ห้องเรียนสาธารณะ “Multi-skilled journalists “-คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

โครงการ ๖๐ ปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย “ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ”

กำหนดการ

กิจกรรมเชิงปฏิบัติการห้องเรียนสาธารณะ "Multi-skilled  journalists "

วันพุธที่  ๒๙ เมษายน ๒๕๕๘  เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

ห้อง ๔๑๙ อาคารสิริวิทยา ชั้น ๔ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

 

 

๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น.                ลงทะเบียน

๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๐ น.                กล่าวต้อนรับโดย

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

๐๙.๑๐ – ๐๙.๒๐ น.                กล่าวเปิดงาน โดย นายอรุณ  ลอตระกูล

ผู้จัดการโครงการ ห้องเรียนสาธารณะ "Multi-skilled  journalists "

๐๙.๒๐ – ๑๑.๐๐ น.                บรรยาย เรื่อง "Multi-skilled  journalists "

- บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง เทคนิคการนำเสนอข่าว ของนักข่าวยุคคอนเวอร์เจนซ์ ผ่าน ๔ ช่องทาง (สื่อหนังสือพิมพ์,คลิปวีดีโอ,เฟสบุ๊ค,ทวิตเตอร์)

- แบ่งกลุ่มทำงานวิเคราะห์ข่าว

โดย                         นางสาวเย็นจิตร์  สถิรมงคลสุข

นักข่าวอิสระ อดีตบรรณาธิการเว็บ ไทยพีบีเอส และมติชนออนไลน์

๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.                เบื้องหลังคลิปข่าวเด็ด

โดย นายพชรปพน  พุ่มประพันธ์

เนชั่นทีวี

๑๒.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.                พักรับประทานอาหารกลางวัน และ แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม “ข่าวเด็ด”

๑๔.๓๐ – ๑๕.๓๐ น.                นักศึกษาส่งผลงานพร้อมกับการนำเสนอผลงาน

๑๕.๓๐ – ๑๖.๒๐ น.                วิพากษ์ผลงานนักศึกษา

๑๖.๒๐ – ๑๖.๓๐ น.                สรุป ปิดกิจกรรม

 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

 

โครงการ ๖๐ ปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย “ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ”

กิจกรรมเชิงปฏิบัติการห้องเรียนสาธารณะ "Multi-skilled  journalists "

วันพุธที่  ๒๙ เมษายน ๒๕๕๘  เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

ห้อง ๔๑๙ อาคารสิริวิทยา ชั้น ๔ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี ภาวะหลอมรวมกันของสื่อ (Media Convergence) การเพิ่มปริมาณและประเภทของสื่อใหม่ๆที่เป็นทางเลือกให้กับผู้รับสาร ตลอดจนการปรับตัวขององค์กรสื่อ ฯลฯ ส่งผลอย่างสำคัญถึงความจำเป็นในการร่วมมือและพึ่งพาอาศัยกันระหว่างองค์กร และลักษณะของการปฏิบัติงาน เช่น รายงานข่าวเน้นข่าวเดียวออกหลากหลายช่องทาง เป็นต้น

การพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพนิเทศศาสตร์จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรต้นทางหรือนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพทางด้านนิเทศศาสตร์ในอนาคต

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อเป็นเวทีพัฒนานักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ให้มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะเชิงปฏิบัติการที่ทันสมัย  สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน รวมทั้งสอดรับกับอนาคต

2.เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ ในการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาวิชานิเทศศาสตร์

กลุ่มเป้าหมาย

นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จำนวน ๔๐ คน