ความท้าทายด้านสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2553

 

ความท้าทายด้านสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2553
โดย เครือข่ายสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Press Alliance)
25 มกราคม 2553


การสังหารหมู่ผู้สื่อข่าวที่จังหวัดมากินดาเนา ทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 สะท้อนให้เห็นถึงสภาพการณ์ของการใช้ความรุนแรงและการปล่อยให้คนผิดลอยนวลซึ่งคุกคามสื่อมวลชน ที่เกิดขึ้นไม่แต่เฉพาะในฟิลิปปินส์เท่านั้นแต่ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ว่าได้

เหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา การสังหารผู้สื่อข่าวในปี 2552 เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการคุกคามที่ชี้ให้เห็นว่าสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนในภูมิภาคฯยังตกอยู่ในภาวะที่สุ่มเสี่ยอยู่ ตลอดปีที่ผ่านมานี้ สื่อมวลชนและผู้ทำงานด้านสื่อฯได้ถูกคุกคามทั้งทางร่างกายเช่นในกรณีของไทยและอินโดนีเซีย และการไม่ยอมรับและการใส่ร้ายป้ายสีทางสังคมในกรณีของพม่าและเวียดนาม การต้องโทษจำคุกและการกักขัง และการคุกคามทางกฎหมาย ในทุกๆที่ ตั้งแต่ติมอร์ตะวันออก ไปจนถึงมาเลเซียและสิงคโปร์ อันที่จริงแล้วไม่ใช่แค่ผู้สื่อข่าวและนักเขียนเท่านั้นที่ถูกคุกคาม แต่ผู้ที่ทำหน้าที่ปกป้องการทำหน้างานของสื่อฯเช่นทนายความและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน จากเวียดนาม กัมพูชา ไปจนถึงสิงคโปร์ และ ฟิลิปปินส์ก็ถูกคุกคามด้วยเช่นกัน

ในรอบสามสัปดาห์ที่ผ่านมาของปี 2553 เราได้เห็นตัวอย่างของต่อกรเพื่อปกป้องสื่อมวลชนและผู้สื่อข่าวในภูมิภาคฯ การตัดสินคดีของศาลอาญาที่นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามที่ใช้เวลาเพียงวันเดียวในกรณีของเล กง ดินห์ ทนายความชาวเวียดนาม เมื่อวันที่ 20 มกราคม2553 และการไต่สวนพยานกรณีการสังหารหมู่ผู้สื่อข่าวฟิลิปปินส์โดยกลุ่มอัมปาตวน เป็นสัญญาณเริ่มต้นของปีแห่งการต่อสู้ที่ยาวนานของผู้ที่ทำหน้าที่ปกป้องและส่งเสริมเสรีภาพของสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเลือกตั้งที่เป็นไปตามคาดหมายในพม่า ความขัดแย้งที่รุนแรงกรณีการใช้คำว่า “อัลเลาะห์” ในมาเลเซีย ความสุ่มเสี่ยงของนักเขียน ทนายความ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในกัมพูชา เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสถานการณ์ร้อนที่สืบเนื่องมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นในปี 2552และที่เราจะต้องเผชิญต่อไปอีกในปี 2553

สำหรับในปี 2552 สถานการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนยังคงอยู่ในภาวะที่สุ่มเสี่ยง เนื่องมาจากกฎหมายที่ใช้กำกับและมีผลกระทบต่อผู้สื่อข่าวและวงการสื่อฯ และกฎหมายความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้าย ความมั่นคงภายใน ความลับของทางการ ตลอดจนกฎหมายอื่นๆในลักษณะเดียวกัน ซึ่งล้วนแต่เป็นเสมือนขื่อค้ำคอผู้สื่อข่าวในมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว และพม่า นอกจากนี้ความหมิ่นประมาทยังคงถือเป็นความผิดทางอาญาทั่วทั้งภูมิภาค กฎหมายหมิ่นประมาทรวมทั้งหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถูกนำมาใช้เพื่อสกัดกั้นการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง โดยอ้างความจำเป็นในการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคง และหรือการปกป้องความอ่อนไหวทางด้านวัฒนธรรมและศาสนา จนกระทั่งการถกเถียงสาธารณะโดยชอบธรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะใน ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียและ สิงคโปร์ก็พลอยได้รับผลกระทบจากากรใช้กฎหมายในลักษณะดังกล่าวไปด้วย

ยิ่งไปกว่านั้นกฎหมายดังกล่าวมาข้างต้นยังได้ถูกนำมาใช้ หรือไม่ก็ปรับปรุงให้มีความเข็มแข้งมากขึ้น เพื่อควบคุมสื่อใหม่เช่น สื่อออนไลน์ และ/หรือ ข่าวสารทางโทรศัพท์มือถือ ตลอดจนบทวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ท่ามกลางความเป็นห่วงกังวลของรัฐบาลทั่วทั้งภูมิภาคฯ ทั้งนี้เพื่อปิดกั้นการไหลเวียนของข้อมูลมากมายมหาศาลที่เกิดขึ้นได้โดยอาศัยสื่อใหม่ สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นคือ การวารสารศาสตร์และสื่อเสรีได้ถูกปิดกั้นในทุกหย่อมหญ้าจนตกขอบ ไม่ว่าจะเป็น สื่อดั้งเดิมอย่างสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อวิทยุโทรทัศน์ ไปจนถึงสื่อใหม่ที่มีสื่อชุมชนและผู้ให้บริการข่าวออนไลน์เป็นตัวแทน  ยิ่งการวารสารศาสตร์ สื่อมวลชนและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิตอล วิวัฒนาการไปไกลเท่าใด ภาครัฐที่ยิ่งเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่าที่จะเข้าไปควบคุมข้อมูลข่าวสาร

อาจกล่าวได้ว่าในปี 2552 การคุกคามสื่อไม่ได้มาจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่มาจากภาคประชาชนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะที่เกิดจากความขัดแย้งทางศาสนา ชาติพันธุ์ วัฒนธรรมและการเมือง รวมทั้งความล้มเหลวและความอ่อนแอของนิติรัฐ วัฒนธรรมการปล่อยให้คนผิดลอยนวลในฟิลิปปินส์ซึ่งยังคงเป็นผลพวงของความล้มเหลวของรัฐบาลมากพอๆกับกระบวนการยุติธรรมที่ซับซ้อนและอำนาจอิทธิพลที่ยังเฟื่องฟูอยู่ในท้องถิ่น ขบวนการหัวรุนแรงทางศาสนาเป็นกลุ่มที่คุกคามสื่อมวลชนอย่างรุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในบางส่วนของอินโดนีเซีย และในมาเลเซีย นอกจากนี้การขาดความรู้และความเข้าใจของประชาชนต่อบทบาทและการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนโดยทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้สื่อข่าวยังคงเสี่ยงต่อความเข้าใจผิดของประชาชน ซึ่งทำให้ตกเป็นเป้าของความโกรธแค้นของผู้ชุมนุมประท้วงและความเกลียดชังของเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมือง

ถึงกระนั้นในปี 2552 ยังคงพอมีช่องทางและการเปิดกว้าง หรืออย่างน้อยความหวังที่พอมองเห็นอยู่บ้างในเรื่องการรณรงค์ที่เข้มข้นขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่ประชาธิปไตย โดยในขณะที่มีการออกรายงานฉบับนี้ ฟิลิปปินส์กำลังจะผ่านกฎหมายรับรองเสรีภาพของข้อมูลข่าวสาร กฎหมายข้อมูลข่าวสารของอินโดนีเซียได้ผ่านการรับรองไปเมื่อปีที่แล้ว จะมีผลบังคับใช้ในปีนี้

แม้แต่ในเวียดนามเอง ในปีที่ผ่านมา ก็ได้มีการปรึกษาหารือกับองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้ง Article 19 ซึ่งเป็นองค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพเพื่อเตรียมออกกฎหมายยกระดับสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และพัฒนาการที่ไม่ค่อยเป็นที่สังเกตมากนักในประเทศลาว คือการที่รัฐบาลลาวประกาศรับรองปฏิญญาสากาลว่าได้สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมา ยังมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลประเทศอาเซียนว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะประชุมอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกเร็วๆนี้ จึงเป็นโอกาสดีของนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน ที่อย่างน้อยจะมีเวทีหรือตัวเชื่อมให้พวกเขาได้รณรงค์ โดยที่กิจกรรมด้านการรณรงค์เหล่านี้จะรวมถึงการทดสอบและการตรวจสอบการทำงานคณะกรรมการชุดนี้ด้วย

ที่ต้องจับตาดูก็คือการทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมอาเซียนในปีนี้ของเวียดนามต่อจากไทย ปัญหาใหญ่คือ อาเซียนและคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนจะเดินหน้าได้ไกลแค่ไหนในการทำให้ผู้นำอาเซียนเห็นว่าประเด็นสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนเป็นประเด็นที่มีความชอบธรรม คำตอบสำหรับคำถามดังกล่าวอาจเริ่มคลี่คลายได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และจะมีนัยสำคัญต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งในพม่า การแก้ไขปัญหาการปล่อยให้คนผิดลอยนวลของรัฐบาลฟิลิปปินส์ ไปจนถึงการปกป้องศักดิ์ศรีของสื่ออินเทอร์เนท ในฐานะที่เป็นสื่อเพ่อประชาธิปไตยทั่วทั้งภูมิภาค
สำหรับรายงานสถานการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน และเสรีภาพในการแสดงออกของแต่ละประเทศในภูมิภาค สามารถติดตามได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/6tEtTl   

Southeast Asian Press Alliance (SEAPA) ขอขอบคุณสมาชิกก่อตั้งและองค์กรต่างๆที่ให้การสนับสนุนการทำรายงานฉบับนี้ ดังต่อไปนี้ The Center for Media Freedom and Responsibility (CMFR) and the Philippine Center for Investigative Journalism (PCIJ) in Manila, the Philippines; the Thai Journalists Association (TJA) in Bangkok, Thailand; the Association of Independent Journalists (AJI) and the Institute for the Studies on Free Flow of Information (ISAI) in Jakarta, Indonesia; Mizzima News, a Burmese exile news agency; the Center for Independent Journalism (CIJ) in Kuala Lumpur, Malaysia; The Cambodian Association for the Protection of Journalists (CAPJ) in Phnom Penh, Cambodia; and the Timor Lorosae Journalists Association (TLJA) in Dili, Timor Leste.

----------------------------------------------
The Southeast Asian Press Alliance (http://www.seapa.org) คือเครือข่ายขององค์กรที่ทำหน้าที่ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 เป็นองค์กรระดับภูมิภาคเพียงองค์กรเดียวที่มีพันธะกิจในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน ประกอบไปด้วยสมาชิกก่อตั้ง คือ the Institute for the Study of the Free Flow of Information (ISAI) และ the Alliance of Independent Journalists ซึ่งทั้งสององค์กรมีสำนักงานตั้งอยู่กรุง จาการ์ตา ประเทศ อินโดนีเซีย the Center for Media Freedom and Responsibility และ the Philippine Center for Investigative Journalism ซึ่งทั้งสององค์กรมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และ the Thai Journalists Association หรือ สมาคมนักข่าวนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

SEAPA ยังทำงานส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อฯทั่วภูมิภาคร่วมกันองค์กรต่างๆ ในมาเลเซีย ติมอร์ตะวันออก และกับกลุ่มผู้สื่อข่าวพม่าพลัดถิ่นด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่ seapa@seapa.org หรือโทรศัพท์ 02 243 5579.