เมื่อปี 2534 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกเสนอให้สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อการรณรงค์ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับเสรีภาพของสื่อมวลชน ในขณะเดียวกันจะมีการประกาศแถลงการณ์เพื่อแสดงให้เห็นถึงท่าทีและจุดยืนของสื่อมวลชนไทยด้วย จึงถือว่าเป็นวันที่ผู้ที่ทำงานด้านสื่อจะต้องทบทวนและพูดคุยกัน โดยเฉพาะเรื่องสิทธิในการแสดงออกและจริยธรรมของวิชาชีพ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยเป็นการรณรงค์เคลื่อนไหวให้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 ซึ่งต่อมาได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 เมื่อ 19 ธันวาคม 2550
ในโอกาสวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ปี 2564 เนื่องจากอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงจัดกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมออนไลน์โดยมีการออกแถลงการณ์และการประกวดภาพถ่ายหัวข้อ “เสรีภาพสื่อ เสรีภาพประชาชน” (Media Freedom is Our Freedom) และรวบรวมธีมและโลโก้ที่ใช้ในการรณรงค์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกย้อนหลัง 10 ปีมาให้เห็นความเคลื่อนไหวของประเด็น
2564 เสรีภาพสื่อเสรีภาพประชาชน MediaFreedomIsOurFreedom
2563 งดจัดกิจกรรม เนื่องจากสถานการณ์การระบาด
2562 เสรีภาพบนความรับผิดชอบ สกัดกั้นข่าวปลอม หล่อหลอมความจริง
2561 ปลดล็อกคำสั่ง คสช. ทวงคืนเสรีภาพประชาชน
2560 หยุดตีทะเบียนสื่อ หยุดครอบงำประชาชน
2559 ถูกต้อง รอบด้าน หลักประกันเสรีภาพ
2558 เสรีภาพบนความรับผิดชอบ
2557 เสรีภาพบนความรับผิดชอบ
2556 เสรีภาพที่ไม่คุกคาม Freedom without Intimidation
2555 เสรีภาพสื่อบนความท้าทายใหม่
แถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก3พฤษภาคม”เสรีภาพสื่อเสรีภาพประชาชน”
ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายรางวัล“เสรีภาพสื่อไทย ในสถานการณ์ปัจจุบัน”
#สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย #สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ #Thaijournalistsassociation