ประชุมสัมมนา “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๓-วันที่ ๑๑ ต.ค. ๕๕

กำหนดการ ประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน  ประจำปี ๒๕๕๕

ประชุมสัมมนา “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๓

วันพฤหัสบดีที่ ๑๑  ตุลาคม  ๒๕๕๕  เวลา  ๐๘.๓๐-๑๕.๐๐ น.

ห้องประชุมทวี บุณยเกตุ (ห้อง-๖-๑) สำนักอธิการบดี   ชั้น ๖   มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ  สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

โครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ(Media Monitor)มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา

และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐  น.         ลงทะเบียน

๐๙.๐๐ – ๐๙.๐๕  น.          กล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน

โดย นายชวรงค์  ลิมป์ปัทมปาณี นายก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๐๙.๐๕ – ๐๙.๑๕  น.        กล่าวต้อนรับและเปิดงาน

โดย รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดี  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

๐๙.๑๕ -๑๐.๐๐  น.            บรรยายพิเศษ “Monitoring   Media  in  the  Convergence  Era”

โดย  ดร. สมเกียรติ  ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

๑๐.๐๐ -๑๐.๑๕  น.            พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๑๕-๑๒.๐๐   น.          เสวนา  “Monitoring   Media  in  the  Convergence  Era”

วิทยากร                                 รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผอ.สำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม(สำนัก 5) สสส.

ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะอเนก ประธานชมรมวิทยุเด็ก  เยาวชน  และครอบครัว

นางสาวสุวรรณา  สมบัติรักษาสุข ประธานศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน

ดำเนินรายการโดย             ผศ.ดร.เอื้อจิต  วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการมีเดียมอนิเตอร์

๑๒.๐๐ -๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐-๑๔.๐๐  น.            สัมมนากลุ่มย่อย “Monitoring   Media  in  the  Convergence  Era”

กลุ่มที่ ๑ ประเด็น ธุรกิจสื่อในยุค Convergent  Media

โดย รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ และ นายชวรงค์  ลิมป์ปัทมปาณี

กลุ่มที่ ๒ ประเด็นเกี่ยวกับ  Media Representation ของ target กลุ่มต่าง ๆ

โดย รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ และ นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์

กลุ่มที่ ๓ ประเด็นกฎหมายสื่อ จริยธรรม และ การกำกับดูแลสื่อ

โดย รศ.ดร.เจษฎ์  โทณะวณิก และ  นางสาวสุวรรณา  สมบัติรักษาสุข

กลุ่มที่ ๔                                ประเด็น การศึกษาวิเคราะห์การนำเสนอสื่อในรูปแบบต่าง ๆ (Program format)

โดย  ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ และ  ดร.ธีรารัตน์  พันทวี วงศ์ธนะอเนก

๑๔.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.          นำเสนอผลการสัมมนากลุ่มย่อย อภิปราย และสรุปปิดการสัมมนา

ดำเนินรายการโดย              นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

อาจารย์บรรยงค์  สุวรรณผ่อง บรรณาธิการที่ปรึกษา หนังสือพิมพ์อีคอนนิวส์

 

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

กำหนดการนำเสนอผลการศึกษา

“Hate Speech ในเว็บไซต์ และทีวีดาวเทียมการเมือง”

(ศึกษาระหว่าง 12-18 มิถุนายน 2555 ในช่วงความขัดแย้งกรณีการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ‘50 วาระ 3)

และการเสวนา “การสื่อสารความเกลียดชังกับผลกระทบต่อสังคม”

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2555 เวลา 15.00 – 16.30 น.

ณ  ห้องประชุมทวี บุณยเกตุ  สำนักอธิการบดี   ชั้น 6  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ถ.ประชาชื่น

......................................

15.00 – 15.15 น.  นำเสนอผลการศึกษา โดย ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์

ผู้อำนวยการโครงการมีเดียมอนิเตอร์

15.15– 16.00 น.   การเสวนา “การสื่อสารความเกลียดชังกับผลกระทบต่อสังคม”

ระหว่าง    นายมานิจ  สุขสมจิตร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน และ

กรรมการในคณะกรรมการอิสระ ตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

พลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล  สถาบันพระปกเกล้า

รศ.ดร.วิลาสินี  อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันอิศรา

16.00 – 16.30 น.  แลกเปลี่ยน และสรุปการเสวนา นำโดย ผู้อำนวยการโครงการมีเดียมอนิเตอร์

 


/////////////////////////////////////////////

ประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๕

“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่  ๓

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์วารสารศาสตร์ก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่าน  อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยี               ที่เปลี่ยนแปลงและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  การเพิ่มปริมาณและประเภทของสื่อใหม่ๆที่เป็นทางเลือกให้กับผู้รับสารนอกเหนือจากสื่อดั้งเดิมที่เคยเป็นสื่อหลักของสังคม   รสนิยมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้รับสาร   การลดลงของผู้อ่านหนังสือพิมพ์  งบประมาณโฆษณาที่เคลื่อนตัวไปยังสื่อใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้ตรงกว่า  องค์กรข่าวกำลังอยู่ในระหว่างการปรับตัว  การเคลื่อนย้ายทุนจากการเน้นลงทุนที่คน  (Human  Investment)  และคุณภาพของผลิตภัณฑ์สื่อ  (Media  Product)  ไปยังการลงทุนด้านเทคโนโลยี    (Technology  Investment) และการดำเนินการทางการตลาด  ความพยายามเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบและเข้าถึงอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการปรับเนื้อหา ลีลาและรูปแบบการนำเสนอ  รวมทั้งเพิ่มช่องทางการเข้าถึงผู้รับสารมากขึ้น

ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ภาวะ การหลอมรวมกันของสื่อ (Media Convergence)  นั่นหมายถึงทั้งในแง่ของเทคโนโลยี  ที่ใช้องค์กรสื่อที่ขยายครอบคลุมธุรกิจสื่อหลายประเภทในเวลาเดียวกัน  การร่วมมือกันระหว่างองค์กรในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน และงานข่าวที่มีเนื้อหาออกหลากหลายช่องทาง  แนวโน้ม  Convergent Journalism  ถูกมองว่าเป็นวารสารศาสตร์แห่งอนาคต  การรายงานข่าวเน้นข่าวเดียวออกหลากหลายช่องทาง  (One Content , Multiple Platforms) เพื่อตอบสนองผู้รับสารที่เปลี่ยนแปลงไปที่ต้องการบริโภคข่าวทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ  แนวโน้มชี้ให้เห็นว่าองค์กรกำลังต้องการนักข่าว           ที่ปรับตัวได้ดี  มีทักษะความสามารถหลากหลาย  (Multi-tasking skills)  จากห้องข่าวที่แยกกันชัดเจนระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะมีการผสมผสานทั้งในแง่การบริหารจัดการงานข่าว  การรายงานข่าว  การจัดการเนื้อหา  การเปิดพื้นที่ของนักข่าวภาคประชาชน  ตลอดจนเทคนิคใหม่ๆ ในการทำงานข่าว

เมื่อทิศทางวารสารศาสตร์เปลี่ยนแปลงไป  นักข่าวก็ต้องปรับตัวมากเช่นกัน  รวมทั้งกระบวนการผลิตและพัฒนาศักยภาพนักข่าว ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ของสถาบันการศึกษา  และสมาคมวิชาชีพวารสารศาสตร์ องค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการในวิชาชีพวาสารศาสตร์ที่มีอยู่เดิมจำเป็นต้องนำมาพิจารณา  ปรับปรุง และประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพวารสารศาสตร์แห่งอนาคต

ทั้งนี้ ได้จัดประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๑ ไปเมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยได้เปิดเวทีระดมความคิดเห็น พบว่าบุคลากรวิชาการและวิชาชีพวารสารศาสตร์มีความต้องการจะพัฒนาในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีสำหรับการผลิตข่าว  การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะในการทำงานข่าวให้แก่บุคลากรทางด้านวารสารศาสตร์เพิ่มมากขึ้น อันจะนำไปสู่การพัฒนาทางด้านสถาบันวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชนต่อไปในอนาคต

นำมาซึ่งการจัดประชุมใหญ่วิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๕  “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๒ ขึ้นเพื่อเป็นการต่อยอดความคิดในเชิงบูรณาการ โดยเปิดเวทีนำเสนอผลงานทางวิชาการ                       เรื่อง“ยุทธศาสตร์การปรับตัวองค์กรสื่อสู่ Convergence Media กรณีศึกษา เครือเนชั่น เดลินิวส์ และเครือผู้จัดการ” ซึ่งเป็นผลงานที่ชี้ให้เห็นถึงการปรับตัวขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี  รวมถึงการจัดกิจกรรม          Work Shop ด้านการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะในการทำงานข่าวให้แก่บุคลากรทางด้านวารสารศาสตร์ ได้แก่ เทคนิคการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน (Data Journalism & Investigative Reporting) , เทคนิคการใช้เครื่องมือในการสื่อสาร (Content Curation Tools & Techniques ) และการฝึกทำคลิปข่าว (D.I.Y. - News Clip) เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕                    ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง

จึงได้วางแผนจัดประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๕  “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๓  ขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ ๑๑  ตุลาคม ๒๕๕๕  ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เพื่อต่อยอดในประเด็นเรื่องการตรวจสอบในยุคการหลอมรวมสื่อ (Monitoring  Media  in  the  Convergence  Era) และเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑. เพื่อเป็นเวทีนำเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องข่าวสารและความก้าวหน้าทางวิชาการวิชาชีพสื่อมวลชน

๒. เพื่อสนับสนุน หรือเป็นสื่อกลางในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ ในการบริหารจัดการ

หลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ทั้งในส่วนของสถาบันการศึกษาและโครงการพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพให้ทันสมัย  สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน รวมทั้งสอดรับกับอนาคต

๓. เพื่อเป็นการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประเด็นในเชิงธุรกิจ  ผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ  กฎหมายสื่อ จริยธรรม และการกำกับดูแลสื่อ รวมถึงการศึกษาวิเคราะห์การนำเสนอของสื่อในรูปแบบต่าง ๆ

กลุ่มเป้าหมาย

นักวิชาการ นักวิชาชีพ สื่อมวลชน หรือที่เกี่ยวข้องจำนวน       ๑๒o       คน

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

วันพฤหัสบดีที่ ๑๑  ตุลาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.

สถานที่จัดงาน

ณ   ห้องประชุมทวี  บุณยเกตุ (ห้อง-๖-๑) สำนักอธิการบดี  ชั้น ๖  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  ถนนประชาชื่น                แขวงทุ่งสองห้อง   เขตหลักสี่  กรุงเทพมหานคร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนา องค์กรทางด้านวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือในประเด็นต่างๆ ภายใต้โครงการวารสารศาสตร์แห่งอนาคต โดยความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพ

๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

 

องค์กรที่รับผิดชอบ

๑. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๒. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

๓. สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

๔. โครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ(Media Monitor)มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา

๕. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

#