หนังสือ”โรดแมปปฏิรูปตำรวจ”

หนังสือ”โรดแมปปฏิรูปตำรวจ”


โดยนายปรัชญาชัย ดัชถุยาวัตร หัวหน้าข่าวการเมืองหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เป็นบรรณาธิการ

ได้ประมวลความคิดเห็นและเรื่องการปฏิรูปตำรวจอย่างเป็นระบบ ตีแผ่วงการสีกากีอย่างตรงไปตรงมา

พร้อมมีข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมรวมบทความของพ.ต.ท.วิรุตม์  ศิริสวัสดิบุตร    อดีต ผกก.สภ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี

38 บท นำเสนอให้อ่านอย่างจุใจ พร้อมสัมภาษณ์นักวิชาการ4ท่าน คือ

รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ รังสรรค์  ศ.ดร.อุดม รัฐอมฤต   ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ  ศ.ดร.คณิต ณ นคร

เนื้อหาเข้มข้นหนักแน่นแต่อ่านง่ายจัดรูปเล่มสวยงาม หาซื้อได้ตามแผงหนังสือทั่วไปราคา280 บาท

หรือ สั่งซื้อตรงที่  Fanpage Facebook โรดแมปปฏิรูปตำรวจ ในราคาพิเศษ 250 บาท พร้อมค่าส่งฟรี

 

 

 

โรดแมปปฏิรูปตำรวจ

หนังสือ”โรดแมปปฏิรูปตำรวจ”โดยนายปรัชญาชัย ดัชถุยาวัตร หัวหน้าข่าวการเมืองหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เป็นบรรณาธิการ  ได้ประมวลความคิดเห็นและเรื่องการปฏิรูปตำรวจอย่างเป็นระบบ ตีแผ่วงการสีกากีอย่างตรงไปตรงมาพร้อมมีข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

โดยรวมบทความของพ.ต.ท.วิรุตม์  ศิริสวัสดิบุตร    อดีต ผกก.สภ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี   38 ชำแหละวงการสีกาอย่างถึงกึ๋น มานำเสนอให้อ่านอย่างจุใจ พร้อมสัมภาษณ์นักวิชาการ4ท่าน คือ  รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ รังสรรค์  ศ.ดร.อุดม รัฐอมฤต   ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ  ศ.ดร.คณิต ณ นคร   เนื้อหาเข้มข้นหนักแน่นแต่อ่านง่ายจัดรูปเล่มสวยงาม หาซื้อได้ตามแผงหนังสือทั่วไปราคา280 บาท หรือ สั่งซื้อตรงที่  Fanpage Facebook โรดแมปปฏิรูปตำรวจ ในราคาพิเศษ 250 บาท พร้อมค่าส่งฟรี

--------------------

หนังสือ”โรดแมปปฏิรูปตำรวจ”โดยนายปรัชญาชัย ดัชถุยาวัตร หัวหน้าข่าวการเมืองหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เป็นบรรณาธิการ ของหนังสือเล่มนี้ ได้ประมวลความคิดเห็นและเรื่องการปฏิรูปตำรวจอย่างเป็นระบบ ตีแผ่วงการสีกากีอย่างตรงไปตรงมาพร้อมมีข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

โดยรวมบทความของ พ.ต.ท.วิรุตม์  ศิริสวัสดิบุตร    อดีต ผกก.สภ.ลำลูกกา  จ.ปทุมธานี   ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์คอลัมน์”เสียงประชาชนปฏิรูปตำรวจ”จำนวน 38 บท มานำเสนอให้อ่านอย่างจุใจ  สำหรับพ.ต.อ.วิรุตม์ เป็นนายตำรวจที่รักความยุติธรรมอยู่ในวงการตำรวจมาตลอดชีวิตราชการ 37ปีจึงรับรู้ปัญหาแวดวงสีกากีเป็น อย่างดี เขาเคยถูกกลุ่มผู้มีอิทธิพลอบายมุขและยาเสพติดวางแผนร่วมกับนักการเมืองท้องถิ่นลอบระเบิดแสวงเครื่องวางหน้าบ้านพักราชการหน้าที่ว่าการอำเภอลำลูกกา จนบ้านพังแต่รอดชีวิตมาได้ จนได้ฉายา“ผกก.กระดูกเหล็ก”

ในปี 2556  ได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมาธิการเลขานุการอนุกรรมาธิการตำรวจ  สภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบเรื่องร้องเรียนและปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับตำรวจทั่วประเทศ  และได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูประบบตำรวจชุดที่มี พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป สปช. เป็นประธาน

โดยในบทความทั้ง38 ชิ้นเขียนจากประสบการณ์จริง นำปัญหาต่างๆในองค์กรตำรวจ มาตีแผ่อย่างตรงไปตรงมา ชำแหล่ะพฤติกรรมของตำรวจที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากมาย  ไม่ว่าจะเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทุจริต การรับ”ส่วยสินบน”จากผู้กระทำผิดกฎหมายของตำรวจผู้ใหญ่  รวมทั้งการใช้อำนาจเกินขอบเขตข่มเหงรังแกประชาชน  หรือ แม้กระทั่งการสอบสวนที่มิชอบด้วยกฎหมายทำลายพยานหลักฐานล้มคดีช่วยผู้กระทำผิดไม่ให้ต้องรับโทษทางอาญา

 

 

เขาชี้ให้เห็นว่า หัวใจการปฏิรูปตำรวจคือการปฏิรูประบบงานสอบสวน และนิติวิทยาศาสตร์ด้วยการเป็นอิสระออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ   เนื่องจากเป็นองค์กรที่มีการจัดโครงสร้างและระบบการบังคับบัญชาที่มีชั้นยศแบบทหารซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานสอบสวน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา  ก่อให้เกิดปัญหาประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมและความเดือดร้อนจากการสอบสวนที่มิชอบด้วยกฎหมายมากมาย

รายงานพิเศษของพ.ต.ต.สุริยา แป้นเกิด สาวรัตร(สอบสวน) สภ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ช่วยราชการที่ สภ.ยะหา จ.ยะลา  หนึ่งในสมาชิกสหพันธ์พนักงานสอบสวนแห่งชาติ ที่มี พ.ต.ท.จันทร์ ขัยสวัสดิ์ หนักงานสอบสวน ผู้ชำนาญการพิเศษ สน.เทียนทะเล เป็นเลขาธิการสหพันธ์ฯที่พบศพผูกคอเสียชีวิตภายในบ้านพัก เมือวันที่ 12 ก.พ.59  หลังจากเคลื่อนไหวแยกงานสอบสวนเป็นอิสระจากสตช. และไปยื่นหนังสือถึงนายกฯที่ทำเนียบรัฐบาล

พ.ต.ต.สุริยา ได้สะท้อนถึงสภาพปัญหาของระบบงานสอบสวนที่ถูกแทรกแซงจากผู้บังคับบัญชาที่ไม่เข้าใจงานสอบสวน และความอัดอั้นตันใจที่ต้องก้มหน้ารับคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่7/2559 ยุบพนักงานสอบสวนและถูกตัดเงินประจำตำแหน่ง ทำลายความเป็นวิชาชีพเฉพาะของพนักงานสอบสวน  สร้างความคับแค้นใจจนมีการฟ้องร้องผู้บังคับบัญชา และเห็นว่าประชาชนจะได้รับผลกระทบมากที่สุด

รายงานพิเศษ ของกองบรรณาธิการ “3ทศวรรษในวังวนปฏิรูปตำรวจ แค่ปรับเปลี่ยนภายใน ไม่ตอบโจทย์” นับตั้งแต่ตำรวจ ยุคที่เป็น”กรมตำรวจ” มีเสียงเรียกร้องให้ตำรวจพ้นจากกระทรวงมหาดไทย ที่เคยถูกเรียกว่ากระทรวงมาเฟีย  เพราะมท.คุมทั้ง ตำรวจ อัยการ ปกครอง จนมายุคพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นมท1.  มีการจัดตั้งสำนักงานสำรวจแห่งชาติ มีนายกฯมอบรองนายกฯเป็นประธานกตร.นั่ง หัวโต๊ะ พิจารณาแต่งตั้ง ผบ.ตร.   มาถึงยุคคสช.ใช้ม.44 เพิ่มอำนาจ ผบ.ตร.มีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจชั้นประทวนยันรอง.ผบ.ก. ถือเป็นโยกกย้ายที่มั่วที่สุด “ผี”หรือนายตำรวจที่ตายไปแล้ว2ปียังได้นั่งเป็นผกก.

และโดยเฉพาะ เส้นทางการปฏิรูปตำรวจยุคสช. ที่ระบุ”บิ๊กสีกากี”พยายามถ่วงรั้งการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่มีสปช.และ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานฯ มีการแต่งตั้ง กมธ.ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และ มีพล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป เป็นประธานอนุกมธ.ปฏิรูประบบตำรวจ มีข้อเสนอ 16 ข้อ และมีการบัญญัติในร่างแรกฯมาตรา 282 (8)ให้โอนภารกิจของสตช.ที่ไม่ใช่ภารกิจของตำรวจไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ”ปรับปรุงงานสอบสวนให้มีความเป็นอิสระแยกออกจากสตช.” ต่อมามีการอ้างว่า”พิมพ์ผิด”กระทั่ง สุดท้ายร่างรธน.ก็ถูกคว่ำ

ต่อมามีการตั้ง สปท. มีชัย ฤพันธ์ เป็นประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่สหันพันธ์พนักงานสอบสวนแห่งชาติ ยื่นหนังสือกับกรธ.และนายกฯ ให้แยกงานสอบสวน  แต่นายกฯกลับออกคำสั่ง หัวหน้าคสช. ที่ 7/2559 เมื่อ 5 ก.พ.29 ยุบพนักงานสอบสวนทุกระดับ พร้อมตัดเงินประจำตำแหน่ง  พ.ต.ท.จันทร์ ชัยสวัสดิ์ เลขาธิการสหพันธ์ ไปร้องทุกข์กับนายกฯ ต่อมาพบศพผูกคอตายที่บ้านพัก จากนั้น กรธ.บัญัติในมาตรา 258 ง.ด้านกระบวนการยุติธรรม ให้ถ่วงดุลพงส.กับอัยการ  และดำเนินการภายใน 1 ปี

สำหรับบทสัมภาษณ์พิเศษ นักวิชาการ4 ท่าน คือ  รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ รังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต สมาชิกสปท.และ  เป็นหนึ่งในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.)ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.เป็นประธานฯ เคยมีผลงานศึกษาและวิจัยเรื่อง “หวย ซ่อง บ่อน ยาบ้า : เศรษฐกิจนอกกฎหมายกับนโยบายสาธารณะในประเทศไทย”อันโด่งดังเมื่อ20ปีก่อน

อ.สังศิต ได้ย้อนถึงยุค ร.5 ทรงตั้งตำรวจ จุดเริ่มต้นที่เป็น”อุดมการณ์ศักดินา” ปี 2490 ทหารเข้ามาควบคุมองค์กรตำรวจ กลายเป็นกองทัพที่ 4 “กลายเป็นอุดมการณ์ทหาร”  2504 แผนพัฒนาฉบับที่ 1 เศรษฐกิจขายตัวเป็นทุนนิยม ตำรวจจึงถูกครอบโดย”อุดมการณ์ทุนนิยม”  ระยะหลังกลายเป็น “ความสัมพันธ์อุปถัมภ์เชิงแลกเปลี่ยน” หากตำรวจต้องการเจริญเติบโตก้าวหน้าต้องมีผู้อุปถัมภ์

อสังศิต.เสนอ เปลี่ยนโรงเรียนนายร้อยเป็น police academy เป็นสถาบันฝึกอบรมตำรวจเพื่อให้เกิดความเชียวชาญ เป็นวิชาชีพมากขึ้น ต้องอายุ 22-23 และกระจายเป็นตำรวจจังหวัด เริ่มราชการที่ไหนก็อยู่ที่นั่น และเกษียรที่นั่น มีกรรมการภาคประชาชนคอยกำกับ ยอมรับว่าทุกครั้งจะปฏิรูปมีการต่อต้านจากกลุ่มที่เสียประโยชน์ทั้งตำรวจ นักการเมือง เชื่อว่าพล.อ.ประยุทธ์ อยากปฏิรูปแต่พลังไม่พอ แตะเมื่อไหร่รัฐบาลอาจพัง ยกตัวอย่างฮ่องกง ตำรวจหยุดงานทันที แต่ผู้บริหารเด็ดขาดตำรวจจึงยอม พร้อมเสนอให้สร้างเครือข่ายประชาชนทุกเสื้อสีหนุนนายกฯปฏิรูปโดยถือว่าเป็นปิยมิตร ของนายกฯประยุทธ์

2.ศ.ดร.อุดม รัฐอมฤต โฆษกและกรรมการร่างร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและการบังคับใช้กฎหมาย กล่าวถึงที่มา ม.258 เกี่ยวกับการปฏิรูปตำรวจโดยมองว่า ตำรวจไม่สามารถรักษาความยุติธรรมได้ เพราะ 1.มีภารกิจที่ครบคลุมเยอะมาก2.ปัญหาการรักษาความสงบเรียบร้อย 3. การแยกงานสอบสวน  พร้อมเสนอถ่ายโอนภารกิจที่ไม่จำเป็น  เช่น ศุลกากร  ตลาดหลักทรัพย์ สามารถสอบสวนฟ้องดดีเองได้  แต่ก็ยังพึ่งตำรวจ ระบบพนักงานสอบสวนสากล พนักงานอัยการเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน  เพื่อเป็นหลักประกันในการทำหน้าที่  ต้องสร้างสมดุลตำรวจกับอัยการ มองว่าหากตำรวจไม่สำนึกก็จะเสื่อมถอยไปเอง  และเห็นว่า หัวหน้าคสช.ใช้ ม.44 ปฏิรูปตำรวจได้ เลย  ทั้งนี้ กรธ.เห็นว่าถ้าปฏิรูปการศึกษากับตำรวจไม่สำเร็จ ร่างรธน.ก็ไม่มีความหมาย  ดังนั้น กก.ปฏิรูปต้องเข้าใจเจตนารมณ์

3.ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิตินิศาสตร์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) จบปริญญเอกกฎหมายมหาชน จากเยอรมัน อดีตคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชุด ดร.บวรศักดิ์ อุวรรโณ เป็นประธานฯ  มองว่ารัฐธรรมนูญคือยอดบนของพีรามิด ชั้น 2 คือระบบบริหารราชการแผ่นดิน  ล่างสุด คือ ระบบพรรคการเมือง เราต้องทำทุกชั้น ขณะที่เยอรมัน ฝรั่งเศส ปฏิรูปเฉพาะยอด เพราะโครงสร้างเมืองมีดุลยภาพ  แต่ของเรากระบวนการยุติธรรมไร้การถ่วงดุล ตั้งแต่ ตำรวจ อัยการ ศาล ส่วนสตช.ก็เป็นพิรามิด กระบวนการยุติธรรมเป็นวิกฤติหนึ่งของประเทศเพราะไปเชื่อมโยงการเมือง เหมือนที่ว่า “คุกมีไว้ขังคนจน”ประชาชนจึงพึ่งระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง ถือเป็นการบ่อนทำลายหลักนิติรัฐ นิติธรรม ทำลายประชาธิปไตย ตราบใดที่โครงสร้างประชากรไทยยังพึ่งพิงระบบอุปถัมภ์  ประชาธิปไตยที่แท้จริงเกิดไม่ได้ ดังนั้นต้องปลดพันธนาการระบบอุปถัมภ์

อ.บรรเจิด ตัวอย่าง เยอรมันโมเดล  ว่า เยอรมัน ฐานเดิมเข้มแข็งอยู่แล้ว มายุค ฮิตเลอร์ มีเกสตาโป PROPAGANDA นำเยอรมันเข้าสู่สงครามจนระบบพัง! เป็นบทเรียน เมื่อสร้างรัฐใหม่จึงบอกว่า “เราไม่อาจปล่อยให้ประเทศถูกปกครองด้วยเสียงข้างมากโดยลำพลัง” แล้วให้ความรู้พลเมือง สร้างองค์กรมาถ่วงดุล ศาลรัฐธรรมนูญมีคุณภาพมาก  พิทักษ์นิติรัฐ  กติกาประชาธิปไตย คุ้มครองฝ่ายข้างน้อย และสิทธิเสรีภาพประชาชน  60 ปี กลายเป็น”เยอรมันโมเดล” แต่ของไทยเป็นระบบอุปถัมภ์เอาแบบเยอรมันมาใช้จึงล้มเหลว เกิดวิกฤติคดีซุกหุ้น เป็นปัญหาเรื่องซอฟแวร์คือ  คือปัญหาระบบจริยธรรม การออกแบบจึงยากมาก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ กระบวนการยุติธรรมเข้มแข็ง เอาปธน.เข้าคุกได้ ดังนั้นเราต้องสร้างนิติรัฐนิติธรรม “ให้ทุกคนอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกันอย่างเท่าเทียม” ผู้นำต้องมี political will  หรือเจตจำนงทางการเมือง กล้าทุบโต๊ะเพื่อเปลี่ยนแปลง

4.ศ.ดร.คณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด ปรามาจารย์กฎหมายอาญา ประธานกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ( คอป.)และอดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ชี้ว่า กระบวนการยุติธรรมเราก็มีสูตรแย่ๆ สูตรที่ควรจะ ขจัด ออกไปเรียกว่า สูตร 3-3-3  3 แรก คือพฤติกรรมของคน ในกระบวนยุติธรรม 1.ทำงานตามสบาย  2.ทำงานด้วยความกลัว 3.ประจบประแจง  3 ที่สอง เรียกว่า 3 แย่ 1.ประสิทธิภาพแย่  2.คุกคามสิทธิ เยอะแยะ ที่ 3 ก็แพงสุดๆ  3 สุดท้าย คือ 1.กฎหมาย 2.นักกฎหมาย 3.การศึกษากฎหมาย บ้านเมืองที่มันไม่สงบ เป็นอยู่ปัจจุบัน เพราะนักกฎหมายไม่ได้เรื่อง

อ.คณิต มองว่า ไม่มีประเทศใดในโลกที่ตำรวจเป็นกองทัพ ซึ่งเของเรา มี 4 ทัพ  Professor ในเยอรมนีกล่าวไว้ว่า “ประเทศใดก็ตามที่สถาบันการศึกษาของตำรวจให้ปริญญานี่คือความล้าหลัง” เพราะตำรวจ ต้องการหาพนักงานสอบสวนธรรมศาสตร์ รามคำแหง ผลิตได้ แล้วไปสร้างโรงเรียนนายร้อยทำไม ความจริง ควรศึกษาวิชา police science (วิทยาการตำรวจ)  พร้อมเสนนอสว่าต้อง Totally reform   หรือปฏิรูปทั้งระบบ ประเทศที่เขาเจริญทั้งหลาย เขาไปไกล กระบวนการสอบสวนจะต้องทำร่วมกับอัยการ  แต่ของเรามันทำไม่ได้ เพราะมันจะรู้สึกว่าเป็นการแย่งอำนาจกัน ดังนั้นกระบวนสอบสวน ฟ้องร้อง ต้องมีความเป็นเอกภาพ โดยความรับผิดชอบของอัยการ”

นอกจากนี้ยังมี เอกสารประกอบ คือ

1.ข้อเสนอประเด็นการปฏิรูปฯ ตามรายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นประธานกรรมาธิการฯ  โดยมีพล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป เป็นประธานอนุกรรมาธิการปฏิรูปโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และกระบวนการทำงานตำรวจเพื่อประโยชน์ของประชาชน นำเสนอต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อวันที่19 เมษายน 2559

ข้อเสนอ16 ข้อ อาทิ  ให้มีการกระจายอำนาจการบริการราชการไปสู่ระดับจังหวัดให้มีการถ่ายโอนภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มิใช่ภารกิจหลังของตำรวจกลับไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ  กำหนดให้มีการปฏิรูปงานสอบสวน โดยแยกระบบงานสอบสวน ให้เป็นองค์กรอิสระไม่ขึ้นตรงกับสำหนักงานตำรวจแห่งชาติ    กำหนดให้จัดระบบงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจแห่งชาติแยกฐานะเป็น “กรม” ให้มีสถานะเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ ในอนาคตหากมีความพร้อม ให้พิจารณาแนวทางการแยกออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็น องค์กรอิสระต่อไป

2.แนวทางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม การบังคับใช้กฎหมายและงานตำรวจ เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง แนวทางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ของสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.)ที่มีศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร เป็นประธานฯ เสนอนายกรัฐมนตรี  ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คน ที่หนึ่ง (นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย) เมื่อวันที่30 กันยายน 2558

โดยเนื้อหาสรุป ให้ยกระดับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ให้เป็นสถาบันการศึกษาวิชาการของตำรวจอย่างแท้จริง ในเรื่องโครงสร้างองค์กร และการบริหารงาน เพื่อให้การตอบสนองต่อปัญหาของประชาชนในพื้นที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น ควรปรับองค์กรตำรวจให้มีการกระจายอำนาจ โดยการจัดองค์กรเป็น ๒ ระดับ คือ ตำรวจส่วนกลาง และตำรวจระดับจังหวัด การโอนภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจหลักให้หน่วยงานอื่น อาทิ ยกเลิกตำรวจรถไฟ และให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ตำรวจป่าไม้ (ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)ตำรวจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตำรวจน้ำ ให้กรมเจ้าท่า การโอนภารกิจตามกฎหมายภาษี การโอนภารกิจด้านการสรรพากร เป็นต้น

หนังสือเล่มนี้ ได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญ2 ท่านที่กำลังตกเป็นจำเลยคดีหมื่นสำนักงานตำรวจแห่งชาติเขียน คำนิยมให้  คือดร.อาทิตย์  อุไรรัตน์  อธิการบดีม.รังสิต เขียนคำนิยมตอนหนึ่งว่า “ หนังสือ “โรดแมปปฏิรูปตำรวจ” เล่มนี้ คือการประมวลข้อคิดเห็นเรื่องการปฏิรูปตำรวจอย่างเป็นระบบที่สุดเล่มหนึ่ง ซึ่งนำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข โดยผ่านการศึกษาวิเคราะห์มาอย่างลึกซึ้ง และด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ที่จะเห็นองค์กรตำรวจได้กลับมาเป็นสถาบันที่เป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจร่วมกัน ช่วยสร้างพลังในการขับเคลื่อนให้การปฏิรูปตำรวจที่สังคมไทยเรียกร้องมานานหลายสิบปี ได้บรรลุผลสำเร็จอย่างแท้จริง

พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป สมาชิกสปท.และอดีตหัวหน้าสำนักงานมูลนิธิรัฐบุรุษและนายทหารคนสนิท พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีและประธานองคมนตรี เขียนคำนิยมว่า” ตำรวจต้องปฏิรูป โดยเฉพาะต้องแยกงานสอบสวนออกจากตำรวจหนังสือเล่มนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจ และเหตุผลที่ต้องมีการปฏิรูปตำรวจผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป สามารถนำไปเป็นเหตุเป็นผลในการปฏิรูปประชาชนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ไปใช้ประโยชน์เพื่อรักษาสิทธิ์ของตน