ประกาศผลการตัดสินข่าวและภาพข่าวที่เข้ารอบสุดท้าย รางวัลอิศรา อมันตกุล ประจำปี ๒๕๕๘

 

เรียน หัวหน้าข่าวหน้า ๑ ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศผลการตัดสินข่าวและภาพข่าวที่เข้ารอบสุดท้าย รางวัลอิศรา อมันตกุล ประจำปี ๒๕๕๘

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  มูลนิธิอิศรา อมันตกุล และชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ได้จัดการประกวดข่าวยอดเยี่ยมและภาพข่าวยอดเยี่ยมรางวัลอิศรา อมันตกุล และรางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ของชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ประจำปี ๒๕๕๘  โดยจะมีพิธีมอบรางวัลผลการประกวดประเภทต่างๆ  ในวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๙  เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ ห้องภาณุรังษีบอลล์รูม โรงแรมรอยัลริเวอร์ เชิงสะพานซังฮี้ ฝั่งธนบุรี  สำหรับผลงานที่เข้ารอบสุดท้ายทั้งภาพและข่าว มีดังนี้

รางวัลอิศรา อมันตกุล  ประเภทข่าว มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน ๑๐  ข่าว  จากหนังสือพิมพ์ ๔ ฉบับ ผลงานข่าวที่เข้ารอบ ๕ ข่าวสุดท้าย . ข่าวมหากาพย์.. เปิดโปงขบวนการ "แชร์ยูฟัน" ทลายเครือข่ายต้มตุ๋นระดับโลก โดยกองบรรณาธิการนสพ.ไทยรัฐ  ๒. ข่าวแกะรอยขบวนการ ค้ามนุษย์ขุดรากถอนโคนกลุ่มอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลัง โดยกองบรรณาธิการ นสพ.ไทยรัฐ  ๓. ข่าวสางปมปัญหาธุรกิจนักบุญ ค่ารักษาแพง – โฆษณาประกันเกินจริง - หากินบนคราบน้ำตาชาวบ้าน โดยกองบรรณาธิการ นสพ.เดลินิวส์  ๔. ข่าวโกงหมื่นล้าน..สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น โยงหมกเม็ดเงินบุญวัดธรรมกาย โดยกองบรรณาธิการ นสพ.เดลินิวส์  และ ๕. ข่าวเปิดแผล น่านฟ้าไทยอลวน พิษสงมาตรฐานการบินบกพร่อง โดยกองบรรณาธิการ นสพ.โพสต์ทูเดย์

สำหรับผลการตัดสินประจำปี ๒๕๕๘  ไม่มีผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลข่าวยอดเยี่ยม  แต่มีผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลดีเด่น ๑ รางวัล ได้แก่ ข่าว เปิดแผล น่านฟ้าไทยอลวน พิษสงมาตรฐานการบินบกพร่อง โดยกองบรรณาธิการ นสพ.โพสต์ทูเดย์ได้รับโล่และเงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท และรางวัลชมเชยอีก ๒  รางวัล ได้แก่  ข่าวมหากาพย์.. เปิดโปงขบวนการ "แชร์ยูฟัน" ทลายเครือข่ายต้มตุ๋นระดับโลก โดยกองบรรณาธิการนสพ.ไทยรัฐ  และ ข่าวสางปมปัญหาธุรกิจนักบุญ ค่ารักษาแพง-โฆษณาประกันเกินจริง-หากินบนคราบน้ำตาชาวบ้าน โดยกองบรรณาธิการ นสพ.เดลินิวส์  ได้รับโล่และเงินรางวัล  ๒๐,๐๐๐  บาท

รางวัลอิศรา อมันตกุล  ประเภทภาพข่าว มีผลงานส่งเข้าประกวดจำนวน ๗๖ ภาพ จากหนังสือพิมพ์ ๑๐ ฉบับ ผลงานภาพข่าวที่เข้ารอบ ๕ ภาพสุดท้ายได้แก่  . ภาพ “ปลอบขวัญ ” โดยนายณัฐภูมินทร์ ปานรักษ์  จากนสพ. เดลินิวส์ . ภาพ "จู่โจมจับ" โดยนายธวัช หลำเบ็ญส๊ะ จาก นสพ. เดลินิวส์ . ภาพ "สลดใจ" โดยนายชินทัต มังกรสุรกาล จาก นสพ. ไทยรัฐ ๔ ภาพ. "แบ่งช่องจราจร" โดยนายประกฤษณ์ จันทะวงษ์ จาก นสพ.โพสต์ทูเดย์ และ . ภาพ "ลักเลือกตั้ง” โดยนายปฏิภัทร จันทร์ทอง จาก นสพ.บางกอกโพสต์

สำหรับผลการตัดสินรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทภาพข่าว ประจำปี ๒๕๕๘  ผลงานภาพข่าวที่ได้รับรางวัลภาพข่าวยอดเยี่ยม ได้แก่ ภาพ “ปลอบขวัญ” โดยนายณัฐภูมินทร์ ปานรักษ์  จาก นสพ. เดลินิวส์ ได้รับโล่และเงินรางวัล ๕๐,๐๐๐ บาท

สำหรับผลงานภาพข่าวที่ได้รับรางวัลดีเด่น มี ๒ รางวัล ได้แก่  ภาพ "ลักเลือกตั้ง" โดยนายปฏิภัทร จันทร์ทอง จาก นสพ.บางกอกโพสต์ และภาพ "สลดใจ" โดยนายชินทัต มังกรสุรกาล จาก นสพ. ไทยรัฐ ได้รับโล่และเงินรางวัลๆ ละ ๒๐,๐๐๐ บาท

และผลงานภาพข่าวที่ได้รับรางวัลชมเชย มี ๒ รางวัล ได้แก่ ภาพ "จู่โจมจับ" โดยนายธวัช หลำเบ็ญส๊ะ จาก นสพ. เดลินิวส์  และภาพ "แบ่งช่องจราจร" โดยนายประกฤษณ์ จันทะวงษ์ จาก นสพ.โพสต์ทูเดย์ ได้รับโล่และเงินรางวัลๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท  โดยนายวันชัย วงศ์มีชัย นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  และนายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ประธานมูลนิธิอิศรา อมัน-ตกุล เป็นผู้มอบรางวัล

รางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ของชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สนับสนุนเงินรางวัลโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน  ๙  ข่าว จากหนังสือพิมพ์  ๔  ฉบับ ได้แก่  ๑. ข่าวตีแผ่บ่อขยะแม่ริมกระตุ้นทุกฝ่ายตื่นตัวแก้ปัญหาได้สำเร็จ โดยกองบรรณาธิการ นสพ. ไทยรัฐ ๒. ข่าวจัดระเบียบกอบกู้ฟื้นฟู คลองแม่ข่า กลับมาสดใส โดยกองบรรณาธิการ นสพ. ไทยรัฐ ๓. ข่าวน้ำเค็มทะลักแม่น้ำท่าจีน สื่อกระตุ้นหน่วยงานรัฐระดมแก้พ้นวิกฤติ! โดยกองบรรณาธิการ นสพ.ไทยรัฐ  ๔. ข่าวเปิดโปงขบวนการปล้นแผ่นดินอุทยานฯ สิรินาถ จ.ภูเก็ต โดยกองบรรณาธิการ  นสพ. ไทยรัฐ  ๕. ข่าวคุ้ยปม รีสอร์ทรุกภูทับเบิกจุดเริ่มต้นโมเดลบูรณาการแก้ป้ญหาแหล่งท่องเที่ยว โดยกองบรรณาธิการ นสพ. โพสต์ทูเดย์  . ข่าวพลังบริสุทธิ์ชาวบ้านป่าเหียงต้านโรงไฟฟ้าขยะปักธง หมู่บ้านปลอดพิษ โดยกองบรรณาธิการ นสพ.ลานนาโพสต์  ๗. ข่าวบทสุดท้าย การต่อสู้ของชาวบ้านแม่เมาะคำพิพากษายังไม่ใช่คำตอบ โดยกองบรรณาธิการ  นสพ.ลานนาโพสต์  . ข่าวปมผวาภัยถ่านหินวิวาทะโรงไฟฟ้ากระบี่ โดยกองบรรณาธิการ นสพ.คมชัดลึก และ . ข่าวฝายชะลอน้ำภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุปชีวิตลุ่มน้ำทะเลน้อย โดยกองบรรณาธิการ นสพ.คมชัดลึก

ผลการตัดสินข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๘ ผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลดีเด่น ได้แก่ ข่าว “คุ้ยปม รีสอร์ทรุกภูทับเบิกจุดเริ่มต้นโมเดลบูรณาการแก้ป้ญหาแหล่งท่องเที่ยว” โดยกองบรรณาธิการ นสพ.โพสต์ทูเดย์   ได้รับโล่และเงินรางวัล  ๓๐,๐๐๐ บาท  ส่วนรางวัลชมเชย  ๒  รางวัล ได้แก่ ผลงานข่าว  “ตีแผ่บ่อขยะแม่ริมกระตุ้นทุกฝ่ายตื่นตัวแก้ปัญหาได้สำเร็จ” โดยกองบรรณาธิการ นสพ. ไทยรัฐ  และผลงานข่าว “พลังบริสุทธิ์ชาวบ้านป่าเหียงต้านโรงไฟฟ้าขยะปักธง หมู่บ้านปลอดพิษ” โดยกองบรรณาธิการ นสพ.ลานนาโพสต์   ได้รับโล่และเงินรางวัลๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท โดยนายพิเชษฐ์ ชูรักษ์ ประธานชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม และนายสากล ฐินะกุล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นผู้มอบรางวัล

รางวัลข่าว ITPC Award ครั้งที่ ๑๐  ประจำปี ๒๕๕๘ ของชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย   มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน  ๑๐  ข่าว จากสำนักข่าว ๖ สังกัด ได้แก่  ๑. ข่าว “Single Gateway”  โดยกองบรรณาธิการ นสพ.เดอะเนชั่น  ๒. ข่าว “Digital (Economy) Bill” หรือ ร่าง พรบ.เศรษฐกิจดิจิทัล โดยกองบรรณาธิการ นสพ.เดอะเนชั่น  ๓. ข่าว “Tech Startup”  โดยกองบรรณาธิการ นสพ. เดอะเนชั่น ๔. ข่าว  “บทบาทของเทคโนโลยีต่อสังคม”  โดยกองบรรณาธิการ นสพ.เดอะเนชั่น  ๕. ข่าว “ระบบสื่อสารของไทยที่มีวิวัฒนาการจากระบบสัญญาสัมปทานมาสู่ระบบใบอนุญาต”  โดยกองบรรณาธิการ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ๖. ข่าว  “Adaptation In the Digital Economy การปรับตัวขององค์กร แนวคิดและแนวบริหาร ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล” โดยกองบรรณาธิการ นิตยสาร CIO World&Business  ๗. ข่าว “การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ หรือ โซเชียลมีเดีย”  โดยกองบรรณาธิการ นสพ.เดลินิวส์    ๘. ข่าว “ระบบการสื่อสาร และการใช้งานอินเทอร์เน็ต ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอเปอร์เรเตอร์)” โดยกองบรรณาธิการ นสพ. แนวหน้า  ๙. ข่าว “อวสานพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ปิดฉาก ๑๗ ปี ศูนย์การค้าไอที”  โดยกองบรรณาธิการ นสพ. ผู้จัดการรายวัน ๓๖๐° ๑๐. ข่าว “Digital Economy กับการพาประเทศไทยสู่ Digital Thailand”  โดยกองบรรณาธิการ นสพ. ผู้จัดการรายวัน ๓๖๐°

ผลการตัดสินข่าว ITPC Award ครั้งที่ ๑๐ ประจำปี  ๒๕๕๘  ผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลชมเชย ๒ รางวัล ได้แก่   ผลงานข่าว Single Gateway” โดยกองบรรณาธิการ นสพ.เดอะเนชั่น และผลงานข่าว  Digital Economy กับการพาประเทศไทยสู่ Digital Thailand” โดยกองบรรณาธิการ นสพ. ผู้จัดการรายวัน ๓๖๐°  ได้รับโล่และเงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท  โดยอาจารย์บรรยงค์  สุวรรณผ่อง ที่ปรึกษาชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นผู้มอบรางวัล

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ประกาศเกียรติคุณข่าวดีเด่น รางวัลอิศรา อมันตกุลประจาปี ๒๕๕๘

การบินพาณิชย์ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ไทยต้องปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ซึ่งกากับดูแลโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ เนื่องจากส่งผลกระทบสูงต่อชีวิตและทรัพย์สิน

จากการเปิดประเด็นข่าวโดยกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ที่พบข้อบกพร่องจากมาตรฐานการบินของไทย นับตั้งแต่อิทธิพลของนักการเมืองที่เข้ามาแทรกแซงการออกใบอนุญาตกว่า ๒๐ สายการบิน โดยไม่คานึงถึงคุณภาพ จนส่งผลต่อขีดความสามารถในการกากับดูแลของหน่วยงานรัฐ ซึ่งในที่สุด ก็ถูกองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศสั่งให้แก้ไขกว่า ๓๐๐  รายการ หากทาไม่ได้ภายในเวลาที่กาหนด อาจถูกสั่งระงับการบิน ก็จะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจสูง เพราะรายได้ศักยภาพของไทยคือการท่องเที่ยว

การรายงานข่าวนี้ มีอุปสรรคจากความซับซ้อน จากแหล่งข่าวในธุรกิจการบินที่เกรงกลัวคนของรัฐ และจากหน่วยงานของรัฐที่ป้องกันความผิดตนเอง แล้วยังถูกตาหนิว่าไม่รักชาติอีกด้วย

แม้จะไม่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม แต่คณะกรรมการเห็นว่าเป็นข่าวที่ส่งผลกระทบสูงต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงมีมติให้ข่าว ‘เปิดแผลน่านฟ้าไทยอลวน พิษสงมาตรฐานการบินบกพร่อง’ โดยกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ เป็นข่าวดีเด่น รางวัลอิศรา อมันตกุล ประจาปีสองพันห้าร้อยห้าสิบแปด

 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ประกาศเกียรติคุณภาพข่าวยอดเยี่ยม รางวัลอิศรา อมันตกุลประจาปี ๒๕๕๘

เช้าตรู่ของวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เกิดอุบัติเหตุรถเก๋งพุ่งชนรถจักรยานยนต์ฝ่าสัญญาณไฟแดง บริเวณแยกกิโลเมตรที่ ๑ ตาบลสัตหีบ อาเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ส่งผลให้นางเกตกัญญา เลื่อมวิลัย อายุ ๕๐ ปี ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เสียชีวิต ส่วนเด็กน้อยที่โดยสารมาด้วยได้รับบาดเจ็บ


ขณะเกิดเหตุ พันจ่าโท พัชรพล พิมพ์ศร อายุ ๓๘ ปี สังกัดกรมสรรพาวุธทหารเรือ ที่เห็นเหตุการณ์ได้เข้ามาโอบกอดปลอบขวัญหนูน้อยที่นอนบาดเจ็บกลางถนนและกาลังขวัญเสีย อันเป็นจังหวะที่ช่างภาพหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ซึ่งก็อยู่ในเหตุการณ์ ได้จับภาพเหตุการณ์นี้ไว้ได้ในฉับพลัน


ภาพดังกล่าว สะท้อนการสื่อสารความอบอุ่นระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กน้อยผ่านเลนส์อันเป็นภาพข่าวเชิงวารสารศาสตร์ที่เปรียบเสมือนหนึ่งภาพแทนพันคา


คณะกรรมการตัดสินจึงมีมติให้ภาพข่าว ชื่อ ‘ปลอบขวัญ’ ถ่ายโดย ณัฐภูมินทร์ ปานรักษ์ ช่างภาพหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เป็นภาพข่าวยอดเยี่ยม รางวัลอิศรา อมันตกุล ประจาปีสองพันห้าร้อยห้าสิบแปด