การลงทะเบียนรับปลอกแขนสื่อมวลชนชุดใหม่

ประกาศ ศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม (ศปสช.)

เรื่อง รายละเอียดการลงทะเบียนรับปลอกแขนสื่อมวลชนชุดใหม่

ตามที่ 6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย มีมติจัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม (ศปสช.)” ขึ้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 พร้อมกับจัดทำปลอกแขนสัญลักษณ์ สำหรับสื่อมวลชนที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์การชุมนุมมาแล้วนั้น 

คณะทำงานของ ศปสช.ได้เล็งเห็นว่าปลอกแขนสัญลักษณ์ดังกล่าว ผ่านการใช้งานในภาคสนามมาแล้วกว่า 2 ปี ทำให้เกิดการชำรุด ทรุดโทรม หรือสูญหายตามสภาพ จึงได้จัดทำปลอกแขนสัญลักษณ์ชุดใหม่จำนวนทั้งสิ้น 1,500 ชิ้น มีความทนทาน และคุณภาพคงทนถาวรกว่าเดิม เพื่อเตรียมแจกจ่ายให้กับผู้ปฏิบัติงานสื่อมวลชนในสถานการณ์ชุมนุม 

ทั้งนี้ ปลอกแขนสัญลักษณ์ชุดใหม่ จะมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อยกระดับความปลอดภัยสำหรับผู้สื่อข่าวในพื้นที่ ป้องกันการทำเลียนแบบหรือบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องนำไปใช้เพื่อแอบอ้าง และสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ศปสช.จึงขอแนะนำให้สำนักข่าวที่สนใจลงทะเบียนขอรับปลอกแขน ศึกษารายละเอียดดังต่อไปนี้อย่างละเอียดถี่ถ้วน:

รายละเอียดปลอกแขนสัญลักษณ์

ปลอกแขนสัญลักษณ์ชุดใหม่ มีลักษณะเป็นสีฟ้า ทาบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษสีขาวว่า “PRESS” ซึ่งเป็นเครื่องหมายสากลที่สื่อถึงผู้ปฏิบัติงานสื่อมวลชน มีแถบสะท้อนแสงสีเทาเพื่อช่วยให้สังเกตเห็นเด่นชัดในยามวิกาล มีแถบเวลโคร (เทปตีนตุ๊กแก) ในการสวมใส่ และรูสำหรับติดเข็มกลัด พร้อมด้วยตราสัญลักษณ์ 6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน นอกจากนี้ ปลอกแขนแต่ละชิ้นจะมีตัวเลข (serial number) ที่ไม่ซ้ำกันอีกด้วย 

ค่าดำเนินการสนับสนุนปลอกแขนสัญลักษณ์

เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการผลิตปลอกแขนที่ค่อนข้างสูง ศปสช.จำเป็นต้องคิดค่าลงทะเบียนสำหรับปลอกแขนที่แต่ละสำนักข่าวทำเรื่องร้องขอในอัตราดังนี้: 

ปลอกแขนไม่เกิน 5 ชิ้นแรก ไม่มีค่าใช้จ่าย

ปลอกแขนชิ้นที่ 6 เป็นต้นไป มีค่าลงทะเบียนชิ้นละ 70 บาท

กรณีที่ปลอกแขนสูญหายและร้องขอใหม่ มีค่าลงทะเบียนชิ้นละ 170 บาท

ผู้ประสานงานปลอกแขนสัญลักษณ์

ศปสช.ขอให้แต่ละสำนักข่าวที่ประสงค์ร้องขอปลอกแขนสัญลักษณ์ แต่งตั้งผู้ประสานงานขึ้นมาจำนวน 1 คน ซึ่งผู้ประสานงานนี้ จะเป็นผู้รวบรวมจำนวน รายชื่อ ตำแหน่ง ข้อมูลของผู้ปฏิบัติงานสื่อมวลชนที่ต้องใช้ปลอกแขนสัญลักษณ์ และลงทะเบียน ส่งรายละเอียดต่างๆ พร้อมด้วยจำนวนที่ร้องขอ 

นอกจากนี้ ผู้ประสานงานดังกล่าว จะต้องช่วยติดตามว่าในการปฏิบัติงานแต่ละครั้ง ปลอกแขนหมายเลขต่างๆ อยู่กับผู้ปฏิบัติงานสื่อมวลชนคนใดบ้าง เพื่อให้สะดวกในการตรวจสอบข้อเท็จจริงหากเกิดเหตุจำเป็น  

ในกรณีสำนักข่าวที่มีขนาดใหญ่และแบ่งกองบรรณาธิการเป็นแผนกต่างๆโดยเอกเทศ เช่น แผนกหนังสือพิมพ์ แผนกทีวี แผนกออนไลน์ ฯลฯ ให้นับแต่ละแผนกเป็น 1 สำนักข่าว 

ในกรณีที่มีผู้แสดงตัวเป็นผู้ประสานงานของแต่ละสำนักข่าวซ้ำซ้อนกัน ทางศปสช.จะเลื่อนการพิจารณาปลอกแขนของสำนักข่าวนั้นๆไปอยู่ลำดับท้ายๆ เนื่องจากต้องใช้เวลาตรวจสอบมากขึ้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า แต่ละสำนักข่าวควรมอบหมายผู้ประสานงานให้เรียบร้อยก่อนลงทะเบียน

ช่องทางการลงทะเบียนผู้ประสานงาน

ผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ประสานงานจากแต่ละสำนักข่าว โปรดลงทะเบียนแสดงตนเป็นผู้ประสานงานปลอกแขนสัญลักษณ์และกรอกข้อมูลได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม ถึง 21 มีนาคม 2565

https://docs.google.com/forms/d/1FvfKCQWAcodGG3N0FNOLDS_CPRgTeWQC6gSbQhRfITI/

ทั้งนี้ ศปสช.จะนัดประชุมกับผู้ประสานงานจากสำนักข่าวต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับช่องทางการลงทะเบียนยื่นขอปลอกแขนสัญลักษณ์ พร้อมตอบข้อสงสัยต่างๆ ภายในต้นเดือนเมษายนนี้ โดย ศปสช.จะติดต่อไปยังผู้ประสานงานแต่ละท่านผ่านข้อมูลการติดต่อที่ลงทะเบียนไว้ในลิงก์ข้างต้น 

หลักเกณฑ์สำหรับผู้ที่จะได้รับปลอกแขนสัญลักษณ์

  1. เป็นผู้สื่อข่าว ช่างภาพ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ (เช่น ตากล้อง ทีมไลฟ์เฟซบุก ฯลฯ) ที่มีหน้าที่ในการรายงานข่าวจากสถานการณ์ชุมนุมโดยตรง 
  1. มีเอกสารรับรองจากต้นสังกัด ซึ่งต้องเป็นสำนักข่าวที่รายงานข่าวสารเป็นกิจลักษณะ, มีช่องทางเผยแพร่ข่าวสารเป็นของตนเอง เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือเว็บไซต์, มีกองบรรณาธิการหรือผู้รับผิดชอบโดยชัดเจน, และดำเนินงานมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน

เอกสารที่จะใช้ในการยื่นขอปลอกแขนสัญลักษณ์:

สำนักข่าวในประเทศไทย

  • บัตรพนักงาน บัตรกรมประชาสัมพันธ์ หรือเอกสารอื่นๆที่ระบุว่าผู้ขอปลอกแขนมีอาชีพเป็นสื่อมวลชน 
  • หนังสือรับรองการทำงานจากสำนักข่าวต้นสังกัด 

สำนักข่าวต่างประเทศ

  • บัตรพนักงาน บัตรกรมประชาสัมพันธ์ หรือเอกสารอื่นๆที่ระบุว่าผู้ขอปลอกแขนมีอาชีพเป็นสื่อมวลชน
  • หนังสือรับรองการทำงานจากสำนักข่าวต้นสังกัด 
  • ในกรณีเป็นการจ้างงานลักษณะเฉพาะชิ้นงาน เช่น freelancer, stringer, หรือ fixer อนุโลมให้ใช้หนังสือรับรองการว่าจ้างชิ้นงานนั้นๆ จากสำนักข่าวในต่างประเทศ
  • เอกสารต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น 

เพื่ออำนวยความสะดวกและดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคระบาด โควิด-19 การยื่นเอกสารทั้งหมดจะเป็นระบบออนไลน์ และใช้ไฟล์หรือรูปเอกสารเท่านั้น  

สำหรับช่องทางลงทะเบียนขอรับปลอกแขนสัญลักษณ์ ศปสช.จะแจ้งรายละเอียดให้ผู้ประสานงานของแต่ละสำนักข่าวทราบในลำดับถัดไป

หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ “ศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม (ศปสช.)” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร หมายเลขโทรศัพท์ 02-668-9422 ตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์ ระหว่างเวลา 10.00 - 18.00 น.  หรืออีเมล์ tjareporter@gmail.com 

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

    ธีรนัย จารุวัสตร์ 

ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม (ศปสช.)

.

.

Announcement: Registration for new media identification armbands 

The Media Center for Journalist Safety, founded by six media associations in Thailand on Sept. 14, 2020, is issuing new media identification armbands to journalists, photographers and media personnel who wish to have them while covering street protests and demonstrations in Thailand. 

The new armbands will replace the ones distributed by the Media Center for Journalist Safety in 2020. 

The new design comes with higher quality material, better visibility and improved durability. Each armband has a unique serial number to prevent forgery or misuse.  

We are also introducing several new protocols for armband applicants. 

Registrations fees

Due to the high production costs, the Media Center for Journalist Safety asks news organizations to help defray costs by following these guidelines: 

  • Each news organization will be entitled to a free quota of up to five armbands
  • Each additional armband requested will cost 70 baht. 
  • In the event of loss through negligence, a replacement will cost 170 baht.

Coordinators

Each news organization is asked to appoint one individual as its armband coordinator. That person is responsible for collecting the number, names, positions and other information of applicants for submission to the Media Center for Journalist Safety.  

The coordinator is also responsible for keeping track of which employee is using which serial number at protest sites. 

The Media Center for Journalist Safety may contact and verify details about the armbands currently in use with the coordinator if needed.

Coordinator registration

The individual appointed to take the role as the armband coordinator for each news organization is asked to send if possible all relevant details using this form before March 21, 2022: 

https://docs.google.com/forms/d/1FvfKCQWAcodGG3N0FNOLDS_CPRgTeWQC6gSbQhRfITI

The Media Center for Journalist Safety will hold an online meeting in early April with  coordinators to inform them about registration procedures and answer any queries.   

Eligibility of the media armbands 

  • The individual must work as a journalist, photographer or in any other media capacity and have been assigned to cover the protests. 
  • The individual must produce a letter of employment from their news organization, that being an entity that regularly publishes, reports or broadcasts news; operates its own platform or publication for news reports, such as newspapers, TV channels, radio stations, or websites; possesses an editorial team or individuals who perform similar tasks; and has been in business for at least six months.

Documents that will be required for armband registration 

Domestic media 

  • Employee card, press card issued by the Public Relations Department or any document that clearly confirms the applicant to be a member of the press.  
  • Letter of employment from the news organization.

Foreign media 

  • Employee card, press card issued by the Public Relations Department or any document that clearly confirms the applicant to be a member of the press.  
  • Letter of employment from the news organization. 
  • Freelancers, stringers and fixers for overseas news organizations are asked to obtain a letter confirming that they have indeed been employed or hired to produce news content. 


All documents must be in Thai or English. 

For convenience and safety during the COVID-19 pandemic, all documents will be submitted in digital form through an online channel. 

The Media Center for Journalist Safety is headquartered at the Thai Journalist Association on Samsen Road, Bangkok. Any inquiries should be sent to tjareporter@gmail.com