ศุภชัย เชื่อสงครามการค้าโลก ยิ่งทำให้จีนผนึกกำลังความเข้มแข็งในภูมิภาค ชี้ ไทยมีทั้งโอกาสและความเสี่ยง
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจไทยในสงครามการค้าโลก” ในงานครบรอบ 64 ปีสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่โรงแรมอโนมาแกรนด์ เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ว่า จากนโยบายด้านเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่จะปกป้อง รักษาผลประโยชน์ ทำให้ศรษฐกิจอเมริกาน่าลงทุน จ้างงานเพิ่มเศรษฐกิจไม่ซบเซา และทำให้อเมริกามีบทบาทสำคัญไปทั่วโลกทุกๆด้าน ในขณะที่เศรษฐกิจจีนเองก็มีการปรับเปลี่ยนโดยต้องตอบสนองเป้าหมายทางการเมืองและผู้นำสูงสุดซึ่งรวมศูนย์อำนาจเด็ดขาด รวมทั้งให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพเทคโนโลยี
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลพื้นฐานการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งจีนส่งออกไปสหรัฐมากกว่ามากทำให้สหรัฐพยายามสร้างเงื่อนไขทางด้านภาษีเข้าไปควบคุมซึ่งนอกจากจะดึงคู่แข่งให้ช้างลงแล้ว ยังทำให้ตัวเองมีศักยภาพที่จะพัฒนาตัวเองในเวลาเดียวกัน แต่สุดท้าย ภาษีการนำเข้าก็ถือเป็นต้นทุนการดำเนินชีวิตของคนอเมริกันที่สูงขึ้นจนทำให้ไม่รู้ว่าระหว่าง สหรัฐและจีนนั้นใครจะได้รับผลกระทบมากกว่ากัน อันจะเป็นเหตุผลสำคัญอันหนึ่งทำให้เกิดแนวทางการประนีประนอมสูงขึ้น
นายศุภชัย กล่าวว่า การทำให้การส่งออกของจีนถดถอย อาจทำให้จีนเติบโต้ช้างลงแต่ด้วยฐานการบริโภคภายในประเทศที่ใหญ่ และเป็นฐานที่สร้างเศรษฐกิจแบบมั่นคงแต่ก็ยังไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ยังต้องพึ่งพาการส่งออก ดังนั้นแม้อเมริกาจะตั้งกำแพงภาษีกับจีน แต่ฐานการส่งออกของจีนก็ยังใหญ่มากอยู่ดี
นอกจากนี้ จีนตั้งเป้าในปี 2025 ได้โฟกัสไปยังเทคโนโลยีที่ 10 ด้าน ที่จะสอดประสานโดยเทคโนโลยี AI แม้เทคโนแต่ละด้านอาจจะด้อยกว่าอเมริกา หรือบางประเทศในโลกแต่ดูรวมๆ แล้ว ความเชื่อมโยงเศรษฐกิจจิีนเป็นไปอย่างก้าวกระโดด อย่างอี-คอมเมิร์ส ทำให้จีนเป็นผู้นำด้าน AI ซึ่งทุกคนกล่าวขวัญถึงว่านี่คือ จุดเปลี่ยนของมนุษยชาติ หรือจุดตัดระหว่างความสามารถของคอมพิวเตอร์และความคิดของมนุษย์ จนสั่นสะเทือนสามฐานหลักที่อเมริกาเป็นผู้นำอยู่
ทั้งนี้ เปรียบเทียบเหมือนรถแข่งฟอมูล่าวัน รถแข่งคันที่นำหน้ามาตลอด ตอนนี้มีคันที่สองเครื่องไม่แพ้ใครมาจ่อติดหลัง ขณะที่คันหน้าต้องพยายามกันไม่ให้แซง สิ่งที่พวกเราอาจได้ยินข่าวกระเซ็นกระสายเรื่องไซเบอร์วอร์ และ หัวเหว่ย หลายคนถามผมว่าจริงไหมว่าอุปกรณ์หัวเหว่ยสามารถนำข้อมูลทุกอย่างออกนอกประเทศ ซึ่งในทางเทคโนโลยีทำไม่ได้ ถ้าเราไม่เชื่อมกับมัน และเราสามารถสร้าง firewall ตามหลักทั่วไปซึ่งจะรู้ว่าข้อมูลถูกส่งออกมาจากอุปกรณ์ใด
“อันนี้เป็นสมมติฐานของผมเองถ้า ผิดก็ขออภัย คือถ้าอเมริกาปล่อยให้จีน เป็นผู้นำด้าน 5G 6Gของโลก การสื่อสารเชื่อมโยง เป็นพื้นฐานสำคัญของดิจิตตอลอีโคโนมี การขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ Data Driven Economy หรือ AI นั่นเอง งบวิจัยของหัวเหว่ยใหญ่ที่สุดในโลกในหมวดสื่อสารทั้งหมด
หากอเมริกายังนำเข้าอุปกรณ์หัวเหว่ยย่ิงทำให้เทคโนโลยีจีนก้าวกระโดด หรือยุโรป บางประเทศอย่าง ฝรั่งเศส อิตาลี มีท่าทีรักษาความมั่นงคงที่จะโพรเทคฐานการผลิตของอียู ขณะที่ เยอรมันต้องคิดหนักเพราะเป็นเทรดพาร์ทเนอร์กับจีน เร่ื่องนี้เป็นการเมืองโลก เป็น GEO politics”
นายศุภชัย กล่าวว่า การที่อเมริกากดดันจีน ทำให้จีนต้องพัฒนา R&D ฟื้นฟูระบบการศึกษาจีนนำไปสู่การต่อยอดเทคโนโลยี มีการปับตัวอย่างเรื่อง “เมกะรีเจียน” เชื่อม เมื่องใหญ่ 3-4 เมือง ด้วยรถไฟเร็วสูงเดินทางไม่เกิน 1 ชม.คล้ายกับประทศไทย ที่ เราทำ Easten Economic Corridor รวม กทม. ชลบุรี ระยอง เป็นคลัสเตอร์เพื่อมีศักยภาพเศรษฐกิจสูง ไปจนถึงเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ไทย เวียดนาม พม่า ไปถึงมาเลเซีย เพื่อผลักดัน ความเป็นจุดแข็งในภูมิภาค ปึกแผ่น จีนจึงต้องการ ความเติบโตภายใต้ สร้างสัมพันธไมตรี เติบโตไปพร้อมกัน
อย่างไรก็ตาม มันคงไม่สามารถทำนายได้ว่าสงครามการค้าจีนกับอเมริกาจะอยู่นานแค่ไหน แต่คิดว่าถ้าเราดูความสัมพันธ์เศรษฐกิจโลก จีน กับอเมริกาจริงๆแล้วก็เกือบจะเป็นพาร์ทเนอร์กันด้วยซ้ำ แตกต่างสิ้นเชิงกับการที่อเมริกา เคยดำเนินการกับรัสเซียที่มีฐานเศรษฐกิจเป็นลักษณะเชิงเดี่ยว ต่างจากจีนที่ฐานเศรษฐกิจมั่นคงทั่วถึงเกือบทุกอุตสาหกรรม จะว่าไปแล้วการจะแซงชั่นหรือใช้มาตรการกับจีน เหมือนที่เคยใช้สำเร็จกับประเทศอื่นๆ จึงไม่มีผล ลึกๆแล้วอเมริกาก็ยอมรับในจุดนี้
นายศุภชัย กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยในเศรษฐกิจโลก
ไทยยังมีทั้งควมเสี่ยงและโอาส โอกาสหลักของเราน่าจะเป็น ความเป็นฮับของอาเซียน ทราบมาว่าหลายโรงงาน
ในต่างประเทศซึ่งตั้งในจีน เตรียมพิจารณาจะย้ายมาเมืองไทย
เช่นเดียวกันหลาย โรงงาน หรือการผลิตในฐานอเมริกาซึ่งถ้าพูดถึงตลาดเอเซียก็สนใจประเทศไทย มอง ไทย และอาเซียนเป็นอัพไรซิ่งรีเจียน เป็นเครื่องยนต์การเติบโตโลก ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของประเทศไทย
“ยิ่งอเมริกากดดันจีนเท่าไหร่ ยิ่งทำให้จีน พยายามจับมือกับเพื่อนบ้านมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งทำให้จีนพยยามทำประทศตัวเองให้เข้มแข็ง ทำให้ภูมิภาคมีความมั่นคง ไม่ใช่เพียงจีนคิดอย่างนี้ ญี่ปุ่นก็รู้ว่า เศรษฐกิจจีนมีปัญหา ญี่ปุ่่นก็สะเทือนการเติบโตญี่ปุ่นต้องอาศัยจีนเยอะ แค่เรื่องทัวริสก็ใหญ่มาก การผนึกกำลังระดับภูมิภาคจึงคาดได้ว่า น่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง”
นายศุภชัย กล่าวว่า ในด้านความเสี่ยงของเราก็มี เพราะไม่ว่า จีน ญ่ีปุ่่น อเมริกา ยุโรปเขาก็ไม่ได้มองประเทศไทยประเทศเดียว แต่โอกาสจะไปเกิดกับเวียดนามก็ได้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เพาะฉะนั้น ความเสี่ยงหนึ่งในบ้านเราคือ ความมั่นคงการเมือง ซึ่งจะไม่พูดเรื่องนี้ลึก ไ่ม่พูดมาก แต่จะเน้นย้ำว่าความเป็นปึกแผ่นของไทยมีบบาทสำคัญมากเถ้าเราไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองการเมืองต่างประเทศจะเห็นโอกาสเข้าแทรกแซงได้หรือไม่ และการเมืองระดับมหาอำนาจระดับ โลกที่ขัดแย้งกันอยู่จะมองประเทศไทยเห็นโอกาสของเขาหรือไม่ ในการสร้างฐานพันธมิตรระดับการเมืองโลกในภูมิภาคนี้