สัมมนาระดมความคิดเห็น “ทางออกประเทศไทยในวิกฤตการเมืองไทย : Road Map ภาคพลเมือง”

กำหนดการ
สัมมนาระดมความคิดเห็น “ทางออกประเทศไทยในวิกฤตการเมืองไทย : Road Map ภาคพลเมือง”
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๓ เวลา ๙.๐๐-๑๗.๐๐ น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น ๔ อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ


ภาคเช้า
๙.๐๐-๙.๑๕ น.        กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม
โดย ศ.ดร. สุจิต  บุญบงการ
ประธานสภาพัฒนาการเมือง
๙.๑๕ – ๑๐.๐๐ น.    อภิปราย “ทางออกประเทศไทยต่อวิกฤตการเมืองไทย”
โดย ๑.นายไพโรจน์   พลเพชร       ประธาน กป.อพช.   
๒. ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ   เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า   
ดำเนินรายการโดย นายนิมิตร์ เทียนอุดม

๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น      ระดมความคิดเห็น “ปฏิรูปเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองใหม่”
สานสังคม สู่เส้นทางที่เป็นธรรม: Road Map ภาคพลเมือง
ผู้แทนเครือข่ายพลเมืองเสนอ Road Map ภาคพลเมือง
ประเด็นสำคัญ ๒ ประเด็น
๑.การสร้างความเป็นธรรม และการลดช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น
/การเข้าถึง การจัดสรรทรัพยากรที่เป็นธรรม
๒.การปฏิรูปโครงสร้าง อำนาจทางการเมือง
ดำเนินรายการโดย นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ และนางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข

ภาคบ่าย
๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.    พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น.    ระดมความคิดเห็น “ปฏิรูปเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองใหม่”
สานสังคม          สู่เส้นทางที่เป็นธรรม: Road Map ภาคพลเมือง
ผู้แทนเครือข่ายพลเมืองเสนอ Road Map ภาคพลเมือง
ประเด็นสำคัญ ๒ ประเด็น
๑.ปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม
๒.ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
ดำเนินรายการโดย นางสาว สารี อ๋องสมหวัง
๑๕.๐๐-๑๕.๓๐ น.    “ก้าวต่อไปของการปฏิรูปประเทศไทย”
โดยนายสน         รูปสูง  รองประธานสภาพัฒนาการเมือง
๑๕.๓๐-๑๖.๐๐ น.    แถลงข่าว
กติกาในการให้ความเห็นและข้อเสนอ
๑.ผู้ที่ประสงค์จะนำเสนอข้อคิดเห็น ขอให้ลงทะเบียนแจ้งความจำนงที่โต๊ะลงทะเบียนแสดงความคิดเห็น
๒.พูดไม่เกินท่านละ ๓ นาที (ประมาณ ๑ หน้ากระดาษ)
๓.แต่ละกลุ่มหรือเครือข่ายต้องเสนอข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทั้ง ๔ ข้างต้นและข้อเสนอของกลุ่มหรือเครือข่ายโดยสรุป
๔.สาระในการนำเสนอไม่ควรนำเสนอปัญหา แต่ให้เน้นประเด็นข้อเสนอที่ชัดเจนและแนวทางในการแก้ปัญหานั้น ๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยมีข้อเสนอของเครือข่ายและกลุ่มรวมทั้งคำถามจากประเด็นหลัก ๔ ประเด็นที่กำหนดร่วมกัน
๕.การนำเสนอต้องแจ้งชื่อและองค์กร หรือหน่วยงานที่สังกัด
๖.ให้เสนอด้วยท่าทีที่สุภาพ สร้างสรรค์ เป็นมิตร

องค์กรร่วมจัด
๑.    สภาพัฒนาการเมือง
๒.    คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
๓.    สถาบันพระปกเกล้า
๔.    สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
๕.    เครือข่ายประชาสังคม
๖.    สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
๗.    สถาบันวิจัยสังคม
๘.    สภาองค์กรชุมชน
๙.    เครือข่ายสันติวิธี
๑๐.      กลุ่มประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง
๑๑.      คณะทำงานวาระทางสังคม
๑๒.    กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA watch)
๑๓.    สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
๑๔.    สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
๑๕.    สมาพันธ์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
๑๖.    เครือข่ายสมัชชาคนจน
๑๗.    เครือข่ายสลัมสี่ภาค
๑๘.    เครือข่ายปฏิรูปสื่อ
๑๙.    เครือข่ายปฏิรูปการศึกษา
๒๐.    กลุ่มสมานฉันท์แรงงานไทย
๒๑.    สภาผู้พิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย
๒๒.    เครือข่ายผู้หญิง
๒๓.    เครือข่ายเด็ก
๒๔.    เครือข่ายผู้สูงอายุ
๒๕.    เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ ประเทศไทย
๒๖.    เครือข่ายผู้บริโภค
๒๗.    เครือข่ายแรงงานนอกระบบ
๒๘.    เครือข่ายนักศึกษา
๒๙.    เครือข่ายพลเมือง กทม.