(ภาพบรรยากาศการประชุม) และ ฟังเสียงประชุมวิชาการวิชาชีพสื่อ
ฟังเสียงประชุมวิชาการวิชาชีพสื่อ
หัวข้อเสวนา เรื่อง “วิชาชีพสื่อในประชาคมอาเซียน”
{mp3remote}http://www.tja.or.th/images/stories/2557/sound2557/570314-2seminar-asean-journalists.mp3{/mp3remote}
*****************************
อภิปราย “วิชาการวิชาชีพสื่อสู่มวลชนอาเซียน”
{mp3remote}http://www.tja.or.th/images/stories/2557/sound2557/570314-3academy-asean-journalism.mp3{/mp3remote}
********************************
สรุปเนื้อหาการประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน
{mp3remote}http://www.tja.or.th/images/stories/2557/sound2557/570314-4conclude-overall.mp3{/mp3remote}
***********************************
ประชุมใหญ่วิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๗
ประชุมสัมมนา “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๖
ตอน ASEAN Journalism and Education
วันศุกร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
ณ หอประชุมปัญญาภิวัฒน์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ แจ้งวัฒนะ
จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
ชมรมนักข่าวอาเซียนและ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๕ น. กล่าวเปิดงานโดย นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์
นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
๐๙.๑๕ – ๑๐.๐๐ น. บรรยายพิเศษ “โอกาสของสื่อและการศึกษาด้านสื่อในประชาคมอาเซียน”โดย
รศ.ดร. สมภพ มานะรังสรรค์
อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
๑๐.๐๐ – ๑๐.๑๕ น. พักรับประทานอาหารว่าง
๑๐.๑๕ – ๑๒.๐๐ น. เสวนา เรื่อง “วิชาชีพสื่อในประชาคมอาเซียน”
วิทยากร นางสาวอัจฉรา อัชฌายกชาติ ผู้สื่อข่าวอาวุโสบางกอกโพสต์
Pham Na Linh, Head Vietnam News, Bangkok Bureau
Mingu Simon, Head Bernama Beuro Thailand
ตัวแทนผู้สื่อข่าวพม่า
ดำเนินรายการ นางสาวนุชหทัย โชติช่วง ผู้สื่อข่าว เนชั่นทีวี
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. อภิปราย “วิชาการวิชาชีพสื่อสู่มวลชนอาเซียน”
วิทยากร อาจารย์เมธาวี แก้วสนิท และ อาจารย์กรกฏ จำเนียร
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ดร.มาริษา สุจิตวนิช
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี
ที่ปรึกษาบรรณาธิการข่าวออนไลน์ และหัวหน้าศูนย์ข้อมูล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ดำเนินรายการ ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล
คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
๑๔.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. สัมมนากลุ่มย่อยต่อยอดจากการอภิปราย แบ่งเป็น ๒ กลุ่มย่อย
กลุ่มที่ ๑: ด้านวิชาชีพ “วิชาชีพจะปรับตัวอย่างไรให้ก้าวไกลในอาเซียน”
ประธาน นายสุทธิรักษ์ อุตมมนตรี ผู้ช่วยบรรณาธิการ เนชั่นทีวี
กลุ่มที่ ๒: ด้านวิชาการ “ภาควิชาการจะปรับตัวอย่างไรให้ก้าวไกลในอาเซียน”
ประธาน ดร. มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. นำเสนอประเด็นจากการสัมมนากลุ่มย่อย
๑๖.๐๐ – ๑๖.๒๐ น. สรุปเนื้อหาการประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชนโดย
อาจารย์เอกพล เทียนถาวร
หัวหน้าสาขาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
และ นางสาวอศินา พรวศิน
Byteline Deputy Editor and Social Media Editor, The Nation newspaper
๑๖.๒๐ – ๑๖.๓๐ น. กล่าวปิดงาน โดย นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล
ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
พรศรินทร์ ศรีสวัสดิ์(ฝ้าย)
pornsarin sreesawad (Fay..)
ผู้ประสานงาน โครงการความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน
สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
ที่อยู่ 538/1 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กทม. 10300
โทร02-6689422 โทรสาร 02-6687505
มือถือ 087-1718944 / 087-9253464
E-mail: pornsarin.isra@gmail.com
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
โครงการประชุมใหญ่วิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๗
ประชุมสัมมนา “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๖
ตอน ASEAN Journalism and Education
หลักการและเหตุผล
ท่ามกลางเปลี่ยนแปลงของ media landscape อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยี กระบวนการสื่อข่าว สื่ออินเตอร์เน็ต การปรับตัวของผู้รับสารที่มีความตื่นตัว กระตือรือร้นในการสร้างเนื้อหา เลือกรับสื่อ และต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อข่าวมากขึ้น ตลอดจนช่องทางในการใช้สื่อดิจิทัลและสื่อใหม่ในการขับเคลื่อนประเด็นและกำหนดวาระข่าวสารทางสังคมของผู้รับสารได้ ทำให้องค์กรสื่อในหลายประเทศต่างมีการปรับตัวทั้งในระดับการปฏิบัติงานของผู้สื่อข่าว และกองบรรณาธิการ บทบาทของผู้สื่อข่าวต่างไปจากการเป็นผู้นำข่าวมาเสนอ แต่ต้องทำหน้าที่ของการรวบรวมข้อมูล คัดกรองข้อมูล และสร้างชุมชนข่าวเพื่อต่อยอดประเด็นในสังคมมากขึ้น พร้อมกับการปรับตัวสู่การเป็นผู้สื่อข่าวแบบหลากทักษะที่ต้องทำงานแบบหลากสื่อ ในกลุ่มประเทศอาเซียนสื่อมีบทบาทหนึ่งที่เพิ่มขึ้นคือการทำอย่างไรให้สามารถเป็นตัวกลางเชื่อมโยงความเข้าใจระหว่างประเทศภายในประชาคมอาเซียน เสริมความร่วมมือและเตรียมพร้อมคนในประเทศสู่การก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้จากการจัดตั้งความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้สื่อข่าวและองค์กรวิชาชีพในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ชมรมผู้สื่อข่าวอาเซียน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ความเข้าใจ และร่วมกันในการฝึกพัฒนาผู้สื่อข่าวต่อโจทย์ของการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อและภาระกิจที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาเบื้องต้นพบว่า นอกจากประเด็นเรื่องการปรับตัวทางวิชาชีพแล้ว การพัฒนาด้านการศึกษาด้านวารสารศาสตร์เป็นประเด็นที่มีความต้องการการพัฒนาในหลายประเทศ เนื่องจากในบางประเทศเช่น พม่า และลาว หลักสูตรการศึกษาด้านวารสารศาสตร์ยังมีข้อจำกัดทั้งด้านนักวิชาการ ผู้สอน ความพอเพียงของสถาบันศึกษา ตลอดจนหลักสูตรที่ยังต้องมีการพัฒนาให้สร้างบัณฑิตที่ตรงกับความต้องการของวงการข่าว ในขณะที่บางประเทศ เช่น ไทย สิงคโปร์ มีพัฒนาการด้านวิชาการและหลักสูตรด้านวารสารศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ชมรมนักข่าวอาเซียนและ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานประชุมใหญ่วิชาการวิชาชีพเพื่อวารสารศาสตร์ ตอน ASEAN Journalism and Education มุ่งให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การศึกษาความต้องการด้านการพัฒนาหลักสูตรการเรียน การฝึกอบรมทักษะของประเทศในอาเซียน ควบคู่กับการแลกเปลี่ยนความเข้าใจในเรื่องบริบททางสังคมและความต้องการของวิชาชีพ จะเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้านวารสารศาสตร์และการพัฒนานักวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพทางวิชาชีพสื่อต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ
๑. เพื่อเป็นเวทีนำเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องข่าวสารและความก้าวหน้าทางวิชาการวิชาชีพสื่อมวลชน
๒. เพื่อสนับสนุน หรือเป็นสื่อกลางในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิชาการ และวิชาชีพในการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาวิชาวารสารศาสตร์ทั้งในส่วนของสถาบันการศึกษาและโครงการพัฒนาบุคลากร โดยสมาคมวิชาชีพให้ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน รวมทั้งสอดรับกับอนาคต
๓. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายนักวิชาการวิชาชีพวารสารศาสตร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ
๑. คณะอนุกรรมการวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
๒. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
๓. สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
๔. ชมรมนักข่าวอาเซียน
๕. คณะทำงานวารสารศาสตร์แห่งอนาคต
๖. คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
สนับสนุนโครงการโดย
๑. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
๒. บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
๓. อื่นๆ (ถ้ามี)
รายละเอียดของโครงการ/กิจกรรม/วิธีดำเนินการ
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวน ๑๕๐ คน ประกอบด้วยบุคลากรจากวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน
รูปแบบดำเนินการ
๑. การบรรยายพิเศษ (keynote lecture) และการเสวนา
๒. การสัมมนากลุ่มย่อย
วัน เวลา และสถานที่
วันศุกร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๗ เวลา ๘.๓๐-๑๖.๓๐ น.
ณ หอประชุม ๑-๓ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาวิชาการวิชาชีพสาขาวารสารศาสตร์
๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือในประเด็นต่างๆ ภายใต้โครงการวารสารศาสตร์แห่งอนาคต ภายใต้ความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพ
๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ
๑. จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของจำนวนผู้ลงทะเบียนทั้งหมด
๒. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////