ข่าว Thailand Sustainable Water management forum 2016

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพ เอสซีจี มูลนิธิอุทกพัฒน์ และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดงาน “Thailand Sustainable Water Management Forum 2016” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ความจำเป็นของการบริหารจัดการน้ำ สู่หนทางป้องกันน้ำท่วม น้ำแล้งอย่างยั่งยืน โดยมีนายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่เอซีจี กล่าวเปิดงานว่า ประเทศไทยที่ผ่านมาประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2011 ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งประชาขนและเศรษฐกิจของประเทศ และอีกสามปีต่อมาเราก็ประสบปัญหากับภัยแล้ง ดังนั้นไทยจะต้องมีการวางแผนเรื่องการบริหารจัดการน้ำในทุกระดับ ต้องวางแผนในระดับผังเมืองด้วยเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ของประเทศไทย อาจใช้การแบ่งเป็นโซนนิ่งเพื่อให้เกิดการจัดการที่ยั่งยืน การประชุมวันนี้จึงเรียนรู้ประสบการณ์ของประเทศที่น่าสนใจ ซึ่งมีการบริหารจัดการน้ำได้ดี ซึ่งเราจะต้องเลือกมุมและวิธีการจัดการปัญหาจากตัวอย่างในทั้ง 3 ประเทศ โดยหวังว่าในวันนี้จะสามารถหารือในหลายเรื่องที่สำคัญเพื่อพัฒนาและปรับปรุงนำมาใช้กับการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยได้จริง ทั้งนี้จากการเดินทางไปดูการบริหารจัดการน้ำทั้งสามประเทศ เช่น อิสราเอล พบว่า เขามีการบริหารจัดการที่ดีทั้งที่ความต้องการน้ำมีมากเป็นสองเท่าของน้ำที่มีอยู่ อีกทั้ง สามารถนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ได้เกือบทั้งหมด ที่สำคัญคือ ตนประทับใจในจิตสำนึกของประชาชนที่สำนึกและตระหนักว่าน้ำมีความสำคัญขนาดไหน

 


ทั้งนี้ ภายในงานยังมีการเสนอตัวอย่างบทเรียนการจัดการน้ำในประเทศต่างๆ โดย Dr.Weinberger Gavrial Director of the Hydrological Service, The Governmental Authority for Water and Sewage) ตัวแทนจากประเทศอิสราเอลระบุว่า นโยบายการจัดการเป็นการมองน้ำทุกส่วนเป็นทรัพยากรสาธารณะ และหมายรวมถึงน้ำทุกรูปแบบ ทั้งน้ำฝน น้ำบาดาลและน้ำในท่อระบายน้ำ ดังนั้นต้องได้รับการบริหารจัดการตามกฎหมายของประเทศ โดยรัฐมีนโยบายทางด้านนี้มากว่า 50 ปีแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาเป็นการบริหารน้ำเพื่อความอยู่รอดของประเทศ เพื่อให้คนในประเทศมีน้ำใช้อุปโภคและบริโภคได้อย่างเพียงพอ จากเดิมที่ใช้น้ำได้อย่างจำกัดก็สามารถใช้น้ำได้อย่างเต็มที่ หากดูจากปริมาณฝนนั้นในอิสราเอลฝนตกน้อยกว่า 33 มิลลิเมตรต่อปี อีกทั้งยังมีอัตราการระเหยที่สูงมาก ทำให้ปริมาณน้ำจากธรรมชาติแทบจะไม่มีเลย ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องหาน้ำจากที่อื่น


Dr.Weinberger Gavrial กล่าวอีกว่า จะต้องมองการบริหารน้ำทั้งระบบ ต้องเข้าใจระบบทั้งหมดอย่างชัดเจน เช่น น้ำบาดาล หากเรานำมาใช้อย่างพอดีก็จะเกิดประโยชน์ แต่หากนำมาใช้อย่างเดียวโดยไม่คำนึงและบริหารจัดการให้ดีอาจเกิดโทษได้ เป็นต้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีความต้องการน้ำในอิสราเอลสูงถึงปีละกว่า 2,000 ล้านลบ.ม. แต่ที่ผ่านมาพบว่าปริมาณน้ำธรรมชาติและปริมาณน้ำที่นำกลับมาใช้มีเพียงปีละประมาณ 1,000 ล้านลบ.ม.ต่อปี เท่านั้น ซึ่งเมื่อปี 2547 อิสราเอลเกือบจะต้องซื้อน้ำจากประเทศตุรกีแล้ว เพราะเกิดภัยแล้งอย่างรุนแรง ดังนั้นในปี 2550 จึงได้ตั้งคณะกรรมการจัดการน้ำขึ้นมา เพื่อดูแลการใช้น้ำทั้งระบบทั้งหมดและมองถึงการผลิตน้ำขึ้นมาใช้เองจากน้ำทะเล โดยในปี 2554 อิสราเอลได้สร้างโรงผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลขึ้นเป็นแห่งแรก จนปัจจุบันมีจำนวนถึง 39 โรงงาน และในปี 2556 ที่ผ่านมาอัตราการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลทั้งหมดอยู่ที่ 580 ล้านลบ.ม. และวางแผนว่าอนาคตจะสามารถผลิตได้มากกว่านี้อีกเพื่อรองรับการใช้น้ำในอนาคต ซึ่งการผลิตน้ำใช้เองนี้เราสามารถส่งน้ำไปให้ทั่วประเทศใช้ได้ ซึ่งปัจจุบันทั่วประเทศนั้น ภาคประชาชนต้องการน้ำอยู่ที่ร้อยละ 34 ส่วนภาคอุตสาหกรรมต้องการร้อยละ 53 ที่เหลือเป็นภาคอื่นๆ   Dr.Weinberger Gavrial กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีการบำบัดน้ำเสียเพื่อนำน้ำทั้งหมดกลับมาใช้อีกครั้ง โดยอิสราเอลสามารถบำบัดน้ำได้ถึงร้อยละ 86 ของน้ำที่ใช้ทั้งหมด ถือเป็นอันดับหนึ่งในโลก แต่ทั้งนี้เราก็ต้เองวางแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต กรณีการเกิดภัยพิบัติ หรือเหตุการณ์อื่นๆ  ดังนั้นเราจึงจัดทำหน่วยงานที่มีหน้าที่พยากรณ์ คาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตขึ้นมาเพื่อให้เตรียมตัวรับมือได้ล่วงหน้าได้

ด้าน Mr.Ridzuan Bin Ismail, Director of Catchment & Waterways,PUB,Singapore’s national water agency ประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า เราบริหารจัดการน้กภายใต้หลักการ 3 ข้อ คือ เก็บน้ำให้ได้ทุกหยด น้ำที่ใช้แล้วก็ต้องเก็บและต้องรีไซเคิลน้ำให้มากกว่า 1 ครั้ง ซึ่ง การบริหารจัดการน้ำต้องพิจารณาทุกปัจจัยตั้งแต่ เรามีน้ำมากแค่ไหน การนำเข้าน้ำจากประเทศอื่น และน้ำที่บำบัด ซึ่งทุกส่วนรวมไปถึงประชาชนต้องร่วมกันบรืหารจัดการน้ำด้วย โดยสิงคโปร์เป็นเกาะ มีฝนตกประมาณปีละ 2,330 มิลลิเมตรต่อปี ถือว่าไม่น้อย มีประชากรประมาณ 5.5 ล้านคน ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องน้ำท่วม โดยมีการวางแผนแก้ปัญหาโดย มีโครงสร้างที่นะบายน้ำก่อนที่จะมีการพัฒนาระบบอสังหาริมทรัพย์ มีการกำหนดเกณฑ์ตามกฎหมายที่ชัดเจนเพื่อป้องกันน้ำท่วม และต้องมีการบำรุงรักษาระบบระบายน้ำเพื่อรองรับน้ำอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีระบบเก็บน้ำเพื่อเป็นการกัเก็บน้ำและป้องกันน้ำท่วมด้วย ทัง้นี้ เรื่องสำคัญคือการมองการดำเนินการอย่างบูรณาการ กับทุกๆฝ่าย เพื่อรองรีบการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ รวมไปถึงยะต้องมีระบบที่ยืดหยุ่นสามารถปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ในอนาคต และทำให้เกิดความตระหนักในความสำคัญของน้ำ นำน้ำมารีไซเคิลให้ได้ทั้งหมด โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบน้ำ มาร่วมติดตามการใช้น้ำและเพื่อให้ลดการสูญเสียน้ำจากระบบ โดนอยาคตมีแผนจะเพิ่มการรีไซเคิลน้ำจากน้ำที่ใช้แล้วจากปัจจุบัน ร้อยละ 30 ให้เป็นร้อยละ 55 ในปี 2060

ด้าน Mr.Tjittle A. Nauta,Strategic Advisor Intergrated Water Management, Deltares ประเทศเนเธอร์แลนด์ กล่าว่า รัฐบาลตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อดูแลการบริหารจัดการน้ำหลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศทั้งจากทะเลและจากแม่น้ำ โดยจะใช้โปรแกรม จำลองสถานการณ์โดยนำปัจจัยต่างๆมาเป็นตัวร่วม ในการกำหนดสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ความรุนแรง ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ในระดับที่ละเอียด เพื่อการรับมือที่ดีมีประสิทธิภาพ การวางแผนรับมือน้ำท่วมจะต้องมีทางที่ 1,2,3 หรือมากกว่านั้น โดยแสดงข้อมูลที่แท้จริงว่าจะเกิดความเสียหายด้านใด อย่างไรบ้าง หรือจะเกิดผลกระทบกับใครอย่างไรบ้างในแต่ละแนวทาง เพื่อให้ผู้มีอำนาจพิจารณาทางเลือกได้ว่าทางเลือกใดจะดีที่สุด อีกทั้งเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ซึ่งจะเกิดผลกระทบในการตัดสินใจทำแผนบริหารจัดการเข้ามาร่วมพูดคุย ให้ข้อมูลทั้งหมด นอกจากนี้จะต้องว่งแผนผังเมืองเพื่อใช้การได้อย่างเป็นระบบ คุ้มค่า เช่น เป็นลานจอดรถใต้ดินในเวลาปกติ แต่เมื่อมีน้ำหลากหรือฝนตกก็ใช้เป็นที่กักเก็บน้ำแทน เพื่อป้องกันน้ำท่วมด้านบน ทั้งนี้ ยังมีข้อเสนอมาถึงประเทศไทยว่า ควรจะต้องเปลี่ยนจากการตั้งรับเป็นเชิงรุก โดยต้องวางแผนระยะยาวเป็น 100 ปี ไม่ใช่เพียง 5-50 ปี อีกทั้งต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วม ร่วมกันบูรณาการเพื่ออนาคต วางแผนอย่างยืดหยุ่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

 

 

 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

 

เอสซีจี ร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดงาน “Thailand Sustainable Water Management Forum 2016”

ดึงองค์กรต้นแบบการบริหารจัดการน้ำ ระดับโลก จากอิสราเอล สิงคโปร์ และเนเธอร์แลนด์ ร่วมหาทางออกแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งของไทย โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ, ดร. รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และคุณประสาท พาศิริ รองเลขาธิการ คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)

และกล่าวปิดงาน โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2559  ตั้งแต่ 10.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องวิภาวดี บอลรูม บี ชั้น G โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

โทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ เอสซีจี  02-586-4444