วงเสวนาสื่อเดือด! “น.ศ.มธ.” โวย “พ.ร.ก.ฉฉ.” ติดหนวดรัฐ “เผด็จการ” ลุแก่อำนาจ ! ไร้การตรวจสอบเลือกปฎิบัติ “ปิดจอแดง แต่ไม่ปิดจอเหลือง” “ก.วัฒนธรรม” ออกตัวกล่อมแต่ไม่เป็นผล “ปธ.กก.สิทธิฯ” บอก ในเมื่อใช้กฎหมายพิเศษแล้วอย่าถามถึงสิทธิมนุษยชนเพราะเป็นเรื่อง รอง
วันที่ 5 มิ.ย.ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) นักศึกษาห้องเรียนสิทธิมนุษยชน คณะนิติศาสตร์มธ. จัดเสวนาหัวข้อ “สื่อบิดเบือน หรือกฎหมายบิดบัง สิทธิเสรีภาพกับข้อมูลข่าวสาร ภายใต้สถานการณ์ชุมนุมที่ผ่านมา” โดยมีตัวแทนจากภาครัฐ ภาควิชาการ องค์กรอิสระ และตัวแทนสื่อมวลชน เข้าร่วมเสวนา มีนักศึกษาให้ความสนใจจำนวนมาก
น.ส.สาวิตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวว่า ในเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมาสื่อหลายสำภนักถูกปิดกั้น แทรกแซง จนประชาชนอึดอัดหันไปใช้พื้นที่ของสื่อใหม่และสื่อกระแสรอง ในหลายประเทศมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับสื่อเพื่อควบคุมความเป็นกลาง แต่สำหรับประเทศไทยใช้กฎหมายควบคุมเนื้อหา เช่นพ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในช่วงที่ใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยิ่งเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น ถึงแม้รัฐธรรมนูญม.45 จะห้ามรัฐปิดสื่อแต่ก็มีข้อยกเว้นที่ผ่าน มารัฐใช้ข้อยกเว้นนี้ปิดสื่อ เวปไซต์จำนวนมากแบบไม่มีเหตุผล ไม่เสมอภาคเช่นปิดเว็ปประชาไท แต่ไม่ปิดเว็ปผู้จัดการ ที่สำคัญไม่ต้องถูกตรวจสอบจากฝ่ายตุลาการ
โดย ปราศจากกลไกการตรวจสอบจากฝ่ายตุลาการ อย่างกรณีเว็ปไซต์ของตนซึ่งนำ เสนอข้อมูลด้านกฎหมายมาถูกศอฉ.สั่งปิด ขณะนี้กำลังหาช่องทางฟ้องร้อง ดำเนินคดี
“สื่อ สามารถเลือกข้างได้ แต่ต้องบอกประชาชนให้รู้เพื่อประชาชนจะได้รู้ว่า อยู่สีไหน และต้องเปิดรับฟังความเห็นที่แตกต่างด้วย ในยุคแบบนี้ต้องชัดเจน อย่าเป็นอีแอบ เลือกข้างได้แต่ต้อง เสนอรอบด้าน สร้างสรรค์ไม่บิดเบือน ยอมรับความหลากหลายทางความคิด แต่ถ้าสื่อไม่ว่าสีใด เป็นฝ่ายตรงข้ามหรือไม่โดนแทรกแซงต้องผนึกกำลัง กันบอกประชาชนว่าโดนแทรกแซง”
ขณะที่นางลัดดา ตั้งสุภาชัย ผ.อ.ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า คนไทยเหมือนลูกแกะที่ถูกจูงไปจูงมา โดยผู้มีอิทธิพลที่ชี้นำให้เชื่อไปในทางใดทางหนึ่ง โดยไม่กรอบที่จะกำหนดการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน สำหรับสื่อมวลชนควรจะมีการ ออกใบประกอบวิชาชีพเหมือนแพทย์ พยาบาล เพื่อเป็นหลักประกันว่าสังคม ไทยจะได้รับสื่อที่ดี ตั้งข้อสังเกตว่าขณะที่ภาพยนตร์ ละคร มีการเซนเซอร์แต่ข่าวเป็นสิ่งที่เดียวที่ไม่ถูกเซนเซอร์ ทั้งที่หลายข่าวมีความไม่เหมาะสมมาก เช่นข่าวเสธ.แดง ถูกยิง มีการฉายภาพซ้ำไปซ้ำมามีภาพการลากศพ ทำไมถึงไม่คิดว่าเด็กกำลังดูจะ เป็นอย่างไร หรือกรณีที่สำนักข่าวต่างชาตินำเสนอภาพเด็ก ที่อยู่บนบังเกอร์ ถามว่าเป็นการละเมิดสิทธิของคนไทยทั้งประเทศหรือไม่เพราะ เรื่องนี้เป็นของคนไม่กี่คนแต่พอเสนอภาพออกไปทั่วโลกคิดว่าคนไทย เป็นแบบนี้กันหมด
นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นพ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก นั้นเป็นกฎหมายพิเศษที่ใช้เพราะเหตุผลด้านความมั่นคง ดังนั้นจะแสวงหาสิทธิเสรีภาพอะไรในนั้นมันหายาก ตอนที่ตนเป็นนักวิชาการ เคยโต้แย้งนิยามความมั่นคงกับฝ่ายรัฐมาตลอด เพราะตนเชื่อเรื่องความมั่นคงของมนุษย์มากกว่า จน กระทั่งเมื่อเจอสถานการณ์ 2 เดือนที่ ผ่านมาถือเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับทุกฝ่ายทั้งรัฐบาล ศอฉ. กรรมการสิทธิฯ ทำเอางงอยู่นานไม่รูว่าจะต้องทำอย่างไรดี
“พ.ร.ก.ฉุก เฉิน นั้นใช้เพื่อความมั่นคงของชาติ อย่าไปถามมันมากเลย สิทธิเสรีภาพเป็นประเด็นรอง แต่สิทธิพื้นฐานต้องมี แม้ว่าจะยอมรับว่าสิทธิบางเรื่องจะไม่สมบูรณ์ มีขอบเขตจำกัด แต่สิทธิส่วนบุคคลย่อมไม่ไปละเมิดสิทธิสาธารณะ”นางอมรา กล่าว
นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับ สื่อโทรทัศน์นั้นแม้ไม่มีพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รัฐก็สามารถแทรกแซงได้อยู่แล้วเพราะ โทรทัศน์อยู่ภายใต้สัมปทานของรัฐบาล ดังนั้นคนของรัฐสามารถยกหูโทรศัพท์ ไปยังเจ้าของสถานีได้เสมอ แต่เรื่องแบบนี้ไม่มีหลักฐาน ส่วนหนังสือพิมพ์หลักยังไม่ถูกรบกวนอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลแม้ ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน
ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า วงเสวนาเริ่มคึกคักขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงที่นักศึกษาตั้งคำถามต่อวิทยากร โดยนักศึกษาตั้งคำถามถึงการใช้อำนาจศอฉ.ปิดเว็ปไซต์ประชาไทย ถือ ว่าเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขต
ตัวแทนจากกระทรวง วัฒนธรรม ตอบเป็นคนแรก ว่า ขอให้นักศึกษาเข้าใจว่ารัฐกับประชาชน นั้นมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่างกัน ประชาชนเป็นสมาชิกของประเทศ แต่รัฐมีหน้าที่ดูแลบ้านเมืองให้สงบสุขเมื่อเห็นสัญญาณอันตรายก็ ต้องจัดการก่อน เหมือนเราอยู่ในบ้านเห็นสายไฟว่าปกติดี แต่คนที่เป็นวิศวกรซึ่งรับผิดชอบความปลอดภัยของบ้านจะรู้ว่าควร ซ่อมตอนไหน เมื่อบ้านถูกไฟใหม้รัฐต้องหาเครื่องมือที่ดีไม่ใช่ใช้ก๊อก ธรรมดาดับไฟ อยากให้ลองนึกภาพใน 2 เดือนที่ผ่านมาหากไม่มีพ.ร.ก.ฉุกเฉินบ้านเมืองจะเป็น อย่างไร เราจะปล่อยให้เป็นแบบนั้นหรือ
ขณะที่น.ส.สาวิตรี แย้งว่า จะให้รัฐเป็นฝ่ายกำหนดว่าจะจัดการปิดสื่อหรือไม่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ได้ ยกตัวอย่างเว็ปไซต์ของตนซึ่งให้บริการความรู้เรื่องกฎหมาย วันหนึ่งนำข่าวต่างประเทศมา 3 ข่าว ศอฉ.สั่งปิดทันที ตนรับได้กับการใช้กฎหมายพิเศษในช่วง ฉุกเฉิน แต่การพิจารณาควรมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมากลั่นกรอง และควรจะให้ศาลได้ตรวจสอบการใช้อำนาจด้วย
นายประสงค์ กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่มีเหตุกระทบต่อความมั่นคงรัฐสามารถปิดหรือเซนเซอร์ สื่อได้ แต่หลังจากนั้นเปิดให้ตรวจสอบได้ หรือถ้าใช้อำนาจไปแล้วเกิดความ เสียหายรัฐต้องรับผิดชอบ ส่วนการติดเรตติ้งของภาพยนต์นั้นกระทรวง วัฒนธรรมไม่มีสิทธิไปชี้ว่าใครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะไม่ใช่ศาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการชี้แจงของตัวแทนกระทรวงวัฒนธรรม นักศึกษาจำนวนมากก็ยังแสดง ความคิดเห็นว่าพ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้นเป็นการใช้อำนาจโดยอ้างภัยความ มั่นคงที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ส่งผลให้บรรยากาศของบ้านเมืองตก อยู่ในสภาพเผด็จการมากกว่าประชาธิปไตย และยังใช้อำนาจ แบบเลือกปฎิบัตติเช่นการปิดพีเพิลชาแนล แต่ไม่ปิดเอเอสทีวี ให้เท่าเทียมกันด้วย นอกจากนี้การประกาศต่ออายุพ.ร.ก.เป็นอำนาจเบ็ด เสร็จของครม.โดยไม่ตัดกลไกของสภาทิ้งไปทำให้ถ้านายกฯอยากจะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตลอดปีก็สามารถทำได้