สมาคม นักข่าวฯร่วมกับ 9 องค์กร จัดเสวนา “เราจะส่งมอบประเทศไทยแบบไหนให้ลูกหลาน กับ อดัม ฮาเคน” นำชาติฝ่าวิกฤตมุ่งสู่อนาคต

 

สมาคม นักข่าวฯร่วมกับ 9 องค์กร จัดเสวนา “เราจะส่งมอบประเทศไทยแบบไหนให้ลูกหลาน กับ อดัม ฮาเคน” นำชาติฝ่าวิกฤตมุ่งสู่อนาคต

สมาคม นักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและองค์กรร่วมจัด ประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ฝ่ายวิชาการ) สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิดอกไม้และนกกระดาษเพื่อสันติภาพ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และไทยประกันชีวิต  จะจัดการเสวนาในหัวข้อ การขับเคลื่อนการส่งมอบประเทศไทยให้ลูก หลาน กับ อดัม คาเฮนในวันอังคารที่ 17 สิงหาคม 2553 เวลา 9.30 -11.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

งาน สัมมนา “เราจะส่งมอบประเทศไทยแบบไหนให้ลูกหลาน” กำเนิดขึ้น จากกลุ่มองค์กรที่ไม่แ! สวงหาผลกำไรหลายกลุ่ม มีแนวคิดในการวางรากฐานเพื่อแก้ไขปัญหา มองผ่านความเป็นไปได้ จากวิกฤตการณ์ปัจจุบัน เพื่อเสนอแนวทางการร่วมมือเพื่อแสวงหาทางออก กำหนดอนาคตของสังคมไทย โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ผ่านประสบการณ์ของนายอดัม คาเฮน ผู้ที่เคยอยู่ท่ามกลางวิกฤตความขัดแย้งรุนแรงของนานาประเทศ เช่น  แอฟริกาใต้ ช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคแบ่งแยกสีผิวโคลัมเบีย ช่วงสงครามการเมือง และอาร์เจนตินา ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งจากสถานการณ์ประเทศไทยที่เต็มไปด้วยปัญหาความ ขัดแย้ง แตกแยกทางความคิด นำไปสู่กระบวนการสร้างความขัดแย้งในระดับประเทศ จนเสี่ยงต่อการพาประเทศก้าวเข้าสู่ความขัดแย้งรุนแรง กำลังก้าวเดินสู่ทางตัน แต่ปัญหาทุกประการย่อมคลี่คลายไปได้ ขึ้นอยู่กับว่าคนในชาติเลือก จะนำพาประเทศไปยังจุดใดในอนาคต งานเสวนาดังกล่าวจะเชิญผู้ที่ความสนใจและตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคมเข้าร่วม โดยนายอดัม คาเฮน จะเปิดประสบการณ์การทำงาน ผลสำเร็จของการแก้ไขปัญหา ตลอดจนวิธีการและขั้นตอนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและวิกฤตสังคม

ราย ละเอียดโทร. 02-668-9422

 

//////////////////////////////////////////////////////

สมาคมนักข่าวฯจับมือองค์กรร่วมจัด 9 องค์กรเสวนา “เราจะส่งมอบประเทศไทยแบบไหนให้ลูกหลาน กับ อดัม ฮาเคน” นำชาติฝ่าวิกฤตมุ่งสู่่อนาคต

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เวลา 9.30 -11.30 น.วันที่ 17 สิงหาคม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและองค์กรร่วมจัด ประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ฝ่ายวิชาการ) สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิดอกไม้และนกกระดาษเพื่อสันติภาพ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และไทยประกันชีวิต  จะจัดการเสวนาในหัวข้อ “การขับเคลื่อนการส่งมอบประเทศไทยให้ลูกหลาน กับ อดัม คาเฮน” ณ ห้องประชุมชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

นายประสงค์กล่าวว่า งานสัมมนา “เราจะส่งมอบประเทศไทยแบบไหนให้ลูกหลาน” กำเนิดขึ้น จากกลุ่มองค์กรที่ไม่แ! สวงหาผลกำไรหลายกลุ่ม มีแนวคิดในการวางรากฐานเพื่อแก้ไขปัญหา มองผ่านความเป็นไปได้ จากวิกฤตการณ์ปัจจุบัน เพื่อเสนอแนวทางการร่วมมือเพื่อแสวงหาทางออก กำหนดอนาคตของสังคมไทย โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ผ่านประสบการณ์ของนายอดัม คาเฮน ผู้ที่เคยอยู่ท่ามกลางวิกฤตความขัดแย้งรุนแรงของนานาประเทศ เช่น  แอฟริกาใต้ ช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคแบ่งแยกสีผิวโคลัมเบีย ช่วงสงครามการเมือง และอาร์เจนตินา ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งจากสถานการณ์ประเทศไทยที่เต็มไปด้วยปัญหาความขัดแย้ง แตกแยกทางความคิด นำไปสู่กระบวนการสร้างความขัดแย้งในระดับประเทศ จนเสี่ยงต่อการพาประเทศก้าวเข้าสู่ความขัดแย้งรุนแรง กำลังก้าวเดินสู่ทางตัน แต่ปัญหาทุกประการย่อมคลี่คลายไปได้ ขึ้นอยู่กับว่าคนในชาติเลือกจะนำพาป! ระเทศไปยังจุดใดในอนาคต งานเสวนาดังกล่าวจะเชิญผู้ที่ความสนใจและตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคมเข้าร่วม โดยนายอดัม คาเฮน จะเปิดประสบการณ์การทำงาน ผลสำเร็จของการแก้ไขปัญหา ตลอดจนวิธีการและขั้นตอนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและวิกฤตสังคม

นายอดัม คาเฮน จะเดินทางมายังประเทศไทยและพบปะบุคคลสำคัญทางสำคัญทุกระดับชั้นจากภาครัฐ ประชาสังคม และผู้ได้รับผลกระทบต่างๆ ในประเทศไทย รวมทั้งนายกรัฐมนตรีของไทย ระหว่างวันที่ 13-17 สิงหาคม โดยวันที่ 16 สิงหาคม นายอดัมจะมีเปิดตัวหนังสือ  Power and Love ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย ในเวลา 13:00 – 14:00 น. ณ ห้องประชุม 30 ที่นั่ง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พร้อมกับพบปะ! สื่อมวลชน และมีกำหนดการสัมมนา “เราจะส่งมอบประเทศไทยแบบไหนให้ลูกหลาน :ถอดบทเรียนการแก้ปัญหาความขัดแย้งแอฟริกาใต้, โคลัมเบียและที่อื่นๆ”  ในเวลา 14:00 – 16:30 น.  ณ ห้องสัมมนา 250 ที่นั่ง ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

////////////////////////////////////////////

เราจะส่งมอบประเทศไทย

แบบไหนให้ลูกหลาน

 

ถอดบทเรียนการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

ในอาฟริกาใต้, โคลัมเบียและที่อื่นๆ

โดย อดัม คาเฮน

ร่วมเป็นหนึ่งในพลังผลักดันเพื่อส่งสมอบประเทศไทยกับลูกหลานของคุณ

พบกับ อดัม คาเฮน ครั้งแรกในประเทศไทย

ระหว่างวันที่ 13 – 17 สิงหาคม 2553

////////////////////////////////////////////////////////////////

สัมมนา

เราจะส่งมอบประเทศไทยแบบไหนให้ลูกหลาน :

ถอดบทเรียนแก้ปัญหาความขัดแย้งอาฟริกาใต้, โคลัมเบียและที่อื่นๆ

โดย อดัม คาเฮน

  • แนวความคิด

จากสถานการณ์ประเทศไทยในปัจจุบัน ที่เต็มไปด้วยปัญหาความขัดแย้งทางสังคม จากความแตกแยกทางความคิด นำไปสู่กระบวนการสร้างความขัดแย้งในระดับประเทศ จนเสี่ยงต่อการพาประเทศก้าวเข้าสู่ความขัดแย้งขั้นรุนแรงในอนาคต

ในขณะเดียวกัน โลกก็กำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อมอย่างที่ไม่เคยเผชิญมาก่อน สภาวะโลกร้อนก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เป็นภัยต่อความมั่นคงด้านอาหาร และการกลับมาของโรคระบาดอุบัติซ้ำ และโรคอุบัติใหม่ สิ่งเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่เว้นแม้ประเทศไทย แต่ปัญหานานัปการ กลับไม่ได้ถูกนำมาแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลที่สำคัญ คือ การยึดติดอยู่กับความไม่มั่นคงทางการเมือง และปัญหาความขัดแย้งทางสังคม ซึ่งล้วนเป็นเพียงอาการของปัญหาที่แท้จริงที่หยั่งรากลึกสะสมมานาน

สถานการณ์ของประเทศไทยในวันนี้ อาจดูเหมือนว่ากำลังก้าวเดินสู่ทางตัน หากแต่เมื่อพิจารณาความเป็นจริงแล้ว ปัญหาทุกประการย่อมคลี่คลายไปได้ในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคนในชาติได้ “เลือก” ตอบสนองต่อปัญหาในทิศทางใด และจะนำพาประเทศไปยังจุดใดในอนาคต

งานสัมมนา “เราจะส่งมอบประเทศไทยแบบไหนให้ลูกหลาน” กำเนิดขึ้น จากกลุ่มองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรหลายกลุ่ม ซึ่งมีแนวคิดในการวางรากฐานเพื่อแก้ไขปัญหา โดยมองความเป็นไปได้ต่างๆ จากวิกฤตการณ์ปัจจุบัน เพื่อเสนอแนวทางการร่วมมือเพื่อแสวงหาทางออกเพื่อกำหนดอนาคตของสังคมไทยโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ผ่านประสบการณ์ของอดัม คาเฮน ผู้ที่เคยอยู่ท่ามกลางวิกฤตความขัดแย้งรุนแรงของนานาประเทศ

 

อดัม คาเฮน ได้เข้าไปช่วยหาทางออกแบบสันติวิธีให้กับปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรง  ซับซ้อนและชะงักงันที่สุดหลายครั้ง  ไม่ว่าจะเป็นที่แอฟริกาใต้ (ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคแบ่งแยกสีผิว) ที่โคลัมเบีย (ในช่วงสงครามการเมือง) ที่อาร์เจนตินา (ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ) รวมประสบการณ์ที่มีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวคละเคล้ากันไป  ทำให้คาเฮนมองเห็นถึงสาเหตุที่ทำให้ปัญหาถึงทางตัน  และวิธีการที่ทำให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาหาทางออกร่วมกันอย่างได้ผลโดยปราศจากความรุนแรง

ไม่ว่าปัญหานั้นจะมีรากฐานของปมปัญหามาจากสิ่งใด
กระบวนการ
Scenarios ที่ อดัม คาเฮนใช้ในการหาทางออก ทำให้ทุกฝ่ายสามารถมองข้าม
วิกฤตเฉพาะหน้า และมองความเป็นไปได้ต่างๆ ในอนาคต

จากหนังสือ Solving Tough Problems หรือ วิธีสร้างปาฏิหารย์เมื่อถึงทางตัน  คาเฮนได้ผสมผสาน ทฤษฏี หลักการ  วิธีการ  เครื่องมือ  และประสบการณ์เข้าด้วยกันแล้วถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของเรื่องราวจากการเดินทางไปทั่วโลก เพื่อช่วยเหลือผู้นำต่างๆ ให้สามารถหาหนทางออกให้กับปัญหาที่แก้ไขได้ยากที่สุดของพวกเขาเอง  ซึ่งช่วยให้เรามองเห็นภาพและสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการแก้ไขปัญหาที่ถึงทางตันของเราได้ในทุกสถานการณ์  ไม่ว่าจะเป็นในระดับครอบครัว  ชุมชน  องค์กร ประเทศ หรือแม้แต่ระดับโลกก็ตาม

Solving Tough Problems:        International Bestseller, recommended by Nelson Mandela as the ‘breakthrough’ book that addresses the central challenge of our time:  finding a way to work together to solve the problems we have created.

หนังสือ Power and Love เป็นหนังสือเล่มที่สองต่อจาก Solving Tough Problems และเล่มล่าสุดของ อดัม โดยกล่าวถึง การแก้ปัญหาสังคมและความขัดแย้งที่มักจะลงเอยด้วย ความรุนแรง หรือไม่ก็การเจรจาที่ไม่รู้จบ หนังสือเล่มนี้ตอบคำถามที่ว่า ทำไมคนบางกลุ่มสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ยุ่งยากได้อย่างง่ายดาย แต่บางคนกลับล้มลุกคลุกคลาน ล้มแล้วล้มอีก ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่โดยแท้ที่จริงแล้ว สองตัวแปรที่ชักใยอยู่เบื้องหลังการแก้ปัญหาก็คือ Power (desire to achieve) และ Love (urge to unite) ที่มิได้ขัดแย้งแต่ควรส่งเสริมซึ่งกันและกันนั่นเอง ….

หนังสือ Power and Love กำลังได้รับการแปลเป็นภาษาไทย ภายใต้โครงการนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจาก อดัม คาเฮน แล้ว

As Dr. Martin Luther King, Jr., said, “Power without love is reckless and abuse, and Love without power is sentimental and anemic.”

////////////////////////////////////////////////////////////////

  • ขั้นตอนการดำเนินการ

ระยะเวลาดำเนินการ:            13 – 17 สิงหาคม 2553

 

1. Fact Findings

Private Meetings ระหว่าง อดัม คาเฮน กับบุคคลสำคัญของประเทศในด้านต่างๆ เพื่อรับฟังปัญหา รวมถึงการรับทราบข้อมูลจากตัวแทนภาคประชาชนจากกลุ่มต่างๆ

วันเวลา 13 สิงหาคม (ช่วงบ่าย)

14 สิงหาคม (ช่วงเช้า และ ช่วงบ่าย)

15 สิงหาคม (ช่วงเช้า)

สถานที่          ห้องประชุม 8 ที่นั่ง

บุคคลเป้าหมาย

-         ผู้นำและผู้มีวิสัยทัศน์ต่อการพัฒนาประเทศจากภาคส่วนต่างๆของสังคม อาทิเช่น สื่อมวลชน นักคิด นักวิเคราะห์ นักวิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคการเมือง และอื่นๆ

_______________________________________________________________________________

 

ประชุมรับฟังสรุปประเด็นปัญหาจากตัวแทนภาคประชาชน

วันเวลา 15 สิงหาคม (ช่วงบ่าย)

สถานที่          ห้องประชุม 20 ที่นั่ง

คณะบุคคล ผู้ได้รับความเดือดร้อน จากตัวแทนประชาชนกลุ่มต่างๆ ประมาณ 10-15 ท่าน

 

 

2. Public Seminars

เปิดตัวหนังสือเล่มล่าสุด Power and Love ของ อดัม คาเฮน

และพบปะสื่อมวลชน

วันที่ 16 สิงหาคม 2553

เวลา 13:00 – 14:00 น.

สถานที่                    ห้องประชุม 30 ที่นั่ง ณ  วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

กลุ่มเป้าหมาย สื่อมวลชน

เป็นการเปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ของอดัม คาเฮน ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย ตีพิมพ์โดย Post Books

 

สัมมนา

เราจะส่งมอบประเทศไทยแบบไหนให้ลูกหลาน :

ถอดบทเรียนการแก้ปัญหาความขัดแย้งอาฟริกาใต้, โคลัมเบียและที่อื่นๆ

โดย อดัม คาเฮน

วันที่ 16 สิงหาคม 2553

เวลา 14:00 – 16:30 น.

สถานที่          ห้องสัมมนา 250 ที่นั่ง ณ  วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

เป้าหมาย

เป็นการเชิญผู้ที่ความสนใจและตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคมเข้าร่วม รวมถึง สื่อมวลชน โดย อดัม คาเฮน จะเปิดประสบการณ์การทำงาน ผลสำเร็จของการแก้ไขปัญหา ตลอดจนวิธีการและขั้นตอนในการใช้ Scenarios เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและวิกฤตสังคม นับเป็นการถอดบทเรียนการแก้ปัญหาความขัดแย้งอาฟริกาใต้, โคลัมเบียและที่อื่นๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้เรียนรู้ถึงแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งและเสวนากับแลกเปลี่ยน อดัม คาเฮน ถึงขั้นตอนและแนวทางการใช้เครื่องมือดังกล่าว

 

3. Focus Group

การประชุมความร่วมมือ การขับเคลื่อนการส่งมอบประเทศไทยให้ลูกหลาน

วันที่ 17 สิงหาคม 2553

เวลา 9:30 – 11:30 น.

สถานที่          ห้องประชุม 30 ที่นั่ง ณ  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

Focus Group จำนวน 25 คน จากกลุ่ม Key Players จากภาคส่วนต่างๆ ของสังคมและกลุ่มผู้สนับสนุน ในการดำเนินเป็นโครงการในระยะต่อไป มีเป้าหมายให้เกิดการสร้าง Supporters เพื่อความสำเร็จในการจัดตั้ง การส่งมอบประเทศไทยให้ลูกหลาน เป็นโครงการระยะยาวต่อไป กำหนดกลุ่มเป้าหมาย คือ Key Players, Key Supporters, Opinion Leaders, Sponsor Groups, Interest Groups และสื่อมวลชน

 

  • สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แนวทางใหม่ในการมองข้ามวิกฤตระยะสั้นและแก้ไขปัญหาระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม โดยความมีส่วนร่วม และปราศจากความรุนแรง
  2. เรียนรู้การสร้างภาพจำลองสถานการณ์จริง และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อแต่ละฝ่ายเลือกตัดสินใจดำเนินการในแนวทางต่างๆ ซึ่งเกิดจากข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน และการแสวงหาวิถีทางแห่งสันติ จากการเสวนาแบบเปิดกว้างทางวิธีคิด
  3. นำผลจากการเสวนา สู่การวางแผนการปฏิบัติโดยการผลักดันผ่านการดำเนินการในรูปแบบโครงการระยะยาวต่อไป โดยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเดินไปในทิศทางเดียวกัน

 

  • องค์กรร่วมจัด

ณ ปัจจุบัน

  • สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
  • สถานีโทรทัศน์ ทีวีไทย (Thai PBS)
  • สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
  • สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ฝ่ายวิชาการ)
  • สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
  • สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง
  • มูลนิธิดอกไม้และนกกระดาษเพื่อสันติภาพ