สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุ คำกล่าวของว่าที่ประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์เกี่ยวกับการฆาตกรรมนักข่าวในฟิลิปปินส์เป็นสิ่งที่รับรองการปล่อยให้คนผิดลอยนวลและกำลังส่งสัญญาณที่ผิดไปสู่ภูมิภาค
สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีป้า) ซึ่งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเป็นสมาชิก มีความไม่สบายใจอย่างยิ่งกับคำพูดของนายโรดริโก ดูแตร์เต ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ที่กล่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่านักข่าวที่ถูกฆ่าในฟิลิปปินส์นั้นส่วนใหญ่เป็นเพราะพวกเขาทุจริต
ในงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีผู้สื่อข่าวถามนายดูแตร์เตว่า "นโยบายของคุณเกี่ยวกับการที่นักข่าวถูกฆ่าเป็นอย่างไร ในเมื่อรัฐบาลนายอากิโนไม่สามารถจัดการปัญหานี้ได้" นายดูแตร์เตกล่าวถึงมุมมองของเขาว่า สาเหตุที่นักข่าวถูกฆ่านั้นก็เป็นเพราะพวกเขาข่มขู่รีดไถ รับสินบน ทำงานแบบเลือกข้างหรือโจมตีเหยื่อโดยไม่จำเป็น
นายเอโก มาร์ยาดี ประธานซีป้า กล่าวว่า "เรามองว่าคำพูดของนายดูแตร์เตนั้นขาดความรับผิดชอบและอันตรายเพราะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดเกี่ยวกับการทำงานของสื่อมวลชน ดูเหมือนกว่าไม่เข้าใจหลักการแห่งเสรีภาพของสื่อมวลชน
เอ๊ด เลกาสปี ผู้อำนวยการบริหารของซีป้ากล่าวว่า "คำอธิบาย (ของนายดูแตร์เต) เช่นนั้นคือการออกมาให้เหตุผลปกป้องสภาพความเป็นจริงอันเลวร้ายที่เกาะกินสื่อมวลชนของประเทศ (ฟิลิปปินส์) อยู่" ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ถือเป็นประเทศที่มียอดตัวเลขนักข่าวถูกฆาตกรรมด้วยเหตุเกี่ยวเนื่องกับการทำงานมากเป็นลำดับที่สามของโลกนับตั้งแต่ปี 1992 (พ.ศ. 2535) นายเลกาสปีกล่าวต่อไปว่า "จริงอยู่ที่มีสื่อมวลชนที่ทุจริต แต่นายดูแตร์เตสรุปแบบเหมารวมเกินไปว่าทำไมนักข่าวในฟิลิปปินส์จึงถูกฆ่าตาย ความจริงแล้วนักข่าวจำนวนมากถูกสังหารหรือถูกโจมตีเพราะการทำงานหรือการเปิดโปงคอรัปชั่นหรืออาชญากรรม พวกเขากลายเป็นเป้าเพราะทำงานตรวจสอบรัฐบาลและเฝ้าระวังให้สังคม"
ตามข้อมูลของซีป้า ในหมู่นักข่าวที่ถูกสังหารในฟิลิปปินส์มีจำนวนมากที่เปิดโปงคอรัปชั่นและการใช้อำนาจโดยมิชอบ เช่น มาร์ลีน เอสเปอรัต เอ๊ดการ์ ดามาเลริโอและเจอรี ออร์เตกา นักข่าวจำนวน 32 คนถูกฆ่าในเหตุสังหารหมู่อัมปาตวน ซึ่งเป็นการโจมตีนักข่าวที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โดยที่พวกเขาต้องตายในเหตุรุนแรงเกี่ยวกับการเลือกตั้งในปี 2009 (พ.ศ. 2552)
นายเลกาสปีกล่าวว่า สิ่งที่อันตรายเกี่ยวกับคำตอบของดูแตร์เตก็คือเขาไม่ได้ตอบคำถามเลยว่านโยบายของเขาเกี่ยวกับการที่นักข่าวถูกฆ่านั้นเป็นอย่างไร ดูแตร์เตเพียงแต่ให้เหตุผลว่าทำไมนักข่าวจึงถูกฆ่าด้วยมุมมองว่านักข่าวใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ นั่นคือบอกว่ามันสมเหตุสมผลที่จะตั้งเป้าโจมตีนักข่าว
นายมาร์ยาดีกล่าวว่า "เราเกรงว่าข้อความของผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีนี้จะถูกตีความว่าการฆ่านักข่าวในสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นส่ิงที่ยอมรับได้และจะไม่มีการดำเนินการตามหลักกฎหมายหากนักข่าวใช้ตำแหน่งหน้าที่ไปในทางที่ผิด นี่คือสิ่งที่เขาสื่อสารไปยังสื่อมวลชนของฟิลิปปินส์" นายดูแตร์เตไม่ได้ตอบคำถามที่ตามมาว่านี่เป็นเหตุผลที่เพียงพอหรือไม่ที่จะฆ่านักข่าว เขาไม่ได้พูดว่าการฆ่านักข่าวเป็นสิ่งที่ผิดและจะต้องหยุดการสังหารนักข่าว ในทางตรงกันข้าม เขากลับกล่าวว่าเสรีภาพทางการแสดงออกและรัฐธรรมนูญไม่สามารถปกป้องนักข่าวได้
นายมาร์ยาดีกล่าวว่า "เราอยากจะเตือนว่าที่ประธานาธิบดี (ของฟิลิปปินส์) ว่าเขามีหน้าที่ที่จะต้องดำรงสิทธิเหล่านี้ด้วยการปกป้องนักข่าว"
นายเลกาสปีกล่าวเสริมว่า "นอกจากนี้ คำกล่าวของนายดูแตร์เตยังส่งสัญญาณที่ผิดไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอีกด้วย ในขณะที่บ่อยครั้งมีการหยิบยกการกระทำของสื่อมวลชนที่ขัดหลักจรรยาบรรณขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการควบคุมและเซ็นเซอร์สื่อมวลชน การยกข้ออ้างสำหรับการฆาตกรรมนักข่าวที่ประพฤติมิชอบอาจถูกใช้เป็นตัวอย่างว่าอาจเกิดอะไรขึ้นในกรณีที่สื่อมวลชนไร้การควบคุม"
ในฐานะที่เป็นองค์กรที่รณรงค์ต่อต้านการปล่อยให้คนผิดลอยนวล ซีป้าขอตั้งคำถามเดียวกันไปยังว่าที่ประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต ว่า "นโยบายของท่านเกี่ยวกับการฆาตกรรมนักข่าวเป็นอย่างไร" หากไม่มีคำตอบ สิ่งที่นายดูแตร์เตได้กล่าวมานั้นก็เท่ากับเป็นการรับรองการปล่อยให้คนผิดลอยนวล
https://www.seapa.org/pronouncements-endorse-impunity/
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
[Philippines] President-elect’s pronouncements endorse impunity
BY SEAPA CATEGORY: CAMPAIGNS JUNE 2, 2016
Duterte’s statements on media killings sends the wrong signal to the region
The Southeast Asian Press Alliance said it was “deeply disturbed by Philippine President-elect Rodrigo Duterte’s pronouncements” during a press conference last Tuesday when he said that most journalists are being killed in the country because they are corrupt.
In a 31 May press conference, a reporter asked Duterte, “What is your policy about the journalist killings which the Aquino government failed to act [upon]?”
The president-elect replied to the question explaining his views on why journalists are being killed. He explained that the reason most journalists were killed because they extorted, accepted bribes, took sides or attacked their victims needlessly.
“We find Duterte’s statements irresponsible and dangerous as these send the wrong signal about the work of journalists,” said Eko Maryadi, chairperson of SEAPA. He added that Duterte “does not seem to understand the principle of press freedom.”
“With his explanation, the incoming President has perversely rationalised the grim reality plaguing the media in the country,” said Ed Legaspi, SEAPA executive director, who noted that the Philippines is third in the world in the death toll of journalists killed in the line of work since 1992.
Legaspi added that “While it is true that corruption exists within the media community, Duterte made a sweeping conclusion about why journalists are being killed in the Philippines. But the fact is that many journalists are killed or attacked for their work or because of their exposés on corruption and criminality. They are targeted for doing their jobs as watchdogs on government and society.”
The roster of journalists killed in the Philippines include numerous names of journalists who exposed corruption and abuse of power, including Marlene Esperat, Edgar Damalerio, and Gerry Ortega, among many others. The 32 journalists killed in the Ampatuan massacre, history’s worst-ever attack on journalists, were killed in election-related violence in 2009.
Maryadi said that Duterte’s sweeping pronouncements “displayed his arrogance toward the media. He sullied without exception the names and memories of the all the 152 journalists killed in the line of duty.”
The danger of Duterte’s response to the valid question of how to address journalist killings was that he did not answer the question at all, Legaspi noted. “Duterte stopped at his rationalization for the murders as a response to perceived abuses by journalists: he said they have done something so they were targeted.”
“We fear that the President-elect’s message can be interpreted that killing journalists under these circumstances are justifiable in the eyes of those offended; and that the rule of law need not be followed if journalists have abused their positions. This is the message he is communicating to the Philippine media,” said Maryadi.
It is telling that Duterte also did not answer the follow-up question, ‘is that enough reason to kill [a journalist]?” Duterte stopped short of saying killing journalists is wrong and must be stopped.
The president-elect even went on to say that freedom of expression and the Constitution cannot protect journalists.
“We would like to remind the incoming President that it is his duty to uphold these rights by protecting journalists,” said Maryadi.
“With his pronouncements, President-elect Duterte is also sending the wrong signal to the rest of the region that has often raised the issue of an unethical media as a justification for control and censorship. The Philippines appalling record of murders of journalists and Duterte’s justification of killing abusive journalists might be cited as an examples of what could happen with an uncontrolled media,” said Legaspi.
As an organization that has campaigned to end impunity for the killings of journalists, SEAPA again poses the same question to President-elect Rodrigo Duterte: “What is your policy about journalist killings?”
“Without an answer, Duterte’s statements could be seen as endorsing impunity,” SEAPA said.