“สภาการนสพ.”จัด “ปา ถกฐาพิเศษ” โดยมี “รองเจ้า อาวาสวัดสุทัศฯ- องอาจ-อลงกรณ์-นักวิชาการ-ประชาชน” ร่วมงานคับคั่ง “พระราชวิจิตร” แนะสื่อไทย “อย่าหลงและพึงระวัง” ชี้พัฒนาพร้อมทั้งควบคุมการเสนอข่าวสารผ่านสื่อ “โซเชียนมีเดีย” เป็นเรื่องสำคัญ

“สภาการนสพ.”จัด “ปา ถกฐาพิเศษ” โดยมี “รองเจ้า อาวาสวัดสุทัศฯ- องอาจ-อลงกรณ์-นักวิชาการ-ประชาชน” ร่วมงานคับคั่ง “พระราชวิจิตร” แนะสื่อไทย “อย่าหลงและพึงระวัง” ชี้พัฒนาพร้อมทั้งควบคุมการเสนอข่าวสารผ่านสื่อ “โซเชียนมีเดีย” เป็นเรื่องสำคัญ

ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่ง ประเทศไทย เวลา 13.30 น.สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้จัดงานครบรอบ 13 ปี เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นขององค์ กรสมาชิก พร้อมนิมนต์ พระราชวิจิตร ปฏิภาณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร มาแสดงปาฐกถาเรื่อง “จริยธรรมสื่อมวลชนตามแนวพุทธ” นอกจากนั้น ยังมีการสนทนากลุ่มสะท้อนมุมมองผู้คร่ำหวอดในวงการสื่อ ในหัวข้อ “บทบาทและจริยธรรมสื่อสังคม” พร้อม ประกาศรายชื่อหนังสือพิมพ์ส่งเสริมจริยธรรมดีเด่น ทั้งนี้ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนาย อลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมแสดงความยินดี ในฐานะอดีตคนหนังสือ พิมพ์

นายปราโมทย์ ฝ่ายอุประ ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เปิดเผยว่า เนื่องจากสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เห็นว่าที่ผ่านมาสังคมไทยเกิดภาวะความ ขัดแย้งทางความคิดอย่างรุนแรง อันมีสาเหตุมาจากปัญหาการเมืองและ เศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยสื่อมวลชนมักตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่มีความเป็นกลาง บิดเบือนข้อมูล และมีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้งที่ รุนแรงขึ้น จึงเห็นควรให้สื่อมวลชนได้หันมาพิจารณาตัวเองและตระหนักถึงความ สำคัญในบทบาทการทำหน้าที่นำเสนอข่าวสารด้วยจิตใจที่ยึดมั่นใน คุณธรรมจริยธรรม เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง

นายองอาจ กล่าวว่า ตนคิดว่าการที่ออกมารวมตัวกัน เพื่อร่วมกันทำในสิ่งที่ดี มีประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวมนั้น ตนว่าตรงนี้ประสบความสำเร็จเป็นอ ย่างมาก ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่ทำงานทางด้านสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น แต่ตนเชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวม  หากเราคิดว่าอยากจะรวมตัวเพื่อพูดคุยในประเด็นเพื่อที่จะแก้ไข ปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น

“โดยเฉพาะเรื่องของจริยธรรมผมคิดว่า เราหวังจะเห็นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะเวลาอันสั้น บางทีเราก็หวังมากเกินไป สิ่งเหล่านี้คงต้องมีวิวัฒนาการตามสมควร ที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นผมยังยืนยันว่า สิ่งต่างๆอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเวลา แต่ความคิดของผมยังไม่เปลี่ยน ยังเชื่อมั่นว่าหากเรามารวมกลุ่มและคิดว่าการรวมตัวเป็นสิ่งที่ทำ ให้เกิดประโยชน์ได้ก็เป็นเรื่องที่ดี” นายองอาจ กล่าว

นายองอาจ กล่าวอีกว่า  สิ่งที่ดีอาจจะไม่สามารถจับต้องได้ทันที ไม่เหมือนกับงานอื่นๆที่อาจจะจับต้องได้ทันที เรื่องของจริยธรรมนอกจากใช้เวลาแล้วยังต้องอาศัยความเข้าใจ ตนคิดว่าคงไม่ใช่แค่เรื่องในแง่กฎหมายที่จะบังคับใช้ การรณรงค์การสร้างจิตสำนึก วิธีการและรูปแบบต่างๆ ตนคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ ต่อสังคมโดยรวม ซึ่งประชาชนจะไม่ค่อยมีความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องของ สื่อ เพราะฉะนั้นการสร้างความเข้าใจให้ประชาชนนั้น ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ

ด้าน พระราชวิจิตร ปฏิภาณ กล่าวปาฐกถา มีใจความตอนหนึ่งว่า สื่อสิ่งพิมพ์ในโลกนี้ คิดว่าไม่ตาย แต่ไม่โต เพราะทุกคนใช้ข้อมูลที่มาจากหนังสือพิมพ์ตลอดเวลา แต่ในวันนี้รัฐบาลกำลังทำให้คนมีนิสัยเป็นขอทาน และต่อไปนี้คนไทยก็จะขอ เมื่อขอไม่ได้ก็รวมตัวกันขู่เช่น สมัชชาคนจน คนไทยใช้เงินอย่างไม่มีสติ รู้ว่าการต่อรองกับรัฐบาลคือคะแนนเสียงเป็น กำลัง ยิ่งในสมัยการเลือกตั้งข้างหน้า ที่เรียกว่าประชานิยม เรากำลังทำให้คนไทยพึ่งพาตัวเองไม่ได้  ไม่ได้ เกิดแต่รัฐบาลชุดนี้แต่เป็นทุกรัฐบาล

ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศฯ กล่าวปาถกฐาต่อว่า สื่อสิงพิมพ์มี 2 ลักษณะเหมือนหุบเขาคนโฉดกับ ด่าน 18 อรหันต์ ที่ทั้งโทรทัศน์และทีวีไม่สามารถทำได้ ตนเห็นว่าสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่มีสีสัน แต่เป็นที่น่าแปลกคือ ข่าวที่ออกทางสื่อโทรทัศน์หรือวิทยุอย่างเดียว จะไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในฐานผู้บริโภคสื่อ สามารถจำแนกสื่อสิ่งพิมพ์ออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. สื่อสารธรรม คือสื่อที่เป็นประโยชน์ 2. สื่อสารแน คือสื่อประเภทยุเรื่องของชาวบ้าน 3. สื่อสารเลว คือสื่อประเภท เป็นฝักเป็นฝ่าย มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้ที่ตกเป็นข่าว ซึ่งสื่อประเภท สารธรรมนั้นมี 75 เปอร์เซ็นต์ ไม่เช่นนั้นจะอยู่ไม่ได้ เพราะผู้บริโภคมีความรู้ อีกทั้งสื่อจะเป็นฝ่ายที่ตรวจสอบและควบคุมกัน เอง

“ สื่อที่ดีนั้น ต้องให้ความรู้ และความจริง เพราะจะต้องถูกเก็บเป็นหลักฐาน เพราะฉะนั้นต้องไม่มีการเต้าข่าว คือสำนวนอาจจะมีความหวือหวาไม่เป็นไร แต่ต้องมีความเป็นจริง ที่สำคัญคือต้องให้ทัศนวิจารณ์  เพื่อที่จะเป็นสติปัญญาให้กับทุกฝ่าย” พระราชวิจิตร ปฏิภาน กล่าว

พระราชวิจิตร ปฏิภาณ กล่าวปาถกฐาต่อว่า สิ่งที่ผู้สื่อข่าวจะต้องเจอทุกคนในการทำงานข่าว เรียกว่า สื่อ 7 ย่างก้าว คือ 1. ยุ ซึ่งทำให้เสียคนมามาก 2. ยอ คือยอพวกเดียวกันเอง 3. ลวง คือการให้ข่าวที่เกินความจริง 4. ล่อ คือมาการเอาเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาล่อ 5 ขอ คือการเอาคนที่เรารัก เคารพหรือผู้ที่มีอำนาจมาขอ 6. ขู่ คือหากไม่ทำตามก็มีการขู่ต่างๆ 7. ข่ม คือการข่มเหงรังแกเพราะเราไม่ยอมทำตาม ซึ่งหลักง่ายๆที่พึงทำได้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาก็คือ อย่าหลงและพึงระวัง

ต่อจากนั้น เวลา 15.00 น. ได้มีการสนทนากลุ่มเรื่อง “บทบาทและ จริยธรรมสื่อสังคม” โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้  กล่าวว่า สื่อแนวใหม่หรือโซเซี่ยนมีเดีย เป็นสื่อใหม่ ทำให้การปิดกั้นข้อมูลข่าวสารทำให้ยาก หรือแทบทำไม่ได้ ไม่มีทางทำให้เกิดการปิดโทรทัศน์ หรือ ปิดแท่นพิมพ์ สังคมไทยก็คาดว่ากำลังจะมีการสื่อสารเชิงกว้างขวาง แต่ต้องทราบมารยาท ว่า ควรเผยแพร่ข้อเท็จจริง และผู้ติดตามต้องรู้จักเลือกรับข่าวสารที่ น่าเชื่อถือ  ซึ่งสามารถจะส่งเสริมความคิดเห็นหรือ สร้างความเกลียดชังก็ได้ หากใช้ไม่เป็น คนที่ใช้จำเป็นต้องระมัดระวัง  ซึ่งสื่อใหม่มีศักยภาพและความน่าสนใจมาก เช่น  เฟชบุ๊ค มีผู้ใช้จำนวน 400 กว่าล้านคนทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยมีผู้ใช้ 4 ล้าน คน และทวิตเตอร์ 1-2 แสนคน  ซึ่งพบว่ากลุ่มผู้ใช้ที่เป็นผู้สื่อข่าวเป็นกลุ่มที่มีผู้ติดตาม จำนวนมาก

“ความเป็นผู้สื่อข่าว จะมีความน่าเชื่อถืออยู่ในตัวเอง คนจะเชื่อเพราะมีความใกล้ชิดแหล่ง ข่าว ทำให้นักข่าวต้องแยกระหว่างเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงาน ซึ่งหลายองค์จะมีการกำหนดมาตรฐานการทวิต เหมือนกับการส่งข่าวเพื่อลง ในหนังสือพิมพ์ ที่ไม่ใส่ร้าย ไม่หมิ่นประมาท  เมื่อใช้โซเชี่ยนมีเดีย ก็ต้องมีมารตฐานการทำงานเดียวกันกับการทำ หน้าที่ผู้สื่อข่าว”นายวสันต์ กล่าว

นายวสันต์ กล่าวว่า  การรู้เท่าทัน สำคัญกับสื่อทุกประเภท สื่อแต่ละชนิดคิดอย่างไร มีผลประโยชน์อยู่เบื้องหลังหรือไม่ สื่อต้องทราบว่าเทคโนโลยี มีทั้งประโยชน์ แต่ต้องระมัดระวัง การแสดงความคิดเห็นที่เป็นส่วนตัว สื่อใหม่ เป็นสื่อที่บทบาท และอิทธิพลสูงมาก จำเป็นต้องกำหนดการทำงานให้ชัดเจน และส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากการสื่อสารผ่านสื่อใหม่ ซึ่งสิ่งที่ต้องระวังคือ การตรวจสอบข้อมูล เพราะการทำงานของหนังสือพิมพ์ จะมีกระบวนการตรวจสอบหลายขั้นตอน ซึ่งการใช้เครื่องมือในการส่งข่าว เช่น ทวิตเตอร์ จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังมาก เพราะต้องตรวจสอบ กลั่นกรองด้วยตนเองเพียงลำพัง

นายนิรันดร์ เยาวภา เว็บมาสเตอร์ผู้จัดการออนไลน์  กล่าวว่า เทคโนโลยีใหม่ ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถส่งข่าวสารได้ ทำให้ผู้สื่อข่าวต้องปรับตัวใน การทำงาน  สื่อออนไลน์ ถือเป็นช่องทางการระบายออก การทะเลาะกันบนโลกออนไลน์ยังดีกว่าการไปทะเลาะกันบนถนน อาจจะมองว่ามีความรุนแรงมาก แต่เมื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลแล้ว อารมณ์จะรุนแรงน้อยลง แต่การส่งข้อมูลใดๆ ออกไปด้วยความรวดเร็ว ก็อาจจะเป็นเครื่องมือ ที่จะสร้างความขัดแย้งออกไปได้  ทุกคนที่ใช้สื่อ จำเป็นต้องมีการรู้เท่าทันสื่อ   ซึ่งในอนาคตอาจต้องมีกรอบจริยธรรมขององค์กรสื่อ ในเรื่องการใช้สื่อประเภทโซเชี่ยนมีเดีย

ผศ.ดร.ณรงค์ ขำวิจิตร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า  สื่อใหม่ เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่คุ้นเคย  น่าจะเรียกว่า ซุปเปอร์มีเดีย พาวเวอร์มีเดีย มากกว่าเพราะคำว่าสื่อใหม่ถูกใช้มาเป็น เวลานานแล้ว ทำให้ผู้ใช้สื่อจะแสดงตัวตนผ่านสื่อมากขึ้น เพราะเป็นสื่ออิสระ ซึ่งสื่อประเภทนี้จะเกิดขึ้นและมีผู้ใช้จำนวนมาก เมื่อมีภาวะวิกฤต ผู้ส่งข่าวจะกลายเป็นผู้สนใจ สำหรับคนทั่วไป สำหรับประเทศไทย ถือว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีผลทำให้คนมาสนใจใช้ทวิตเตอร์  ซึ่งเห็นได้จากช่วงเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา มีนิสิตนักศึกษาใช้สื่อใหม่เหล่านี้จำนวนมาก

“ความรับผิดชอบสื่อ ผู้ทวิตต้องเป็นคนรับผิดชอบ ซึ่งองค์กรอาจต้องมีข้อกำหนดในการรับผิด ชอบ  ความรับผิดชอบของนักข่าวกับคนทั่วไป ต้องต่างกันแน่นอน  ซึ่งคนทั่วไปอาจต้องรับผิดชอบ เรื่องของกฎหมายหมิ่นประมาท  แต่นักข่าวหรือบุคคลมีชื่อเสี่ยงที่ทวิต เรื่องราวต่างๆ ก็ต้องระวังว่าไม่ใช่การแสดงความรู้สึกอย่างเดียว จริยธรรมสื่อ ไม่อยากให้พูดถึงการควบคุม การกำหนดโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานอื่นใด แต่อยากส่งเสริมให้นักข่าวใช้สื่อออนไลน์เหล่านี้ให้เป็น  การรู้เท่าทันสื่อจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องมีไม่ว่าจะ เป็นสื่อกระแสหลักหรือกระแสรอง”ผศ.ดร.ณรงค์ กล่าว

นายมานะ ตรีรยาภิวัฒน์ สาขาวิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  กล่าวว่า โซเชี่ยนมีเดีย เป็นการทำให้คนในสังคมให้มีส่วนร่วมกัน  ไม่ใช่แค่เฟซบุ๊คที่มีการพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อน แต่หมายถึงการมีส่วนร่วมกันของคนในสังคม ซึ่งการควบคุมกันในโซเชี่ยนมีเดีย เป็นลักษณะการควบคุมกันเอง ไม่ควรมีหน่วยงานรัฐใดๆ มาควบคุม  ซึ่งผู้สื่อข่าวจะต้องมีความรับผิดชอบมากกว่าคนธรรมดาทั่ว ไป ที่ต้องมีความรับผิดชอบเช่นกัน โดยทราบมารยาทในการใช้ที่ต้องไม่ ใช้เพื่อใส่ร้ายผู้อื่น สร้างข้อมูลเท็จ เพราะสื่อโซเชี่ยนมีเดียเป็นพื้นที่ สาธารณะ ไม่ใช่ห้องน้ำที่เขียนแล้วไม่มีคนเห็น  ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ง่ายมาก ทำให้สร้างข่าวลือได้ง่าย เพราะสามารถกระจายเร็วโดยที่ไร้การตรวจสอบ และถือเป็นเครื่องมือสามารถสร้างความแตกแยกได้ หากผู้ใช้มีเจตนาไม่ดี และผู้รับสารไม่ได้กลั่นกรอง

ทั้งนี้หลังจากการสนทนายังมีการประกาศผล รางวัลหนังสือพิมพ์ส่งเสริมจริยธรรมดีเด่น ประจำปี 2552 เพื่อตรวจสอบและให้กำลังใจกับผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ พร้อมกับมอบกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ให้กับองค์กรสมาชิกใหม่ 1 องค์กร ได้แก่ หนังสือพิมพ์ก้าวหน้า

ส่วน ประเภทหนังสือพิมพ์รายวันที่ได้รับรางวัลนั้น รางวัลหนังสือพิมพ์ส่งเสริมจริยธรรมดีเด่น คือ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ รางวัลชมเชย มี ๒ รางวัล คือหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ จังหวัดเชียงใหม่ และหนังสือพิมพ์เสียงใต้ จังหวัดภูเก็ต ประเภทหนังสือพิมพ์ราย ๓ – ๗ วัน รางวัลหนังสือพิมพ์ส่งเสริมจริยธรรมดีเด่น คือหนังสือพิมพ์สมิหลาไทมส์ จังหวัดสงขลา รางวัลชมเชย มี ๒ รางวัล คือ หนังสือพิมพ์โฟกัสภาคใต้ จังหวัดสงขลา และหนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ประเภทหนังสือพิมพ์ราย  ๑๕ วัน รางวัลหนังสือพิมพ์ส่งเสริมจริยธรรมดีเด่น คือหนังสือพิมพ์เสียงสาริกา จังหวัดนครนายก รางวัลชมเชย  มี ๒ รางวัล คือ หนังสือพิมพ์สมาร์ทนิวส์  จังหวัดยะลา และหนังสือพิมพ์ประชามติพิษณุโลก    จังหวัดพิษณุโลก


สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
4 กรกฎาคม 2553