่าเชื่อถือของข่าว คุณภาพของข่าว content รูปแบบอื่นๆ ที่เกิดขึ้นใหม่
  • คน -ทักษะที่จำเป็น เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน / ผลสะท้อนการทำงานด้วยสื่อใหม่ หรือ ผลของการปรับ / เปลี่ยน วิถีการทำข่าว/ แหล่งข่าว /บทบาทหน้าที่ จริยธรรม แนวทางปฏิบัติ case study  แนวทางที่จำเป็นสำหรับ บุคลากรในวิชาชีพ -เริ่มต้น ปรับตัว เปลี่ยนงาน
  • นโยบาย องค์กร - กลยุทธ์ในการปรับตัว บริหารงาน สื่อเก่า-ใหม่ / Newsroom กองบรรณาธิการรูปแบบใหม่ / business model  /ธุรกิจ + อุดมการณ์

นำโดย

อศินา  พรวศิน  เนชั่น

อ.สกุลศรี ศรีสารคาม  ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

กลุ่มที่ ๓ เทคนิค เทคโนโลยีในงานข่าว ช่องทางการนำเสนอข่าว

  • Convergence Media / Multi-platform : how to, strategy
  • เครื่องมือ เทคโนโลยี ช่องทางในการนำเสนอข่าวรูปแบบใหม่ๆ / การเชื่อมโยง Old-New media

เข้าด้วยกัน

  • Program & Application ที่จำเป็นในงานวารสารศาสตร์ – Art / Graphic/ VDO/ Editing

นำโดย

ดร.มานะ  ตรีรยาภิวัฒน์ ม.หอการค้า  , ผศ.ดร.อัศวิน  เนตรโพธิ์แก้ว ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

อ.ณรงค์ศักดิ์  ศรีทานันท์ ม.กรุงเทพ  , เย็นจิตร์  สถิรมงคลสุข  ไทยพีบีเอส  , ชุตินธรา วัฒนกุล    เนชั่น

กลุ่มที่ ๔ ผู้บริโภคข่าว  เนื้อหา ความอยู่รอดทางธุรกิจ ช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค

  • การเลือกรับ / ความพึงพอใจ / การเปรียบเทียบการรับสารระหว่างสื่อเก่า-ใหม่ / ความต้องการในการรับข่าวสาร / ทัศนคติ
  • ลักษณะเนื้อหาที่พึงประสงค์ pattern การบริโภคเนื้อหา ช่องทางการบริโภค
  • บทบาทใหม่ : การมีส่วนร่วมในกระบวนข่าว นักข่าวพลเมือง user-generated content และ การ engage ผู้รับสาร/ชุมชน
  • สถิติการรับข่าวสาร และ รูปแบบการรับข่าวสารทั้งสื่อเก่า สื่อใหม่ (ขาดตัวเลขเชิงปริมาณและสถิติตรงนี้มาก ทำให้ไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง)

นำโดย

ประสงค์  เลิศรัตนวิสุทธิ์  สถาบันอิศรา

ดร.สุดารัตน์  ดิษยวรรธนะ  จันทราวัฒนากุล  สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ผศ.ดร.บุบผา เมฆศรีทองคำ  ม.กรุงเทพ , ผศ.ดร.วรัชญ์  ครุจิต ม. ศรีปทุม , อ.ขจรจิต บุนนาค ม.กรุงเทพ

/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ดาวโหลดประกาศและใบสมัคร doc

ดาวโหลดประกาศและใบสมัคร pdf